BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

พฺรหฺมา จ โลกาธิปตี (บทอาราธนาธรรม)


พฺรหฺมา จ โลกาธิปตี (คำอาราธนาธรรม)

บทอาราธนาธรรมที่ใช้อยู่ปัจจุบัน คือ

  • พฺรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ
  • กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ
  • สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
  • เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ

มีประเด็นที่ผู้เขียนสงสัยอยู่ตั้งแต่เริ่มเรียนภาษาบาลี และความสงสัยนี้ก็ยังมิได้คลี่คลาย จนกระทั้งคืนก่อนจะนำเอาคาถานี้มาเป็นหัวข้อแสดงธรรม จึงได้ค้นคว้าอีกครั้ง ก็ไปเจอบทความวิจารณ์ไว้ (คลิกที่นี้) เมื่อสืบค้นต่อไปก็ทำให้ความสงสัยที่เก็บงำมานานคลี่คลายไปได้... อนึ่ง คาถาเดิมของบทอาราธนาธรรมนี้ มีที่มาจากพระไตรปิฏก และอรรถกาก็ได้อธิบายไว้ ผู้สนใจจะอ่านในส่วนนี้ก็ (คลิกที่นี้) ส่วนในบันทึกนี้ จะวิจารณ์ที่ผู้เขียนเคยสงสัยเท่านั้น...

อนฺธิวรํ คำนี้แปลว่าอย่างไร ? เพราะผู้เขียนแปลไม่ถูก แต่เมื่อมาทราบว่า คำเดิมในพระไตรปิฏกคือ อนธิวรํ และเป็นคุณนามของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เขียนก็สว่างโล่งทันที เพราะสามารถตั้งวิเคราะห์ในใจได้ทำนองว่า...

  • น อิมินา ภควตา อธิกตโร วโร อตฺถีติ อนธิวโร (ภควา)
  • ความประเสริฐอันยิ่งกว่า กว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ย่อมมี หามิได้ ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ชื่อว่า อนธิวโร (มีผู้ประเสริฐยิ่งกว่าหามิได้)

การทำตัวก็ น +อธิวโร = อนธิวโร ( เป็นศัพท์ปฏิเสธ เมื่อเข้าสมาส ถ้ามีสระอยู่ข้างหลัง ให้แปลง เป็น อน ) แค่นี้ ก็สำเร็จ...

 

แต่ปัจจุบันที่เราใช้กันอยู่แปลงเป็น อนฺธิวโร (อนฺธิวรํ) ผู้เขียนแปลยังไงก็ไม่ถูก เพราะไปหลงกับศัพท์ว่า อนฺธ อนฺธิ ซึ่งแปลว่า มืดบอด  ... อนฺธิวโร จะแปลว่า ผู้มืดบอดอย่างประเสริฐ หรือ ผู้ประเสริฐด้วยความมืดบอด ก็กระไรอยู่...

จากบทอาราธนาธรรมนี้ สะท้อนให้เห็นได้ว่า บทสวด บทอาราธนา หรือคาถาต่างๆ ที่เราใช้อยู่นั้น มีที่ผิดเพี้ยนจากคัมภีร์เดิมอยู่ด้วย แต่เราใช้กันมานานแล้ว ไม่รู้ว่าเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่เมื่อไหร่... บางอย่างก็พอทราบเค้าเงื่อนถึงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงได้... บางอย่างก็ไม่อาจทราบสาเหตุเบื้องต้นได้ว่า คนโบราณท่านจงใจเปลี่ยนเพราะเหตุไร ?... หรือบางอย่างก็ได้เพียงแต่คาดหมายว่า อาจเปลี่ยนแปลงมาเพราะความพลั้งเผลอ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนและบรรดาท่านอื่นๆ แม้จะพอรู้บ้างว่า ที่จุดนั้นไม่ถูกต้อง หรือผิดแผกไปจากคัมภีร์ แต่เกือบทุกท่านก็ยังคงสวดอยู่ตามที่เคยหัดท่องหัดสวดมา ยกเว้นผู้หนักแน่นบางท่านเท่านั้นที่ไม่ยอม ก็คงต้องปล่อยให้ท่านยึดถือไปตามประสาท่านเถิด

หมายเลขบันทึก: 281033เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2009 18:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สาธุ สาธุ สาธุ

เพิ่งกระจ่างก็วันนีล่ะครับ

นมัสการค่ะ
เพิ่งจะทราบเหมือนกันค่ะ
กราบ 3 หนค่ะ

นมัสการครับท่าน

         ก็เพิ่งทราบเช่นกันครับ...แต่เขาว่ามีอีกบท...ที่เขาเรียกว่า...หางพฺรหฺมา...มีจริงหรือไม่...มีบทสวดว่าอย่างไรครับผม

                                      ขอนมัสการ

Pคนใต้โดยภรรยา

 

 

PSasinand

 

 

Pนายช่างใหญ่

 

หางพฺรหฺมา ! น่าจะเป็นส่วนที่ต่อไปจากบทพรหมาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันสักสองสามคำ รู้สึกว่าเคยได้ยินอุบาสกอาวุโสมากๆ อาราธนาสักครั้งสองครั้งนะ แต่นานมากแล้ว...

หางพฺรหฺมา ถ้าเป็นประเด็นนี้ก็จำไม่ได้ แต่ถ้าเป็นประเด็นอื่น ก็ไม่รู้ (............)

เจริญพรทุกท่าน

นมัสการ ท่านอาจารย์

"พฺรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ

กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ

สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา

เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ "

สมัยก่อนจะมีหางต่อไปอีกว่า

"สะธัมมะเภริง วินะยันจะกายัง สุตตันจะพันธัง อะภิธัมมะจัมมัง อาโกจะยันโต จะตุสัจจะพันธัง ปัพโพชะนะเย ปะริสายะมัชเฌฯ"

เป็นบทที่ท่องจำกันมา อาจผิดเพี้ยนไปบ้างนะครับแต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้กันแล้ว มีอุบาสกบางท่านยังใช้กันอยู่ครับ

กราบนมัสการครับ

 Ppakorn

 

  • อนุโมทนาอย่างยิ่ง...

ตามที่ยกมา เป็นส่วนต่อจากพระไตรปิฏก ก็คิดอยู่เหมือนกัน ว่าน่าจะเป็นบทนี้ แต่ไม่ได้ยินนานนนนนนนนน แล้ว จึงมิกล้ายืนยัน...

เจริญพร

ทำอย่างไรที่จะให้คนฟังพระสวดแล้วรู้ความหมาย เพราะถ้ารู้ความหมายพุทธศาสนิกชนจะสามารถจำได้ง่ายขึ้น น่าจะมีการอบรมพิธีทางศาสนากับประชาชนว่า งานขึ้นบ้านใหม่ต้องมีขั้นตอนการอารธนา สวดอย่างไรบ้าง มีความหมายแต่ละขั้นตอนอย่างไร (งานอื่น ๆ ด้วยเช่นงานศพ งานแต่งงาน การทำบุญในโอกาสต่าง ๆ

P kaikiku

 

คนที่สนใจ เค้าก็พยายามจนรู้และเข้าใจเอง... ส่วนคนที่ไม่สนใจ แม้นอนอยู่ในวัด ก็อาจไม่รู้เรื่อง...

เรื่องทำนองนี้ มิใช่เรื่องปกปิด จะทำให้คนเข้าใจและรู้เรื่องเหมือนกันทุกคนในทุกเรื่องนั้น เป็นสิ่งที่เพ้อฝันเกินไป...

เหมือนนักเรียนในห้องนะแหละ จะให้เก่งและฉลาดเหมือนกันทุกคน อย่างนั้นใช่มั้ย ? ถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ ?

เจริญพร

กระผมเองก็เคยศึกษาเรื่องนี้เหมือนกันครับ ในพระไตรปิฎกก็เขียนแบบนึง ในคัมภีร์ฉันท์ก็แบบนึง ว่างๆ สมเด็จพระญาณสังวรฯ พระองค์ท่านก้แสดงพระมติไว้เช่นกันครับ จะอ่านตามแหล่งข้อมูลที่พระอาจารย์แนะนำอย่างละเอียดอีกครั้งครับครับ

พิมพ์ผิดครับ

กระผมเองก็เคยศึกษาเรื่องนี้เหมือนกันครับ ในพระไตรปิฎกก็เขียนแบบนึง ในคัมภีร์ฉันท์ก็แบบนึง สมเด็จพระญาณสังวรฯ พระองค์ท่านก็แสดงพระมติไว้เช่นกันครับ กระผมว่างๆจะอ่านตามแหล่งข้อมูลที่พระอาจารย์แนะนำอย่างละเอียดอีกครั้งครับครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท