"ฝึกใจ"สนทนากับพี่แอมป์เจ้าเก่า


“มองเห็นความจริงอย่างที่มันเป็น และเข้าใจเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดความจริงเหล่านั้น รวมถึงการวางท่าทีความสัมพันธ์ได้อย่างถูกต้อง” "เน้นที่การรู้เท่าทันธรรมดา ฝึกที่จิตใจโดยตรง ตั้งเป้าแน่วแน่ไปเลยว่าฝึกที่ใจ โดยมีบันไดขั้นต้นว่าต้องฝึกคนให้เป็นคนดี"

การฝึกที่ใจ  (ข้อคิดเห็นที่พูดคุยกัน)

เป็นบันทึกชื่อ การฝึกที่ใจ ของพี่แอมป์ แขกเจ้าเก่า (โดยยังไม่ได้รับบัตรเชิญ)

ขออนุญาต นะคะ พี่แอมป์ น้องเห็นว่า

ข้อเขียนพี่แอมป์เขียนไว้ ประณีต และ..ฮา ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ซะด้วย

ข้อคิดเห็นที่หนึ่ง

 

การฝึกที่ใจ   P

สี่คำ สี่พยางค์ แต่ยาก

ฟังคำพระแล้วคิดตาม อ่านของพี่แอมป์แล้วคิดตาม

มันครือ ๆ กันในบางส่วนนะคะ(ไม่ได้ชม พูดจากใจจริง,บ่งบอกถึงวัย..หมายถึงอย่างน้อยผู้เขียน...เอ้า...ผู้มาอ่านด้วย อย่างน้อยผ่านร้อนตับแตก,หนาว,และฝนมาหลายเพ-ลา อิ อิ)

บางท่าน..พระบอกว่า ฝึกเฉพาะเฝ้าดู สังเกตุ ใจ/จิต ดูว่ามันมา-ไป อย่างไร

บางท่าน..ว่า ดูจิต
บางท่าน..ว่าดูแต่จิตข้างใน อย่าส่งจิตออกข้างนอก ดูเฉย ๆ ไม่ต้องทำอะไรเลย อย่าเพ่งเดี๋ยวติดเพ่ง อย่าเคลิ้มเดี๋ยวติดเคลิ้ม

หมอเล็กว่า (ฟังท่านกี่ท่านนับไม่ได้ อ่านอีกมากด้วย)ทางสายกลางดีที่สุด

และเรา(ตัวเอง)ก็ยังเป็นปุถุชน

จะเหมือนที่พี่แอมป์เขียนว่า..ผ่านแบบที่สองแปลว่า  ได้ผ่านการ "ทดสอบ" อย่างเป็นธรรมชาติ มาแล้ว ว่า เกิดทักษะการรู้เท่าทันการสื่อสารจริงๆ

หรือเปล่าหนอ

 

คุยให้ฮง ๆ แค่นี้ค่ะ คืนนี้ รตสว ค่ะ

 

P
2. ดอกไม้ทะเล
เมื่อ อา. 29 มี.ค. 2552 @ 21:52
1208903 [ลบ] [แจ้งลบ]

P สวัสดีค่ะคุณหมอเล็ก

 

 

พี่แอมป์เจอคนอ่านที่ลึกซึ้งกว่าคนเขียนแล้วนะคะเนี่ย 

ที่ท่านว่า"จิตเป็นกาย  นายเป็นบ่าว"  พี่มานึกดูตรองดูหลายทีเข้าก็เห็นจริง  ถ้าเรารู้เท่าทัน ฝึกใจได้  พี่ว่าเราจะมีความสุขขึ้นอีกอักโข  ทั้งที่ถ้อยคำที่เขียนไปนี้

       “มองเห็นความจริงอย่างที่มันเป็น และเข้าใจเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดความจริงเหล่านั้น รวมถึงการวางท่าทีความสัมพันธ์ได้อย่างถูกต้อง” 
        "เน้นที่การรู้เท่าทันธรรมดา ฝึกที่จิตใจโดยตรง ตั้งเป้าแน่วแน่ไปเลยว่าฝึกที่ใจ โดยมีบันไดขั้นต้นว่าต้องฝึกคนให้เป็นคนดี"


 เป็นถ้อยคำที่พี่เองก็ยังไม่เข้าใจกระจ่างนัก แต่พี่ชอบและคิดว่าดี  ว่าแล้วพี่ก็ฝึกลูกศิษย์เอาดื้อๆให้ฮงกันไปทุกรุ่นแบบนี้แหละค่ะ

มีเรื่องหนึ่งที่ทำให้พี่ยิ้มได้ทุกครั้งที่เลี้ยวรถเข้ามหาวิทยาลัย  คือพี่รู้สึกว่าที่นี้แลเหมาะแก่เราแล้วที่จะปฏิบัติธรรม  คือเราได้พูดสอนคนอื่น  ถ้อยคำที่เราพูดก็เข้าหูซ้ายแลทะลุหูขวาทั้งของเราและของเด็ก  ดังนี้พี่เรียก(เพื่อให้ตัวเองเข้าใจง่ายๆ)ว่าเป็นการปฏิบัติธรรมชั้นที่หนึ่ง  คือปฏิบัติด้วยการสื่อสารกัน(พูดและเขียน)เพื่อให้เกิดการกำหนดรู้และเข้าใจความหมายร่วมกันนั่นเอง   อันนี้เป็นการปูพื้นฐานไว้ชั้นหนึ่งก่อน 

หากเราให้ทำงานเลยโดยไม่ปูพื้นฐาน  ไม่สื่อสาร(เพื่อการสื่อความหมายให้เห็นคุณค่าที่ลึกซึ้งกว่าการลงมือทำให้เสร็จๆไป)  เด็กจะ"ทำ"แต่งานโดยขาดการกำหนดรู้ความหมาย  เหมือนการตอบข้อสอบปรนัยโดยไม่รู้เท่าทันว่า สอบไปเพื่ออะไร  การตอบข้อสอบแต่ละข้อโดยไม่เดาส่งเดชนั้น ให้คุณค่าแท้ๆอย่างไร  เป็นต้น  (ทั้งที่เบื้องหลังการออกข้อสอบแต่ละข้อนั้นครูคิดตัวเลือกจนหูตาลาย เพื่อให้ข้อสอบมีคุณภาพสูงสุด  ซึ่งก็ไม่รู้จะสูงสุดได้จริงไหม)  : ) 

การปฏิบัติธรรมชั้นที่สอง จะควบคู่ไปกับชั้นที่สาม  ไม่ควรฝึกแยกส่วนแต่ควรฝึกเป็นกระบวนการ  คือการฝึกให้ลงมือทำจริง  ในขณะที่เด็กทำสิ่งใดๆ  ครูก็ติดตามและถามใจไปเป็นระยะๆ  เพื่อให้ทบทวนไตร่ตรองทั้งในภาวะงานและภาวะธรรม 

ภาวะงานคือการทำความเข้าใจขั้นตอนและกลไกของการทำงานชุดนั้นๆ  ให้เขาถอดบทเรียนของตนและเพื่อน ให้เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน  ตามทฤษฎี"เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว"  อ่า..แบบว่าพูดไปแล้วทั้งครูทั้งเด็กก็ไม่ใคร่เข้าใจเท่าไหร่แต่กะเอาเท่ไว้ก่อน

ภาวะธรรม คือตรวจสอบทบทวนปรับแก้ PDCA อารมณ์ตนเองตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนงานนั้น  แปลว่า ก่อนทำงาน ขณะทำงานและหลังจากทำไปแล้ว ทั้งเด็กทั้งครูต้องตรวจสอบอารมณ์ตนเองเกือบตลอดเวลาที่รู้ตัว (ว่าเรากำลังตามดูอารมณ์ของตัวเองอยู่)  เพราะอารมณ์และท่าทีในการสื่อสารของเราจะส่งผลต่อปฏิสัมพันธ์ ระหว่างเรากับเพื่อนร่วมงานไปจนเสร็จสิ้นกระบวนการ  ซึ่งอันนี้แหละค่ะที่ฝึกยากที่สุด  เพราะครูเองก็แทบเอาตัวไม่รอด 

หากฝึกจนเข้ามือ เด็กๆจะเห็นว่าทั้งภาวะงานและภาวะธรรมนี้จะขับเคลื่อนเป็นกระบวนการ  ทั้งงานและธรรมจะไปด้วยกัน  ถ้าตามดูและรู้เท่าทันก็จะทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขกายสบายใจดี 

เพราะเรียนรู้วิธีการ"เข้าใจ"กันแล้ว  ได้ฝึก"ใจ"ร่วมกันแล้ว  นี่คือการปฏิบัติธรรมชั้นที่สาม ขั้นนี้หรือชั้นนี้ยากขึ้นมาอีกหน่อย  ครูต้องใจนิ่งและใจเย็น  เห็นอะไรเป็นกลางๆ (เอ่อ..คือพี่ก็อยากทำได้อย่างที่เขียนไปเนี่ยนะคะ  แต่เอาเข้าจริงๆก็ทำไม่ค่อยได้ซักที)

พี่แอมป์จึงขำนัก  เพราะการอ่านหนังสือธรรมะเจ็ดพันหนึ่งร้อยยี่สิบห้าเล่ม โดยไม่ฝึกใจตนเองแม้หนึ่งขณะจิต  ก็ไม่อาจอ้างได้ว่าชีวิตนี้เราพบ"ธรรม"  และพี่ก็เป็นคนแบบนั้น  คืออ่านเยอะแต่ไม่ใคร่จริงจังกับการลงมือทำ  เวลาฝึกเด็กจึงดู"กลวงๆ"อย่างไรก็ไม่รู้  เพราะเรารู้อยู่แก่ใจว่าที่พูดๆไปนั้นเราทำจริงให้เกิดจริงกับตัวไม่ได้สักอย่าง

พี่จึงเริ่มจากการฝึกที่ใจตัวเองก่อน แบบว่าล้มลุกคลุกคลานมากค่ะคุณหมอเล็ก  แค่เริ่มจากการ "เข้าใจและไม่โกรธ" นี่ก็แทบแย่แล้วในแต่ละวัน  แต่วันไหนที่ทำได้ก็รู้สึกดีใจชะมัด  พี่จึงต้องฝึกตัวเองทุกวัน  และยังอยู่ในระยะล้มลุกคลุกคลานสนุกสนานมาจนบัดนี้   ยังข้ามไปขั้นที่สามไม่ได้สักที

ขอบพระคุณคุณหมอเล็กที่แวะมาสารภาพภาพเอ๊ยชมว่าเรื่องนี้สมกับอายุทั้งผู้เขียนและผู้อ่านนะคะ พี่แอมป์คิดว่าไหนๆแก่แล้วก็เขียนให้สมแก่ พอมีคนใจดีแวะมาชมก็เลยรีบรับสมอ้างอย่างดีใจจนออกนอกหน้า  คนเขียนน่ะไม่เท่าไหร่ เพราะเขียนเองงงเองมานานจนชินแล้ว  พอเจอคนอ่านที่ไม่งงแถมยังช่วยขยายความให้กระจ่างได้อย่างนี้  เลยออกจะดีใจว่าคงไม่ห่างกันเท่าไหร่ 

แบบว่าสามารถร่วมรุ่นกันได้อย่างไม่ขัดเขินเลยอะค่ะ  : )  : )   อิอิอิ 

P
3. ภูสุภา
เมื่อ จ. 30 มี.ค. 2552 @ 13:08
1209785 [ลบ] [แจ้งลบ]

*พี่แอมป์จึงขำนัก  เพราะการอ่านหนังสือธรรมะเจ็ดพันหนึ่งร้อยยี่สิบห้าเล่ม โดยไม่ฝึกใจตนเองแม้หนึ่งขณะจิต  ก็ไม่อาจอ้างได้ว่าชีวิตนี้เราพบ"ธรรม"  และพี่ก็เป็นคนแบบนั้น  คืออ่านเยอะแต่ไม่ใคร่จริงจังกับการลงมือทำ  เวลาฝึกเด็กจึงดู"กลวงๆ"อย่างไรก็ไม่รู้  เพราะเรารู้อยู่แก่ใจว่าที่พูดๆไปนั้นเราทำจริงให้เกิดจริงกับตัวไม่ได้สักอย่าง*

 

พี่แอมป์คะ น้องเป็นด้วยคนหนึ่ง ที่เรียนธรรม-นักธรรมเราก็เรียน(ตรี,โท,เอก) อ่านเราก็อ่าน

แต่มันมิได้ซึมซับเข้าไปในสายเลือด ดั่งการให้น้ำเกลือ ทางเส้นเลือดดำ แล้วมิได้ถูกดูดซึมไปใช้ได้ในระดับเซลล์...

เพราะอะไร

 

น้องคิดว่า เพราะเรายังไม่มีความ"รู้" ไม่มี insightที่แท้จริง เรายังไม่ผ่านร้อน-หนาว มาเพียงพอกับหรือในบางเรื่อง

เราจึงอ่อนแอ ระโหยโรยแรง เป็นพัก ๆ ได้

เหมือนเซลล์วอลล์(ประตู,เปลือก)ของเซลล์ยังไม่ยอมรับยา,สารน้ำที่มากับน้ำเกลือ หรือกว่าเซลล์นั้น ๆ ที่กำลังป่วยอยู่ ถูกปล่อยจนกระทั่งสูญเสียสภาพไป รับน้ำเกลือเข้าก็มิได้ คายทิ้งก็มิออก

เซลล์นั้น ๆ จึง พังพาบ

.......แฮ่ ๆ เอาคืนพี่แอมป์เล็กน้อย เพราะบางครั้ง หมอเล็กมาอ่านเรื่องพี่แอมป์ หรือที่เห็นพี่นุชคุยกันกับพี่แอมป์ ท่าทางเข้าใจ๊ เข้าใจกัน

วันนี้เพิ่งอ่านเซลล์วิทยา (ทำงานน่ะค่ะ) เลยเปรียบเทียบแบบสไตล์เราอีกแล้ว

ตั้งใจจะคุยให้ฮง ๆ สั้น ๆ ว่า

 

เรา(ใคร ๆ หรือส่วนใหญ่)น่าจะต้อง "รู้" ก่อน(เช่นเข้าใจใน เจ็บ สุข ทุกข์ เหงา เศร้า..วัฎฎะสงสารน่ะค่ะ)  จึงจะเห็นว่า  ควรฝึกที่ใจ นั้น ควรฝึกทันทีไม่รีรอ ตามบันทึกพี่แอมป์ ให้ได้

 

เหมือนฉีดวัคซีนให้ตัวเอง(นิยมใช้ประโยคนี้กัน)ก่อนที่ร่างกายจะแย่หรือติดเชื้อจนแอ้ก น่ะค่ะ พี่แอมป์

:p ฮง ๆ หลังพักเที่ยงนะคะ

P
4. ภูสุภา
เมื่อ จ. 30 มี.ค. 2552 @ 13:14
1209795 [ลบ] [แจ้งลบ]

พี่แอมป์คะ ขออนุญาตนำไปรวม(ส่วนคคหที่1-3) ในบันทึกน้อง "สนทนาวิสาสะ" ค่ะ

 

**ขอขอบพระคุณ**

หมายเลขบันทึก: 251904เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2009 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 09:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

แควน ๆ พี่แอมป์ก็ สนทนาวิสาสะ กันได้นะคะเพื่อต่อยอด

ไม่ก็ โน่น ตามไปที่เจ้าถิ่น

แล้วจะดิ้นออกมาไม่ได้ ค่ะ

ไม่รู้จะเกี่ยวกับเรื่องที่คุยกันรึเปล่านะคะ แต่ว่ามัทจะมาแลกเปลี่ยนว่า

ตั้งแต่มัทกลับมาเมืองไทยเนี่ยะ เป็นเมืองพุทธแท้ๆ แต่ว่ามันมีความเป็นสัปปายะน้อยกว่าที่แวนคูเวอร์มาก มัทโทษปัจจัยภายนอกเอาดื้อๆแบบนี้เลย! เหอะๆ แย่จริงๆเรา แต่ต้องสารภาพว่าตั้งแต่กลับมานี้ มัทฝึกเจริญสติน้อยมากๆ ชีวิตมันดำเนินไปเรื่อยๆๆๆๆ ไม่มีทุกข์อะไร แต่ว่ารู้ตัวเลยว่ามัน ดำเนินต่อเนื่องเรื่อยๆๆๆๆๆ จนไม่ได้ "หยุด" ที่จะทบทวน ที่จะดูการทำงานของกองขันธ์ทั้ง 5 ตักบาตรก็ตักแต่ไม่ได้สนทนาธรรม หรือไปฟังเทศน์แบบตอนที่อยู่แวนคูเวอร์เลย หนังสือธรรมะก็อ่านอยู่เล่มเดียวสี่เดือนแล้ว อ่านหนังสือวิชาการซะมากเพราะเตรียมสอน เตรียม present งาน มีความสุขกับครอบครัวตลอด ใจจดจ่อรอน้องออกจากพุงโต จะบอกว่าเหลิงไปกับความสุขความสบายใจก็คงจะไม่ผิดค่ะ

แต่มัทก็เห็นด้วยกับพี่แอมป์คือ ถึงมัทไม่ได้หยุดนื่งทบทวน เจริญสตินัก (ทำบ้างแต่น้อยกว่าแต่ก่อนมาก) แต่การทำงานของเราทุกวันนี้แหละที่เป็นแบบฝึกหัดที่ดี การทำความเข้าใจ มีเมตตา แต่ก็ฝึกให้เข้าใจอุเบกขา นั้นมัทว่ามัทได้ทำทุกวัน เป็นการฝึกที่ใจที่ทำให้เป็นธรรมดาธรรมชาติ ทุกครั้งที่มีสิ่งมากระทบ

่ส่วนเรื่องดูจิตนั้น มันจะลปรร.ต่อไปใน box หน้านะคะ

มัทคัดตัดย่อมาจาก แก่นธรรมคำสอนของหลวงปู่ดุลย์ ที่เขียนโดยหลวงพ่อปราโมทย์นะคะ

คำว่าจิตส่งออกนอก = อาการของจิตที่ไม่ตั้งมั่นในขณะที่รู้อารมณ์ = คำว่า จิตหลงไป จิตไม่ตั้งมั่น จิตเข้าไปจมแช่อยู่กับอารมณ์ = หลงเพลินในอารมณ์หรือหลงเพ่งอารมณ์ก็ได้

ที่ต้องทำความเข้าใจคือ ไม่ว่าจิตจะส่งไปภายนอกหรือส่งเข้าภายในหรือประคองไว้เป็นกลางๆ ก็ล้วนแต่อยู่ในความหมายของคำว่าจิตส่งออกนอกทั้งสิ้น ถ้ามันนอกเหนือไปจากการรู้ไปตามปกติธรรมดา 

เช่น เมื่อเราพยายามหยุดให้จิตอยู่นิ่งๆและว่าง เราเพ่งหรือประคอง แต่ไม่มีสติปัญญา เป็นโลภเจตนาที่จะปฎิบัติธรรม เป็นการสร้างภพละเอียดชนืดหนึ่ง การปรุงแต่งความหยุดก็ยังเป็นการปรุงแต่อยู่ดี

-------------------------------------------------

งงมั้ยพี่? นี่มัทลอกมากนะ ส่วนต่อไปมัทว่าจะช่วยได้บ้าง

-------------------------------------------------

จิตเห็นจิต เป็นยังไง จิตคือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ จิตไม่ได้มีดวงเดียวคงทนถาวรอยู่นิรันดรอย่างที่หลายๆคนเข้าใจ จิตเห็นจิตหมายถึงจิตดวงปัจจุบันมีสติไปรู้จิตดวงที่ดับไปแล้วสดๆร้อนๆ (จิตเกิดดับสืบต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาเพื่อทำหน้าที่รู้อารมณ์)

ปัญหาก็คือ สติเป็นอนันตา เดี๋ยวก็หายไป เราจะทำอย่างไรให้มีสติรู้อารมณ์อยู่เนืองๆจนเป็นนิสัย

-------------------------------------------------

หนังสือบางๆเล่มนี้มีเรื่องการดูจิตที่ผิดด้วย แต่มัทยังอ่านไม่ถึง พี่เล็กน่าจะสนใจ เรื่องนี้สรุปว่า ถ้าจะให้เข้าใจจริงๆคงต้องมีอาจารย์ค่ะ

มัทเองก็งงๆ แต่ว่าไม่ซีเรียสมากเพราะมีวิธีของตัวเองที่เข้าใจอยู่เองจากอาจารย์หลายๆท่านที่สอนมา อาจใช้ภาษาต่างกัน แต่ก็น่าจะโอเคสำหรับตอนนี้ (คิดไปเอง เหอะๆ)

P ขอคุยกับน้องมัทตรงนี้** ก่อน เพราะพี่ฟัง ฟัง และฟังซีดีพระอาจารย์ปราโมทย์เรื่อย ๆ ยังไม่เข้าใจนัก

ต้องไป"สนทนาวิสาสะ"กับพี่ ๆ เพื่อน ๆ ด้วย

**จิตเห็นจิต เป็นยังไง จิตคือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ จิตไม่ได้มีดวงเดียวคงทนถาวรอยู่นิรันดรอย่างที่หลายๆคนเข้าใจ จิตเห็นจิตหมายถึงจิตดวงปัจจุบันมีสติไปรู้จิตดวงที่ดับไปแล้วสดๆร้อนๆ (จิตเกิดดับสืบต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาเพื่อทำหน้าที่รู้อารมณ์)**

นี่ตรงนี้ พี่ว่าสำคัญมาก เพราะเรามักจะ คิด ใส่อารมณ์ "in" ไปกับการคิดตลอดเวลา วัน ๆ ไม่รู้กี่เรื่องต่อกี่เรื่อง 
เมื่อฟังพระอาจารย์หลาย ๆ ครั้ง ตอนนี้ที่พอจะทำได้ ก็ได้เฉพาะตอนที่ ฉุกใจหยุด "จิตที่กำลังคิด" ตามดู..ตามไป..เพื่อรอเวลาหยุด แล้วเตือนตัวเองว่า "คิด"อีกแล้ว

ไม่ได้บังคับให้ตัวเองหยุดคิดได้ทันที

ไม่เกร็งเหมือนสมัยฟังแผ่นซีดีใหม่ ๆ

รู้สึกว่าเราเริ่ม"กลาง ๆ " กับ "ตัวคิด"ของเราเองได้ จับเวลาว่ามันสั้นลง สำหรับการคิด แต่ยังอาศัยการเฝ้าตามลมหายใจอยุ่บ้างในหลาย ๆ ครั้ง และก็พอจะจับจิต หรือ ตัวคิดเราได้เช่นกัน ว่า "เผลอ"ไปไหนต่อไหน ก็มากก...ครั้งเลยเชียว! 

**ปัญหาก็คือ สติเป็นอนันตา เดี๋ยวก็หายไป เราจะทำอย่างไรให้มีสติรู้อารมณ์อยู่เนืองๆจนเป็นนิสัย**

 

 

อันนี้เห็นด้วยอย่างยิ่งช่วงแรก ๆ นั้น งง สับสนมาก ๆ ปัจจุบัน เหอะ เหอะ (ขอเลียนแบบ)ก็ยัง งง ค่ะ

เดี๋ยวพอ "หยุดคิด" ได้บ้าง..มาคุยต่อ

สวัสดีค่ะคุณหมอเล็ก และ"แม่มัท" : )

ขอบพระคุณมากสำหรับบันทึกที่น่ารักและชวนสนทนามากบันทึกนี้นะคะ  คุณหมอเล็กชวนคุยเรื่องลึกซึ้งได้สนุกจริงๆ    พี่แอมป์มีความรู้ทางธรรมน้อยมาก  มีแต่ใจที่อยากรู้ธรรม  รู้แล้วเย็นใจดี  ดีใจจังที่คุณแม่น้องเจแวะมาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันนะคะ  หลานชายพี่ได้ สัปปายะ ที่ดีน้าพี่ว่า  โดยเฉพาะ ปุคคลสัปปายะ : ) 

พี่แอมป์ฟังมัทเล่าเรื่องการเจริญสติแล้วชอบทุกที  คือของพี่ไม่ใคร่ได้ทำเท่าไหร่ อาศัยการ"ระงับอารมณ์ข่มใจ"มากกว่าการ"ตามดูรู้เท่าทันกระบวนการ"ของอารมณ์และจิต   ออกแนวตะวันตกมากกว่าตะวันออก  อิอิอิ

ตานี้พี่ลิ้งก์มามั่ง  คือไปเจอเรื่อง"การดูจิต"ในการสนทนานี้เข้าโดยบังเอิญ  อ่านแล้วก็คิดไปเองว่าเข้าใจหน่อยๆ  ทีนี้ก็เลยขำตัวเอง  จะว่าไปแล้วที่จริงพี่ยังไม่เคยปฏิบัติธรรมด้วยซ้ำ  มีแต่อ่านเอาทั้งนั้น  และที่เคย"รู้สึก"เอาเองก็เป็นแบบบังเอิญ ....แต่รู้สึกแล้วก็สบายใจดี

พี่เคยรู้สึกโศกเศร้าแบบนางเอกมิวสิคอยู่ช่วงหนึ่ง เปลืองทิชชูมาก อยู่มาวันหนึ่งเกิดรู้สึกนึก(หรือคิดก็ไม่รู้)ขึ้นมาเฉยๆว่า  เอ้า..เศร้าต่อซิ  ทำไมไม่เศร้าต่ออีกหน่อย  แน่ะ..งงอยู่ทำไม  เศร้าต่อเร้ว... เอ้าร้องเลย  .... 

ตานี้มันไม่ยักกะร้องแฮะ  คือรู้สึกว่ามีอะไรอีกอันมาบอกอันที่เศร้าๆอยู่เมื่อตะกี้  แล้วอันที่เศร้ามันก็หยุดไปเหมือนปิดสวิตช์  ถ้าเป็นดาราคงโมโหน่าดู  เพราะจู่ๆอารมณ์ที่บิวท์มาอย่างดีมันหายกึกไปหน้าตาเฉย  แบบว่าพี่ก็เลยงงๆอย่างที่ว่าเนี่ยนะคะ

สรุปว่าพี่แอมป์ไม่มีข้อสรุปสำหรับเรื่องนี้เพราะไม่รู้ว่ามันคืออาการอะไร  แต่ขอยืนยันว่าพี่ยังคงอยู่ได้ปกติดีมาจนทุกวันนี้  : )   และความรู้สึกที่ว่านี้ก็นานๆเกิดที  หลังจากเกิดแล้วก็ขำตัวเองทุกทีว่าอารมณ์นี่ก็เหมือนสวิตช์  ถ้าจังหวะดีๆ กดเจอปุ่มปิดมันก็ดับได้เอง   อ่า....พูดไปแล้วก็ดูเหมือนเพ้อเจ้ออย่างไรก็ไม่ทราบแต่พี่ก็อยากเล่าอย่างที่เจอนี่นะจ๊ะ

พี่แอมป์ชอบตรงที่มัทบอกว่า "ไม่ซีเรียสมากเพราะมีวิธีของตัวเองที่เข้าใจอยู่เองจากอาจารย์หลายๆท่านที่สอนมา " เพราะพี่ก็เชื่อว่าแต่ละคนจะหาวิธีของตนจนเจอ  แต่ละคนคงมีวิธีที่เหมาะกับตัวเอง ส่วนจะพัฒนาไปได้เพียงไรก็คงต้องมีอาจารย์มีผู้รู้จริงชี้แนะ ซึ่งก็นับเป็นกุศลแก่ชีวิตอย่างยิ่ง 

P ขอบคุณคุณหมอเล็กมากนะคะ ที่เริ่มต้นให้เกิดการสนทนาวิสาสะกันอย่างสบายใจเช่นนี้  : )  

 

 

 P และขอบอกว่ายินดีกับมัทด้วยใจจริงในความสุขแบบครอบครัวอบอุ่น ....ซึ่งฟังแล้วชื่นใจนักนะคะ   : )

ขอบคุณพี่แอมป์ค่ะ   P

ไปอ่าน อดไม่ได้ต้องคัดลอกมาเพื่อเอาไว้อ่านใกล้ ๆ ตัว บ่อย ๆ

ตรงนี้ค่ะ

*วิธีการเจริญวิปัสสนา(ดูจิต)*

การเจริญวิปัสสนาทุกประเภท รวมทั้งการดูจิต ไม่มีอะไรมาก เพียงแต่ให้ผู้ปฏิบัติ
"รู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่เป็นกลางเท่านั้น"
แต่จะรู้ได้ถูกต้อง ก็ต้อง (1) มีจิตที่มีคุณภาพ
และ (2) มีอารมณ์กรรมฐานที่ถูกต้อง
เท่านั้น

ซึ่งจิตที่มีคุณภาพสำหรับการทำสติปัฏฐานหรือวิปัสสนา
ได้แก่จิตที่มีสติ(สัมมาสติ) สัมปชัญญะ(สัมมาทิฏฐิ) และสัมมาสมาธิ
ส่วนอารมณ์กรรมฐานที่ถูกต้อง คืออารมณ์ที่มีตัวจริงที่สามารถแสดงไตรลักษณ์ได้
หรือที่นักปฏิบัติมักจะเรียกว่าสภาวะ และนักปริยัติเรียกว่าอารมณ์ปรมัตถ์

เมื่อจะลงมือปฏิบัติ ก็ให้ (1) มีสติเฝ้ารู้ให้ทัน (มีสัมมาสติ)
(2) ถึงอารมณ์หรือสภาวธรรมที่กำลังปรากฏ (มีอารมณ์ปรมัตถ์)
(3) ด้วยจิตที่ตั้งมั่น ไม่เผลอส่งส่ายไปที่อื่น และไม่เพ่งจ้องบังคับจิต (มีสัมมาสมาธิ)
แล้ว (4) จิตจะรู้สภาวธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง (มีสัมปชัญญะ/สัมมาทิฏฐิ)


การมีสติเฝ้ารู้ให้ทัน หมายถึงสิ่งใดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไป ก็ให้รู้เท่าทัน
เช่นขณะนั้นรู้สึกมีความสุข ก็ให้รู้ว่ามีความสุข
เมื่อความสุขดับไป ก็ให้รู้ว่าความสุขดับไป
มีความโกรธก็รู้ว่ามีความโกรธ
เมื่อความโกรธดับไปก็รู้ว่าความโกรธดับไป
เมื่อจิตมีความทะยานอยากอันเป็นแรงผลักดัน
ให้ออกยึดอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ก็ให้รู้ว่ามีแรงทะยานอยาก เป็นต้น

อารมณ์หรือสภาวธรรมที่กำลังปรากฏ
ต้องเป็นอารมณ์ของจริง ไม่ใช่ของสมมุติ
โดยผู้ปฏิบัติจะต้องจำแนกให้ออกว่า
อันใดเป็นของจริง หรือปรมัตถธรรม
อันใดเป็นของสมมุติ หรือบัญญัติธรรม

เช่นเมื่อจิตมีความสุข ก็ต้องมีสติรู้ตรงเข้าไปที่ความรู้สึกสุขจริงๆ
เมื่อจิตมีความโกรธ ก็ต้องรู้ตรงเข้าไปที่สภาวะของความโกรธจริงๆ
เมื่อมีความลังเลสงสัย ก็ต้องรู้ตรงเข้าไปที่สภาวะของความลังเลสงสัยจริงๆ ฯลฯ
และเมื่อหัดรู้มากเข้าจะพบว่า นามธรรมจำนวนมากผุดขึ้นที่อก หรือหทยรูป
แต่ผู้ปฏิบัติไม่ต้องเที่ยวควานหาหทยรูป
หากกิเลสเกิดที่ไหน และดับลงที่ไหน ก็รู้ที่นั้นก็แล้วกันครับ
ถ้าเอาสติไปตั้งจ่อดูผิดที่เกิด ก็จะไม่เห็นของจริง
เช่นเอาสติไปจ่ออยู่เหนือสะดือสองนิ้ว
จะไม่เห็นกิเลสอะไร นอกจากเห็นนิมิต เป็นต้น*

 

ที่เคยประสบกับตัวเอง คือ

1.เคยเห็นนิมิตราง ๆ เลือน ๆ ดีที่เราไม่ติดค่ะ

2.แปลกใจว่า การเจริญสติในบางคน(เช่นคุณหงุ่น-เพื่อนรักของหมอเล็ก) เขาเริ่มที่ปฏิบัติ เธอบอกว่าเธออ่านหนังสือน้อยมาก เธอปฏิบัติตามพระอาจารย์ที่สอนเลย

เมื่อเราสนทนาวิสาสะ กันหลังฝึกปฏิบัติ(ตัวหมอเล็กเพิ่ง..ตั้งไข่ค่ะ)
บางคำพูด บางคำสรุปของเธอ(คุณหงุ่น)เหมือนคำสอนของพระอาจารย์ที่เราอ่านมานานแล้ว อ่านแบบครุ่นคิด ด้วยแต่บางครั้ง..บ่อยครั้งเลยไม่เข้าใจ

ต่อเมื่อปฏิบัติบ้าง ควบคู่กันไป เข้าใจ(ยังไม่หมด) แต่เข้าใจได้มากขึ้น ง่ายขึ้น

เช่นเดียวกันค่ะ พี่แอมป์ สมัยเราเด็ก ๆ สาว ๆ ร้องไห้ตาแดงบวมเป่งว่า ทำไม้ ทำไม โรเมโอและจูเลียต ต้องเจอชะตากรรมเช่นนั้น..ทำไมคนส่งข่าวสาร ทำไมไม่ขี่ม้า ทำไมใช้วิธีจูงลา!!!

ต่อเมื่อเรามาถึงจุดนี้ เราเหมือนพี่แอมป์แล้วค่ะ

....มันคือนิย้าย..นิยาย..เรื่องหนึ่ง เท่านั้นเอง....

ขอโทษค่ะมีคำ..แสลง.อิ อิ จนด้าย...

ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีกับคุณหมอมัทด้วยนะคะ พี่เดินทางไปไม่ถึงบ้านคุณหมอมัท ได้แต่เห็นกันที่โน่นที่นี่ แว๊บๆ แต่ก็ยินดีที่ทราบว่าสบายดีอยู่เมืองไทย

เห็นสามสาวคุยกันเรื่องธรรมะ น่ารักมาก น่าชื่นชมยินดีด้วยค่ะ

พี่เห็นด้วยว่าเมืองไทยนั้นหาที่สัปปายะไม่ง่ายในชีวิตประจำวัน จึงสำคัญที่ขั้นแรกๆเราต้องรู้วิธีการ ตามดูจิต เจริญสติเป็น เรียกว่าให้รู้วิธีการ แล้วต่อไปให้ใช้ร่างกายเรานี้แหละเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม อยู่ที่ไหนก็เจริญสติได้ คือทำความรู้ตัวให้เกิดขึ้นเสมอๆ

อยากเจอกันแล้วได้ร่วมวงสนทนาธรรมจริงๆค่ะ คงเบิกบานมาก

P 

อยากเจอกันแล้วได้ร่วมวงสนทนาธรรมจริงๆค่ะ คงเบิกบานมาก

...............

เป็นความคิดที่ดี มาก ๆ เลยนะคะ

แต่สำหรับพี่แอมป์ เราคงต้อง..ใช้ โฟนอิน คุยกับพี่แอมป์น่ะค่ะ

พี่แอมป์จ๋า มัทขอลอกคำว่า สวิตช์ ของพี่แอมป์ไปใช้นะ นั่นแหละใช่เลยพี่ ทำให้เข้าใจง่ายมาว่าพูดว่า "ไม่รู้ทำไม แต่อยู่ดีๆมันก็ดับหายไปเอง" ใช้ analogy เป็นสวิตช์แบบนี้เห็นภาพดีค่ะ

อ.นุชขา มัทแว้บๆไปบ้านอ.บ้างแต่ก็ไม่ได้เขียนความคิดเห็นซักที มัทนึกถึงอ.เสมอเวลาเห็นลายดอกไม้สวยๆตามโปสการ์ดหรือปฏิทิน เวลาได้กลิ่นชาหอมๆก็มีภาพอ.แว้บๆมาบ้าง อยากไปบ้านริมน้ำซักครั้ง ไว้ลูกโตหน่อยแล้วมัทจะอุ้มไปรบกวนนะคะ ไว้ชวนพี่หมอเล็กกับพี่แอมป์ไปด้วย : )

 

P โอ เลยน้องมัท ข่าวดีก็คือ พ่อน้องภูในที่สุดก็เคลียร์คิว ว่ายังไง ๆ ต้องพาเราสามคนบวกน้องมัท ถ้าไหว?...ไปบุกหาพี่นุชก่อนลูกเปิดเทอม

 

ดูสิคะ ประกาศทั้งที่ยังไม่ได้แจ้งเจ้าบ้าน น่ะค่ะ

โอ้ ดีจังค่ะพี่หมอเล็ก ฝากสวัสดีอ.นุชด้วยนะคะ

P ไปสวัสดี เยี่ยมชมบ้าน กินขนม เดินชมตลิ่งและสายน้ำ ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊วกับคะน้าที่นุ่มลิ้น ที่...

บ้านไทย ริมน้ำ เปี่ยมด้วยพลังของธรรมชาติแห่งแม่พระธรณี สายน้ำ-แม่คงคา ต้นไม้ สายลม แม้จะอ้าวเล็กน้อยด้วยใกล้มีพายุ...

อ้อ สิ่งมีชีวิต(คนและน้องหมา)ที่เป็นสิ่งจิ๋ว ๆ เหลือเกินเมื่อเทียบกับธรรมชาติ

เหล่านี้เติมพลังให้เราได้ ดั่งคำพูดของเจ้าบ้าน-พี่นุช คนงามน้ำใจและงามกาย พร้อมรอยยิ้มบนใบหน้า

มาแล้วค่ะ

เรียนอาจารย์นุชว่าน้องมัทฝากสวัสดีแล้วด้วยค่ะ

 

วันนี้ มีไฮไลท์ที่พี่แอบถ่ายรูปด้วยมาดตากล้อง(สามีแซว..ว่าดูเหมือนมืออาชีพอยู่พอใช้ได้..อิ อิ)

จะค่อย ๆ เขียนมาเล่าให้ฟังค่ะ

มีความสุขเชียวค่ะ

*จากพี่แอมป์และถึงพี่แอมป์P และ ใคร ๆ ก็ตาม

**พี่จึงเริ่มจากการฝึกที่ใจตัวเองก่อน แบบว่าล้มลุกคลุกคลานมากค่ะคุณหมอเล็ก  แค่เริ่มจากการ "เข้าใจและไม่โกรธ" นี่ก็แทบแย่แล้วในแต่ละวัน  แต่วันไหนที่ทำได้ก็รู้สึกดีใจชะมัด  พี่จึงต้องฝึกตัวเองทุกวัน  และยังอยู่ในระยะล้มลุกคลุกคลานสนุกสนานมาจนบัดนี้   ยังข้ามไปขั้นที่สามไม่ได้สักที

วันนี้น้องเจอเหตุการณ์ ที่

  • 1.ไม่เข้าใจ
  • 2.โกรธ
  • 3.ไม่มั่นใจตัวเองขึ้นมา
  • 4.....

โอ ต้องตั้งหลักค่ะ ใช้เวลาตั้งหลักประมาณครึ่งชั่วโมง-หนึ่งชั่วโมง ไม่แน่ใจ เราหลุด เผลอ ไปนานแค่ไหน???

(มาบวกลบเวลาดูทีหลัง)

จดไว้ ว่าเรายัง..ห่างมาก จากภาวะ"รู้"

จากคคห ของตัวเอง คคหที่13

คนเราไม่ว่าชายหรือหญิง ควรมีวาระเวลา ปลีกวิเวก, ปฎิบัติธรรม เข้าถ้ำ หรือจะใช้คำใดก็ตามแต่ สักช่วงเวลา

เวลาแห่งความเงียบ

เวลาแห่งการนึกคิดใคร่ครวญ ทบทวน ชีวิตที่ผ่านร่องของกาลเวลา ได้รับการฝาก รอยแผล ความทุกข์ รวมทั้งความสุข สารพัดจาก ระยะห้วงครรลอง ล่องลอย เลือนหายไปบ้างตามความเนิ่นนาน ระยิบระยับพริบพราวเสมอ มิลืมเลือนเนื่องด้วยความประทับใจ

เวลาแห่งการตระหนักให้รู้ลึกซึ้ง ตอกย้ำในจิตใจ

ว่า

ทุกสิ่งที่กล่าวถึงนั้น

เป็น อนัตตา

 

เป็นความปรุงแต่ง

 

สิ่งจริงแท้แน่นอนสิ่งเดียว คือ

"รู้"

"มา"

และ

"ไป"

 

มาจดไว้ ว่าเรายัง..ห่างมาก จากภาวะ"รู้"

แต่เริ่มตระหนัก เขยิบเข้าใกล้ เข้าใกล้ ไป ทีละนิด ทีละนิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท