Dialogue คือ การร่วมกันหาความหมาย


Dialogue = shared meaning

ร่วมกันหาความหมายของชีวิต :  

 

อ ฌานเดช  พ่วงจีน   เมื่อ อธิบายถึง   ฐานกาย ใจ และ ความคิด

ก็มักจะเชื่อมโยงว่า  ฐานกาย = อยู่รอด   คือ เอาตัวรอด เลี้ยงฐานกาย  กิน ขับถ่าย สืบพันธุ์ พักผ่อน และ การดูแลตนเอง (สุขภาพของตนเอง)

ฐานใจ = อยู่ร่วม   คือ จิตใจเป็นเรื่องสำคัญ   มาทำ Dialogue เพื่อใจสู่ใจ ใจรวมกัน สามัคคี    ดังนั้น ทำ Dialogue จึงมักจะไม่ขัดใจกัน    

ฐานคิด = อยู่อย่างมีความหมาย   เพื่อตอบโจทย์ เพื่อกระทำภารกิจ (Mission) ที่ได้รับมอบหมายมา ในโอกาสที่ได้มาเกิดเป็นคน

เจ้าคำว่า "อยู่อย่างมีความหมาย" นี้ ลึกซึ้งมากนะ    ....  อยู่ไปเพื่ออะไร   เกิดมาเพื่ออะไร   ตายแล้วไปไหน  ทำไมต้องทำความดี  ฯลฯ

**********

ในการฝึก Dialogue นั้น  ผมขอเสริมว่า :-

การ Dialogue จริงๆ เป็น การฝึก สร้างตัวรู้   

ผู้รู้ มีหน้าที่ "รู้"   มี job description คือ รู้ ๆๆๆๆ

หาก ผู้รู้  ไปทำหน้าที่ คิด   ก็ผิดหน้าที่

หากผู้รู้  ไปบังคับจิต ไปบังคับความคิด  เราก็เครียด เกร็ง เพ่ง หนัก    ก็ไม่ใช่ผู้รู้อีกแล้ว เพราะ ทำผิดหน้าที่

ผู้รู้ คือ อะไร    จะค้นหาผู้รู้ในตนเองได้อย่างไร   น่าจะเป็น "พื้นฐาน" การทำ Dialogue ที่สำคัญ    ไม่ใช่จู่ๆ  โดดมาเข้าวง  มืด จุดๆเทียน  ฟังเสียงเคาะระฆัง ฯลฯ  มันโดดข้ามขั้นมาเร็วไปนิดหนึ่ง

การทำ Dialogue  เป็นเรื่องของ จิตดูจิต   ไม่ใช่ แค่ ดูจิต

ต้องมีผู้รู้่  "หาจิตให้เจอก่อน"   รู้จักจิตก่อน เข้าใจจิตก่อน จับสภาวะจิตที่โล่ง โปร่งสบายได้ก่อน   เมื่อ หาจิตเจอแล้ว  ก็เอาจิตนี่แหละไปดูจิต

ไม่ใช่ ข้ามขั้น ...เอะ อะ ก็จะดูจิต ....  มันจะหลงไปเอา "ความคิดไปดูจิต"   แทนที่ จะเอาจิตไปดูจิต

จิตเมื่อเกิดอาการ ก็รู้ ๆ เท่านั้น  ไม่ต้องไปร้องห่ม ร้องไห้   หรือ อิน ไปกับเรื่องเล่า  ยกเว้น ครั้งแรกๆ ที่ฝึก  ก็ต้องมีเผลอ ร้องไห้ไปบ้าง ก็ไม่เป็นไร   แต่ อย่าถี่ อย่าบ่อย 

เมื่อจิตเกิดอาการ  ก็ต้องฝืน ข่ม ดับ ละ วาง ฯลฯ หายใจลึกๆ ดีดนิวรณ์ออกไป   หากยอมไหลตามอาการ  อีกหน่อยจะเคยชิน จะแก้ยาก   กิเลสจะได้ใจ

หาก หาจิตยังไม่เจอ  ยังไม่พบ "ผู้รุ้"     ก็จะ หลงได้ง่ายๆ

เมื่อมี ผู้รู้ (ไม่ใช่คน แต่ เป็น สภาวะในกายในใจของเรา)  รู้สภาวะจิตของตน   รักษาจิตตนให้โล่งๆ    เราก็จะเห็นความคิดที่เข้ามาปรุงแต่งจิต   

Scharmmer พูดถึง ความคิดนี้ว่า เป็นเสียงภายใน    ที่ มี 3 เสียง คือ

  • เสียงภายในแห่งการตัดสินพิพากษา  (VOJ)
  • เสียงภายในแห่งความผลักไส เหินห่าง  (VOC)
  • เสียงภายในแห่งความกลัว (VOF)

เมื่อ จิตเห็นจิต  แล้ว  ก็จะไม่ยากเลย ที่จะฟังเชิงลึกได้  ไม่พิพากษาได้  ... ฝึกแบบฝรั่ง บอกก็โอเค แต่ ไม่สุดยอด ....  

ฝรั่ง ศึกษา ธรรมะ จากสายธิเบต แล้ว เอาไปประยุกต์  เป็น ตำรา Dialogue บ้าง  เป็นตำรา Theory U บ้าง    ทั้งๆ  ที่ เราอยู่เมืองไทย  มีครูบาอาจารย์สายตรง  สอนธรรมะตรงๆ   แต่ เราก็ยัง อ้อมๆ  ไป เอาของฝรั่ง    ของ Bohm  ของ Senge ของ Wheatley ของ Scharmmer  เป็นต้น   มาเป็นสรณะที่พึ่ง  ... ทำไม ต้องอ้อม เนอะ ???   โอกาสที่ฝรั่ง เข้าใจผิด ก็มีได้นะ   ...โอกาสที่ฝรั่ง "สอนถูกทางแต่ไม่สุดทาง" ก็มีนะ ...  ถ้าฝรั่งพวกนี้ มาเมืองไทย  เจอ หลวงปู่ หลวงพ่อ  คงบรรลุธรรมได้อย่างสบายๆ ถ้าไม่โม้สะก่อน   เพราะ  หลายคน "เขียน ในสิ่งที่ตนทำไม่ได้"   

เป็นความรู้ จาก ฐานคิด   จำเขามา ประยุกต์เอง  ความรู้มือสอง  ไปยืนดูข้างเวทีแต่ไม่ไ่ด้เล่นเอง   นักข่าว อีกาคาบข่าว   เครื่องทำสำเนา   ฯลฯ   

 

ทำตัวเรานี่แหละให้เป็นที่พึ่งของตน   ฝึกๆๆๆๆๆๆๆ  ทำซ้ำๆๆๆๆๆ  สร้างบา (Bar) หรือ บารมี  ให้มากๆ ( บารมี แปลว่า มี ขั้น  ซ้อนๆๆๆ ทับๆๆๆ สูงขึ้นไป .. นึกถึง บาร์ โหนขึ้นไป สูงขึ้นไป  ... อย่าไปนึกถึง bar ที่แปลว่า ร้านเหล้า) .... บารมี ๑๐ ทัศ   เคยอ่านไหม

หลวงปู่ หลวงพ่อ ของไทย เรา  มีหลายรุปที่ เก่ง และ ปฏิเวธแล้ว  เป็นบัณฑิต  ของจริงแท้  ยิ่งกว่า ฝรั่ง   สอนเรื่อง จิตดูจิต  ได้ตรงๆ   เป็น คุรุ (guru) ด้าน Dialogue จริงแท้แน่นอน  ....เราควร เอากาย เอาใจ เข้าไปศึกษา  สร้างความเพียร   ค้นหา ตัวจิต  ค้นหาตัวผู้รู้ (ในกาย ในใจ ของเรา)  เมื่อแยก จิตและความคิด  ได้ชัดเจน   ... ก็จะเอาไปประยุกต์ได้หมดเลย  

 

หมายเลขบันทึก: 301350เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2009 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณค่ะสำหรับการให้ความหมายเรื่องสุนทรียสนทนาที่ชัดเจนขึ้น

จิตดูจิต

ฟังเสียงจากข้างใน...

และฟังอย่างไม่ตัดสิน..

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • มาอ่านกลับไปกลับมาและคิดตามพอเข้าใจบ้างค่ะ
  • หากได้พยายามปฏิบัติไปทีละน้อย ก็คงจะเข้าใจดีมากขึ้นนะคะ
  • กราบขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
  • ด้วยความระลึกถึงเสมอค่ะ
  • เด็ก สบายดีและระลึกถึงอาจารย์ทุกคนค่ะ
  • มาค่อย ๆ เรียนรู้จากอาจารย์ครับ
  • แต่ค่อย ๆ รับรู้จากหลวงพ่อฯ....อิอิ...ยังไม่ค่อยจะเปิด

สวัสดีครับท่านอาจารย์

หากเจอ "จิตผู้รู้" จนถึงขั้น "จิตเห็นจิต" แล้ว ก็แทบจะสามารถละสังโยชน์ 3 ข้อแรกได้แล้วนะครับ (จากที่ฟังเขามา) ... เอาแค่ขั้นต้น กว่าจะฝึกสติให้สามารถแยก "จิต" ออกจาก "ความคิด" ได้ ก็ใช้เวลานานทีเดียว ยิ่งคนที่ติดฐานคิดอย่างแนบแน่น จะทำ Dialogue แบบจิตเห็นจิตคงเป็นไปได้ยาก ถ้าสติยังล้มลุกคลุกคลานอยู่ ... ยกเว้นแต่ว่า Dialogue จะเอาตั้งแต่ชั้นโสดาบันขึ้นไปมาคุยกันครับ : )

อาจารย์ครับ "สะ" กับ "ซะ" เท่าที่ผมรู้ มันทดแทนกันไม่ได้นะครับ จากที่อ่านงานเขียนอาจารย์มา พบว่าอาจารย์เขียน "สะ" ทุกคำเลยครับ : )

ขอบคุณครับ

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพ

ถ้าต้องหาผู้รู้ให้เจอก่อน

แล้วคนที่ทำฌานไม่ได้จะมีโอกาส พบผู้รู้ หรือเปล่าครับอาจารย์

แยกจิต สติ ความคิด ได้ ชั่วแวบ ชั่วคราว ก็ถือว่า สัมมาทิฐิ เปิดทางให้แล้ว ---> ถ้าเดินต่อ ฝึกต่อ ก็จะ แยกได้ อย่างถาวร... มีสติเป็นออโต้ ก็โสดาฯ ---> ไหนๆ จะฝึก Dialogue แล้ว ก็ ตกกระแสธรรมไปซะเลย (ใช้ถูกไหมเนี่ย)

แยก จิต กับ ความคิด เนี่ยต้องฝึกๆๆๆๆ ไม่ยากเกินกำลังหรอก อย่าดูถูกตนเอง ...ทำได้ ทำได้.... ไม่งั้น ก็เป็น Dialogue แบบ จิตไม่ว่าง ...มันจะถอยกลับไป โต้วาที (debate) ถอยกลับไปตั้งวงนินทา ไร้สาระ เป็นวงกวีแบบจิตไม่ว่าง ใบลานเปล่า ฯลฯ

สังคมไทย แค่ คุยกันดีๆ ไม่ทะเลาะกัน ก็บุญแล้ว....

ถ้าพื้นฐานสมาธิ ไม่นิ่งพอ ไม่แน่นพอ ก็จะ เป็นผู้รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง เผลอไปบ้าง รู้ไม่ทัน ไม่ทันได้รู้ มันผ่านไปเร็วมาก ฯลฯ เราก็ฝึก รู้ๆๆๆๆ ต่อไป เป็นทักษะ ที่ต้อง ฝึกๆๆๆๆ

จะไปขอบวชกับหลวงพ่อกล้วย เดือนสองเดือนนี้แล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท