"จิตที่เอื้อต่อการเห็นหัวของกันและกัน" เป็นสิ่งสำคัญที่การศึกษาต้องสร้างให้ได้ก่อน


ดร.นิพนธ์ ศศิธร เคยพูดและเขียนไว้นานแล้วว่า คนไทยมีปัญหาในการรวมกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นองค์กรที่ถาวร และท่านว่า สาเหตุอยู่ที่คนไทยในระดับเดียวกันไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน

 

 

 

 

           “จิตใจที่เห็นหัวของกันและกัน เป็นสิ่งสำคัญที่การศึกษาต้องสร้างให้ได้ก่อน

 

           คนที่เป็นเบี้ยตัวล่างที่สุดในสังคมไทย ก็คือ เกษตรกร  ชาวไร่ ชาวนา ฯลฯ และกรรมกร  ทุกข์อะไรบรรดามีในสังคมมักจะถูกผ่องถ่ายลงไปให้ต้องตกหมกไหม้ที่คนชั้นนี้โดยตลอด ที่เห็นเป็นข่าวในระยะนี้ ได้แก่ 

·       พ่อค้าไม่อยากขาดทุน  หรือ  อยากได้กำไรมาก ๆ ก็ไปกดราคาข้าวโพด

·       เศรษฐกิจแย่ นายทุนไม่อยากขาดทุน  หรือขาดทุนกำไร  ก็ปลดคนงานออก
 ฯลฯ  เป็นต้น

ปัญหาทำนองนี้มีผู้เสนอทางออกที่น่าสนใจ เช่น

                ในหลวงได้มีพระราชดำริไว้ในเกษตรทฤษฎีใหม่  ขอคัดลอกมาโดยสังเขปดังนี้

                     พระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักการในการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาคือที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการดำเนินการทฤษฎีใหม่ ได้พระราชทานขั้นตอนดำเนินงาน ดังนี้  

       ขั้นที่ ๑ ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น สถานะพื้นฐานของเกษตรกร คือ มีพื้นที่น้อย ค่อนข้างยากจน อยู่ในเขตเกษตรน้ำฝนเป็นหลัก โดยในขั้นที่ ๑ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพของการผลิต เสถียรภาพด้านอาหารประจำวัน ความมั่นคงของรายได้ ความมั่นคงของชีวิต และความมั่นคงของชุมชนชนบท เป็นเศรษฐกิจพึ่งตนเองมากขึ้น

        ขั้นที่ ๒ ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้าน  การผลิต  การตลาด  ความเป็นอยู่  สวัสดิการ การศึกษา และสังคมและศาสนา

        ขั้นที่ ๓ ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรจะมีรายได้ดีขึ้น ฐานะมั่นคงขึ้น เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัทห้างร้านเอกชน มาช่วยในการทำธุระกิจ การลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้รับประโยชน์ร่วม ..ต้องการรายละเอียดทั้งหมดไปที่

และ

              หมอวิจารณ์เคยเสนอไว้ว่า

                         ...ชาวนาต้องพัฒนาความรู้ว่าด้วยวิธีขายข้าวให้ได้ราคาดี ที่เหมาะสมและใช้ได้จริง    ซึ่งน่าจะมีหลักการหลายประการ   ตามความรู้อันจำกัดของผู้เขียน เช่น

 รวมตัวกันตั้งโรงสี
 
รวมตัวกันรับซื้อข้าวและขายข้าวเปลือก
 ตั้งโรงงานแปรรูปข้าว ไปเป็นสินค้าที่หลากหลาย และมีมูลค่าเพิ่มสูง
 ผลิตข้าวพันธุ์
 ผลิตข้าวกินชนิดพิเศษ เพื่อขายให้แก่ตลาดจำเพาะ (niche market)
   ที่มีข้อตกลงธุรกิจต่อกัน
   เช่นข้าวปลอดสารพิษที่มีวิธีการผลิตมาตรฐานเชื่อถือได้ และมีการตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์…”สนใจรายละเอียดทั้งหมดไปที่

          จะเห็นว่าทางออกที่เสนอข้างต้น เน้นที่การรวมกลุ่ม

ปัญหาอยู่ตรงนี้ !!!

                ผมเอาความคิดเหล่านี้ไปคุยกับเกษตรกรทางบ้านผม  เข้าตั้งคำถามกลับมาว่า " ครูไม่เคยได้ยินโบราณเขาว่าไว้หรือ  เลี้ยงวัวเข้าขา  ทำนาเข้ากันนะ  มันไม่สำเร็จหรอก "  "  เขาขยายความต่อไปว่า  คนเราทำอะไรร่วมกันเดี๋ยวมันก็ทะเลาะกัน  ผมเห็นมามากต่อมากแล้ว  ไม่เห็นมันยืดสักราย "  

           เรื่องนี้ ดร.นิพนธ์  ศศิธร เคยพูดและเขียนไว้นานแล้วว่า  คนไทยมีปัญหาในการรวมกันเป็นกลุ่ม  หรือเป็นองค์กรที่ถาวร และท่านว่า  สาเหตุอยู่ที่คนไทยในระดับเดียวกันไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน 
              ผู้รู้คนอื่น ๆก็พูดในทำนองนี้  ผมได้ยินได้ฟังมา  ก็เชื่อว่าจริง  เห็นด้วยว่าใช่  และก็เชื่อว่าผู้รู้ในวงการศึกษาก็มีความเข้าใจในเรื่องนี้ดี  ในหลักสูตรการศึกษาก็ระบุไว้ในทุกยุค ทุกสมัย  ยิ่งในช่วงหลัง ๆนี้เน้นมาก ๆ  แต่มาถึงบัดนี้คนไทย  โดยเฉพาะคนชั้นล่าง  เกษตรกรอันได้แก่ ชาวไร่ ชาวนา ฯลฯ  และกรรมกร  ยังทำอะไรร่วมกันไม่ได้อยู่ดี

ดังนั้นการศึกษา  โดยเฉพาะการศึกษาที่ชุมชนจะเข้าไปทำ  ต้องให้ความสำคัญของการสร้างจิตใจที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน  ซึ่งในที่นี้  ผมขอใช้คำว่า   "จิตใจที่เห็นหัวของกันและกัน"

โรงเรียนก็ต้องหันมาทำเรื่องนี้   เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่  ทำเรื่องนี้  เรื่องอื่น ๆก็จะตามมาเอง

                                                                             Paaoobtong

                                                                                  20  ธค. 51

         

 

 

หมายเลขบันทึก: 230881เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2008 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ครูอ้อย มาสวัสดีปีใหม่ค่ะ

  • ขอส่งความสุข สดชื่น สมหวัง สุขภาพกายดี  สุขภาพจิตแข็งแรงสมบูรณ์นะคะ
  • คิดหวังสิ่งใดขอให้สม อารมณ์หมายนะคะ

คิดถึงเสมอค่ะ

สวัสดีครับ สวัสดีปีใหม่ครับ

  • ขอให้ครูอ้อยสุขกาย สุขใจ ไร้ซึ่งโรคาภัยทั้งปวงด้วยเถิด
  • ที่บอกท่านครูบาว่า เครียด ๆ ก็ขอให้หายเป็นปลิดทิ้งตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปนะครับ

                                                                       paaoobtong

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท