ฤๅเป็นการลดชั้นเก็บเอกสารท.ร.1/1 เพียง 1 ปี : โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต


ผมไม่ปรารถนาให้นางพยาบาลห้องคลอดปฏิเสธการให้ท.ร.1/1 เพื่อให้ตนต้องพ้นภาระไป โดยมิได้อ่านกฎหมายหรือทำความเข้าใจเรื่องงานสารบรรณ เพราะการเก็บท.ร.1/1 เป็นเอกสารที่มีความสำคัญที่สุดของชีวิตเด็กหนึ่งคน มิใช่เป็นหนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญ เกิดขึ้นเป็นประจำเพราะเหตุว่ามีคนพม่าคลอดลูกที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ตจำนวนมาก

 

อาสาสมัครของ NCCM ที่ภูเก็ตเคยแจ้งกับผมว่า นางพยาบาลบอกว่าหากเด็กที่เกิดในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เกินกว่า 1 ปี จะไม่สามารถค้นหาหนังสือรับรองการเกิดท.ร.1/1 ได้การบอกกล่าวอย่างนั้นเสมือนหนึ่งเป็นการปฏิเสธล่วงหน้าเพื่อที่จะไม่ต้องมาขอท.ร.1/1 ที่โรงพยาบาลอีก

 

แต่ผมก็ได้ชี้แจ้งไปว่า เอกสารที่เกิน 1 ปี หาไม่ได้ ไม่เป็นความจริง เนื่องจากกรณีของนางเล็กสามารถที่จะค้นหาท.ร.1/1 ได้แม้ว่าจะเกิน 1 ปีแล้วก็ตาม ( ลูกสาวนางเล็กเกิดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2547 ) รายละเอียดตามลิงค์ข้างล่างครับ

http://gotoknow.org/blog/papermoon/252584

 

ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าความคิดของนางพยาบาลผู้นั้นมาจากแนวคิดใด หรืออาจจะ

มาจากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.. 2548 ข้อ 57.5 เรื่อง หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญซึ่งไม่มีความสำคัญ และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี

 

หากเป็นการไม่สามารถค้นหาท.ร.1/1 ซึ่งเกิน 1 ปี ได้ เป็นความจริงแล้ว ไฉนทางโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตสามารถค้นหาเอกสารลูกของนางเล็กได้ เพราะเอกสารที่เก็บตามข้อ 57.5 นั้นครบอายุการเก็บ 1 ปี ต้องทำลาย เมื่อไม่ทำลายก็หมายความว่ายังคงมีการเก็บเอกสารดังกล่าวอยู่

 

การออกมาปฏิเสธเสียเนิ่น ๆ ดังที่กล่าวข้างต้น หากแม่คนใดคนหนึ่งยื่นคำร้องขอท.ร.1/1 แล้วนางพยาบาลออกมาปฏิเสธว่าท.ร.1/1 ไม่มีแล้ว ไม่ว่าด้วยเหตุใด ก็เท่ากับว่านางพยาบาลผู้นั้นได้ทำให้ท.ร.1/1 สูญหายเพราะเป็นหน้าที่ของนางพยาบาลที่จะต้องปกครองหรือรักษาเอกสารดังกล่าวไว้ การบอกว่าไม่มีจึงเป็นความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 158 หรือไม่ก็อาจจะผิดตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นหลักทั่วไป ซึ่งล้วนแต่มีโทษหนักกว่าการไม่ออกท.ร.1/1 ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฏรเสียอีก

 

หากนางพยาบาลอ้างว่ามีการทำลายเอกสารเหล่านั้นจริง ต้องตอบคำถามว่าได้ปฏิบัติตามระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 ส่วนที่ 3 ว่าด้วยการทำลาย หรือไม่ อย่างไร และต้องตอบคำถามให้ได้ว่าท.ร.1/1 ของลูกนางเล็กมาได้อย่างไร  ซึ่งจะต้องตอบคำถามให้ดี ๆ มิฉะนั้นคำตอบอาจผูกมัดตัวเองให้ต้องผิดกฎหมายอาญามาตราอื่นอีก

ผมภาวนาว่าขออย่าได้เจอการปฏิเสธกับตัวตรง ๆ อย่างนั้นอีก เพราะอาจทำให้ผมไม่มีทางเลือก เพราะผมต้องปกป้องเด็กไม่ให้ตกอยู่ในสถานะไร้ความมั่นคงในจิตใจตลอดชีวิต เพียงเพราะท่านไม่ยอมสละเวลาค้นหาเอกสารที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเด็ก แล้วท่านมาปฏิเสธตามที่กล่าวมาข้างต้น หรือปฏิเสธตามลิงค์ข้างล่างนี้

http://gotoknow.org/blog/papermoon/278528

 

ผมไม่ปรารถนาให้นางพยาบาลห้องคลอดปฏิเสธการให้ท.ร.1/1 เพื่อให้ตนต้องพ้นภาระไป โดยมิได้อ่านกฎหมายหรือทำความเข้าใจเรื่องงานสารบรรณ เพราะการเก็บท.ร.1/1 เป็นเอกสารที่มีความสำคัญที่สุดของชีวิตเด็กหนึ่งคน มิใช่เป็นหนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญ เกิดขึ้นเป็นประจำเพราะเหตุว่ามีคนพม่าคลอดลูกที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ตจำนวนมาก

หมายเลขบันทึก: 278871เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2009 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 03:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

จะตรวจสอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน สธ. ให้นะคะ

อืมม

ขอบอกว่า

คุณเพ้ง

คุณน่ะ เหลือเชื่อขึ้นทุกๆ วันนะคะ

: )

แวะมาทักทาย

พี่สาร ค่าย มร.

มีไอเดียค่ะ

ทำจดหมายหารือเป็นลายลักษณ์อักษร

๑. นายกรัฐมนตรี

๒.กระทรวงสาธารณุข

๓.กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

๔.กรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท