12 วิธีป้องกันเมารถเมาเรือ+เมาบก


เรื่อง "ขึ้นรถ ลงเรือ-ไปเหนือล่องใต้ (มาจากสำนวนโฆษณา TV)" นี่, หนีปัญหาเมารถ เมาเรือ หรือเมาคลื่นได้ยากทีเดียว

ขอนำวิธีป้องกันเมารถเมาเรือจากอาจารย์แห่งเว็บไซต์ 'ehow'; 'MedlinePlus'; 'Mayoclinic';  มาเล่าสู่กันฟังครับ

...

สมองคนเรามี ระบบรับรู้การทรงตัว เพื่อบอกว่า เราอยู่ในท่าใด เช่น ยืน นั่ง นอนหงาย นอนคว่ำ นอนตะแคง ฯลฯ หรือเคลื่อนที่ไปในทิศทางใด เช่น ขึ้นบน ลงล่าง ไปทางซ้าย-ขวา, หน้า-หลัง ฯลฯ 2 ระบบใหญ่ได้แก่ ผ่านทางตากับทางหูชั้นใน

ภาวะที่มีการเคลื่ีอนไหวโยกเยก โดยเฉพาะการนั่งรถลงเรือ ทำให้ระบบเหล่านี้ตีรวนได้ เนื่องจากหูชั้นในมีระบบท่อของเหลวรูปครึ่งวงกลม วางตั้งฉากกัน เพื่อรับรู้การเคลื่อนไหวในแนวนอน-ตั้ง-ขวาง

...

เมื่อมีการ เคลื่อนไหว... จะเกิดการเคลื่อนไหวภายในระบบท่อของเหลวในหูชั้นใน เมื่อการเคลื่อนไหวหยุดแล้ว ของเหลวที่มีแรงเฉื่อยจะเคลื่อนที่ต่อ ทำให้ระบบหูส่งสัญญาณคล้ายกับว่า การเคลื่อนไหวยังไม่หยุดทันที

ส่วนระบบตาไม่มีแรงเฉื่อยแบบนี้ ทำให้สัญญาณการทรงตัวของระบบตากับหูขัดแย้ง ตีรวนกัน (ทำไมเหมือนการเมืองไทย หรือการเมืองในหน่วยงานต่างๆ ก็ไม่ทราบ) และเกิดอาการเมารถเมาเรือ

...

คนที่เสี่ยง ต่ออาการเมารถเมาเรือมากที่สุด คือ คนอายุน้อย โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุ 2 ปี, ความเสี่ยงจะลดลงไปตามอายุ และพบน้อยลงไปมากเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป จึงอาจกล่าวได้ว่า อาการเมารถเมาเรือเป็นอาการของคนที่ยังอ่อนเยาว์

กล้ามเนื้อและข้อต่อของคนเราก็มีระบบรับรู้การทรงตัว เพื่อให้คนเรารู้ว่า หัว-แขน-ขาอยู่ตรงไหน พิกัดใดเช่นกัน

...

วิธีป้องกัน เมารถเมาเรือได้แก่ [ ehow ]; [ MedlinePlus ]; [ Mayoclinic ];;

(1). กินยา ป้องกัน-แก้เมารถเมาเรือล่วงหน้า เช่น dimenhydrinate (Dramamine) ฯลฯ, ยานี้ใช้เวลาในการดูดซึม และออกฤทธิ์ประมาณ 20-30 นาที

ยานี้ทำให้ง่วงนอน จึงต้องระวังอันตรายเสมอ เช่น ระวังหลับแล้วของหาย ฯลฯ 

ผู้เขียนมีประสบการณ์นั่งรถทัวร์จากท่าขี้เหล็กไปเชียงตุง (กุมภาพันธ์ 2552), บริษัททัวร์ที่นั่นมีบริการแจกยานี้ฟรีคนละเม็ดด้วย นับว่าเท่ไม่เบาทีเดียว

...

(2). ใช้ยาจาก ธรรมชาติ คือ ขิง เช่น กินอาหารที่มีขิงหรือน้ำขิง ฯลฯ ก่อนเดินทาง

(3). กินอาหาร มื้อเล็ก หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากๆ หรือกินอาหารที่มีลมหรือแก๊ส เช่น น้ำอัดลม ฯลฯ ระหว่างเดินทาง เนื่องจากกระเพาะอาหารที่โป่งพองจากปริมาตรของ "อาหาร-น้ำ-ลม" จะทำให้คลื่นไส้ได้ง่ายกว่าตอนท้องว่าง

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คือ อาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น ทุเรียน ฯลฯ, เครื่องเทศฉุน และอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด ฯลฯ

ก่อนเดินทาง... ควรดื่มน้ำให้พอล่วงหน้า 1 วัน เนื่องจากภาวะขาดน้ำอาจเพิ่มเสี่ยงอาการเมารถเมาเรือได้

...

(4). หลีกเลี่ยง แอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ) เนื่องจากจะเพิ่มเสี่ยงต่อการเมาซ้ำซ้อน

(5). ถ้าทำ ได้... ควรเลือกที่นั่งตรงกลางซึ่งโยกเยกน้อยที่สุด รองลงไปเป็นที่นั่งด้านหน้า พยายามหลีกเลี่ยงที่นั่งด้านหลัง ซึ่งมักจะโยกเยกมากที่สุด

กรณีนั่งเรือหรือรถที่ไม่ได้ติดแอร์... กระแสลมวนมักจะพัดไอเสียบางส่วนกลับไปทางด้านหน้า ทำให้คนที่นั่งหลังเสี่ยงเหม็นควันไอเสียมากกว่าที่นั่งส่วนอื่นๆ

ถ้าทำได้... ควรเลือกที่นั่งที่หันไปทางด้านหน้าดีกว่าที่นั่งที่หันไปทางด้านข้างหรือ ด้านหลังรถ เลือกนั่งรถ-เรือค่อนไปทางด้านหน้า นั่งเรือชั้นบน (เห็นวิว-ทิวทัศน์ดีกว่านั่งโดยไม่เห็นวิว-ทิวทัศน์), นั่งเครื่องบินใกล้หน้าต่าง (window / wing seats)

ควรมองวิว-ทิวทัศน์ไกลๆ ในแนวนอน หลีกเลี่ยงการมองสูง-ก้มหน้า-หรืออ่านหนังสือทั้งๆ ที่รถหรือเรือโคลงไปโคลงมา

ทีนี้ถ้าโดยสารเรือทางไกล เช่น ต้องนอนบนเรือ ฯลฯ... ควรเลือกเคบิน (ห้อง) ตรงกลางลำเรือ หรือบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากจะมีการโยกเยกน้อยกว่าส่วนอื่นๆ

...

(6). การหลับตา หรือดีกว่านั้น คือ พยายามนอนให้หลับไปเลย มีส่วนช่วยบรรเทาอาการได้ดีกว่าการลืมตา

(7). พยายามให้ ส่วนหัวอยู่นิ่งๆ หลีกเลี่ยงการส่ายหัวไปมา ซึ่งจะทำให้ของเหลวในช่องหูชั้นในเคลื่อนไหวไปมามากขึ้น

...

(8). ไม่สูบ บุหรี่ และไม่นั่งใกล้คนสูบบุหรี่

(9). ระวังอาหาร เป็นพิษ ซึ่งพบบ่อยในอาหารประเภทข้าวผัด (นิยมใช้ข้าวเก่ามาผัดใหม่), ขนมจีน, แกงกะทิ (เสียง่าย)

อาหารเป็นพิษมักจะทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งจะทำให้อาการเมารถเมาเรือแย่ลงไปอย่างมากมาย

...

(10). ระวังไข้ หวัดลำไส้อักเสบ ซึ่งติดต่อผ่านทางการไอ-จาม โดยเฉพาะในห้องแอร์จะฟุ้งกระจายไปได้ไกลมาก และติดต่อผ่านการปนเปื้อนเสมหะ-น้ำมูก-น้ำลาย โดยเฉพาะติดผ่านมือที่ไปป้ายข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ

โรคนี้มักจะทำให้เกิดอาการหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเีสีย และทำให้น้ำย่อยนมลดลงไปนานประมาณ 2 สัปดาห์

การล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ หรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ช่วยลดความเสี่ยงโรคนี้ได้

ถ้าเป็นโรคนี้... ควรลดปริมาณนมลงครึ่งหนึ่ง เช่น ถ้าเคยดื่มนมครั้งละ 1 กล่อง ควรลดลงเหลือ 1/2 กล่อง เว้นห่างไป 4 ชั่วโมงแล้วค่อยดื่มส่วนที่เหลือ

...

(11). เลือกเท่ ให้ถูกท่า

ท่าเดินและยืนมักจะทำให้เมารถเมาเรือน้อยกว่าท่านั่งหรือนอนนานๆ

...

(12). หลังเดิน ทางนานๆ

หลังเดินทางโดยรถหรือเรือนานๆ อาจเกิดอาการ "เมาบก (landsickness)" ได้ เนื่องจากสมองปรับตัว หรือปรับจังหวะโยกเยกให้เข้ากับการเดินทางได้แล้ว และปรับตัวเข้ากับแผ่นดินนิ่งๆ ยังไม่ได้

อาการ "เมาบก" มักจะหายไปได้เองภายใน 1-2 วัน 

...

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

[ Twitter ]

ที่ มา                                                         

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 25 มิถุนายน 2553.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 369350เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2010 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขนาดเป็นพยาบาลยังรู้ไม่มากขนาดนี้มาก่อน ขอบคุณค่ะ

ผมเองก็ไม่ค่อยรู้เรื่องเหล่านี้เท่าไหร่ อาศัยความรู้จากครูบาอาจารย์ในเว็บไซต์ที่อ้างอิงไว้เช่นกันครับ...

มีอาการเมาขณะว่ายน้ำ แก้ไขอย่างไรได้คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท