ทุนโครงสร้าง (Structural Capital) ความหิน ที่ควรศึกษา...แล้วทำ


Appreciative Inquiry

บทความต่อจากตอนก่อนนะครับ

Srtuctural Capital เป็นอะไรที่หินสุดในการทำ OD, AI, KM จริงๆ คำว่า OD ไม่จำกัดอยู่แค่ในองค์กร นะครับ เมืองทั้งเมืองก็ทำ OD ได้

 

เช่น Imagine Chicago เป็นการทำ OD (AI) กับทั้งเมืองครับ

 

(กลุ่มเรามี Imagine Thailand Movement ครับ สนใจ แจมได้ครับ)

 

ยกตัวอย่างนะครับ

 

เรารณรงค์กันแทบตาย เพื่อให้คนไทยใช้ถุงพลาสติกลดโลกร้อน (สร้าง Human capital ให้คนมีทักษะ โดยคิดว่าเมื่อคนตระหนัก ก็จะพัฒนาทักษะในการลดโลกร้อนเอง) ก็ได้ผลไม่ได้ผลบ้างดีกว่าไม่ทำ

 

แต่บางบ้าน บางขุมชน คนเห็นขัดกันครับ บางคนไม่ใส่ใจ จากสาเหตุต่างๆกัน (Social Capital มีพลังไม่พอ)

 

ที่สุดบางสังคมเช่น จีน เยอรมัน ออกกฎหมายมาซื่อๆครับ

 

ห้ามใช้ถุงพลาสติก (นี่กลายเป็นกฎหมายฉลาด ถือว่าเข้าข่าย สร้าง Structrual Capital)

 

เพราะฉะนั้นอำนาจของ Structural Capital บางที ถ้าทำดีจะทำให้สองตัวแรกดีตามครับ)

 

ตอนนี้กรุงเทพก็ออกกฎแบบเดียวกัน คือขอความร่วมมือห้างร้าน ถ้าลูกค้าจะใช้ถุงพลาสติกก็ต้องเสียตังค์ 1 บาท

 

นี่ไงครับ Structural Capital ระดับสุดยอด ไม่ทำ รับรองโฆษณา รณรงค์กันให้ตายยังไง รับรองถุงพลาสติกก็จะยังท่วมฟ้าอยู่เป็นแน่

ในที่นี้เราจะเห็นว่า กฎหมายฉลาด (Structural Capital) ทำให้คนต้องพัฒนาทักษะการลดการใช้ถุงพลาสติก (เพราะไม่มีอะไรให้ใช้ นี่คือทำให้คนมี Human capital ด้านการลดภาวะโลกร้อน) ที่เก๋กว่าคือลดการทะเลาะ การหมั่นไส้กัน เพราะคนนั้นทำคนนี้ไม่ทำ (ส่งเสริม Social Capital ครับ)

 

ครับ เป็นไงครับ ประเทศเราควรมีนโยบายฉลาด กฎหมายฉลาดอะไรอีก ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยสิครับ ลองไปดูของประเทศอื่นๆมาเล่าสูกันฟังก็ได้ นะครับ 

หมายเหตุ ครับ ทุนโครงสร้างแบบฉลาด ไม่ใช่ทำออกมาแล้ว ปิดกั้น ไปทำให้ทุนสองตัวแรกหยุดชะงักนะครับ เช่นหลายองค์กรให้ทำ QA แต่ทำไปแกนๆ ตามเอกสาร ไม่เห็นคุณค่า ที่สุดจะไม่ทำให้คนเก่งขึ้น และศักยภาพระดับกลุ่มจะไม่เติบโตเลย 

บางองค์กรทำ km ตามเอกสาร ที่สุด ก็แค่เชิญคนมาพูด พอมีอะไรส่งให้กรรมการภายนอกตรวจ แต่ไม่เคยคิดริเริ่ม อะไรไปมากกว่านี้ พอปีหน้าก็หาเรื่องเลี่ยงไปเรื่อยๆ

คนเลยเซ็ง คนเก่งๆ เลยเบือนหน้าหนี ไม่ต้องพูดถึงการอยากรวมตัวไปทำอะไรไห้งอกงามไปกว่าเดิม เสียของหมด

 

นี่เรียกว่าทุนโครงสร้างแบบไม่ฉลาดครับ

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative coaching#appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 356387เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2010 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เคยอ่านหนังสือเจอว่า ในกรีกเขาถือว่าเกมคอมพิวเตอร์เป็นเกมผิดกฎหมาย เพราะกรีกมีปัญหาเรื่องการพนันในเกมคอมพิวเตอร์เยอะมาก ปี 2002 รัฐบาลเลยออกกฎหมายห้ามซะเลย แม้แต่ใครมี install ไว้ในมือถือก็ยังโดนจับเลยค่ะ (อาจารย์ระวังตัวนะคะเวลาไปกรีก มีไว้เล่นเยอะอยู่ไม่ใช่เหรอคะ)

เมืองไทยตอนนี้ก็ตื่นตัวเรื่องปัญหาเด็กติดเกมกันมากเหมือนกัน เพราะมันเป็นฝันร้ายของพ่อแม่ เด็กเลียนแบบเกมคอมฯ แล้วก่ออาชญากรรมก็มีให้เห็นหลายรายอยู่ แต่คิดว่าอย่าถึงกับออกเป็นกฎหมายเหมือนกรีกเลยนะคะ เพราะเกมคอมฯ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ก็มีให้เห็นอยู่เยอะค่ะ

*ได้ยินข่าวมาเหมือนกันค่ะอาจารย์ เรื่องรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกในห้าง Modern trade ในกรุงเทพ

หนูคิดว่าเป็นการสร้างมาตรฐานฐาน + ปูพื้นฐาน ที่ดีเลยทีเดียวค่ะ

เพื่อปลูกฝัง สร้างความเคยชิน กับพฤติกรรมผู้บริโภคให้ชัดเจนมากขึ้น

นำไปสู่การตระหนักให้เกิด Social + Human Capital ได้ในอนาคต

(ถ้ามีระเบียบนี้ที่ขอนแก่น หนูเองก็คิดว่าคงจะนำถุงผ้าไปซื้อของด้วยแน่ๆ ^^)

ขอบคุณมากทั้งสองคนที่แวะมามีส่วนร่วมนะ

อาจารย์มีเรื่อเขียนต่อแล้วละ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท