ท่าสักไดอารี่ การวิจัยชุมชน (2) : ร่วมคิด ร่วมริเริ่มโครงการ


               ครั้งแรกในการพบปะและพูดคุยระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ในรายวิชาวิจัยธุรกิจ เป็นวันที่นักศึกษาสดใสไม่เคยรู้สึกเครียดในคาบนี้เพราะเป็นชั่วโมงแรกของการเรียนการสอน มีการแนะนำตัวเองระหว่างนักศึกษากับอาจารย์พร้อมพูดรายละเอียดหรือภาพรวมของการจัดทำรายงานการวิจัยที่จะต้องทำ ซึ่งโดยปกติจะทำวิจัยแบบแบ่งกลุ่มย่อยๆ เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ตามประเด็นสำคัญทางธุรกิจใจปัจจุบันแบบเดิมเหมือนกับทุก ๆ เทอมที่ผ่านมา แต่ในครั้งนี้ 


                แต่วันนั้นมีแนวคิดใหม่ว่า “เรามาร่วมกันทำงานดีไหม” มาร่วมกันทำวิจัยโดยให้นักศึกษาทั้งหมดทำงานร่วมกันและอาจารย์เป็นที่ปรึกษาในการทำงานครั้งนี้                จากนั้นผมได้ก็ได้เริ่มบรรยายฉายสไลด์ภาพถ่ายที่ได้เคยไปทำงานในพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศ พร้อมกับบรรยายถึงข้อดี ข้อด้อย ปัญหา อุปสรรค รวมถึงประโยชน์ที่จะได้รับของการทำวิจัยแต่ละประเภท ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แล้วผลสรุปก็ออกมาว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการทำวิจัยเชิงคุณภาพ .......................
                “ทำเรื่องอะไรดีล่ะ”
                “ทำเรื่องอะไรถึงจะเกิดประโยชน์กับทุก ๆ ฝ่ายมากที่สุด”
                “ปัญหาอะไรที่สำคัญที่เกิดขึ้นกับบ้านเราในทุกวันนี้”
                “ปัญห า 1. 2 . 3. ...............”
                “ปัญหาความยากจน
                “ทำไมถึงยากจน?”            
                “รายได้น้อย?
                “ของแพง  ค่าใช้จ่ายมาก?”
                “หนี้สินล้นพ้นตัว?”
                “เศรษฐกิจไม่ดี?”
                “เศรษฐกิจของบ้านเราหรือชุมชนไม่ดี!”
                “เราจะแก้ไขได้อย่างไร?”
                “เราจะใช้กระบวนการวิจัยแก้ไขปัญหาเรื่องเศรษฐกิจของชุมชนบ้านเราได้อย่างไร?”
                “ใครล่ะที่จะเป็นคนแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของชุมชนได้”

เรา อาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ ข้าราชการ หรือเอกชนล่ะ การแก้ไขปัญหา การวิจัยและพัฒนารวมกันแล้วเรียกว่า “การเสริมสร้าง” ซึ่งการเสริมสร้างที่เข้มแข็งและยั่งยืนนั้น คนที่ทำการเสริมสร้างได้จะต้องเป็นชุมชนเอง เสริมสร้างด้วยตัวของตัวเอง ดังนั้นเศรษฐกิจแห่งการพึ่งตนเอง เป็นหลักการที่สำคัญซึ่งทางพุทธศาสนามีคำกล่าวว่า อัตตาหิ อัตตโนนาโถ (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน) การพึ่งตนเองได้คือความเข้มแข็ง ถ้าชุมชนพึ่งตนเองได้ เศรษฐกิจในชุมชนจะเข้มแข็ง  การพึ่งตนเองได้คือความเข้มแข็งที่ยั่งยืน ดังนั้นทีมวิจัยของเราจึงใช้เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้
                เราจึงเลือกกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม หรือที่ทางภาษาวิชาการเขาเรียกว่าว่าแบบ “พา” (Participatory Action Research : PAR) ซึ่งจะทำกันในเรื่องที่เป็นส่วนสำคัญทางด้านธุรกิจก็คือเรื่องของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจชุมชน จึงได้เกิดโครงการวิจัยที่มีชื่อว่า “โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน” ขึ้นมา
                กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมหรือ PAR เป็นกระบวนการวิจัยที่เน้นกระบวนการเสริมสร้างทางด้านความคิดจากระบวนการคิดให้เกิดขึ้นในชุมชนซึ่งมีขั้นตอนที่ได้พัฒนาขึ้นมาตามประสบการณ์ทำงานของผม โดยยึดหลักตามวงจร PDCA ซึ่งจะต้องเพิ่มคำว่า “ร่วม” เข้าไปในทุกขั้นตอนของกระบวนการ เริ่มตั้งแต่ร่วมวางแผน ร่วมลงมือปฏิบัติ ร่วมตรวจสอบ ร่วมประเมินผล ร่วมแก้ไข ร่วมปรับปรุง และส่วนที่สำคัญที่สุดคือ ร่วมกันได้รับผลประโยชน์ โดยการทำงานวิจัยในครั้งนี้เน้นหนักไปที่กระบวนการในการจัดการเรียนรู้ให้ชุมชน ได้คิด ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักในการดำเนินงาน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนที่หนึ่งการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้คิดรายบุคคล โดยการลงไปทำแบบสำรวจและจัดสนทนารายครัวเรือนกับชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย และส่วนที่สองการจัดกระบวนการเรียนรู้ของทั้งชุมชน ทำได้โดยการจัดเวทีชุมชน และให้ภาคีต่าง ๆ เข้ามาร่วมกันคิด ร่วมกันเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาชุมชนที่เหมาะสมกับตัวของชุมชนเอง
                “PAR คือ ต้องมีส่วนร่วมระหว่างผู้ให้ไอเดียกับคนทำต้องร่วมคุยกันให้เรียบร้อยว่าต้องทำหรือไม่ทำนะ ปัญหาเริ่มขึ้นจากผู้วิจัยเองคือ ให้ปัญหาเรามีอะไรบ้างวันนั้นปัญหาหนึ่งก็คือ ความรู้ที่ได้รับก็เป็นปัญหาว่าเราจะได้ความรู้จากตรงนี้ไหมถ้าเกิดอยากได้ความรู้มันก็เกิดความอยาก       ที่จะทำ”
                “เทคนิควิธีวิจัยแบบมีส่วนร่วมเป็นการวิจัยซึ่งไม่สามารถอ่านได้จากหนังสือเพราะมันต้องลงมือปฏิบัติจริง”

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นกระบวนการมีส่วนร่วมตั้งแต่การร่วมคิด การร่วมทำ การร่วมตรวจสอบ ร่วมติดตาม ร่วมแก้ไข และสุดท้ายที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การร่วมกันรับผลประโยชน์ โดยมุ่งจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับทุก ๆ ฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัย (ทุกคน ทุกฝ่าย) ฉะนั้นการทำงานครั้งนี้จึงเน้นการพัฒนาศักยภาพของคนไม่เฉพาะชุมชน แต่รวมถึง หน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน โดยเฉพาะนักศึกษาซึ่งเป็นทีมวิจัย หรือแม้กระทั่งตัวครูเองซึ่งเป็นผู้ควบคุมโครงการนี้ก็ได้รับการพัฒนาเช่นเดียวกัน การวิจัยครั้งนี้จึงเป็นกระบวนการพัฒนา คน และ เป็นกระบวนการเรียนรู้ของทุกคน

(อ.ปภังกร  วงศ์ชิดวรรณ : สรุปโครงการ 18 ตุลาคม 2548)

ฉันมิใช่ "ครูดี" แต่ฉันเป็นคนมีหัวใจที่ทำเพื่อ "ศิษย์"

 

 

หมายเลขบันทึก: 28640เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2006 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท