OM Sharing Day 2nd


การสร้างเงื่อนไข สร้างเพื่อขยับตาม แต่ "ไม่ใช่จับผิด"

OM Sharing Day2

19/11/09

ในวันที่ 2 นี้ มีประเด็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
วิทยากรบอกว่า "ความเห็นที่แตกต่างก็เป็นอีกหัวใจของ OM เพราะถ้าไม่ร่วมกันคิด สิ่งดีๆก็จะไม่เกิด"

ในช่วงเช้า ก่อนเริ่มกิจกรรม วิทยากรได้ทำกระดาษคำศัพท์ต่าง หลายๆคำ ให้เราเลือกว่า หลังจากที่เราได้ใช้ OM แล้วพฤติกรรมเราเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
แต่ละคนหยิบมาคนละ 1 คำ มีบางท่านที่คำซ้ำกันก็ได้
สำหรับผม ผมเลือกคำว่า "คุณประสาน" เพราะว่าหลังจากที่ได้รู้จัก OM หน้าที่ที่เกี่ยวข้องในเรื่อง OM คือการประสานงาน ทั้งคอยให้คำแนะนำเรื่อง OM ติดตามการจัดทำ OM ทำรายงาน OM เลยคิดว่า คุณประสานน่าจะเหมาะที่สุดครับ

สำหรับกิจกรรมในช่วงเช้าคือ
แบ่งกลุ่มโดยไม่ซ้ำกัน ให้สมาชิกแต่ละแผนงานสลับกลุ่มกัน แล้วดูว่า OM มี   คุณค่า/คุณประโยชน์   เหมาะ/ไม่เหมาะ  ช่วย/ไม่ช่วย อย่างไรบ้าง
โดยที่กลุ่มของผมประกอบไปด้วย พี่อุดมศรี จากแผนงานโรงเรียนกชแพทย์ พี่อู๊ดจากเชียงราย พี่อ.เหมียว จากลุ่มน้ำปิง และผมจาก Digital KM
กลุ่มเรา เลือกที่จะนำเสนอในประเด็นของ Vision ตอนแรกเราตั้งใจว่า จะนำเสนอทั้ง 7 ขั้นตอนของ OM แต่เมื่อพิจารณาแล้ว Vision เหมือนเป็นจุดสำคัญที่สุดจึงดึงจุดนี้มานำเสนอ โดยเรามองว่า
Vision มีคุณค่าคุณประโยชน์มาก เพราะ Vision ในแบบ OM คือการมีส่วนร่วมจาก ตัวเรา ผู้ได้รับผลประโยชน์ และผู้ขับเคลื่อน (Direct/Boundary Partner) ยังรวมถึง Strategic Partner ด้วยเช่นกัน
เนื่องจากการมีส่วนร่วมนั้นคือสิ่งสำคัญ คำถามอยู่ที่ว่า "เราทำงานนี้เพื่อใคร" เพื่อตัวเรา หรือเพื่อชุมชน ประชาชน ถ้าเพื่อตัวเอง ก็ไม่ต้องยุ่งกับใคร แต่ถ้าเพื่อชุมชน ต้องถามซิว่าชุมชนต้องการอะไร ไม่ใช่เราคิดแต่จะป้อนให้เขา รู้ได้อย่างไรว่าเขาต้องการอย่างนั้น หรือรู้ได้อย่างไรว่าเราให้ในสิ่งที่ถูกแล้ว???

ส่วนประเด็นความเหมาะสมนั้น กลุ่มเรามองว่า มีทั้งเหมาะและไม่เหมาะ เพราะการดึงชุมชนให้มาร่วมการคิดนั้น ทำได้อยาก อย่างของกลุ่มรักษ์น้ำปิง กลุ่มเป้าหมายคือเยาวชน แต่กว่าจะเข้าถึงเยาวชนได้ ต้องเข้าผ่านผู้ปกครองก่อน ถ้าผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญแล้ว ก็ไม่สามารถลงถึงเยาวชนได้
และอีกมุมคือมุมของงานด้าน IT ที่เราอาจจะต้องกลับมามองว่า เราสามารถดึงกลุ่มตัวอย่างมาร่วมคิดร่วมทำด้วยกัน ไม่ใช่เราเป็นฝ่ายคิดให้อย่างเดียว

และประเด็นช่วยไม่ช่วยนั้น ช่วยในการพัฒนามุมมองของเราแน่นอน ทำให้เรามองภาพได้กว้างและชัดเจนมากขึ้น

ช่วงบ่าย แบ่งตามกลุ่มแผนงานตนเองเพื่อกลับมาดูว่า Progress Marker ที่แต่ละกลุ่มคิดมานั้น มีข้อบกพร่องอย่างไรบ้าง หรือยกบางข้อที่คิดว่า ยังไม่บรรลุ นำมาคิดและปรับใหม่ตามหัวข้อดังนี้

PM เดิม   SM เดิม OPเดิม ปรับใหม่ วัดอย่างไร

โดยที่ PM เดิมคืออะไร แล้วมี SM OP หรือยัง ถ้ามีแล้ว ทำเหมาะสมมั้ย

คำอธิบายเพิ่มเติมในแต่ละศัพท์นั้นคือ
PM:Progress Marker ให้มองเป็นขั้นๆ ของสิ่งที่เราจะทำให้กับผู้ได้รับผลประโยชน์
SM:Strategic Map คือกุลยุทธ์ที่เราจะช่วยพลักดันทำให้ PM ที่เราวางไว้นั้นประสบผลสำเร็จได้
OP:Organizational Practice ตอนนี้ สคส.มองว่า RP:Require Pratice คืออะไรล่ะที่สิ่งที่เราต้องการสนับสนุนให้เกิด

สำหรับ Digital KM คราวนี้มาฉายเดี่ยว วิทยากรจึงให้ร่วมกับแผนงานสร้างสุขภาพแพทย์และสมาคมวิชาชีพ โดยคุณหนึ่งเป็นตัวแทนมา และฉายเดี่ยวด้วยเช่นกัน
Digital KM ได้จัดทำ OM ไว้เช่นกัน รวมถึงโปรเจคอื่นๆในโครงการด้วย ก็มี OM เป็นของตัวเอง ผมจึงยก G2K มาเป็นตัวอย่างในการทำกิจกรรม

PM ของ G2K ที่ยกมาคือ Expect to see ข้อที่ 1  "ประชาชนคนทำงานเห็นความสำคัญในการจัดการความรู้และ ลปรร.โดยใช้ G2K"
ประเด็นนี้ พี่อ้อม วิทยากร สคส. สะดุดตรงคำว่า "เห็นความสำคัญทันที" ประเด็นนี้เอง เราหมายถึง คนทั่วไปรู้ว่ามี G2K อยู่และสนใจอยากเข้ามาใช้งาน G2K
แต่คำว่าเห็นความสำคัญ จึงอาจจะทำให้ "วัด" ได้ยาก จึงได้รับคำแนะนำว่า ถ้าลองเปลี่ยนมาเป็น "รู้จักและเข้ามาใช้งานจะดีกว่าหรือไม่ เพราะเห็นภาพและวัดได้ชัดเจนมากขึ้น
ตรงนี้ เราจึงเปลี่ยนเป็นตัวอย่างและจะนำกลับไปปรับปรุงอีกที

SM ทีม G2K ได้คิด SM ไว้ครบถ้วนแล้ว จึงไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนอะไรเพิ่มเติม แต่เราก็ยังไม่ทิ้งประเด็นว่า ถ้าเราเปลี่ยน PM ก็อย่าลืมย้อนกลับมาดู SM ด้วยว่า เสริมหนุนได้จริงหรือเปล่า???

OP/RP ตรงส่วนนี้เราก็มีแล้วเช่น จึงไม่ได้ปรับเปลี่ยนอะไร

สุดท้าย แล้ววัดอย่างไรละ 
สิ่งที่วัดได้คือจำนวน Pageview และค่าสถิติต่างที่เราสามารถจะเรียกดูได้

ทางวิทยากรก็ได้ช่วยดู PM ข้ออื่นๆด้วย เช่น ส่วนของ Like to see ข้อที่ 1 "คนทำงานนำ G2K ไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน"
ประเด็นนี้ ก็วัดได้ยากเข่นกัน จึงปรับเปลี่ยนเป็น "คนทำงานเห็น G2K เป็นช่องทางในการถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานได้" แบบนี้ ก็สามารถวัดได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจจะดูจากจำนวนบันทึกที่เกี่ยวข้องกับเรื่องงานนั่นเอง

ข้อสรุปที่ได้จากการลองปรับเปลี่ยน นี้คือ
ทุกส่วนสามารถปรับเปลี่ยนได้ เพราะเมื่อลองทำแล้ว ไม่ได้ผล ก็ต้องเปลี่ยน แต่ไม่ใช่ว่า เปลี่ยนยกแผง เนื่องจากถ้า Vision เรามองว่าเราจะปลูกต้นไม้ให้ได้ 1 ไร่ พอทำไปทำมา ไม่เวริ์ก ขอเปลี่ยนเป็นปลูกแค่ 100 ตร.ว. พอ อันนี้ก็อาจจะลดขนาดมากเกินไปสักหน่อย
ก็ต้องพิจารณาเป็นจุดๆไปครับ เพราะในหลายๆโครงการ จะติดตรงประเด็นการรับทุน ถ้าเราคิดงานใหญ่ ทุนก็เยอะตาม แต่พอได้ไม่ตรงตามนั้น ก็อาจจะส่งผลกับเจ้าของทุนได้เช่นกัน

ก่อนพักทานอาหารเย็น ได้รับเกียรติจาก ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด มาสรุปการประยุกต์ใช้ OM และให้ซักถามได้ ประเด็นที่ผมเก็บได้ก็มีดังนี้ครับ

(ภาพ อ.ประพนธ์แบบ Panorama ครับ)


-อ.ยกตัวอย่างการขายตรง ถ้ามองดีดี บริษัทขายตรงเนี่ย เข้าก็ทำ OM เหมือนกันนะ ทำยังไง ก็คือมี vision ร่วมกัน "รวย" และให้สมาชิกเริ่มจากง่ายๆ และขยายลูกค้าให้กว้างขึ้น ขยันขึ้น
โดยมีการสนับสนุนเรื่องการอบรม การสอนเทคนิค การชักจูงต่างๆ และยังได้รับการสนับสนุนที่ดีจากตัวองค์กรเองด้วย เมื่อมาลองมองในมุม OM โอโห้ เห็นภาพเลย ไม่ว่าจะเป็น Vision Progress Marker Strategic Partner และ Strategic Map
-ปรับเปลี่ยนได้เสมอ แต่ถ้าติดแหล่งทุนก็ต้องพิจารณาลำบากหน่อย
-BP/DP ที่เป็นตัวจริง คนให้เจอ หาให้พบ แล้วชีวิตจะสบายขึ้น
-OM คือการใช้สมองฝั่งขวา ฝั่งที่เป็นศิลปะ
-การสร้างเงื่อนไข สร้างเพื่อขยับตาม แต่ "ไม่ใช่จับผิด"
-ในบางกลุ่ม SM กับ OP อาจจะเป็นตัวเดียวกันได้
สำหรับคำแนะนำที่มีต่อ G2K
-คือ เราอาจจะทำเอกสารได้สมบูรณ์ แต่ถ้าไม่เกิดการใช้จริง ก็ไม่เห็นผล
-แล้ว BP ที่เราต้องไว้ เป็นตัวจริงแล้วหรือยัง อาจจะ focus จากจุดที่เด่นจริงๆก่อน

วันนี้ ได้ประเด็นอะไร ทีมีประโยชน์มาก เพราะทำให้เห็นภาพว่าเราอาจจะมาเพี้ยนทาง แต่ไม่ได้ผิดทาง นอกลู่ไปหน่อย แต่ยังกลับมาเส้นทางเดืมได้
คิดว่า ถ้าสามารถกลับไปปรับและเปลี่ยนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเดินตามทางให้ได้ ก็คงจะดีมิน้อยครับ

ราตรีสวัสดิ์ครับ

หมายเลขบันทึก: 314984เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2009 23:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เข้ามาอ่านบันทึกของน้องชายนายแนท อ่านแล้วเลยอยากช่วยกันแตกประเด็นเล็ก ๆ น้อย ๆ กะว่าจะช่วยตั้งแต่เมื่อคืนที่ได้อ่าน แต่มัวไปเตรียมการสอนซะ วันนี้มีเวลาล็ก ๆ น้อย ๆ เลยขอแบ่งปันบ้าง ได้มีโอกาสเข้าร่วมกระบวนการนี้เช่นเดียวกันค่ะ พอแวะมาอ่านเลยอยากช่วยกันเติมแต่ง ให้เข้าใจมากขึ้น (หากช่วยได้บ้างนะคะ เพราะยังใหม่กับ OM เหลือเกิน)

ประเด็นจากที่น้องเล่ามา มีส่วนอยากเสริมสำหรับคนใหม่ ๆ ที่แวะเวียนมาอ่าน อาจจะยังไมเข้าใจ เพราะบันทึกของน้องชายแนทคนอ่านต้องมีพื้นมาบ้าง ขอเสริมเรื่องของที่น้ออธิบายเรื่อง ...

คำอธิบายเพิ่มเติมในแต่ละศัพท์นั้นคือ

PM:Progress Marker ให้มองเป็นขั้นๆ ของสิ่งที่เราจะทำให้กับผู้ได้รับผลประโยชน์
SM:Strategic Map คือกุลยุทธ์ที่เราจะช่วยพลักดันทำให้
PM ที่เราวางไว้นั้นประสบผลสำเร็จได้ OP:Organizational Practice ตอนนี้ สคส.มองว่า RP:Require Pratice คืออะไรล่ะที่สิ่งที่เราต้องการสนับสนุนให้เกิด

สำหรับ PM : ที่บอกว่าคือบันได เป็นขั้น ๆ นั้น อยากให้ลองมองว่ามันคือบันไดที่จะพาเราไปสู้ความสำเร็จ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามจุดสูงสุด คือความมุ่งหวังที่เราอยากไปให้ถึง แต่ก่อนถึงจุดนั้น เราก็มีจุดหมายต่าง ๆ บนบันได้แต่ละขั้นที่เราจะไปถึงจุดหมายทีละนิดทีละน้อย กำลังใจจะค่อย ๆ เกิด หากเรา กำหนดเป้าหมายเล็ก ๆ ระหว่างจุดหมายหลักไว้ และเมื่อเราไปถึงแต่ละจุด ก็เหมือนกับเราพิชิตเป้าหมายได้ทีละเล็กละน้อย

ในมุมมองของ PM เค้าแบ่งบันไดออกเป็น 3 ขั้นค่ะ ขั้นแรกคือเป้าหมายขั้นพื้นฐานที่เราคิดว่าอย่างน้อยเราแอบหวังว่ามันจะต้องเกิดขึ้น (Expect to see) ขั้นที่ 2 ก็เป็นขั้นของการแอบหวังเพิ่มขึ้นไปอีกนิด ว่าถ้ากิดได้คงจะดีไม่น้อย (Like to see) และขั้นสุดท้ายเป็นขั้นที่เราอยากจะให้เกิดขึ้น (Love to see) แต่มีประเด็นที่ต้องระวังเล็กน้อยคือบันไดแต่ละขั้นนี้ขอให้ตั้งบนพื้นฐานของความเป็นจริงและสามารถวัดได้แบบเป็นรูปธรรม เพราะหากเป็นนามธรรมเกินไปคงจะสำเร็จกันลำบาก

สำหรับ SM อธิบายกันง่าย ๆ ว่ามันคือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่จะทำให้เกิด PM 

สุดท้าย OP หรือ RP เปรียบเสมือนการสนับสนุนจากหน่วยเหนือที่จะส่งเสริมให้การดำเนินการใด ๆ ก็ตามใน SM ประสบความสำเร็จได้ง่ายดายขึ้น

ไม่รู้ว่ามาเติมเสริมแบบนี้แล้วจะเข้าใจมากขึ้นหรือ งง มากกว่าเดิมนะคะ อยากให้ช่วยเสริมให้ด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

อ. พี่เหมียว ^.^

  • ขอบคุณ อ.พี่เหมียวคนสวย ที่มาช่วยแต่งเติมเสริมแต่งนะครับ
  • จะพยายามเขียนในบันทึกต่อๆ ไปให้เคลียร์มากขึ้นครับผม
  • เพิ่มเติมภาพ อ.ประพนธ์ ครับ

ไวจริงน้องแนท

ผมเพิ่งลงบันทึกถึงเรื่อง เหมาะ/ไม่เหมาะ เองครับ

  • สวัสดีครับ หมอเต็ม
  • แต่ของผมเขียนแบบทีเดียวรวบทั้งวันเลยครับ
  • ถ้าคุณหมอเขียนบันทึกเพิ่ม มา ลปรร ด้วยนะครับ จะได้ตามไปเม้นครับ

ขอบคุณค่า อย่างน้อยก็ได้เข้าใจ OM มากขึ้น แต่ยังงัยก็ยังรู้สึกว่ามันยากอยู่บ้าง

เพราะคิดไม่ออก แต่ก็ขอบคุณนะคะ

  • เข้าใจเพิ่มขึ้นจริงๆ เหรอครับ
  • ผมยัง งง  อยู่เลยครับ
  • วิทยากรบอกว่้า "ถ้าเข้าใจ OM แปลว่าไม่เข้าใจ"
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท