หลักการศึกษาในอิสลาม


นานมากที่ไม่ได้เขียนในบล็อกการศึกษานี้ พอดีเทอมนี้ทางสาขาวิชาให้ภาระผมอย่างหนึ่ง คือ ให้ไปสอนวิชามโนทัศน์การศึกษาและความเป็นครูในอิสลาม ก็ลองพลิกๆดูผลงานเก่าของตัวเอง มีทั้งที่ได้เขียนเป็นบทความไปบ้างแล้ว มีทั้งที่ยังคาราคาซังอยู่ และได้พบโนตย่อๆอยู่ชิ้นหนึ่ง ยังไม่สมบูรณ์ก็จะลองนำเสนอที่นี้ คิดว่าอีกสักระยะคงทำให้สมบูรณ์ 

อิสลามไม่ได้แยกศาสนาจักร์ออกจากอาณาจักร์ ไม่ได้แยกระหว่างทางโลกและทางธรรม ไม่ได้แยกระหว่างตักวา(ความยำเกรงในอัลลอฮฺ)กับความรู้ แต่ทั้งสองจะต้องมีความสัมพันธ์กัน

จากหลักพื้นฐานของอิสลามที่มีความเกี่ยวเนื่อยงกันอย่างแยกส่วนกันไม่ได้ระหว่างทางโลกกับทางธรรมแล้ว และจากหลักฐานอื่นๆอีกมากมาย ทำให้สามารถสรุปหลักพื้นฐานที่ครูมุสลิม(มุอัลลิม)ควรคำนึงในการจัดการเรียนการสอน คือ

  1. ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ทั้งผู้สอนและผู้เรียนว่าไม่ได้ทำเพื่ออื่นใดนอกจากเพื่อความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ
  2. อิสลามไม่ได้สอนให้ผู้รู้ได้เรียนรู้เพื่อรู้แต่ให้เรียนรู้เพื่อปฎิบัติ หรือเราจะพูดได้ว่าระหว่างทฤษฎีกับการปฎิบัติไม่ได้แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะผู้สอนจะสอนอย่างเดียวไม่ได้ต้องทำเป็นแบบอย่างด้วย
  3. ทุกครั้งที่ครูจะจัดการเรียนการสอน ครูจะต้องคำนึงถึงความพร้อมของผู้เรียน
  4. เน้นความง่ายทั้งในเนื้อหาที่จะสอนและวิธีการสอน
  5. สนับสนุนการตีความใหความเข้าใจและการอภิปรายเพื่อหาขอเท็จจริง
  6. การเรียนการสอนในแต่ละครั้งต้องยืดหยุ่น โดยเฉพาะต้องสอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่างๆ
  7. ทุกอย่าง ทุกเนื้อหา เน้นให้ใช้ปัญญามากกว่าการให้กระทำตามโดยไม่รู้ที่มาที่ไป(ตักลีด)
  8. เปิดกว้าง ยอมรับในความเห็นของคนอื่น ตราบใดที่ความเห็นนั้นไม่เป็นอันตรายต่อการนับถือศาสนา
  9. บูรณาการระหว่างความรู้กับอิมาน(ความศรัทธา) ความรู้ที่เป็นศาสนากับความรู้ที่เป็นการประกอบอาชีพ
  10. บูรณาการระหว่างความรู้ที่เร้นลับกับการศรัทธาในพระเจ้าอัลลอฮฺ
  11. ความรู้ที่มีการเรียนการสอนต้องเป็นความรู้ที่ไม่ขัดกับหลักศาสนา
  12. เรียนรู้แล้วต้องเผยแพร่แม้จะมีเพียงแค่ประโยคเดียวกับตาม
  13. เรียนรู้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด จะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตและสม่ำเสมอ
  14. ครูกับลูกศิษย์จะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี เคารพและให้เกียติกัน

และอื่นๆ อีกมากมาย เอาไว้ผมรวบรวมเป็นชิ้นเป็นอันที่ดีแล้วจะนำเสนอมาใหม่  

 

หมายเลขบันทึก: 268936เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2009 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

อาจารย์น่าจะรวบรวมงานทำความเข้าใจลักษณะนี้นะครับ...ผมคนนึงครับที่อยากเก็บไว้ศึกษาและให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป มีอะไรให้ช่วยก็บอกนะครับ ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองและตอบแทนครับอาจารย์ อาการดีขึ้นบ้างยังครับ ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ

ครับ..

ลูกๆก็บ่นอยู่เหมือนกัน ว่าควรทำเป็นเล่มได้แล้ว..

เอาไว้ว่างๆ จะรวบรวม..

ใช่อาจารย์ หนูจะได้เอาไปอ่าน

เนื่องจากดิฉันได้อ่านข้อความในเว็บนี้ดิฉันมีความรู้สึกว่ามีแรงจูงใจมากยิ่งขึ่นที่ดิฉันจะศึกษา เพราะว่ามีประโยนช์หนึ่งที่ดิฉันโดนใจมากก็คือประโยนช์ที่ว่าทําทุกสิ่งทุกอย่างเพื่ออัลลอฮฺ เพราะว่ามุสลิมทุกคนต้องยําเกรงต่ออัลลอฮฺใช่ไหมค่ะ?

เนื่องจากดิฉันได้อ่านบล็อกนี้แล้วทำให้ดิฉันมีความรู้สึกจะศึกษากับเรื่องนี้ เพราะบางส่วนที่ดิฉันยังไม่รู้

جزاكم الله خيرا ทั้ง เจะรอซีลา และ อาอีเซ๊าะ

ผมก็ตั้งใจจะศึกษาเรื่องการศึกษาอิสลามและจิตวิทยาอิสลาม ที่วางอยู่บนหลักอัลกุรอานและหะดีษจริงๆ

แต่จนถึงทุกวันนี้ยังไม่สามารถทำเป็นชิ้นเป็นอันเลย

อินชาอัลลอฮฺ จะทำให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

ถ้าเนื้อหาของเรื่องนี้ ได้อยู่ในหนังสือซักเล่ม (รวบรวมเป็นหนังสือได้เลย) ไม่ต้องหนามาก ศัพท์ที่ใช้อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มันน่าจะเวิร์ค เพราะหนังสือเล่มนี้จะสามารถสร้างความกระจ่าง สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอิสลาม ให้กับกลุ่มคนที่ไม่เคยเข้าใจ หรือใส่ใจในอิสลามเลย รวมทั้งกลุ่มคนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอิสลามแบบผิดๆมาโดยตลอด

หวังนะคะ ว่าคงมีโอกาสเห็นหนังสือเล่มนี้ในอนาคต .........จะรอค่ะ

ขอบคุณมากครับ คุณ

P

ก็พยายามอยู่แต่ยังไม่เป็นเป็นอันอยู่ดี คิดว่าคงต้องเอาคำว่า ผ.ศ. มาล่อแล้วละซิ

ขอบคุณมากครับ คุณ

P

ก็พยายามอยู่แต่ยังไม่เป็นเป็นอันอยู่ดี คิดว่าคงต้องเอาคำว่า ผ.ศ. มาล่อแล้วละซิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท