102 “การให้คำปรึกษาธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์”


ประชากรไทยที่มียีนทางพันธุกรรมที่เป็นพาหะของโรคสูงถึงร้อยละ 30-40 หรือ ประมาณ 18-24 ล้านคน จึงนับว่ามีโอกาสที่คนเป็นพาหะของโรคเหล่านี้อาจจะแต่งงานกัน ซึ่งถือว่าเป็นคู่สมรสที่มีความเสี่ยงสูงในการที่จะมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง

      พี่แดง (คุณระวิวรรณ  พงษ์เทพ) ชวนผู้เขียนไปช่วยงานเมื่อวันที่ 14 – 15 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา  เพื่อจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ  เรื่อง  “การให้คำปรึกษาธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์”   ภายใต้โครงการป้องกันและควบคุมธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์    ซึ่งจัดขึ้น ณ.โรงแรมสุริวงศ์  จ.เชียงใหม่  ที่ผ่านมา   ผู้เข้าอบรมประกอบด้วยพยาบาลที่ทำหน้าให้คำปรึกษาธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์   อาจารย์พยาบาล  นักวิชาการสาธารณสุข  จำนวน 120 คน ในเขต 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน   วัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขเครือข่ายเหล่านี้สามารถดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ได้มีคุณภาพยิ่งๆขึ้น  

น้องปูทำหน้าที่พิธีกร

พี่แดงกล่าวรายงาน

        ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 10  พญ.กรรณิการ์  บางสายน้อย  กำลังกล่าวเปิดงาน และกรุณาเป็นวิทยากรบรรยาย ในเรื่อง นโยบายป้องกันและควบคุมธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ของประเทศไทย 

          พี่แดงบอกว่าโครงการนี้ได้ดำเนินมานานตั้งแต่ พ.ศ. 2539 จนถึงปัจจุบัน ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุขและแผนธาลัสซีเมียแห่งชาติ พ.ศ. 2550 -2554 เพื่อควบคุมและป้องกันโรคธาลัสวีเมียรุนแรง 3 ชนิด  ได้แก่ Homozygous  α – Thalassemia  , Homozygous   β-  Thalassemia  และ   β / Hb E  Thalassemia   เพราะโรคธาลัสซีเมียเป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรม  และพบว่าประชากรไทยที่มียีนทางพันธุกรรมที่เป็นพาหะของโรคสูงถึงร้อยละ 30-40 หรือ ประมาณ 18-24 ล้านคน  จึงนับว่ามีโอกาสที่คนเป็นพาหะของโรคเหล่านี้อาจจะแต่งงานกัน  ซึ่งถือว่าเป็นคู่สมรสที่มีความเสี่ยงสูงในการที่จะมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง  จากการสำรวจพบว่าประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียประมาณ600,000 คน / ปี  และยังเป็นปัญหาหนักให้กับวงการแพทย์ด้วย  เพราะโรคนี้จะมีอาการแตกต่างกัน  ตั้งแต่ไม่มีอาการจนถึงขั้นรุนแรง   เป็นปัญหาด้านสุขภาพทั้งทางร่างกาย-จิตใจทั้งของผู้ป่วยเองและครอบครัว   ได้มีการประเมินรายจ่าย  โดย ศ.นพ.ต่อพงศ์  สงวนเสริมศรี ของผู้ป่วยตั้งแต่แรกคลอดจนถึงอายุ 30 ปี  คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 6,660,000  บาท / คน  จึงเป็นที่มาของความจำเป็นที่ต้องควบคุมและป้องกันโรคธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์

เด็กป่วยโรคธาลัสซีเมีย

 มูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย ฯ จัดงาน “วันผู้ป่วยธาลัสซีเมียโลก ครั้งที่ 7”

        ในการอบรมครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์มาให้ความรู้จากทีมวิทยากรของโรงพยาบาลมหาราช (สวนดอก) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 อาจารย์พิมพ์ลักษณ์กำลังเล่าว่าโรคนี้เกิดขึ้นและมีแนวทางการรักษาอย่างไร

 

ศ.นพ.ต่อพงศ์  สงวนเสริมศรี  ก็เสริมเรื่อง

ระบาดวิทยาของยีนธาลัสซีเมีย

ต่อด้วย รศ.สุพัตรา  ศิริโชติยะกุล

กับการป้องกันแบบครบวงจร

อาจารย์ พญ.สุชยา  ลือวรรณ  สอน

เรื่อง การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการแปรผล

  

       เพราะถ้ามีคู่เสี่ยงแล้วเราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้คำปรึกษาทางพันธุกรรมศาสตร์แก่คู่เสี่ยงก่อนคลอด  โดย รศ.พญ.พรรนี  ศิริวรรธนาภา

        รศ.นพ.ชเนนทร์  วนาภิรักษ์  สอนเรื่องการประเมินผลลัพธ์ของโครงการ

        เมื่อมีการสอนเรื่องโรค เรื่อง การแปรผล และการให้คำปรึกษาแล้ว  คราวนี้ก็มาถึง เรื่องสำคัญอีกเรื่อง  คือ เรื่องการประเมินผลโครงการ  โดย รศ.นพ.ชเนนทร์  วนาภิรักษ์  เพราะสิ่งที่เราคาดหวังผลลัพธ์ของโครงการ ก็คือ

  • หญิงมีครรภ์ได้รับการปรึกษาทางพันธุศาสตร์โรคธาลัสซีเมีย ร้อยละ 100

  • สามีของหญิงมีครรภ์ที่มีผลการคัดกรองธาลัสซีเมียเบื้องต้นผิดปกติ  มารับการเจาะเลือดคัดกรองเบื้องต้น ร้อยละ 100

  • สามีและหญิงมีครรภ์ที่มีผลการคัดกรองธาลัสซีเมียเบื้องต้นผิดปกติ ได้รับการการตรวจยืนยันว่า เป็นคู่สมรสที่มีโอกาสมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง 3 ชนิด  ได้แก่  Homozygous  α – Thalassemia  , Homozygous   β-  Thalassemia  และ   β / Hb E  Thalassemia      ร้อยละ 100

  • หญิงมีครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นคู่สมรสเสี่ยงที่มีโอกาสมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง 3 ชนิด ได้รับการวินิจฉัยก่อนคลอด ร้อยละ 100

  • คู่สมรสที่ทราบว่าบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง 3 ชนิด  ได้รับการปรึกษาเพื่อให้ข้อมูลและทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ด้วยความสมัครใจ  ร้อยละ 100

 

      ผู้เขียนเชื่อว่า สำหรับข้อสุดท้ายเป็นเรื่องอ่อนไหวและเปราะบาง   เพราะเพียงแค่บอกพ่อ-แม่ว่าลูกที่ในท้องเป็นโรคธาลัสซีเมีย  เขาก็ช้ำใจพอแล้ว    และจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์อีกนี่ซิ  ถ้าเป็นท่านๆจะบอกว่าอย่างไร    และนี่ก็คือเหตุผลสำคัญที่บุคลากรที่ทำหน้าที่นี้ ต้องมารับการอบรมในโครงการนี้ เพื่อให้กลับไปพูดคุยและให้คำปรึกษา   ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์

have a good time             

อาจารย์จินตนากำลังเล่าเรื่องการบริหารโครงการ

         อาจารย์จินตนา  พัฒนพงศ์ธร  จากสำนักส่งเสริมสุขภาพ  กรมอนามัย  ก็ได้มาเล่าความเป็นมาของโครงการนี้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ได้รับการสนับสนุนทั้งองค์ความรู้และงบประมาณมาด้วยดี แต่ปัจจุบันกลับมีปัญหาในการบริหารโครงการ  

       เรื่องนี้ผู้เขียน  ฟังอาจารย์จินตนาเล่าด้วยเสียงเครือๆอย่างน้อยใจ แล้วรู้สึกเห็นใจที่โครงการดีๆซึ่งได้ฝ่าฟันกันมานานนับ 10 ปีเพื่อประชาชน  กลับมีผู้ใหญ่บางคนให้ความสำคัญลดลง   และทำท่าว่าอาจจะไม่สนับสนุนต่อด้วยซ้ำ   

       ฟังแล้วสงสารคนไทยตาดำๆเหล่านี้  และยังนึกไม่ออกว่า  ต่อไปจะมีจำนวนเด็กเกิดใหม่ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียเพิ่มสักกี่พัน กี่หมื่นคน   รัฐจะต้องจ่ายเงินเพื่อรักษาเขาเหล่านั้นกี่พัน กี่แสนล้านบาท  และที่สำคัญคือ   แล้วคนไทยเราจะมีคนเดินไปเดินมา โดยที่เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า เขาเป็นพาหะโรคนี้  จากเดิม 18 -24 ล้านคน  มาเพิ่มอีกกี่ล้านคน 

       ยิ่งคิดยิ่งสงสารกามเทพที่ไม่สามารถแผลงศรให้ใครต่อใครมารักกันได้ตามใจเหมือนแต่ก่อน   เพราะไม่รู้ว่าหนุ่มสาวคู่นั้นต่างคนต่างเป็นพาหะของโรคหรือเปล่า  เฮ้อ !

จบดีกว่า.....ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 328777เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2010 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)

เล่าได้เห็นภาพค่ะพี่เขี้ยว กึ๊ดฮอดนะเจ้า

สวัสดีเจ้าพี่เขี้ยว...

เจียงใหม่หนาวก่ครับ...

มาติดตามกิจกรรมพี่เขี้ยว ค่ะธาลัสซีเมียน่ากลัวจริงค่ะ การตรวจสุขภาพประจำปี มีความสำคัญนะคะ

ถ้ารัฐเพิ่มการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีในทุกพื้นที่ อนามัยหรือโรงพยาบาล เพื่อเข้าถึงกลุ่มไกลปืนเที่ยง ชาวบ้าน พ่อค้าแม่ขาย ที่ไม่เห็นความสำคัญหรือเข้าถึงยาก

โอกาสลดจำนวนผู้ป่วยโรคต่างๆ หรือสามารถพบป้องกันแก้ไขได้แต่เนิ่นๆ ค่ะ จริงๆถ้าประกันสังคมเพิ่มบริการด้านนี้อีกหนึ่ง สุขภาวะอนามัยของประชาชีอาจดีขึ้นก็ได้?คะ

สวัสดีเจ้าปี้เขี้ยว..ขอบพระคุณค่ะที่นำสาระดีๆมา ให้เรียนรู้..สมัยนี้ให้ความสำคัญน้อยจริงๆ...ทั้งๆโรคนี้น่ากลัว..เพราะรักกันจริง..จะบอกเลิกได้ไง..เศร้าจัง..เนอะ

  • สวัสดีครับคุณมนัญญา
  • ขอบคุณที่เข้าไปเยี่ยมเยียนผมครับ
  • รักษาสุขภาพนะครับ และขอให้มีความสุขในการทำงาน

ตอนท้องน้องไอซ์ก็กลัวเหมือนกันค่ะ แต่ไม่ได้เจาะเลือดหาเชื้อ  คิดเข้าข้างตัวเองว่าคงไม่มีอะไรหรอก..ใช่ซิ คนทุกคนย่อมกลัวความจริงเสมอ..

 ขอให้มีความสุขกับงานที่รักน่ะค่ะ

  • ข้อมูลโรคธาลัสซีเมียในบันทึกนี้ เป็นสื่อสอนนักเรียนอย่างดีเลย ขออนุญาตล่วงหน้าเลยนะครับ
  • ขอบคุณความรู้ดีๆเกี่ยวกับโรคพันธุกรรมที่เป็นปัญหาในบ้านเราครับ

พี่เขี้ยวคะ  ประสานงานตามที่พี่สั่งการมาเรียบร้อยแล้วนะคะ  ถ้ายังไงรบกวนส่งเมลหนังสือเชิญไปให้พรุ่งนี้ด้วยนะคะ...กำหนดการด้วยจ้า

  • ความจริงแล้วรัฐมีหน้าที่บริหารจัดการด้านสาธารณสุขอย่างจริงจัง
  • ยังมีคนอีกมากที่ได้รับความทุกข์ทรมารอย่างรุนแรงจากโรคร้ายต่างๆ น่าสงสารจังเลยค่ะ
  • ได้ติดตามอ่านบันทึกและcomment มาตลอด
  • ขอขอบคุณที่แวะเยี่ยมให้กำลังใจค่ะ

เรียนท่านหมอเขี้ยว ส่งโจทย์ ข้ามมาจาก สปป ลาว ครับ

  • ประเด็น เสวนา เรียนเสนอ น่าจะทำนองนี้ครับ "รวมเรื่องเล่า เร้าพลัง อนามัยสร้างสรรค์ ร่วมสานสร้าง สุนทรียสนทนา"

แวะมาอ่านและคิดถึงพี่เขี้ยวมากมากมาก..มีความสุขมากมากนะคะพี่เขี้ยวที่รัก

P

ขอบคุณน้องกุ้ง

เรื่องดีๆแบบนี้อยากเล่าค่ะ

P

วันสองวันนี้

อากาศเจียงใหม่เริ่มหนาวขึ้นเล็กน้อย

P

น้องปูต้องระวังนะคะ

อย่าไปปิ๊งใครแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวเน้อ

เดี๋ยวไปเจอพาหะ

P

เขาถึงได้มีโครงการตรวจเลือดก่อนสมรสไงคะ

บอกลูกชาย 3 หนุ่มเน้อ  อย่าไปรักใครง่ายๆ

สืบๆกันบ้าง  อิอิ

P

ความจริงเป็นเรื่องที่ไม่ควรกลัว

แต่เฝ้าระวังไว้ดีกว่าค่ะ

สวัสดี ครับ คุณมนัญญา

นำดอกหญ้ามาฝากให้ด้วยความคุ้นเคยกันนะครับ

ด้วยความระลึกถึง

P

ภาคเหนือมีพาหะมากกว่าทุกภาคค่ะ

ขอบคุณที่จะนำไปสอนเด็กนักเรียนให้รู้จักการเฝ้าระวัง

P

จัดการแล้วครับผม

ช่วยงานแล้ว

จะชวนมาเลี้ยงข้าว  อิอิ

P

เพราะผู้ใหญ่บางคนในกระทรวงไม่เข้าใจ

เรื่องนี้จึงถูกให้ความสำคัญลดลงค่ะ

P

กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ

จัดการเรียบร้อยแล้ว

  • กามเทพไม่รู้จัก Thalassemia
  • สงสัยต้องอบรมให้ความรู้แล้วละ  อิ...อิ

เป็นธรรมดา  ถ้าทำโครงการเดิม ๆ อย่างเดียวปัญหาใหม่ที่เกิดก็ไม่ได้แก้  หรือบางครั้งคนอื่นเค้าก็ว่า ไม่ครีเอทอีก  จึงต้องคิด และทำเรื่องใหม่ ๆ  อยู่เรื่อย  แต่จริง ๆ เรื่องโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวก็รวมหมดแล้วนี่คะ

 

ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆค่ะ

เคยมีหลานชายอายุ 2 ขวบเค้าป่วยเป็นโรคนี้ตอนนี้เสียไปแล้วค่ะ น่าสงสาารจริงๆ

สวัสดีเจ้าเจียงใหม่หนาวก่อ

ธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ - ความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นโรคธาลัสซีเมียจากพ่อแม่
http://new-parenting.com/Parenting-Information/Blo...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท