โรงเรียนกวี ออนไลน์...เปิดแล้ว


นอกจากทุ่งสักอาศรมและครูกานท์จะเปิดโรงเรียนกวีทุ่งสักอาศรม ที่อู่ทอง สุพรรณบุรี จัดกิจกรรมโครงการค่ายเป็นวิทยาทาน [ไม่เก็บค่าลงทะเบียนและค่าใช้จ่ายใดๆ] แก่เยาวชนผู้สนใจเป็นเวลา ๑ เดือนเต็ม [ของเดือนเมษายน ทุกปี] แล้ว โอกาสนี้ยังได้เปิดโรงเรียนกวีออนไลน์ขึ้น ณ เว็บบล็อกแห่งนี้อีกด้วย

นอกจากทุ่งสักอาศรมและครูกานท์จะเปิดโรงเรียนกวีทุ่งสักอาศรม ที่อู่ทอง สุพรรณบุรี จัดกิจกรรมโครงการค่ายเป็นวิทยาทาน [ไม่เก็บค่าลงทะเบียนและค่าใช้จ่ายใดๆ] แก่เยาวชนผู้สนใจเป็นเวลา ๑ เดือนเต็ม [ของเดือนเมษายน ทุกปี] แล้ว  โอกาสนี้ยังได้เปิดโรงเรียนกวีออนไลน์ขึ้น ณ เว็บบล็อกแห่งนี้อีกด้วย  โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้สนใจใฝ่เรียนรู้ที่ไม่มีโอกาสไปร่วมเรียนรู้ที่ศูนย์เรียนรู้ทุ่งสักอาศรม ได้มีพื้นที่ของการเรียนรู้ได้อีกช่องทางหนึ่ง

ดังนั้น บล็อกนี้จึงเป็นเวทีแห่งการเรียนรู้เพื่อผู้สนใจการเขียนกาพย์กลอนทั่วไป

ไม่ว่าคุณจะเป็นครู

หรือเธอจะเป็นนักเรียนนักศึกษา

หรือใครและใคร

ที่เปี่ยมพลังแห่งการเรียนรู้ ฝึก ปฏิบัติ...

มุมหนึ่งของโลกออนไลน์...ตรงนี้

ทุ่งสักอาศรม และ ครูกานท์ [ศิวกานท์ ปทุมสูติ]

พร้อมเปิดประตูต้อนรับ...

...

กติกาง่ายๆ ดังนี้ครับ

๑.ผู้ใดสนใจสมัครเป็นสมาชิกร่วมเรียนรู้ ให้โพสสมัครได้ที่ช่องแสดงความคิดเห็นได้เลย

๒.สนใจใคร่รู้เรื่องใด หรือต้องการแสดงความคิดอ่านใดๆ แลกเปลี่ยนก็ให้ตั้งกระทู้ หรือแสดงไว้ได้ในช่องความคิดเห็นนั้น

๓.ครูกานท์จะตอบ หรือแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดแก่สมาชิกผ่านช่องความคิดเห็นเช่นเดียวกัน

๔.เมื่อครูกานท์มีประเด็นเนื้อหาสำคัญใหม่ หรือพื้นที่ในหน้านี้มีความยาวมากเกินไปก็จะขึ้นหน้าใหม่ต่อกันไปเรื่อยๆ

พร้อมแล้ว...ขอเชิญสมาชิกหมายเลขแรกๆ โพสเลยครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 229961เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2008 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (46)
  • สนใจเจ้าคะทำไงหรอเนี่ย
  • อยากเข้าไปอ่านค้า

คุณพิมญดา อ่านกติกาข้อ ๑,๒,๓,๔ สิครับ

อยากรู้ อยากเรียน อยากถามเรื่องใด...ก็เริ่มเป็นบทเรียนแรกได้เลย

  • ธุค่ะ..

ขอสมัครเป็นสมาชิกของโรงเรียนกวีออนไลน์เพื่อศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องของภาษาและวรรณกรรมค่ะ      ทั้งประเภทกวีนิพนธ์และร้อยแก้ว    เพราะด้วยความที่ตัวเองเป็นคนไม่ยึดติดในฉันทลักษณ์ใดๆ จึงอยากเรียนรู้และทำความเข้าใจกับเรื่องราวเหล่านี้ให้ได้มากที่สุดค่ะ

ขอบคุณค่ะ..

สวัสดีค่ะ ครูกานท์

สนใจค่ะ

เป็นนิมิตหมายที่ดีมากเลยนะคะ

สำหรับน้องๆ เยาวชน ได้เรียนรู้

ที่ ทุ่งสักอาศรม

ขอบคุณค่ะ

  • ครูกานท์คะ..

ลักษณะการเรียนในห้องเรียนออนไลน์นี้ คือจะให้สมาชิกเป็นคนตั้งคำถามในช่องแสดงความคิดเห็นของครู  หรือตั้งกระทู้ถามในบันทึกของตัวเองคะ?  และเริ่มได้ในบันทึกนี้ของครูกานท์เลยหรือเปล่าคะ?

ขอบคุณค่ะ..

 

  • ครูกานท์คะ..

อย่างที่เกริ่นนำไปในความคิดเห็นที่ 3  ว่าเพราะด้วยตัวเองเป็นคนที่ไม่มีความรู้และยึดติดกับฉันทลักษณ์ใดๆ    หลายๆ ครั้งจึงแยกประเภทของกลอนหรือกาพย์ไม่ค่อยออก    ถ้าจะแต่งก็แต่งไปแบบ..ที่คิดว่าน่าจะใช่มากกว่า     ตัวอย่างเช่น

....และแล้ว ณ ห้วงมหรรณพ

....มหรสพแห่งชีวาถึงคราสิ้น

....เสียงโหมโรงประโคมพาทย์เพลงพิณ

....เหนือมุจรินทร์ศศินสลดมิงดงาม

ซึ่งจริงๆ แล้วมันผิดไหมคะ?   รบกวนครูด้วยค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

ตอบคุณเนปาลี

ตั้งกระทู้ในบันทึกนี้ได้เลยครับ

เราจะเรียนรู้กันที่นี่เลย

เพื่อผู้อื่นที่เข้ามาอ่านจะได้ร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกันด้วย

ประเด็นของการเรียนรู้ให้เริ่มได้ตลอดเวลาจากสมาชิก

ถ้ามีประเด็น...

ก็เริ่มกระทู้ในช่องความคิดเห็นต่อไปได้เลยครับ

  • ตอบคุณเนปาลี

....และแล้ว ณ ห้วงมหรรณพ

....มหรสพแห่งชีวาถึงคราสิ้น

....เสียงโหมโรงประโคมพาทย์เพลงพิณ

....เหนือมุจรินทร์ศศินสลดมิงดงาม

กลอนบทนี้ของคุณไม่ผิดอะไรในทางฉันทลักษณ์ แต่คำที่เลือกใช้ในวรรคสามและวรรคสี่ออกจะลึกเกินจำเป็นไปบ้าง...แต่ทั้งนี้ก็อาจต้องพิจารณาทั้งเรื่องนี้ที่แต่งอีกครั้ง

ขอสมัครนักกวีที่เว็บบล๊อก...             ครูกานต์บอกสนใจใช้โพสสรร

ด้วยยินดีที่ได้เรียนเขียนกลอนกัน      สื่อสัมพันธ์ผ่านออนไลน์เต็มใจเรียน

....การร้อยกรองเรียงกาพย์กานต์สำคัญยิ่ง

แม้มิได้เก่งจริงแต่มุ่งมั่น

หวังผลงานประดับไว้ในชีวัน

จึงได้หมั่นอ่านและเขียนเรียนรู้ไป

สวัสดีค่ะอาจารย์

***ขออภัยค่ะ..ตั้งใจจะใช้กานท์ค่ะ..ไม่ใช่กานต์...พิมพ์พลาดไปค่ะ

  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • สมัครเป็นสมาชิกเลยนะคะ
  • เป็นลำดับที่.....
  • ขอบคุณค่ะ

 

 

 

  • นำกลอน(ที่ไม่ใช่เหมือนกลอนสักเท่าไหร่)
  • มาฝากให้อาจารย์อ่านและติงค่ะนกเขียนไว้ในblogของนกค่ะ
  • ต้นไม้ใหญ่       แผ่กิ่งใบ    ก้านสาขา

  • บรรลุมา       เกือบพันปี   มิจางหาย

  • ทั่วโลกหล้า   แซ่ซ้อง      ร่ำลือไกล

  • สยามนั่นได้   ชือนานมา   สามัคคี

 

  • เหตุใดเล่า     ฟ้าวันนี้       สิหมองหม่น

  • เมฆเบื้องบน   เปล่งประกาย  เป็นหลายสี

  • เหลือง  แดง  ขาว  ส้ม ล้วน     ต่างมากมี

  • ฟ้าวันนี้  ไม่สดสวย  เหมือนวันวาน

 

  • ที่รากเง้า  ต้นไม้ใหญ่   พลางไหวสั่น

  • ใบไม้นั่น   ล่วงหล่น     เกือบหมดหาย

  • เสียงลมลู่  แทนสะอื้น   ของหัวใจ

  • ชนทั้งหลาย  ทำไมถึงแยก   แตกสามัคคี

 

  • จะกี่ส่วน  กี่ฝ่าย   เล่าพี่น้อง

  • เราต่างครอง  ถือกำเนิด  เกิดที่นี่

  • ขวานด้ามทอง   ยืนยง   คงมานี้

  • ก็เพราะมี  ต้นโพธิ์ใหญ่  ให้พักพิง

 

  • ต้นไม้ใหญ่  แผ่กิ่งใบ  ก้านสาขา

  • โปรดเมตตา  บันดาลดล  กุศลให้

  • เหล่าพี่น้อง  ผสกชาว  คนเราไทย

  • กลับหัวใจ  รักสามัคคี  ดีเหมือนเดิม....

  • ขอบคุณ คุณกิติยา ที่ร่วมวงแลกเปลี่ยน
  • ยินดีรับ คุณเพ็ญศรี เป็นสมาชิกหมายเลข 3 ครับ

ลงทะเบียนรับสมาชิก

  • หมายเลข 1 คุณเนปาลี
  • หมายเลข 2 คุณวิโรจน์ พูลสุข
  • หมายเลข 3 คุณเพ็ญศรี (นก)

ตอบคุณเพ็ญศรี (นก)

กลอนของคุณนกที่ยกมาให้พิจารณา ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับ

  • คำว่า "หาย" ที่วางในตำแหน่งสัมผัสบังคับกับคำว่า "ไกล/ได้" [รวมทั้ง "หาย/ใจ/หลาย"] นั้น ถือว่าเป็นสัมผัส "สระเสียงยาว" กับ "สระเสียงสั้น" ไม่เป็นที่นิยมในกวีนิพนธ์แบบฉบับนะครับ  แต่จะใช้ในสัมผัสของเพลงต่างๆ ทั้งเพลงพื้นบ้าน เพลงลูกทุ่ง เพลงลูกกรุง เพลงสตริงส์ ฯลฯ 
  • กลอนบทที่ ๒ ลงท้ายบทด้วยคำว่า "วาน" แล้วบทที่ ๓ รับสัมผัสระหว่างบทด้วยคำว่า "หาย/ใจ/หลาย" นั้นถือว่ารับสัมผัสผิดพลาดไป "วาน" ต้องรับด้วยเสียง "อา+น"

ค่อยๆ สังเกตพิจารณา ทำให้ถูกต้องได้ไม่ยากหรอกครับ

เรื่องความหมายและข้อสังเกตอื่นๆ เอาไว้พูดถึงกันในโอกาสต่อไปนะครับ

 

สวัสดีครับ ผ่านไปผ่านมา ไม่ได้สังเกต ว่าเป็นท่านศิวกานท์  ผู้น้อยสมควรตาย....อิอิ.อิ  เลยเข้ามาเยี่ยมช้าไป ดีใจมากที่ GTK มีคนดีที่คุณภาพคับแก้วจริงๆ ผมไปซื้อผ้าทอที่บ้านวังหลุมพอง ญาติผู้ใหญ่พูดถึงท่านให้ฟังบ่อยๆ ครูพิสูจน์ เคยมาประกาศเกียรติคุณท่านใน GTK ไว้ 2-3 เรื่องแล้วครับ ขอให้ท่านโชคดี มีความสุขครับ

  • ธรรมสวัสดีโยมศิวกานท์
  • เคยพบตัวจริงของโยมที่งานทำบุญ
  • อายุบวรที่อ่างทองบ้านเกิดของท่านจันทร์
  • สามหรือสี่ปีมาแล้ว..อนุโมทนาสาธุที่โยม
  • มาเผยแพร่บทกวีที่มีคุณค่าต่อชีวิตและจิตวิญญาณ
  • ขอให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง
  • ธรรมรักษา
  • ดอกไม้แด่ดวงใจใสสะอาด
  • หยาดเลือดหยาดน้ำตาอารยวิถี
  • ด้วยคารวธรรมคุณความดี
  • ขอจงมีชัยชนะอธรรมนิรันดร์
  • ได้ไปร่วมงานฌาปนกิจโยม ศศิธร เชยโสภณ(ติ๊ก)
  • ได้หนังสือธรรมานุสรณ์งานศพมาเล่มหนึ่ง
  • ข้างหลังปกมีบทกวีที่โยมเขียนไว้เลยนำมาแบ่งปัน
  • อนุโมทนาสาธุ

สวัสดีค่ะคุณครูกานท์

ไม่กล้าสมัครค่ะ ได้แต่ขอเป็นผู้อ่าน ...

ไม่มีความรู้หรือมีความรู้ด้านโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน น้อยมาก ๆ ค่ะ เสียความมั่นใจ และเสียใจทุกครั้งที่....ได้คิดว่า...ทำไมหนอเราจึงไม่สนใจและไม่ใส่ใจมาเสียก่อนหน้านี้....

(^__^)

ขอบคุณท่านประจักษ์    

คำทายทักไม่เคยสาย

รอยเท้าบนผืนทราย

ความรู้สึกวิเศษเสมอ

 

นมัสการท่าน tukkatummo

เพียงโพธิ์พลิ้วใบไหวระบัด

ย้อนรำลึกนึกภาพกระชับชัด

เชื่อมร้อยรัดอรรถรสบทกวี

แด่ผู้พลัดพ่ายดวงใจเทวษ

ถมทับทุกข์ประเทศวิบากวิถี

ขอกุศลธรรมพิสุทธิ์หยุดอัคคี

สาธุสังฆเมธีส่องทางนิรันดร์

  • คุณคนไม่มีราก ครับ

ไม่สมัครรักเขียน แต่สมัครรักอ่าน  ไม่เป็นไรครับ  ดีกว่าดวงใจว่างเปล่า...  อย่าลืมแวะเวียนไปอ่านบทกวีในคอลัมน์บล็อก "บทกวี วิถีแห่งใจ" นะครับ

มาลงชื่อสมัครไว้ครับ

  • ลงทะเบียนรับสมาชิก

หมายเลข 1 คุณเนปาลี

หมายเลข 2 คุณวิโรจน์ พูลสุข

หมายเลข 3 คุณเพ็ญศรี (นก)

หมายเลข 4 คุณกวิน - สมาชิกกิตติมศักดิ์และที่ปรึกษา

ด้วยความยินดีอย่างยิ่งครับคุณกวิน จากการที่ได้ไปแอบอ่านแอบชื่นชมบล็อกของคุณกวิน ก็เชื่อมั่นว่า ไม่ไร้ราก ลึกในหลักและบริบท ซึ่งจะเป็นคุณค่าแก่เวทีนี้ที่มีคุณกวินร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย

อายุบวร

...

  • ธุ  ครูกานท์ค่ะ ..

 จากความคิดเห็นที่ 9 ของครู  บอกไว้ว่า..

....และแล้ว ณ ห้วงมหรรณพ

....มหรสพแห่งชีวาถึงคราสิ้น

....เสียงโหมโรงประโคมพาทย์เพลงพิณ

....เหนือมุจรินทร์ศศินสลดมิงดงาม

กลอนบทนี้ของคุณไม่ผิดอะไรในทางฉันทลักษณ์    แต่คำที่เลือกใช้ในวรรคสามและวรรคสี่ออกจะลึกเกินจำเป็นไปบ้าง...แต่ทั้งนี้ก็อาจต้องพิจารณาทั้งเรื่องนี้ที่แต่งอีกครั้ง

ลึกนั้น หมายถึง..ใช้คำที่มีความหมายมากเกินไปหรือคะ?    หากจะเปลี่ยนเป็นถ้อยคำธรรมดาก็ได้ใช่ไหมคะ?   ต้อมกลัวจะไม่สวยน่ะค่ะ

 

บทนี้เคยมีอาจารย์ท่านหนึ่งถามว่า  กลอนบทนี้ "แอบแซมด้วยฉันท์" ด้วยใช่ไหม?   ต้อมก็ไม่แน่ใจกับที่ตัวเองแต่งเหมือนกันค่ะ

....สบพักต์ก็เนื้อเต้น        ....พิศเร้นไหวระรัว

....งามล้ำมิหมองมัว         ....ข้าสิกลัวระรัวไหว

....แลโฉมนงสะคราญ      ....มิอนุมานกับสิ่งใด

....ประกายดาวอันสุกใส    ....ก็บ่ได้เพียงเสี้ยวนาง

ขอบพระคุณครูค่ะ ^^

สวัสดีค่ะ ขอสมัครสมาชิกด้วยคนค่ะ ลำดับที่เท่าไรแล้วค่ะ

  • ตอบคุณเนปาลี

คำว่า "ลึกเกินจำเป็น" นั้นผมหมายถึงผู้แต่งอาจต้องการให้สละสลวยด้วยรูปศัพท์ แต่ผลของการใช้คำเช่นนั้นโดยไม่ห่วงใยเรื่องเสียงของคำและความหมายเมื่อผู้ฟังสดับ (ไม่ได้เห็นด้วยตา) ศัพท์ที่ใช้นั้นอาจไม่ส่งผลของการรับรู้และรับรส

คำว่า "พาทย์เพลงพิณ" จุดสะดุดน่าจะอยู่ที่คำว่า พาทย์

ส่วนคำว่า "มุจรินทร์-ศศิน" ยิ่งลึกไปกว่า คือเป็นคำที่ไม่คุ้นการรับรู้ของผู้อ่านและผู้ฟัง "มุจรินทร์" ถ้าหมายถึงต้นจิก หรือสระใหญ่ในป่าหิมพานต์ที่มีต้นจิกขึ้นริมขอบสระ น่าจะเขียนเป็น "มุจลินท์" ซึ่งคำนี้อาจพอได้ยินได้ยลกันอยู่ในหมู่ของผู้เรียนรู้ภาษาและวรรณคดี แต่ "ศศิน" (ดวงจันทร์) นั้น แม้มีในพจนานุกรมก็ลึกต่อการรับรู้มากเกิน ยิ่งผู้ที่ฟังแต่เสียงย่อมใบ้กินต่อความหมายแน่นอน 

บทกวีที่ดี (ในมุมรู้สึกรู้สาของผม) คำทุกคำควร "ทำงาน" ทั้งรูปและเสียง หมายถึงกระทบกระเทือนอารมณ์ผู้รับสารได้อย่างมีพลังทันที แต่ทั้งนี้ก็สามารถสะท้อนนัยและมิติของความหมายที่ลึกซึ้งและซับซ้อนได้เป็นหลายชั้นด้วย ซึ่งนัยยะดังกล่าวไม่จำเป็นต้องใช้คำยากเกินก็ได้...ผมเองก็เคยพลาดในลักษณาการทำนองนี้มาแล้ว (ขอสารภาพ)

อย่างไรก็ตาม ในแต่ละชิ้นงานของบทกวีย่อมต้องอาศัยบริบท ของคำและกลุ่มคำที่ประกอบขึ้นอย่างเป็นเอกภาพด้วย ถ้าคำและกลุ่มคำที่ใช้ร่วมกันทั้งชิ้นงานนั้นเป็นไปโดยเจตนาการหนึ่งเดียวกันอย่างเป็นเอกภาพ ข้อสังเกตนี้ก็อาจอยู่นอกประเด็นก็ได้ครับ

  • ลงทะเบียนรับสมาชิก

หมายเลข 1 คุณเนปาลี

หมายเลข 2 คุณวิโรจน์ พูลสุข

หมายเลข 3 คุณเพ็ญศรี (นก)

หมายเลข 4 คุณกวิน - สมาชิกกิตติมศักดิ์และที่ปรึกษา

หมายเลข 5 คุณ apple

สวัสดีค่ะ

* ขอสมัครมารับความรู้ค่ะ

* อ่านความเห็นที่ตอบคำถามของคุณเนปาลี ได้ความรู้เพิ่มขึ้นและชอบมากค่ะ

* ขอให้อาจารย์สุขกายสุขใจนะคะ

ลงทะเบียนรับสมาชิก

"""""""""""""

หมายเลข 1 คุณเนปาลี

หมายเลข 2 คุณวิโรจน์ พูลสุข

หมายเลข 3 คุณเพ็ญศรี (นก)

หมายเลข 4 คุณกวิน - สมาชิกกิตติมศักดิ์และที่ปรึกษา

หมายเลข 5 คุณ apple

หมายเลข 6 คุณพรรณา ผิวเผือก

  • ธุ ครูกานท์ค่ะ..

เมื่อคืนต้อมหยิบหนังสือสร้อยสันติภาพขึ้นมาอ่าน   และในบทที่เป็นคำนำของครู   มีอยู่บทหนึ่งครูเขียนไว้ว่า.. (ขออนุญาตยกมา)

ต้น ปลายหมายกิ่งก้าน       ชีวิต

ไม้  ป่านฤมิต                   แมกป้อง

ใบ  หนึ่งน่าพึงพิศ             เพ่งค่า

หญ้า  ต่ำยางสูงต้อง          แต่งพื้นเดียวกัน

โดย.. ศิวกานท์  ปทุมสูติ

 

อยากให้ครูอธิบายถึงการเขียนโคลง (โคลงหรือ..จะเรียกว่าอะไรคะ) แบบนี้หน่อยน่ะค่ะว่ามีข้อบังคับในการเขียนอย่างไรบ้าง???????    และต้อมมีของที่พี่สาวคนสวยเคยแต่งไว้   เป็นประเภทเดียวกันไหมคะ???????

เงียบ..เสียงสนิท เงียบเคยเสนาะ

งาม..ศัพท์สดับไพเราะ ทุกยามสาย

ยาม..นี้กลับไม่เห็นเจ้าเร้นกาย

เช้า..สาย บ่าย เพียรคอยเจ้าเยาวภา  

ต้น ปลายหมายกิ่งก้าน       ชีวิต

ไม้  ป่านฤมิต                   แมกป้อง

ใบ  หนึ่งน่าพึงพิศ             เพ่งค่า

หญ้า  ต่ำยางสูงต้อง          แต่งพื้นเดียวกัน

(สร้อยสันติภาพ,ศิวกานท์  ปทุมสูติ)

  • ตอบคุณเนปาลี - บทกวีที่ยกมาจากหนังสือกวีนิพนธ์ สร้อยสันติภาพ นั้นเป็นคำประพันธ์ประเภท โคลงสี่ ซึ่งแต่งเป็น โคลงสี่กระทู้ (นำกระทู้คำเป้าหมายมาวางไว้หน้าบาทโคลงแต่ละบาท ทั้ง ๔ บาท คือ ต้น-ไม้-ใบ-หญ้า)
  • ลักษณะบังคับของ โคลงสี่ มีบังคับ คำเอกเจ็ดแห่ง และ คำโทสี่แห่ง ในที่นี้คำเอกคือคำที่เน้นสีน้ำตาล ส่วนคำโทคือคำที่เน้นสีเขียว (คำเอกนั้นกำหนดให้ใช้คำตายแทนได้) ตำแหน่งที่บังคับคำเอกและคำโทก็ตามที่ปรากฏในตัวอย่างนั่นครับ เรื่องของฉันทลักษณ์หรือข้อบังคับของโคลงนี้ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีก แต่ยังไม่อยากจะกล่าวถึงในคำตอบนี้มากนัก เดี๋ยวคำตอบจะยาวเกินไป คุณเนปาลีสามารถหาศึกษาได้จากตำราฉันทลักษณ์ทั่วไป หาไม่ยากหรอกครับ หรือในหนังสือชื่อ "กลวิธีสอนเด็กเรียนเขียนบทกวี" ของครูกานท์ ก็ได้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างไว้ชัดเจนครับ
  • ส่วนบทกวีที่พี่สาวเขียนไว้ให้คุณเนปาลีนั้นเป็นคำประพันธ์ประเภท กลอน ครับ เป็น กลอนกระทู้ ที่เขียนด้วยลีลาสะบัดสะบิ้งในสองวรรคแรก สองวรรคหลังดำเนินความเป็นปกติ ซึ่งกลอนบทนี้อ่านแล้ว รู้สึกได้ถึงความไพเราะดีครับ

 

ขอสมัครรับความรู้ด้วยคนครับ..อาจารย์

เรียนถามอาจารย์ครับ

* 1)ธรรมชาติ...ของคนที่รักการเขียนบทกวีควรเป็นคนอย่างไร...ครับ

* 2)การเขียนบทกวีอย่างง่ายๆ ควรเริ่มตรงไหนดีครับ

ขอบคุณครับ...อาจารย์

ขอสมัครเป็นนักเรียนด้วยคนนะครับครู

ลงทะเบียนรับสมาชิก

"""""""""""""

หมายเลข 1 เนปาลี

หมายเลข 2 วิโรจน์ พูลสุข

หมายเลข 3 เพ็ญศรี (นก)

หมายเลข 4 กวิน - สมาชิกกิตติมศักดิ์และที่ปรึกษา

หมายเลข 5 apple

หมายเลข 6 พรรณา ผิวเผือก

หมายเลข 7 แสงศรี

หมายเลข 8 พิมล มองจันทร์

  • ตอบคุณแสงศรี

1) คุณแสงศรีเองล่ะมีธรรมชาติเป็นอย่างไร แล้วรักที่จะเขียนบทกวีไหม

2) เริ่มต้นง่ายๆ ที่ ท่องกลอนบทครูให้ขึ้นใจก่อน จากนั้นก็ลอง แต่ง กลอนล้อบทครู คลิกไปดูอีกโพสหนึ่งต่อจากนี้สิครับ ที่หน้า "กลอนล้อบทครู" นั่นแหละครับ  แล้วก็ลองแต่งไว้ที่หน้านั้นได้เลย

ขอสมัครเป็นสมาชิกด้วยครับ

ขอขอบคุณ

สวัสดีค่ะคุณครู

  • แวะมาสวัสดีคุณครูค่ะ
  • เคยเป็นศิษย์ของคุณครูเรื่องแก้ปัญหาการอ่านการเขียนและนิสัยรักการอ่านค่ะ
  • ตอนนี้ที่โรงเรียนได้ดำเนินการแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ มาเป็นปีที่สองแล้วค่ะ
  • เพราะปีที่แล้วผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนเป็นที่น่าพอใจค่ะ
  • ขอเป็นนักอ่านก่อนนะคะคุณครู

ลงทะเบียนรับสมาชิก

"""""""""""""

หมายเลข 1 เนปาลี

หมายเลข 2 วิโรจน์ พูลสุข

หมายเลข 3 เพ็ญศรี (นก)

หมายเลข 4 กวิน - สมาชิกกิตติมศักดิ์และที่ปรึกษา

หมายเลข 5 apple

หมายเลข 6 พรรณา ผิวเผือก

หมายเลข 7 แสงศรี

หมายเลข 8 พิมล มองจันทร์

หมายเลข 9 ศรีกมล

ขอเชิญสมาชิกโรงเรียนกวีออนไลน์

ไปฝึกเขียนกลอนล้อบทครูที่หน้า ห้องเรียนกวี 1 กลอนล้อบทครู

กำลังสนุกครับ

  • เป็นกำลังใจให้คุณ meowadee และโรงเรียนแก้ปัญหาสัมฤทธิผลครับ

มาสมัครเป็นนักเรียนค่ะ ส่งการบ้าน บทนี้ ก่อน(มีตอนต่อ ยังค้นไม่เจอค่ะคุณครูกานท์)

ยังรับสมัครอยู่รึเปล่าคับ

คือผมเพิ่งจะอยากเรียนครับ

ยังไงก็ขอบคุณล่วงหน้าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท