๗๘.พลังของ Story Telling กับตัวอย่างการหา Exploratory Conceptual Model ให้เป็นของตนเอง


สร้างกรอบจัดการความรู้และพัฒนาการเรียนรู้สะสมต่อยอดทุนประสบการณ์ตนเอง
จากการเล่าและสื่อสะท้อนทรรศนะต่อประสบการณ์ทางศิลปะอย่างเชื่อมโยง

ผมลองนำเอาวิธีวิเคราะห์ Thematic Analysis กับ Content Analysis ซึ่งเป็นวิธีการทั่วไปของการวิจัยเชิงคุณภาพ มาบวกกับวิธีทำงานความคิดของการทำงานศิลปะเพื่อเรียนรู้ไปกับประสบการณ์และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพี่นงนาท สนธิสุวรรณ จึงขออนุญาตคุณพี่นงนาทท่าน ที่จะถือโอกาสนำเอาการเล่าถ่ายทอดแนวคิดจากแง่มุมเล็กๆของพี่มาเป็นตัวอย่างนะครับ คิดว่าจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะเป็นประโยชน์สำหรับเครือข่ายบล๊อกเกอร์และเครือข่ายการเรียนรู้ของ GotoKnow ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนไม่น้อยที่รู้จักและคุ้นเคยกับการทำ Story Telling หรือการเล่าเรื่องอย่างมีพลัง

ในทางการวิจัยและการพัฒนากระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมนั้น การเล่าเรื่องและถ่ายทอดประสบการณ์เล็กๆน้อยๆของปัจเจก รวมไปจนถึงกลุ่มคนและชุมชนที่เป็นการรวมตัวกันในกรอบต่างๆนั้น นอกจากจะเป็นกิจกรรมสังคม(Social Action)และเป็นวิธีสื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่มีความร่วมกันที่สุดของมนุษย์ทุกผู้ทุกนามมาแต่ดั้งเดิม (Commons Attributes of Human Being) แล้ว ก็สามารถนำมาใช้เป็น Methodology และเครื่องมือเชิงกระบวนการสำหรับการวิจัยได้เป็นอย่างดีในหลายขั้นตอนครับ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างทฤษฎีขึ้นจากประสบการณ์ตรงของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องสำหรับเรื่องที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือเรื่องที่ต้องการเข้าใจด้วยวิถีทรรศนะใหม่ๆ และสร้างกรอบเพื่อจัดการความรู้หรือนำไปสู่การตรวจสอบด้วยการวิจัยให้ซับซ้อนมากยิ่งๆขึ้น ซึ่งจะทำให้ได้ตัวปัญญาและความรู้ที่สมดุลในสองมิติ ทั้งเชื่อมโยงกับความเป็นสากลได้และสะท้อนมิติสังคมวัฒนธรรมหรือมีบริบท ซึ่งเป็นงานความรู้และการสร้างตัวปัญญาที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าแนวทางอื่นๆ

การเล่าประสบการณ์ทางศิลปะ มีความผสมผสานกับการเกิดประสบการณ์ทั้งกับโลกภายนอกและประสบการณ์ภายในจิตใจตลอดจนกระบวนการทางความคิดของปัจเจก ดังนั้น จึงเป็นทักษะการเล่าที่ไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างทั่วไปของทุกคน ทำให้คนทั่วไปเห็นแต่ด้านความเป็นปัจจัตตังของการทำงานศิลปะ แต่ไม่สามารถเชื่อมโยงประสบการณ์และกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางศิลปะ ให้เข้าสู่ภาวะความเป็นหนึ่งกับวิธีการอื่นๆได้ ตัวอย่างจากพี่นงนาท สนธิสุวรรณ จะทำให้เห็นแนวการศึกษาและพัฒนาตนเองจากกิจกรรมทางศิลปะในมิติที่กล่าวมาข้างต้นนี้ได้เป็นอย่างดี

 ที่มาของการบันทึกและหยิบเอาแง่มมุมนี้มาศึกษา มาจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสนทนากันของพี่นงนาท สนธิสุวรรณ[คลิ๊กเพื่ออ่านและทำความรู้จักเพิ่มเติมที่นี่] กับท่านอื่นๆและผม ที่บันทึก  ๓ องค์ประกอบหลักที่นักวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม PAR ต้องเรียนรู้ให้ทำได้และทำเป็น  จากบล๊อก สุขภาวะชุมชน : Methodology & Field Experiences ใน วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ที่ http://gotoknow.org/blog/healthycom/403388

การศึกษาให้สามารถฟังการเล่าเรื่องหรืออ่านการบันทึกถ่ายทอดได้อย่างมีความหมาย ได้ทั้งความเข้าใจซาบซึ้งและเกิดการเรียนรู้ ขยายโลกทรรศน์และเพิ่มพูนประสบการณ์ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังตัวอย่างต่อไปนี้ จะเป็นเพียงมิติหนึ่งการของการฟังอย่างลึกซึ้งเพื่อเห็นความคิดเชิงระบบจากประสบการณ์ของผู้อื่นเท่านั้น โดยจะมีตัวอย่างสำหรับนำมาศึกษา ๒ กรณีซึ่งเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์จากการดูภาพ ๒ ภาพด้วยกัน โดยแต่ละภาพ ก็จะหยิบยกมาแจกแจงให้เห็นโดยลำดับครอบคลุมทั้ง ๓ ด้าน แตกต่างกันออกไป คือ

  • ตัวอย่างเรื่องเล่า ซึ่งนำมาจากการบันทึกถ่ายทอดประสบการณ์
  • วิธีวิเคราะห์ใคร่ครวญให้เห็นโครงสร้างและระบบที่อยู่ภายใต้เรื่องราวที่ถ่ายทอด  
  • ระบบวิธีคิดหรือตัวปัญญาเพื่อเรียนรู้และนำไปใช้พัฒนาตนเองของเรา

ทั้งสองตัวอย่าง จะเห็นพลังของเรื่องเล่าที่ให้บทเรียนและวิธีคิดในแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งถ้าหากไม่ฟังหรือไม่อ่านอย่างลึกซึ้งก็จะไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยตัวอย่างที่ ๑ จะนำไปสู่การได้โลกทัศน์และชีวทัศน์ (World View) และตัวอย่างที่ ๒ เป็นตัวอย่างที่นำไปสู่การได้ความละเอียดอ่อนทางจิตใจและวิธีซาบซึ้งความงามต่อโลกรอบข้าง (Appretiation) ดังจะนำเสนอเป็นลำดับต่อไปนี้

  การเล่าเรื่องถ่ายทอดประสบการและสะท้อนทรรศนะ :   ภาพที่ ๑ ดูใน : http://gotoknow.org/blog/healthycom/403388  

 

 ........ภาพแรกสะท้อนบัวจากเงาน้ำหลากหลายมิติ.. พิศแล้วเห็นความงามต่าง layer ทั้งท้องฟ้าสีคราม มีกลุ่มเมฆขาวหม่นลอย เหนือเงาฝักบัว และดอกตูมชูก้านงอและตรง ตัดกับสีเขียวอ่อนของใบบัวหลายทรง แผ่รูปลักษณ์เต็มท้องน้ำ...ให้อารมณ์สงบลึกชวนฉงนถึงความงดงามของธรรมชาติที่มี combination กลมกลืนในความแตกต่าง.....

               นงนาท สนธิสุวรรณ dialogue box ๑๗
               จาก
๓ องค์ประกอบหลักที่นักวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม PAR ต้องเรียนรู้ให้ทำได้และทำเป็น  
               ใน วิรัตน์ คำศรีจันทร์
http://gotoknow.org/blog/healthycom/403388

  การวิเคราะห์ เรียนรู้ และหาบทเรียนจากประสบการณ์ฟังและอ่านเรื่องเล่า  จากภาพที่ ๑ 

จากการเล่าถ่ายทอดประสบการณ์ดังตัวอย่างที่ ๑ หากฟังอย่างตั้งใจ เราก็จะสามารถเห็นประเด็น รวมทั้งเห็นโครงสร้างของเรื่องราวต่างๆหลายมิติ ดังจะวิเคราะห์และแยกแยะให้เห็นโครงสร้างของเรื่อง รวมทั้งองค์ประกอบที่ให้การเรียนรู้อยู่ในตนเองซึ่งเป็นวิธีคิดที่นำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆที่ต่างออกไปได้ ดังนี้

                         

ภาพที่ ๑ กระบวนการคิดและวิธีคิดอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นเองอย่างเป็นธรรมชาติ

                        

                       ภาพที่ ๒ กรอบและระบบวิธีคิดที่ได้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวเข้าสู่สถานการณ์ชีวิตอันหลากหลายและพัฒนาต่อไปได้อีกอย่างเป็นตัวของตัวเอง การตกผลึกและตรวจสอบตนเองไปบนกรอบดังกล่าวให้ละเอียดและซับซ้อนมากยิ่งๆขึ้นอยู่ตลอดไปจนเป็นหนึ่งเดียวกับองค์รวมของชีวิต ก็จะได้ปัจเจกภาพที่มีการเรียนรู้และงอกงามไปกับประสบการณ์ตนเองได้ตลอดชีวิต

  การเล่าเรื่องถ่ายทอดประสบการและสะท้อนทรรศนะ :   ภาพที่ ๒ ดูใน : http://gotoknow.org/blog/healthycom/403388  

 .....ภาพที่สองจากระเบียงบ้านมอง ภูมิทัศน์ in-out สู่บริเวณสวนร่มรื่นภายนอก เสากลมและลูกกรงสีดำเป็นแนว สร้าง contrast ของรูปทรง ตัดกับสีขาวสะอาดของบัวงามไต่ระดับอย่างลงตัว..เป็นจุดพักสายตาที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่งค่ะ...

              นงนาท สนธิสุวรรณ dialogue box ๑๗
              จาก
๓ องค์ประกอบหลักที่นักวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม PAR ต้องเรียนรู้ให้ทำได้และทำเป็น  
              ใน วิรัตน์ คำศรีจันทร์
http://gotoknow.org/blog/healthycom/403388

                        

                      ภาพที่ ๓ เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย สร้างความซาบซึ้งผ่านการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและโลกภายนอกจากสิ่งที่เห็นหรือได้สัมผัส คุณลักษณะและความมีดุลยภาพของกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวนี้  ต่างจากการเกิดความซาบซึ้งด้วยการคิดอยู่กับตนเองอย่างเดียว วิธีสะท้อนคิด สร้างความสะเทือนใจ ความประทับใจ ในลักษณะนี้ เป็นแง่มุมที่งานศิลปะแนว Humanized ใช้เป็นแนวคิดพื้นฐานในการทำงานครับ ที่สำคัญคืองานของยุคโรแมนติค งานของแนวอิมเพรสชั่นนิสต์ และโพสต์อิมเพรสชั่นนิสต์ งานแนวนี้เห็นแง่งามจากการเกิดความประทับใจของมนุษย์ต่อสิ่งต่างๆ ดังนั้น ศิลปะจะต้องสร้างความเป็นสุนทรียภาพให้แก่ผู้คนด้วยการสร้างประสบการณ์ในการเห็นที่นำไปสู่การเกิดแง่งามและความประทับใจอันลึกซึ้ง ซึ่งความประทับใจดังกล่าว ก็จะก่อเกิดพลังใจและนำการปฏิบัติตนเองด้วยการพึงตนเอง

  การวิเคราะห์ เรียนรู้ และหาบทเรียนจากประสบการณ์ฟังและอ่านเรื่องเล่า  จากภาพที่ ๒ 

จากการเล่าถ่ายทอดประสบการณ์ดังตัวอย่างที่ ๒ ก็จะสามารถเห็นประเด็นและโครงสร้างของเรื่อง รวมทั้งองค์ประกอบที่ให้การเรียนรู้อยู่ในตนเองในแง่ของการสร้างความซาบซึ้ง ดังนี้

                         

                    ภาพที่ ๔ กรอบและระบบวิธีคิดที่จะสามารถนำไปใช้กับสถานการณ์อื่นๆในชีวิตและการงานต่อไป ซึ่งจะทำให้วิธี Approach โลกของสรรพสิ่งมีแนวฝึกหัด เป็นครูสร้างประสบการณ์ตนเอง จัดความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆอย่างมีความหมาย ทั้งต่อตนเองและต่อการเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีแรงบันดาลใจต่อผู้อื่นของเราเอง

 วิธีพัฒนาทางศิลปะที่บูรณาการไปกับการพัฒนากระบวนการคิดและกระบวนการพหุปัญญาอย่างนี้ จะช่วยเสริมแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ทางศิลปะอย่างทั่วไป ซึ่งโดยมากก็จะมีบทบาทต่อการเป็นกิจกรรมแสดงออกในความเป็นศิลปะ ให้เพิ่มพูนการมีบทบาทต่อการเป็น Methodology, Tools และ Methods  สำหรับการพัฒนาปัจเจกทุกคนให้เข้าไปสู่จุดสูงสุดของตนเอง ณ ภาวะเดียวกันได้ (Art Activities as Learning and Development Methodology) แม้วิธีเข้าสู่ความจริงและวิธีสร้างประสบการณ์ต่อโลกของแต่ละคน จะแตกต่างกัน

แนวทางอย่างนี้ ก็จะเป็นตัวเลือกหนึ่งของการพัฒนาการศึกษาเรียนรู้สำหรับสร้างความงาม ความสมดุลกลมกลืนบนความแตกต่างหลากหลายของผู้คน โดยไม่ต้องทำให้ทุกคนกลายเป็นเหมือนกันและทำให้อีกหลายกลุ่มคนสูญเสียรากฐานชีวิต ซึ่งก็เชื่อว่าในอนาคต แนวทางอย่างนี้จะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ.

หมายเลขบันทึก: 403876เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2010 07:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

โห ได้ความรู้มากๆเลยค่ะ อาจารย์คงไม่ว่าอะไรนะค่ะ ถ้าหนูจะนำเอาข้อมูลของอาจารย์ มาประกอบการเรียนของหนู

  • เอาไปโลด
  • ตั้งใจเสริมกำลังการเดินเข้าหาสังคมกับการบุกเบิกสู่มิติใหม่ๆจากทุนเดิมของบล๊อกเกอร์ทุกท่านอยู่แล้วครับ
  • ก็เลยกลับเป็นความรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งละครับ

อิทธิฤทธิ์ของการเล่าเรื่องอย่างมีพลังมีจริงค่ะ แต่ก็คงต้องฝึกกันนะค่ะทั้งเล่าทั้งฟัง โดยเฉพาะการฟังอย่างตั้งใจไม่ bias (Deep listening) ค่ะ ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

* ลูกศิษย์มาขอบคุณ ศิลป์วิเคราะห์ Thematic analysis กับ Content Analysis ของอาจารย์ ที่มีคุณค่าต่อ มิติทางพหุปัญญา อย่างยิ่งค่ะ..

* อีกทั้งมิอาจเก็บไว้อ่านคนเดียวได้ ลูกศิษย์จึงขออนุญาตนำความเห็นนี้ไปขึ้นบันทึกเป็นตอนที่ ๒ ต่อจากเรื่องก่อนนะคะ:

http://gotoknow.org/blog/nongnarts2/403884

* ธรรมชาติรังสรรค์ความงามไว้ทุกอนูในพิ้นโลก เพื่อรองรับการเติมแต่งทางจิตใจในแง่มุมของความสุขสงบและจินตนาการดีๆมากมาย..หากพวกเรารู้จักหยุดมองอย่างชื่นชม.

*ความรู้จักพอเพียง เห็นคุณค่าของสรรพสิ่งที่โอบล้อมอยู่รอบตัว คือหนึ่งในจิตสำนึกที่เยาวชนสมควรได้รับการปลูกฝังอย่างยั่งยืนนะคะ..

*รบกวนอาจารย์ใส่คำสำคัญ  กลุ่มงานศิลป์เล่นกับแสง-เงา และไรแดด  ในบันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ผ่านมา และฝากเชิญชวนกลุ่มงานศิลป์นี้ด้วยค่ะ..

*ช่วงเช้าในวันที่ฝนตก พี่เก็บภาพดอกกล้วยไม้กลีบอาบด้วยหยาดฝนจากริมรั้วที่บ้านมาฝาก..ชุ่มชื่นเหมือนได้อ่านความเห็นที่งดงามของอาจารย์ค่ะ..

 สวัสดีคะ อาจารย์ ดร.วิรัตน์

นำวิธีลง code มาฝากคะ code นี้เป็นลิงค์ youtube ของศิลปินชาวญี่ปุ่นที่ชื่อ Kumi Yamashita เรื่อง shadow art หน่ะคะ ..

๑) log in เข้าระบบ
๒) ไปที่หน้าบันทึกที่จะใส่ code
๓) คัดลอก code ที่ต้องการแทรก ในที่นี้คือ

<object width="480" height="385"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/ulzyrV8IjE0?fs=1&amp;hl=en_US"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/ulzyrV8IjE0?fs=1&amp;hl=en_US" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" width="480" height="385"></embed></object>

๔)  จากนั้นไปคลิกที่ แก้ไขบันทึก (อยู่มุมบนด้านขวา)
๕)  ดูที่แถบเครื่องมือ
๖)  คลิกที่เมนู html
๗)  จะมี pop up ภาษา HTML เกิดขึ้นมา 
๘)  ใน pop up นี้จะแสดงผลด้วยภาษา html ให้ คลิกขวาแล้ว วาง code ลงใน บันทึก ในส่วนที่ต้องการ
๙)  ถ้าวาง code ไว้ที่หน้าข้อความทั้งหมด clip ก็จะ ปรากฎอยู่ด้านบน บทความ
๑๐)  แล้วแต่จะวางไว้ตรงจุดไหนของบทความ แต่ในการทำครั้งแรกให้ลองวางไว้ หน้าสุดไม่ก็หลังสุดข้อความภาษา html เพื่อความสะดวก
๑๑) จากนั้น กดปุ่ม Update มุมด้านล่างซ้ายมือของ pop up

วิธีลง code ได้มาจากการแนะนำของคุณใบไม้ย้อนแสง และคุณกวิน ในบันทึกหน้านี้คะ ลองดูนะคะว่าขึ้นรึเปล่า เพราะไม่แน่ใจว่าผ่านมา ๒ ปีจะมีการปรับเปลี่ยนวิธีไปแล้วรึยังนะคะ .. (ถ้านำขึ้นสำเร็จฝากลบกล่องข้อความนี้ด้วยนะคะ)

  • อุปส์! ดูเหมือน gotoknow ยังไม่ค่อยเสถียรหรือจะเป็นที่เครื่องช้าเองก็ไม่แน่ใจนะคะ เข้าใจว่าหน้าคอมเมนท์จะ error อีก เลย refresh ไปซะ ๑ ที ข้อความเลยปรากฏซ้ำคะ ฝากลบด้วยคะ ขอบคุณคะ

สวัสดีครับอาจารย์ดร.นันทวรรณครับ
อาจารย์ และอาจารย์ดร.ธวัชชัย สบายดีนะครับ
ขอบคุณอาจารย์และทีมงาน GotoKnow มากๆด้วยเช่นกันครับ 

สวัสดี ครับ อาจารย์วิรัตน์

นำอาหารกลางวันมาเชิญอาจารย์และสมาชิกG2K ทานด้วยกัน นะครับ

บันทึกนี้ save ไว้อ่านแล้ว นะครับ

ขอบพระคุณอาจารย์มาก ครับ

สวัสดีครับคุณพี่นงนาทครับ

สวัสดีครับอาจารย์ณัฐพัชร์ครับ
ขอบคุณมากเลยครับ
ประเดี๋ยวจะลองทำดูครับ

สวัสดีครับคุณแสงแห่งความดีครับ
เห็นเหมือนรูปกล้วยไข่อยู่ในสำรับกับข้าวด้วยนะครับ
เข้ากับบรรยากาศของหน้านี้เลยนะครับ
ที่จะต้องมีกระยาสารทกินและต้องกินกับกล้วยไข่
คุณแสงแห่งความดีสบายดีนะครับ
ทางใต้เขาน้ำท่วมไหมนี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท