สร้างเครื่องมือประเมินตนเองให้กลุ่มองค์กรการเงินฐานราก (ก้าว 1.1)


ความเอื้ออาทรนี้ หากเกิดขึ้นได้ ก็น่าจะเป็นคุณค่าที่แท้ของการมีเงินกองทุนสวัสดิการ

บล็อกคุณดอกแก้ว เขียนถึงความรู้สึกที่ได้ไปเยี่ยมเยียนผู้เฒ่าผู้แก่ สมาชิกกองทุนสวัสดิการที่ป่วยไข้

นี่คือคุณประโยชน์ของกองทุนสวัสดิการ    คือ ใช้เงินเป็นเครื่องมือในการรวมคน  เมื่อมีการรวมคน มีการสร้างกติกาในการเยี่ยมเยียน ในที่สุดสิ่งเหล่านี้ถูกแปรเปลี่ยนเป็นการได้ใกล้ชิด เกิดความเอื้ออาทรต่อกันอย่างที่คุณดอกแก้วพูดถึง    ความเอื้ออาทรที่เกิดจากสัมผัสที่ละเอียดอ่อนทางจิตใจระหว่างผู้คน  ความเอื้ออาทรนี้ หากเกิดขึ้นได้ ก็น่าจะเป็นคุณค่าที่แท้ของการมีเงินกองทุนสวัสดิการ

รวมทุนได้  รวมคนได้ แต่ไม่เกิดความเอื้ออาทร หรือเกิดเฉพาะกับผู้เป็นกรรมการกองทุน ก็ยังไม่น่าจะไปถึงเป้าหมาย "พัฒนา(จิตใจ)คน"

ที่หนองสาหร่ายใช้เงื่อนไขทำความดีเป็นกติกาในการกู้ยืม  นับเป็นกุศโลบายที่ชาญฉลาด   หากจะบอกว่า.การออกแบบนี้คล้ายจะเชื่อว่า..พฤติกรรมคนจะถูกปรับเปลี่ยนตามแรงจูงใจ..(ไม่ว่าแรงจูงใจนั้นจะเป็นเงิน เป็นบุญที่คาดหวัง)..ก็ออกจะฟังดูกระด้าง  แต่คงไม่ปฏิเสธว่าเป็นเช่นนั้น

เศรษฐศาสตร์เตือนให้แยกแยะระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่ควรเป็น..  เพื่อไม่ให้การวิเคราะห์เกิดอคติ  เมื่อวิเคราะห์สิ่งที่เป็นจริงได้แล้ว จึงจะเสนอสิ่งที่ควรเป็นในลักษณะที่เป็นนัยยะเชิงนโยบาย 

ปัญหาคือ  ผู้อ่านที่อ่านงานทางเศรษฐศาสตร์ที่เป็น positive economics (สิ่งที่เป็นหรือเกิดขึ้น)  จะหงุดหงิด    บางคนบอกว่าไร้จินตนาการ   และหากนักวิชาการพยายามแยกส่วนวิเคราะห์เพียงเหตุปัจจัยตัวสามสี่ตัว(ที่คิดว่าสำคัญ) ก็จะถูกบอกว่า แยกส่วน  ไร้จิตใจ หรือซื่อ(บื้อ)บริสุทธิ์

แต่ในงานพัฒนานั้นจะมองจากสิ่งที่ควรเป็น ต้องมีจินตนาการ และบ่อยครั้งจะใช้วาทกรรมเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยสร้างจินตนาการ  (ที่ต้องระวังคือ  บางครั้งมอง "สิ่งที่ควรเป็น" บน "ความเชื่อ" ที่คาดเคลื่อนจากสิ่งที่เป็นจริง เช่น มองว่า ดอกเบี้ยแพงเพราะการขูดรีด ดังนั้นจึงไม่ควรมีนายทุนและสินเชื่อนอกระบบ)

นักวิชาการกับนักพัฒนาจึงสื่อสารกันคนละช่องทางเพราะจะไม่ค่อยเข้าใจ "วิธีทำงาน" ของแต่ละฝ่าย (ไม่ทราบว่าเพราะมี "อัตตา" ด้วยหรือไม่)

งานที่ทีมของเรากำลังจะทำ  จะนำวิชาการมาใช้เพื่อสร้างเครื่องมือเพื่อการพัฒนา  จึงจำเป็นต้องผสมผสานสิ่งที่เป็นกับสิ่งที่ควรเป็น ผสมผสานความรู้และข้อเท็จจริงหลายมิติเข้ากับจินตนาการ

 

หมายเลขบันทึก: 231112เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2008 05:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ผมสังเกตเห็นว่า ในงานวิจัยเพื่อพัฒนา (กองทุน) มีเรื่องเกี่ยวกับจริยธรรมค่อนเยอะ เห็นแล้วน้ำลายสอครับท่านอาจารย์ฯ "จริยธรรมในการวิจัยเพื่อพัฒนา" ..... กองทุนชุมชน
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท