..ตำรา AI ใช้ไม่ได้..จะทำยังไง..


Appreciative Inquiry

"ขอเรียนถามอาจารย์ว่า สำหรับผู้สนใจ AI ที่ยังไม่มีประสบการณ์มากมาย สิ่งที่หวังจะใช้เป็นที่พึ่งในก้าวแรกของการทำ AI Project คือความรู้ในตำรา ถ้าหากสิ่งที่ตำราเขียนไว้มันไม่ work (ซึ่งก็แอบสงสัยว่าทำไมคนเขียนไม่เขียนเรื่องที่มัน work จริงๆซะเลย) นั่นแปลว่ามือใหม่จะต้องผ่านประสบการณ์ลองผิดลองถูกด้วยตนเองกว่าจะพบวิธีที่ "work" ใช่หรือเปล่าคะ คนที่ไม่มีที่ปรึกษาจะเอาชีวิตรอดได้อย่างไร ในทางปฏิบัติเรามีเวลาสำหรับการลองผิดมากเท่าไหร่จึงจะพบทางที่ถูกคะ"

เป็นคำถามที่ได้รับจากผู้สนใจเมื่อวาน เลยจะตอบวันนี้ครับ คำถามนี้แยกเป็นประเด็นได้ดังนี้

1. ถ้าหากสิ่งที่ตำราเขียนไว้มันไม่ work (ซึ่งก็แอบสงสัยว่าทำไมคนเขียนไม่เขียนเรื่องที่มัน work จริงๆซะเลย)

คำตอบคือ

ที่ใช้ได้คือ.แนวคิดพื้นฐานที่ว่า..ในทุกระบบมีสิ่งดีๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ สิ่งดีๆที่ว่าทำให้ระบบดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด" ตรงนี้เป็นอะไรที่จริงครับ

แต่ที่บอกว่าไม่ work นี่คือประสบการณ์ส่วนตัวของผมครับ.. ท่านอื่นที่ใช้อาจบอกว่าใช้ได้ตรงทุกตัวอักษรก็ได้.. แต่เท่าที่ผมเจอมากับตัวคือ เดินตามตำราตรงๆไม่ได้ครับ..คือต้องปรับหน่อย (หรือบางทีมากๆ) โดยเฉพาะคือวิธีการ ขั้นตอน การทำ AI แบบในหนังสือครับ..ตั้งแต่การถามคำถาม..บางทีถามไป ก็งงๆ นึกไม่ออก ก็ต้องใช้ซัก...หรือถามแล้วซักยังไงก็ไม่รู้ว่าตัวเองมีอะไรดีๆ ตรงนี้เราใช้จับถูก..สิ่งเหล่านี้ตำราไม่ได้ว่าไว้..บอกว่ายากไหม..เราถึงตั้งกลุ่ม AI Thailand ขึ้นมาก็เพื่อสังสมประสบการณ์ และเผยแพร่ความรู้ที่เรามี (เท่าทีมีครับ) และถ้าท่านสงสัย ก็ยินดีเล่าให้ฟังครับ..

สำหรับเรื่องที่ทำไมผู้เขียนไม่เขียนให้มันถูก..ก็ต้องบอกว่าที่ผู้แต่งตำราเขียนก็ work ของท่านครับ..แต่เรื่องราวที่เกิดขึ้นมันเกิดขึ้นคนละบริบท เช่น case ของเขามีคนร่วมหลายพันครับ..ของเราบางทีมีคนเดียว..จะให้เหมือนกันผมว่ามันก็ยาก..ที่สำคัญคือ..บ้านเราไม่ใช่จะตอบคำถามกันง่ายๆ..บางคนนึกไม่ออกครับ..ก็ต้องปรับเปลี่ยนขั้นตอนกันเล็กน้อย..บาง case ปรับมาก บาง case ปรับน้อย..ผมว่านิสัยคนเอเชียกับคนอเมริกันต่างกันครับ (ผู้เขียนเรียนป.โท ที่อเมริกา..รู้สึกสุดๆ ว่าต่างกันครับ)

2. แปลว่ามือใหม่จะต้องผ่านประสบการณ์ลองผิดลองถูกด้วยตนเองกว่าจะพบวิธีที่ "work" ใช่หรือเปล่าคะ

ตอบ ใช่ครับ..แม้กระทั่งมือเก่าก็ต้องลองผิดลองถูก โดยเฉพาะระยะแรกๆครับ..ในทุกองค์กรไม่ได้มีสภาพแวดล้อม แรงกดดันเหมือนกันครับ..ข้อเสนอแนะของผมคือ ให้เริ่มจาก Discovery ครับ...ก็ตั้งเป้าถามให้ได้อย่างต่ำ 30 คน แต่ระยะแรก ลอ'สักสองสามคน..ถ้าเขาตอบไม่ได้ก็ซักเอา..ไม่เกิน 5 คนจะปรับแนวได้เอง..ถ้าเขาตอบไม่ได้ ก็พยายามให้เขาเล่าถึงจุดเปลี่ยน..เช่น ให้เล่าจุดเปลี่ยน จากตอนรู้สึก เฉยๆ กับที่ทำงาน มามีความสุข...ตอนนั้นเกิดอะไรขึ้น..ให้เขาเล่าเป็นฉากๆ..ครับ

พอถามสัก 30 คน คุณจะเกิด idea เอง ว่าจะขยายผลอะไรครับ..อันนี้เห็นมากับตา..ผู้ทำจะคิดได้เอง..

จากนั้นขยายผลสัก 5 Discovery ครับ..ไม่ต้องทำตาม 4-D ครับ..Discovery แล้ว DO เลย พอตอนท้ายๆ ก็จะเริ่มคิดเป็น Dream ได้เอง..

3. คนที่ไม่มีที่ปรึกษาจะเอาชีวิตรอดได้อย่างไร

อันนี้ตอบไปเมื่อว่า มีนักศึกษาป.เอก ชาว AI Thailandท่านหนึ่ง แทบไม่เคยคุยกันเรื่องเทคนิค แต่ท่านก็ดู case จาก AI Thailand ท่านก็ออกแบบโครงการได้เอง ทำจนจบครับ..ดูที่ www.aithailand.org ครับ case ทั้งที่ผมและที่ Assumption University กำลังเพิ่มมากขึ้น คุณจะหาตัวอย่างได้ไม่ยาก

สำหรับที่ปรึกษา ไม่ต้องห่วงครับ ในเครือข่ายเรามีคนจบ Ph.D. ด้าน AI กว่า 4 คน (รวมผม) และมีมีชาว AI เก่งๆหลายท่านครับ ยินดีแนะนำให้ครับ..โดยจะดูจากเรื่องราวที่ไกล้กัน..และทำเลที่ตั้งให้ (เรามีหลายจังหวัดครับ-ไปดูของจริงเลยก็ได้)

4. ในทางปฏิบัติเรามีเวลาสำหรับการลองผิดมากเท่าไหร่จึงจะพบทางที่ถูกคะ

โดยทั่วไปไม่เกิน 5 วันก็ผ่าน Discovery ไปแล้ว ส่วนทั้ง 4-D ประมาณเดือนหนึ่งครับ 4-D ที่สั้นที่สุดของเราก็ประมาณ 3-4 วัน โดยเฉลี่ยก็สักเดือนครับ..

ขอให้โชคดีนะครับ..มีอะไรก็ถามได้ครับ..ประสบการณ์ยังไม่มาก แต่ก็พอให้คำตอบได้บ้าง..

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 379465เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2010 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนท่านอาจารย์ภิญโญ

   แวะมาศึกษา AI ด้วยคนนะคะ ตามความคิดของดิฉันนะคะ ตำราคือสิ่งที่เราใช้อ้างอิงแต่ไม่ใช่ทุกสิ่งของคำตอบค่ะ ดิฉันชอบค้นคว้าและแหกตำราบ่อยๆจนอาจารย์ที่สอนชินค่ะ อ้อ! ถ้ามาแบบนี้ไม่ใช่ครายที่ไหน มีคนเดียวนี่แหละ

ตอบคุณยาย

ผมเชื่อว่านี่คือโอกาสที่เราจะพัฒนาองค์ความรู้ของไทยได้เลยครับ..ในสาขานี้ยังมีช่องว่างสำหรับการเติบโตอีกเยอะครับ..

สวัสดีค่ะ

มาเรียนรู้ต่อค่ะ

ที่ว่าหนังสือบางเล่มไม่ work เป็นไปได้ไหมคะ ว่าเรื่องราวในหนังสือยังไม่ตรงกับจุดประสงค์ที่แท้จริงที่เรากำลังต้องการ "ในช่วงเวลานั้น" น่ะค่ะ

เพราะสำหรับดิฉัน บางช่วงซื้อหนังสือเล่มหนึ่งมาเพราะต้องการแค่ย่อหน้าเดียวมาใช้อ้างอิง แต่เมื่อเวลาผ่านไป(บางทีหลายๆเดือนเลยค่ะ) จะเขียนเรื่องอื่น กลับได้อีกหลายย่อหน้าในหนังสือเล่มเดิมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ค่ะ

( อิอิ มองเพียงแค่ข้อมูลในการเขียนนะคะ ไม่ได้มองกว้างอย่างอาจารย์ค่ะ)

ตอบคุณณัฐรดา

ผมว่าที่คุณพูดนี่ตรงประเด็นเลยครับ..เคยเจอแบบเดียวกัน.บางเล๋มซื้อมา ใช้จริงๆ ปีที่ 10 ก็มีครับ..เพราะบางครั้งเนื้อหายังไม่สอดคล้องกับ วิถีของเราในขณะนั้น..

ผมจะเขียนเรื่องนี้ต่อๆไปครับ..

ขอบคุณสำหรับความเห็นเพิ่มเติมครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท