อธิบาย ผังเมืองกุสาวดีราชธานี


เป็นเพียงจินตนาการ
อธิบาย ผังเมืองกุสาวดีราชธานี

จากผังเมืองในความเห็นด้านบนนี้นั้น   ในบริเวณที่แบ่งเป็นชั้นๆแถบสีนั้น กินอาณาบริเวณประมาณกว้าง๗โยชน์ ยาว๑๒โยชน์.  ซึ่งบริเวณที่ว่านี้ หมายถึงอาณาเขตของกำแพงชั้นนอกสุดในกำแพง๗ชั้น.

เรื่อง เหตุผลที่ต้องแบ่งกำแพงออกเป็น๗ชั้นนี้ จะอธิบายในภายหลังว่า ทำไม บ้านเมืองของพระเจ้าจักรพรรดิทั้งหลาย จึงล้อมกำแพงเมืองเป็นชั้นๆ และความยาวของกำแพงเมือง ไม่ใช่น้อยๆ เพราะไม่ใช่กำแพงล้อมวัด.  กำแพงเหล่านี้ แต่ละด้าน ยาวหลายสิบกิโลเมตร คือ อย่างกรณีนั้น กำแพงรอบนอกสุด กว้าง112กม. ยาว192กม.  ส่วนชั้นถัดกันเข้าไป ก็สั้นกว่านี้เข้าไปอีก.

กำแพงเมืองเหล่านี้ ไม่ใช่สูงเพียงเมตรหรือสองเมตร  ที่แท้แล้ว สูง๕๐-๖๐ศอก คือ ประมาณ 20-30 เมตร.  และประตูเข้าเมือง ก็ทำเสาขนาดใหญ่ ฝังรากลึก.  นี่ค่อยกล่าวในภายหลัง ในเมื่อย่างเข้าสู่หัวข้อเรื่อง การปกครองระบอบธรรมาธิปไตย การปกครองของพระธรรมราชา


ป่าใหญ่สองข้าง ในเขตกำแพงเมือง
กลับมากล่าวถึงผังเมืองข้างบนก่อน.  ส่วนที่จะกล่าวถึงก็คือ บริเวณป่าสองข้างของกำแพงเมือง ซึ่ง เป็นเขตที่ล้อมกำแพงไว้ด้วยเหมือนกัน.   บริเวณนี้ กินพื้นที่กว้างประมาณ40กม. ยาว112กม. และปรากฏว่า มีแม่น้ำไหลเข้าสู่บริเวณป่านี้. มีการกักเก็บน้ำ เป็นเขื่อนในภายในบริเวณป่า.

ป่าทั้งสองข้างนี้ มีเขื่อนกักเก็บน้ำอยู่.  ซึ่ง จะรับน้ำจากแม่น้ำทั้งสองสายคือ

เขื่อนตะวันออก ตั้งอยู่ในทิศตะวันออก สมมติชื่อให้ว่า "มหากัสสปะวนอุทยาน" ก็แล้วกัน เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระมหากัสสปะ ผู้รักษาพระพุทธศาสนาของเราไว้. เขื่อนนี้รับน้ำจากแม่น้ำโขง (นี่ ถ้าเป็นเมืองจริงๆตามนี้ น้ำโขงที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ แห้งไปหมดเลยนะเนี่ย เพราะมันจะเปลี่ยนทางไหลใหม่).

เขื่อนตะวันตก ตั้งอยู่ในทิศตะวันตก สมมติชื่อให้ว่า " อุปคุตตะวนอุทยาน" ก็แล้วกัน เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระอุปคุตต์ ผู้ปราบพระยามาร. (นี่ก็เหมือนกัน หากว่าเมืองนี้มีจริงล่ะก็ แม่น้ำสาละวินสายเดิม เป็นต้องแห้งไปหมดแน่เลย เพราะมันเปลี่ยนทางน้ำไหล).

ในบริเวณป่าทั้งสองข้าง จะมีเขื่อนอยู่สองส่วน คือ ส่วนที่ถูกขุดขึ้นมา ดังที่ปรากฏเป็นบริเวณสีฟ้า รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นรูปทรงทางเรขาคณิต  เขื่อนบริเวณนี้ เป็นการทดน้ำจากเขื่อนธรรมชาติมาเพื่อใช้ในการผลิตน้ำประปา ส่งขึ้นหอส่งน้ำ ซึ่งวางไว้ตลอดแนวกำแพงเมือง (กำแพงเมืองถึงต้องสูงหน่อย เพราะใช้เป็นหอส่งน้ำด้วย).  และอีกส่วนหนึ่งเป็นบริเวณเก็บกักน้ำที่ไม่ได้เกิดการขุดของมนุษย์ มันเป็นรูปร่างตามธรรมชาติของภูมิประเทศตอนนั้นๆ.

บริเวณของเขื่อนเก็บน้ำดิบทำน้ำประปานั้น จะอยู่ห่างจากกำแพงเมืองด้านใน(พื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส) ประมาณ ๒กิโลเมตร ซึ่ง บริเวณนี้ ให้เป็นที่ตั้งของกุฏิพระภิกษุ (นี่ก็เรื่องของจินตนาการ จะเอาอะไรมาประกอบไปบ้าง ก็ได้ เพื่อเสริมเรื่องจินตนาการให้สมบูรณ์ขึ้น) ก็คงจะจุกุฏิได้หลายพันกุฏิเหมือนกัน.  วัดป่าขนาดใหญ่นี้ ทางทิศตะวันตกก็เรียกว่า อุปคุตตะมหาวนาราม, และทางตะวันออกก็เรียกว่า มหากัสสปะมหาวนาราม.

ทีนี้ พื้นที่ของเขื่อนเก็บน้ำดิบสำหรับทำประปานี้ กว้างประมาณ4กม. ยาวประมาณ110กม.  ถัดพื้นที่เก็บน้ำไปทางป่า ก็เป็นบริเวณที่ลุ่ม น้ำท่วมตื้นๆ พอแค่เป็นที่อาศัยเกิดของธัญญพืช ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์ปีกชนิดต่างๆ.  เป็นที่เที่ยวหากินของฝูงนกฝูงหงส์.  บริเวณนี้ก็กินความกว้าง2กม. ยาวตลอดแนวเขื่อน.

ถัดจากบริเวณหากินของสัตว์ปีกแล้ว ก็เป็นบริเวณของป่าใหญ่ มีไม้ยืนต้นและเถาวัลย์เกิดขึ้น เป็นที่อาศัยของสัตว์บกที่อาศัยป่าใหญ่อยู่ พวกเสือ ช้าง กวาง เก้ง หมี ..ฯลฯ

ทีนี้ มันก็จะมีบริเวณที่เป็นเกาะเล็กๆ ที่มีน้ำโอบล้อมไว้ (น้ำจากแม่น้ำนั้นล่ะ)  ซึ่ง ไม่ค่อยมีสัตว์อาศัยอยู่นัก  ก็เอาไว้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์มนุษย์ คือ พวกนี้มีรูปร่างหน้าตาเหมือนมนุษย์ทุกอย่าง แต่ว่า มีศีลธรรมไม่ถึงความเป็นมนุษย์.  ความจริงแล้ว สัตว์พวกนี้ก็เคยอยู่อาศัยในบ้านเมือง แต่ว่า พากันล่วงศีล๕ อันเป็นเครื่องหมายของมนุษย์ อาศัยร่างของมนุษย์อยู่แล้วทำร้ายมนุษย์ผู้มีศีล.

นี่ พวกล่วงศีลในขั้นที่สังคมเขายอมรับไม่ได้ ผู้รักษาธรรมเขายอมรับไม่ได้ ก็จะตัดสินว่า ปาราชิก เหมือนกับในสังคมพระภิกษุสงฆ์ คือ ปาราชิก หาสังวาสมิได้ ไม่รับว่าเป็นมนุษย์ แล้วก็จับทำหมันเลย ไม่ว่าหญิงหรือชาย.  เมื่อทำหมันแล้ว ก็จับไปปล่อย ให้อาศัยอยู่ในเกาะแห่งนั้น จะดำรงชีพโดยไม่เกี่ยวข้องกับสังคมส่วนใหญ่.

หากว่าสัตว์หน้ามนุษย์พวกนี้ มันเป็นไปตามอำนาจของความโกรธและผูกโกรธเกินประมาณ ไม่ยอมรับการอยู่อาศัยในแดนป่านั้น มีแอบหนีเข้ามาบ้านเมือง แล้วมาทำร้ายมนุษย์คนอื่นในสังคม.  แบบนี้ ก็จะต้องได้ประหารชีวิต เพราะสัตว์ประเภทนี้เป็นอันตรายร้ายแรง.  มันต่างกับพวกเสือพวกช้าง ที่เขาเที่ยวไปตามประสาการแสวงหาอาหาร ไม่ใช่เที่ยวไปเพราะผูกโกรธแล้วจะทำร้ายใคร.

บริเวณนอกเขตกำแพง

บริเวณนอกเขตกำแพง ก็จะมีบ้านเรือนรายล้อมอยู่ตลอดแนวกำแพง.  และถัดจากกำแพงชั้นนอกสุดออกไปประมาณด้านละ 50 กม.  ก็สมมติเป็นพื้นที่ภายในอาณาเขตการปกครองของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ คือ นี่ตัดตอนดูเฉพาะในเมืองๆหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้มองในฐานะปกครองทั้งโลกก่อน.

พื้นที่โดยรอบในระยะ50กม.นี้ ใช้ทำอะไร? ก็กันไว้เป็นเขตเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมด้วย เป็นเขตค้าขาย ติดต่อกับต่างประเทศด้วย.  และมีพื้นที่ป่าภายนอกด้วย เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเหมือนกัน.

นี่นะ จากรูปนี้ ก็จะเห็นแนวชายแดนตลอดทั้ง๔ทิศ (ต้องสมมติให้เป็นสี่เหลี่ยม เพื่อมองดูง่ายๆหน่อย แม้จะไม่สมจริงก็ตาม)

พื้นที่สีชมพูนั้น ก็ใช้สำหรับจัดเป็นเขตอุตสาหกรรม และการขนส่ง การติดต่อค้าขายขนาดใหญ่ โกดังสินค้า. สนามบิน อะไรก็แล้วแต่.  พื้นที่แบบนี้ มีอยู่ในทิศเหนือกับทิศใต้ สำหรับติดต่อประเทศที่อยู่ด้านเหนือและใต้.

พื้นที่เกษตรกรรม ก็อยู่รอบๆกำแพงเมืองด้วย และที่อยู่ขข้างเขตอุตสาหกรรม (สีเขียวอ่อน)ด้วย  นี่ใช้ในการเกษตร.    แม้จะเป็นพื้นที่เล็กๆ แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหากับการเลี้ยงชีพคนจำนวนมากๆ เพราะเมืองนี้ มีต้กัลปพฤกษ์ถึง1600ต้น

โดยรอบชายแดน ก็มีหน่วยทหาร(จุดสีแดง) ทำหน้าที่รักษาชายแดน คอยตรวจตรารักษาทรัพย์สินของแผ่นดิน.  เพราะถ้าไม่คอยตรวจตราด้วยเวรยาม  ประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีชายแดนชิดกัน เขาก็จะรุกล้ำเข้ามาผลาญทรัพยากรของประเทศ เป็นต้นว่า ป่าไม้ สัตว์ป่า และทรัพยากรอื่นๆ ขนไปยังฝั่งประเทศของเขา.  แล้วแบบนี้ ชีวิตสัตว์ในป่าซึ่งต้องอาศัยทรัพยากรเหล่านั้นเลี้ยงชีวิต ก็จะเต็มไปด้วยอันตราย.  นี่จึงจำเป็นต้องได้จัดอารักขาให้.  และเป็นการอารักขาให้กับมนุษย์ในแว่นแคว้นด้วย.

นี่ก็พูดไปตามประสาการจินตนาการ.  และท่านผู้อ่านก็คงไม่ลืมว่า ตอนนี้ เรากำลังจินตนาการเรื่องผังเมืองกุสาวดี ของพระเจ้ามหาสุทัสสนะอยู่. ซึ่งจะโยงกันไปจนไปถึงเรื่องการบริหารปกครองด้วย.  จะมีวกเข้ามาเกี่ยวพันกับตำนานพระศรีอารย์ในส่วนอื่นอีก เพราะมันมีตัวสะกิดต่อมจินตนาการอยู่มากอยู่ ตำนานอันนี้.
คำสำคัญ (Tags): #กุสาวดีราชธานี
หมายเลขบันทึก: 223671เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2008 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2019 14:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับมาอ่านเรื่องราวดีๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท