การเมืองเรื่องสุนทรียะ ของ รองสิแยร์ ๒


กระนั้นเองดังกล่าวมาแล้วว่าระบบคิดแบบฉันทามติเองนั้นก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากรองสิแยร์ว่า ถึงที่สุดแล้วอาจเป็นเพียงการแปรรูปจากเผด็จการเสียงข้างมากโดยสภา ไปเป็นเผด็จการเสียงข้างมากของภาคสังคมการเมือง นักการศึกษาจำนวนจึงพยายามแก้ปัญหาตรงจุดนี้บนฐานความเชื่อที่ว่า เมื่อประชาชนรู้มากขึ้น ก็จะเกิดความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น รัฐสมัยใหม่ตั้งแต่ช่วงปลาย ศ.ต. ที่ 18 จนราวต้น ศ.ต. ที่ 19 นั้นจึงสร้างความคิดรวบยอด(concept)ในการให้การศึกษาแบบใหม่ที่สำคัญนั่นคือ การศึกษาแห่งชาติ(national education)” โดยมีแม่แบบหลักคือในอังกฤษ, ฝรั่งเศส และอเมริกา ซึ่งมีหลักการสำคัญโดยรวมคือ

ทำให้เหล่าพลเมืองตระหนักในความเป็นสมาชิกของสังคม และความเป็นอิสรชน... ทั้งยังเป็นการกระจายความคิดในเรื่องประชาธิปไตยออกไปสู่พลเมืองอย่างกว้างขวาง... รัฐประชาธิปไตยจึงจำเป็นต้องจัดให้มีการศึกษาอย่างน้อยสองระดับคือระดับต้น(ประถมศึกษา) และระดับสอง(มัธยมศึกษา) และหากรัฐใดที่ต้องการสร้างผู้นำทางสังคม และทางการเมืองที่มีความเป็นประชาธิปไตยด้วยแล้ว รัฐนั้นสมควรที่จะจัดการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย...[1]

ในกระบวนการสร้างความรู้ทางการเมืองบนฐานคิดเช่นนี้ วงวิชาการการศึกษานั้นเริ่มตั้งแต่การถกเถียงในระดับรากศัพท์ที่ว่า การศึกษานั้นเกิดขึ้นเมื่อมีมนุษย์คนหนึ่งมีประสบการณ์จากเรื่องใดเรื่องหนึ่ง, แล้วจดจำ, นำกลับมาใคร่ครวญ, และจากนั้นนำมาสั่งสอนให้กับมนุษย์คนอื่นๆ การศึกษาสำหรับนักการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่ถือกำเนิดอย่างจงใจในสภาวการณ์ที่มีมนุษย์ 2 คนขึ้นไปเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะหากมีมนุษย์เพียงคนเดียวแล้วการศึกษาคงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่เกิดเพียง การเรียนรู้”(learning) ที่ได้รับจากสภาพแวดล้อมเท่านั้น ด้วยข้อสรุปเช่นนี้ การศึกษา”(education) จึงมีความใกล้เคียงกับ การชี้แนะ”(instruction) จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจนักเพราะหากลองสำรวจไปที่ คำ ในภาษาจำนวนหนึ่งจะมีการใช้คำทั้งสองนี้ในความหมายเทียบเคียง(synonyms) หรือเป็นคำเดียวกันไปเลย อาทิ[2]

 

ภาษา

การศึกษา

การชี้แนะ

ฝรั่งเศส

Éducation, Instruction

Instructions

อิตาเลียน

Cultura

Educazion

โปรตุกีส

Instrução

Instrução

สเปนิช

Instrucción

Instrucción

มีต่อ http://gotoknow.org/blog/iammean/237908


[1] Ellwood P. Cubberley, The History of Education, (Cambridge · Massachusetts : The Riverside Press, 1930), p. 788, 791 - 793. หลักการเหล่านี้ได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากนักคิดในฝรั่งเศสโดยเฉพาะรุสโซ(Jean-Jarques Rousseau) และกองดอร์เชต์(Marquis Jean-Marie-Antoine-Nicolas Caritat de Condorcet) โดยแต่เดิมเป็นความคิดที่เกิดขึ้นสำหรับโรงเรียนของรัฐเท่านั้น ต่อมาในอเมริกาได้มีการเรียกร้องให้เอกชน หรือท้องถิ่นจัดการการศึกษาโดยตนเองได้ แต่โดยความคาดหวังหลักของการศึกษานั้นก็คงยังไม่แปรเปลี่ยนไป.โดยละเอียดโปรดดู ibid., p. 508 – 515.

[2] อ้างอิงจากประมวลศัพท์ของพจนานุกรมอิเลคทรอนิคส์สาธารณะ <http://freelang.net/>

หมายเลขบันทึก: 237906เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2009 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท