๓๔.ย้อนรอยบุกเบิกดินแดนบ่าเลาะ


          การเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและรากเหง้าของตนเองจะทำให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจและเป็นพื้นฐานของการสร้างความรัก ความสามัคคีสู่ความเข้มแข็งของชุมชนและท้องถิ่น  และเด็ก ๆ ที่ค่ายฯนี้มีความสนใจเรื่องราวความเป็นมาของหมู่บ้านห้วยปลาหลดเป็นอย่างมาก  ทำให้พวกเราได้เรียนรู้ไปด้วยกัน

          ลาหู่เป็นชนเผ่าชาวเขาเผ่ามูเซอที่มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ  เมื่อวงสนทนาของพวกเราเจาะลึกเหมือนเป็นการสร้างร่องรอยของเราให้อยากรู้อยากเห็นมากเข้าไปเรื่อย ๆ เรายุติการสนทนาแต่ไม่ยุติวิธีการอยากรู้ของพวกเรา  โดยจะต้องมีผู้รู้ ผู้แก่ผู้เฒ่าที่สามารถถ่ายทอดได้

         พ่อเฒ่าช่างตีเหล็ก ปรากฏตัวขึ้นด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม  และนั่งลงใกล้ ๆเตาไฟสี่เหลี่ยมของบ้านจะสื่อผู้ใหญ่บ้านทางการ  และป้อนคำถามแรกว่า “จะถามเพื่อนำข้อมูลไปเผยแพร่ที่ไหนหรือลงสื่ออะไร

        “ถามเพื่ออยากรู้ความจริงของหมู่บ้านและถ่ายทอดให้เด็ก ๆ ที่นี่ได้รู้ครับผม”  หนานเกียรติรีบตอบอย่างหนักแน่น   ทันทีผู้ใหญ่จะสื่อและชัยรีบมานั่งลงใกล้ ๆ ล้อมวงรอบเตาไฟ เพื่อแปลความหมายของภาษาลาหู่ของพ่อเฒ่าให้พวกเราเข้าใจ  พ่อเฒ่าเล่าผ่านล่ามว่า “ชื่อปาดื่อ คีรีมาศอนุรักษ์  พร้อมกับส่งบัตรประชาชนให้หนานเกียรติดู ”  จึงได้ทราบว่าพ่อเฒ่ามีอายุ ๘๔ ปี  ต่อมามีปู่จารย์และหมอผีตามมาสมทบ  วงสนทนาเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ และทำให้เกี่ยวพันไปถึงทายาทของ ”จะเคาะ” ผู้บุกเบิกดินแดน “บ่าเลาะ” ลุ่มลำน้ำห้วยปลาหลด  จึงไปเชิญตัวมาร่วมเป็นผู้ให้ความรู้

          ชาวลาหู่ที่ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในพื้นที่จังหวัดตากนั้น   มาจากพื้นที่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และจาก ดอยช้าง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ครั้งแรกได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บริเวณบ้านอุ่มเปี้ยม อำเภออุ้มผาง จังหวัดและโยกย้ายเปลี่ยนทำกินไปที่บ้านแม่ละมุ้ง และบ้านหัวแม่ละเมา (ป่ากุ่ย) อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

          ภายหลังสงครามโลกได้ ๒-๓ ปีชาวลาหู่ที่บ้านหัวแม่ละเมาจำนวนหนึ่งได้ย้ายไปที่หมู่บ้านมูเซอหลังเมือง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มีนายจะเข๊าะเป็นผู้นำกลุ่มชาวบ้าน   และอีกจำนวนหนึ่งมีนายตูบูป่า ได้นำไปอยู่ในพื้นที่ดอยมูเซอ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสถานีทดลองพืชสวนดอย

ก้าวที่เติบใหญ่ของมูเซอ

          ชาวลาหู่ได้ย้ายเข้ามาตั้งบ้านเรือนในพื้นที่ดอยมูเซอมากขึ้น กระทั่งเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีประชากรกว่า ๑๕๐ หลังคาเรือน และแต่งตั้งให้นายตูบูป่าเป็นปู่จารย์อยู่ประมาณ  ๑๐ กว่าปี  นายตูบูป่าได้นำชาวบ้านจำนวนหนึ่งย้ายไปอยู่ที่บ้านมูเซอหลังเมือง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนชาวบ้านที่เหลืออยู่ได้แยกออกเป็นสองกลุ่ม

          กลุ่มแรกมีนายจะแคะ เชื้อสายจีนฮ่อและลาหู่เฌเล พาชาวบ้านประมาณ ๕๐ ครอบครัว ไปตั้งบ้านเรือนที่บ้านเก่า หรือบ้านอุมยอม ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ภายหลังนายจะแคะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปู่จารย์

          กลุ่มที่สองมีนายกะส่า ได้นำชาวบ้านประมาณ ๓๐ ครอบครัว ไปตั้งบ้านเรือนที่บ้านมูเซอแสม (สะ-แหม) ปัจจุบันคือบริเวณริมเส้นทางสายตาก – แม่สอด ช่วงปากทางแยกเข้าอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช (บริเวณ ก.ม. ที่ ๒๕) โดยมีนายกะส่าเป็นปู่จารย์ และมีนายจะหา เป็นผู้ใหญ่บ้าน

          ชาวลาหู่บ้านมูเซอแสมตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ประมาณ ๘ ปี ได้ถูกทหารรับจ้างชาวจีนฮ่อทำหน้าที่คุ้มกันการสร้างถนนสายแม่สอด-อุ้มผาง และป้องกันการโจมตีของ ผกค. แล้วจะเดินทางกลับไปยังหมู่บ้านเดิมที่จังหวัดเชียงราย พวกจีนฮ่อเหล่านี้พบกับความขาดแคลนจึงเป็นเหตุที่ให้เข้ามาปล้นหมู่บ้าน   ได้มีการสู้รับระหว่างชาวลาหู่กับทหารรับจ้างชาวจีนฮ่อ  ซึ่งชาวลาหู่มีเพียงหน้าไม้เป็นอาวุธต่อสู่อย่างกล้าหาญโดยไม่มีผู้ใดถึงแก่ชีวิตจากการสู้รบ ส่วนเด็ก ผู้หญิงและคนเฒ่าคนแก่ต่างก็พากันหลบหนีเข้าป่าไป

          การเข้าของจีนฮ่อนั้น  ทำให้นายจะหาถูกทหารจีนฮ่อจับไปทรมานเพื่อบังคับให้บอกที่ซ่อนเงินแถบซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่เก็บซุกซ่อนไว้ เมื่อทหารจีนฮ่อได้เสบียงและทรัพย์สินแล้วก็ปล่อยตัวนายจะหา จากนั้นก็ล่าถอยเดินทางต่อไป

          หลังจากชาวบ้านถูกปล้นแล้ว ก็อยู่ในภาวะที่ตระหนกตกใจ และเห็นว่าพื้นที่ตั้งหมู่บ้าน ณ ปัจจุบัน ไม่ปลอดภัย จึงพากันอพยพย้ายไปสมทบกับชาวลาหู่ที่บ้านเก่าหรือ บ้านอุมยอม ซึ่งชาวบ้านที่เคยอยู่ด้วยกันเมื่อย้ายเข้ามาตั้งบ้านเรือนในพื้นที่ดอยมูเซอในครั้งแรก  ขณะนั้นนายจะแคะยังทำหน้าที่เป็นปู่จารย์

หมายเหตุ : บันทึกฉบับนี้น้องหนานเกียรติมีต้นฉบับมาให้ต่อเติมค่ะ

                อ่านเพิ่มเติมได้จากที่นี่ค่ะ http://gotoknow.org/blog/kgeneral/382391

หมายเลขบันทึก: 382657เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2010 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สวัสดีคะพี่คิม

มาเรียนรู้ประวัติศาตร์ด้วยคนคะ

ได้ยินชื่ออมก๋อยเลยตามมาค่ะ

โชคดีได้เรียนรู้ประวัติชนพื้นเมือง

มีประวัติจึงมีรากเหง้าค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ปล.อ่านเมล์ของพี่หรือยังคะ

 

ตามมาดูด้วยคนครับ มีผู้เฒ่าเต็มเลยน่าศึกษา

เจอคำถามแรกของท่านผู้เฒ่า ก็ทราบเลยว่าคงได้คุยมีอรรถรส ถึงพริกถึงขิง จ. ตาก มีมนต์เสน่ห์ ยังมีอะไรน่าสนใจให้เรียนรู้อีกเยอะเลยนะคะพี่คิม อิ่มอร่อยมื้อเย็น ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะน้องไก่ประกาย~natachoei ที่~natadee

ดีใจที่ชาวขอนแก่นจะได้พบปะพี่น้องชาวบล็อกอีกแล้วนะคะ  พี่คิมส่งเสื้อไปให้ไก่ในซองเดียวกับกระติกนะคะ

บันทึกนี้ช่วยกันเขียนกับน้องหนานเกียรติค่ะ

สวัสดีค่ะคุณพี่krutoiting

อ่านแล้วค่ะ  กำลังรอการตัดสินใจและกะเวลาว่าจะกลับมาจากระบี่ทันไหม  ปรากฏว่าไม่ทันค่ะ  คงต้องขอโทษพี่ต้อยเป็นอย่างมากค่ะ  โอกาสหน้าคงได้รับใช้กันใหม่นะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์น้องขจิต ฝอยทอง

น่าสนใจทุกเรื่องราวค่ะ ผู้เฒ่าผู้แก่รู้ภาษาไทยค่ะ  แต่เราไม่สามารถเข้าใจภาษาของลาหู่เลยค่ะ

เป็นภาษาที่สะกดเป็นเสียงภาษาไทยได้ยากมาก ๆ

สวัสดีค่ะน้องpoo

พี่คิมว่า "พ่อเฒ่า" คงผ่านงานมาแล้วค่ะ  คิดว่าพวกเราจะสัมภาษณ์ไปลงสื่อ  ยังต้องเล่าต่อ ๆ ไปอีก และไปตามเก็บคำตอบต่อในคราวหน้าค่ะ

ได้เรียนรู้เรื่องราวของผู้คนที่หลากหลาย  ช่วยขยายมุมมองเรื่องโลกและชีวิตได้มากเลยครับ

ตามมาอ่านจนถึงแก่นเลยค่ะพี่คิม  แสดงว่าชาวมูเซอทางตากกับทางเชียงใหม่  ก็คือคนอันเดียวกันนั่นเอง  เป็นพี่เป็นน้องที่แยกไม่ออกเลยจริงๆ

มีความสุขกับค่ำคืนนี้นะคะ..

สวัสดีค่ะท่านรองฯsmall man

ท่านรองฯ คงสบายดีนะคะ  ขอขอบคุณที่มาอ่านเรื่องราวของบ้านห้วยปลาหลดค่ะ  บันทึกนี้ช่วยกันเขียนกับน้องหนานเกียรติค่ะ

สวัสดีค่ะคุณkrugui Chutima

อันนี้เพิ่งเริ่มจะเป็นหมู่บ้านนะคะ ยังมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงอีกมากค่ะ  รอติดตามอ่านอีกนะคะ

ตามมาเยี่ยมค่ะ  พี่คิม

น่าสนใจมากค่ะ

สวัสดีค่ะน้องครูอรวรรณ

น้องสบายดีนะคะ  พี่คิมและน้องหนานเกียรติช่วยกันเรียบเรียงบันทึกฉบับนี้ค่ะ

  • มาเรียนรู้ที่มาของชุมชนชาวลาหู่ ที่บ้านห้วยปลาหลด กับพี่ครูคิมด้วยคนครับ
  • ขอบคุณความรู้ครับ

ยังตามอ่านอย่างไม่ลดละค่ะพี่ครูคิม ..รากเป็นเรื่องสำคัญต้นไม้ทุกต้นโดนตัดรากไม่ได้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

เรื่องความเป็นไปเป็นมาของรากเหง้า ของบรรพบุรุษ ที่ยังมีปูชนียบุคคลยังมีชีวิตอยู่ และอายุมากแล้ว ท่านจะมีความรู้ ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน  ที่เคยผ่านประสบการณ์มากมายในท้องถิ่นตน  การเอาตัวรอด  ถ้าเราได้มีโอกาสถามไถ่ หรือสอบถาม โดยเฉพาะ อาชีพดึกดำบรรพ์ ที่ยังหลงเหลือ และความดี ความสามารถ ของท่านทั้งหลาย ถ้ารุ่นลูกรุ่นหลานได้ทราบได้เรียนรู้ ก็จะเป็นประโยชน์ทีเดียว  และได้จดบันทึกไว้ให้รุ่นหลังได้อ่านได้เรียนรู้  จะเป็นตำนานต่อไป

-เรื่องที่พี่ครูคิมพร้อมน้องหนานเกียรติสืบค้นสอบถามมาให้อ่าน น่าสนใจมากคะ โดยเฉพาะแต่ละท้องถิ่น  จะมีผู้รู้ หรือที่เรียกหรือยกให้เป็น ปราชฌ์ชาวบ้าน  ที่จะทำอะไร ก็ต้องยกให้เป็นที่ปรึกษา

-มีแต่ปูชนียบุคคล ทั้งนั้นเลย  ถึงแม้วันใดท่านทั้งหลายจากไป ก็คงจะมีเรื่องที่พี่ครูคิมพร้อมน้องหนานเกียรติ เก็บไว้ให้นักศึกษา ได้มาสืบค้นหาข้อมูลเหล่านี้ ในอนาคต ที่เป็นอดีตไป ถ้าสุว่าง จะมาอ่านย้อนรอยหมดเลยคะ

-คิดถึงพี่ครูคิมมากนะคะ แต่เวลาไม่มีพอจะมาเยี่ยม ช่วงที่เคยได้เล่น ก็ง่วงนอนแล้ว เพราะจะต้องพาหลานนอนแล้ว ห่างไม่ได้ งอแง

-เรื่องไปขอนแก่น 27 สิงหาคม 53 คงไป แต่จะไปแบบมีพี่เลี้ยง เอาหลานไปด้วย เพราะทิ้งห่างกันไม่ได้ หรือไม่ก็ไม่ไปเลย เลือก อย่าง

-พี่ครูคิมจะมาหรือเปล่าคะ

-และเรื่องเสื้อ ไม่ได้ติดต่อกันเลย เป้นอย่างไรบ้างหนอ

-ขอบคุณที่พี่ครูคิมคิดถึงนะคะ ตอนนี้สุกระเซอะกระเซิง ยายเพิ้งเพราะเลี้ยงหลาน ถ้าพบกันจะเห็นความเปลี่ยนแปลงมากๆๆเลยคะ

 

-ในภาพ เห็นน้องแมว เห็นฐานกระบะ ใส่ดิน ทำเป็นที่ก่อไฟ ในบ้าน ต้มน้ำ ผิงไฟได้เลย  เพราะอากาศหนาวใช่ไหมคะ น้องหนานเกียรติ ทำให้คนแก่มีความสุขเล่นกีตาร์ให้ฟังด้วย  บ้านทำด้วยไม้ไผ่ ภูมิปัญญาชาวบ้าน อากาศคงจะถ่ายเทดีนะคะ

-พื้นบ้านเป็นไม้หรือไผ่คะ น่าสนใจคะ ขอบคุณคะ ไปหละคะ

สวัสดีค่ะคุณครูธนิตย์ สุวรรณเจริญ

การจัดค่ายนักเรียนที่บ้านห้วยปลาหลด  เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญและน่าทึ่งมากนะคะ  จะกลับไปเก็บเกี่ยวเอาประสบการณ์จากที่นั่นอีกครั้งค่ะ

สวัสดีค่ะคุณกานดา น้ำมันมะพร้าว

ขอขอบคุณน้องดาค่ะ ที่มาเยี่ยมให้กำลังใจ บันทึกต่อไปนี้ไม่สนุกค่ะ  เพระเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นมาของห้วยปลาหลดค่ะ

สวัสดีค่ะน้องManee

ขอขอบคุณกับข้อคิด คำคมค่ะ "รากเป็นส่วนสำคัญ" โดยเฉพาะรากเหง้านะคะ

สวัสดีค่ะคุณสุ-มหาวิทยาลัยชีวิต ที่ไม่มีวันปิดทำการ

ขอขอบคุณกับเม้นท์ที่จุใจค่ะ ความคิดเห็นของคุณสุมีคุณค่าเสมอค่ะ  จะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้นะคะ

สำหรับงานที่ขอนแก่น คงไม่ได้ไปค่ะ เพราะแก่แล้วคงเหนื่อยกับการเดินทางมากกว่าค่ะ

สวัสดีคะมาหาพี่คิมทีไรไม่เคยผิดหวังซักที มีอะไรดีๆมาให้ดูเสมอ น่าไปเที่ยวจังเลย

สวัสดีค่ะน้องสายยนต์

ถ้ามีโอกาสแวะไปนะคะมีที่พักแบบรีสอร์ทและโฮมสเตย์บริการค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท