คำย่อ HA ที่ควรรู้ (Update)


HA มีคำย่อเพิ่มเติมที่ควรรู้

SPA  สรพ. พยายามปรับรูปแบบการประเมินตนเองให้ง่ายขึ้น เป็นรูปธรรม จับต้องได้มากขั้น โดยเปลี่ยนแนวทางการเดิมการเขียนแบบประเมินตนเอง Self Assessment เป็น SPA โดยแต่ละบทจะมีรายละเอียด มาตรฐาน (ซึ่งมีการขยายความมาตรฐานครอบคลุมแนวคิดที่ทีมงานควรศึกษาให้เข้าใจ)  กิจกรรมที่ควรดำเนินการ (เป็นเหมือน GUIDE LINE กิจกรรมอย่างง่ายเป็นประเด็นๆ) และประเด็นที่ควรตอบในแบบประเมินตนเองโดยสรุป (เป็นการเน้นย้ำเนื้อหาสาระที่ทีมงานควรสนใจและตอบให้เห็นภาพในแบบประเมินตนเองเป็นพิเศษ)  อีกนัยนึงทำให้ผู้อ่าน SPA สามารถรู้ว่าตนทำได้ระดับไหนเทียบกับมาตรฐาน และควรจะทำอะไรอย่างไร เพื่อให้บรรลุตามที่มาตรฐานกำหนดไว้สู่การปฏิบัติอย่างเห็นภาพได้ชัดขึ้น   

S = Standard

P = Practice

A = Assessment

 

SIMPLE คือ Patient Safety Goal  เป็นการประมวลแนวทางการป้องกันความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยที่ พรพ.(สรพ.) ได้จัดทำไว้ในปี 2551 เพื่อเป็นแนวทางให้โรงพยาบาลต่าง ๆ วางแผนการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวที่จะสร้างความมั่นใจต่อความปลอดภัยให้กับผู้รับบริการ

S = Safe Surgery

I = Infection Control

M = Medical Safety

P = Patient Care Process

L = Line Tube Catheter Disconnect

E = Emergency Response

 

3P เป็นแนวทางอย่างง่ายในกระบวนการพัฒนาคุณภาพเรื่องใดเรื่องนึง โดยประกอบไปด้วย ทำไมต้องทำคุณภาพเรื่องนั้น , กระบวนการทำ ทำอย่างไร และผลลัพธ์ที่ดีจากการดำเนินการเป็นอย่างไร เหมาะอย่างยิ่งในการสรุปเขียนกระบวนการพัฒนาคุณภาพแบบหน้าเดียว (One Page Summary)

P = Purpose

P = Process

P = Performance

 

3C-PDSA เป็นหลักพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพ นำมาจากแนวคิดของ MBNQA/TQA มาสร้างเป็น Model มาสร้างเป็น Model ที่เข้าใจง่าย กล่าวคือ 3C เป็นเรื่องของแนวคิดและการวางแผนในการพัฒนา ส่วน PDSA เป็นการบวนการลงมือทำ

C = Core Value

C = Criteria

C = Context

P D S A = Plan Do Study Act

 

VSM = Value Stream Mapping หมายถึงแผนภูมืสายธารแห่งคุณค่า เป็นการวิเคราะห์กระบวนการทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับผลงาน ตั้งแต่เริ่มต้ร จนกระทั่งส่งมอบคุณค่าให้แก้ผู้รับผลงาน แสดงถึงความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจน

 

Appreciative Inquiry หมายถึงการสำรวจ ค้นหา มองหา แก่นด้านบวก (ความสำเร็จ นวตกรรม จุดแข็ง โอกาส ความเหนือชั้น) ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน (4D)

D = Discovery ค้นหา สิ่งที่เป็นแก่นสารดีๆ ที่เป็นเรื่องราวเชิงบวกขององค์กร (Positive Core)

D = Dream จินตนาการสิ่งที่เป็นไปได้เมื่อองค์กรสามารถทำได้ดีที่สุด

D = Design ออกแบบ สร้างข้อเสนอที่กระตุ้น เสริมพลังให้ทำในสิ่งที่ไม่ธรรมดา

D = Destiny จุดหมายปลายทาง ช่วยผู้นำพัฒนาทักษะที่จำเป็นวางโครงสร้างพื้นฐาน ระบบงาน เพื่อเคลื่อนไปข้างหน้า

 

SIPOC Model เป็นกรอบแนวคิดการตอบสนองผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยพิจารณาว่าใครคือลูกค้า ลูกค้ามีความต้องการอะไร เราจะตอบสนองความต้องการนั้นได้อย่างไร ใช้กระบวนที่เหมาะสมเป็นอย่างไรที่คุ้มค่าคุ้มทุน ปัจจัยนำเข้า และผู้ส่งมอบคือใคร ความจริงแล้ว น่าเปลี่ยนเป็น COPIS มากกว่าเพราะเป็นการมองผู้รับผลงานเป็นตัวตั้ง

S = Suppliers

I = Input

P = Process

O = Outputs

C = Customers

 

BHAG หมายถึงเป้าหมายที่อาจหาญ ยิ่งใหญ่ และสุ่มเสี่ยง แต่เป็นประเด็นที่ท้าทายองค์กร ถ้าทำสำเร็จจะเกิดผลลลัพธ์ที่ฝันอยากจะเห็นใน อีก 20 – 30 ปีข้างหน้า

B H A G = Big  Hairy(Risky)  Audacious  Goal

 

GROW Model หมายถึงโมเดลการเป็นโค้ชอย่างง่าย ๆ เป็นแนวทางการพูดคุย จับประเด็น และ Empower ให้กับทีมงานที่จะต่อยอดสู่เป้หมายได้เร็วและง่ายขึ้น โดยใช้วิธีการมองหาแก่นด้านบวกนำมาประยุกต์ใช้ร่วมด้วย (AI = 4D) ดูคำอธิบายด้านบนก่อนหน้านี้ครับ

G = Goal อยากเห็นผลอะไร

R = Reality กำลังเกืดอะไรอยู่ในปัจจุบัน

O = Option จะทำอะไรได้บ้าง

W = Wrap Up ตัดสินใจจะทำอะไร

 

EI3O เป็นการให้คะแนนเพิ่มสำหรับกระบวนการพัฒนาคุณภาพเรื่องใดเรื่องนึง โดยมุ่งเน้นการเพิ่มคะแนนที่ผลลัพธ์ จากคะแนนที่ได้มาจากการประเมินอย่างง่าย 1-3 (1 = เพิ่งเริ่มทำในเรื่องง่าย , 2 = ระบุที่มาของปัญหา ปัญหาสำคัญของเรื่องนั้นๆโดยมีการวางระบบงาน เริ่มนำไปปฏิบัติ ,3 = มีการปฏิบัติในพื้นที่สำคัญอย่างถูกต้อง เหมาะสม ครบถ้วน เห็นผลของการบรรลุเป้าหมายข้อกำหนด)  นำคะแนนแต่ละข้อย่อยมาถ่วงน้ำหนักและหาค่าเฉลี่ยรวมของหัวข้อ จากนั้นพิจารณาเกณฑ์ EI3O มาเพิ่มคะแนนด้านผลลัพธ์ ซึ่งคะแนนเต็ม 4.95 (ใกล้เคียงกับ 5)  ถ้าโรงพยาบาลเข้าใจการให้คะแนนแบบนี้น่าจะทดลองคะแนนตนเองดูดังนี้

Evaluation and Improvement เพิ่ม 5-15%

Integration เพิ่ม 5-10%

Innovation เพิ่ม 5-10%

Outcome เพิ่ม 10-30%

 

4 วง 6 Track 8Tracing

ขอบคุณครับคุณเจษฎา ที่แนะนำให้เขียนเรื่องนี้

แนวคิดการติดตามรอยกับการประเมินตามมาตรฐานตอนที่ 3 (Patient Care Process)

หลายคนคนคุ้นเคยกับ 4 วงที่ประกอบด้วย

วงหน่วยงาน วงกลุ่มผู้ป่วย วงระบบงาน และวงใหญ่สุดคือวงองค์กร

ตอนนี้ สรพ.ได้ใช้การตามรอย (Trace) แต่ละวงโดยแบ่งออกเป็น 6 Track  8 Tracing ดังนี้

วงหน่วยงาน  ประกอบด้วยหนึ่งแทรค

Track ที่ 1. Unit Optimization เป็นการตามรอยคุณภาพของแต่ละหน่วยงาน ให้หน่วยงานได้มีการวิเคราะห์หน่วยงานตนเองเพื่อหาโอกาสพัฒนา ด้วยวิธีการต่างๆอย่างต่อเนื่อง  เช่น  การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า   การวิเคราะห์และจัดทำบัญชีความเสี่ยง (risk profile)  การวิเคราะห์กระบวนการหลัก  การทบทวน 12 กิจกรรมทางคลินิก

วงกลุ่มผู้ป่วย  ประกอบด้วยสองแทรค

Track ที่ 2. Patient Safety ซึ่งจะประกอบด้วยการตามรอย AE อุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์

และตามรอย SIMPLE โดยวิธีนี้จะเอา Evidence Base ของ SIMPLE เป็นตัวตั้ง

Track ที่ 3. Clinical Population  โดย Trace นี้เน้นกลุ่มโรคของผู้ป่วย   โดยจะตามรอย Clinical Tracer ใช้กระบวนการออกแบบดูแลผู้ป่วย ไปตามรอย

และตามรอยผู้ป่วยแต่ละราย เหมือนกับการสะกดรอยตามรอยการดูแลรักษาผู้ป่วยจริงๆ

วงกลุ่มระบบงาน  ประกอบด้วยหนึ่งแทรค

Trace ที่ 4. Standard Implementation ซึ่งจะตามรอยมาตรฐาน และ SPA

วงกลุ่มองค์กร  ประกอบด้วยสองแทรค

Trace ที่ 5. Strategic Management ตามรอยแผนกลยุทธ์

Trace ที่ 6. Self Assessment ตามรอยการประเมินตนเอง

 

ลองฝึกซ้อมตามรอยให้ครบทั้ง 6 Track 8 Trace จะทำให้ทีมงานพัฒนากระบวนการเรียนรู้การพัฒนาคุณภาพ และการเฝ้าระวังความเสี่ยงได้ดีขึ้น

ใครมีเรื่องที่น่ารู้อีกช่วย Comment เพิ่มเติมอีกนะครับ  เผยแพร่ให้ผู้อื่นเรียนรู้ร่วมกัน

 

คำสำคัญ (Tags): #คำย่อ ha (update)
หมายเลขบันทึก: 403092เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2010 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 05:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • ห่างไปนาน ขอมาอัพเดทกับอาจารย์นะคะ
  • ส่วนตัวเองยัง งองู สองตัวอยู่เลยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์...สั้นๆ เอาไว้ทบทวนตนเอง อาจารย์เพิ่มในเรื่อง 6 track ด้วยซิคะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์..ได้อ่านแล้วเมือนได้ทบทวนConceptใหญ่ๆ ค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ได้อ่านแล้วก็ทำให้รู้เพิ่มขึ้นมาหน่อย แต่อยากรบกวนอ. สอนแนวคิด 3P ด้านอำนวยการให้หน่อยนะคะว่าคิดยังไง

ด้านอำนวยการ ก็เหมือนกันแหละครับ

หลักแนวคิดแบบเดียวกัน

เช่น P purpose เช่น เป้าหมาย สิ่งที่คาดหวังของงานคืออะไร หรือเรื่องอะไรที่ยังมีปัญหา / ความเสี่ยงอยู่

นำมาทบทวน ทำเป็นแนวทาง Guideline , CQI , ปรับปรุงระบบให้ดีขึ้นเป็นต้น แบบนี้คือ P process

P performance คือการติดตามผลลัพธ์ที่ออกมา (น่าจะกำหนดเป็นตัวชี้วัดเพื่อเปลียบเทียบ ก่อน หลัง Procees)

เฉลิมพงษ์ สุคนธผล

รบกวน อาจารย์ช่วยแนะนำการเขียน service profile หน่อยค่ะ ตอนนี้กำลังงง ต้องเขียน service profile หน่วยไตเทียมค่ะ ถ้ามีตัวอย่าง ก็ดีมากๆ ค่ะ

kookai <samui hospital>

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท