หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

ส่งการบ้าน ข้อ (๒) ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ


โจทย์ข้อนี้ยากกว่าเมื่อวานครับ เมื่อคืนนอนคิด เข้าห้องน้ำเมื่อเช้าก็คิด นอนกลางวันให้เฌวาหลับคาบนอกก็คิด กระทั่งออกไปสอนเฌวาเรียนวิชาธรรมชาติศึกษา เมื่อตอนเย็นก็คิด คิด คิด คิด แต่คิดเท่าไรก็ไม่ทะลุ

    หลังจากผมทำการบ้านส่ง ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ (ส่งการบ้าน ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ) แล้ว ก็ได้การบ้านมาอีกข้อ (002) โจทย์ข้อ 2 สำหรับ คุณหนานเกียรติ & เพื่อนๆ GotoKnow ทุกคน)

    อันที่จริงผมตอบไปในบันทึกของ ดร.บัญชา แล้ว แต่มาคิดต่อภายหลังพบว่า “คำตอบ” ไม่เหมาะสมกับ “คำถาม” นั้น แม้ว่าอาจจะตอบไม่ผิด

    โจทย์ข้อนี้ยากกว่าเมื่อวานครับ เมื่อคืนนอนคิด เข้าห้องน้ำเมื่อเช้าก็คิด นอนกลางวันให้เฌวาหลับคาบนอกก็คิด กระทั่งออกไปสอนเฌวาเรียนวิชาธรรมชาติศึกษา เมื่อตอนเย็นก็คิด คิด คิด คิด แต่คิดเท่าไรก็ไม่ทะลุ

    ค่ำมาลองนั่งคิดอีกที คิดออกเพียงเท่าที่จะเขียนต่อไปนี้ครับ

    จากภาพสองภาพนี้

 

    ดร.บัญชาให้โจทย์ว่า

    ลองมองภาพใบหน้า ๒ ภาพนี้ ที่ระยะห่างสัก ๓๐ เซนติเมตร  สังเกตเพศ สีหน้า อารมณ์ ริ้วรอยต่าง ๆ และอื่น ๆ

    จากนั้นมองภาพทั้งคู่ที่ระยะห่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนห่างราว 2-3 เมตร

    สังเกตการเปลี่ยนแปลง! คำถาม...

    (๑) คุณเห็นอะไร?

    (๒) ทำไม??

    (๓) โจทย์ข้อนี้มีอะไรเกี่ยวกับการเรียนรู้ของคนเราไหม???

 

    ต่อคำถามข้อ (๑) ตอบได้ไม่ยากนัก (อาจเป็นไปได้ว่าจริง ๆ แล้วยากหากผมเข้าถึงคำถามมากว่านี้) ผมขอตอบว่า

    จากการมองระยะใกล้

    ภาพสองภาพ ทั้ง A และ B เป็นภาพใบหน้าของบุคคล โทนสีขาว-ดำ เค้าโครงใกล้เคียงกัน ทรงผมทรงเดียวกัน ทั้งสองภาพมีเส้นขอบดำเข้มรอบศรีษะ ถัดออกไปเป็นเส้นสีขาว ความหนาของเส้นเท่า ๆ กับสีดำ ถัดออกจากเส้นสีขาวเป็นเงาสีออกเทา ซึ่งภาพ B ดูออกจะเข้มกว่า ใบหน้าทั้งสองภาพอยู่บนพื้นสีเทาและซึ่งภาพ B สีจะจางกว่า

    ผมตีความภาพดังนี้

    ภาพ A ดูแล้วน่าจะเป็นหญิงสาวใบหน้าเต่งตึง หน้าตาเรียบเฉยไม่แสดงอากัปกิริยาใด ๆ ดวงตาค่อนข้างเปล่งประกาย

    ภาพ B ดูแล้วเป็นได้ทั้งชายและหญิงสูงวัย ใบหน้ามีริ้วรอยเหี่ยวย่น หน้าตาแสดงถึงภาวะไม่ปกติ (ดูจากดวงตาและปาก) หากไม่อยู่ในอารมณ์ขึ้งโกรธ ก็น่าจะในอาการเจ็บปวด ซึ่งเป็นไปได้ทั้งปวดกาย และปวดใจ

    หลังจากการขยับออกไปมองในระยะที่ไกลขึ้น ผมมองไม่เห็นรายละเอียดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้นขอบดำ เส้นสีขาว และเงาสีเทาที่รอบศรีษะทั้งสองภาพ

    สิ่งที่เห็นคือ

    ใบหน้าในภาพ A เปลี่ยนจากหญิงสาวไปเป็นชายหนุ่ม เรียกว่าเปลี่ยนตรงกันข้าม

    ใบหน้าในภาพ B เปลี่ยนจากคนชราที่อยู่ในอารมณ์ต่ำกว่าภาวะปกติไปเป็นหญิงสาวอมยิ้ม แสดงถึงอารมณ์ที่อยู่ในภาวะเบิกบานยินดี ตรงกันข้ามเช่นกัน

    สิ่งที่ไม่เปลี่ยน หรือเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยคือ โครงสร้างหลัก ๆ เช่น ทรงผม โครงหน้า รวมทั้งโทนสี ทั้งใบหน้าและพื้นหลัง

    นั่นคือคำตอบข้อ (๑)

 

    สำหรับข้อ (๒) ผมอธิบายหรือให้คำตอบไม่ได้ว่าเป็นเพราะอะไร เหตุที่ตอบไม่ได้ผมจะกล่าวถึงในข้อถัดไป ซึ่งเป้นบทเรียนของผม

 

    ส่วนคำตอบข้อ (๓) อาจจะตอบไม่ตรงคำถาม ดร.บัญชา ซะทีเดียว แต่ถือเป็นการสรุปบทเรียนจากการทำการบ้านชิ้นนี้ ที่ทำให้ผมคิดทั้งวันก็ยังคิดไม่ทะลุ ได้คำตอบแบบทื่อ ๆ อย่างนี้ครับ

    (๓.๑) การรับรู้ของคนสองที่อยู่กันคนละเงื่อนไข (บริบท สภาพแวดล้อม โลกทัศน์ วีคิด พื้นฐานทางวัฒนธรรม ฯลฯ) อาจส่งผลต่อการรับรู้ที่ต่างกัน แม้สิ่งที่รับรู้นั้นคือสิ่งเดียวกัน แน่นอนการตัดสินถูก-ผิด ใช่-ไม่ใช่ อาจไม่เกิดประโยชน์

    (๓.๒) “ความรู้” “คำตอบ” “ความจริง” ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหนึ่ง ๆ ซึ่งอาจผิดก็ได้หากเงื่อนไขเปลี่ยนไป ดังเช่น การมองภาพ เพียงระยะห่างออกไป ภาพกลับกลายเป็นตรงข้าม หรือแม้กระทั่งว่ามนุษยชาติเชื่อกันมาตลอดว่าโลกแบน แต่วันหนึ่งกลับกลายเป็นกลม ฯลฯ

    (๓.๓) ผู้คนโดยมาก มักให้ความสำคัญและตัดสินกับการรับรู้แรก และก็เชื่ออย่างหัวปักหัวปรำว่ามันคือความจริง ซึ่งแท้ที่จริงอาจผิดก็เป็นได้ ผมคิดว่านี่ไม่ใช่จิตใจแบบวิทยาศาสตร์

    (๓.๔) อินทรีย์ หรือ ประสาทสัมผัสของมนุษย์ (ตา หู จมูก ปาก ลิ้น กาย ใจ) มีข้อจำกัด มีศักยภาพเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ดังเช่น เส้นสายละเอียดต่าง ๆ ที่มองเห็นได้ในระยะใกล้ แต่ไกลออกไปกลับมองไม่เห็น เพื่อให้เข้าถึงความรู้ควยามจริงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นที่มาของเทคโนโลยีได้สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาขยายอินทรีย์ของมนุษย์ให้แก่กล้าขึ้น เรามองเห็นสิ่งที่เล็กเป็นจุลได้ผ่านกล้องขยาย ขณะที่เราสามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลโพ้นออกไปเช่นกัน เราได้ยินเสียงที่เบาที่สุดที่หูปกติมนุษย์ไม่อาจได้ยิน กระทั่งเสียงที่ดังที่สุดเกินกว่าประสาทหูจะรับรู้ได้ ฯลฯ สิ่งที่ผมได้เรียนรู้ข้อนี้ เกิดจากผมทดลองเปิดไฟในห้อง รวมทั้งใช้กล้องมองภาพ ทั้งสองส่วนทำให้ภาพที่มองไกลกลับไปใกล้เคียงกับการมองในครั้งแรก

    (๓.๕) ข้อสุดท้าย เป็นคำตอบที่เกี่ยวเนื่องกับข้อ (๒) ที่ผมตอบไม่ได้ ผมคิดว่า “ความรู้” คือ “อำนาจ” และ “พลัง” ครับ อำนาจและพลังที่จะสร้างคำอธิบาย ผมมานั่งทบทวนว่าทำไมผมจึงตอยข้อ (๒) ไม่ได้ นั่นเป็นเพราะผมไม่มีความรู้ที่จะไปอธิบายสำหรับการตอบคำถาม ตรงกันข้ามหากผู้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ (อาจจะเป็นเรื่องแสง เงา วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการรับรู้ภาพ ฯลฯ) ก็อาจจะอธิบายและให้คำตอบนี้ได้

 

    คำตอบผมมีประมาณนี้ครับอาจารย์

หมายเลขบันทึก: 301324เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2009 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

เย้! แวะมาอ่านความคิด ณ ขณะเมื่อกี้ครับ ^__^

แจ๋วจริงๆ

ลองกลับไปดูอารมณ์ของผมอีกทีสิครับ (ภาพแรกสุดที่เพิ่มเข้าไป) ดูดีๆ นะครับ...ทั้งใกล้และไกล

อ้อ! คุณหนานเกียรติจะเรียกผมว่า พี่ชิว เหมือนอีกหลายๆ คนก็ได้ ไม่ต้องเรียกอาจารย์หรอก ใน GotoKnow นี่ ผมถือว่าเป็นเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ กันทั้งนั้น (ผมยังเรียกอาจารย์แป๋วว่าพี่แป๋วเลย ^__^)

แหะ แหะ อยากเรียกเหมือนกันกลัวขี้กลากขึ้นหัวครับ

ถ้าอนุญาตอย่างนี้ค่อยใจชื้นหน่อย

ครับ พี่ชิว ครับ

ผมกลับเข้าไปดูแล้วครับ คิดอะไรออกอีกนิดหน่อยครับ

  • อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น
  • อย่าตัดสินคนโดยไม่ได้รับรู้อย่างถ่องแท้
  • คงใช้ได้กับภาพทั้ง 2 นี้

 

P น้อง♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿

แหะ แหะ น้อยใจเหรอจ้ะ

ขอโทษ ๆ ล้อเล่นหนะ ฮิ ฮิ

 

P สวัสดีครับ พี่ มนัญญา ~ natachoei ( หน้าตาเฉย)

ขอบคุณที่แวะมาแบ่งปันและแลกเปลี่ยนครับ

กำลังรอเฉลยจาก ดร.ชิว อยู่ครับ

แต่ไม่เฉลยก็ได้เรียนรู้แล้วครับ เพียบเลย

สวัสดีค่ะ

  • มาบอกว่า..ลงภาพในบันทึกแล้วนะคะ
  • แวะไปชมได้..และจะทยอยลงในบันทึกต่อไป
  • สองภาพนี้...ตอบโจทย์ว่า...อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น จงเชื่อในสิ่งที่ทำ..ค่ะ

 

P พี่ครูคิม

ไปแวะมาแล้วครับ

ใช่ ๆ อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น จงเชื่อในสิ่งที่ทำ

น้องนัท กับ น้องนุ่น คงสนุกมากนะครับงานนี้

สวัสดีครับท่านหนานเกียรติ

สิ่งที่เห็นอาจไม่เป็นดังที่คิดครับ ต้องมองด้วยสติ  ดูด้วยปัญญาครับ

 

 

Pสวัสดีครับ นายก้ามกุ้ง

ขอบคุณมากครับที่แวะมาทักทายและแลกเปลี่ยน

ใช่ครับ จริงด้วย "สติ" และ "ปัญญา" สำคัญที่สุด

 

สวัสดีค่ะมาเยี่ยมว่าพี่หนาน..ได้ตอบท่านแบบมีหลักการละนะ..ไม่ต้องเก็ง..เกินไป..ไม่ได้สอบเพื่อขึ้นชั้นใหม่สักหน่อย....อาจารย์ใจดีมากที่สุด..เห็นในรูปท่านตั้งใจนำความรู้มาให้ชาวG2K มากมายนะคะ..อย่าเชือในสิ่งที่เห็น..เหมือนพี่ครูคิมเจ้า

ตามมาดูก่อนนะครับ เดี๋ยวมาให้ความเห็น ถามพี่ชิวนะครับ ฮ่าๆๆๆ รอดแล้วเรา...

มาชม

อ้าว...เห็นภาพลวงตา...อิ อิ อิ

คำถามยากขึนค่ะ

คนเราต้องมีการเปลี่ยนทางกายตามกาลเวลา ถึงจะลองมองด้วยระยะที่ห่างไป

ไม่ใช่แค่ร่างกายเปลี่ยนแปลงค่ะ สมอง การพัฒนาก็เปลี่ยนค่ะ

ก็เหมือนวิทยาศาสตร์ที่ต้องพัฒนามีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ

วิทยาศาสตร์เจริญได้เพราะเกิดจากคนเอาสิ่งที่ตนสงสัยไปทดลองไปปฎิบัติค่ะ

ก็เลยนึกถึงแนวศาสนาพุทธค่ะ ที่ต้องปฎิบัติจึงจะรู้แจ้ง จนมีอาจารย์ท่านหนึ่งบอกว่า ศาสนาคือวิทยาศาสตร์ขั้นสูงค่ะ

  • ธุค่า..

ในหนังสือเจ้าชายน้อย  มีวลีเด็ดว่า "สิ่งสำคัญ ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา"  ^^  อิอิ 

  • สวัสดีค่ะ คุณหนานเกียรติ
  • ตากระทบรูป หูกระทบเสียงแล้ว แต่ยังได้ผลลัพธ์ไม่ชัดเจน
  • เพิ่งรู้ตัวเองว่ารู้ แต่ไม่ลึกซึ้ง.....

Dukusa

แวะมาทักทายยามเย็นค่ะ

 

P คุณครู rinda เจ้า...

แหะ แหะ ไหน ๆ ทำแล้วก็คิดให้มันสุด ๆ ไปเลย

เดี๋ยวเสียชื่อคุณครูชิว...

 

P สวัสดีครับอาจารย์ ขจิต ฝอยทอง

สองวันก่อน เล่นกันมันส์มาก โจทย์ข้อ ๑ และ ข้อ ๒

อ.ชิว ตามอาจารย์เข้ามาเล่นด้วย แต่ตามไม่เจอ ไม่รู้ไปคอยใครอยู่แถวไหน (ฮิ ฮิ...)

 

 

P สวัสดีครับ อาจารย์ umi

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

จริง ๆ แล้วเราก็อยู่กับมัน (ภาพลวงตา) ทุกเมื่อเชื่อวันอยู่แล้วใช่ไหมครับอาจารย์

 

 

P สวัสดีครับ คุณ berger0123

ใช่ครับคำถามยากขึ้น ผมรับรู้ได้เมื่ออ่านคำถามจบ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนและแสดงความคิดเห็นและเปลี่ยนนะครับ

มีคุณค่ามากครับ

สวัสดีค่ะคุณหนานเกียรติ

งานนี้ไม่ขอตอบแต่แวะมาเชียร์ ให้คุณครูให้คะแนนเยอะๆนะคะ

 

P สวัสดีครับ คุณ Giant bird

คุณครูเข้ามาแล้วครับ กำลังตรวจการบ้านคนอื่นอยู่

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

สวัสดีค่ะ

  • พี่คิม...เพิ่งจะขึ้นบันทึกใหม่
  • น้องนัท..สนใจหนังสือทำมือไปแล้วค่ะ
  • เก็บเรื่องจากเมืองเลยมาทำค่ะ

 

P พี่ ครูคิม

ไปแวะมาแล้วครับ

เรื่องหนังสือทำมือ แหะ แหะ ไม่อยากคุย

ผมเนี่ยขั้นเซียนจะบอกให้ครับ

ทำได้หลายรูปแบบ

ยินดีรับน้องนัทเป็นศิษย์ครับ...

 

P น้องต้อม - เนปาลี ครับ

ใช่แล้ว "สิ่งสำคัญ ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา" 

ใช้ตามองไม่ได้ ต้องใช้ใจมอง ฮิ ฮิ...

 

 

P สวัสดีครับ คุณ บุษรา

ขอบคุณที่แวะมาอ่านครับ

รอฟังเฉลยจาก ดร.ชิว ด้วยกันนะครับ

 

P สวัสดีครับ คุณ เกด เกศนี บุณยวัฒนางกุล

ขอบคุณที่แวะมาทักทายเยี่ยมเยียน ครับ

 

น้องหนานเกียรติ....นักคิด

       เอาล่ะครับ...ข้อ 3 ก็ตามมาติดๆ แล้วครับ คราวนี้กลับไปง่ายบ้าง (ง่าย ไม่ได้หมายความว่า ไม่ลึกซึ้ง)

       003) โจทย์ข้อที่ 3 สำหรับคุณหนานเกียรติ และเพื่อนๆ ที่สนใจวิทยาศาสตร์    

 

 

P สวัสดีครับ พี่ชิว บัญชา ธนบุญสมบัติ

แหะ แหะ ขอเป็นแค่ช่างคิดก็พอนะครับ

"นักคิด" มิบังอาจครับ

ดูเหมือนง่าย แต่สงสัยจะไม่ง่ายครับ

คืนนี้จะทำส่งครับคุณครู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท