อันเนื่องมาจาก...จิตวิญญาณ..ของครูไทยในอนาคต


อันเนื่องมาจาก...
จิตวิญญาณ..ของครูไทยในอนาคต

อันเนื่องมาจากบันทึกของอาจารย์หนิง เรื่อง จิตวิญญาณ..ของครูไทยในอนาคต
ตามความที่ปรากฏฃ้างล่างนี้

วันนี้สอนนักศึกษาครูที่กำลังจะออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ได้จัดกิจกรรมเล็กๆดดยตั้งประเด็นว่าถ้านักศึกษามีเงิน 1ล้านบ้านจะทำอะไรบ้างให้นักศึกษาคิดคนละ3 นาทีและจดบันทึกลงในกระดาษ หลังจากออกคำสั่งไปแล้วสังเกตเห็นว่า นักศึกษาทุกคนมีความสุข นั่งยิ้มและคิดคำนวนว่าจะใช้เงิน 1ล้านบาททำอะไรบ้าง ดูทุกคนตื่นเต้นและมีความสุขต่างใช้ความสามารถในการคิดกันอย่างตั้งใจ นักศึกษาบางคนถึงกับลงมือบวก ลบ ว่าจะพอไหม.... เวลาผ่านไป 3 นาที ลองให้นักศึกษานำเสนอส่งที่ตนเองคิดว่าจะใช้ทำอะไรบ้างประมาณ 10 คน พบว่า ...มีคำตอบดังนี้ ซื้อบ้าน ซื้อรถ ให้พ่อแม่ ซื้อของใช้ส่วนตัว ไปเที่ยว ฝากธนาคาร ใช้หนี้ ทำสัญญกรรม ฯลฯ คำตอบมากมายยังไม่ตรงตามเป้าหมายที่ครูต้องการ จึงถามนักศึกษาว่ามีใครไหมที่จะนำเงินไปเลี้ยงอาหารกลางวันเด็ก ซื้ออุปกรณ์กีฬา สร้างห้องสมุด ซื้อหนังสือเด็กเข้าห้องสมุด ซื้อเสื้อผ้าให้เด็ก...ไม่มีใครยกมือ ครูเลยถามว่า ใครที่จะใช้เงินเพื่อคนอื่นบ้าง....คำตอบคือ ไม่มี...วันนี้ทุกคนยังสอบไม่ผ่าน เพราะทุกคนยังนึกถึงตนเอง...ยังไม่ไมใครมีจิตวิญญาณของการเป็นครูที่เรียกว่า ผู้ให้ ยังไม่มีใครนึกถึงลูกศิษย์ เด็ก ๆ ซึ่งเป็นตนเหตุทำให้เขาเหล่านี้ต้องมาเรียนครู...นอกจากนี้ยังไม่มีนักศึกษาแม้แต่คนเดียวที่ตอบว่าจะยังไม่ใช้เงิน จะเก็บเงินนั้นไว้ เพราะยังไม่ต้องการอะไร ....มีแต่ใช้เงินให้หมด1 ล้าน บางคนไม่พอด้วยซ้ำ...ต้องคิดไหม่ แต่บางคนก็ตอบน่ารักมากคือ ใช้หนี้ กยศ.
บทสรุปของกิจกรรมนี้ ...ดิฉันได้สรุปไว้ในใจเรียบร้อยแล้ว...อยากให้มีคนช่วยคิดว่าเราจะทำอย่างไรกันต่อไป...ดีกับจิตวิญญาณของครูไทยในอนาตค .....

ผมเห็นว่าเป็นประเด็นน่าสนใจ จึงได้แสดงความคิดเห็นต่อท้ายบันทึกของอาจารย์หนิงไว้ดังนี้

สวัสดีครับอาจารย์หนิง

  • เป็นเรื่องที่ดูเหมือนจะมืดมนเมื่อมองหาคำตอบสำหรับโจทย์ "เราจะทำอย่างไรกันต่อไป...ดีกับจิตวิญญาณของครูไทยในอนาคต ....."
  • ที่ว่าดูเหมือนจะมืดมน ผมมองไปที่ข้อจำกัดปัจจัยในการสร้างครูไทยที่เอื้อต่อการสร้างจิตวิญญาณของครู ดังนี้
  • หนึ่ง คือสังคม : สังคมไทยไม่ใช่สังคมอุดมการณ์ เรื่องจิตวิญญาณของความเป็นครูเป็นเรื่องของอุดมการณ์ เป็นเรื่องของคุณค่า เป็นเรื่องของคุณธรรม แต่เป็นสังคมที่เน้นการปฏิบัติ หรืออาจเรียกว่าเป็นนักปฏิบัตินิยม ลองสังเกตดูก็ได้ ให้ลองยกเรื่องในเชิงอุดมการณ์ขึ้นในวงสนทนาที่กำลังคุยกันสนุกในเรื่องทั่วๆไป เราจะเห็นว่า เริ่มมีคนมีธุระโน่นนี่ ทะยอยขอตัวออกไปจากวงสนทนา
    ...และในปัจจุบันที่สังคมไทยถูกครอบงำด้วยค่านิยมแบบทุนนิยมบริโภคด้วยแล้ว อุดมการณ์จึงแทบจะหาร่องรอยไม่เจอในสังคมบ้านเรา
    ...เมื่อสังคมไม่เอื้ออำนวย จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เราจะสร้างคน หรือ ครูที่มีอุดมการณ์ขึ้นมา
  • สอง คือ สถานฝึกหัดครู : ในเมืองไทยมีศึกษาศาสตร์ หรือ ครุศาสตร์ที่ไหนบ้างที่มีอุดมการณ์ หรือจิตวิญญาณของความเป็นครู ที่ชัดเจน มีการประกาศออกมาว่า ศึกษาศาสตร์นี้ ครุศาสตร์นั้น มีปรัชญาหรืออุดมการณ์ในการผลิตครูอย่างนั้นอย่างนี้
    ...อย่าง
    ...ศานตินิเกตัน หรือ วิศวะภารตี ของ ท่านรพินทรนาถ ฐากูร นักคิด นักเขียน รางวัลโนเบล เป็นต้น
    ...ในเมืองไทย วิทยาลัยวิชาการศึกษาในช่วงที่ ดร.สาโรช บัวศรี ท่านเป็นอธิการบดีอยู่ก็พยายามประกาศตัวว่าจะสร้างครูที่มีความรู้ดุจนักปราชญ์ และมีคุณธรรมดุจผู้ทรงศีล เป็นต้น
    ...สถาบันการศึกษาเป็นแหล่งหล่อหลอมคน สถาบันจึงต้องมีรูปร่าง หน้าตา ท่าทาง ที่ชัดเจนและเข้มแข็ง ถ้าสถาบันฝึกหัดครูไม่สามารถกำหนดตนเองได้ว่าเป็นอะไร ผลผลิตที่ออกมาก็ยากที่บอกได้ว่ามีคุณสมบัติอย่างไร
  • สาม คือ ครูของครู : หมายถึงผู้บริหาร และครูบาอาจารย์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารและผู้สอน อยู่ในคณะศึกษาศาสตร์ หรือครุศาสตร์ ในบ้านเรา ในบรรดาคนเหล่านี้ มีใครที่ไหนที่เป็นนักปราชญ์ นักปรัชญา หรือมีความเป็นศิลปิน ในตัวบ้าง
    ...กล่าวได้ว่า หาทำยายากจริง ๆ คนที่จะสร้างคนให้เป็นคนที่มีอุดมการณ์ ก็จะต้องเป็นคนที่มีอุดมการณ์ก่อน ไม่เช่นนั้นจะนำลูกศิษย์ได้อย่างไร
    ...ครูบาอาจารย์ในสถานครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ที่เรามีอยู่ มีคนที่พูดเรื่องอุดมการณ์ได้มีมาก แต่หาคนที่ปฏิบัตนอย่างมีอุดมการณ์มีน้อยเต็มที(แม้แต่ตัวผู้เขียนเอง)
    ...เมื่อสถานการณ์มันเป็นอย่างนี้ การศึกษาในสถานฝึกหัดครูทั้งหลายจึงเป็นไปในลักษณะแม่ปูสอนลูกปู นั่นเอง
  • สี่ คือ นักศึกษาครู : คนมาเรียนครูในบ้านเรา ส่วนใหญ่เป็นคนจิตอ่อนล้า ปัญญานิ่ม ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จะสร้างให้เป็นคนมีอุดมการณ์ได้ยาก ในยุคแรก ๆที่เรามีการฝึกหัดคนไปเป็นครู เรามีคนที่มีจิตแกร่งกล้า ปัญญาดีเข้ามามากกว่า ในสมัยนั้นจึงปรากฏว่ามีครูที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นครูที่ควรบูชา หรือเรียกว่าเป็นครูที่มีอุดมการณ์ให้เห็น
    ...ในปัจจุบันเราได้คนที่อ่อนเปลี้ยทั้งสองด้านมาเรียนครู จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากที่เราจะสร้างคนเหล่านี้ให้เป็นครูที่มีจิตวิญญาณของความเป็นครู
    ...คำตอบที่พวกเขาตอบโจทย์ของอาจารย์ มันสะท้อนความอ่อนเปลี้ยของเขาที่ชัดเจน
  • ูดอย่างนี้ไม่ใช่ให้งอมืองอเท้าไม่ทำอะไร ถ้าเราเห็นว่า"จิตวิญญาณของความเป็นครู"เป็นสิ่งสำคัญ เราจะต้องไม่ทำอย่างที่ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ในปัจจุบันทำกันอยู่
    ...เราต้องคัดเลือกคนมาเรียนครูอย่างพิถีพิถัน ไม่ใช่ให้ได้คนมาเรียนก่อน เอาให้มาก ๆไว้ก่อน คุณภาพเป็นอย่างไร ช่างหัวมัน เพื่อจะได้มีงบประมาณมายาใส้ผู้บริหารและผู้สอนมาก ๆ
    ...เราจะต้องได้คนที่มีทั้งจิตที่แกร่งกล้า ปัญญาที่ดี ๆ มาเรียน
    ...สถานฝึกหัดครูจะต้องยกระดับตนเองให้มีจิตวิญญาณที่แกร่งกล้าและท้าทาย แต่ละแห่งควรมีปรัชญาในการจัดการศึกษาของตนเองที่ชัดเจนและแตกต่าง สถานฝึกหัดครูในบ้านเราไม่มีความแตกต่าง แม้แต่ชื่อเรียกสถาบันก็สะท้อนว่าผู้คนในสถาบันนั้น ๆขาดจินตนาการอย่างสุด ๆ

...สถานฝึกหัดครูจะเป็นเช่นนี้ได้ก็จะต้องหาคนที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ
มาบริหารและมาสอน ดีกรีน่าจะไม่ใช่สิ่งสำคัญในกรณีเช่นนี้

  • อย่างไรก็ตาม ผมชื่นชมในความตั้งใจดีของอาจารย์ แม้มองในภาพกว้างจะเป็นสิ่งเล็กน้อย แต่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีอย่างน้อยคนคนหนึ่งที่มองเห็นอย่างอาจารย์
  • ขอให้อาจารย์มีความสุขและสำเร็จในสิ่งที่ประสงค์
  • สวัสดีครับ

paaoobtong
22/02/53
03:45

อยากจะเชิญชวนให้ผู้สนใจช่วยกันแสดงความเห็นในประเด็นนี้มากขึ้น จึงนำมาบันทึกซ้ำไว้ใน เหลียวหลังแลหน้าฯ อีกครั้ง

เชิญครับ...

PhotobucketPhotobucketPhotobucketPhotobucketPhotobucket

paaoobtong
22/02/53
9:29

ที่มา:http://gotoknow.org/blog/bannumsai/310966
หมายเลขบันทึก: 339022เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2010 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2015 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • ได้เข้าไปอ่านในบันทึกของอาจารย์หนิงเหมือนกันค่ะ
  • ทำให้นึกถึงการล้อมวงแลกเปลี่ยนสนทนากับนักศึกษาปริญญาโท  ของมหาลัยแห่งหนึ่ง...น้องนักศึกษามีความคิด ความฝันเช่นเดียวกันคือเก็บเงิน พาพ่อแม่ไปเที่ยว  ซื้อรถ ซื้อบ้านใหม่ ซื้อคอนโด ซื้อเครื่องอำนวยความสะดวก ไปเรียนต่อต่างประเทศ ฯลฯ 
  • แต่มีเพียง ๑ คนเป็นนักศึกษาผู้หญิงบอกว่า..."อยากไปเป็นครูสอนโรงเรียนบ้านนอกเช่นเดียวกับคุณครูคิม"...ฟังแล้วก็แอบปลื้มค่ะ
  • อย่าว่าแต่นักศึกษาครูเลยนะคะ  วันก่อนไปไหว้พระได้ยินคนใกล้ ๆ กันยังอยู่ในวัยหนุ่มวัยสาว อายุไม่เกิน ๓๐ ปี  ไหว้ขอพรจากหลวงพ่อว่า..."ขอให้ถูกหวยรางวัลที่ ๑ จะได้รวย ๆ"
  • มีครอบครัวใกล้โรงเรียนพอมีฐานะดีกว่าเพื่อน  ส่งลูกไปเรียนนิเทศศาสตร์ และบอกว่าไม่อยากให้ลูกเป็นครูกลัวลำบาก เงินเดือนไม่พอกิน กู้หนี้ยืมสิน  ปัจจุบันลูกเขาเรียนจบมาแล้วแต่ขายของอยู่กับบ้าน  ไม่มีงานทำ  วันหนึ่งเขามาขอให้ลูกเขาเป็นครูอัตราจ้า  แต่โรงเรียนไม่รับค่ะ
  • อยากให้มีสถาบันผลิตครูเพียงอย่างเดียว  เหมือนสมัยก่อน  และคัดเลือกครูจากเกณฑ์การเป็นคนดีให้มาก ๆ
  • การที่จะไปวิ่งตามคนสูงอายุนั้นทำไม่ได้ หรือจะไปแก้ไขหลักสูตร แก้นโยบายชาติก็ยิ่งไม่ได้  ควรจะแก้ที่ปัจจุบัน  ควรริเริ่มสอนจิตสาธารณะกันได้แล้ว  คนสอนต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
  • จิตสาธารณะถูกกำหนดไว้เป็นข้อสุดท้ายของหลักสูตรแกนกลางด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
  • ดิฉันเคยสอบถามครูเพื่อนบ้านใกล้ ๆ ประเทศไทยเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอน เขาบอกว่า "เขาไม่มีปัญหาเรื่องครู เพราะเขาคัดคนดี คนเก่งมาเป็นครู" ค่ะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะที่เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยน  แล้วจะติดตามมาอ่านข้อคิดเห็นของท่านอื่นอีกนะคะ

สวัสดีครับอาจารย์ครูคิม

  • ได้ทราบจากการเข้าไปอ่านบันทึก๔๙๐.เหนือกว่าวิชามาร (59) ว่าจะออกจากราชการแน่ ๆแล้ว ก็ขอแสดงความยินดีด้วย ไม่ว่าจะอยู่หรือจะออก ถ้าตัดสินใจด้วยจิตอันเป็นกุศล ย่อมดีเสมอ
  • อาจารย์ครูคิม ได้ให้ความเห็นไว้  2 เรื่อง สำคัญ ที่ผมอยากนำมาสนทนาต่อ
  • เรื่องแรก คือ เรื่องครู :
    เห็นด้วยที่ว่า"อยากให้มีสถาบันผลิตครูเพียงอย่างเดียว  เหมือนสมัยก่อน" และไม่จำเป็นต้องมีมากแห่งเหมือนในปัจจุบัน...
    ...ปัจจุบันสถาบันที่ทำหน้าที่ผลิตครูมีมาก นับเฉพาะที่ผลิตครูเพื่อตอบสนองการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในนามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ(ไม่นับเอกชน) คณะครุศาสตร์ คณะศึกษาสาสตร์ มีไม่น้อยกว่า 50 แห่ง สำหรับประเทศไทยถือว่ามากเกินไป ในขณะเดียวกันแต่ละแห่งก็ไม่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษอะไร ดูเหมือน ๆกันไปหมด 
    ...สถาบันฝึกหัดครูไม่ควรมีมากแห่ง ควรให้กระจายไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ควรเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ผลิตครูเพียงอย่างเดียว ไม่ควรเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแบบปัจุบัน เพราะการเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันฝึกหัดครูเป็นเหตุให้สถาบันฝึกหัดครูนั้น ๆอ่อนแอลงทุกวัน ๆ
    ...สถาบันฝึกหัดครูแต่ละแห่งควรมีความโดดเด่นเป็นพิเศษ เป็นเฉพาะของตน ทั้งในด้านปรัชญาหรืออุดมการณ์ และในด้านเทคนิค
    ...สถาบันฝึกหัดครูควรเป็นที่เดียวกับโรงเรียน เหมือนสถาบันฝึกหัดแพทย์ตั้งอยู่ในที่ที่เดียวกับโรงพยาบาล  การแยกการฝึกหัดครูออกจากการประกอบวิชาชีพครูเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาวิชาชีพครู
    เห็นด้วยกับที่อยากให้"คัดเลือกครูจากเกณฑ์การเป็นคนดีให้มาก ๆ"
    ...สถาบันฝึกหัดครูไม่เก่งกาจถึงขนาดปั้นใครก็ได้ให้เป็นคนดี มีอุดมการณ์ได้หรอก ดังนั้น ในเบื้องต้น ต้องคัดคนที่ดี ๆเข้ามาเป็นครูอย่างที่อาจารย์ครูคิมว่า เพราะคนที่มีพื้นนิสัยที่เหมาะกับการเป็นครูอยู่แล้วจึงจะฝึกหัดขัดเกลาได้ง่าย ในปัจจุบันค่านิยมเกี่ยวกับวิชาชีพครูในสายตาของเด็ก ๆค่อนข้างจะตกต่ำ  คนมาเรียนครูจึงเป็นคนที่ไม่มีทางจะไปเสียเป็นส่วนใหญ่  ใครมาสมัครก็รับหมด ถึงกระนั้นก็ยังได้จำนวนไม่เพียงพอจะเปิดเป็นห้องเรียนได้  เงื่อนไขตรงนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องทบทวน คือ การเน้นปริมาณ โดยอ้างว่าจะไม่คุ้มกับค่าดำเนินการ
    ปัจจุบันกล่าวได้ว่าเราไม่ได้มีการคัดเลือกคนมาเรียนครูกันเลย
    ...ในอดีต โดยเฉพาะในช่วงแรก ๆของการฝึกหัดครูไทย มีการคัดเลือกคนเรียนครูโดยท้องถิ่น มีครูเป็นคนสำคัญที่คอยสังเกต ติดตามและเสนอชื่อเด็กที่ครูเห็นว่าเหมาะสมที่จะเป็นครูให้ไปเรียนครู
  • เรื่องที่สอง คือ เรื่องการสอนจิตสาธารณะ
    เห็นด้วยที่ว่า "ควรริเริ่มสอนจิตสาธารณะกันได้แล้ว" จริง ๆควรสอนมานานแล้ว
    ...การศึกษาในโรงเรียนของเราถนัดที่จะสอนด้วยการบอกและสอนแบบสอนหนังสือเป็นสำคัญ ซึ่งการสอนแบบนี้ยากที่จะปลูกฝังด้านจิตใจแก่เด็ก ๆได้  มีวิธีการเยอะแยะที่สามารถทำได้อย่างสัมฤทธิ์ผล อย่างที่อาจารย์ครูคิมจัดค่าย เป็นต้น แต่เทคนิคเหล่านี้ครูส่วนใหญ่ทำไม่เป็น อีกทั้งตนเองก็ไม่มีจิตสาธารณะ จึงเป็นแบบอย่างไม่ได้ จึงเป็นปัญหาอย่างมากเมื่อเราคิดถึงเรื่องการปลูกฝังคุณนิสัยให้กับเด็ก ๆ
  • ขอบคุณครับที่ได้เข้ามาร่วมสนทนากันนะครับ
  • ขอให้อาจารย์ครูคิมจงมีความสุขครับ
  • สวัสดีครับ

paaoobtong
22/02/53
21:57

ปัจจุบันมีแต่ครูไทยทำผลงาน มากกว่าผลของงานที่นักเรียนหรือลูกศิษย์ที่จะได้รับ

ร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านอีเมลได้นะครับ

ปัจจุบันมีแต่ครูไทยทำผลงาน มากกว่าผลของงานที่นักเรียนหรือลูกศิษย์ที่จะได้รับ

ขอเถอะครับคุณครูผู้น่าเคารพรักของเด็กทุกคนจงคิดถึงเด็กมากว่าตนเองเถอะ

ร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านอีเมลได้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท