การตรวจประเมินแบบไม่ทำลาย


การตรวจประเิมิน ถ้าหมายถึง Audit  ผมว่า แปลผิดถนัดเลย  Audit คือ การฟัง ๆๆๆๆ

Non-Destructive Audit  หรือ Humanized Audit  ไม่ทำร้ายใจ  ไม่ทำลายทุนทางสังคม ทุนทางปัญญา และ ทุนทางความรักสามัคคี ผูกพัน ในองค์กร

กิจกรรม การ Audit แบบไม่ทำลาย  Non-destructive audit  หรือ  Humanized Audit

                เป็นการ audit บนพื้นฐานที่ว่า    มนุษย์ทุกคนเป็นคนดี  เราเข้าไปฟังเขา   หากเจอข้อ ผิดปกติ  ก็ถามเขาสะก่อน  อย่าใจร้อน ตัดสินว่าเขาผิด เลว     ทุกครั้งที่เขาคิดต่างไปจากเรา   เราอาจจะผิดก็ได้    ความแปลกใหม่มักมากับผู้กล้าที่แหวกวงล้อม   นวตกรรมดีๆมักโดนทำลายโดย คนตรวจประเมินบ้าอำนาจ ได้ยินแต่ไม่ได้ฟัง  ฯลฯ

            ผู้ตรวจ ฯ ควร Lean กิเลส ในใจของตนเองสะใหม่นะ    ก่อนจะไปตรวใจ  ตรวจตนเองหรือยัง  บ้าอำนาจ  หรือเปล่า   มาหลอกขาย consult เขาหรือเปล่า   คิดทุกมุมหรือยัง   เปิดใจหรือยัง  ยังมีหัวใจของมนุษย์ที่มีคุณธรรมหรือเปล่า   มาแจก Car ใจหรือเปล่า   มา "ทำลาย" Intangible capital หรือเปล่า   ฯลฯ

              ขั้นตอน

1.       Audit แปลว่า ฟัง  มาจากรากศัพท์ audio    ดังนั้น  คือ กิจกรรมการไปฟังกัน ไม่ใช่ไปจับผิด  คาใจกัน  ปกป้องกัน

2.       เป็นการล้อมวงสนทนา  แบบ “ฟังเชิงลึก”  (deep listening)   พูดทีละคน  ไม่แย่งกันพูด   ไม่ขัดจังหวะ ไม่ขัดคอ  ปล่อยไหล (Flow)   ไม่พิพากษา  ไม่สรุป

3.       เป็นการภาวนาร่วมกัน   ภาวนา คือ การดูจิต   มีสมาธิกับการ รู้เท่าทัน “ความคิด” ต่างๆ เช่น อคติ ลำเอียง รังเกียจ เหินห่าง แตกแยก แบ่งพวก ยกตน  อัตตา ฯลฯ  รู้เท่าทันจิต  อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น    หัด อดทนฟัง  ไม่ฟุ้งซ่าน 

4.       ถ้าคันปาก อยากพูดมากๆ  ก็จงเอามือปิดปากไว้  อย่ารีบร้อนนำเสนอ  ฟังเขาให้จบก่อน

5.       รักษาลมหายใจให้เป็นปกติ นั่งสบายๆ  อากาศสบายๆ   เป็นสถานที่ สัปปายะ   เพราะ “จิตสงบปัญญาเกิด” พนักงานและผู้บริหาร   ล้อมวงกัน ต่างหน่วยงานกันยิ่งดี     เมื่อล้อมวงกันแล้ว   เริ่มต้นด้วยการ สงบใจ (Keep silent) หรือ สร้างกำลังสติ   สวดมนต์ก็ได้   นั่งสมาธิก็ได้

6.       แนะนำตัวกัน

7.       ผมใช้ การตั้งคำถาม ให้ กลุ่มชวนคุย ชวนคิด เช่น  ให้แต่ละ คนเขียนลงในสมุด หรือ กระดาษว่า  ตอนนี้ กำลังกังวลใจเรื่องใดในงานที่ทำอยู่    กลัวอุปสรรคอะไร  อยากทำอะไรบ้าง

8.       จากนั้น  ผลัดการเล่าทีละคน คนอื่นๆ  ก็ฟัง  และ เสนอแนวคิด   ตามแนวทางของสุนทรียสนทนา (Dialogue)

9.       อาจจะมีใครสักคน คอยจดบันทึก เรื่องราว เพื่อนำเสนอให้คนอื่นๆ ได้ทราบก็ดีนะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 248158เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2009 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โอ้ เคยทำ Audit เวชระเบียนในโรงพยาบาลมาหลายครั้ง แต่นึกไม่ถึงตรงคำว่า Audit ที่แปลว่าการฟังเลยครับ

ในฐานะคนAuditคนอื่นที่ตนเองก็ต้องถูกAuditด้วย ก็ขัดใจในบางครั้งที่เวลาไปทำแล้ววิทยากรให้เราชี้ถูกผิดของเวชระเบียนของโรงพยาบาลอื่น เพราะในฐานะคนทำงานเราก็รู้ว่าการมองแต่เวชระเบียนแล้วไม่เห็นผู้ป่วย ย่อมขาดข้้อมูลที่สำคัญเกินกว่าที่จะไปตัดสินผิดถูกได้

มีประโยชน์มากครับ

ขอบคุณครับ

เรื่องราว ใน สถานที่ๆ โดนตรวจ บ่อยครั้ง เกิดจาก หน่วยงานอื่นๆ รังแก มีอยู่เสมอๆ แต่ คนตรวจ "ในกะลา หูหนวก ตาบอด ใจแคบ ขี้ขลาด" มองไม่เห็น ไม่เข้าใจ ไม่มีใจ และ ขาดสติ ปัญญา

ดังนั้น ผมจึงฝึก ผู้ฟัง คือ auditor ให้มี paradigm ใหม่ เป็นแบบ ก้น ตัวยู มากขึ้น

ให้ sensing มากขึ้น Empathy แต่ ไม่ใช่ Sympathy

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท