สมุนไพรที่มีการขยายพันธุ์ ณ สวนสมุนไพรจันทบุรี


สืบเนื่องจากการดำเนินโครงการกระจายกล้าพันธุ์สมุนไพร ของสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพาะขยายพันธุ์โดยสวนสมุนไพร จันทบุรี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในวันนี้ (๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๖ (ขอนแก่น) จัดประชุม

“การนำเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การแพทย์และสมุนไพรมาใช้ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขต ๑๑ และ ๑๒”

โดยมีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล เฉลิมพระเกียรติฯ ในเขต ๑๑ และ ๑๒ โดยหน้าที่มีการสนับสนุนกล้าพันธุ์สมุนไพร ณ ปัจจุบันนี้ ๒๔ ชนิด มีเสียงเรียกร้องจากห้องประชุมว่า

“ช่วยเอารูปและข้อมูลด้านสมุนไพร ของทั้ง ๒๔ ชนิด รวบรวมให้ทราบโดยทั้งกัน”

จึงขอใช้พื้นที่แห่งนี้รวบรวมรายละเอียดของสมุนไพร เหล่านี้คือ

๑. กระเทียมเถา

๒. กระเบา

๓. กานพลู

๔. ชะมวง

๕. ตะขาบหิน

๖. ตะไคร้หอม

๗. บุนนาค

๘. ปลาไหลเผือก

๙. ปัญจขันธุ์

๑๐. พลูคาว

๑๑. พิกุล

๑๒. พิลังกาสา

๑๓. พญายอ

๑๔. เพชรสังฆาต

๑๕. ฟ้าทะลายโจร

๑๖. มะเกลือ

๑๗. มะขามป้อม

๑๘. มะคำดีควาย

๑๙. มะหาด

๒๐. รางจืด

๒๑. สะค้าน

๒๒. หนาด

๒๓. หนุมานประสานกาย

๒๔. หญ้าหนวดแมว

 

จะค่อย ๆ หาข้อมูล ค่อย ๆ เขียน หากผิดพลาดประการใด หรือ ท่านใดมีคำแนะนำเพิ่มเติม หรือมีองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรเหล่านี้มาแลกเปลี่ยน ก็ขอเชิญได้เลยนะคะ

หมายเลขบันทึก: 378127เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2010 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

..ยายธีสนใจและต้องการผู้ที่มีความรู้ในด้าน ต้นไม้สมุนไพร วิจัยสมุนไพรไทยและชาวบ้านที่มีประสพการณ์เกี่ยวกับต้นยาได้มาพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความรู้...(ในป่าที่ยายธีปลูกไว้หรือที่อื่นๆในทำนองเดียวกัน)...ซึ่งก็มีต้นยาที่ปลูกไว้..หรือที่ขึ้นเอง...ปัญหาที่ประสพชาวบ้านไม่สามารถไปถึงแหล่งความรู้ด้าน วิทยาศาตร์และการผลิต...ความรู้อยู้ในตำราและแวดวงความรู้ไม่มีการจัดสรรค์แบ่งปัน...ผู้รู้แบบหมอชาวบ้านก็กลายเป็นหมอผีไปจริงๆ...ต้นไม้ที่เป็นยาก็จะศูนย์พันธุ์ไปเพราะป่าไม่มี...แผ่นดินศูนย์ค่าความเป็นดินเพราะถูกเปลี่ยนค่าไปในทางที่ผิดๆ...หากจะช่วยกันคิดช่วยกันทำ..ชาวบ้านก็จะมีทางช่วยตัวเองได้บ้าง..กว่าจะไปถึงหมอ..ในต่างจังหวัดซึ่งมีความยากลำบากพอสมควร..เท่าที่ประสพมาด้วยตนเอง...(สำหรับผู้รู้แวะเยี่ยมเยียนเราได้ที่ กลางดิน www.Glangdin.spaces.live.de

และหวังว่าคงจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะเปิดไปสู่ความคิดอื่นๆที่อาจจะมีตามมา...ขอบคูณค่ะ..ยายธี)

...แก้ไข...ที่เขียนผิดไป..www.glangdin.spaces.live.com ยายธี

  • สมุนไพรไทย ๆ มีคุณค่า ช่วยชีวิตคนไทยมาแต่โบราณ
  • ผมเจอเรื่องพลูคาว ในเว็บไซต์หนึ่งครับ จึงเอามาฝาก

ขอขอบคุณข้อมูลทั้งหมดจากแหล่งข้อมูลด้านล่างนี้ครับ

ร้านภูมิไท

พลูคาว จากล้านนา..โกอินเตอร์ฯพืชสมุนไพรที่น่าจับตา กับความหวังผู้ป่วยมะเร็ง

“พลูคาว” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Houttuynia cordata Thunb เป็นพืชสมุนไพรประจำถิ่นที่พบมากในแถบภาคเหนือของไทย และยังพบในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย อินเดีย เรื่อยมาจนถึงจีน เวียดนาม ลาว เกาหลี และญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลู ชอบขึ้นในพื้นที่ชื้นแฉะ มีร่มเงาเล็กน้อยและสภาพอากาศเย็น โดยจะมีลักษณะแตกต่างจากพลู คือ ที่ใต้ใบของพลูคาวจะ มีสีแดงอ่อนไปจนถึงสีแดงเข้ม ชาวบ้านในเขต ภาคเหนือจะเรียกว่า “ผักคาวตอง” เนื่องจากต้นและใบจะมีกลิ่นคาวรุนแรงคล้ายคาวปลา ซึ่งส่วนใหญ่นิยมนำใบมาเป็นผักเคียงใช้บริโภคสดกับอาหารประเภทลาบหรือหลู้ ส่วนจีนจะใช้พลูคาวในตำรับยาหลักนับเป็นสมุนไพรชั้นสูง

จากข้อสังเกตว่า จำนวนประชากรในภาคเหนือเป็น “โรคมะเร็ง” ค่อนข้างน้อย เนื่องจากบริโภคพลูคาวเป็นประจำ และหมอแผนโบราณเคยใช้พลูคาวมารักษาผู้ป่วยริดสีดวงทวาร ทำให้หายเจ็บปวดโดยไม่ต้องทำการผ่าตัด ทำให้คณะนักวิจัยซึ่ง ประกอบด้วย รศ.มณเฑียร เปสี, ศ.น.พ.พงษ์ศิริ ปรารถนาดี, รศ.น.พ.สุขชาติ เกิดผล, ผศ.ดร.วิจิตร เกิดผล และผศ. ดุษฎี มุสิกโปดก คณะแพทย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยขอนแก่น สนใจที่จะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้พลูคาวรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

เบื้องต้นคณะนักวิจัยได้นำพลูคาวจากแปลงเกษตรอินทรีย์ที่สวนดอยหลวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกพลูคาวตามระบบเกษตรอินทรีย์กว่า 30 ไร่ มาวิจัยและทดลองผลิตเป็นยาน้ำสมุนไพรบำรุงร่างกาย โดยผ่านกรรมวิธีการหมักและผสมผสานระหว่างศาสตร์ซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมกับเทคโน โลยีชีวภาพ (NanoTechnology) ใช้สมุนไพรพลูคาวเป็นสารตั้งต้น

ขณะเดียวกันคณะนักวิจัยยังได้ทราบข้อเท็จจริงว่า สีแดงที่อยู่ใต้ใบพลูคาวเป็นตัวชี้วัดว่ามีเภสัชสาร ซึ่งเป็นสารเฮลตีแบคทีเรีย มีจุลินทรีย์และแลคโตบาซิลลัสสายพันธุ์หนึ่ง ที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายของมนุษย์ให้ทำงานได้ดีขึ้น ทั้งยังสามารถไปยับยั้งการเจริญเติบโตและต้านทานเนื้องอก (Anti-tumor) และช่วยต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้ค่อนข้างดี

หลังจากที่สกัดเป็นยาน้ำ และผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมแล้ว ได้นำยามาทดลองในผู้ป่วยมะเร็ง 5 ชนิด คือ มะเร็งปอด มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งปากมดลูก เนื้องอกบริเวณสมอง และเนื้องอกของ Soft tissue sarcoma โดยให้ผู้ป่วยดื่มบำรุงร่างกาย และใช้ร่วมกับการรักษาของคณะแพทย์โดยการฉายรังสี ปรากฏว่า สามารถช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายผู้ป่วยมะเร็งได้ ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้มากขึ้นทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นและยืดอายุของผู้ป่วยได้นานขึ้นด้วย ซึ่งดีกว่าการรักษาด้วยการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว

ในปี 2548 นี้ ได้ส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปทดลองตลาดในกลุ่มสหภาพยุโรปหรืออียูและสิงคโปร์พบว่าได้รับการตอบรับจากลูกค้าที่เชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยค่อนข้างมาก มีมูลค่าการส่งออกรวมกว่าประมาณ 25 ล้านบาท แบ่งเป็น อียู 15 ล้านบาท สิงคโปร์ประมาณ 10 ล้านบาท สำหรับปี 2549 นี้ ได้ตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าส่งออกไว้ ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท โดยมีตลาดส่งออกหลัก คือ กลุ่มอียู และลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม หากใช้รักษาควบคู่กับการฉายรังสีซึ่งเป็นวิธีแพทย์แผนปัจจุบัน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้มากยิ่งขึ้น

จากประสิทธิภาพของพลูคาวที่ผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศเริ่มยอมรับ และเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทำให้ขณะนี้มีคณะแพทย์และเภสัชกรจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เริ่มหันมาสนใจที่จะศึกษาวิจัยสมุนไพรพลูคาวเพิ่มเติม รวมกว่า 10 โครงการวิจัย เพื่อเป็นความหวังและต่ออายุให้กับผู้ป่วยมะเร็งในอนาคต

หากงานวิจัยประสบผลสำเร็จ “พลูคาว” จะกลายเป็นพืชสมุนไพรสร้างชาติได้ในพริบตา ซึ่งเป็นพืชที่น่าจับตามองอีกพืชหนึ่ง

ที่มา: หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์

v

สรรพคุณช่วยยืดอายุของผู้ป่วยให้อยู่ ‘สู้โรค’ ได้นานขึ้น

พลูคาว หรือที่เรียกกันว่า ผักคาวตอง หรือก้านตอง เป็นไม้เลื้อยล้มลุก เป็นพืชตระกูลเดียวกับพลู แต่อายุอยู่ได้หลายปี ขึ้นอยู่ตามแถวภาคเหนือ ลำต้นจะเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน รากแตกออกตามข้อ ทั้งต้นมีกลิ่นคาวอย่างรุนแรง คล้ายปลาช่อน การขยายพันธุ์โดยปักชำ ชอบขึ้นตามริมห้วย หรือที่ชื้นแฉะริมน้ำมีร่มเงาเล็กน้อยในสภาพอากาศที่เย็น
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปทรงคล้ายรูปหัวใจกว้าง โคนใบเว้า ปลายใบแหลม ขอบใบ มีก้านใบยาว ใต้ใบจะมีสีแดงอ่อนถึงสีแดงเข้ม โคนก้านแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกบานมีใบประดับที่โคนดอกสีขาว 4 กลีบ แต่ละช่อมีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก อัดกันแน่นเป็นแท่งทรงกระบอกสีจะออกเหลืองอ่อน ผล เป็นผลแห้งแตกได้

 

สรรพคุณ

- รักษาโรคมะเร็ง โดยเฉพาะเกี่ยวกับมะเร็งปอด มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งปากมดลูก
- เนื้องอกในสมอง
- ริดสีดวงทวาร โดยไม่ต้องผ่าตัด
- โรคกามโรค
- โรคผิวหนัง
- ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- เพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาว รักษาอาการอักเสบต่าง ๆ เช่น ฝีอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ตาอักเสบ ตับอักเสบ ไตอักเสบ
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อรา หูชั้นกลางอักเสบ

พลูคาวจะนำมาต้มโดยให้ผู้ป่วยดื่มบำรุงร่างกาย และใช้ร่วมกับการรักษาของคณะแพทย์โดยการฉายรังสี ปรากฏว่า สามารถช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายผู้ป่วยมะเร็งได้ ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้มากขึ้นทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นและยืดอายุของผู้ป่วยได้นานขึ้นด้วย ซึ่งดีกว่าการรักษาด้วยการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว

พลูคาวจึงนับได้ว่าเป็นพืชที่เป็นความหวังสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งเป็นอย่างมาก และนอกจากโรคมะเร็งแล้วก็สามารถที่ยังรักษาโรคอื่น ๆ ได้อีก

ที่มา: ขจรพรรณ  ชัยเดช Team Content www.thaihealth.or.th

ผักคาวทอง

ชื่ออื่นๆ คาวตอง(ลำปาง,อุดร)คาวทอง(มุกดาหาร,อุตรดิตถ์)ผักก้านตอง(แม่ฮ่องสอน)ผักเข้าตอง,ผักคาวตอง,ผักคาวปลา(ภาคเหนือ)พลูคาว(ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Houttuynia cordata Thunb.
วงศ์ SAURURACEAE
ชื่อสามัญ -
ชื่อพ้อง -
นิเวศวิทยา
ถิ่นกำเนิดอินโดจีน,จีน,ประเทศไทยพบตามที่ชื้นแฉะริมน้ำทางภาคเหนือหรือปลูกไว้เป็นยาหรืออาหาร
ออกดอก ฤดูร้อน
ขยายพันธุ์ เมล็ด ปักชำ
ประโยชน์ ยอด,ใบรับประทานสดกับลาบ,ก้อย,ขนมจีนทั้งต้นรสฉุน,ขับปัสสาวะแก้บวบน้ำฝีบวมอักเสบปอดอักเสบ
หลอดลมอักเสบไอบิดผื่นคันโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะและริดสีดวงทวาร
ข้อห้าม ห้ามรับประทานมากเกินไปจะทำให้หายใจสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นพืชขนาดเล็กสูง15-50เซนติเมตรลำต้นส่วนที่แตะดินจะมีรากแตกจากข้อใบออกสลับกัน
ตัวใบคล้ายรูปหัวใจฐานใบเว้าเข้ายาว3-8เซนติเมตรกว้าง4-6เซนติเมตรขอบใบเรียบปลายใบแหลมมีจุดโปร่งแสงทั่วทั้งตัว
ใบและมีขนสั้นๆเล็กน้อยท้องใบมักมีเส้นใบสีม่วงอ่อนก้านใบยาว1-4เซนติเมตรหูใบเป็นแผ่นยาวบางติดกับก้านใบขอบหูใบมีขนสั้นๆดอกออกเป็นช่อ
ที่ยอดช่อดอกมีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมากติดกันแน่นเป็นแท่งทรงกระบอกสีขาวออกเหลืองยาวประมาณ2เซนติเมตรและมีกลีบรองช่อดอก4กลีบ
เป็นแผ่นยาวปลายมนสีขาวแต่ละกลีบยาวประมาณ 2เซนติเมตรดอกย่อยมีเกสรตัวผู้3อันมีก้านเกสรตัวเมีย1อันผลกลมรีส่วนบนมีรอยแยก3รอย
ผลอยู่ติดกันแน่นเป็นแท่งทรงกระบอกเมล็ดกลมรี

อยู่จันทบุรีค่ะ

อยากรู้ว่ามีใครหรือที่ไหนเป็นตัวแทนขายหรือมีขายสมุนไพรพลูคาวในจนทบุรีบ้างคะ

อยากลองทานจริงๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท