ลำดวน
นาง ลำดวน ไกรคุณาศัย (เรือนรื่น)

ทำไมนะ มีดิน แต่ปลูกพืชผักไร้ดิน.....


ปลูกผักไร้ดิน จะเป็นอันตรายต่อการบริโภคไหม มีสารอะไรตกค้าง...

        ที่บ้านมีที่ดินกว้างพอสำหรับการปลูกพืชผล ไม้ยืนต้น และพืชผักที่ใช้บ่อยๆค่ะ เช่นกระเพรา โหระพา ตระไคร้ ใบมะกรูด ฯลฯ

       แต่วันนี้คนข้างเคียง สั่งผู้ชำนาญการปลูกผักไร้ดิน มาติดตั้งอุปกรณ์การปลูกผักไร้ดินเป็นชุดที่สอง ด้วยเหตุผลว่าถาดปลูกพืชไร้ดินที่มีอยู่เดิมไม่ทันกิน (ความจริงคือไม่พอแจกค่ะ)

       เหตุที่ปลูกพืชไร้ดินเพราะว่าการปลูกสะดวกง่าย ไม่ต้องลงแรงในการขุดดิน รดน้ำพรวนดิน และที่สำคัญไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง เพราะกางมุ้งครอบ นี่คือเหตุผลที่ปลูกพืชไร้ดินค่ะลำพังเราทั้งสองคน ไม่มีปํญญาที่จะขุดดินปลูกผักทำเช่นนั้นได้ ด้วยความที่ร่างกายไม่แข็งแรง

       แต่ปัญหาที่ดิฉันกังวลคือการอยากทราบว่า แล้วผักที่ได้นี้จะเป็นอันตรายต่อการบริโภคหรือไม่ เพราะปุ๋ยที่นำมาใช้เป็นสารอาหารสำเร็จรูปของพืช ที่เขาทำเอาไว้แล้ว ผสมไว้และขาย เป็นแกลลอน

       ผักที่ปลูกเป็นประจำ คือผักสำหรับผู้ป่วยโรคไต เช่นผักกาดขาว ผักบุ้งจีน ผักกาดหอม เป็นผักที่คนข้างเคียงรับประทานได้ เพราะโปรตัสเซี่ยมต่ำ และรับประทานกรอบอร่อย ด้วยความที่ใช้เวลาปลูกสั้นๆ ก็เก็บรับประทานได้ เพียง 15 วันสำหรับผักบุ้ง และ 20 วันสำหรับผักกาดขาว ค่ะ

        ตอนนี้ดิฉันคิดว่า เราป้องกันเรื่องโรคและแมลงพืชผักได้ แต่เราจะได้สารอะไรตกค้างมาบ้างหรือไม่  กังวลอีกแล้วค่ะ.....

หมายเลขบันทึก: 251653เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2009 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (54)

สวัสดีค่ะ

อยากเห็นภาพจังเลยนะคะ

น่าปลื้มนะคะ..ผลผลิตที่ได้ไม่พอแจกอิอิ

เลยต้องขยับขยายกันอีก..ความสุขเล็กๆค่ะ

คิดถึงค่ะ

  • ผักไร้ดินไม่ใช่ผักปลอดสารเคมีค่ะอาจารย์
  • จึงมีส่วนที่พึงระวัง
  • ..............
  • เคร่งครัดหน่อยก็ตรงเรื่องสารอาหารพืชนะค่ะ
  • ..............
  • เคยมีผู้สุ่มตรวจผักพวกนี้อยู่บ้าง
  • แล้วพบว่ามีสารไนเตรตเกิน
  • ..............
  • สารไนเตรตทำให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกายได้ค่ะ
  • ..............
  • สารไนเตรตไม่ใช่สารตกค้าง
  • หากแต่เกิดจากกระบวนการในพืชเอง
  • ..............
  • การเติมสารเคมีในสัดส่วนที่ผิดธรรมชาติลงไปให้ดูดกิน
  • เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดขึ้นได้
  • ..............
  • สามารถเรียนรู้มันได้
  • เพื่อให้สามารถกินต่อไปอย่างปลอดภัย
  • ใช้ฐานะผู้บริโภค
  • ขอความช่วยเหลือจากหน่วยราชการที่อยู่ใกล้
  • ช่วยสุ่มตรวจสารไนเตรตในผักให้หน่อย
  • ...............
  • ลองติดต่อดูนะค่ะอาจารย์
  • โครงการอาหารปลอดภัย
  • มีทั้งของสาธารณสุขและเกษตรค่ะ
  • หรือจะขอความช่วยเหลือ
  • จากมหาวิทยาลัยที่มีแล็บก็ได้ค่ะ
  • ...............
  • ดูเหมือนสาธารณสุขจะมีชุดทดสอบ
  • ที่สามารถตรวจเองได้จำหน่ายด้วย
  • ลองติดต่อที่กรมวิทย์ กระทรวงสาธารณสุขดูนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะ ศน.แอ้ด
  • คลายโศกเศร้าบ้างแล้วนะคะ
  • ภาพ ต้องรอน้องศน.เขานำขึ้นให้น่ะค่ะ
  • ทำเองไม่เป็น
  • เดี๋ยวจะไปถ่ายไว้อีกค่ะ
  • ช่างกำลังทำพอดีค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะคุณหมอเจ๊
  • เป็นความรู้ที่สุดยอดสำหรับลำดวนจริงๆค่ะ
  • เพราะก็กังวลอยู่ลึกๆค่ะคุณหมอ เรื่องสารตกค้าง
  • จะติดต่อสารธารณสุขโดยด่วนเลยค่ะ
  • ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

สมกับเป็นหัวหน้ากลุ่มนิเทศ ฯ จริงจริ๊งๆๆๆๆ

บูรณาการได้เกือบเกือบทุกสาระ : การงานอาชีพ ฯ (เกษตร  คหกรรม) วิทยาศาสตร์  สุขศึกษา ..........

แต่งหน้าบล็อกซะสวยเชียวนะคะ(ไม่ได้แวะเวียนมาเสียนาน)

ดีใจกับกิจการแปลงผักไร้ดินด้วยค่ะ

วันหลังจะไปขอรับแจกบ้าง

 

  • สวัสดีจ้ะสุมาลี
  • ขอบคุณค่ะที่มาให้กำลังใจ
  • ว่างแวะมาได้เลย ถ้าเป็นช่วงโตพอดี ได้รับแจกแน่ๆ
  • คุณปู่พอใจแจก......

อิอิ.อิ....ผมคนเดินดิน กินข้าวแกง แข่งปรับไมค์ ทุกต้นผมปลูกบนดินครับ

เคยศึกษามาพักใหญ่

ขอนำความรู้ที่เคยได้ศึกษามาให้เพื่อประโยชน์ และ ลปรร

http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2007/12/J6139344/J6139344.html/2007/12/J6139344/J6139344.html    (ขอขอบพระคุณ)

ส่วนเรื่องสารพิษตกค้าง  ขอย้ำว่า  ต้องแช่น้ำสะอาด ให้รากขาวก่อนรับประทาน

 

 

 

ความเห็นที่ 8  สงสัยจะลิ้งค์ผิด  ขอส่งลิ้งค์ใหม่

http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2007/12/J6139344/J6139344.html   (ขอขอบพระคุณ)

  • สวัสดีค่ะผอ.ประจักษ์
  • ผลไม้ทั้งหลายแหล่นั้นสุกเก็บได้แล้ว นำมาแลกกับผักไร้ดินของบ้านปู่พอใจบ้างก็ได้นะคะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • สบายดีนะคะ
  • สวัสดีค่ะผู้ไม่แสดงตน
  • ตามไปที่ลิงค์มาแล้วค่ะ
  • สุดยอดความรู้เพิ่มเติม
  • จะต้องไปค่อยๆติดตามอ่านโดยละเอียด อีกหลายๆครั้งค่ะ
  • ขอบคุณมากนะคะ
  • แวะมาอีกรอบเพื่อบอกบางเรื่องอีกหน่อย
  • อาจารย์ค่ะ สำหรับผู้เป็นโรคไต
  • สิ่งที่พึงระวังในผักอีกตัว
  • คือ สารฟอสเฟตนะค่ะ
  • ..........
  • คนเป็นโรคไตให้เลี่ยงอาหารที่มีฟอสเฟตสูงด้วยค่ะ
  • ไม่ใช่แค่เลี่ยงโปตัสเซียมสูงเท่านั้น
  • ..........
  • ปลูกผักกินลองศึกษาเรื่อง สัดส่วน NPK ในปุ๋ยด้วยนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

เราเลือกได้ทางหนึ่งก็มาเสียอีกทางหนึ่ง ก็ต้องป้องกันว่าทางไหนดีกว่า งั้นใช่ไหมคะ

ไม่ว่า ปลูกพืช ทางไหน  ก็ย่อมมีสารตกค้าง..

จำได้ว่า  เคยอ่านบันทึกที่ คุณลุงหมอวัลลภ แนะนำวิธีล้างผัก โดยใช้โซเดียมไบคาร์บอเน็ต   ตัวเองก็ใช้วิธีนี้อยู่ เพราะไม่ทานเนื้อ

เดี๋ยวจะลองค้นลิ้งค์ให้    ~_~

มาอีกรอบ   ยกให้เป็นวันของ  ผัก   ~_~

 

http://gotoknow.org/blog/health2you/236823   (ขอขอบพระคุณ)

  • สวัสดีค่ะคุณหมอเจ๊
  • ใช่เลยค่ะฟอสเฟต ตัวสำคัญอีกตัวหนึ่ง ที่ขณะนี้เป็นปัญหาว่าค่อนข้างสูง จากการเช็คเลือดเดือนที่แล้วของคนข้างเคียงค่ะ
  • คุณหมอสั่งห้ามไข่แดง นม ขนมปัง และให้รายละเอียดอาหารต้องห้ามมาให้ค่ะ
  • ขอบพระคุณมากค่ะ
  • สวัสดีค่ะครูนงเยาว์
  • ตอนนี้ลำดวนต้องดูแล และศึกษาเรื่องอาหารค่ะ
  • เพราะคนข้างเคียงไตวายเรื้อรัง ต้องฟอกไตอาทิตย์ละ 3 ครั้งค่ะ
  • พอระวังเรื่องหนึ่งก็จะไปโดนอีกเรื่องหนึ่งค่ะ
  • ต้องค่อยๆศึกษาไปค่ะ
  • สวัสดีค่ะไม่แสดงตน
  • ขอบคุณมากๆเลยค่ะที่มาให้ความรู้
  • ได้ตามไปอ่านค่ะมีประโยขน์มากค่ะ
  • และได้รู้เรื่องการใช้ผงฟูแช่ผัก เพื่อลดสารตกค้าง จากคุณหมอวัลลภด้วยจากการตามอ่านจากลิ้งค์ของคุณ
  • มีอะไรที่จะแนะนำอีกขอด้วยนะคะ
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

มาชม

อยากเห็นภาพเหมือนกันนะ

ปลูกพืชไร้ดินได้อย่างไร...

เพิ่งมาเห็น คห. 18  

สามารถหาความรู้ให้ากที่สุด เผื่อเป็นทางเลือก เพราะอาจมีเรื่องให้ต้องตัดสินใจอย่างกระทันหัน  เช่น search google  คำว่า  ไต  >> http://www.yourhealthyguide.com/article/topic-kidney.htm

โรคไต และ ผัก >> http://www.yourhealthyguide.com/article/ak-kidney-2.htm

http://www.ku.ac.th/e-magazine/nov51/agri/agri2.htm  (ดูปุ๋ยโพแทสเซี่ยมในผัก)

http://www.thainews70.com/news/news-columnist/view.php?topic=774  (ป้องกันและรักษาโรคไตด้วยธรรมชาติบำบัด)

กำลังใจคนใกล้ตัวที่ต้องเป็นผู้ดูแล จะสำคัญกว่าคนป่วย  เพราะต้องใช้กำลังในการให้กำลังใจคนป่วยด้วย   อย่าเครียดมากนัก  เลือกทำสิ่งที่ทำได้ง่าย ก่อน สิ่งที่ยุ่งยากในการทำ  

การรักษา จะยากกว่า การป้องกัน  ขอให้กำลังใจ  ~_~

 

  • สวัสดีค่ะคุณumi
  • รูปต้องรอนิดนะคะ
  • จะวานน้องที่ทำงานนำมาขึ้นให้ค่ะ
  • ขอบคุณที่แวะมาค่ะ
  • สวัสดีค่ะไม่แสดงตน
  • อยากจะขอบคุณสักร้อยครั้งพันครั้งค่ะ
  • เพราะลำดวนไม่ค่อยเก่งคอม
  • หาข้อมูลไม่ค่อยเป็น
  • ได้อ่านเรื่องโรคไตจากที่คุณกรุณาลิ้งค์ให้
  • จะทำให้สามารถดูแลคนข้างเคียงได้ดีขึ้นค่ะ
  • ขอบคุณค่ะๆ

สวัสดีค่ะ

* อิอิ มาขอผักกินบ้างค่ะ

* ถ้าจะต้องเอาอย่างบ้างแล้ว

* สุขกายสุขใจนะคะ

สวัสดีค่ะ  แวะมาทักทายค่ะ  ที่รู้มานะค่ะ ในการปลูกผักไร้ดินนั้นเหมาะสำหรับคนที่มีพื้นที่จำกัด  หรือมีพื้นที่น้อยๆหรือไม่มีค่ะ  เช่นบนคอนโด  ข้อเสียคือได้ผลผลิตน้อย   การดูแลก็ไม่ยุ่งยากค่ะ  การใช้ยาก็ให้ใช้พวก EM ค่ะ คือเอาเศษผัก  ปลา ผลไม้สุกที่เหลือกิน น้ำซาวข้าว  พด.2  หมักทิ้งไว้ 20 - 30 วัน  ปลอดภัยดีค่ะ

  • สวัสดีค่ะครูพรรณา
  • ไปสุพรรณแวะที่บ้านลำดวนนะคะ
  • ตอนนี้มีกวางตุ้งใต้หวัน กับผักบุ้งค่ะ
  • ปลูกง่ายๆดีค่ะไม่ต้องดูแลมาก
  • สวัสดีค่ะตุ๊กตา
  • ตอนนี้กำลังศึกษาวิธีนำปุ๋ยชีวภาพมาใช้กับพืชไร้ดินค่ะ
  • รอดูว่าใส่แล้วจะทำให้ต้นเน่าไหมค่ะ
  • ขอบคุณมากสำหรับคำแนะนำค่ะ

พืชไฮโดรโปนิกส์ น่าสนใจมากนะคะท่าน ศน.

ด้วยความยินดี..   คุณลำดวน    ~_~

search google  ง่ายๆ   ใช้เม้าส์  คลิกที่คำว่า  Searchตรงที่มีแว่นขยาย  บน worksheet ที่เราต่ออินเตอร์เน็ต.. 

จากนั้นจะมีหน้าต่างขึ้นมา  ก็ใส่ข้อความที่เราต้องการหา  อาจจะเป็นคำสำคัญ หรือ อื่นๆ เราจะได้คำตอบมากมาย  ที่เราไม่ต้องเสียเวลาไปถามหาจากใครๆ เลย    ร้อมใช้  ดีจริงๆ 

ขอขอบพระคุณ  google 

  • ตามมาดู
  • ชอบการปลูกแบบใช้ดิน
  • เลยไม่มีประสบการณ์
  • แต่มีสารตกค้างน้อยแบบคุณพี่หมอเจ๊บอก
  • เอามาฝาก
  • อิอิๆๆ
  • แบบนี้ใช้ดินครับ
  • สวัสดีค่ะครูแอน
  • ปลูกไปศึกษาไปค่ะครูแอน
  • ดีตรงไม่ต้องใช้แรงกายค่ะ
  • ขอบคุณครูแอนนะคะ
  • สวัสดีค่ะไม่แสดงตน
  • ได้ตามไปที่คุณแนะนำ
  • ทำให้ได้ความรู้เรื่องผักไร้ดินมากเลยค่ะ
  • เรื่องโรคไตก็ตามไปค้นในกูเกิ้ลตามที่แนะนำค่ะ
  • ขอบคุณมากๆค่ะ

มาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ..ถ้าจะปลูกบ้างขออนุญาติขอคำปรึกษาได้ไหมค่ะป้าดวน....

ระลึกถึงเสมอค่ะ....

  • ได้เลยค่ะkitty jump
  • แต่ว่าป้าดวนก็จ้างเขามาทำแท่นให้นะคะ
  • แล้วจึงปลูกเอง
  • ปลูกวนเวียนไปตามที่เราต้องการว่าจะกินผักอะไรค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ

แบบอาจารย์ขจิต  เรียกว่า ปลูกแบบธรรมชาติ  เทวดาเลี้ยง

ผัก จะไม่เหมือน.. ไม้ผ่านอายุที่ทิ้งธรรมชาติได้แล้ว   เหมือนทารก..  เลี้ยงไม่เหมือนเด็ก 1 ขวบ  เพระ ผักที่เราปลูก เพิ่งงอกจากเมล็ดเล็กมากๆ (เล็กแค่ไหน ต้องกลับไปดูเมล็ดผัก)

สังเกตุ ผักปลูกดิน ในตลาดที่ โดปปุ๋ย มา ยิ่งถ้าโดนน้ำ ผ่านการส่งแบบแช่น้ำแข็งมา  จะเน่าเร็ว เก็บไม่ได้นาน  ทำให้มีท็อกซินตกต้าง  โดยเฉพาะ กระหล่ำปลี + ผักกาดขาว ที่มีรอยเน่าแล้ว  ท็อกซินอยู่ได้นานมาก  (เคยอ่านจากบทความ..)

พิษของอาหาร ไม่ว่าพืชหรือสัตว์ ล้วนอยู่ที่สารที่หลั่งออกมาในพืชหรือสัตว์ แล้วตกค้างอยู่

ผักปลูกน้ำ  จะมีเทคนิค  ก่อนเก็บกิน 1 วัน  ต้องถ่ายน้ำที่มีปุ๋ยแร่ธาตุต่างๆ ออกให้หมด  แล้วใช้น้ำสะอาดใส่แทน  รากก็จะขาว  สารพิษก็จะน้อยลง  ทำมาแล้ว  ค่อนข้างโอเค  เพราะ 1 วัน ที่รากแช่ในน้ำสะอาด พืชนั้นได้ใช้อาการที่ตกค้างอยู่ในต้นไปหมด ตามวิชาปลูกพืชผักด้วยน้ำ ของคุณวิหค..    ~_~

เคยซื้อผักปลูกน้ำ ตามห้าง  มาแช่น้ำไว้เหมือนกัน  แต่สู้ปลูกเองไม่ได้  อาจจะเป็นเพราะผ่านตู้แช่เย็นมาแล้ว..

 

มีเรื่องควรระวังอีกเรื่องหนึ่ง  

กระหล่ำปลี ปัจจุบัน มักจะ  แช่สารกันเน่า

เห็นไม่สดจริงๆ อย่าซื้อ

พอดีอ่านเจอ  เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อ คุณ ศน. ลำดวน  ก็เลยนำมาฝาก..  (ยินดีให้   ~_~   ...ตัวเองมีเวลา ทำงานส่วนตัว...ถ้ามีแล้ว/ซ้ำกับที่มีอยู่แล้วก็ลบทิ้งเลยนะ  ไม่ต้องเกรงใจ..   ~_~)

http://www.chuankin.com/news_articles.php?na_id=24

http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Kid/k161/066.html

 

 

เข้ามาอ่านค่ะ สบายดีนะคะไม่ได้เจอกันนานมาก เจอกล้วยไม้ป่า ช้างกระนำมาฝาก

  • สวัสดีค่ะคุณไม่แสดงตน
  • นำสิ่งดีๆมาฝากอีก 3 ครั้ง
  • ขออภัยค่ะที่ไม่ได้ตอบทันที เพราะรอให้มีเวลาไปอ่านตามที่กรุณาลิ้งค์ให้ก่อนค่ะ
  • และได้ตามไปอ่านแล้ว สุดยอดมากๆค่ะ
  • ได้ประโยชน์ต่อลำดวนมากค่ะ
  • เพราะต้องดูแลสามีที่ต้องฟอกไต อาทิตย์ละ 3 ครั้ง
  • ต้องระวังเรื่องอาหารมาก
  • วิธีเลือกผักกระหล่ำปลี ผักกาดขาวสนใจมากค่ะ
  • ขอบคุณอีกหลายๆครั้ง ทั้งที่ไม่เคยรู้จักแต่ก็ยังกรุณา
  • สวัสดีค่ะพี่ชัดเจน
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยม พร้อมช้างกระสวยๆ
  • ลำดวนสบายดีค่ะ
  • ติดตามเชียร์พี่ชัดเจนอยู่ค่ะ

ทานข้าวหรือยังคะ

แวะมาส่งอาหารมื้อเย็นคะ

คิดถึงนะคะ

  • สวัสดีค่ะปลายฟ้า
  • ทานข้าวแล้วค่ะ ข้าวกล้องกาบา กับผัดผักกาดขาวปลูกเอง
  • ผลไม้แตงโมแช่เย็นเจี๊ยบ
  • อิ่มเกินไป เลยหาเรื่องไม่ออกกำลังกายค่ะ
  • ปลายฟ้าสบายดีนะคะ

สวัสดีค่ะ

เคยได้อ่านเกี่ยวกับผักที่ไม่ปลูกในดิน หรือ ผักไฮโดรโฟนิกส์ว่ามักจะมีสาร "ไนเตรต" เกินค่ะ ซึ่งสารที่เกินนี้อาจเนื่องมาจากสัดส่วนของน้ำปุ๋ยที่เลี้ยงผัก

ผักไฮโดรโฟนิกส์นี้ มักขายในห้าง และร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ค่ะ ดูสวยงาม น่าทาน และกรอบสด แต่...มักจะช้ำและส้งเกตเห็นว่า...เน่าง่าย

สำหรับกลุ่มธรรมชาติบำบัด จะไม่แนะนำให้ทานผักชนิดนี้ เพราะถือว่าเป็นผักที่ผิดธรรมชาติ ไม่ได้มีการสังเคราะห์แสงจากดินและแสงอาทิตย์ จึงไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "พลังชีวิต" อยู่เหมือนผักทั่วไปค่ะ

คงต้องมีการหาข้อมูลเพิ่มเติมนะคะ

(^___^)

สวัสดีค่ะ  คุณ ลำดวน  และ คุณ คนไม่มีราก

Moon smiles on Venus&Jupiter พอดีมีเวลา ก็เลยมาช่วยค้นข้อมูลเพิ่มเติมให้ค่ะ  (search google พิษของผักไฮโดรโฟนิกส์)  ลองๆ อ่านดูก่อน เผื่อประยุกต์เทคนิคค่ะ..

 

การจัดการผักปลอดสารพิษ

Hydroponics คืออะไร ?

       Hydroponics หรือที่ในภาษาไทยอ่านว่า ไฮโดรโพนิกส์ หรือ ไฮโดรโปนิกส์  (ไม่ใช่ ไฮโดรโฟนิกส์ อย่างที่หลายคนเรียกกัน)  คำว่า Hydroponics มีรากศัพท์มาจากคำในภาษากรีก 2 คำคือ Hydro แปลว่า น้ำ Ponos แปลว่า งาน ซึ่งเมื่อนำ 2 คำมารวมกัน จะมีความหมายว่า การทำงานที่เกี่ยวกับน้ำ เมื่อนำมาใช้กับการปลูกพืช จะหมายถึง การปลูกพืชลงบนสารละลายธาตุอาหารพืช โดยให้รากพืชสัมผัสกับสารละลายโดยตรง

ความสำคัญของ "Hydroponics"

       หลายคนอาจจะสงสัยว่า ปลูกพืชด้วยดินตามปกติก็สามารถปลูกได้ ทำไมเราจึงต้องเปลี่ยนมาใช้วิธี Hydroponics ในปัจจุบันปัญหาด้านการเกษตรนั้นมักพบว่าดินเสื่อมคุณภาพ ทั้งจากการใช้ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เกิดสารพิษตกค้างตลอดการสะสมโรคและแมลง ทำให้การปรับปรุงดินที่เสื่อมคุณภาพให้สามารถกลับมาปลูกพืชได้นั้น ค่อนข้างยุ่งยาก หรือเสียค่าใช้จ่ายสูง แนวโน้มของผลผลิตที่มีคุณภาพก็ลดลง การปลูกพืชด้วยระบบ Hydroponics จึงเป็นทางเลือกที่จะทำให้เราสามารถปลูกพืชได้ผลผลิตตลอดทั้งปีและมีคุณภาพโดยไม่ต้องใช้ยาปราบศัตรูพืชที่มากับดินอีกด้วย นอกจากนั้นการปลูกพืชด้วยระบบ Hydroponics ยังใช้ระยะเวลาในการปลูกพืช เร็วกว่าการปลูกด้วยดิน เนื่องจาก รากพืชสามารถรับสารอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำได้โดยตรง แต่การปลูกพืชด้วยดินนั้น เราจะใส่สารอาหารลงในดิน พืชก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้หมดและยังสูญเสียพลังงานในการดูดสารอาหารอีกด้วย 

ข้อดีและข้อเสียของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน 

       การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในส่วนของข้อดีนั้น จะโดดเด่นในเรื่อง การจัดการด้านต่างๆ ประสิทธิภาพและปริมาณที่สามารถผลิตได้มากกว่าในดิน เมื่อเทียบพื้นที่การผลิตที่เท่ากัน สำหรับข้อเสียนั้น จุดที่สำคัญน่าจะเป็นในเรื่องการควบคุมดูแลเอาใจใส่ที่ต้องสม่ำเสมอ มากกว่า การลงทุนในเบื้องต้น บางคนบอกว่าการลงทุนค่อนข้างสูง แต่ถ้าบริหารจัดการให้ดีก็สามารถคืนทุนได้เร็ว

           ข้อดี
           1. สามารถทำการเพาะปลูกพืชในบริเวณพื้นที่ที่ดินไม่ดี ดินเสื่อมสภาพ
           2. ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเตรียมดิน และการกำจัดวัชพืช
           3. สามารถปลูกพืชได้อย่างต่อเนื่องตลอดปี ในพื้นที่เดิม เนื่องจากไม่ต้องเตรียมดิน และกำจัดวัชพืช 
           4. สามารถตัดปัญหาเกี่ยวกับศัตรูพืชที่เกิดจากดิน ทำให้สามารถปลูกพืชในพื้นที่เดียวกันได้ตลอดปีถึงแม้จะเป็นพืชชนิดเดียวกัน 
           5. เป็นระบบที่มีการใช้น้ำ และธาตุอาหารพืชอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ
           6. เพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้แรงงาน
           7. สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างถูกต้องแน่นอน และรวดเร็วโดยเฉพาะในระดับรากพืช ได้แก่ การควบคุมปริมาณธาตุอาหาร ความเป็นกรด - ด่าง อุณหภูมิความเข้มข้นของออกซิเจน ฯลฯ ซึ่งการปลูกพืชทั่วไปทำได้ยาก
           8. พืชเจริญเติบโตเร็วกว่าการปลูกในดิน ผลผลิตรวมต่อปี จะมากกว่าการปลูกในดิน เมือเทียบพื้นที่การผลิตที่เท่ากัน
           9. ผลผลิตที่ได้สะอาด และมีความสม่ำเสมอ
 
          
ข้อเสีย
           1. เป็นระบบที่มีราคาแพง เนื่องจากประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆมากมาย ต้นทุนการผลิตเริ่มต้นอาจจะสูง
           2.จะต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญ และประสบการณ์มากพอสมควร ในการควบคุมดูแล
           3. ต้องการการควบคุมดูแลอย่างสม่ำเสมอ

การเลือกพื้นที่สำหรับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

       ในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน มีข้อได้เปรียบในเรื่อง ดินที่ไม่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งช่วยลดปัญหาเรื่อง การเตรียมดิน ศัตรูพืชในดิน วัชพืช ต่างๆ ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลาและแรงงานด้วย สำหรับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนั้น ควรต้องพิจารณาเรื่องพื้นที่ และสภาพแวดล้อมที่จะใช้ในการผลิตด้วย เพราะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยทั่วไปการผลิตพืชผักในโรงเรือน ควรพิจารณาในการเลือกพื้นที่ดังนี้

ต้องมีน้ำที่มีคุณภาพดีและมีปริมาณเพียงพอ 
       โดยทั่วไปสำหรับพื้นที่การผลิต 1 ไร่ ซึ่ง ผลิตด้วยระบบการปลูกพืชแบบ NFT ความต้องการใช้น้ำจะอยู่ที่ 4,000-7,000 ลิตร ต่อ วัน และหากน้ำที่จะนำมาใช้ถ้าคุณภาพน้ำไม่ดีควรติดตั้งระบบกรองน้ำ เพื่อปรับปรุงให้น้ำมีคุณภาพที่เหมาะสมกับการผลิตด้วย

************มีแสงแดดส่องทั่วถึง *************
       ในพื้นที่จากทิศตะวันออก-ตะวันตก โดยถ้าในพื้นที่มีแสงแดด น้อยควรปลูกพืชขวางตะวันเพื่อให้พืชผักสามารถรับแสงแดดเพื่อการเจริญเติบโตได้เต็มที่ และในพื้นที่ควรมีแสงแดดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน

ควรเป็นพื้นที่ราบเรียบ
       พื้นที่สำหรับการผลิตควรเป็นพื้นที่ราบเรียบหรือสามารถปรับระดับพื้นที่ตามที่ ต้องการได้ง่าย

เป็นพื้นที่ที่ดินมีการระบายน้ำดี
       เป็นพื้นที่ที่ดินมีการระบายน้ำดีพอสมควร โดยดินต้องมีความสามารถในการซึมน้ำลงได้ในอัตราอย่างน้อย 2.5 เซนติเมตร หรือ 1 นิ้วต่อชั่วโมง

มีไฟฟ้าเข้าถึงในพื้นที่
       มีการถ่ายเทอากาศดี และควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีลมแรง อยู่ใกล้ที่พักพอสมควรเพื่อสะดวกในการควบคุมการผลิตอยู่เสมอ อยู่ใกล้แหล่งชุมชน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง

อยู่ห่างไกลจากแหล่งผลิตพืชชนิดอื่นๆ
       อยู่ห่างไกลจากแหล่งผลิตพืชชนิดอื่นๆพอสมควร เช่นแหล่งนาข้าว หรือแปลงปลูกพืชอื่นที่มีบริเวณกว้าง ทั้งนี้เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคและแมลง เข้าสู่พื้นที่การผลิต ยกตัวอย่างเช่น นาข้าวในกรณีที่มีการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือมีการเผาทำลายซากพืช จะทำให้แมลงหนีและมีโอกาสอพยพเพื่อหาแหล่งอาหารใหม่ในพื้นที่ใกล้เคียง หรือเข้าสู่พื้นที่การผลิตของเราได้ง่ายขึ้น

 

น้ำกับการปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิกส์

       น้ำนั้นมีความสำคัญมากในการปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิกส์ทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นในระบบ NFT, DFT, Aeroponics การปลูกในวัสดุปลูก หรือระบบอื่นๆที่ปลูกโดยไม่ใช้ดิน เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายธาตุอาหาร ซึ่งรากพืชต้องดูดไปใช้ ยกตัวอย่างง่ายๆคือ ถ้าน้ำมีคุณภาพดี ธาตุอาหารที่ใส่ลงไปในน้ำก็จะละลายได้หมด พืชก็สามารถนำไปใช้ได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าคุณภาพน้ำไม่ดี ธาตุอาหารที่ใส่ลงไปก็จะละลายไม่หมด เกิดการตกตะกอน พืชก็จะไม่สามารถนำไปใช้ได้ ทำให้พืชเกิดอาการขาดธาตุอาหาร เช่นใบเหลือง แคระแกร็น เป็นต้น น้ำจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งเราควรพิจารณาเป็นลำดับแรกๆ ก่อนคิดลงทุนเพื่อปลูกเป็นระบบการค้า คำถามที่ตามมาก็คือ แล้ว ควรใช้น้ำอะไรในการปลูกดี ซึ่งแหล่งของน้ำที่จะนำมาใช้นั้นมีหลายประเภท ได้แก่

น้ำฝน
       จัดว่าเป็นน้ำที่ดีที่สุด มีค่า EC ต่ำ สิ่งเจือปนน้อย ที่สำคัญมีต้นทุนต่ำ โดยปกติน้ำฝนตามธรรมชาติจะมีความเป็นกรดเล็กน้อย เนื่องจากการละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ แต่ทว่าในเขตอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเสียออกมา จะทำให้เกิดสภาวะฝนกรด น้ำฝนที่เก็บได้จะมีค่า pH ต่ำลง ดังนั้นถ้าจะใช้พื้นที่ปลูกอยู่ในเขตอุตสาหกรรม ควรพิจารณาถึงส่วนนี้ด้วย รวมถึงอุปกรณ์ที่จะกักเก็บน้ำฝน ควรปิดมิดชิดพอสมควรเพื่อป้องกันฝุ่นละออง และเชื้อโรคต่างๆ

น้ำประปา
       จัดว่าเป็นน้ำที่หาได้ง่าย ต้นทุนไม่สูงมากนัก โดยทั่วไปในเขตกรุงเทพ น้ำประปามีคุณภาพค่อนข้างดี สามารถนำมาใช้ได้เลย แต่สำหรับในเขตต่างจังหวัด น้ำบางที่ก็มีคุณภาพดี บางที่คุณภาพไม่ดี ควรลองตรวจสอบค่าก่อนนำไปใช้

น้ำตก
       น้ำจากเขื่อน น้ำในแม่น้ำ น้ำคลอง แหล่งน้ำเหล่านี้ มักมีสารแขวนลอยสูง และคุณสมบัติของน้ำไม่คงที่ตลอดปี รวมถึงอาจมีเชื้อโรคที่อาจปะปนมากับน้ำ จึงไม่ค่อยเหมาะสมในการนำมาใช้ แต่อาจตรวจสอบคุณภาพน้ำก่อนก็ได้เพื่อความไม่ประมาท

น้ำบาดาล
       จัดเป็นแหล่งน้ำที่มีต้นทุนต่ำเช่นกัน การจะนำน้ำบาดาลมาใช้นั้นควรดูว่าในพื้นที่ของเรา มีน้ำหรือไม่ และสามารถขุดเจาะบาดาลได้หรือไม่ ในบางพื้นที่ไม่อนุญาติให้ขุดเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ แล้ว เพราะผิดกฎหมาย จึงควรตรวจสอบกับหน่วยงานของรัฐก่อน สำหรับคุณภาพน้ำบาดาลในแต่ละที่นั้นบอกไม่ได้ว่าดีหรือไม่ดี ต้องเก็บตัวอย่างนำมาวิเคราะห์ แต่เราอาจสอบถามได้จากบริษัทที่รับขุดเจาะบาดาล หรือเก็บตัวอย่างน้ำจากบ่อบาดาลในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงมาตรวจสอบเบื้องต้น เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน บางคนบอกว่าน้ำบาดาลมักมีสิ่งเจือปนสูงมาก โดยเฉพาะ สนิมเหล็ก หรือ โซเดียม ซึ่งเป็นอันตรายต่อพืช จริงๆแล้วเป็นเฉพาะบางพื้นที่ ไม่ใช่ทั้งหมด เราเคยพบว่าน้ำบาดาลบางแห่งมีคุณภาพดีมาก ดีกว่าน้ำประปา ก็มี บางแห่งคุณภาพใกล้เคียงกับน้ำฝน ก็มี ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ ดังนั้นถ้าจะเลือกใช้น้ำบาดาลควรตรวจอบคุณภาพก่อนจะดีที่สุด

EC คืออะไร และเลือกใช้อย่างไรดี ?

EC คืออะไร
       EC ย่อมาจากคำว่า Electric conductivity หมายถึง ค่าการนำไฟฟ้าของเกลือ(ในไฮโดรโพนิกส์จะหมายถึงเกลือของธาตุอาหาร)ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยปกติแล้วน้ำบริสุทธิ์จะมีค่าความนำไฟฟ้าเป็นศูนย์ แต่เมื่อนำธาตุอาหารละลายในน้ำ เกลือของธาตุอาหารเหล่านี้จะแตกตัวเป็นประจุบวก และประจุลบ ซึ่งจะเป็นตัวนำไฟฟ้า ทำให้มีค่าความนำไฟฟ้า (Electric Conductivity) ซึ่งค่านำไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณเกลือของธาตุอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำ ดังนั้น เราจึงใช้การวัดค่าการนำไฟฟ้าของสารละลาย(ค่า EC) เพื่อเป็นตัวบอกปริมาณเกลือธาตุอาหารที่ละลายในน้ำ แต่การวัดค่า EC นั้นเป็นเพียงการวัดค่าโดยรวมไม่สามารถแยกบอกความเข้มข้นของเกลือแต่ละตัวได้ เช่น ถ้านำธาตุอาหาร A หรือ Bมาละลายในน้ำ เกลือของธาตุต่างๆ เช่น N,P,K ฯลฯ ก็จะละลายรวมกันอยู่ โดยที่เราไม่สามารถบอกได้ว่า มีธาตุอาหารแต่ละตัวอยู่เท่าไหร่ ตัวอย่างเช่นในน้ำมีเกลือ N+P+K ละลายรวมกันอยู่ และวัดค่า EC ได้ = 2.0 mS/cm เราไม่สามารถทราบได้ว่ามี N,P,K อยู่อย่างละเท่าใด ทราบเพียงแต่ว่ามีอยู่รวมกัน มีค่า = 2.0mS/cm ซึ่งค่า EC ที่วัดได้นี้จะนำไปใช้กับพืชที่เราจะทำการปลูก และควรรักษาระดับค่า EC ให้คงที่ และปรับค่าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ในสารละลายมีธาตุอาหารที่พืชสามารถจะนำไปใช้ได้ตลอดเวลาและพอเพียง โดยส่วนมากค่าที่ใช้วัดสำหรับการปลูกพืชจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.5-5.0 mS/cm  โดยพืชแต่ละชนิดก็จะใช้ค่า EC ที่แตกต่างกันออกไป เครื่อง EC Meter เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากและควรมีไว้ใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของน้ำ และตรวจสอบความถูกต้องของการละลายธาตุอาหารในระบบน้ำที่ใช้ในการปลูก เครื่อง EC Meter นั้นมีหน่วยการวัดค่าหลายหน่วยดังนั้น การเลือกซื้อเครื่องมือต้องดูให้เหมาะสมกับงานที่ใช้ โดยทั่วไประบบไฮโดรโพนิกส์ ควรเลือกเครื่องมือที่วัดได้ในช่วง 0 – 10 mS/cm ซึ่งน่าจะเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องเลือกเครื่องที่สามารถเลือกช่วงการวัดได้หลายช่วงในเครื่องเดียว เช่น เลือกได้จากช่วง 0 – 10 mS/cm, 0 - 20 mS/cm , 0-100 mS/cm ซึ่งราคาจะแพงและเป็นช่วงการวัดที่เราไม่ได้ใช้ โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่ 10-100 mS/cm นอกจากนี้ควรสอบถามจากผู้ขายถึงวิธีการใช้งานและการดูแลรักษา และสิ่งที่สำคัญในการใช้เครื่องมือคือต้องมีการตรวจสอบค่าที่วัดได้จากเครื่องมือว่าถูกต้องหรือไม่อยู่เสมอๆ โดยใช้เครื่องมือวัดวัดค่าสารละลายที่เราทราบค่า EC ที่แน่นอนและอ่านค่าจากเครื่องมือถ้าค่าไม่ตรงกันต้องทำการตั้งค่าที่เครื่องมือให้ถูกต้องซึ่งวิธีการปรับค่าจะมีแนบมากับเครื่องมือที่ซื้อมา หรือสามารถขอจากผู้ขายได้โดยตรง

วิธีการปลูกพืชระบบ NFT ( Nutrient Film Technique)

สิ่งจำเป็นในการเพาะเมล็ด
       เมล็ดพันธุ์ผักสลัดทุกชนิดที่เรานำมาเพาะ ต้องการสิ่งสำคัญ 3 อย่าง สำหรับการงอกออกมาเป็นต้นกล้า ซึ่งก็คือ น้ำ, อากาศ หรือ ออกซิเจน และ แสงแดดครับ โดยน้ำและอากาศเป็นปัจจัยพื้นฐานอยู่แล้ว สำหรับแสงนั้น ในช่วง 2-3วันแรก เราให้แสงแบบรำไรก็พอ(ครับ) ไม่จำเป็นต้องให้แสงแดดจัด เพราะอาจจะทำให้อุณหภูมิสูง ส่งผลให้อัตราการงอก ลดลง ซึ่งโดยทั่วไปอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเพาะเมล็ดจะอยู่ในช่วง 20-25 องศาเซลเซียส และหลายๆ ท่านมีคำถามตามมาว่า แล้วอุณหภูมิของบ้านเราค่อนข้างร้อน จะทำอย่างไร เพราะอากาศร้อนเพาะเมล็ดแล้วไม่ค่อยงอก หรืองอกน้อยมาก วิธีที่จะช่วยได้คือ ให้เพาะเมล็ดในช่วงเย็น และเลือกใช้เมล็ดแบบเคลือบ จะช่วยได้มาก แต่ถ้าลองใช้วิธีนี้แล้วเมล็ดยังไม่งอกอีก เราคงต้องทบทวนถึงวิธีการเพาะว่า ท่านทำถูกขั้นตอนหรือไม่ เมล็ดพันธุ์ที่นำมาใช้ หมดอายุ หรืออาจจัดเก็บไม่ถูกวิธี ถ้าเจอปัญหาตรงไหนก็แก้ให้ตรงจุด เราเชื่อว่าเมล็ดจะงอกได้แน่นอน

       วิธีการเพาะเมล็ด
          1. ใส่วัสดุปลูก (Perlite) ลงในถ้วยเพาะประมาณ 3/4 ของถ้วย วางเมล็ดพันธุ์ลงบนวัสดุปลูก กลบเมล็ดเล็กน้อย ใช้กระบอกฉีดน้ำ พ่นน้ำให้ชุ่มเติมน้ำที่ถาดรองเพาะให้สูงประมาณ 0.5 ซม. (ใช้น้ำธรรมดาที่ยังไม่ได้เติมสารละลายธาตุอาหาร)
          2. หมั่นคอยตรวจดูระดับน้ำในถาดรองเพาะ ต้องให้มีน้ำสูง 0.5 ซ.ม.เสมอ
          3. ระยะเวลา 3 วันแรก ให้เก็บถาดเพาะไว้ในที่ร่ม หลังจากนั้นนำออกมารับแสงแดดรำไร และเมื่อสังเกตว่ามีมากกว่า 3 - 4 ใบ จึงจะนำไปรับแสงแดดได้
          4. เมื่อต้นกล้าอายุครบ 1 สัปดาห์ เติมน้ำที่ผสมธาตุอาหารแล้วลงไปให้สูง 1 ซ.ม. หมั่นตรวจสอบระดับน้ำให้มีอยู่เสมอ
          5. เมื่อต้นกล้าอายุครบ 2 สัปดาห์ สามารถย้ายลงรางปลูกได

       วิธีการปลูก
          1. หลังจากได้ต้นกล้าที่เพาะไว้แล้ว ให้นำต้นกล้าย้ายลงรางปลูกที่ได้เตรียมไว้แล้ว ล้างถังที่จะใส่สารละลายธาตุอาหารให้สะอาด เติมน้ำสะอาดประมาณ 3/4 ของถัง 
          2. ใส่สารละลายธาตุอาหารลงในน้ำสะอาดที่ได้เตรียมไว้ โดยให้ใส่ธาตุอาหาร Aและ B ในอัตราส่วนอย่างละ 3 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร 
          3. ต่อไฟฟ้าเพื่อเดินเครื่องปั๊มน้ำให้น้ำไหลผ่านรางปลูก พร้อมกับทำการตรวจสอบระบบว่ามีที่ชำรุดรั่วไหลหรือไม่ 
          4. ต้องเปลี่ยนน้ำทุก 10 วัน โดยถังน้ำควรมีฝาปิดเพื่อรักษาความสะอาดของน้ำ และป้องกันฝนที่จะทำให้สารละลายธาตุอาหารเจือจาง
          5. ประมาณ 6 สัปดาห์ (40 – 45 วัน) ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้

 

ที่มา   http://www.smp2005.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=387014   (ขอขอบคุณค่ะ)

ลิ้งค์เพิ่มเติม  http://www.gardencenter.co.th/thai/love_suan/kasat=7.php   (ขอขอบคุณค่ะ)

  • แวะเอาเรื่องนี้มาฝากในฐานะเป็นแม่ครัวประจำบ้านค่ะ
  • เรื่องของเครื่องปรุงรสและเรื่องผักที่พึงพิจารณาสำหรับคนโรคไตค่ะ
  • ถ้ามีอีกจะมาบอกนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะคุณคนไม่มีราก moonsmile คุณหมอเจ๊
  • ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งสำหรับข้อมูลดีๆที่นำมาฝาก
  • เป็นประโยชน์ต่อลำดวนมากกกกกกกกกกกกก
  • เพราะขณะนี้เราต้องดูแลไตทั้งคู่ลำดวนกำลังเตรียมร่างกาย เพื่อมอบไต 1 ข้างให้สามีค่ะ

วิธีแก้สารตกค้าง คือนำผักมาแช่น้ำ 24 ชม.

ของเรามีจำหน่ายชุดทดลองปลูกพร้อมอุปกรณ์ครบชุดสำหรับผู้เริมผึกหัด ศึกษาระบบการทำงานเพื่อเอาไว้ต่อยอด

สามารถปลูกได้แม้มีพื้นที่จำกัด ขนาดของชุดปลูก35x35 cm ปลูกผักได้ 12 หลุมปลูก=ผัดผักได้ 1 จาน

ติดต่อ คุณหมู วุฒากาศ จอมทอง กทมฯ โทร 089-680-9738

ชุดละ 400 บาท

ขอโทษทีนะครับ พอดีอยากทราบว่า ค่า conductivity และค่า TDS จะมีผลต่อพืชน้ำอย่างไรหรอครับ ถ้ามีผู้ที่รู้ ขอกรุณาช่วยเผยแพร่ความรู้ทีครับ ขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ

ตอบคำถาม ของครู จริงแล้วสารอาหารสำเร็จรูปที่นำมาปลูกผักไฮโดรนั้นไม่มีสารตกค้างอะไรเลยและไม่มีสารทีเป็นพิษอยู่ ครูต้อง

เข้าใจว่า สารเคมีนั้นมีหลายย่างแต่ต้องแยกและทำความเข้าใจกับมันก่อน คือสารอาหารหรือปุ่ย A -B นำมาปลูกผักนั้นเราไสมารถกินสดๆใด้จึงนำมาให้ผักกินก่อนแล้วเราก็กินผักแทน สารอาหารตัวต่างๆนั้นมีอยู่ในร่างกายเราทั้งนั้น ไม่ว่า calcium. Fe. Zu . magnesium.potassium และธาตุอาหารอื่นๆล้วนประกอบอยู่ในร่างกายของเรา แต่ต้องแยกให้ออกระหว่างสารเคมีทีเป็นพิษกับสารเคมีที่เป็นประโยชน์ สารเคมีทีเป็นพิษใด้แก่ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ่า สารเคมีที่เป็นประโยชน์ ก็คือปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมนั้นไม่มีสารพิษเพียงแต่เราไม่สามารถกินตัวสารสดๆจึงใช้เลี้ยงพืชผักแล้วเราจึงกินจากพืชผักแทนอีกทีหนึ่ง ผมโสขอให้ข้อมูลแด่ครูแอนเพียงเท่านี้ก่อนปลูผักและทานผักเยอะๆสุขภาพจะใด้แข็งแรง สวัสดี

ผักไร้ดินก็คือนำสารอาหารในดินมาละลายในน้ำ ก็เหมือนธาตุอาหารของพืชที่ละลายอยู่ในดิน

พืชมันก็ดูดสารอาหารในดินเหมือน พืชมันเอาสารที่ดูดไปสังเคราะห์แสงเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและวิตามิน

เพราะฉนั้นก่อนเก็บเกี่ยวให้น้ำเปล่าก่อนเก็บ2วันพืชสังเคราะห์สารอาหารที่ดูดไปเป็นน้ำตาลและวิตามินเกือบหมดแล้วครับ

ก็ไม่ต่างอะไรกับพืชปลูกดิน ถ้ายังไม่กระจ่างก็ลองนึกถึงปุ๋ยดินพวก N P K คุณกินได้ไหม ตอบว่าไม่ได้

แต่พอใส่ลงดินแล้วละลายไปกับดินพืชก็ต้องดูดมันไปเหมือนกันเท่ากับว่าคุณกิน ปุ๋ยเข้าไป แต่ไม่ตายละ

แสดงว่าพืชไร้ดินกับพืชปลูกดินเหมือนกันในเรื่องความปลอดภัย

สวัสดีคุณ Bigker

ขอบคุณที่มาให้ข้อมูลพืชไร้ดิน

ทุกวันนี้ยังปลูกอยู่ มีสามแปลงปลูก

ทานไม่ทันก็แบ่งปัน และนำไปเลี้ยงปลาที่เราเลี้ยงไว้ในคูร่องน้ำ

สบายใจแล้วค่ะเรื่องความปลอดภัย

ผมทดลองปลูกผักไร้ดินครับ เนื่องจากไม่ค่อยมีเวลารดน้ำพรวนดิน ถอนหญ้า ลองปลูกผักสลัดดูแล้วได้ผลดี ครับ ตอนนี้กำลังปลูกผักไทยอยู่ถ้าสนใจวิธีการปลูกเข้าไปชมกันได้ครับ จากประสบการจริง www.pphydrofarm.blogspot.com

คุณโต้งสวัสดีค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ

ถ้าปลูกผักไทยลองปลูกผักาดขาว กวางตุ้ง ผักบุ้งจีนนะคะ

ได้ผลดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท