เราได้อะไรจากการเผายางรถยนต์


นี่ยังไม่รวม ลูกกระสุน ระเบิดขวด บั้งไฟ และอาวุธสงครามอื่นๆ ที่วิ่งไปมาบนกองเพลิงด้วยนะครับ

      ผมดูภาพข่าวบนจอทีวีแล้วก็ได้แต่นึกว่าเราอุตสาห์ไปเรียนรู้เรื่องอาชีวเวชศาสตร์มาก็น่าจะตอบคำถามได้ว่า ผลกระทบต่อสุขภาพจากการเผายางรถยนต์มีอะไรบ้าง ไม่งั้นคงต้องคืนใบประกาศให้อาจารย์น่าจะดีกว่า

อันดับแรกคงต้องรู้ก่อนว่า  ยางรถยนต์มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

     ในการผลิตยางรถยนต์ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดก็คงจะเป็นยางนั่นล่ะครับ(ยางธรรมชาติ) ที่กล่าวกวนๆอย่างนี้เพราะลำพังยางธรรมชาติอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เราสามารถผลิตยางรถยนต์ออกมารองรับการใช้งานได้ อันเนื่องจากมีข้อจำกัดคือทนอุณหภูมิได้แค่ ๗๐ องศาเซลเซียสและไม่สามารถทนต่อน้ำมันบางประเภทได้ ดังนั้นจึงต้องมีการผลิตยางออกมาเป็นยางสังเคราะห์ ด้วยการใส่ส่วนผสมต่างๆให้มีคุณสมบัติดีขึ้นเหมาะแก่การใช้งานเช่น

1. สารที่ทำให้ยางคงรูป (Vulcanizing Agent) ใส่เพื่อให้สถานะของยางอยู่สถานะยืดหยุ่นได้ กลุ่มนี้ได้แก่ กำมะถัน

2. สารป้องกันยางเสื่อมสภาพ (Protective Agent) สารกลุ่มนี้ได้แก่ สารโอโซน

3. สารช่วยในกระบวนการผลิต เช่น น้ำมัน ช่วยให้ยางที่ทำการผสมมีคุณสมบัตินิ่มนวล

4. สารอื่น ๆ เช่น สารที่ทำให้ยางฟู หรือใส่ให้ยางมีสีต่าง ๆ 

นอกจากนี้ยังมีการผสม

ผงเขม่าดำ (Carbon Black) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากน้ำมันดิบ คุณสมบัติช่วยให้ยางแข็งตัว เพื่อเพิ่มความทนทานของยาง และทนต่อรอยขีดขวนต่าง ๆ 

เมื่อเรารู้ส่วนประกอบแล้วต่อมาก็เป็นความรู้เกี่ยวกับการเผาไหม้ครับ

การเผาไหม้เป็นปฏิกิริยาการรวมตัวกันของเชื้อเพลิงกับออกซิเจนอย่างรวดเร็ว พร้อมกับเกิดการลุกไหม้และการคายความร้อน โดยส่วนใหญ่การเผาไหม้ในอากาศมักจะไม่สมบูรณ์หมายความว่าไหม้ไม่หมดจด  มีสารตกค้างซึ่งประเภทและปริมาณก็เป็นไปตามชนิดของเชื้อเพลิงและปริมาณ ออกซิเจนที่มี

โดยสรุป พอจะบอกได้ว่า การเผายางรถยนต์เราจะได้รับอะไรบ้างดังนี้

1.คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CARBON MONOXIDE) เป็นแก๊สพิษที่มีอันตรายอย่างสูงต่อคนและเกิดขึ้นได้มากเสมอในการเผาไหม้ในบริเวณจำกัด อันตรายต่อคน คือ ถ้าผสมอยู่ในอากาศคิดเป็นเปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร ถ้าเกิน 0.05%มีอันตราย ถ้ามีอยู่ 0.16% ทำให้หมดสติ ใน 2 ชั่วโมง ถ้ามีอยู่ 1.26% จะหมดสติภายใน 1 ถึง 3 นาที ของการหายใจและอาจถึงชีวิตได้นอกจากความเป็นพิษแล้ว แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ ยังเป็นแก๊สเชื้อเพลิงอีกด้วย เมื่อมีความเข้มข้นในอากาศสูง ๆ สามารถลุกไหม้และเกิดการระเบิดได้อย่างรุนแรง เพลิงไหม้ในบริเวณที่โล่งแจ้งจะมีอันตรายจากแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์น้อยลงไป

2.แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CARBON DIOXIDE) เกิดจากการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์แบบไม่เป็นเชื้อเพลิง และไม่ก่ออันตรายแก่ร่างกายโดยตรง แต่จะไม่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ถ้าแก๊สนี้มีความเข้มข้นในอากาศเกินกว่า 5.0% โดยปริมาตร จะมีอันตรายและทำให้ผู้สูดดมหมดสติได้

3.แก๊สไฮโดรเจนไซยาไนต์ (HYDROGEN CYANIDE) เป็นแก๊สพิษที่มีความรุนแรงมากกว่าแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์มาก ส่วนผสมในอากาศ 100 ppm. มีผลให้ผู้สูดดมหมดสติและเสียชีวิตไดในเวลา 30-60 นาที แก๊สนี้เกิดจากการเผาไหม้สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่มีองค์ประกอบของคลอรีน เช่น พวกพลาสติก ยาง เส้นใย ขนสัตว์ หนังสัตว์ ไม้ หรือผ้า ไหม เป็นแก๊สที่เบากว่าอากาศ จึงมีอันตรายมากในการเผาไหม้ในอาคารหรือบริเวณจำกัดต่าง ๆ

4.แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (HYDROGEN SULFIDE) เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของวัสดุพวก ยาง พรม ไม้ ขนสัตว์ หรือวัสดุอื่นใดที่สมีกำมะถันผสมอยู่ เป็นแก๊สที่มีอันตรายมากเพียง 400-700 ppm. ในอากาศได้รับนาน 30-60นาที ทำให้เสียชีวิต นอกจากนั้นยังเป็นแก๊สเชื้อเพลิงซึ่งลุกติดไฟได้อีกด้วย แต่ไม่ถึงขั้นเกิดระเบิด มีกลิ่นคล้ายไข่เน่า

มักจะเรียกว่า “แก๊สไข่เน่า” มีฤทธิ์ทำลายเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้มาก

5.แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SULFUR DIOXIDE) เกิดจากการเผาไหม้สมบูรณ์ของกำมะถันในอากาศ เป็นแก๊สพิษความเข้มข้นเพียง 150 ppm. ในอากาศใช้สังหารคนได้ในเวลา 30-60 นาที เมื่อผสมกับน้ำหรือความชื้นที่ผิวหนัง จะเกิดกรดกำมะถัน ซึ่งมีฤทธิ์กัดอย่างรุนแรงผู้ได้รับแก๊สนี้จึงมีอาการสำลักและหายใจไม่ออกอย่างฉับพลัน

6.แก๊สแอมโมเนีย (AMMONIA) เกิดจากการเผาไหม้ไม้ ขนสัตว์ ผ้าไหม น้ำยาทำความเย็น หรือสารอื่นที่มีสารประกอบของไนโตรเจน และไฮโดรเจน มีกลิ่นฉุนรุนแรง ทำให้เกิดความรำคาญ และทำลายเนื้อเยื่อ แต่ไม่มีตัวเลขส่วนผสมที่ทำให้เสียชีวิต

7.ออกไซด์ของแก๊สไนโตรเจน (OXIDE OF NITROGEN) ได้แก่ แก๊สไนตริกออกไซด์ ไนตรัสออกไซด์ และไนโตรเจนเตตระออกไซด์ เกิดจากกากรเผาไหม้พวกไม้ ขี้เลื่อย พลาสติก ยางที่มีไนโตรเจนผสมสีและแลคเกอร์บางชนิด ปริมาณ100 ppm. ในอากาศทำให้เสียชีวิตได้ใน 30 นาที

8.เขม่าและควันไฟ (SOOT AND SMOKE) เขม่า คือ ก้อนหรือเศษของวัสดุที่ยังเผาไหม้ไม่หมด จะมีลักษณะเป็นผงหรือละออง ส่วน ควันไฟ เป็นสารผสมระหว่างเขม่า ขี้เถ้า และวัสดุต่าง ๆ ที่เกิดมาจากกองเพลิง รวมทั้งพวกแก๊สและไอต่าง ๆ ด้วย ผลของเขม่าและควันไฟ คือทำให้ผู้ป่วยสำลักและอาจถูกเผาที่ผิวหน้าหรือตามตัว รวมทั้งปิดบังทางออกต่าง ๆ ทำให้หนีออกจากบริเวณอันตรายไม่ได้

 

     นี่ยังไม่รวม ลูกกระสุน ระเบิดขวด บั้งไฟ และอาวุธสงครามอื่นๆ ที่วิ่งไปมาบนกองเพลิงด้วยนะครับ

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 359366เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2010 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ประเด็นทันเหตุการณ์จริงๆ คะ :>

ขอบคุณมากคะ ไม่ได้ไปเรียน occ med กับเขาเลย เข้ามาอ่านได้ความรู้ และ..สงสารทั้งคนชุมนุม ชาวบ้านและทหารจัง

ห่วง ลูกกระสุน มากกว่าครับ

แต่ ถ้าควันยางรมเสื้อแดง จนหลับ หมดสติได้

ประเทศไทย คงหายใจออก โล่งอก ซะทีครับ

วันนี้ผมผ่านไปศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร พบว่าซากที่เหลือไว้คือเศษเหล็กเส้นเล็กๆ และคราบน้ำมัน ส่วนซากอาคารศาลากลาง ไม่กล้าเข้าใกล้ เสียดายไม่ได้ถ่ายรูปมา

วันนี้ออกตรวจสิ่งแวดล้อมใน รพ. เตาเผาขยะติดเชื้อกำลังทำงาน ลมผัดผ่านมาด้านหน้าพอดี กลิ่นควันเล็กน้อยลอยกระทบจมูกยังทำให้เกิดความรำคาญได้อย่างมาก

เห็นควันที่ ราชประสงค์แล้ว สงสารคนแถวนั้นคงได้รับสารก่อมะเร็งไปเยอะทีเดียว

อาจารย์ผมเขียนไว้อย่างละเอียด ที่นี่ครับ http://gotoknow.org/blog/occmedman/359732

เคยแวะไปแถวสระบุรีแล้วมีแต่ฝุ่นละออง น่าเป็นห่วง พี่ namsha และทีมงานป้องกันตัวเองด้วยนะครับ

คนรักชาติ เขาไม่ทำเช่นนี้กันครับ ถึงจะอารมณ์โกรษขนาดไหน..

เอาบ้านเมือง มาอ้างเรื่องส่วนตัว..

การเผายางทำลายสุขภาพตนเอง/คนอื่น ทำลายสิ่งแวดล้อมประเทศ ทำลายโอโซนของโลก

ทำไปทำไม

อยากให้มีการเผยแพร่อันตรายจากการเผายางออกไปสู่ชุมชนมากๆๆๆๆ

อังค์ริสา พินิจจันทร์

เรื่องยางนี่น่าสนใจมากนะครับ...ผมเห็นปลูกกันเยอะมากทั้งประเทศเราและเพื่อนบ้าน เห็นบอกว่าเอามาทำอะไรได้ตั้งหลายอย่าง ที่มโนรมย์ กับบุรีรัมย์ คงไม่มีการเผายางนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท