สัมภาษณ์นายกสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ศาสตราจารย์ นายแพทย์วุฒิชัย  ธนาพงศธร ประธานคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในระดับสถาบันมหาวิทยาลัยมหาสารคาม วงรอบปีการศึกษา 2552 ได้ดำเนินการสัมภาษณ์ท่าน อำนวย ปะติเส นายกสภาฯ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2553 ณ หน่วยประสานงาน มมส ชั้น 14 สกอ.

ดังบทสัมภาษณ์ต่อไปนี

อาจารย์วุฒิชัย 1. วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ไม่ไปด้วยกันเลย คือ ยุทธศาสตร์วางไปจนถึงแข่งขันไปสู่ระดับโลก ดังนั้นวิสัยทัศน์ต้องปรับใหม่ให้ชัดขึ้น แล้วทางสภามหาวิทยาลัยได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง

ท่านนายกสภาฯ - ในเบื้องต้น ณ ตอนนั้น มหาวิทยาลัยยังไม่ได้ถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆ เช่น กลุ่มวิจัย กลุ่มผลิตบัณฑิต และกลุ่มอื่นๆ ดังนั้น การบริหารครั้งนี้ จะดำเนินการอย่างแน่ชัด สิ่งไหนที่สามารถดำเนินการไปได้ ก็ดำเนินการต่อไปแต่สิ่งไหนที่ไม่สามารถดำเนินการได้ ก็ไม่ต้องฝืนมัน

- มหาวิทยาลัยมีนโยบายและตั้งเป้าหมายไว้ คือ เรื่อง Management โดยเฉพะเรื่อง financial based ระบบการเงิน ซึ่งเมื่อมีการตรวจ การเงินก็จะตก และสิ่งที่ไม่เคยเห็นเลย คือ Cost Accounting ดังนั้น สภาฯ จึงได้มีการดำเนินงานเรื่องนี้ โดยมีทีมงานนักธุรกิจที่เข้มแข็ง เช่น คุณอินทวี คุณสุนทร คุณสมเกียรติ และนายกสภาฯ โดยนำ Train driver activity weight accounting ไปจับ ให้ได้ unit cost รายคณะ แล้วคิด based ออกมาทั้ง 3 มิติ และดูทีละรายหลักสูตร นั่นคือ หลักสูตรนี้ ณ ห้องเรียน มีรายรับ รายจ่ายเท่าไหร่ และในวันนี้มีกำไรเท่าไหร่ และตรวจสอบในคณะว่ามีกำไรในแต่ละหลักสูตรเท่าไหร่ อีกทั้ง ในภาพรวมของมหาวิทยาลัย คิด unit cost รายหลักสูตรทั้งหมด โดยไม่นำงบประมาณรัฐบาลมาคิด ซึ่งข้อมูล ปี 2552 มีแล้ว และมีนโยบาย 5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะจัดระบบงบประมาณใหม่ และมาตรฐานในการปรับปรุงระบบบัญชี โดยมหาวิทยาลัยมีคณะกรรมการพัฒนาปรับปรุงระบบบัญชีพัสดุ และใช้ Time Bucket ระบบงบดุล ซึ่งจะสามารถมองเห็นว่าอาจารย์แต่ละคนวิชานี้ ชั่วโมงนี้เท่าไหร่ สอนภายในและสอนภายนอกเป็นอย่างไร ซึ่งเป็น activity weight ที่เด่นชัด และปีนี้ได้พิจารณา Bucket ของมหาวิทยาลัย โดยพิจารณาเป็นรายคณะ รายหลักสูตร ซึ่ง คณะกรรมการสภาฯ ในครั้งนี้จึงใช้ระยะเวลาในการประชุมงบประมาณค่อนข้างนาน คือ 3 วัน ซึ่งแต่ก่อนจะใช้เวลาแค่ 3 ชั่วโมง เช่น พิจารณาเรื่องสัดส่วนอาจารย์ เนื่องจากคณะบอกว่าขาด ดังนั้นคณะต้องการงบประมาณเท่าไหร่ โดยต้องมองความคุ้มทุนด้วย นั่นคือ อาจารย์ 1 คน ก่อให้เกิดรายได้กี่บาท และอีกกี่ปีจะก่อให้เกิดความคุ้มทุน

2. แสดงว่าท่านนายกสภาฯเน้นกลยุทธ์การเงินมาจับเลย

- ใช่

3. แต่เมื่อดูยุทธศาสตร์ทั้ง 8 ยุทธศาสตร์ที่ประกาศ ยังไม่เด่นเท่าที่ท่านนายกสภาฯกล่าว ท่านสามารถอธิบายได้หรือไม่ และต้องมีการปรับยุทธศาสตร์ใหม่หรือไม่

- ณ ตอนนั้น เรื่องประกาศ คือ เรื่องที่มหาวิทยาลัยสามารถทำได้ แต่ ณ ตอนนี้มหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการตามนโยบายที่กล่าวข้างต้นได้แล้ว

4. ถ้าอย่างนั้น ท่านคิดว่าจะไปปรับยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ใหม่หรือไม่

- ปี 2552 คือสิ่งที่ผ่านไปแล้ว

5. คราวนี้ในปี 2553 อาจจะต้องมีการปรับยุทธศาสตร์ใหม่หรือไม่ โดย 1) ปรับกลยุทธ์ด้านการเงิน ซึ่งต้อง declare ให้ชัดเลยว่า ยุทธศาสตร์ที่ 5 กลยุทธ์การเงิน เหมือนกับที่ท่านได้อธิบายไว้

- ใช่

6. ตอนนี้สภามหาวิทยาลัยได้ลงมติแล้วว่าเลือกกลุ่ม ข2 กลุ่มผลิตบัณฑิตและพัฒนาสังคมแล้วใช่หรือไม่

- ใช่ เพราะมันไม่มีทางเลือก

7. ในรอบ 3 นี้ เมื่อมหาวิทยาลัยเลือกกลุ่ม ข2 แล้ว เมื่อพื้นฐานมหาวิทยาลัยแน่นแล้ว อีก 5 ปีข้างหน้า มหาวิทยาลัยสามารถที่จะเปลี่ยนกลุ่มได้ โดยอาจจะไปเลือกกลุ่มวิจัยได้ ซึ่งตอนนี้มติสภามหาวิทยาลัยได้ยืนยันอยู่กลุ่ม ข2 แล้วใช่หรือไม่

- ใช่

8. ถ้าอย่างนั้นตอนนี้ก็ชัดเจน เราสามารถเทียบเคียงวิสัยทัศน์ได้

- ทางเดินตอนนี้สภาไม่รีรอ โดยใช้ระบบงบประมาณมาบังคับทางเดินของมหาวิทยาลัย เช่น การของบประมาณการวิจัย ก็ต้อง defense ให้ผ่าน ถ้าไม่ผ่านก็ไม่ได้งบประมาณ และเรื่องแผนบริหารการเงิน 5 ปีของมหาวิทยาลัย จะใช้แผนรายปี โดยสภาฯ ทำหน้าที่เหมือนสำนักงบประมาณ

- ในระบบที่จะเปลี่ยนตอนนี้ คือระบบการประดาหน้าจากมหาวิทยาลัยไปสู่คณะ ซึ่งคณะจะต้องทำงาน

9. การวางแผนที่จะมอบอำนาจ และการเซ็นคำรับรอง คือรับมอมต่องานกัน จากอธิการลงไปสู่คณบดีและลงไปถึงอาจารย์

- ระบบนี้มีอยู่ใน กพร. อยู่แล้ว แต่ไม่ได้เชื่อระบบ กพร. แต่เชื่อระบบอำนาจทางการเงินมากกว่า เพราะฉะนั้นเขาสามารถเขียนอะไรเยอะแยะก็ได้ แต่สุดท้ายเงินไม่ได้ โดยตอนนี้มหาวิทยาลัยมีทีมการเงินที่เข้มแข็งมาก ดังนั้น ทุกคณะต้องจับ cost มาดู ดูรายหลักสูตร และคณะต้องสามารถตอบ unit cost  ได้ โดยมหาวิทยาลัยมีงบประมาณสนับสนุนคณะ 900 ล้านบาท จากงบประมาณทั้งหมด 2,000 กว่าล้านบาท โดยคณะต่างๆ สามารถมายืมเอาไปใช้ได้ และต้องคืนมหาวิทยาลัย ซึ่งอีก 5-10 ปีข้างหน้ารายได้ทางธุรกิจการศึกษาก็ไม่เพียงพอ ซึ่งมหาวิทยาลัยที่มีรายได้เพียงพอ คือมหาวิทยาลัยที่มี Asset เยอะๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด (Return On Assets : ROA) 2% สภาฯ จะทำให้ขึ้นถึง 5%

10. ระบบการประเมินคุณภาพภายใน ของ สกอ. ตอนนี้เขามองภาพรวมว่า ทุกๆปี สภาฯ จะต้องมีการประเมินผลงานตนเอง แล้วในปี 2552 สภาฯ ยังไม่มีการเขียน Self Study Report  (SSR) ของสภาฯ ใช่หรือไม่

- ใช่ เพราะสภาฯ พึ่งตั้งใหม่ และคิดว่าจะเริ่มในปี 2553

11. สภาฯ จะต้องมีการประเมินตนเอง รวมถึงกรรมการสภาก็ต้องมีการประเมินตนเองเหมือนกัน แล้วท่านนายกสภาฯ คิดว่ากรรมการสภาฯ จะยอมหรือไม่

-  ก็ต้องทำไป ถ้าไม่ยอมก็ให้ต่างคนต่างทำ เราก็พูดกัน คุยกันได้ เพราะเป็นสภาฯใหม่ พึ่งตั้งใหม่

12. ท่านนายกสภาฯ บอกนโยบายไปแล้วใช่หรือไม่ว่าทุกๆ ปี สภาฯจะต้องมีการประเมินผลงานตนเอง

- คือตอนนี้บอกไปแล้วว่าเราเป็น Good Governance เป็นมหาวิทยาลัย Good Governance และองค์ประกอบของ GG คืออะไรบ้าง ซึ่ง GG ที่เป็นมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยใช้ทุกวันนี้ คือ มาตรฐานของวิสาหกิจ เราไม่ไปถึงเอกชน แต่ GG นำมาจับเหมือนมาตรฐานของ ธกส

13. แล้วกรรมการบอร์ด ยอมหรือไม่

- ในที่สุดก็ต้องทำได้

14. เท่าที่ทราบในหลายมหาวิทยาลัย คือ กรรมการบอร์ด บางท่านไม่ยอมรับในเรื่องของการถูกประเมิน แล้วมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีปัญหาหรือไม่

- มหาวิทยาลัยมีผู้ทรงคุณวุฒิ 14 คน

15. มีตัวบ่งชี้ ที่แน่ชัดหรือไม่ในการดำเนินงานของกรรมการสภาฯ เป็นรายปี คือ วันนี้จะประเมินตนเองหลังจากที่กรรมการสภาฯ ดำเนินงานไปแล้ว

- มหาวิทยาลัยมีการประเมิน CEO และประเมินบอร์ด ซึ่งการประเมินบอร์ดในปี 2552 ยังไม่ได้ดำเนินการ แต่ครั้งนี้จะมีการวางแผน นั่นคือ ปี 2553 เมื่อครบ 1 ปี จะมีการประเมินตนเอง โดยเริ่มการประเมิน ทั้งสภาฯ และคณบดี

16. มหาวิทยาลัยมีระบบการประเมินอธิการ รองอธิการ และคณบดีแล้วหรือยัง

- มี ซึ่งเป็นระบบเก่า ซึ่งยังไม่ work ตอนนี้ก็เริ่มพิสูทธิ์แผนกับผลของคณบดีและอธิการ ดูแผนเป็นรายเดือน และดูงบประมาณทางการเงินดูงบดุล กำไร ขาดทุน ของคณะและมหาวิทยาลัย ดังนั้น เมื่อนำผลกับแผนมาพิจารณา และนำ กพร. มาประกอบการพิจารณา ก็สามารถประเมินอธิการและคณบดีได้

17. ตอนนี้คณบดี และอธิการทราบแล้วใช่หรือไม่

- ทราบ ซึ่งปี 2552 ได้ดำเนินการแล้ว โดยสภาฯเป็นผู้ดำเนินการให้

18. มีประเด็นนิสิตค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับอาจารย์ และคุณภาพของอาจารย์เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ของ สกอ. แล้วพบว่ายังไม่ได้คุณภาพ

- ต้องเทียบกับมหาวิทยาลัยเอกชน เทียบ cost คือ อาจารย์ 1 คน 5 ล้าน ลงทุนล่วงหน้า มีการดูแลรับผิดชอบนิสิตที่จบ คือ 1) ผู้ประกอบการต้องการนิสิตแบบไหน 2) มหาวิทยาลัยต้องรับผิดชอบว่าเรียนที่ มมส แล้วมีงานทำ 3) เน้นการเรียนการสอน และการฝึกงาน ฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพ

19. ซึ่งตอนนี้ก็ให้นโยบายแล้วใช่หรือไม่

- ใช่  เช่น คณะการบัญชีและการจัดการ ซึ่งอาศัยการบริหารจัดการด้วยตนเองล้วน นโยบาย ก็คือ ไม่มีเงินจากรัฐบาล ก็สามารถอยู่ได้

20. มหาวิทยาลัยมีปัญหาเรื่องระบบ IT ค่อนข้างมาก

-  ใช่ ซึ่งนายกสภาฯ คนเก่าได้วางระบบไว้ค่อนข้างใหญ่

21. ตอนนี้ สภาฯรับผิดชอบเรื่องอะไรบ้าง

-  IT

-  การเงิน

-  HR (Human Resources) ซึ่งค่าตอบแทน ณ ตอนนี้ค่อนข้างสูงกว่าปกติ

22. มหาวิทยาลัยมีปัญหาเรื่อง HR ค่อนข้างมาก ดังนั้นต้องมีคนที่เก่ง และรู้เรื่องนี้จริงๆ

- ใน HR มีคนทำงานกว่าสามร้อยชั่วโมง และแต่ละคนก็ทำงานไม่เท่ากัน คนที่ทำงานมากก็จะได้เงินเดือนมาก คนที่ทำงานน้อยก็จะได้เงินเดือนน้อย ซึ่งได้ให้นโยบายแก่คณบดีแล้ว

23. หลายมหาวิทยาลัยจะติดเรื่องระบบการบริหารงาน เนื่องจากคนที่เป็นราชการจะมี Limit เงินเดือน แล้วอาจารย์มีการวางระบบแล้วหรือยัง

- ตอนนี้มีแล้ว ซึ่งในวาระ 1 ปี 5 เดือนนี้ สภาฯจะทำระบบพวกนี้ให้เสร็จ และจะเปลี่ยนระบบการจ้างพนักงาน

24. มหาวิทยาลัยได้ออกระเบียบค่าตอบแทน Top up เพื่อวางระบบแล้วหรือยัง ดังเช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

- มหาวิทยาลัยจะดู Performance ของแต่ละคน ซึ่งคณบดีแต่ละคณะก็ไม่จำเป็นต้องได้เงินเดือนเท่ากัน

25. ถ้าเปิดเผยเรื่องเงินเดือนจะมีปัญหาค่อนข้างมาก

- ใช่

26. ในวิสัยทัศน์ได้กล่าวถึงการเป็นนานาชาติ แล้วท่านนายกสภาฯ มีนโยบายเรื่องนักศึกษานานาชาติอย่างไรบ้าง

- มหาวิทยาลัยจะเน้นแต่นักศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) เท่านั้น เช่น จีน ลาว เวียดนาม และเขมรคือทำได้เท่าที่จะทำได้ โดยเน้นว่า เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในบ้านนอก จะต้องทำให้บ้านนอกมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ผู้ปกครองถึงจะส่งลูกมาเรียนที่นี่ นั่นคือ ทำให้แถบอีสานเจริญได้

27. สภาฯ ควรใช้เวลาช่วงนี้ปรับฐานให้แน่น

- ใช่ ถ้าไปได้ก็ไปเลย

28. ท่านนายกสภาฯ มีนโยบายการปรับสิ่งแวดล้อม ร้านคาราโอเกะหรือไม่ 

- ได้มีนโยบายแก่อธิการไปแล้ว โดยทำ marketing plan คือนิสิตต้องมาก่อน โดยต้องบุกเรื่องภายในมหาวิทยาลัยมากกว่าภายนอก ดูรอบมหาวิทยาลัยให้สะอาดก่อน

29. ถ้าหอพักไม่เพียงพอ จะให้เอกชนมาดำเนินการแทนหรือไม่

- สภาฯ ได้ให้นโยบายแล้ว โดยเรามีเงิน 1,000 ล้าน เพื่อสนับสนุนเรื่องนี้

30. มหาวิทยาลัยหลายๆแห่ง มองไปถึง TQA (Thailand Quality Award) แล้วสภาฯ คิดเรื่องนี้อย่างไรบ้าง

- ตอนนี้มีคณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะการบัญชีและการจัดการ ได้ประเมิน TQA แล้ว คือ สภาฯ จะมองแบบนักธุรกิจ เป็น unit คณะไหนไปได้ก็ไป

31. ตอนนี้ท่านนายกสภาฯ คิดว่าอะไรเป็นจุดแข็งของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

- เรื่องศิลปวัฒนธรรม ซึ่งต่อไปมหาวิทยาลัยจะทำเรื่องเกษตรและอุตสาหกรรม คือธุรกิจเกษตร เพราะว่าสร้างบัญชีขึ้นมาได้ โดยให้บัญชีและเกษตรอยู่ด้วยกัน มมส จะทำให้เกษตรกรเข้มแข็ง

32. ณ ตอนนี้วิสัยทัศน์ของ มมส ต้องชัดเจน

- ใช่ คือมี 3 เรื่อง คือ creative ด้านศิลปวัฒนธรรม ธุรกิจเกษตร และการดูแลสุขภาพคนแก่

33. ท่านนายกสภาฯ มีเรื่องฝากกลับไปในการประเมินหรือไม่ เพราะรายงานต้องถูกส่งไปยังสภาฯ

- สิ่งที่เป็นปัญหา คือการผลักดันระหว่างสภาฯ ลงไปข้างล่าง คือ ไม่ได้ 100%  เมื่อลงไปถึงเจ้าหน้าที่เขาจะไม่เข้าใจอย่างซาบซึ้ง ดังนั้น จึงช่วยผลักดัน วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ ลงไปสู่ตัวบุคคล

34. มีบางคณะยังไม่ร่วมทำ หรือดำเนินการใช่หรือไม่

- ดำเนินการโดยเฉพาะคณะใหม่ แล้วคณะเก่าก็จะเดินตามมา

- มหาวิทยาลัยจะทำ road map รายตัวบุคคล

35. แล้วท่านนายกสภาฯ ไม่คิดที่จะออกนอกระบบใช่หรือไม่ เพราะการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการเหมือน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล

- ทำแต่ไม่เขียนโดยจะไม่เอากฎหมายไปบังคับใคร แต่เอาเรื่องเงินมาเป็นตัวบังคับ

- เงินที่จ่ายกลับไปจะ ขึ้นอยู่กับการทำงาน ให้มีคุณภาพ คือมีงานแล้วเอาเงินไป ไม่ใช่เอาตำแหน่งมาแล้วเอาเงินไป

 

น้ำหนึ่ง

10 ก.ค. 53

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 373526เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2010 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท