5 กันยายน 2552


เมื่อไหร่ชาวเชียงใหม่-ลำพูนจะเลิกเผาในที่โล่งแจ้งคะ????

วันนี้ตื่นแต่เช้าเพราะต้องไปทำธุระให้พ่อที่กรุงเทพฯ

ตื่นตีห้า สวดมนต์ตามปกติ แล้วก็ลงไปนอนต่ออีกซักนิดน่า

จะหกโมงแล้วตื่นๆวันนี้ปลาฉลามบุกอีกไม๊นะ

เฮ่อ..โล่งอก..ปลอดภัยแล้ว ^__^

วันนี้ขอเพิ่มหน้าต่างอีกสองบานค่ะ

บานแรกถ่ายจากTG123 (ที่นั่งสุดท้ายปลายหางเลย!แงๆ>_>) เวลาประมาณ 7.00 น.ที่สนามบินเชียงใหม่ เมฆstratocumulus

บานที่สองสวยประทับใจมากๆ ตั้งแต่นั่งเครื่องบินมาเที่ยวนี้คุ้มที่สุด เพราะ วิวสวยที่สุด มีที่นั่งให้มากที่สุด(แถวIJKนั่งคนเดียวเลย^__^) จองหน้าต่างคนเดียวเลยฮาฮาฮา...ฯลฯและที่สำคัญได้ราคาพิเศษ อิอิ.. TG116 (คุณปทุมมาวดี;ชื่อเครื่องบินจ้า) ตั้งแต่เวลาประมาณ 17.15-18.30 น.

เป็นภาพเมฆcumulus conjestus พร้อมรุ้งสวยๆ(ข้อมูลแก้ไขใหม่นะคะ เพราะตอนนั้นเครื่องบินอยู่สูงประมาณ 18,000 ฟุตค่ะ;สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มได้ที่ความเห็นของพี่ชิวค่ะ   ขอบคุณค่ะ^__^)

และภาพสุดท้ายไม่มีคำบรรยาย แต่อยากขอร้องผู้ที่เผาขยะและใบไม้ในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูนทุกท่าน หยุดเผานะคะ..

แถมอีกรูปชัดๆ(คุณกัปตันเค้าให้ปิดอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์แล้วแต่ขอขัดคำสั่งซักนิดนะคะ อยากถ่ายไว้เตือนเพื่อสิ่งแวดล้อมของพวกเราค่ะ

>o<ง่วงนอนแล้วจ้า ครอกฟี้.....

เกือบลืม! อาจารย์พี่ชิวคะ ชื่อเมฆถูกต้องรึเปล่าค่ะ???^__^

หมายเลขบันทึก: 294815เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2009 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น้องธารเมฆ 1976

         ภาพในบันทึกนี้สุดยอดเช่นเคย! จริงๆ แล้วพี่แวะมาชมภาพในบันทึกนี้ตั้งแต่แรกแล้วครับ คราวนี้กลับมาอีกครั้งเพื่อตอบคำถาม ^__^

         เมฆก้อนนี้อาจจะยังไม่ถึงขั้น เมฆคิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) หรือเมฆฝนฟ้าคะนอง (thunder cloud) ครับ เพราะดูเหมือนจะยังอยู่ต่ำกว่าระดับเพดานบินของเครื่องบิน

           คือเครื่องบินนี่จะบินสูงราวๆ 32,000 ฟุตครับ (ลองฟังนักบินพูดหลังจากที่เครื่องขึ้นไปได้สักพักสิครับ) ก็ประมาณ 10 กิโลเมตร นั่นเอง

           ถ้าเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) ส่วนที่เป็นยอดเมฆ (จุดสูงสุดของเมฆ) จะอยู่สูงประมาณ 10 กิโลเมตร หรือกว่าครับ ถ้าสูงใหญ่มากๆ อาจจะไปถึง 20 กิโลเมตร (หรือมากกว่า) ได้ทีเดียว

ดูภาพนี้สิครับ


เมฆก้อนทางขวามือสุดคือ คุณคิวมูโลนิมบัส ยักษ์ใหญ่นั่นเอง

 

ดังนั้น เมฆที่อยู่คู่รุ้งน่าจะเป็น คิวมูลัส คอนเจสท้ส (cumulus congestus) ซึ่งเป็นเมฆก้อน หรือคิวมูลัส ที่เติบโตไปมากแล้ว อาจจะสูงราวๆ 6-7 กิโลเมตร แต่หากเติบโตต่อไป ก็จะกลายเป็น คิวมูโลนิมบัสได้

ดูภาพเมฆ คิวมูลัส คอนเจสทัส ได้ในบันทึกนี้

     094 : หัดดูเมฆเบื้องต้น (3) รู้จักเมฆคิวมูลัสให้ถึงแก่น (ตอบคุณ Lovefull)

ขอให้สนุกกับการดูเมฆ & ชมท้องฟ้าทุกๆ วัน! ^__^

 

มาอีกครั้ง...แว่บไปเห็นเมฆก้อนนี้

เป็นเมฆ stratocumulus จริงๆ ด้วย....ปรบมือให้ดังๆ เลย...ระบุได้แม่นยำมากๆ ^__^

ขอบคุณค่ะพี่ชิว ที่กรุณาตรวจสอบชื่อเมฆให้ค่ะ ตอนนี้ได้แก้ไขใหม่เรียบร้อยแล้วค่ะ ^__^

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท