หลักสูตร“พัฒนาทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติสำหรับบุคลากรของสำนักข่าวกรองแห่งชาติระดับ 6-7” รุ่น 2


Talented Capital Development Program รุ่นที่ 2 ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

สวัสดีครับชาว Blog

          ผมได้รับเกียรติอย่างสูงจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติให้ทำงานต่อเนื่องในเรื่องการพัฒนาบุคลากรของสำนักข่าวกรอง หลักสูตร“พัฒนาทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติสำหรับบุคลากรของสำนักข่าวกรองแห่งชาติระดับ 6-7” รุ่น 2 หรือ Talented Capital Development Program หลักสูตรประมาณ 80 ชั่วโมง ซึ่งมีกำหนดการจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน – 24 พฤศจิกายน 2553

          ผมรู้สึกชื่นชมที่ผู้นำ / ผู้บริหารของสำนักข่าวกรองฯ นำโดย ท่านสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เห็นคุณค่าในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ และให้การสนับสนุนผลักดันให้เกิดการทำงานอย่างต่อเนื่อง การทำงานในครั้งนี้นับว่าเป็นงานที่ต่อเนื่อง ครั้งที่ 5 แล้ว เริ่มจาก..

  • ครั้งที่ 1 การบรรยายเรื่อง HR for Non-HR ให้แก่ผู้อำนวยการกอง ผู้อำนวยการส่วน และข้าราชการระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 41 คน (วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 ณ ห้องประชุม สำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ)

       http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/241167

 

  • ครั้งที่ 2 หลักสูตรพัฒนาทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ
    สำหรับบุคลากรของสำนักข่าวกรองแห่งชาติระดับ 6-7 รุ่นที่ 1
    (Talented Capital Development Program) ระหว่างวันที่ 5 – 27 พฤศจิกายน 2552 (http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/310964)

 

  • ครั้งที่ 3 "พัฒนาภาวะผู้นำ" ระดับผู้อำนวยการส่วน / หัวหน้าฝ่ายอาวุโสระดับ 7 – 8 ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ จำนวน 45 คน โดยจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้รวม 18 ชั่วโมง (วันที่ 4 – 9 กุมภาพันธ์ 2553)

    http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/333589

 

  • ครั้งที่ 4 (ต่อยอดการเรียนรู้สำหรับ Talent รุ่น 1) “Knowledge Auditing: How?.. Why?.. Execution & Success 2 - 4 สิงหาคม 2553 ณ ศูนย์ฝึกอบรมฯ ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี

     http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/380480

 

  • และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 หลักสูตรพัฒนาทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ
    สำหรับบุคลากรของสำนักข่าวกรองแห่งชาติระดับ 6-7 รุ่นที่ 2
    (Talented Capital Development Program) ระหว่างวันที่ 3 – 24 พฤศจิกายน 2553

 

          ที่ผ่านมาผมรู้สึกประทับใจลูกศิษย์ของผมทุกรุ่นที่นี่ บุคลากรของสำนักข่าวกรองฯ มีศักยภาพ ความรู้ความสามารถมาก มีความตื่นตัวในการแสวงหาความรู้ ใผ่รู้ และพร้อมที่จะเปิดรับความคิดใหม่ ๆ เพื่อการปรับปรุงและพัฒนา ซึ่งน่าภาคภูมิใจแทนคนไทยทุกคนครับ อย่างน้อยท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงและวิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เรายังมีข้าราชการที่มีประสิทธิภาพและมีจุดยืนเพื่อประโยชน์ของประเทศ

          สุดท้ายผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าลูกศิษย์ของผมรุ่นนี้ก็คงจะไม่แพ้ทุกรุ่นที่ผ่านมา เราคงจะได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาให้สำนักข่าวกรองฯ ขับเคลื่อนผลงานที่เป็นเลิศสู่สังคมไทย..ผมขอเป็นกำลังใจ และขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ของเราครับ

          จีระ หงส์ลดารมภ์

ภาพบรรยากาศ

 

 

หมายเลขบันทึก: 406128เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2010 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 08:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (527)

สวัสดีค่ะอาจารย์

หลักสูตรน่าสนใจมากค่ะ แต่ไม่ได้ทำงานของสำนักข่าวกรอง มีโอกาสจะแวะมาอ่านอีกนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

แนวคิดที่ได้จากการอ่านบทความ Xi jinping

1. การปลูกฝังภาวะผู้นำประเทศ ต้องใช้เวลา และมีความต่อเนื่อง เช่น การเป็นลูกหลานของผู้นำในอดีต ซึ่งจะช่วยให้ผู้นำรุ่นใหม่มีความจงรักภักดีต่อระบบการปกครอง

2. การปลูกฝังภาวะผู้นำ ซึ่งหมายถึงการศึกษา ควรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมโลก เช่น Xi jinping จะต้องเก่งเรื่องประชาธิปไตยที่โลกต้องการ และมีสิทธิมนุษยนชนมากขึ้น

3. ระบบการปกครองที่เป็นพรรคเดียวอาจทำให้เกิดการรวมอำนาจ ไม่มีกลุ่มใดคัดค้านหรือถ่วงดุลอำนาจเหมือนประเทศไทย

บทเรียนที่จะนำมาใช้กับสำนักข่าวกรองฯ

1. การปลูกฝังภาวะผู้นำของสำนักข่าวกรองฯ ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และคงต้องใช้บุคคลที่ทำงานกับสำนักข่าวกรองมาระยะเวลานาน เพื่อให้มีความรู้สึกผูกพันกับองค์กร

2. ผู้นำรุ่นใหม่ของสขช.ต้องมีทัศนคติ วิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน เช่น อาจจะมาจากสาขาวิชาที่หลากหลาย ไม่จำเป็นต้องจบจากด้านการปกครองอย่างเดียว

อ่านบทความนี้แล้วได้อะไร

1. ได้รู้ถึงแนวคิดการวางแผนการบริหารประเทศอย่างเป็นระบบมีการกำหนดผู้นำอย่างชัดเจน เป็นขั้นเป็นตอนของประเทศจีน แม้ประเทศจีนจะเป็นประเทศที่ใช้ระบบการปกครองแบบสังคมนิยม ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศไทยที่ปกครองแบบประชาธิปไตยแต่ไม่มีจุดยืนที่ชัดเจน เป็นขั้นตอนเหมือนจีน แต่มุ่งหวังผลประโยชน์เป็นหลัก

2. จีนให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อพัฒนาประเทศ ให้โลกยอมรับและมีสิทธิมนุษยชนมากขึ้น รวมทั้งดูแลการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปทุกภูมิภาคไม่ เหลื่อมล้ำ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการที่จีนประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศ เนื่องจากผู้นำมีวิสัยทัศน์ มองการไกลและมีการวางแผนล่วงหน้า

จากบทความนี้นำมาวิเคราะห์การสร้างผู้นำใน สขช.ได้อย่างไร

การให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในองค์กร มีการพัฒนาให้ความรู้กับบุคลากร และจัดอบรมหลักสูตรที่ตรงกับบุคลากรในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับในหลักสูตร Talent รุ่น 1 และรุ่น 2 และหลักสูตรภาวะผู้นำต่าง ๆ ที่ทาง สขช.จัดอบรมให้ จนท.ก็เป็นการพัฒนาบุคลากรและสร้างทุนทางความรู้ ซึ่งเป็นเป็นการเริ่มต้นในการวางแผนการสร้างผู้นำของ สขช.ต่อไปใน โดยการเห็นความสำคัญของทรัพยากรบุคคลของผู้นำในยุคปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าการอบรมไม่ได้จัดอบรมให้เพียงระดับสูงเท่านั้นแต่ยังจัดอบรมให้กับ จนท.ระดับปฏิบัติและจะพัฒนาเป็นผู้นำในอนาคตด้วย ในลักษณะกระจายอำนาจ กระจายความรับผิดชอบ ให้ผู้นำทุกรุ่นมีภารกิจความรับผิดชอบของตนเอง ทำให้ จนท.ที่เข้ารับการอบรมเกิดขวัญกำลังใจที่ผู้นำเห็นความสำคัญ

--------------------------------------

(นุชนารถ)

จากบทความเรื่อง X jinping แล้วทำให้รู้ว่า

1) ระบบพรรคการเมืองของจีน มีจุดดีและจุดด้อย ซึ่งหากเลือกผู้นำมีความรู้

ความสามารถ และมีคุณธรรมจะทำให้ประเทศพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง แต่จุดด้อยคือขาดเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่จะทำให้ประเทศมีความมั่นคงทางการเมืองสูง

2) ระบบพรรคการเมืองของจีนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การทำประเทศเข้าสู่ 1 ประเทศ 2 ระบบ เพื่อนำประเทศเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลก เป็นก้าวเข้าสู่โลกภายนอก รวมทั้งการนำประชาธิปไตยมาปรับใช้ให้เข้ากับสังคมแบบจีน เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมเศรษฐกิจ

3) การพัฒนาเยาวชนรุ่นใหม่ให้ความรู้ความพร้อมในการเป็นผู้นำรุ่นต่อไป

จากบทความดังกล่าว สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ สขช.ได้กล่าวคือ การพัฒนาองค์กร จะต้องมีการวางแผน การเตรียมความพร้อม การปรับเปลี่ยนทัศนคติ รวมทั้งประยุกต์การทำงานให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบด้านเพื่อพัฒนาทั้งตัวบุคคลและองค์กรไปพร้อมๆ กัน การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ขององค์กรต้องสร้างทั้งคนเก่งและคนดีให้อยู่คนเดียวกัน

------------------------

มาลินี

แนวคิดที่ได้จากการอ่านบทความ Xi Jinping

จีนมีการวางแผนกำหนดตัวผู้นำไว้ล่วงหน้าเพื่อนำประเทศไปสู่ความสำเร็จ มีความมั่นคงทางการเมือง กำหนดคุณสมบัติผู้ที่เป็นผู้นำ สาขาวิชาและอาชีพที่สำคัญในอนาคต ทำให้ประชาชนจีนสามารถวางแผนอนาคตของลูกหลาน และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นนโยบายที่ดีที่ทำให้ประชากรจีนสามารถกำหนดเป้าหมายในชีวิตของตนเองและครอบครัวได้ เมื่อหันมาดูปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในบ้านเราขณะนี้ เห็นได้ว่าไม่ได้มีการวางแผนเตรียมรับปัญหา ผู้นำท้องถิ่นไม่เป็นผู้นำในการแก้ปัญหา ระดับท้องถิ่นควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยหันมาศึกษาวิชาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เน้นความจริง และกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม

แนวคิดจากบทความฯ นำมาวิเคราะห์การสร้างผู้นำในสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.)

1. การวางแผนอนาคตด้านบุคลากรของ สขช. ควรมีการกำหนดไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะการกำหนดคุณสมบัติที่จะเป็นผู้นำในอนาคต และวางแผนระยะยาวเพื่อให้ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

2. การพัฒนาทุนมนุษย์ของ สขช. ควรกำหนดหลักสูตรที่เน้นความจริง ตรงประเด็น

สอดคล้องกับเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม และทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่

จากการอ่านบทความวิเคราะห์เกี่ยวกับผู้นำจีน Xi jinping ทำให้ได้มุมมองและข้อคิดที่น่าสนใจและมีความสำคัญเกี่ยวกับการวางแผนกำหนดตัวผู้นำของประเทศ ทั้งนี้ การเลือกผู้นำของจีนแต่ละยุคแต่ละสมัยสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนของเป้าหมายด้านความมั่นคงของประเทศ และคุณสมบัติผู้นำที่ต้องการ สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ กระบวนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวผู้นำที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ และเมื่อขึ้นมาเป็นผู้นำแล้วจะสามารถนำประเทศให้ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

จากแนวคิดนี้น่าจะได้นำมาปรับใช้กับการวางแผนกำหนดตัวผู้นำขององค์กรในอนาคต ซึ่งการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กรเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน และการเตรียมพร้อมสร้างและพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ขององค์กรในอนาคตจะเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เริ่มจากการมองเป้าหมายในอนาคตว่าเราต้องการให้องค์กรของเราเป็นเช่นไร และผู้นำของเราควรต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ควรต้องมีการจัดทำแผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรอย่างเป็นระบบ ทั้งการพัฒนาด้านความรู้ทักษะความสามารถรอบด้านเกี่ยวกับภารกิจหลักขององค์กร การพัฒนาภาวะผู้นำ ทักษะการบริหารในทุกด้าน และสิ่งที่สำคัญที่ต้องมีควบคู่กันไปคือคุณธรรมและจริยธรรม

1. จีนมีการวางแผนเป็นขั้นตอน โดยเฉพาะการกำหนดตัวผู้นำของประเทศในระยะยาว ซึ่งบุคคลดังกล่าวจะมีคุณธรรม และมีความรู้ความสามารถดีจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง

2. ผู้นำของจีนในแต่ละรุ่นจะมีความสามารถแตกต่างกันไป ผู้นำในรุ่นแรกๆ จะเน้นการด้านปกครองเป็นส่วนใหญ่ ผู้นำในรุ่นหลังๆ จะเน้นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ พัฒนาด้านการปกครอง การติดต่อกับประชาคมโลก จะให้ความสำคัญกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและ สิทธิมนุษยชน เพื่อจะได้เป็นที่ยอมรับของประเทศอื่นๆ

3. การเลือกผู้นำของจีนจะเป็นแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จจากพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งถ้าได้ผู้นำที่ไม่ดีก็จะเกิดปัญหาตามมาภายหลัง

4. ประเทศไทยยังไม่มีแผนระยะยาวเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาในเรื่องต่างๆ ซึ่งถ้าเราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง และนำหลักการวางแผนระยะยาวอย่างประเทศจีนมาใช้ ประเทศไทยก็จะพัฒนาได้เร็วและก้าวไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว

การสร้างผู้นำในข่าวกรองต้องยึดหลัก กำหนดตัวบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม โดยบุคคลดังกล่าวจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในภาวะผู้นำและหลักการบริหารงานบุคคลเป็นอย่างดี แต่การเป็นผู้นำในสำนักข่าวกรองยังขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่เป็นตัวกำหนด ปัจจัยที่สำคัญคือ ปัจจัยจากนักการเมือง

1.สิ่งที่ได้จากการอ่านเรื่องนี้

ได้เห็นจุดเด่นด้านการวางนโยบายผู้นำของจีน โดยจีนกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งเอาไว้ชัดเจน กำหนดตัวบุคคลที่ จะขึ้นมาเป็นผู้นำไว้ล่วงหน้า ประเด็นที่น่าสนใจ คือ 1) เมื่อกำหนดตัวผู้นำไว้ล่วงหน้าแล้ว ก็เป็นไปตามนั้นเสมอ ไม่มีพลิกล็อก 2) จีนกำหนดตัวผู้นำได้ได้อย่างต่อเนื่องติดต่อกันมาหลายรุ่น โดย Xi Jinping เป็นผู้นำรุ่นที่ 5 แล้ว 3) ผู้นำจีนแต่ละรุ่นจะมีความรู้ความสามารถในการนำพาประเทศไปสู่ความก้าวหน้าตามสภาวะแวดล้อมของยุคสมัยนั้นๆ ซึ่งระยะหลังจะเห็นได้ว่าจีนหันมาเน้นบทบาทสู่โลกภายนอกที่เน้นด้านเศรษฐกิจมากขึ้น เห็นได้จากผู้นำจีนรุ่นหลังๆ มักมีพื้นฐานการศึกษาและประสบการณ์ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การเงิน การบริหารธุรกิจ

2. จะนำมาปรับใช้กับการวางตัวผู้นำขององค์กรได้อย่างไร

- องค์กรควรมองแผนยุทธศาสตร์ในระยะยาวว่าผู้นำองค์กรรุ่นต่อๆ ไปควรจะต้องมีความรู้ความสามารถในสาขาใดบ้าง ที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการบริหารองค์กร โดยประเมินว่าโลกในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด และวางแนวทางการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรตามแนวทางดังกล่าว นอกจากนี้ กระบวนการคัดสรรเป็นไปอย่างมีระบบเพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและคุณธรรมมาเป็นผู้นำ

จากบทความเกี่ยวกับ Xi jinping ผู้นำประเทศของจีน ทำให้ทราบว่า 1) การวางแผนระยะยาวและการเตรียมการอย่างเป็นขั้นตอน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนได้ผู้นำที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญ จนสามารถนำจีนไปสู่การพัฒนาทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง และยังสามารถผลักดันให้จีนมีอิทธิพลอย่างมากในเวทีโลกและกำลังก้าวขึ้นเป็นประเทศมหาอำนาจที่จะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต 2) การเป็นผู้นำที่ดีจะต้องมีทั้งความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรม ซึ่งเป็นหลักประกันที่จะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาความแตกแยกในประเทศ 3) การกำหนดยุทธศาสตร์ระยะยาวเพื่อการพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการสร้างศักยภาพของทุนมนุษย์อย่างรอบด้าน

สำหรับการสร้างผู้นำใน สขช. จำเป็นต้องมีการวางแผนเพื่อสรรหาและคัดเลือกบุคคลที่จะเป็นผู้บริหารสูงสุด มีการกำหนดตัวบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในทางการข่าว ควบคู่กับการเป็นผู้ที่มีภาวะผู้นำที่ทรงความรู้และมีคุณธรรม เพื่อเตรียมการสร้างผู้นำ นอกจากนี้ ผู้นำของ สขช.ต้องเป็นนักยุทธศาสตร์ทั้งในด้านการข่าวกรองและด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคคลากรโดยรวมขององค์กร และใช้หลักคุณธรรม จริยธรรรม ในการวางแผนเตรียมการเพื่อสร้างผู้นำรุ่นต่อไป

อ่านแล้วได้อะไรจาก xi jinping

1. ทำให้ได้ทราบจุดดีและจุดด้อยของพรรคการเมืองและระบบคอมมิวนิสต์ ซึ่งทั้งจุดดีและจุดด้อยที่มีทั้งคุณธรรม ความรู้ และความสามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากับผู้นำของประเทศจีน

2. การพัฒนาของระบบพรรคการเมืองของจีนที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยผู้นำประเทศมีวิสัยทัศน์ในการเป็นภาวะผู้นำสู่ในสังคมภายนอก ให้ทันกับเปลี่ยนแปลง การเปิดโลกทัศน์ของจีนเพื่อนำไปสู่โลกภายนอก นำมาซึ่งการพัฒนาทั้งด้านการเมือง และเศรษฐกิจ

3. การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ของจีนที่มีการเตรียมความพร้อมในทุกด้าน และ มีการวางแผนทั้งในเรื่องวิชาที่หลากหลาย ทำให้ประเทศพัฒนาสู่ความเจริญทางเศรษฐกิจสมดุลอย่างยั่งยืนทั่วทุกกลุ่มและภูมิภาคของจีน

จากบทความดังกล่าวสามารถนำมาปรับใช้กับ สขช.ได้กล่าวคือ การพัฒนาภาวะผู้นำ การสร้างทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรต้องมีความพร้อม และมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ การมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล จะทำให้องค์กรของเรามีความเป็นเอกภาพ

ยิ่งขึ้น

จากการอ่าน สรุปได้ดังนี้

วิธีการเลือกผู้นำประเทศจีน จะมีการวางแผนการดำเนินการล่วงหน้าและทำเป็นขั้นตอน จะกำหนดว่าใครจะดำรงตำแหน่งอะไรเมื่อพ้นวาระไปแล้ว เช่น ตำแหน่งประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรี เป็นต้น

จุดเด่น คือ ผู้นำจะถูกกำหนดโดยพรรคคอมมิวนิสต์ อย่างเป็นระบบและมีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถ

จุดอ่อน คือ จีนไม่มีประชาธิปไตยที่แท้จริง กล่าวคือ เป็นการกำหนดโดยคน

ส่วนน้อยของประเทศ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่มีโอกาสในการเลือกผู้นำ

ของตนเอง ทำให้มีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองของจีนได้

จากบทความข้างต้นสามารถนำมาวิเคราะห์สร้างผู้นำในสำนักข่าวกรองได้ ดังนี้

วิธีการสรรหาหรือคัดเลือกบุคคลมาดำรงตำแหน่งที่สำคัญของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โดยเฉพาะตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอแห่งชาติ รองผู้อำนวยการ

สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ควรสรรหาอย่างโปร่งใส เป็นระบบ มีคุณธรรมและต้องสามารถตรวจสอบได้ และไม่ควรมีการเมืองเข้ามา

แทรกแซง

จากบทวิเคราะห์ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคยทำนายบุคคลที่จะเป็นประธานาธิบดีคนต่อไปของจีนคือ Xi jinping นั้น เห็นได้ว่า

1.การทำนายของอาจารย์อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่ โดยดูจากประวัติศาสตร์ของจีนในการเลือกผู้นำประเทศ ที่มีการถ่ายทอดอำนาจผ่านบุคคลในรุ่นต่อมาอย่างชัดเจน และมีรูปแบบการครองตำแหน่งให้ใกล้เคียงโลกตะวันตก อาทิ การครองตำแหน่ง 2 วาระ รวม 10 ปี ซึ่งต่างจากสมัยเริ่มต้นที่มีกาครองตำแหน่งจนเสียชีวิตหรือลาออกจากตำแหน่งไป

2.การเลือกผู้นำของจีน เกิดขึ้นภายในประเทศ โดยไม่มีปัจจัยกระทบทั้งจากภายในและต่างประเทศ กล่าวคือ ประชาชนในประเทศเห็นด้วย เพราะเชื่อว่าการเลือกจากพรรคคอมมิวนิสต์เป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม ขณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องสนใจสายตานานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจ ที่ต้องการเข้ามามีบทบาทหรือมีอิทธิพลเหนือประเทศจีนด้วย

ส่วนการวิเคราะห์หรือพิจารณาเปรียบเทียบกับการสร้างผู้นำของข่าวกรองกับการแต่งตั้งผู้นำของจีน พบว่า มีความใกล้เคียงและต่างกันในบางประเด็น กล่าวคือ

1.ความใกล้เคียงกัน คือ มีการถ่ายทอดการเป็นผู้นำจากรุ่นสู่รุ่น โดยผู้บังคับบัญชาระดับสูง จะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผู้นำในแต่ละระดับหรือแต่ละรุ่น ที่เน้นผู้ที่มีความสามารถ และคุณธรรม โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในสายงานหลัก หรือที่เคยมีผลงานเด่นชัด ซึ่งบุคคลากรในองค์กรจะเห็นความเป็นผู้นำหรือเส้นทางของกลุ่มที่จะเป็นผู้นำค่อนข้างชัดเจน

2.ส่วนความแตกต่างกัน คือ การที่องค์กรข่าวกรองจะถูกปัจจัยแวดล้อมจากภายนอก คือ ฝ่ายการเมือง เข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้งผู้นำองค์กรข่าวกรอง โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่มีการแต่งตั้งบุคคลภายนอกมาเป็นผู้นำองค์กร

----------------

Athiphong D.5

1. อ่านบทความแล้วได้อะไร

-ประเทศจีนมีการวางแผนการพัฒนาประเทศในระยะยาว โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์ และมีเป้าหมายอย่างชัดเจน

-เมื่อมีเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างชัดเจนแล้วจึงคัดเลือกผู้นำที่มีคุณสมบัติให้ตรงตามเป้าหมาย โดยเน้นผู้นำที่มีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถรอยด้าน

-และมีการพัฒนาประเทศต่อยอดจากรุ่นก่อนๆ อย่างต่อเนื่อง

2. วิเคราะห์การสร้างผู้นำสำนักข่าวกรองได้อย่างไร

สำนักข่าวกรองต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์กร อย่างชัดเจน แล้วจึงพัฒนาบุคลากรขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ตามวัตถุประสงค์ขององค์กรที่กำหนดไว้ เพื่อให้บุคลากรขององค์กรสามารถนำความรู้ความสามารถมาใช้พัฒนาต่อยอดงานขององค์กรได้อย่างต่อเนื่อง

กราบเรียนท่าน ดร.จีระ

          จากการอ่านบทความ/บทเรียนดังกล่าวแล้ว กระผม นายอิทธินันท์ ของตอบคำถามใน สอง ประเด็นดังนี้

๑.     ในบทความแสดงให้เห็นว่าจีนมีการวางแผนและกำหนดตัวผู้นำที่จะมาบริหารประเทศไว้ล่วงหน้าและมีความชัดเจน เป็นระบบ โดยจะมีการคัดผู้นำที่มีคุณธรรม  มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่ง ซึ่งจะเป็นที่ยอมรับในองค์กรระดับนำหรือส่วนใหญ่ของประเทศ และจะทำให้การบริหารประเทศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นหนึ่งเดียวกัน นำพาประเทศเจริญรุ่งเรืองต่อไป

๒.     เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหน่วยงานของเรา ก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกันแม้ว่าจะเป็นหน่วยงานที่เล็กลงมาก็ตาม แต่ การสร้างผู้นำหรือกำหนดตัวผู้นำที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม ย่อมก่อให้เกิดผลดีต่อองค์กรอย่างแน่นอน และอีกอย่างหนึ่งคือ เมื่อภายในองค์กร ทราบล่วงหน้าว่า ใครคนไหนจะเติบโตขึ้นมาเป็นผู้นำย่อมจะลดกระแสการต่อต้านได้ระดับหนึ่ง หรือไม่ต้องมีการแย่งชิงกัน ซึ่งจะทำให้องค์เกิดความเสียหายมากกว่า

 

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวข้างต้นจะต้องสามารถทำบนพื้นฐานของความจริง ความยุติธรรม ไม่ลำเอียงเอาพวกพ้องตัวเอง ต้องยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติและส่วนรวมเป็นหลัก

 

บทความ Xi jinping ผู้นำประเทศจีน

อ่านบทความของอาจารย์เรื่องผู้นำของจีนแล้วได้เรียนรู้ถึง

๐การเตรียมพร้อมต่อการวางตัวบุคคลที่จะมาเป็นผู้นำประเทศ ทำให้จีนมีการพัฒนาประเทศได้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งเป็นความได้เปรียบต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ

การนำมาวิเคราะห์กับ สขช.

๐สขช.เป็นองค์กรที่รับผิดชอบด้านความมั่นคง ดังนั้นการสร้างผู้นำที่มาจากการพร้อมด้านความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรม โดยมองการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างมีระบบ จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จและก้าวย่างไปได้พร้อมกับกระแสโลกาภิวัฒน์

๐การสร้างทุนมนุษย์มีความจำเป็นต่อความก้าวหน้าขององค์กร ที่จะรองรับกับภารกิจที่หลากหลายเพื่อความมั่นคงของชาติ

สรุป โครงการฝึกอบรมหลักสูตร

“พัฒนาทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติสำหรับบุคลากรของสำนักข่าวกรองแห่งชาติระดับ 6-7” รุ่น 2

(Talented Capital Development Program)

3 พ.ย. 53

พิธีเปิด โดย ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

 หลักสูตรนี้เข้ามามีบทบาทพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 เราต้องเผชิญสภาพแวดล้อมที่ยุ่งยากมากขึ้น ความรู้ เงิน ก็สู้ทุนมนุษย์ไม่ได้

 เราจะได้มีการส่วนร่วมเรียนรู้แบบใหม่ๆ และเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด

 ต้องนำเสนอสิ่งที่ศึกษาให้คนอื่นรับทราบ

 การสอนวันนี้จะมีความสำคัญยิ่ง

 หวังว่า เราจะใช้เวลาทั้งหมดกับการเรียนการศึกษาอย่างเต็มที่

 อยากเห็นการมีส่วนร่วม การสร้างทักษะ

 ผมถูกปลูกฝังจากคนรุ่นเก่าๆ ทำให้เกิดการพัฒนาด้านจิตใจและความรู้สึก มีความภูมิใจและเป็นเกียรติที่ได้เป็นข้าราชการข่าวกรอง ทำประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติ ถูก

 ต้องรับความรู้ใหม่ๆเข้ามาเสมอ มาเติมกับความรู้ที่เรามี

 ความรู้ทำให้เราทำงานได้ดีขึ้น

 ทัศนคติสร้างจิตใจของเรา โดยเฉพาะทัศนคติทางบวก มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตในสังคม ทัศนคติอยู่ที่เรามาสภาพแวดล้อม

 การโยกย้ายตำแหน่ง สวัสดิการมันเกี่ยวข้องกับทัศนคติ

 การสร้างทัศนคติเชิงบวก ไม่ใช่การยอมแพ้

 ต้องมองทั้งด้านบวกและลบ นำด้านบวกมาปรับแก้ส่วนที่เป็นด้านลบ ต้องฟังคนอื่นพูดในห้องเรียน การประชุม การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น

 เราไม่ได้อยู่ด้วยความรู้และทักษะวิชาชีพ

 ผมต้องปรับปรุงด้านการสื่อสาร โดยฟังคนอื่นให้มากขึ้น ไม่แย่งคนอื่นพูดก่อน

 การเข้าร่วมประชุมทำให้รู้จักตนเองและได้พัฒนาตนเอง

 อยากให้เรามีทัศนคติเชิงบวก

Learning Forum หัวข้อ ปฐมนิเทศและแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอเพิ่มเติมแนวคิดที่ได้จากการอ่านบทความ Xi jinping จากที่มีผู้เสนอมาแล้วด้วยคน

๑. การวางตัวหรือการสรรหาผู้นำของจีนทำกันอย่างเป็นระบบและระยะเวลาที่นานและต่อเนื่องพอสมควร แต่ก็ยังมีการผูกขาด

ในเรื่องของการสืบทอดอำนาจแฝงอยู่บ้าง เช่น คุณสมบัติของการลูกหลานผู้นำในอดีต จึงทำให้เห็นได้ว่าถึงแม้จะมีการวาง

ระบบที่ดี แต่ก็ยังมีเรื่องของอำนาจแฝงอยู่ด้วย

๒. เห็นด้วยว่าการวางแผนการบริหารประเทศอย่างเป็นระบบ โดยมีการกำหนด Spec ของผู้นำอย่างชัดเจน และแนวทางในการ

คัดเลือกตัวบุคคลที่เหมาะสมอย่างเป็นขั้นเป็นตอนของประเทศจีนนั้น เป็นการให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก

ที่ผิดกับประเทศไทยในปัจจุบันที่เห็นแต่ผลประโยชน์เป็นหลัก แต่วิธีการดังกล่าวอาจจะกลายเป็นดาบสองคมก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่

กับสถานการณ์ วิสัยทัศน์ การคาดการณ์ในอนาคต หรือ ความรู้สึกนึกนึกคิดของผู้มีอำนาจในช่วงเวลานั้น

สำหรับ สขช.

การให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ควรทำอย่างจริงจังและเป็นระบบที่แน่นอน ไม่ใช่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามแนวทาง

ของผู้บริหารแต่ละยุคสมัย และควรให้ความสำคัญกับทุกสายงานโดยเท่าเทียมกัน ไม่ใช่มองเพียงแต่สายงานที่เป็นสายงานหลัก

เท่านั้น เพราะเรื่องของการปกครองและการบริหารเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ผู้นำที่ดีจะต้องมีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล มีความ

เป็นธรรม เห็นความสำคัญของกลไกทุกส่วนโดยเท่าเทียมกัน มีการวางแผนล่วงหน้าให้เหมาะสมกับสิ่งที่อยากจะให้เป็น และจะ

ต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย เพื่อจะได้เป็นต้นแบบที่ดีให้แก่ข้าราชการที่จะนำไปปฏิบัติตาม

3 พ.ย. 53

Learning Forum หัวข้อ ปฐมนิเทศและแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

• ท่านสุวพันธ์ได้เรียนรู้เรื่องคนตั้งแต่เริ่มทำงานที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ตอนนี้ท่านเป็นผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติแล้ว

• จะมีรุ่น 1 มาถ่ายทอดประสบการณ์

• การสร้างผู้นำต้องใช้ทุกอย่างที่เกิดขึ้น

• รุ่น 1 มียอดเข้าชมบล็อกหมื่นกว่า เรียนจบแล้วมีการใฝ่รู้ตลอดชีวิต

• สำนักข่าวกรองแห่งชาติต้องมีแนวร่วม

• ควร Outsource การพัฒนา Talents เพราะจะได้ดีกว่าเดิม

• ต้องเขียน Blog ให้คนอยากอ่าน

• สำนักข่าวกรองแห่งชาติต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ขอให้ฝึกนิสัยการเรียนรู้

• เก่งในงานของตัวคุณเองไม่พอ ต้องมีความเป็นเลิศที่เกิดมาจากข้างในตัวคุณเอง

• ควรคิดถึงสิ่งที่มองไม่เห็นให้มากขึ้น ต้องพัฒนาศักยภาพที่อยู่ข้างในตัวคน การมองโลกในแง่ดี การทำงานร่วมกัน การค้นหาตนเอง

• ต้องฝึกความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม ความยั่งยืน

• ต้องมี Job Enrichment และ Passion ในการทำงาน และทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม

• ต้องสนุกในการเรียน แต่มุ่งมั่นและมีสมาธิ นึกถึงการบ้านผม 1 ชั่วโมงก่อนนอน

• ต้องปรึกษากันในการทำการบ้าน ทำให้ตัวเราดีขึ้นและเป็นการฝึกการเรียนรู้

• วิธีการเรียนคือ

• จะกระตุ้นให้คุณคิดเยอะๆและมีส่วนร่วม

• สร้างบรรยากาศการเรียนให้สนุก

• ปะทะกันทางปัญญาใน workshop และ comment

• มีความใฝ่รู้หลังเรียนจบ เหมือนรุ่น 1 ที่สร้างชุมชนการเรียนรู้ มี Lifelong Learning

• ในการสร้างความยั่งยืนให้ชีวิต ต้องมีสุขภาพดีและมีนิสัยในการแสวงหาความรู้ตลอดเวลา

• การเรียนต้องมาเกี่ยวข้องกับความเป็นจริงของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

• ต้องทิ้งความรู้บางอย่าง เช่นที่ล้าสมัยแล้วออกไปแล้วนำความรู้บางอย่างกลับเข้ามา

• เวลาเป็นผู้บริหาร ต้องเน้นคุณภาพเรื่องคนด้วย ไม่ใช่แค่ทำหลักสูตร

• หลักสูตรนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้คุณ

• ต้องเรียนรู้จากความเจ็บปวด

• ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ โชคดีที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติมีมาก

• ต้องเรียนรู้จากการฟัง

• สำนักข่าวกรองแห่งชาติต้องมีความคิด จินตนาการ คิดนอกกรอบ

• ลอกความคิด 20% เข้าใจ 30% ใช้ให้เกิดประโยชน์และมูลค่าเพิ่ม 50%

• ไม่มีคนเก่งที่ทำงานน้อย แต่ต้องทำงานที่เราชอบและขยายมาจากความสามารถของเรา

• เราจะทดสอบ Creativity และ Innovation ทำงานแบบ Routine ไม่ได้แล้ว

• จะมีกรณีศึกษา อยากให้รุ่น 2 เขียนกรณีศึกษามากขึ้น

• จะมีการเลือกประธานรุ่น และอยากให้ประธานรุ่นเลือกกรรมการวิชาการ 3-4 คน

• ต้องมีการจัด public seminar ด้วย

• อ่านแล้วคิดว่าเกี่ยวอะไรกับข่าวกรอง

• ถามคำถามมากๆ

• ต้องมี Cross-functional team ควรเสนอกิจกรรมที่อยากทำแบบ Cross-functional team

• หลักสูตรนี้จะมีการสอนวิธีการใช้ชีวิต Life Skill

• ขอให้ยกตัวอย่างนวัตกรรมงานของข่าวกรอง

• คิดแบบ Mind Mapping

การถ่ายทอดประสบการณ์จากรุ่น 1

• รุ่น 1 นำนวัตกรรมมาปรับใช้

• หลักสูตรรุ่น 1นำอาจารย์แขนงต่างๆมาบรรยายให้ฟัง

• รุ่น 1 ได้เรียนรู้และรับทราบจุดอ่อน

• รุ่น 1 มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ใช้ blog แลกเปลี่ยนความรู้

• เมื่อสิ้นสุดหลักสูตร ควรนำความรู้มาพัฒนาตนเอง และการทำงาน

• ประธานติ่งก็แนะนำการบ้าน รุ่น 2 ก็ต้องทำให้ได้ดีด้วย

• อาจารย์ฝึกให้เราอ่าน ตีความ

• ถ้าช่วยกันอ่านภาษาอังกฤษ ก็พอทำได้

• อยากให้สนใจ Mind Map ใช้ในงานข่าวกรอง เช่น จดบันทึก

Learning Forum หัวข้อ ปฐมนิเทศและแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ (ต่อ)

• ผมอยากจะเรียนรู้จากท่าน

• Team learning ต้องมีนอกห้อง ปรึกษาเพื่อนแต่ต่างคนต่างเขียน เพราะทำให้ได้ความคิดหลากหลาย

• ถ้าทำงานภาษาอังกฤษ จะให้ส่งเป็นกลุ่ม

Workshop

สรุป

1. ฟังแล้วได้อะไร

2. คาดหวังอะไรจากโครงการนี้

กลุ่ม 1

1. ฟังแล้วได้อะไร

• แลกเปลี่ยนเรียนรู้

• คิดนอกกรอบ ยอมรับสิ่งที่ดีมาใช้

2. คาดหวังอะไรจากโครงการนี้

• จะเพิ่มทักษะตนเองหลังจบ

• จะรักการอ่าน ใฝ่รู้ตลอดเวลา

ดร.จีระ

• จับประเด็นได้ดี

• ตัวเราควรจะนำสิ่งที่ดีออกมาและทิ้งสิ่งที่เสียออกไป

• เราใช้จุดความเป็นเลิศน้อยเกินไป

กลุ่ม 2

1. ฟังแล้วได้อะไร

• ทรัพยากรมนุษย์สำคัญสุด ควรจะรักษาและพัฒนาให้เกิดศักยภาพให้ทำประโยชน์

• เปิดใจรับความรู้และนวัตกรรม นำไปใช้ทำงาน

2. คาดหวังอะไรจากโครงการนี้

• ต้องการพัฒนาตนให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น

ดร.จีระ

• ต้องให้ตัวเราเองมีคุณค่าก่อนไม่ว่าเราจะตำแหน่งเราเล็กก็ตาม

กลุ่ม 3

1. ฟังแล้วได้อะไร

• ความรู้เราสร้างได้โดยตั้งคำถาม ตื่นรู้ ใฝ่รู้

• เปิดรับสิ่งใหม่ๆที่เข้ามา คิดแง่บวก

• พัฒนาตนเอง ค้นคว้าตลอดเวลา เตรียมความพร้อมและสร้างความต่อเนื่อง

2. คาดหวังอะไรจากโครงการนี้

• สามารถนำความรู้ไปใช้ทำงาน เตรียมความพร้อมศักยภาพ นำไปใช้ในชีวิต

ดร.จีระ

• สุดยอด

กลุ่ม 4

1. ฟังแล้วได้อะไร

• ธรรมชาติแต่ละตนต่างกัน ความคิดต่างกัน ปรับทัศนคติเข้าหากันสำคัญต่อการอยู่ร่วมกัน

• ประสบการณ์ดำรงชีวิตของดร.จีระ ทำให้ทราบว่า เงินไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด

• อาจารย์ทำให้เห็นว่า เราต้องมีเป้าหมายในชีวิต

• ควรรู้จักเป้าชีวิต

2. คาดหวังอะไรจากโครงการนี้

• นำความรู้มาใช้ทำงาน

• ปรับทัศนคติ

ดร.จีระ

• คนเราต้องมีอุดมการณ์ในการทำงาน

• สำนักข่าวกรองต้องมี social trust และแบรนด์ ต้องเปิดตัวมากขึ้น

• ถ้าคิดเรื่องเงิน ก็จะบ้าวัตถุนิยมมากขึ้น

• ไม่ควรพูดจารุนแรงในการโต้เถียง

กลุ่ม 5

1. ฟังแล้วได้อะไร

• แนวคิดพัฒนาบุคลากร

• วิธีการที่จะเรียนรู้ร่วมกัน ต้องเปิดในรับความคิดเห็น มีทัศนคติแง่บวก

2. คาดหวังอะไรจากโครงการนี้

• นำความรู้ ทัศนคติมาใช้ให้องค์กรก้าวหน้า

• เชื่อมโยงเครือข่ายผู้เข้ารับการอบรม นำไปสู่การเรียนรู้ที่ไม่มีวันจบสิ้น

กลุ่ม 6

1. ฟังแล้วได้อะไร

• ต้องสำรวจตนเองก่อนเรียน ต้องมี Reality และRelevance

• การทำงานเป็นทีม Trust, Team, Tomorrow

2. คาดหวังอะไรจากโครงการนี้

• นำสิ่งที่เรียนไปใช้ในการทำงาน

• เครือข่ายสมาชิกผ่าน blog

ดร.จีระ

• ถ้าเรียนไม่ตรงความจริงมาเรียน ก็ไม่ควรเรียน

• อยากให้นำ Case 2R’s มาวิเคราะห์

ม.ล.ชาญโชติ

• ยินดีมากที่ดร.จีระให้ผมมาเป็นผู้ช่วย

• เราอาจจะได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดกัน

การบ้านอ่านบทความ Xi Jinping แสดงความคิดเห็นผ่าน blog ส่งคืนนี้ก่อน 2 ยาม

การบ้านรายบุคคล อ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้แล้วสรุปว่าดีต่อสำนักข่างกรองอย่างไรและแสดงความคิดเห็นความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษผ่าน blog ส่งก่อนเช้าวันอาทิตย์นี้

ความรู้ที่ได้รับจากบทความ Xi jinping

1. ผู้นำจีนกำหนดระยะเวลาและเป้าหมายหลักที่ชัดเจนในการพัฒนาประเทศ

2. ผู้นำจีนรุ่นต่อมาดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายหลักได้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด โดยดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะแรก และก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วพร้อมกันในทุกด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาความพร้อมด้านสาธานณูปโภค

3. ผู้นำจีนทุกๆ รุ่นสานต่อเป้าหมายหลักอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง โดยไม่เปลี่ยนแปลง แต่เพิ่มเป้าหมายรอง ตามกระแสโลกาภิวัฒน์ที่เลือกแล้วว่าเหมาะสมกับศักยภาพ เพื่อคงไว้ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ และความเป็นประเทศมหาอำนาจของโลก

การนำแนวคิดของผู้นำจีนมาปรับใช้ภายในองค์กร

1. องค์กรต้องกำหนดระยะเวลา และเป้าหมายหลักที่ชัดเจน และคงเป้าหมายหลักไว้อย่างต่อเนื่องไม่เปลี่ยนแปลง

2. ผู้บริหารเปลี่ยน เป้าหมายหลักต้องไม่เปลี่ยน ควรถือเป็นหน้าที่หลักที่ผู้บริหารรุ่นต่อมาต้องดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด และต้องเห็นผลที่เป็นรูปธรรม

3. ผู้บริหารทุก ๆ รุ่นต้องสานต่อเป้าหมายหลักอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง เพื่อคงไว้ซึ่งความสามัคคี และความน่าเชื่อถือขององค์กร

1. จีนมีการรวางแผนสำหรับผู้นำที่จะมาบริหารประเทศในแต่ละรุ่น มีการกำหนดกรอบ และยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน

เน้นผู้นำที่มีคุณธรรม

2. มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดคือคัดเลือกผู้นำที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ และผู้นำสามารถบริหารประเทศจนครบวาระ

3. กระทำอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

การสร้างผู้นำของ สขช.ควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์ไว้ในอนาคตว่าต้องการสร้างผู้นำในลักษณะใด สขช.ขาดแคลนบุคคลากร

ด้านใด เตรียมความพร้อมด้วยการแสวงหาเพิ่มเติม หรือเพิ่มพูนความรู้ให้กับกับบุคคลากรในองค์กร เพื่อที่จะสามารถรองรับยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง

อ่านแล้วได้อะไร :

๑) ทราบถึงวิธีการสร้างผู้นำของจีน ซึ่งทำเป็นขั้นตอนโดยมีการวางแผนกำหนดตัวผู้นำ

ที่มีคุณภาพในแต่ละรุ่นไว้ล่วงหน้า ระบบดังกล่าวมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือได้ผู้นำที่มีคุณธรรมและความรู้ความสามารถ ข้อเสียคือหากผู้นำคลั่งอำนาจก็จะยากที่จะคัดค้านได้ จุดอ่อนคือไม่เปิดเสรีการเลือกตั้งและเป็นระบบผูกขาดทางการเมือง ส่วนจุดแข็งคือทำให้การเมืองของจีนมีเสถียรภาพและอาศัยความรู้ความสามารถของผู้นำที่วางตัวไว้ในแต่ละรุ่นพัฒนาประเทศให้รุ่งเรืองจนก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ ๒ ของโลก

วิเคราะห์ว่าจะสร้างผู้นำใน สขช. ได้อย่างไร :

๒) การสร้างผู้นำใน สขช. สามารถวางตัวบุคคลที่จะขึ้นดำรงตำแหน่งผู่บริหารระดับสูง

ขององค์กรเช่นเดียวกับการวางแผนกำหนดตัวผู้นำของจีน โดยการพิจารณาคัดสรรจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่นเข้าดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์กร และส่งเสริมคนรุ่นใหม่ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีโอกาสเลื่อนตำแหน่งรวดเร็วเป็นกรณีพิเศษ เพื่อที่จะสามารถเข้าดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์กรและก้าวเข้าสู่ตำแหน่งผู้นำระดับสูงในอนาคตต่อไป

1. บทเรียนเรื่อง สิ จินผิง ผู้นำประเทศจีนนั้น สะท้อนให้เห็นถึงนโยบายการสร้างผู้นำของประเทศจีนที่เป็นระบบและมีความชัดเจนล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ถูกกำหนดหรือถูกวางตัวดังกล่าวได้ถูกคัดสรรว่าเป็นผู้นำที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมและมีความรู้ความสามารถที่ดี ดังเห็นได้จากผู้นำใน 4 รุ่นที่ผ่านมา ซึ่งทำให้จีนประสบความสำเร็จมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนโยบายการสร้างผู้นำของจีนดังกล่าวมีทั้งข้อดีและข้อด้อยต่างกัน อย่างไรก็ตาม เห็นได้ว่าจีนมุ่งมั่นเรื่องความมั่นคงทางการเมืองเพื่อนำประเทศไปสู่ความสำเร็จในระยะยาวมากกว่าการให้ความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชน

2. จากความสำเร็จในเรื่องระบบการสร้างผู้นำของจีน เมื่อจะประยุกต์ใช้กับระบบการสร้างผู้นำขององค์กรด้านความมั่นคงในไทยซึ่งเป็นองค์กรที่ต้องดูแลความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงของประเทศ และความผาสุกของประชาชนแล้ว จะพบว่าเราสามารถนำจุดเด่นของจีนมาใช้ได้ในระดับหนึ่ง แต่สามารถเพิ่มเรื่องความเป็นประชาธิปไตยหรือความยุติธรรมมาเป็นปัจจัยในการกำหนดผู้นำได้ โดยเฉพาะระบบการสร้างผู้นำขององค์กรที่มีความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องสร้างขึ้นอย่างเป็นขั้นตอนและมีรากฐานที่มั่นคง ตัวอย่างเช่น เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการรับ จนท.ใหม่ ต้องจัด จนท.รุ่นพี่ที่เป็นตัวอย่างที่ดีให้การดูแลและเป็นพี่เลี้ยง จนท.รุ่นน้องให้มีความรู้ความเข้าใจในหน้าที่และบทบาทขององค์กร, การอบรมปรับพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเพื่อเตรียมการปฏิบัติงาน, การกำหนดคุณสมบัติของ จนท.ที่จะเติบโตในทุกระดับ เช่น ตำแหน่งหัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย หรือ ผอ. ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่กำหนดไว้อย่างเป็นขั้นตอนทั้งด้านการบริหารจัดการ การเพิ่มศักยภาพ/ทักษะของ จนท. ซึ่งเป็นผลดีเพราะนอกจากจะเป็นการพัฒนาศักยภาพของ จนท.อย่างเป็นระบบแล้ว จะทำให้ จนท.รู้อนาคตในหน้าที่การงานของตัวเอง และเตรียมความพร้อมของตัวเองให้มีความเหมาะสมที่จะก้าวผ่านการคัดเลือก/คัดสรรอย่างเป็นธรรมโดยมุ่งความสำเร็จขององค์กรและประเทศชาติเป็นสำคัญ

จากบทความกรณี Xi jinping จะได้เป็นประธานาธิบดีจีนคนต่อไป

1.อ่านแล้วได้อะไร

- ได้ทราบการกำหนดตัวบุคคลที่จะมาสืบทอดอำนาจผู้นำสูงสุด มีการกำหนดคุณสมบัติความเหมาะสม ความรู้ความสามารถในแต่ละรุ่นให้ตรงกับสถานการณ์ของประเทศในรุ่นนั้นๆ ซึ่งการที่ประเทศจีนปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ มีพรรคเดียว ผู้นำสูงสุดมีอำนาจตัดสินใจ ทำให้ง่ายต่อการกำหนดตัวบุคคลที่จะมาเป็นผู้นำ ไม่มีพรรคฝ่ายค้าน หรืออำนาจอื่นเข้ามาแทรกแซง

2. จะมาวิเคราะห์กับการสร้างผู้นำใน สขช.ได้อย่างไร

- การสร้างผู้นำใน สขช.ก็มีการกำหนดตัวบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ที่จะมาเป็นผู้นำองค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ดูจากผลงานตั้งแต่ในระดับผู้ปฏิบัติงาน ไปจนถึงระดับบริหาร มีผลงานเป็นที่ยอมรับ มีความรู้ความสามารถ โดยผู้บริหารสูงสุดจะเป็นผู้ประเมิน แต่ยังมีปัจจัยที่อาจทำให้เกิดการผลิกผัน ไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ คือปัจจัยทางการเมือง เมื่อการเมืองเปลี่ยนขั้ว ผู้นำสูงสุดขององค์กรอาจมาจากคนที่ผู้นำทางการเมืองในยุคนั้นเป็นคนกำหนด และไม่ได้มาจากคนใน (ลูกหม้อ) การกำหนดตัวบุคคลที่จะมาเป็นผู้นำสูงสุดขององค์กรจึงมีปัจจัยทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง

1. อ่านบทความนี้แล้วได้อะไร

ได้เรียนรู้การสร้างผู้นำที่มีคุณภาพที่มีความรู้ความสามารถรอบด้านอย่างเป็นขั้นตอน

2. วิเคราะห์การสร้างผู้นำใน สขช.

จนท.ใน สขช. ทุกคน ต้องพัฒนาตนเองให้มีความพร้อมรอบด้านอย่างเป็นระบบ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อรับสถานการณ์ในอนาคตที่เปลี่ยนไป โดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

สิ่งที่ได้รับจากบทความเกี่ยวกับวิธีการได้ผู้นำในประเทศจีน คือ การสร้างและพัฒนาทรัพยากรบุคคล การรักษาคลังปัญญา รวมถึงการทราบถึงจุดอ่อน จุดแข็ง และศักยภาพของแต่ละบุคคล มีการกำหนดเป้าหมาย วางแผนและวางตัวบุคลลให้เหมาะสม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้การได้มาของบุคลากรที่สำคัญนั้น เน้นวิธีการคัดสรรมาอย่างเป็นระบบ โดยยึดหลักคุณธรรม ความสามารถ และความรู้ของบุคคลเป็นหลัก สิ่งที่สำคัญบุคคลต่าง ๆ ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนคัดเลือกเข้ามานั้น และนำมาจัดลำดับไว้นั้น ต่างเป็นที่ยอมรับของประชาชนโดยทั่วไป

ทั้งนี้แนวทางในการวางตัวผู้นำองค์กรในอนาคต นั้น โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าในองค์กรของผม ได้มีการวางตัวบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้นำ มานานแล้ว แต่ไม่ถึงกับประกาศให้สาธารณชนได้รับรู้ ซึ่งในบางครั้งก็เป็นไปตามที่มีการวางตัวไว้ ส่วนที่มีการพลาดไปบ้างนั้น อาจมีปัจจัยจากหลายด้านโดยเฉพาะ ฝ่ายการเมือง รวมทั้งพรหมลิขิต

จากการอ่านบทความ Xi jinping ผู้ที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำของประเทศจีนในปี 2012 นั้น ทำให้ทราบได้ว่า ผู้นำของจีนในอดีตมีวิสัยทัศน์ในการที่จะนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาได้เป็นอย่างดี โดยเห็นได้จากการ

1) มีการกำหนดตัวผู้นำที่จะขึ้นมาบริหารประเทศไว้ล่วงหน้า ซึ่งสามารถวางเป็นระบบได้อย่างต่อเนื่อง โดยผู้ที่ถูกวางให้ขึ้นมาเป็นผู้นำในแต่ละรุ่นจะต้องมีคุณธรรมและความรู้เป็นคุณสมบัติที่เด่น

2) มีการวางแผนและเป้าหมายในการพัฒนาประเทศโดยผ่านผู้นำในแต่ละรุ่น

3) เมื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศที่ชัดเจนแล้ว สามารถสร้างผู้นำให้มีความรู้และความเข้าใจในสิ่งที่จะช่วยเสริมสร้างการพัฒนาประเทศได้อย่างมั่นคง

อย่างไรก็ดี เมื่อหันกลับมามองนโยบายการกำหนดตัวผู้นำในองค์กรในปัจจุบันนั้น ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก ซึ่งอาจเป็นเพราะด้วยความเป็นข้าราชการการวางแผนกำหนดตัวผู้บริหารสูงสุดขององค์กรอาจเป็นเรื่องที่ไม่นิยมทำและอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ในอนาคต เนื่องจากมีหลายปัจจัยเป็นตัวแปร ทั้งนี้ การวางแผนสร้างผู้นำสามารถทำได้ในหลายระดับ ซึ่งหากต้องการเสริมสร้างภาวะผู้นำให้กับบุคลากรในองค์กร ควรจะเริ่มมองจากวิสัยทัศน์ขององค์กรว่าต้องการเป็นอย่างไรในอนาคตข้างหน้า เมื่อสามารถกำหนดทิศทางการทำงานในองค์กรได้แล้ว ก็หันกลับมาสำรวจบุคลากรในองค์กรว่ายังขาดตกบกพร่องในเรื่องใดที่สำคัญที่จะนำพาองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์ที่ได้ตั้งไว้ จากนั้นก็เติมในสิ่งที่ขาดพร้อมทั้งสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

การสร้างภาวะผู้นำให้กับคนในองค์กรไม่ใช่เรื่องยาก แต่ที่จะยากคือเมื่อสร้างคนให้เป็นผู้นำแล้ว คนในองค์กรเปิดโอกาสให้กับคนผู้นั้นได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่หรือไม่ ?????

ถึงผู้นำข่าวกรองรุ่น 2 ที่รักทุกท่าน

ผมได้ตรวจสอบการส่งการบ้านช่วงเกือบ 3 ทุ่มจากคอมพิวเตอร์ที่บ้าน หลายท่านส่งการบ้านเข้ามาแล้ว ผมกำลังอ่านอยู่ด้วยความสนใจ นี่ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของการแสดงความสนใจที่จะแสดงความคิดเห็นและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

อนึ่ง วันนี้ในช่วงพิธีเปิด ท่าน ผขช.สุวพันธุ์ ก็ได้แสดงความลุ่มลึกในการวิเคราะห์เรื่องทุนมนุษย์ทำให้การทำงานของผมได้มีความสำเร็จ เพราะผู้นำสนใจจริงและเอาใจใส่ และครั้งนี้ก็จะเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้หาความรู้ร่วมกัน แล้วพบกันพรุ่งนี้เช้าครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

จากการอ่านบทความเรื่องนาย Xi jinping เห็นว่า

1. การสร้างผู้นำอย่างเป็นระบบของจีนเป็นสิ่งที่ดี เหมาะสมกับประเทศของเขา เพราะว่าจีนมียุทธศาสตร์ต้องการเป็นประเทศมหาอำนาจ มีนโยบายชัดเจน ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ โดยมีคู่แข่งที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย ผู้นำจึงมีความสำคัญมาก จำเป็นจะต้องวางตัวไว้เพื่อพัฒนาให้มีคุณลักษณะที่เหมาะสมตามที่ต้องการ ซึ่งไทยก็ควรมีผู้นำที่ดี แต่วิธีการไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน

2. ประเทศไทยควรจะมีความชัดเจนในเรื่องผู้นำด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่าเราจะปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมองดูเป็นจุดแข็งแต่ประชาธิปไตยของไทยยังอ่อนแอ พรรคการเมืองควรจะมีระบบการสร้างผู้นำที่ชัดเจน เพื่อให้ได้ผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถ ให้ประชาชนเลือก

3. ผู้นำทางการเมืองมีความสำคัญมาก เพราะจะนำพาประเทศชาติไปในทิศทางก้าวหน้าเจริญรุ่งเรือง หรือบ้านเมืองตกต่ำมีปัญหา ดังนั้น คุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถของผู้นำจึงสำคัญ วิชาความรู้ที่นักการเมืองมี ควรจะเหมาะสมกับสถานการณ์และความจำเป็น ดังนั้น จึงควรสนใจเรื่องการพัฒนานักการเมืองอย่างจริงจัง

4. การพัฒนาผู้นำในองค์กร เห็นว่าควรจะมีการสร้างอย่างเป็นระบบ เพราะระบบจะช่วยคัดเลือกและพัฒนาคนที่มีความรู้ ความสามารถที่เหมาะสม ส่วนคนอื่นๆ ก็จะรู้ขีดความสามารถของตนเอง เมื่อเป็นระบบการทำงานก็จะไม่มีปัญหา ทุกคนก็จะยอมรับในความรู้ความสามารถของตนเอง และพร้อมใจกันที่จะทำงานเพื่อองค์กร

๑. สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความ Xi jinping

๑.๑ ประเทศจีนมีการวางแผนในการเตรียมผู้นำโดยการวิเคราะห์ การกำหนดเป้าหมาย และการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน ชัดเจนในการที่จะนำประเทศไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว

๑.๒ มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และจริงจัง

๒. การนำไปปรับใช้กับการสร้างผู้นำของ สขช.

ในการเตรียมสร้างผู้นำของ สขช. ควรจะต้องมีการวิเคราะห์ และวางแผนในการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นขั้นตอน ชัดเจน และต่อเนื่อง ว่า ขรก. ในแต่ละระดับควรจะต้องได้รับการพัฒนาในหลักสูตรด้านใดบ้าง ทั้งในด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนะคติต่าง ๆ โดยมีการปฏิบัติตามแผนอย่างเป็นระบบ และจริงจัง เพื่อให้เกิดการสั่งสมความรู้ ทักษะ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวไปสู่การเป็นผู้นำที่ดีในทุก ๆ ด้าน

สมพงษ์

จากการอ่านบทความเกี่ยวกับวิธีการได้ผู้นำในประเทศจีน

เมื่ออ่านบทความนี้แล้วได้อะไร

- ทำให้ทราบว่าประเทศจีนมีการกำหนดตัวผู้นำไว้ล่วงหน้า โดยให้ความสำคัญเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ มีการกำหนดเส้นทางการศึกษาและเส้นทางการทำงาน เพื่อพัฒนาบุคลลที่จะมาเป็นผู้นำในรุ่นต่อๆ ไป มีประโยชน์คือทำให้ผู้ที่ถูกกำหนดตัวให้เป็นผู้นำได้พัฒนาตนเองและวางแผนการพัฒนาประเทศไว้ล่วงหน้า

นำมาปรับใช้ในสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) ได้อย่างไร

- ผู้บริหาร สขช.ควรจะกำหนดตัวผู้นำรุ่นต่อๆ ไป โดยดูจากการศึกษา การฝึกอมรมหลักสูตรต่างๆ การทำงานมีการมอบหมายงานที่ยากๆ และท้าทายให้ทำ มีการวางเส้นทางการทำงานให้มีความเจริญก้าวหน้าในสายงาน เพื่อจะได้มีทุนความรู้ มีทัษณะ และทัศนคติทางบวก ในการบริหารองค์กรต่อไป

1. อ่านแล้วได้อะไร

- บทความของท่าน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งเขียนใน นสพ.แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 30 ต.ค.53 เกี่ยวกับวิธีการได้ผู้นำในประเทศจีนนั้น ทำให้ทราบว่า

1.1 ประเทศยักษ์ใหญ่อย่าง สปจ. นั้น ผู้นำระดับการเมืองแต่ละคนจะมีวาระการดำรงตำแหน่งเพียง 2 สมัยเท่านั้น (วาระละ 5 ปี) แต่จุดที่น่าให้ความสนใจคือ สปจ. มีการวางแผนในการสร้างผู้นำอย่างเป็นขั้นตอน ด้วยการกำหนดวางตัวบุคคลที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมทั้งความรู้ คุณธรรม และความสามารถ เตรียมขึ้นเป็นผู้นำของประเทศไว้ล่วงหน้าเป็นเวลา 5 ปี โดยที่แผนการวางตัวดังกล่าวไม่มีการคลาดเคลื่อน ทำให้เราทราบล่วงหน้าว่าใครจะก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ซึ่งนับเป็นกระบวนการสำคัญที่นำพา สปจ. ไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว

1.2 ทำให้ทราบถึงพัฒนาการทางการเมืองของ สปจ. ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 รุ่น ตามผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำในแต่ละสมัย

รุ่นที่ 1 (ปี 1949 – 1976 มีเมาเซตุง เป็นผู้นำ) สะท้อนภาพการเมืองจีนในยุคของการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง

รุ่นที่ 2 (ปี 1976 – 1992 มีเติ้งเสี่ยวผิง เป็นผู้นำ) เป็นยุคที่ สปจ. มีการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ จนทำให้จีนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจในที่สุด

รุ่นที่ 3 (ปี 1992 – 2003 มีเจียง ซีมิน เป็นผู้นำ) เป็นยุคที่ สปจ. เริ่มเปิดตัวทางด้านเศรษฐกิจสู่ประชาคมระหว่างประเทศ เช่น มีการจัดประชุม APEC ในจีน และสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)

รุ่นที่ 4 (ปี 2003 – 2013 มีหู จิ่นเทา เป็นผู้นำ) ในยุคนี้ระบบเศรษฐกิจของ สปจ. มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ส่งผลทำให้จีนมีอิทธิพลต่อประชาคมโลกทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง

รุ่นที่ 5 (ปี 2013 - 2023 มีสิ จินผิง เป็นผู้นำ) รุ่นนี้เป็นเพียงการกำหนดตัวผู้นำในอนาคตของ สปจ. โดยมีการคาดการณ์ว่าผู้นำในรุ่นที่ 5 ของ สปจ. ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ภารกิจของผู้นำจีนในรุ่นนี้ คือ การเปิดเผยตัวตนของจีนให้โลกยอมรับประชาธิปไตยในแบบคอมมิวนิสต์ เนื่องจากบ่อยครั้งที่จีนถูกประชาคมโลกประณามระบอบการเมืองของจีน ว่าการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ของจีน เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของประชาชน

2. วิเคราะห์การสร้างผู้นำใน สขช. ได้อย่างไร

- การวางแผนการสร้างผู้นำของ สขช. ไม่สามารถทำได้ในแบบเดียวกับการวางตัวผู้นำในประเทศจีน ซึ่งมีการวางตัวบุคคลที่เป็นผู้นำสูงสุดไว้ล่วงหน้า ซึ่งหาก สขช. มีการกำหนดตัวบุคคลขึ้นเป็นผู้นำองค์กรไว้ล่วงหน้า อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของตัวผู้นำองค์กรสูงสุดเอง รวมถึงบุคคลที่ถูกเก็งตัวด้วย เนื่องจากระบบราชการไทยเป็นระบบคุณธรรม ซึ่งเน้นหลักความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ประกอบกับมีการจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมากมายเพื่อรับเรื่องร้องเรียนต่างๆ ซึ่งหากบุคคลที่จะขึ้นเป็นผู้นำองค์กรคนต่อไปไม่มีคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถดีพอก็อาจจะโดนร้องเรียนได้ อย่างไรก็ตาม การสร้างผู้นำใน สขช. ควรเริ่มต้นด้วยการวางแผนด้านกำลังพลขององค์กร และสร้างศักยภาพของบุคลากรในองค์กร ด้วยการจัดให้มีการอบรมความรู้ด้านต่างๆ แก่ข้าราชการ ซึ่งในอนาคตไม่ว่าบุคคลใดจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำสูงสุดขององค์กรก็เป็นที่แน่นอนว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ พร้อมที่จะเป็นผู้นำสูงสุดขององค์กรได้ แต่สิ่งสำคัญคือนอกจากจะเป็นผู้นำที่เก่งแล้วยังจะต้องเป็นผู้นำที่มีคุณธรรมด้วยจึงจะมีความสมบูรณ์แบบแห่งการเป็นผู้นำ

สิ่งที่ได้รับจากการอ่านบทความ

1. การบริหารประเทศแบบพรรคเดียวทำให้มีเอกภาพในการบริหารจัดการ สามารถวางแผนที่จะพัฒนาผู้นำให้เป็นผู้นำ

ที่มีศักยภาพได้

2. การวางตัวผู้นำไปสู่ความสำเร็จระยะยาว ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ความมีคุณธรรม การมีวิสัยทัศน์ที่เปิดกว้าง

วิเคราะห์ผู้นำของ สขช.

1. เล็งเห็นความสำคัญในการวางตัวผู้นำในระยะยาว โดยการวางแผนพัฒนาผู้นำที่ดี

2. เล็งเห็นความสำคัญด้านคุณธรรมในประเด็นของความอาวุโส เพื่อให้การบริหารงาน การสั่งการ ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา

อ่านแล้วได้อะไร?

ได้รู้เรื่องการคัดเลือกผู้นำจีนว่า การสรรหาผู้นำได้ถูกคัดเลือกวางตัวไว้ก่อน ได้ผ่านขบวนการตรวจสอบ มาตามลำดับ มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ผลงานในอดีตผ่านงานสำคัญต่าง ๆมาก่อน มีความเหมาะสมในตำแหน่งใหม่ มีบุคคลิกความเป็นผู้นำที่จะนำประเทศ เช่น สี จินผิง เคยดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสาขาพรรคที่ฟูเจี้ยน เจ้อเจียง และที่สำคัญที่นครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจใหญ่ นักวิเคราะห์ด้านจีนมองว่าจะได้เป็นผู้นำสูงสุด ก่อนหน้านั้นยังไม่มีความชัดเจนนัก เพราะตัวเก็งที่คาดว่าจะได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไปมีอยู่ 2 คน คือนาย หลี่ เค้อเชียง (Li Keqiang) เลขาธิการพรรคประจำมณฑลเหลียวหนิง ซึ่งนายหู จินเทา ให้การสนับสนุน กับนาย สี จินปิง (Xi Jinping) เลขาธิการพรรคประจำเขตปกครอง นครเซี่ยงไฮ้ ที่นายเจียง เจ๋อ หมิน อดีตประธานาธิบดีและอดีตเลขาธิการพรรค หนุนอยู่ จากผลการประชุมประจำปีของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ระหว่างวันที่ 8-11 ตุลาคม 2553 ได้มีการแต่งตั้งนายสี จินปิง รองประธานาธิบดีคนปัจจุบัน เป็นรองประธานคณะกรรมการกิจการทหารของพรรค ซึ่งมีหูจิ่นเทาเป็นประธานอยู่ในขณะนี้ ซึ่งผุ้สังเกตการณ์การเมืองวิเคราะห์ว่า นี่เป็นการวางทายาทคนใหม่

วิเคราะห์การสร้างผู้นำใน สขช.ได้อย่างไร?

การสารหาผู้นำในองค์กรต่าง ๆ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันของ สขช.เช่น ต้องผ่านหน้าห้องผู้บังคับบัญชา ไปตากแดด ไปโพสต์ต่างประเทศมาเป็นต้น ถึงจะก้าวขึ้นเป็นผู้บริหาร ในสำนัก/กองต่างๆ และขึ้นเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดต่อไป

1. ข้อคิดที่ได้จากบทความที่กล่าวถึง Xi Jinping ซึ่งจะได้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำประเทศในตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศจีนแทน Hu Jintao ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นคงทางด้านการเมืองของจีนได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถกำหนดตัวผู้นำประเทศไว้ล่วงหน้าได้ ทำให้การบริหารประเทศมีความต่อเนื่อง นอกจากนี้ผู้นำจีนยังมีวิสัยทัศน์ในการบริหารประเทศ ดังจะเห็นได้จากผลงานของผู้นำจีนในรุ่นต่างๆ ที่สามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้ประเทศจีนสามารถพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจเทียบเท่ากับประเทศในตะวันตก

2. จากข้อคิดข้างต้น สขช. จึงควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในยุคปัจจุบันที่เรียกว่า "ยุคไซเบอร์" ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตระหนักถึงภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศที่จะมีขึ้นในอนาคต และกำหนดแนวทางปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาอย่างมีระบบ ก็จะสามารถก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำหรือผู้บริหารองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

 

สิ่งที่ได้รับจากการอ่าน

- ความสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ หากมีการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมสอดคล้อง โดยยึดพื้นฐานของสภาวะความเป็นจริง และสามารถปฏิบัติได้ ภายใต้การวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของประเทศจะทำให้ประเทศมีการพัฒนาที่เป็นระบบ ตั้งแต่แผนยุทธศาสตร์ ผู้นำ และการนำแผนไปปฏิบัติ เพื่อนำประเทศไปสู่ความเจริญอย่างยั่งยืน

- กระบวนทัศน์ใหม่ในการสร้างและพัฒนาผู้นำ ที่จะต้องสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้นำที่หลากหลายมากไปกว่าการเน้น

ความรู้ ความสามารถในด้านการปกครอง จำเป็นต้องเสริมทักษะในด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์โลกปัจจุบัน ควบคู่ไปกับจริยธรรม

วิเคราะห์ผู้นำใน สขช.

- การส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีภาวะผู้นำ โดยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งจากการอบรม และจากการสั่งสมประสบการณ์ในการทำงาน โดยไม่จำเป็นต้องเก็งตัวเพื่อพัฒนาในระยะยาว แต่ใช้หลักการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะผู้นำให้เกิดแก่องค์กรในภาพรวมอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้ได้ผู้นำที่มีประสิทธิผลและได้รับการยอมรับจากบุคลากรในองค์กร

สรุปประเด็นจากบทความได้ดังนี้

๑.     ประเทศจีนมีการวางแผนกำหนดนโยบายสร้างผู้นำประเทศตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันรวมถึงในอนาคตอย่างเป็นระบบและจริงจัง

๒.    ผู้นำประเทศจีนจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงที่จะนำพาประเทศไปสู่ความเจริญมั่นคงเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ

 

วิเคราะห์การนำแนวคิดจากบทความมาปรับใช้กับหน่วยงาน

         ๑.   การกำหนดนโยบายหรือการวางตัวผู้นำล่วงหน้าสำหรับประเทศไทยอาจเป็นไปได้ยาก (แต่เป็นไปได้)  เนื่องจากมีตัวแปรมากมายที่ไม่สามารถควบคุมได้

         ๒.  ผู้นำหน่วยงานด้านความมั่นคงต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะตัว มองการณ์ไกล ต้องอาศัยประสบการณ์ที่สั่งสมมาเป็นเวลานานในการนำพาองค์กรให้เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ   

1.การสร้างผู้นำตามระบบของประเทศจีน มีจุดแข็งที่สามารถกำหนดตัวบุคคลที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำอย่างที่ใจต้องการได้ง่าย เนื่องจากมีปัจจัยที่นำมาเป็นข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้นำน้อยกว่ากลุ่มประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ไม่มีผลกระทบทางการเมืองซึ่งปัญหาของระบอบประชาธิปไตยเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงสามารถกำหนดทิศทางการบริหารงานเพื่อความสำเร็จของประเทศในระยะยาวได้ตามที่ต้องการ

2.การสร้างผู้นำในสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ทิศทางของการกำหนดตัวบุคลากรที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำองค์กรในอนาคตในห้วงปัจจุบันองค์กรสามารถกำหนดได้เฉพาะเพียงบางส่วน หรือในมุมกว้าง ไม่สามารถกำหนดในลักษณะการเจาะจงได้ ทั้งนี้เนื่องจากมีปัจจัยเรื่องของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง

อ่านบทความแล้วได้อะไร 3 ประเด็น

1. จีนมีการวางแผนระยะยาวในการกำหนดเป้าหมายและทิศทางของประเทศ ซึ่งจากผู้นำ 4 รุ่นที่ผ่านมาของพรรคคอมมิวนิสต์จีน นับว่าประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ และได้รับการยอมรับ

2. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนประสบความสำเร็จคือ การสร้างผู้นำที่มีคุณภาพ

3. การสร้างผู้นำของจีนมีการทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เริ่มจากการกำหนดคุณสมบัติผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีคุณธรรม จากนั้นคัดเลือกตัวบุคคล และพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีความสามารถที่จะบริหารงานตามเป้าหมายที่ได้วางไว้

วิเคราะห์กับการสร้างผู้นำในสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

ระบบการสร้างผู้นำของจีนที่ สขช. สามารถนำบางประเด็นมาปรับใช้ได้ คือ การกำหนดทิศทางและเป้าหมายขององค์กรในระยะยาว เพื่อให้สามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลากรให้สามารถตอบสนองเป้าหมายนั้นได้ ซึ่งจากระบบการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาปฏิบัติงานใน สขช. ก็นับว่าเป็นการคัดเลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถแล้วในขั้นต้น แต่การวางตัวหรือระบุผู้ที่จะเป็นผู้นำไม่สามารถทำได้เพราะขัดกับกฎระเบียบของข้าราชการ ที่ทำได้คือ การพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ สขช. ในด้านที่จำเป็นกับวิชาชีพของ สขช. การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งการให้ความสำคัญกับทัศนคติ และคุณธรรม ซึ่งควรจะจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ให้ทุกคนมีความพร้อมที่จะเป็นผู้นำในทุกระดับ

ทั้งนี้ การสร้างทัศนคติและคุณธรรมเป็นสิ่งจำเป็น เพราะผลงานของ สขช. บางเรื่องไม่สามารถเปิดเผยได้ ขณะเดียวกัน วิชาชีพของ สขช. หากนำไปใช้ในทางที่ควรก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคมโดยรวม แต่ถ้านำไปใช้ในทางไม่เหมาะสมหรือเพื่อประโยชน์ส่วนตนก็จะเป็นอันตรายต่อประเทศชาติ

1. อ่านแล้วได้อะไร ?

- จากบทความเกี่ยวกับผู้นำคนใหม่ของสาธารณรัฐประชาชนจีน Xi Jinping ทำให้ได้ข้อคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับการกำหนดตัวผู้นำระดับประเทศ จะเห็นได้ว่าจีน ได้มีการวางแผนกำหนดผู้นำที่มีคุณภาพล่วงหน้ากว่า 5 ปี เป็นการวางตัวผู้นำเพื่อนำประเทศไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว ทั้งนี้ การกำหนดตัวผู้นำของจีนตั้งแต่รุ่นที่ 1-5 สะท้อนให้เห็นความถึงความมั่นคงทางการเมือง อันจะทำให้จีนสามารถพัฒนาในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการการเมืองได้อย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้จีนก้าวเข้ามามีบทบาทต่อโลกมากยิ่งขึ้นทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

- จะเห็นได้ว่าการการกำหนดตัวผู้นำ เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการพัฒนาประเทศให้มั่นคงในทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง จากกรณี

2. จากบทความนำมาสู่การสร้างผู้นำใน สขช.ได้อย่างไร

- การกำหนดตัวผู้นำจะต้องมีการวางแผนในระยะยาว โดยเริ่มจากพัฒนาคนให้เป็นคนเก่ง คนดี

มีสภาวะผู้นำ เพื่อให้พร้อมที่จะขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำองค์การ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีความสำตัญยิ่งที่จะนำพา สขช. ไปสู่เป้าหมาย แต่การกำหนดตัวบุคคลที่ชัดเจนอาจทำได้ยาก ต้องมีการวางเส้นทางความก้าวหน้าอย่างเป็นระบบ ควบคู่กับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (ตามหลัก 3 ต.) แม้จะต้องอาศัยระยะเวลาที่ยาวนาน แต่หากมีการริเริ่มและว่างแผนอย่างเป็นระบบ ที่สำคัญต้องทำอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้ สขช. พัฒนาสู่จุดมุ่งหมายได้สำเร็จในที่สุด

สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความXi jinping

1. การมุ่งมั่นในพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องและมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน มีการวางแผนอย่างเป็นระบบในระยะยาวด้วยการใช้หลักความต่อเนื่อง จนนำไปสู่เป้าหมายที่สูงที่สุดคือการเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก

2. การใช้ความรู้ความสามารถอย่างรอบด้าน พร้อมกับการยึดหลักคุณธรรม และยึดถือหลักสิทธิมนุษยชน

3. การเจริญเติบโตของประเทศต้องกระจายไปสู่สังคมท้องถิ่นเพื่อเปิดโอกาสที่เท่าเทียมกันให้กับคนทั้งประเทศ

การสร้างผู้นำใน สขช. จากการวิเคราะห์บทความของผู้นำจีนสามารถนำมาใช้เป็นหลักในการสร้างผู้นำใน สขช.ได้ กล่าวคือ การเป็นผู้บริหารหรือผู้นำที่ดีในองค์กรของ สขช.สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การเป็นผู้ที่มีความรู้อย่างรอบด้าน ชัดเจน และสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาและต่อยอดได้อย่างสร้างสรรค์ มีเป้าหมายที่จะมุ่งมั่นพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ดึงศักยภาพที่มีในตัวเองออกมาใช้ และทุ่มเทเสียสละให้กับองค์กรอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ ต้องยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรม นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การให้ความสำคัญกับบุคลากรอย่างเท่าเทียมกันด้วยการกระจายโอกาสในการพัฒนาตนเองอย่างทั่วถึงในทุกระดับ เพราะไม่ว่าองค์กรจะเติบโตเข้มแข็งเพียงไรแต่ขาดซึ่งบุคคลากรที่มีคุณภาพองค์กรนั้นก็คงไม่มีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน

สรุปประเด็นจากบทความ

ประเด็นที่ 1 จีนมีการวางแผนกำหนดตัวผู้นำอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ จากบทความดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจีนมีการกำหนดตัวผู้นำไว้ล่วงหน้า 5 ปี ซึ่งเป็นการวางแผนตัวบุคคลที่ชัดเจน บุคคลที่ขึ้นมาเป็นผู้นำของจีนต้องมีความรู้ความสามารถควบคู่คุณธรรม

ประเด็นที่ 2 ผู้นำของจีนในแต่ละรุ่นมีการปกครองแตกต่างกัน แต่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาการเมืองและเศรฐกิจของจีนให้มีอิทธิพลต่อการการเมืองและเศรษฐกิจของโลก นับจากยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดย

เมาเซตุง สู่ยุคหู จิ่นเทา ซึ่งเป็นผู้นำรุ่นที่ 4 พบว่าจีนวิวัฒนาการการปกครองที่คำนึงถึงปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลกระทบต่อการปกครองของจีน มีการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้นำในแต่ละรุ่นจึงกำหนดเป้าหมายได้ชัดเจน ทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การนำจีนเข้าสู่เศรษฐกิจโลก การสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน และการปรับตัวเข้าสู่ประชาธิปไตยแบบจีนในรุ่นที่ 5 ที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ประเด็นที่ 3 จีนคัดเลือกผู้นำจากระบบอุปถัมภ์ ที่พิจารณาจากเยาวชนของพรรคและลูกหลานผู้นำในอดีต

จากบทความนำไปสู่การกำหนดผู้นำ สขช. ได้อย่างไร

ลักษณะภาวะผู้นำของ สขช. ควรเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณสมบัติเฉพาะสายงาน ซึ่งการพัฒนาบุคคลขึ้นเป็นผู้นำของ สขช. ยังคงต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การกำหนดตัวบุคคลที่ชัดเจนยังไม่สามารถกำหนดได้เนื่องจากในระบบราชการมีผู้นำอยู่หลายระดับ

สวัสดีครับ ท่าน ศ.ดร.จีระ และท่านผู้เข้ารับการอบรมทุกท่าน

ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นวิทยากรพี่เลี้ยงในการอบรมโครงการ"พัฒนาทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติสำหรับบุคคลากรของสำนักข่าวกรองแห่งชาติระดับ 6-7" รุ่น 2 ผมขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่ท่านมีผู้อำนวยการที่มีวิสัยทัศน์ ผมประทับใจสิ่งที่ท่านผู้อำนวยการ สุวพันธุ์ กล่าวเปิดงานเช้านี้ ท่านได้ให้ข้อคิดกับท่านผู้เข้ารับการอบรมครั้งนี้ได้อย่างชัดเจน ตรงกับความรู้สึกของผม และผมก็มีความมั่นใจว่า ท่าน ศ.ดร.จีระ จะไม่ทำให้ท่านผู้อำนวยการผิดหวัง ส่วนผมเองก็จะทำหน้าที่อย่างเต็มที่เพื่อให้ตัวเองมีคุณค่ากับการมีส่วนร่วมในการอบรมครั้งนี้ ผมมีเวลาใกล้ชิดกับท่านที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ถึง 7 คืน 8 วัน เชื่อมั่นว่าจะมีโอกาสได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน จนสามารถนำไปพัฒนาตัวเองเพื่อสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติต่อไป พบกันพรุ่งนี้ครับ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

ศรัทธา (trust) ในความหมายของผมคือ ความเชื่อถือและความเลื่อมใส ทั้งในด้านส่วนตัวและการงาน จากบุคคลภายในและภายนอกองค์กร ในทุกสถานการณ์ ว่า จะนำพาองค์กรและบ้านเมืองไปสู่ความเจริญและสงบบสุขอย่างมั่นคงและยั่งยืน

สรุปข่าวกรอง 4-11-53

สร้างผู้นำรุ่นใหม่ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

Quotations

“Managing is doing things right ,

  Leadership is doing the right things.” Peter Drucker

 

“Don’t tell people how to do, tell them what to do and let them surprise with results.” George S. Patton

 

“Leadership is an art of getting someone else to do something you want because he wants to do it.”            Dwight D. Eisenhower 34th President of the United States

 

“Leadership is a dealer of hope” Napoleon

 

“ผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์ แต่สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้

และสามารถฝึกฝนได้” จีระ หงส์ลดารมภ์

 

“The key to successful leadership is influence not authority” K. Blanchard.

 

ความสำคัญของผู้นำในสำนักข่าวกรองฯมีอะไรบ้าง?

  • การคาดหวังของสังคม
  • การทำงานที่ยาก ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
  • ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ภาคประชาชน ปัจจัยเรื่องสิ่งแวดล้อม
  • ปัญหาต่าง ๆ มีความรวดเร็วด้วยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น
  • ปัจจัยเรื่องโลกไร้พรมแดนหรือที่เราเรียกว่า โลกาภิวัตน์” สังคมไทยและตัวท่านเองจะจัดการอย่างไร?

ดังนั้น คุณภาพของผู้นำในสำนักข่าวกรองฯ จึงจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการสร้างผู้นำรุ่นท่าน เพื่อให้ท่านสร้างผู้นำรุ่นต่อไปให้ทำงานได้ผลสูงสุดต่อแผ่นดิน

 

ชนิดของผู้นำ

               - Trust / Authority

                - Charisma

                - Situational

                - Quiet Leader

เรื่อง Trust หรือ ศรัทธาของการเป็นผู้นำเกิดได้แก่ทุก ๆ คน ไม่ใช่แค่มีตำแหน่งเท่านั้น

การบ้านให้เขียน Definition ใหม่เรื่อง Trust

 

Trust คืออะไร? มีหลายคำจำกัดความ..แต่ในความเห็นของผมน่าจะแปลว่าคนในองค์กรเชื่อมั่น ศรัทธาและพึ่งพาในการกระทำในช่วงวิกฤติและช่วงปกติที่จะนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน และคนในองค์กรมีความสุข

Trust มี 3 ขั้นตอน

  •  สร้าง (Grow)
  •  ขยาย (Extend)
  •  ดึงกลับ ถ้าหายไป  (Restore)

วิธีการได้มาซึ่ง

Self Trust คือ

  1. Integrity      
  2. Intent
  3.  Your Capability
  4. Results

(1) Integrity = Make and Keep commitment

                       = Stand for something เช่น เชื่อในความดี อย่าวอกแวก

                       = Open mind

(2)     Intent = what is your agenda

      = ทำเป้าหมายของตัวเอง ให้สำเร็จ

(3) Your Capability

  • ใช้จุดแข็ง (Strength) ของตัวเอง
  • Life long learning
  • Know what you are doing

(4) Results

  • Focus on results not not action only
  • Go for excellent, expect more than expect less
  • Finish strong

วิธีการได้มาซึ่ง Trust ระหว่างบุคคลในองค์กร

(Relationship Trust)

1)      พูดจริงทำจริง ชัดเจน ไม่คลุมเครือ

2)      ยกย่องนับถือเพื่อนร่วมงาน (Respect)

3)      ทำงานด้วยความโปร่งใส

4)      มีปัญหาที่ไม่ดี แก้ให้ดี ถูกต้อง

5)      เน้น Results มากกว่าทำโดยไม่รู้ว่าผลสำเร็จคืออะไร

6)      ต้องปรับปรุงตัวเองตลอดเวลา

7)      รับความจริงหรือรู้ศึกษาความจริง (Reality)

8)      มีความชัดเจนต่อความคาดหวังของผู้ร่วมงาน และของตัวเอง

9)      รับฟังอย่าสั่งการข้างเดียว

10)   รักษาคำมั่นสัญญา (Commitment)

ในต่างประเทศ โดยเฉพาะตะวันตก มีหัวข้อวิจัยมากมายเกี่ยวกับผู้นำ

สำหรับตะวันออกยังมีน้อยอยู่จึงมักจะใช้ Role Model เป็นหลัก

ในการวิจัยแห่งหนึ่งเรื่อง EMPOWERMENT มาทำในเอเชีย ในตะวันตกจะเปิดโอกาสให้ลูกน้องเสนอความคิดเห็นได้อย่างท้าทาย แต่ในตะวันออกลูกน้องต้องออกความเห็นอย่างใช้ปิยะวาจา เสริมประเด็นของเจ้านายและสร้างมูลค่าเพิ่ม ในเมืองไทยเราไม่ได้ทำวิจัยแต่เรามีตัวอย่างของบุคคลที่ดี

WORKSHOP

  1. ยกตัวอย่าง Trust ที่จะสร้างในสำนักข่าวกรองฯ
  • Self Trust
  • Relationship Trust

    (ใช้ความจริงเป็นหลักอย่างละ 3 เรื่อง และยกกรณีศึกษาที่ Trust ทำประโยชน์ และยกตัวอย่างที่ Trust ผุกร่อน สร้างปัญหา ต้องดึงกลับ)

2.ยกคุณลักษณะของผู้นำของสำนักข่าวกรองฯที่สำคัญ 3 เรื่อง และ เราจะมีวิธีการสร้างคุณลักษณะเหล่านั้นให้แก่บุคลากรและผู้นำของสำนักข่าวกรองอย่างไร

กลุ่มที่ 1

ข้อ  1 Self Trust

-           จรรยาบรรณวิชาชีพของตน

-           ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ Accountability

-           การทำงานของพื้นฐานของความเป็นจริงของเนื้องาน

Relationship Trust

-           สร้างผลงานใครคนอื่นเห็น

-           ต้องมีลักษณะความเป็นผู้นำ บุคลิกลักษณะ

-           เครือข่าย เราต้องทำงานเป็น

Comment ผู้นำต้องมีบทบาทในสิ่งที่เป็นก่อน โดยนำความเป็นผู้นำไปขยาย ถ้าประชาชนศรัทธาเราก็จะได้แหล่งข่าวที่ดี

กลุ่มที่ 2

คุณลักษณะของผู้นำของสำนักข่าวกรองฯ

วิสัยทัศน์กว้างไกล ในการประเมินเป้าหมาย

รอบรู้ใฝ่รู้รอบรู้ ควรจะมีเวทีให้พบกันบ่อยๆ

มีคุณธรรมจริยธรรม ยึดหลักธรรมาภิบาล

Comment การพัฒนาได้ต้องมีผู้นำที่เข้าใจเรื่องคนเพื่อการสร้างยุทธศาสตร์ให้ไปสู่เป้า

กลุ่มที่ 3

ข้อ  1 Self Trust

-           การสัญญากับตัวเองว่าให้ทำงานให้สำเร็จ

-           การสื่อสารสร้างความเข้าใจกับคนอื่น

-           การเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

-           คุณธรรมจริยธรรม

Relationship Trust

-           จริงใจ

-           รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น

-           บุคลิกภาพที่แสดงออกถึงเรื่องความฉลาด

-           พัฒนาเครือข่าย

-           รู้ลึกรู้จริง

Case Study

-           ผขช.ตั้งเป้าหมายว่าจะพาองค์กรไปในทิศทางใด

-           ปัญหามีปัจจัยหลายเรื่องเข้ามากระทบทำให้เกิดการบั่นทอนจริงใจในการทำงาน

Comment คุณบัณฑูร กสิกรเน้นว่าต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร เป็น Soft Skill หรือ People Skill เป็นเรื่องที่มองไม่เห็น แต่ต้องมองเรื่องปัจจัยภายนอกต้องดูว่าจะมีผลกระทบต่อการทำงานในองค์กรเท่าไหร่

กลุ่มที่ 4

คุณลักษณะของผู้นำของสำนักข่าวกรองฯ

วิสัยทัศน์กว้างไกล ปัญหาที่เกิดขึ้นและหาวิธีการแก้ปัญหาได้

มีความสามารถในเรื่องของ IT ความสดของข้อมูล

ต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านวิชาชีพ ทั้งเรื่องงานวิจัย และภาคสนาม

คุณธรรมและจริยธรรม

Comment การพัฒนาได้ต้องมีผู้นำที่เข้าใจเรื่องคนเพื่อการสร้างยุทธศาสตร์ให้ไปสู่เป้า

กลุ่มที่ 5

ข้อ  1 Self Trust

-  สร้างความเชื่อมั่นให้กับหน่วยงานอื่นๆที่เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย และนำมาสู่การปฎิบัตจริง

-  การใช้ความรุนแรงไม่สามารถแก้ปัญหาไปได้ ซึ่งอาจะแตกต่างจากหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งรัฐบาลก็เห็นด้วยในความคิดนี้ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่ลดระดับความรุนแรงลงมาได้

- มีระบบการแต่งตั้งหรือเลื่อนตำแหน่งอย่างมีคุณธรรมแต่งตอนนี้มีการเมืองเข้ามาแทรกแซง

Comment เราต้องได้รับความศรัทธาจาก Stakeholder เพื่อให้เกิดการสร้างงานอย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปข่าวกรอง 4-11-53

 Building and Leading High Performance Team

The Changing Paradigm of Management

Old Paradigm                                     New Paradigm      

Local, Domestic                                     Global

Mechanical, Electronic                            Digital   

Autocratic                                             Empowering

By Individuals                                       By Teams

Conflict, competition                              Collaboration

Profits                                                  Stakeholders

 

Boss & Employee

Smart Boss   +  Smart Employee    =    Profit

Smart Boss   +  Dumb Employee    =    Production

Dumb Boss   +  Smart Employee    =    Promotion

Dumb Boss   +  Dumb Employee    =    Closed

ความแตกต่างระหว่าง หัวหน้า  ผู้นำ และภาวะผู้นำ

  • หัวหน้า : ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากองค์กรให้ดำรงตำแหน่งที่มีผู้ใต้บังคับบัญชา และมีอำนาจตามตำแหน่งนั้นกำหนด
  • ผู้นำ : ผู้ที่สามารถโน้มน้าวให้ผู้อื่นยอมรับและปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ
  • ภาวะผู้นำ : ความสามารถโน้มน้าวให้ผู้อื่นยอมรับและปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ

การเตรียมตัวเข้าสู่การเป็นผู้นำ

  • ร่างกาย
  • สติปัญญา 
  • อารมณ์
  • อุปนิสัย

การนำ & การจัดการ (Leadership  vs.  Management)

การนำ : การโน้มน้าวใจ จูงใจ และมีอิทธิพลเหนือจิตใจ ผู้อื่น ให้ทำในสิ่งที่เราต้องการ

การจัดการ: การมอบหมาย การสั่ง ให้ผู้อื่นทำในสิ่งที่ เราต้องการ

ธรรมชาติและความแตกต่างของมนุษย์

คนเรามีความคิดที่แตกต่างกัน เนื่องจาก

  • พื้นฐานของครอบครัว
  • พื้นฐานทางการศึกษา
  • ค่านิยม / ความเชื่อ / วัฒนธรรม
  • ประสบการณ์
  • ฯลฯ

หลัก 7 ประการ ในการเข้าใจผู้อื่น

  1. เมื่อพบใครครั้งแรก อย่าคิดไปเองก่อนว่าเขาเป็นคนอย่างไร
  2. อย่าให้ภาพลักษณ์ที่ปรากฏครั้งแรก เป็นอิทธิพลต่อความคิด
  3. ปราศจากอคติ
  4. ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน  การการะทำของคนอาจต่างกัน
  5. อย่าตัดสินผู้อื่นก่อนที่จะได้ยินผู้อื่นพูด
  6. เป็นผู้ฟังที่ดี
  7. เป็นนักสังเกต แต่ไม่ใช่จับผิด

มนุษย์เรามีความแตกต่างในด้านใดบ้าง และเราต้องทำตัวอย่างไรเมื่อต้องทำงานกับคนที่แตกต่างกัน

ความคิด : เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น และ  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น         

ความรู้ : Knowledge Sharing/สอนงาน/ให้คำปรึกษา

อุปนิสัย : เรียนรู้ และเข้าใจผู้อื่น และปรับตัวเข้าหากัน

วัยวุฒิ : อายุน้อยให้ความเคารพผู้อาวุโส อายุมากให้ความรัก ความปรารถนาดี เมตตา กรุณา และสั่งสอน เป็นแบบอย่าง

 

ทีมงาน (Work Team) หมายถึง

1. กลุ่มของบุคคลที่มา

2. รวมตัวกันปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ

3. เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย

องค์ประกอบของทีมงาน

  •   สมาชิกในทีม
  •   ผู้นำทีม
  •   รูปแบบ ระบบวิธีการทำงานของทีม

ประเภทของทีมงาน

ทีมงานในหน่วยงานเดียวกัน

ทีมงานข้ามสายงาน

ทีมงานแก้ปัญหา

ทีมงานเฉพาะกิจ (ตามที่ได้รับมอบหมาย)

ทีมงานโครงการ

ทีมไม่เป็นทางการ

บทบาทของสมาชิกกลุ่มในการสร้างทีม

1.  รวมตัวกัน

2.  สื่อสาร

3.  สร้างความไว้วางใจ

4.  ตัดสินใจ

5.  ประสานกลุ่มอื่น

การพัฒนาบุคลิกภาพ และพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม

พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggressive Behaviors)

พฤติกรรมไม่กล้าแสดงออก (Passive Behaviors)

พฤติกรรมการแสดงอย่างเหมาะสม (Assertive Behaviors)

การตัดสินใจ

  • Your Solution
  • My Solution
  • Our Solution
  • Consensus

ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานเป็นทีม

  • Man
  • Management
  • Money
  • Machine

Trust คือ การสร้างศรัทธาให้กับตนเองและคนในสังคมให้เกิดความเชื่อมั่น

ความพึงพอใจในการกระทำ ที่นำพาไปสู่ความสุขของคนในสังคมอย่างยั่งยืน

ทั้งในยามวิกฤติและยามปกติ

คำนิยาม Trust หมายถึง ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจที่เรามีต่อตนเอง เพื่อนร่วมงาน ผู้นำ และองค์กรว่าจะสามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

Trust ศรัทธาและความเชื่อมั่น ในมุมขององค์กร ต้องมีความความศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กร วิชาชีพ ผู้นำ และเพื่อนร่วมมงาน องค์กรจึงจะคงอยู่อย่างยั่งยืนได้รับ Trust จากบุคคลภายนอกด้วย

นิยามของคำว่า "Trust" คือ การที่บุคคลหนึ่งสามารถสร้างความไว้วางใจ เป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น และมอบอำนาจการตัดสินใจให้เป็นผู้นำพากลุ่ม หรือองค์กรไปในทิศทางเดียวกัน โดยกลุ่มยอมรับผลที่จะตามมา อาจจะดีหรือผิดพลาดก็ได้ แต่ทุกคนพร้อมใจให้ความร่วมมือ และเชื่อมั่นในการตัดสินใจของบุคคลนั้น

Trust คือ ความเชื่อมั่นศรัทธาในงานที่ทำ และบุคคลในองค์กรเพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

นิยามของคำว่าTrust

การที่คนในองค์กรมีความเชื่อมั่นต่อผู้นำและองค์กรว่าจะให้ความพึ่งพาต่อพวกเขาได้ในยามที่ประสบปัญหา หรือในช่วงที่องค์กรประสบวิกฤติจากสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ผู้นำยังสามารถบริหารงานได้โดยไม่ถูกแทรกแซงจากบุคคลภายนอก

สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความทฤษฎี 3 L ของ Hillary ของ 3L’s ของ ศ.ดร.จีระฯ

ภาวะผู้นำของ Hillary ซึ่งเป็นผู้หญิงที่อดทน แข็งแกร่ง ถึงแม้จะไม่ชนะการเลือกตั้ง แต่เป็นผู้นำยุคใหม่ที่มีคุณภาพ ทฤษฎี 3L ของ Hillary ที่น่าสนใจและนำมาปรับใช้คือการเปิดใจรับฟัง (Listening) ความคิดเห็นของผู้อื่น แม้แต่สิ่งที่ไม่ชอบก็ต้องฟัง การฟังเท่ากับการเรียนรู้ (Learning) และพร้อมที่จะปรับปรุงตนเองให้เป็นผู้นำที่ดี (Leading) ส่วนทฤษฎี 3 L’s ของ อาจารย์จีระ เป็นการเรียนรู้จากความเจ็บปวด (Learning from pain) จากประสบการณ์ที่ทั้งประสบความสำเร็จและล้มเหลว (Learning from experiences) ทั้งสองทฤษฎีมีข้อสำคัญที่เหมือนกันคือ การเปิดใจรับฟังและเรียนรู้จากการฟัง (Learning from listening)

เหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เราน่าจะเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา สิ่งใดเป็นจุดอ่อนหรือเป็นบทเรียนที่เลวร้าย เราควรวางแผนหรือหามาตรการป้องกันไว้ล่วงหน้า

ทฤษฎีใดที่จะนำมาใช้

เห็นด้วยกับทฤษฎี 3 L’s ของอาจารย์จีระฯ ผู้นำควรเรียนรู้จากความล้มเหลว จากประสบการณ์ และจากการเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพราะในชีวิตการทำงานของทุกคนส่วนใหญ่จะพบกับความล้มเหลวมากกว่าความสำเร็จ เราคงไม่อยากให้เกิดความล้มเหลวขึ้นซ้ำอีก นอกจากนี้ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญเป็นความรู้ที่สั่งสม เป็นความรู้จากการลองผิดลองถูก ซึ่งเราอาจเรียนรู้ทั้งจากประสบการณ์ของตัวเองและประสบการณ์ของผู้อื่นได้ ที่สำคัญคือการเรียนรู้จากการเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งมีทั้งสิ่งที่เราชอบฟังและไม่ชอบฟังการเปิดโอกาสรับฟังจะทำให้เรานำข้อคิดที่ได้จากผู้อื่นมาปรับปรุงพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น

ทฤษฎี3L’s

เมื่อได้อ่านทฤษฎีของทั้ง 2 ท่านแล้ว ทำให้ได้ทราบว่าการจะเป็นผู้นำได้ต้องรู้จักนำหลักทฤษฏีต่าง ๆ มาปรับใช้ให้เหมาะกับตนเอง ซึ่ง ทฤษฎี3L’s ของทั้งสองท่านมีลักษณะคล้ายคลึงกัน หากนำทฤษฎีของทั้งสองท่านมาปรับประยุกต์ใช้ร่วมกันก็จะเกิดผลและเป็นผู้นำที่ดีได้ในที่สุด คือต้องยอมรับฟัง และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และนำความล้มเหลว ความเจ็บปวด บทเรียนที่ผิดพลาดมาเป็นบทเรียน รวมทั้งนำประสบการณ์ที่ผ่านมาทั้งดีและไม่ดีมาเป็นบทเรียน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือจะต้องเปิดใจให้กว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

การนำหลัก ทฤษฎี3L’s มาปรับใช้กับตนเอง

เช่นกันหากเราต้องการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำที่ดีต่อไปต้องรู้จักเปิดใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็น และรู้จักนำสิ่งที่ผิดพลาดและล้มเหลว รวมทั้งประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมามาปรับใช้ในการทำงานในปัจจุบัน และวางแผนการทำงานในอนาคต สิ่งที่ดีและถูกต้องก็นำมาเป็นแบบอย่างต่อไป แนะนำรุ่นน้อง สิ่งที่ผิดพลาดนำมาแก้ไขปรับปรุง

การเปรียบเทียบทฤษฎี 3 L’s ของฮิลลารี และ อาจารย์จีระ

                  กล่าวได้ว่าลักษณะ 3L’s ของทั้งสองท่านมีความคล้ายคลึงกันมาก คือ ผู้นำยุคใหม่จะต้องเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นทั้งในด้านดีและไม่ดี ก็จะเกิดการเรียนรู้อย่างถ่องแท้ พร้อมกับการหาความรู้จากทุกด้านแล้วนำมาเสริมเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ส่วนที่แตกต่างกันระหว่าง 3L’s ของทั้งสองอาจอยู่ตรงประเด็นที่อาจารย์พีระจะนำเอาประสบการณ์ที่ผิดพลาด ล้มเหลว และประสบการณ์ทั้งด้านบวกและลบมาปรับใช้เป็นบทเรียนพร้อมกับการใช้ความอดทนแข็งแกร่งเพื่อการก้าวต่อไปในโอกาสที่เหมาะสม ซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติของผู้นำที่ดีและเหมาะสมกับสังคมยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยการต่อสู้แย่งชิงความได้เปรียบผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดจึงจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ดังนั้น ผู้นำที่มีความแข็งแกร่งมีธรรมาภิบาลจะเป็นเสมือนเกราะที่จะนำพาให้องคาพยพในองค์กรนั้น ๆ ให้ก้าวหน้าไปได้อย่างยั่งยืน... ทั้งนี้ ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าทั้ง 3 L’s ที่ได้กล่าวมาแล้วของทั้งสองท่านสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมในชีวิตจริงของการทำงานในปัจจุบันของข้าพเจ้า โดยเฉพาะการใช้ Learning experiences คือ การนำเอาประสบการณ์ที่มีทั้งด้านบวกและด้านลบ รวมทั้งความผิดพลาด ล้มเหลว หรือความเจ็บปวดในการทำงานมาสร้างให้เกิดความแข็งแกร่ง พร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาในทุกมิติ

นิยามของ Trust ศรัทธา

              :- Trust - ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อมั่นที่เกิดจากปัญญา ความมีเหตุมีผล ไม่ใช่เชื่อตามความเชื่อ หรือเชื่อเพราะถูกทำให้เชื่อ รวมถึงต้องศรัทธาในหน้าที่ของตน เมื่อทุกคนมีศรัทธาย่อมสามารถพัฒนาองค์กรได้อย่างแท้จริง ยกตัวอย่างเช่น : คนเสื้อแดงถูกทำให้เชื่อว่าสู้แล้วจะชนะ สู้เพื่อให้ทักษิณกลับมาแก้ปัญหา จึงมาต่อสู้ หรืออีกประเด็นหนึ่ง คือ การที่ข้าราชการไม่ศรัทธาต่อประเทศชาติไม่ศรัทธาต่อหน้าที่ของตนเอง มัวแต่หลงในตำแหน่งลาภยศสรรเสริญ หรือคิดแต่ผลกระทบที่จะตามมามากกว่าการทำหน้าที่

Trust หมายถึงความไว้วางใจ และความเชื่อมั่นของบุคคลหนึ่งที่มีต่อตัวเอง ผู้อื่น หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และเป็นแรงผลักด้นภายในตนเองให้ทำงานบรรลุผลสำเร็จ นำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายในที่สุด

ทฤษฎี3L’s

เมื่อได้อ่านทฤษฎีของทั้ง 2 ท่านแล้ว ทำให้ได้ทราบว่าการจะเป็นผู้นำได้ต้องรู้จักนำหลักทฤษฏีต่าง ๆ มาปรับใช้ให้เหมาะกับตนเอง ซึ่ง ทฤษฎี3L’s ของทั้งสองท่านมีลักษณะคล้ายคลึงกัน หากนำทฤษฎีของทั้งสองท่านมาปรับประยุกต์ใช้ร่วมกันก็จะเกิดผลและเป็นผู้นำที่ดีได้ในที่สุด คือต้องยอมรับฟัง และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และนำความล้มเหลว ความเจ็บปวด บทเรียนที่ผิดพลาดมาเป็นบทเรียน รวมทั้งนำประสบการณ์ที่ผ่านมาทั้งดีและไม่ดีมาเป็นบทเรียน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือจะต้องเปิดใจให้กว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

การนำหลัก ทฤษฎี3L’s มาปรับใช้กับตนเอง

เช่นกันหากเราต้องการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำที่ดีต่อไปต้องรู้จักเปิดใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็น และรู้จักนำสิ่งที่ผิดพลาดและล้มเหลว รวมทั้งประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมามาปรับใช้ในการทำงานในปัจจุบัน และวางแผนการทำงานในอนาคต สิ่งที่ดีและถูกต้องก็นำมาเป็นแบบอย่างต่อไป แนะนำรุ่นน้อง สิ่งที่ผิดพลาดนำมาแก้ไขปรับปรุง

นิยามของคำว่า "Trust"

คือ การทำให้สมาชิกในองค์กรรู้สึกเชื่อมั่น ศรัทธา ไว้วางใจ ต่อความรู้ความสามารถและจริยธรรมของผู้นำ ตลอดจนทำให้สมาชิกในองค์กรซึ่งแต่ละคนมีความแตกต่างหลากหลาย รู้สึกถึงการมีเป้าหมายร่วมกัน และจะนำพาองค์กรและบุคลากรทุกคนไปสู่ความก้าวหน้าด้วยกัน

ทฤษฎี 3 L's

สิ่งที่ได้จากการอ่าน

-เห็นว่าแนวคิดเรื่อง 3 L's ของฮิลลารี คลินตัน และของอาจารย์จีระมีส่วนคล้ายคลึงกัน ตรงที่มีการให้ความสำคัญในเรื่อง

1) การรับฟัง (listening) ผู้นำจะต้องเปิดใจกว้างพร้อมรับฟังความคิดเห็นได้ทุกรูปแบบทั้งคำวิจารณ์และคำชมเชย เพื่อให้มองประเด็นต่างๆ ได้รอบด้านและนำสิ่งที่ได้รับฟังมาปรับปรุงพัฒนาต่อไป

2) การเรียนรู้ (learning) ผู้นำต้องสร้างความรู้สึกใฝ่เรียนรู้ เพราะจะทำให้สามารถสั่งสมความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ได้อย่าง ต่อเนื่อง ทั้งนี้ วิธีการเรียนรู้มีได้หลายรูปแบบ ซึ่งในแนวคิด 3 L's ของอาจารย์จีระได้ระบุถึงวิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ และวิธีการเรียนรู้ผ่านความเจ็บปวด

สิ่งที่จะนำมาปรับใช้ ได้แก่

- การรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น เพื่อให้เราสามารถมองเห็นแนวทางการทำงานและการแก้ปัญหาต่างๆ ได้ชัดเจน รอบด้าน มากกว่าการทำงานคนเดียว การรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้อื่นยังอาจทำให้เรามองเห็นโอกาสหรือแง่มุมใหม่ๆ ที่เราเองไม่เคยคิดถึงมาก่อน ซึ่งสิ่งนี้เราอาจนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อการทำงานและแง่ชีวิตส่วนตัว

- การสนใจและรักการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยการเรียนรู้สามารถเป็นไปได้ในหลายรูปแบบ เช่น การเข้าอบรมหลักสูตรต่างๆ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การรับฟังการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้ปฏิบ้ติงานคนอื่นๆ

Trust ในความคิดเห็นหมายถึง พลังแห่งการยอมรับ ความเชื่อมั่น และความศรัทธา ของบุคคลในองค์กรที่มีต่อตัวผู้นำ ที่จะนำพาและแก้ปัญหาต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ จนกลายเป็นศูนย์รวมต่อการร่วมกันนำองค์กรให้บรรลุเป้าหมายที่นำไปสู่ความเป็นเลิศ

เปรียบเทียบทฤษฎี 3 L ของฮิลลารี คลินตันและทฤษฏีของคุณจีระ

1. ทฤษฎี 3L ของทั้งสองคนเหมือนกันที่1) listening และ learning from pain การเรียนรู้เกิดจากการยอมรับฟังผู้อื่น ซึ่งอาจเป็นคำวิจารณ์ที่เราไม่ชอบใจ แต่ก็ควรรับฟังและเรียนรู้เพื่อนำมาปรับปรุงตัวเราเอง 2) learning และ learning from experiences การเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่อาจจะดีหรือไม่ดี แต่ทฤษฎีของฮิลลารี จะมีข้อ Leading คือ นำการฟังและการเรียนรู้ทั้งหมดมาประยุกต์ใช้จนกลายเป็นผู้นำที่ดีได้

2. สิ่งที่นำมาปรับใช้กับตัวเองหรือกับองค์กร คือ 1) การยอมรับฟังความเห็นหรือคำวิจารณ์ของผู้อื่น เพื่อนำมาปรับปรุงตัวเอง เช่นเดียวกับผู้นำองค์กรที่ควรยอมรับฟังความเห็นของบุคลากร ที่อาจจะดีหรือไม่ดี เพราะจะมาช่วยแก้ไขจุดอ่อนหรือปรับปรุงตัวผู้นำและองค์กรให้มีศักยภาพมากขึ้น 2) การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ไม่ดี จะช่วยให้เราเตรียมแนวทางแก้ไขปัญหาใหม่ เมื่อเกิดสถานการณ์เดิมขึ้นมาอีก เราก็สามารถรับมือได้

1.3L’S ของ Hillary และ 3L’S ของอาจารย์จีระ เป็น ”บทเรียนจากประสบการณ์จริง” ในการทำงานและการดำเนินชีวิตของทั้งสองท่าน ซึ่งทั้งสองท่านถือเป็นต้นแบบที่ดีให้กับผู้ที่เป็นผู้นำยุคใหม่ สิ่งที่ได้จาก 3L’S ของ Hillary และ 3L’S ของอาจารย์จีระ ทำให้ตระหนักว่าการเป็นผู้นำยุคใหม่ต้องใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษาจากแหล่งความรู้ที่หลากหลายไม่เฉพาะจากตำราเท่านั้น ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลก็สำคัญเช่นกัน ทั้งจากตนเองและผู้อื่น ประสบการณ์ทั้งที่ผิดพลาดและประสบความสำเร็จของเราจะเป็นครูให้กับตัวของเราเอง ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญให้เรามุ่งปรับปรุงพัฒนาตนเอง และพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ การเป็นผู้นำควรจะต้องรับฟังคนอื่นด้วย เพราะถ้าไม่รับฟังแนวคิดและมุมมองของคนอื่น ก็จะมองไม่เห็นมุมมองในอีกหลายมิติที่เราไม่เคยรู้หรือเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ

2.การนำ 3L’S ของ Hillary และ 3L’S ของอาจารย์จีระ มาปรับใช้กับตัวเอง คิดว่าแนวคิดทั้งสองท่านเป็นประโยชน์ให้กับการทำงานของตัวเองอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของการเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา L - learning from experience คือถ้าหากได้มองย้อนกลับไปในการทำงานหลายเรื่องทั้งที่สำเร็จ และมีปัญหา แล้วนำประสบการณ์ครั้งนั้นๆ มาประมวลและสรุปเป็นบทเรียนให้กับตัวเอง คิดว่าจะทำให้ผลการทำงานของเราดียิ่งขึ้นไป และโอกาสทำผิดซ้ำคงไม่เกิดขึ้น นอกจากนี้ คิดว่าจะนำ L – listening มาใช้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะกับการรับฟังเพื่อนร่วมงานที่อยู่รอบข้าง เพื่อให้ได้มุมมองที่หลายหลายเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้นด้วย

Trust หมายถึง ความศรัทธา การเชื่อถือในตัวเองและต่อบุคคลอื่น ที่สามารถแสดงออกด้วยความสามารถ ความมีประสิทธิภาพในการทำงาน และผลงานที่ออกมามีประสิทธิผล จนเป็นที่ยอมรับของคนอื่นหรือสังคม

Trust คือความเชื่อมั่นศรัทธา และความไว้วางใจที่มีอยู่ในตัวเองและต่อสังคม เราสามารถสร้างขึ้นมาได้ทุกเมื่อ และหมั่นเพิ่มพูนความเชื่อมั่นศรัทธาให้ดำรอยู่ในตัวเอง เมื่อใดที่ต้องสูญเสียความเชื่อมั่นศรัทธา ก็ควรสร้างหรื้อฟื้นมันขึ้นมาใหม่ด้วยการให้กำลังใจและสร้างความเชื่อมั่นในตนเองด้วยการคิดเชิงบวก การมีความเชื่อมั่นศรัทธาในตนเอง ยังเป็นเสมือนกระจกเงาที่ทำให้ผู้อื่นมองเห็นคุณค่าและเกิดความเชื่อมั่นศรัทธาในตัวเรา ขณะเดียวกัน เราก็ต้องให้ความเชื่อมั่นศรัทธาแก่ผู้อื่นซึ่งจะทำให้ความเชื่อมั่นศรัทธาดำรงอยู่ในสังคมอย่างมั่นคง

Trust หมายถึง เชื่อมั่น/ยอมรับในตนเอง เชื่อมั่น/ยอมรับในองค์กร เชื่อมั่น/ยอมรับในผู้อื่น ซึ่งถ้าทุกคนในองค์กรมีความเชื่อมั่น/ยอมรับทั้งในตนเอง องค์กร และผู้อื่น จะสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เปรียบเทียบทฤษฎี 3 L’s ของ Hillary กับ ศ.ดร.จีระ

- 3 L’s ของ Hillary เป็นการพูดถึงคุณลักษณะ/คุณสมบัติของการที่จะเป็นผู้นำที่มีคุณภาพ

- 3 L’s ของ ศ.ดร.จีระ เป็นการพูดถึงรูปแบบของการเรียนรู้ เพื่อสามารถก้าวไปสู่การเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต โดยต้องนำทฤษฎีอื่น ๆ มาประกอบ อาทิ 4 L’s 2 R’s 2 I’s เป็นต้น การที่จะเป็นผู้นำที่มีคุณภาพจะต้องนำทฤษฎีของทั้ง 2 ท่านมาใช้ประโยชน์

เปรียบเทียบทฤษฎี 3L ระหว่าง Hillary กับ 3L อาจารย์จีระ

ทฤษฎี 3L ของท่านทั้ง 2 นับได้ว่ามีคุณลักษณะที่คล้ายคลึงกัน เนื่องจากให้ความสำคัญกับการฟัง(Listening) การเรียนรู้(Learning) อันเป็นตัวนำไปสู่การเป็นผู้นำที่ดี(Leading) เพียงแต่ของอาจารย์จีระ จะมีมุมมองต่อการนำความล้มเหลวหรือความเจ็บปวดในอดีตมาเป็นบทเรียนต่อการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่ความอดทน พร้อมกับนำประสบการณ์ทั้งดีและไม่ดี ตลอดจนการพร้อมจะรับฟังในทุกเรื่อง เพื่อนำมาเป็นแม่บทของการเรียนรู้ อันจะเป็นแรงผลักดันต่อการกำหนดทิศทางในเรื่องต่าง ๆ

หลักทฤษฎี 3L ทั้ง 3 คุณลักษณะสามารถนำมาปรับใช้กับตัวเองได้อย่างดี โดยเฉพาะการพร้อมรับฟังเรื่องราวต่างๆ ทั้งดีและไม่ดี การเรียนรู้จากเรื่องราวในอดีตที่ผิดพลาด และประสบการณ์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำมากำหนดแนวคิดหรือแง่มุมที่หลากหลายต่อการปฏิบัติตนให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ อันจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและองค์กร

เปรียบเทียบ ทฤษฎี 3L ของ อ.จีระ และ Hillary

L1 Learning from pain กับ Listening

ความผิดพลาดในชีวิตเป็นสิ่งที่เราประสบด้วยตนเอง ขณะที่การฟังเป็นประสบการณ์ชีวิตของบุคคลอื่น สถานการณ์หลายอย่างในชีวิต เราไม่มีวันเข้าใจอย่างลึกซึ้งถ้าไม่ประสบด้วยตนเอง แม้จะเจ็บปวดอย่างมาก แต่เมื่อเราก้าวผ่านไปได้แล้ว เราจะภาคภูมิใจในตนเองอย่างมาก เราจะรู้จักชีวิตมากขึ้นและจดจำอย่างไม่ลีมเลือน ขณะที่การรับฟังอาจจดจำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ต้องนำไปปรับใช้ ซึ่งถือเป็นกำไรชีวิตที่เราได้รับฟัง แต่การผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายมาได้ เป็นยิ่งกว่ากำไรชีวิต เพราะทำให้เราเห็นคุณค่าของตัวเอง

L2 Learning from experiences กับ Learning

ประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านไปแต่ละวัน ถ้าเราไม่พิจารณาโดยถี่ถ้วน จะไม่เกิดประโยชน์อะไรมากนัก แต่หากนำมาเป็นบทเรียนสอนตัวเอง เราจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นทุกๆ วัน ส่วนการเรียนรู้อาจได้จากตำราเรียน หนังสือต่างๆ จากประสบการณ์ตนเอง หรือผู้อื่น ซึ่งเป็นการรู้จักใช้ประโยชน์ที่ดีเช่นเดียวกัน

L3 Learning from listening กับ Leading

มีคำกล่าวอยู่ว่า คนเก่งเรียนรู้ด้วยตนเอง แต่คนฉลาดเรียนรู้จากการรับฟังและนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง หากสามารถเลือกใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ตนเอง และปรับแก้ไขจุดอ่อนด้อยของตนเอง การพัฒนาตนสู่ความเป็นผู้นำจึงไม่ใช่เรื่องยากเกินไป

การนำทฤษฎี 3L มาปรับใช้กับตนเอง

ธรรมชาติคือความไม่สมบูรณ์แบบ การเลือกเรียนรู้จากการรับฟังผู้อื่น (Listening) เป็นสิ่งที่เราควรแสวงหาควบคู่ไปกับการใฝ่เรียนรู้ (Learning) คิดว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของการสั่งสมปัญญา เพราะชีวิตจริงเราไม่สามารถมีประสบการณ์ได้ทุกด้าน แต่เราสามารถรับฟังประสบการณ์ทุกด้านได้จากผู้รู้หลายๆ คนรวมกัน ที่สำคัญ หากเราไม่มีการสะสมทุนทางปัญญาไว้ เมื่อประสบกับเหตุการณ์ที่สร้างความเจ็บปวด เราอาจแก้ไขไม่ได้ แต่หากเรามีการเรียนรู้มากพอ เราจะเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ ยิ่งนานวันเราจะยิ่งแกร่งขึ้น จนตัวเองก็ประหลาดใจว่า “ เราทำได้ ”

trust ในความคิดเห็นน่าจะเกิดจากบุคคลคนหนึ่งที่สั่งสมทั้งความรู้ รอบรู้ และคุณงามความดี จนเกิดเป็นที่เชื่อถือ ศรัทธา และเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป

ทฤษฎี 3L ของอาจารย์จีระ และทฤษฎี 3L ของฮีลลารี ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญ ทฤษฎีของอาจารย์จีระเป็นทฤษฎีที่นำเอาประสบการณ์และความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจริงนำมาเป็นข้อมูลในการแก้ไข ปรับปรุง พัฒนา ต่อยอด และประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างผู้นำยุคใหม่ ซึ่งผู้นำยุคใหม่จะต้องมีธรรมภิบาลหรือหลักคุณธรรม ต้องเปิดใจกว้างรับฟังได้ในทุกเรื่อง ความสำเร็จของบุคคลจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเราไม่ได้มีการศึกษา ค้นคว้า และใฝ่รู้

การนำเอาทฤษฎี 3L มาประยุกต์ใช้กับตัวเรา เราต้องเป็นผู้ฟังที่ดีสามารถรับฟังเมื่อคนอื่นพูด ควรศึกษาชีวประวัติของบุคคลอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จในชีวิต ดึงจุดแข็งของคนเหล่านั้นมาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาศักยภาพของตัวเราเอง และฝึกฝนตนเองให้ก้าวสู่ความเป็นผู้นำที่ดีให้ได้

Trust หมายถึง การผนวกของคำสองคำ คือ เข้าใจ และยอมรับ เริ่มจากการเข้าใจตนเอง และยอมรับในสิ่งที่ตนเองมีเพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนา เมื่อเกิดการเข้าใจตระหนัก และยอมรับในคุณค่าของตนเอง ก็จะเกิดการเข้าใจและยอมรับผู้อื่น และเชื่อมโยงกระจายออกไประหว่างกัน มีระดับปฏิสัมพันธ์ตั้งแต่ระดับจุลภาคไปจนถึงมหาภาค

เปรียบเทียบทฤษฎี 3 L’s ของ Hillary กับ ศ.ดร.จีระ

- ทฤษฎีของ Hillary เป็นวิธีการพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่การเป็นผู้นำ โดยผ่านกระบวนการรับฟัง (ฟังเป็น) นำไปสู่การเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ ทักษะที่พัฒนาตนเองเพื่อเป็นผู้นำที่มีศักยภาพ

- ทฤษฎีของ ศ.ดร.จีระ เป็นหลักคิดกระบวนการได้มาซึ่งองค์ความรู้ ที่มีขั้นตอนที่จะเก็บเกี่ยวความรู้จากความล้มเหลว ประสบการณ์ และท้ายที่สุดคือจากการรับฟัง เปิดกว้างที่จะรับความรู้ต่าง ๆ รอบตัว ทั้งที่เป็นการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ หรือจากการรับฟังข้อคิดเห็น วิเคราะห์ที่อาจเป็นทั้งด้านบวกและด้านลบอย่างสร้างสรรค์

ทฤษฎีทั้ง 2 ล้วนเป็นองค์ความรู้จากนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับ จึงถือเป็นโอกาสดีที่ได้ศึกษาและรับรู้ทฤษฎี

ดังกล่าว การนำมาปรับใช้สามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตทั้งด้านการงานและชีวิตส่วนตัว โดยนำแนวคิดอื่น ๆ ของ ศ.ดร.จีระที่มีประโยชน์อย่างยิ่งทั้ง 4 L’s 2 R’s และ 2 I’s มาประกอบการพัฒนาที่ต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

1. เปรียบเทียบทฤษฎี 3L ของ Hillary Clinton กับ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Learning ของฮิลลารี คือการเรียนรู้ตลอดเวลา แต่ของ ดร.จีระ เป็นการเรียนรู้จากความล้มเหลวจากประสบการณ์ในอดีต

2. 3L ที่สามารถนำมาใช้กับตัวเองได้ทั้ง 3L คือ

- Learning from pain เรียนรู้จากความล้มเหลว ทำให้เราได้รู้จุดอ่อนและสามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้

- Learning from experiences จากประสบการณ์ที่ดีและไม่ดีเป็นการเรียนรู้ที่ดี ทำให้เรามีความรอบรู้เพื่อพัฒนาตัวเองต่อไป

- Learning from listening การรับฟังคนอื่นหรือคนในองค์กร ทำให้เราได้มีมุมมองที่หลากหลายและรู้ในสิ่งที่เราอาจไม่รู้

ทฤษฎี 3L’s ของท่านอาจารย์จีระ ได้สอนให้รู้ว่าการเป็นผู้นำสามารถพัฒนาได้จากปัจจัยที่มีอยู่ในตัวเองและจากการปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยภายนอก ผู้นำเป็นได้ด้วยการเรียนรู้จากการรับฟัง เรียนรู้จากประสบการณ์ และจากความล้มเหลว ทั้งที่เกิดขึ้นกับตัวเองและจากผู้อื่น ส่วน 3L’s ของฮิลลารี คลินตัน ทั้ง Listening ,Learning และ Leading ชี้ให้เห็นว่า การให้ความสำคัญต่อการปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยภายนอก เป็นสิ่งสำคัญที่นำไปสู่การเป็นผู้นำ

ทฤษฎี 3L’s ของท่านอาจารย์จีระ และฮิลลารี คลินตัน สามารถนำความแตกต่างมาผสมผสานกันเพื่อปรับใช้ในองค์กรได้ ทั้งสองท่านชี้ให้เห็นว่าการสร้างภาวะผู้นำต้องเกิดจากการมีทัศนคติเชิงบวกและมีความเชื่อถือศรัทธาต่อตนเองและผู้อื่นที่อยู่ร่วมในองค์การ การรับฟังทำให้เราได้เรียนรู้จากผู้อื่น และการเรียนรู้จากสิ่งที่ผ่านมาทั้งที่เป็นเรื่องที่ดีหรือสร้างความเจ็บปวดทำให้มีความพยายามแสวงหาแนวทางที่จะไม่เกิดความผิดพลาดเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างผู้นำที่มีธรรมาภิบาล และเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในองค์กรที่ต่างจากเดิมในอดีต ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีของผู้ที่จะนำองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าทันโลกยุคการเปลี่ยนแปลง

การเปรียบเทียบทฤษฎี 3L’S ระหว่างฮิลลารี กับของอาจารย์จิระ ตามมุมมองนั้นสามารถเปรียบเทียบได้กล่าวคือ ทฤษฎีของฮิลลารีเป็นภาพกว้างมีความหลากหลายเป็นการเปิดใจ เปิดรับในทุกสิ่งทั้ง การเรียนรู้การรับฟังและนำไปปฏิบัติ ส่วนทฤษฎีของอาจารย์จิระจะเรียนรู้จากบทเรียนในอดีตที่มีทั้งข้อดีและข้อด้อย ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญให้เรามุ่งปรับปรุงพัฒนาตนเอง และพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น

ซึ่งทั้งสองทฤษฎีจะเหมือนกันคือเกิดจาก การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว

สิ่งที่จะนำมาปรับใช้ ได้แก่

- L – learning from listening การเรียนรู้จากการยอมรับและรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นทั้งคำชมเชยคำติชมและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำนำมาปรับใช้เป็นแนวทางการทำงานและการแก้ปัญหาต่างๆ ได้ชัดเจน ซึ่งอาจทำให้เรามองเห็นโอกาสหรือมุมมองใหม่ๆ ที่เราเองไม่เคยคิดถึงมาก่อน จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อองค์การและชีวิตส่วนตัว

- L - learning from experience การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา คือการทำงานผ่านมา หากได้มองย้อนกลับไปจะมีทั้งความสำเร็จและข้อผิดพลาด หากนำประสบการณ์ครั้งนั้นๆ มาประมวลและสรุปเป็นบทเรียนให้กับตัวเอง คิดว่าจะทำให้ผลการทำงานของเราดียิ่งขึ้นไป และโอกาสทำผิดซ้ำคงมีน้อยลงหรืออาจไม่เกิดขึ้นเลย

เปรียบเทียบทฤษฎี 3L ของฮิลลารี และของอาจารย์ เห็นว่า

ทั้ง ๒ ทฤษฎีต่างให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ และการรับฟัง ซึ่งสุดท้ายแล้วทั้ง ๒ ทฤษฎีก็เหมือนกันในการให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ เนื่องจากการเรียนรู้ในหลาย ๆ เรื่องจะได้มาจากการรับฟัง ขณะเดียวกัน ในทฤษฎีของอาจารย์ มุ่งเน้นลึกลงไปถึงการเรียนรู้ที่เกิดจากความล้มเหลว จะทำให้เกิดความอดทนแข็งแกร่งมากขึ้น และการเรียนรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ ทั้งที่ดี และไม่ดี เพื่อนำไปปรับปรุง ตลอดจนการพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของอื่นด้วยเช่นกัน

การนำทฤษฎีมาปรับใช้

เห็นว่า ความหมายของ L แต่ละตัวนั้นมีความสำคัญทั้งสิ้น ดังนั้นจะพยายามนำมาปรับใช้ให้ได้มากที่สุด ทั้งในเรื่องการเปิดใจ รับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่นเพื่อเป็นกระจกเงาสะท้อนให้เห็นตัวเอง ส่วนที่ยังไม่ดีก็จะปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้น ส่วนที่ดีแล้ว ก็จะพยายามรักษาไว้หรือทำให้ดียิ่งขึ้นไปอีก รวมถึงการได้รับฟังในเรื่องที่เราไม่รู้ ตลอดจนการเรียนรู้จากความล้มเหลวที่ผ่านมาจะทำให้เราเกิดความคิดใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขให้สามารถดำเนินภารกิจให้สำเร็จให้ได้ ขณะที่ประสบการณ์จะสอนให้เราคิด มอง และดำเนินภารกิจในโอกาสต่อไปอย่างมั่นใจมากขึ้นว่าข้อผิดพลาดจะลดลง จนถึงสมบูรณ์แบบ

Trust หมายถึง ความมั่นใจ ความเชื่อถือไว้วางใจ ความเลื่อมใส ในตัวบุคคล ทั้งที่เรามีต่อบุคคลอื่น บุคคลอื่นมีต่อตัวเรา และตัวเรามีต่อตัวเราเอง รวมถึงองค์กร และภารกิจที่ได้รับมอบหมาย อันจะนำมาซึ่งความร่วมมือ ร่วมใจ ตั้งใจปฏิบัติภารกิจขององค์กรให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

Trust หมายถึง

ความคิดที่เกิดจากการตระหนักในคุณค่าของตนเอง และเห็นคุณค่าของผู้อื่น แผ่ขยายไปจนถึงการเห็นคุณค่า ศรัทธา

และยอมรับซึ่งกันและกันทั้ง ในภาคส่วนของบุคคลต่อบุคคล บุคคลต่อองค์กร จนถึงระดับประเทศ

เปรียบเทียบทฤษฎี 3 L’s ของ Hillary กับ ศ.ดร.จีระ

- ทฤษฎีของ Hillary เป็นวิธีการพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่การเป็นผู้นำ โดยผ่านกระบวนการรับฟัง (ฟังเป็น) นำไปสู่การเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อการเป็นผู้นำที่มีศักยภาพและได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน (จากบุคลากรภายในองค์กร ระหว่างองค์กร และระดับประเทศ)

- ทฤษฎีของ ศ.ดร.จีระ เป็นการประยุกต์องค์ความรู้จากสถานการณ์จริงที่ประสบ คือจากความเจ็บปวด จากประสบการณ์ และจากการฟัง เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ต่าง ๆ รอบตัว ทั้งที่เป็นการถ่ายทอดอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ หรือจากการรับฟังข้อคิดเห็น วิเคราะห์ที่อาจเป็นทั้งจุดเด่น และจุดด้อยของตนเอง และนำมาปรับใช้

โดยยึดพื้นฐานความเป็นจริง และการนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

ทฤษฎีทั้ง 2 ล้วนเป็นองค์ความรู้จากนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับ จึงนับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ได้ศึกษาและรับรู้ทฤษฎี

ดังกล่าว และก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากในการนำมาปรับใช้กับการทำงานและชีวิตส่วนตัว โดยนำแนวคิดของ ศ.ดร.จีระ

ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งทั้ง 4 L’s 2 R’s และ 2 I’s มาปรับใช้อย่างต่อเนื่อง

ความหมายของ Trust คือ ภาพลักษณ์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี เป็นการแสดงออกมาให้ได้รับรู้ถึงความจริงใจ ทุ่มเททำในสิ่งที่ตั้งใจไว้อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ไม่เสแสร้ง หรือทำเพราะต้องการสร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับตัวเอง

trut

หมายถึง ความเชื่อมั่น ศรัทธา และความไว้วางใจในตัวเองและผู้นำ อย่างมีเหตุมีผล ว่าจะสามารถปฏิบัติภารกิจและแก้ปัญหาในยามวิกฤติได้สำเร็จลุล่วงไปได้เป็นอย่างดี และนำพาองค์กร สังคม และประเทศชาติไปสู่ความสงบสุขอย่างยั่งยืน

ทฤษฏี 3L ของ Hillary และ 3L's ของ ศ.ดร.จีระ

1. เปรียบเทียบความสำคัญของทฤษฏี 3L Hillary และ 3L's ของ ศ.ดร.จีระ มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของการรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น แต่ในเรื่องของการเรียนรู้ การใฝ่รู้จากประสบการณ์จริงทั้งจากความล้มเหลวและความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริงจะมีอรรถรสและเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งกว่า

2. ในการนำทฤษฏีมาปรับใช้กับตัวเอง ด้วยการรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นอย่างลึกซึ้ง ตั้งใจ และมีเหตุมีผล พร้อมกับการเรียนรู้ ใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดนิ่ง เพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคของสงครามข่าวสารที่ไร้พรมแดน

Trust คือ การมีวิสัยทัศน์ที่แตกต่างจากคนทั่วไป ทันต่อสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลง เพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม กล้าคิดนอกกรอบ มีทัศนคติในเชิงบวก ยอมรับความผิดพลาดและพร้อมแก้ไข เปิดโลกทัศน์เพื่อตอบรับกับสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา และพร้อมที่จะนำองค์กรเป็นไปสู่เป้าหมายในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม

Trust คือ การศรัทธาต่อตนเอง เพื่อนร่วมงาน และผู้นำ ที่จะทำให้คนในองค์กรเชื่อมั่นในเป้าหมายเดียวกันและพร้อมที่จะก้าวไปให้ถึงยุทธศาสตร์ที่วางไว้ในอนาคต

ทฤษฎี 3 L’s ของ Hillary กับ ศ.ดร.จีระ

ทฤษฎีของ Hillary และ ทฤษฎีของ ศ.ดร.จีระ จะเหมือนกันคือการรับฟัง ต่างกันตรงที่ทฤษฎีของ Hillary เน้นการเรียนรู้ (Learning) และ Leading ส่วนทฤษฎีของ ศ.ดร.จีระ ศึกษาจากความล้มเหลว ความผิดพลาด ประสบการณ์ มาเป็นบทเรียน

การนำมาใช้สำหรับตนเอง ต้องเปิดใจรับฟังจากคนอื่น หลังจากนั้นจะนำประสบการณ์และความล้มเหลวมาพิจารณาทบทวนเป็นบทเรียนสำหรับตนเอง และเริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำที่ดี

1. Trust ในอีกความหมายหนึ่งในความเห็นของผมน่าจะหมายถึงการเป็นหลักประกันของผลงานคุณความดีที่สะสมจนเป็นบารมีเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะ

2. ด้านการเปรียบเทียบทฤษฎี 3 L ของฮิลลารี่กับของอาจารย์นั้น ผมเห็นว่าทฤษฎีของฮิลลารี่เน้นการสร้างผู้นำที่มีธรรมาภิบาลในภาพกว้าง แต่ในทฤษฎีของอาจารย์เน้นในเรื่องหลักความจริงและการเปิดกว้างที่จะเรียนรู้ในมิติต่างๆ ทั้งด้านดีและความผิดพลาดเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับผู้นำ

อรรถกร

1.Trust ในคำจำกัดความของข้าพเจ้า หมายถึง ผู้นำที่ดีจะต้องได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากลูกน้อง ในขณะที่ตัวผู้นำเองก็ต้องเชื่อมั่นและไว้ใจในตัวลูกน้องเช่นกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

2. ทฤษฎี 3L ของนางฮิลลารี คลินตัน และ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วย “การก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ” ซึ่ง 3L ของนางฮิลลารีฯ จะเริ่มด้วย Listening (การรับฟัง) Learning (การเรียนรู้) และ Leading (การเป็นผู้นำที่ดี) กล่าวคือ ถ้ารับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น และนำไปเรียนรู้ก็จะเป็นผู้นำที่ดีในที่สุด ขณะที่ทฤษฎี 3L ของ ดร.จีระฯ ประกอบด้วย Learning from pain (การเรียนรู้จากความเจ็บปวด) Learning from experiences (การเรียนรู้จากประสบการณ์) และ Learning from Listening (การเรียนรู้จากการรับฟัง)

จะเห็นได้ว่าทฤษฎี 3L ของนางฮิลลารีฯ และ ดร.จีระฯ นั้นมีความแตกต่างกันไม่มากนัก แต่จากประสบการณ์การทำงานของข้าพเจ้าทำให้ข้าพเจ้าเห็นว่าทฤษฎี 3L ของ ดร.จีระฯ เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อในตัวของบุคคลทุกๆ คน ไม่มีใครที่เก่งและมีความสามารถมาตั้งแต่กำเนิด แต่เราก็สามารถพัฒนาตัวเองได้ด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ความสำเร็จในชีวิต หรือประสบการณ์ที่ล้มเหลว ดังภาษิตที่ว่า “ผิดเป็นครู” อย่างไรก็ตาม หากเราต้องการที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ สิ่งสำคัญที่เราไม่ควรละเลย คือ การรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างของบุคคลอื่น ซึ่งในความคิดนั้นอาจจะซ่อนภูมิปัญญาที่เราคาดไม่ถึงเอาไว้ และสิ่งนี้เองจะช่วยจุดประกายความคิดของเราให้มีความเฉียบคมมากขึ้น

Trust หมายถึง ความศรัทธาในตัวบุคคล องค์กร หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งเราเชื่อว่า เขา องค์กรหรือสิ่งนั้น มีความซื่อสัตย์ จริงใจ เป็นที่ยอมรับ สร้างความมั่นใจ ที่จะทำให้เรามีความสุข มีความรู้สึกที่ดี เชื่อมั่น และพร้อมที่จะยึดถือหรือปฏิบัติตาม ดังเช่นที่เคยปรากฎเป็นข่าวว่าสาวกที่นับถือศาสดาในลัทธิโอมชินริเคียว ฆ่าตัวตายหมู่ตามคำสั่งของศาสดา

ข้อเปรียบเทียบระหว่างทฤษฎี 3L’s ของ Hillary กับของอาจารย์จีระ มีดังนี้

Hillary : L1) Listening L2) Learning L3) Leading คือ เน้นการเรียนรู้ การรับฟังความคิดเห็น เปิดกว้าง ยอมรับการวิพากวิจารณ์

อาจารย์จีระ : L1) Learning from pain L2) Learning from experiences L3) Learning from listening

ความเป็นผู้นำผมเชื่อว่ามีอยู่ในตัวบุคคลทุกคนอยู่แล้ว (Leading) ซึ่งแต่ละคนจะดึงออกมาใช้ได้มากน้อยเพียงใด เมื่อต้องถึงบทบาทที่ต้องเป็นผู้นำ อย่างที่เราเคยได้ยินว่า “สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ” แนวทางทฤษฎีของท่านทั้งสอง ถ้าจะวิเคราะห์กันอีกครั้งหนึ่งจะเห็นว่ามีหลักใหญ่ ๆ คือ ภาวะผู้นำเกิดจาก 1)การเรียนรู้ และ 2)จากการสดับตลับฟัง ซึ่งทั้ง 2 ข้อนั้นเกิดจากการยอมรับฟังคนอื่นมากขึ้น เพื่อนำมาวิเคราะห์ รวมถึงการศึกษาประสบการณ์ในอดีต ได้ยินได้ฟัง ซึ่งมีทั้งที่เป็นความสำเร็จ และล้มเหลว ซึ่งเรายอมรับมันและประสบการณ์ดังกล่าวถือเป็นบทเรียนที่ทรงคุณค่า นำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์

สมพงษ์

Trust หมายถึง การได้รับความศรัทธา ความเชื่อถือ ความไว้วางใจ ความเคารพนับถือ ความเลื่อมใส จากบุคคลอื่นและผู้ร่วมงานในองค์กร เมื่อทำสิ่งใดก็จะมีคนเห็นด้วยและปฏิบัติตามโดยไม่มีความสงสัยในผลรับที่จะเกิดขึ้น และเชื่อว่าสิ่งที่ได้ทำลงไปเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

เปรียบเทียบทฤษฎี 3 L’s ของ ศ.ดร.จีระ กับ Hillary

- ทฤษฎีของ ศ.ดร.จีระ เป็นหลักคิดจากการทำงานที่ประสบภาวะการล้มเหลว ไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ ทำให้เกิดการเรียนรู้ ทำให้มีประสบการณ์จากการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเองในเบื้องต้นจะมีความมั่นใจในตนเอง เมื่อเกิดความผิดพลาด จึงนำไปสู่ทฤษฎีการรับฟังจากผู้อื่นเพื่อนำไปพัฒนา

- ทฤษฎีของ Hillary เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์มีการพัฒนาตนเองเริ่มต้นจากการฟังให้มากทำให้นำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้จากผู้อื่นในหลายๆ ด้าน เพื่อนำไปพัฒนาตนเอง เพื่อนำไปสู่การเป็นผู้นำที่มีศักยภาพ

ทฤษฎีทั้ง 2 ทฤษฎี เป็นองค์ความรู้ที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือการเป็นผู้นำที่ได้รับความเชื่อถือจากเพื่อนร่วมงานและสังคม สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

1.ทฤษฎี 3L ของอาจารย์และฮิลลารี มีความต่างกัน คือ

- ทฤษฎี 3Lของฮิลลารี ต้องอาศัยความสามารถเฉพาะตัวในการปรับเปลี่ยนสิ่งที่ได้รับฟังมา ต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเองในการตัดสินใจ ไตร่ตรองให้รอบคอบ เพื่อประมวลและเรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่การเป็นผู้นำที่ดี

- ทฤษฎี 3L ของอาจารย์ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ประสบมากับตัวเอง จึงรู้จุดอ่อนที่จะต้องแก้ไข ซึ่งต้องพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลอื่นเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น

2.การนำทฤษฎี 3L ทั้งสองมาปรับใช้ในการทำงาน

- ทฤษฎี 3L ของอาจารย์ใช้กับผู้นำที่มีประสบการณ์ที่สั่งสมเป็นเวลานาน เรียนรู้จากความผิดพลาดหรือล้มเหลวที่เคยเกิดขึ้น และเปิดกว้างรับฟังจากผู้อื่น

- ทฤษฎี 3L ของฮิลลารีใช้กับผู้นำที่ไม่มีประสบการณ์ ต้องเรียนรู้จากคนรอบข้างด้วยตัวเอง การตัดสินใจเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะนำไปสู่การเป็นผู้นำที่ดี

จากบทความที่กล่าวถึง 3’L ของฮิลลารี่ คลินตัน กับ 3’L ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งกล่าวถึงผู้นำที่ดีที่ควรจะเป็น โดยสอดคล้องกันในด้านของการเป็นผู้ที่ยอมรับฟัง (Listening) ยอมรับการเรียนรู้ (Learning) แม้จะต่างกันในด้านรูปแบบของการรับฟังและการเรียนรู้ โดย ศ.ดร.จีระ จะเน้นให้เห็นถึงการเรียนรู้จากความเจ็บปวด (Learning from pain) การเรียนรู้จากการมีประสบการณ์ (Learning from Experiences) ซึ่งจะเน้นให้เห็นการเรียนรู้ที่เด่นชัดกว่าก่อนที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำ แต่ ฮิลลารี่ จะมองเป็นภาพกว้าง ในขณะที่ตนเองเป็นผู้นำ โดยจะเป็นการรักษาสถานภาพของการเป็นผู้นำที่ตนเองได้เป็นอยู่แล้ว

เมื่อนำ 3’L ของ ทั้ง 2 ท่านมาพิจารณาเทียบเคียงกับผู้นำประเทศของไทย ที่พบว่า ผู้นำของไทยส่วนใหญ่ขาดหรือไม่ใช้หลัก 3’L ก่อนหรือการรักษาตำแหน่งการเป็นผู้นำ กล่าวคือ การไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น อาทิ ผู้ที่อยู่ในระดับต่ำกว่า หรือการไม่ยอมเรียนรู้ความผิดพลาดที่ผู้นำรุ่นเก่าเคยประสบ มาปรับใช้กับตนเอง เพื่อให้สามารถอยู่ในตำแหน่งผู้นำได้ยาวนาน หรือนำไปสู่การเป็นผู้นำที่มีธรรมาภิบาลได้ โดยเฉพาะประเด็นที่ทราบโดยทั่วกันในทางหลักรัฐศาสตร์ คือ การอยู่ในอำนาจนานเกินไปจะทำให้หลงในอำนาจ จนไม่รับฟังหรือเรียนรู้ในสิ่งที่มีคนท้วงติงหรือข้อเสนอแนะที่แตกต่างกับตนเอง

จากการเรียนรู้ดังกล่าว ทำให้เราสามารถนำหลัก 3’L ของทั้ง 2 ท่านไปใช้ได้ ในการพัฒนาตนเองและองค์กร ได้โดยเฉพาะหลัก 3’L ของ ศ.ดร.จีระ ที่ให้เราเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อการก้าวไปสู่การเป็นผู้นำ ทั้งการเรียนรู้จากความเจ็บปวดและประสบการณ์ของเราเองและผู้อื่น รวมทั้งการรับฟังจากผู้ที่มีความรู้หรือคนรุ่นเก่า ๆ ที่จะทำให้เราสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองได้ และเมื่อเราสามารถเป็นผู้นำองค์กรที่ดีได้แล้ว จะสามารถนำพาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรนำที่สามารถสร้างความศรัทธาให้แก่ Stakeholders ขององค์กรได้

- Truse ในความหมายส่วนตัว หมายถึงความเลื่อมใสในตัวบุคคลทั้งที่เป็นตำนาน ไม่เคยรู้จักเป็นการส่วนตัวหรือสัมผัสมาก่อน แต่มาจากการร่ำลือถึงคุณงามความดี การปลูกฝัง ซึ่งมีทั้งในส่วนที่เป็นความดีสร้างสรร และการทำลาย ในส่วนที่เป็นความดีในทางสร้างสรร ได้แก่ ผู้นำประเทศ ผู้นำทางศาสนา วีระบุรุษของชาติ ในส่วนที่ไม่ดีเป็นการทำลายได้แก่กลุ่มที่มีอุดมการณ์ในการก่อการร้ายตอบโต้ตามอุดมการณ์ของตน ซึ่งกลุ่มนี้จะมีความเลื่อมใสในตัว บินลาเดน และจะยึดถือเป็นแบบอย่าง เป็นต้น

- การเปรียบเทียบทฤษฎี 3L’S ระหว่างฮิลลารี กับของอาจารย์จิระ ทฤษฎีของฮิลลารีเป็นการมองในภาพกว้างมีความหลากหลาย ทั้ง การเรียนรู้ การรับฟัง และการปฏิบัติ ส่วนทฤษฎีของอาจารย์จิระ จะนำประสบการณ์ในอดีตที่มีทั้งข้อดีและข้อผิดพลาด นำมาเป็นบทเรียนและพัฒนาในอนาคตให้ดียิ่งขึ้น

- สิ่งที่จะนำมาปรับใช้ ได้แก่ L – learning from listening การเรียนรู้จากการรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น ทำให้ทราบแนวคิดใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน

- L - learning from experience การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา คือการศึกษาผลงานในอดีต ซึ่งมีทั้งความสำเร็จและผิดพลาด หากนำประสบการณ์นั้นๆ มาเป็นบทเรียน จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในอนาคต

- Trust มีความหมายถึงความเชื่อมั่นหรือความศรัทธาที่คนมีต่อคน ลูกน้องมีต่อหัวหน้า จนท.มีต่อผู้นำองค์กร หรือศรัทธาของบุคคลที่มีต่อองค์กรทั้งบุคลากรภายนอกและภายใน เมื่อความศรัทธาเกิดการปฏิบัติเพื่อสู่จุดมุ่งหมายที่คาดหวังย่อมกระทำได้ง่ายและประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น แต่ความศรัทธาจะเกิดขึ้นได้ย่อมต้องอาศัยระยะเวลารวมทั้งองค์ประกอบที่สร้างศรัทธาของแต่ละคนก็ต่างกันไป โดยตัวเราต้องมีศรัทธาต่อตัวเอง(Selft Trust) เป็นอันดับแรกก่อนจึงจะนำไปสู่ศรัทธาของคนในองค์กร เราต้องมีจุดยืน/เป้าหมายที่ชัดเจน ทำด้วยความสามารถของตนเองเพื่อให้ผลงานเป็นที่ประจักษ์ทั้งภายในองค์กร (Relationship Trust) และนำไปสู่การความศรัทธาที่องค์กรอื่นมีต่อองค์กรเรา(Orgazation Trust) และสุดท้ายทำให้องค์กรเป็นที่ยอมรับสาธารณชน ที่เป็น Social Trust หรือศรัทธาที่สังคมยอมรับซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

- จากบทความในหนังสือ Leadership Secrets of Hillaly Clinton ที่วิเคราะห์ความเป็นผู้นำของฮิลลารีที่ปฏิบัติตามทฤษฎี 3 L คือ Listening Learning และ Leading นั่นหมายความว่าฮิลลารีพร้อมที่รับฟังเพื่อพัฒนาตนเองเป็นการเปิดโลกกว้างเพื่อฟังความคิดที่หลากหลาย หรือ open mind นำไปสู่การเรียนรู้ไม่จบสิ้น เมื่อเรียนรู้มากย่อมมีการสั่งสมประสบการณ์จะกลายเป็นผู้นำที่ดีได้

ในขณะที่ 3 L ของ ศ.ดร.จีระ หงส์รดารมภ์ เป็น 3 L ที่คำนึงประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์จริงที่ผ่านมาทั้ง Lernning form pain , Lernning form experiences เป็นการเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วทั้งในแง่ความเจ็บปวด ความผิดพลาด ความล้มเหลว และสิ่งที่ประสบความสำเร็จ มาใช้เป็นบทเรียนเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง โดยมีความพร้อมที่จะรับฟังความคิดหลากหลายของคนอื่นๆ หรือ Lernning form Listening เป็นองค์ประกอบสำคัญ

จะเห็นได้ว่า ทั้ง 2 ทฤษฎี ไม่มีความแตกต่างกัน เป็นลักษณะการใช้การเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นผู้นำ และอาจกล่าวได้ว่า การรับฟังเป็นจุดเปลี่ยนของการเป็นผู้นำ

- เราสามารถนำทฤษฎีทั้ง 2 ท่านที่กล่าวมาข้างต้นมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของเรา แต่ 3 L ของ ศ.ดร.จีระ ฯ จะตรงประเด็นในแง่นำประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นบทเรียน สิ่งดีเก็บไว้ สิ่งไม่ดีก็เรียนรู้ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งพร้อมกับการรับฟัง นำไปต่อยอดการเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต

เปรียบเทียบทฤษฎี 3L ของฮิลลารี กับทฤษฎี 3L ของ ดร.จีระ หงส์ลดารมย์

- ฮิลลารีเป็นผู้นำที่มีคุณภาพเพราะมี 3L คือ เป็นผู้ฟังที่ดี เรียนรู้ตลอดชีวิต และมีภาวะผู้นำ

- ทฤษฎี 3 L ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ และความผิดพลาดที่ผ่านมาของตนเอง และใช้เป็นบทเรียนเพื่อเตือนตนเองไม่ผิดพลาดอีก และเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของตนเองจนกระทั่งประสบผลสำเร็จ รวมทั้งปรับทัศนคติของตนเองให้เป็นผู้รับฟังผู้อื่นได้ดี และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับฟังกลับไปเป็นข้อพิจารณาที่มีคุณค่าให้แก่ผู้อื่นได้ทันที

- ทฤษฎีทั้งสองแบบสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาตัวเองและบุคคลรอบข้าง

เพื่อสามารถเป็นผู้ฟังที่ดี ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต มีภาวะผู้นำ เรียนรู้จากประสบการณ์ และเตือนตนเองไม่ให้ทำผิดซ้ำจากบทเรียนความผิดพลาดที่ผ่านมา เพื่อที่จะสามารถเป็นผู้ซึ่งประสบความสำเร็จด้านการงานและการดำรงชีวิตในอนาคต

trust ความศรัทธา ความเชื่อถือ ความไว้วางใจ ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วทำให้เกิดอุดมการณ์ต่อสิ่งนั้น เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ความรู้สึกที่ดีมีความปลอดภัย จะมีผลต่อการกำหนดการกระทำ ผลตอบสนองที่ดีต่อสิ่งนั้นๆ

ส่วนทฤษฏี 3L ของ Hillary และ 3L's ของ อาจารย์จีระ จะมีลักษณะในการสร้างผู้นำที่คล้ายคลึงกันในเรื่องของการเปิดใจกว้างในเรื่องการรับฟัง เปิดใจกว้างในการยอมรับคำวิจารณ์ และแสดงความคิดเห็นโต้ตอบกันด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ ยอมรับในความคิดเห็นของผู้อื่น และพร้อมที่จะเรียนรู้ จากสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา

ทฤษฎี 3L’S ของฮิลลารี กับ ศ.ดร.จีระ

การเปรียบเทียบทฤษฎี 3L’S ระหว่างฮิลลารี กับ ศ.ดร.จีระ มีทิศทางที่คล้ายคลึงกัน คือ เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์จากสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับตนเองในห้วงเวลาหนึ่งที่ก้าวผ่านเส้นทางที่มีทั้งปัญหาและอุปสรรค จนตกผลึกเป็นทฤษฎี ซึ่งที่สำคัญ คือ การเปิดใจยอมรับคำตำหนิหรือคำวิจารณ์ในเชิงลบ โดยไม่หวั่นไหว และพร้อมจะนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับปรุง รวมถึงพร้อมที่นำมาถ่ายทอดสู่นานาอารยชนอย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความว่าด้วยเรื่อง "ทฤษฎี 3L ของ Hillary และ 3L's" ของท่านอาจารย์จิระ ในคราวแรกผมเกิดความรู้สึกสงสัยว่าระบบธรรมาภิบาลกับทฤษฎีข้างต้น เชื่อมโยงกันได้อย่างไร เพราะในคราวแรกผมเข้าใจว่า "ธรรมาภิบาล" นั้น เป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่หลังจากได้สนทนากับคุณอธิพงศ์ เพื่อนร่วมชั้นเรียนจึงเข้าใจได้ว่า Learning from pain นั้น ไม่ใช่หมายถึงการเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเราเองเท่านั้น หากแต่หมายรวมถึงความผิดพลาดของผู้อื่น ดังที่ท่านอาจารย์ได้ยกตัวอย่างไว้ในบทความด้วย

ดังนั้นทฤษฎี 3L ของ Hillary (listening , learning and leading) กับของท่านอาจารย์จิระ (learning from pain , learning from experiences and learning from listening) ถึงแม้จะแตกต่างกันในเรื่องชื่อที่ใช้เรียกขาน แต่สาระสำคัญหรือเนื้อหานั้น ไม่น่าจะแตกต่างกัน และผลที่ได้รับจากการนำเอามาปฏิบัติ คือ การพัฒนาตนเองให้ก้าวไปสู่การเป็นผู้นำที่ดี มีธรรมาภิบาล และนำพาองค์กรให้เคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร นั่นคือ การดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงของประเทศชาตินั่นเอง

1. Trust คือ ความศรัทรา ซึ่งต้องเกิดจากความไว้วางใจในตนเองและผู้อื่น อันจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นขึ้นในองค์การ อันจะนำไปสู่การทำงานเป็นทีม เกิดความร่วมแรง

ร่วมใจในการปฏิบัติงานให้ประสบผลสำเร็จ ทำให้องค์การสามารถพัฒนาไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เมื่อองค์การประสบความสำเร็จแล้วก็จะสร้างศรัทราสู่สังคม

2. เปรียบเทียบทฤษฎี 3 L ของ Hillary กับทฤษฎี 3 L ของ ศ.ดร.จีระ

ทฤษฎี 3 L ของ Hillary คือ การเรียนรู้ตลอดเวลาจาก 3 L

- L ที่ 1 คือ Listening : เรียนรู้จากการฟัง

- L ที่ 2 คือ Learning : นำไปสู่การเรียนรู้

- L ที่ 3 คือ Leading : เป็นผู้นำที่ดี

ทฤษฎี 3 L ของ ศ.ดร.จีระ คือ การเรียนรู้จากความล้มเหลว จากประสบการณ์ในอดีต และจากการรับฟัง โดยกรเรียนรู้จะทำให้รู้จุดแข็งและจุดอ่อน ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาให้ดีขึ้น และปรับปรุง/แก้ไขจุดด้อยให้หมดไป

- L ที่ 1 คือ Learning from pain : เรียนรู้จากความล้มเหลว

- L ที่ 2 คือ Learning from experiences : เรียนรู้จากประสบการณ์

- L ที่ 3 คือ Learning from listening : เรียนรู้จากการฟัง

** จะเห็นได้ว่าทั้งสองทฤษฎีนี้ มีแนวคิดที่ใกล้เคียงกันไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ทฤษฎี 3 L ของ ศ.ดร.จีระ มีการนำเรื่องของประสบการณ์มาต่อยอดการเรียนรู้ ทำให้เป็นน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

** การนำไปปรับใช้กับในการทำงาน รวมถึงการดำเนินชีวิตนั้น สามารถนำทั้งสองทฤษฏีมาผสมผสานเพื่อสร้างการเรียนรู้ และเพิ่มพูนศักยภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ เพราะนอกจากการเรียนรู้ตลอดเวลาแล้ว การเรียนรู้จากความผิดพลาดจะทำให้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น

นิยามของ Trust หรือความศรัทธา

ความศรัทธา คือ ความเชื่ออย่างมั่นคงว่า มีความรู้ ความสามารถที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ เมื่อมีปัญหา อุปสรรค สามารถหาแนวทางแก้ไขได้ สมาชิกองค์กรสามารถพึ่งพาได้ มีความรู้สึกที่ดีและภาคภูมิใจที่ได้ทำงานด้วย

จากการอ่านบทความเรื่องทฤษฎี 3 L ของ Hillary และ 3L’ s ของ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เห็นว่า

1. ผู้นำที่ดีมีคุณภาพควรจะมีคุณลักษณะตามทฤษฎี 3 L ของ Hillary และ 3L’ s ของ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จึงจะสามารถนำพาองค์กรและสังคมให้เจริญก้าวหน้าได้ อย่างไรก็ตาม การที่จะเป็นผู้ปกครองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล ควรจะเน้นเรื่องจิตใจด้วย เพราะจิตใจเป็นตัวนำ ผู้นำควรจะต้องมีศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม การปกครองจึงจะเป็นการปกครองที่เป็นธรรมเพื่อประโยชน์ของคนทั้งหมด ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ปัจจุบัน การเสริมสร้างผู้นำ อาจจะเน้นในเรื่องประเด็นอื่นๆ แต่ละเลยด้านคุณธรรม จริยธรรม เราจึงมีผู้นำที่เก่ง แต่ทุจริต ประพฤติมิชอบ เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัว อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเรื่องนี้ เห็นว่าในสังคมไทย จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน

2. สิ่งที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงตัว คือ การฟัง เพราะในการทำงานปกติก็จะต้องใช้การฟังเป็นหลักอยู่แล้ว แต่การฟังยังมีประโยชน์ทำให้ได้รับความรู้ ความคิดใหม่ๆ และเป็นการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง ที่จะนำมาเพิ่มพูนความรู้ให้ทันสมัย และปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น อีกอย่างหนึ่งคือ การเรียนรู้ โดยเฉพาะการเรียนรู้จากประสบการณ์ทั้งของตนเองและของคนอื่น ประสบการณ์ของตนเอง จะช่วยให้จดจำได้ดี และทำงานในครั้งต่อไปได้ดีขึ้น ไม่ผิดพลาด ส่วนประสบการณ์จากคนอื่น ที่อาจจะได้จากคำแนะนำ การสอบถาม การพูดคุย จะช่วยให้ไม่ต้องทำผิดพลาด ไม่ต้องเสียเวลา การทำงานจะประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น

๑. ความหมายของคำว่า TRUST ในความคิดเห็นของกระผม คือความศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรอย่างแท้จริง และสามารถทำให้เกิดพลังในการสร้างสรรค์ผลงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ประกอบด้วย

-ต้องมี TRUST ในองค์กรที่เราทำงานอยู่ ต้องมีความภาคภูมิใจในหน้าที่ของตนที่ปฏิบัติงาน ซึ่งเราต้องทำเพื่อความมั่นคงของประเทศชาติและประชาชน และ สามารถช่วยเหลือสังคมให้มีความสงบเรียบร้อย

             Trust ในความเห็นของผมน่าจะเป็นความศรัทธาที่เกิดขึ้นมาจากหลายสิ่งดีๆที่เข้ามาหลอมรวมกัน เช่น   ความรอบรู้  ความจริงใจ  ความสามารถในการแก้ไขปัญหา บุคลิกภาพ   ตลอดจนการเป็นแบบอย่างที่ดีและเสมอต้นเสมอปลายของบุคคล   ซึ่งสิ่งดังกล่าวสามารถนำไปเป็นแนวทางในการใช้ประโยชน์ทั้งต่อตนเองและบุคคลอื่นๆให้ประสบผลสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

สำหรับทฤษฎี 3 L’s ของ Hillary กับ ศ.ดร.จีระ

- ทฤษฎี 3L ของนางฮิลลารี คลินตัน เริ่มด้วย Listening (การรับฟัง) Learning (การ    เรียนรู้) และ Leading (การเป็นผู้นำที่ดี)

- ทฤษฎี 3L ของ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประกอบด้วย Learning from pain ( การเรียนรู้ จากความเจ็บปวด ) Learning from experiences (การเรียนรู้จากประสบการณ์) และ Learning from Listening (การเรียนรู้จากการรับฟัง)

 จะเห็นได้ว่าทั้งสองทฤษฏี ต่างมีเส้นทางที่ไปสู่จุดหมายเดียวกันคือความเป็นผู้นำที่ประสบผลสำเร็จและมีคุณภาพ แต่มีแนวทางที่แตกต่างกันในรายละเอียดบางประการ โดยนางฮิลลารี คลินตัน จะเริ่มต้นจากการเป็นผู้ฟังที่ดี นำไปศึกษา และพัฒนาให้เหมาะสมกับตนเองและสถานการณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาความเป็นผู้นำของตนให้ดีขึ้น  สำหรับทฤษฎี ของ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จะเน้นที่การศึกษาเป็นหลัก( เป็นการมองต่างมุม ) โดยเน้นการเรียนรู้จาก ความผิดพลาดในอดีต ประสบการณ์ แล้วก็มาสรุปสุดท้ายด้วยการเป็นผู้ฟังที่ดี  ก่อนนำความรู้ที่ได้รับต่างๆมาหล่อหลอมรวมกันจนเป็นแนวทางที่เหมาะสม   ดังนั้นผมเห็นว่าจะเป็นแนวทางใดก็ตาม ผลสำเร็จขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของบุคคลหรือสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา ที่จะบอกได้ว่าควรจะไปในทางใด แต่สิ่งที่มีความเหมือนและสำคัญในทั้งสองทฤษฏีที่กล่าวมาแล้ว คือการเป็นผู้ฟังที่ดี หากว่า สขช. จะส่งเสริมความเป็นผู้นำให้แก่ข้าราชการให้เป็นผู้นำที่ดีในอนาคตต่อไป ควรปรับปรุงวัฒนธรรมในการทำงานให้เป็นสังคมของผู้ฟังที่ดีและใฝ่เรียนรู้ในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและองค์กร อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

คำนิยามของคำว่า “ศรัทธา” (Trust) มีอยู่ด้วยกันหลากหลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคลว่าคืออะไร แต่สำหรับข้าพเจ้าแล้วนั้น “ศรัทธา” “Trust” เป็นการก่อกำเนิดมาจากความไว้วางใจและมั่นใจต่อบุคคลหนึ่งว่า บุคคลผู้นั้นจะนำพาเราไปสู่จุดหมายที่ตั้งร่วมกันไว้ได้สำเร็จ

อย่างไรก็ดี “ศรัทธา” (Trust) กับผู้นำมีความเกี่ยวโยงกันอยู่ในตัว โดยผู้นำควรจะเป็นผู้ที่บุคคลอื่นให้ความศรัทธา ทั้งนี้คุณลักษณะของผู้นำมีอยู่ด้วยกันหลากหลาย แต่สำหรับ Hillary Clinton นั้น มีลักษณะของผู้นำแบบ 3 L’s คือ Listening (การฟัง), Learning (การเรียนรู้) และ Leading (การนำ) ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยถือได้ว่าเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์ที่ควรจะมี

ในขณะเดียวกัน แนวคิด 3 L’s ของ ศ.ดร.จิระ ที่ประกอบด้วย Learning from pain (การเรียนรู้จากความเจ็บปวด), Learning from experiences (การเรียนรู้จากประสบการณ์) และ Learning from listening (การเรียนรู้จากการฟัง) ก็เป็นอีกคุณลักษณะของผู้นำที่ควรจะมีเช่นกัน ซึ่งจากแนวคิด 3 L’s ของทั้งสองท่าน หากนำมาเทียบเคียงก็มีความใกล้เคียงกันอยู่บ้าง โดยข้าพเจ้าคิดว่า 3 L’s ในมุมมอง ศ.ดร.จิระ นั้น เกิดจากการที่ท่านได้ลงมือทำแบบลองผิดลองถูกด้วยตัวท่านเอง ด้าน Hillary เป็นมุมมองที่เกิดจากสิ่งที่ควรจะเป็น

ทั้งนี้ แนวคิด 3 L’s ของทั้งสองท่านมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยข้าพเจ้าจะนำแนวคิดของทั้งสองท่านมาปรับใช้ให้ผสมผสานกันอย่างลงตัวเท่าที่จะทำได้ ด้วยการรับฟัง พร้อมทั้งเรียนรู้จากความเจ็บปวดและประสบการณ์ที่ผ่านมาจากทั้งของตนเองและของผู้อื่น เพื่อให้เกิดเป็นการเรียนรู้ของตนเอง จากนั้นก็นำความรู้ที่ได้ไปเสริมสร้างการเป็นผู้นำที่ดี

Trust คือ ความเชื่อมันและไว้วางใจที่คนในองค์กรมีต่อบุคคลให้เป็นผู้ตัดสินใจสถานการณ์ต่างๆ ในองค์กร โดยพร้อมที่จะร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสมัครใจ

การเปรียบเทียบทฤษฎี 3 L

เปรียบเทียบ 3 L ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่าเป็นคุณสมบัติที่ทำให้ฮิลลาลี คลินตัน เป็นผู้นำที่มีคุณภาพและธรรมาภิบาล กับ 3 L ของ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมย์ จะเห็นว่า มีความใกล้เคียงกันมาก ซึ่งทั้งสองแนวคิดชี้ให้เห็นว่า การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งการเรียนรู้จากการรับฟัง สิ่งดี สิ่งไม่ดี ความล้มเหลว อดีต ปัจจุบัน รวมทั้งนวตกรรมใหม่ๆ นอกจากนี้ยังทำให้เห็นว่า แนวคิด 3 L ของ ศ.ดร. จิระ มีความเป็นสากลที่สามารถนำไปปรับใช้เพื่อสร้างผู้นำที่มีคุณภาพขึ้นได้

Listening Learning Leading ซึ่งฮิลลาลีมีนั้น คือ การรู้จักรับฟัง จะทำให้เรียนรู้ได้ดี และเป็นผู้นำที่ดีได้ โดยเฉพาะ Listening ใกล้กันกับ learning from listening ของ ศ.ดร.จิระ เป็นอย่างมาก แสดงให้เห็นว่า การพร้อมเปิดใจรับฟังความเห็นทั้งที่ดีและไม่ดีเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำในปัจจุบัน นอกจากนี้ ศ.ดร.จิระ ยังเน้นให้เห็นรายละเอียดที่ลึกซึ้งใน Learning from pain และ Learning from experiences (คล้ายกับ Learn ของฮิลลาลี) ที่ทำให้เห็นว่า การเรียนรู้จากจากประสบการณ์ และการยอมรับความเจ็บปวดล้มเหลว จะฝึกให้ผู้นำสามารถรับมือกับวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้

การนำ 3 L มาปรับใช้

เนื่องจาก 3 L ของอิลลาลี และ ศ.ดร.จิระ มีความใกล้เคียงกันมาก แต่ 3 L ของ ศ.ดร.จิระ มีความลึกซึ้งและให้รายละเอียดที่ชัดเจนมากกว่าในการนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน เพราะจะทำให้เรามีความคิดเชิงบวกต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง ความล้มเหลว เจ็บปวด และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นประสบการณ์ที่จะทำให้คนก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำ เพราะจะทำให้สามารถคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ โดยอยู่บนพื้นฐานของความจริง และสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืนได้ในระยะยาว

ว่าด้วยเรื่องคำจำกัดความของคำว่า "Trust"

Trust หรือ "ความเชื่อมั่นหรือความศรัทธา" ในกรณีที่บุคลากรขององค์กรมีต่อผู้บริหาร คือ ความรู้สึกไว้วางใจและการให้ความเชื่อถือต่อผู้บริหารหรือผู้นำที่มีความสามารถชักจูงใจให้ปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ

จากทฤษฎี 3L ทั้งสอง นับได้ว่ามีคุณลักษณะที่คล้ายคลึงกัน เนื่องจากให้ความสำคัญกับการรับฟัง(Listening) การเรียนรู้(Learning) อันเป็นตัวนำไปสู่การเป็นผู้นำที่ดี(Leading) เพียงแต่ของอาจารย์จีระ จะนำมุมมอง ที่นำการนำความล้มเหลวหรือความเจ็บปวดในอดีตมาเป็นบทเรียนที่จะเรียนรู้นำไปสู่ความอดทน และพร้อมที่จะนำประสบการณ์ทั้งดีและไม่ดี ตลอดจนการพร้อมจะรับฟังในทุกเรื่อง เพื่อนำมาเป็นแม่บทของการเรียนรู้ อันจะเป็นแรงผลักดันต่อการกำหนดทิศทางในเรื่องต่าง ๆ

หลักทฤษฎีทั้ง 3 L สามารถนำมาปรับใช้กับตัวเองได้อย่างดี โดยเฉพาะการพร้อมรับฟังเรื่องราวต่างๆ ทั้งดีและไม่ดี การเรียนรู้จากเรื่องราวในอดีตที่ผิดพลาด และประสบการณ์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำมากำหนดแนวคิดหรือแง่มุมที่หลากหลายต่อการปฏิบัติตนให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ อันจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและองค์กร

ศึกษากรณี คุณยรรยงที่ ครม.

บทบาทของข้าราชการประจำกับนักการเมือง

คุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน ชี้แจงต่อ ครม.และ นรม.อภิสิทธิ์ เมื่อ 13 พ.ค.52 กรณีขอให้ ครม.อนุมัติการประมูลข้าวโพดของกระทรวงพาณิชย์ โดยอธิบายต่อ ครม.ว่า ครม.ชุดที่แล้วอนุมัติไปแล้ว ครม.ไม่ใช่นิติบุคคลทำสัญญาเองไม่ได้ และจะขอให้ ครม.ให้ความเห็นชอบตามมติ ครม.เดิม ซึ่งการชี้แจงของคุณยรรยงฯ เหมือนกับการสอนมวยนักการเมืองทำให้เกิดการถกเถียงกันอย่างหนักใน ครม. เป็นการชี้แจงที่ขาดความรอบคอบในการใช้วิจารณญาณ ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือในการเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และดูเหมือนเป็นผู้รับใช้นักการเมือง ทั้งที่คุณยรรยงฯ เองเป็นข้าราชการที่มีอนาคต มีความรู้ดี มีความมุ่งมั่น มานะอดทน และมีประวัติดี

การเป็นข้าราชการที่ดีและเป็นคนเก่ง อาจไม่เพียงพอ ในการเป็นผู้นำที่ดีต้องมีความเฉลียวฉลาดด้วย การตัดสินใจที่ผิดพลาดอาจทำให้เป็นคนที่ขาดความน่าเชื่อถือ ควรมีจุดยืนในสิ่งที่ถูกต้อง และควรเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับการเมือง –นักการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมการเมืองไทยหากตัดสินใจผิดพลาดอาจตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองโดยไม่ตั้งใจ การนำทฤษฎีการตัดสินผิดพลาดของคนเก่ง จากหนังสือ Think again มาประยุกต์ใช้กับกรณีนี้ หรือกรณีอื่นๆ ที่ต้องตัดสินใจ จะทำให้เป็นผู้นำที่น่าเชื่อถือและยอมรับจากสังคม เช่น หากขาดประสบการณ์ ก็หาทางป้องกันด้วยการหาข้อมูลให้ครบถ้วน หากขาดความรอบคอบในการใช้วิจารณญาณ ก็ควรปรึกษาหารือให้ละเอียดรอบคอบกับทีมงาน หากมีผลประโยชน์ทับซ้อน ก็ต้องเน้นหลักธรรมาภิบาล และหากมีการเล่นพวกหรือมีความสัมพันธ์ส่วนตัว ก็ต้องติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิด ฯลฯ

สรุป การขออนุมัติ ครม.ประมูลข้าวโพด ของกระทรวงพาณิชย์

คุณยรรยง อธิบดีกรมการค้าภายในได้ชี้แจงสาเหตุการขออนุมัติประมูลข้าวโพดต่อ ครม.พิจารณา ทำให้นายกรัฐมนตรี

และคณะฯ ไม่พอใจ ซึ่งทำให้ถูกมองว่าคุณยรรยงขาดความน่าเชื่อถือของการเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่จะส่งผลกระทบ

เรื่องความไม่โปร่งใส่ในรัฐบาลของคุณอภิสิทธิ์

อันที่จริงคนที่ควรจะชี้แจงในเรื่องดังกล่าวน่าจะมีคุณพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ไม่ควรที่จะให้

คุณยรรยง เป็นผู้ชี้แจง เพราะคุณยรรยงขาดประสบการณ์ในด้านความสัมพันธ์กับนักการเมือง ขาดวิจารณญาณ จึงทำให้

ไม่ถูกใจ ครม.ทั้งคณะ

จากบทเรียนของคุณยรรยง เข้ากับ ทฤษฎีการตัดสินผิดพลาดของคนเก่ง ที่คุณยรรยง ควรศึกษาทฤษฎีก่อนที่จะไป

ชี้แจง ครม. ก็น่าจะไม่เกิดปัญหาขึ้น

แต่ถ้ามองในแง่มุมอีกอย่างหนึ่ง บทบาทของนักการเมืองกับข้าราชการประจำ (โดยเฉพาะข้าราชการชั้นผู้ใหญ่)

จะหนีไม่พ้นของคำว่าการเข้ามาแทรงแซงในการทำงานของข้าราชการประจำ แต่ถ้าคุณยรรยง เป็นคนเก่ง เป็นคนดี

ก็ไม่ต้องเกรงกลัวการเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง

จากบทความศึกษากรณีคุณยรรยง ที่ ครม.

ประโยชน์ที่ได้จากบทความนี้คือ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หรือ รมต. หากขาดการเตรียมการ การวางแผน และประสบการณ์ย่อมเกิดความผิดพลาดได้เสมอ ฉะนั้นการวางแผนเตรียมการและวิเคราะห์ภารกิจและสิ่งที่กำลังจะดำเนินการ จะทำให้เราสามารถทำสิ่งนั้นออกมาได้ดี ต้องมีการเตรียมการ วางแผน หาข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน ทำงานเป็นทีมเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และเน้นหลักธรรมาภิบาล การปฏิบัติงานก็จะประสบผลสำเร็จ การตัดสินใจต่าง ๆ ต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง ไม่เลือกข้าง ซึ่งเป็นกระบวนการที่เราคิดว่าน่าจะประสบผลสำเร็จในการดำเนินงาน แต่อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งแม้ว่าเราจะปฏิบัติตามหลักขั้นตอนและวิธีการที่ถูกต้องแล้วแต่ปัจจัยภายนอกบางอย่างที่เราควบคุมไม่ได้ก็อาจทำให้เราเกิดข้อผิดพลาดได้ เพราะเรื่องผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใคร บางคนสามารถทำได้ทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง

บทความ ศึกษากรณี คุณยรรยงที่ครม.

การทำงานของข้าราชการจะต้องอยู่ใต้อิทธิพลของนักการเมืองทุกยุคสมัย กรณีคุณยรรยงก็เป็นตัวอย่างที่สะท้อนว่า คุณยรรยงไม่มีประสบการณ์ของการชี้แจงต่อครม. ทำให้ไม่สามารถนำหลักการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Learning from experiences) ได้ ซึ่งแนวทางแก้ไข คุณยรรยงน่าจะหาข้อมูลหรือใช้การฟัง (Listening) จากข้าราชการคนอื่นๆ ที่เคยมีบทเรียนการชี้แจงมาก่อนแล้ว นอกจากนี้ รมต.กระทรวงพาณิชย์และข้าราชการประจำคงต้องร่วมมือทำงานเป็นทีมกันมากขึ้น โดยพยายามประนีประนอมผลประโยชน์ของทุกฝ่าย

จากบทความศึกษากรณีคุณยรรยง

นักการเมืองจะอาศัยอำนาจมอบหมายหน้าที่ให้ข้าราชการประจำเป็นผู้ออกมาแก้ไขปัญหา กรณีเกิดการซักฟอกเรื่องความไม่โปร่งใสใน ครม. ซึ่งจุดอ่อนของคุณยรรยงคือ ขาดประสบการณ์ในระดับความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับนักการเมือง ขาดวิจารณญาณที่รอบคอบ จึงทำให้คุณยรรยงตัดสินใจผิดพลาดในการขออนุมัติ ครม.ในการประมูลข้าวโพด ผลกระทบที่คุณยรรยงได้รับคือ ขาดความน่าเชื่อถือของการเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในสายตาของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ การเป็นผู้นำที่ดีต้องใฝ่รู้ ต้องศึกษาหาข้อมูลให้เพียงพอ ต้องใช้หลักธรรมาภิบาล มีคุณธรรม และมีทีม work ที่ดี ที่กล่าวมาทั้งหมดจะสามารถช่วยให้คุณยรรยงหลุดพ้นจากการตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองได้ ประโยชน์ที่ได้รับจากกรณีศึกษาของคุณยรรยงสามารถชี้ให้เห็นว่า การศึกษา การเรียนรู้ และการจดจำในข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจะเป็นบทเรียนที่สำคัญของชีวิตในการพัฒนาการทำงานในครั้งต่อไป โดยไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำอีก และการทำงานก็จะประสบความสำเร็จในที่สุด

กรณีศึกษาของคุณยรรยงที่ ครม. สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการประจำ ข้าราชการประจำไม่ยอมรับในบทบาทของนักการเมืองที่ใช้สถานะของผู้บริหารประเทศสั่งการและแทรกแซงกระบวนการทำงานของข้าราชการประจำ อีกทั้งยังขาดคุณธรรม ไม่ยอมรับฟัง ไม่ให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ และไม่ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร ซึ่งล้วนแต่เป็นคุณลักษณะสำคัญของผู้นำ ขณะที่ข้าราชการประจำที่แม้จะฉลาดรอบรู้ในภารกิจที่รับผิดชอบ แต่หากยังไม่สามารถสร้างศรัทธาภายในองค์กรของตนเอง และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ก็ส่งผลทำให้ไม่ได้รับความเชื่อมั่นศรัทธาและการยอมรับจากรัฐบาลด้วย

กรณีที่เกิดขึ้นจึงเป็นตัวอย่างสำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการทำงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล เน้นคุณธรรมและความโปร่งใส และยังเป็นประสบการณ์หรือบทเรียนที่สอนให้เราตระหนักที่จะเลี่ยงความผิดพลาดในการทำงานที่เกิดขึ้นจากการขาดการประสานงาน และการยอมรับในบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย

กรณีศึกษา คุณยรรยงที่ ครม.

-สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีปัญหาการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองที่พยายามใช้อิทธิพลทำให้ข้าราชการทำงานสนองตอบต่อความต้องการของตน

- ทฤษฎีการตัดสินสินผิดพลาดของคนเก่ง ทำให้เห็นว่าทุกคนทำพลาดได้แม้แต่คนเก่ง ผู้นำจึงควรต้องศึกษาทบทวนข้อผิดพลาด และวางแนวทางป้องกันต่างๆ ให้รอบคอบรัดกุม

- ผู้นำต้องมีทั้งความเก่งและความดีอยู่ภายในตัว เพราะถ้ามีแต่ความเก่ง ไม่มีความดี ก็จะใช้ความเก่งไปในทางที่ไม่เหมาะสม ขณะเดียวกัน ถ้ามีความดี แต่ความเก่งไม่มากพอหรือขาดประสบการณ์ ก็อาจตกเป็นเครื่องมือของผู้อื่นได้ เช่น ผู้เขียนบทความแสดงความห่วงใยว่า " คนดีอย่างคุณยรรยงไม่ควรตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองโดยไม่จำเป็น"

สิ่งที่ได้รับจากการอ่านบทความ “ศึกษากรณี คุณยรรยงที่ ครม.”

บทความดังกล่าว ศ.ดร.จิระ ได้ให้ความรู้แก่ผู้อ่านและนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับภาวะผู้นำ Trust และผลกระทบที่มีจากการตัดสินใจ โดยผู้นำที่ดีต้องยึดถือความถูกต้องเป็นหลักสำคัญ กล้าที่จะยืนหยัดในสิ่งที่ชอบธรรม แม้จะต้องเกิดความขัดแย้งกับ ผู้อื่น เพราะผู้นำต้องมี Self Trust Relationship Trust Organization Trust ไปจนถึง Social Trust ซึ่งกรณีคุณยรรยง พิจารณาได้ว่า เป็นเพราะการตัดสินใจที่ผิดพลาด อาจเพราะการรับรู้ข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วน หรือคาดการณ์สถานการณ์คลาดเคลื่อน รวมถึงการถูกกดดันจากฝ่ายการเมืองซึ่งมีส่วนสำคัญที่สร้างผลกระทบต่อการตัดสินใจของคุณยรรยง ต้นทุนที่คุณยรรงยงต้องเสียไปจึงเป็นความสูญเสียที่มีมูลค่ามหาศาลเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนทางสังคมที่คุณยรรงยงสั่งสมมาตลอดชีวิต

นอกจากนี้ ยังชี้ให้เห็นถึงภาวะผู้นำของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นรม. ที่ยึดหลักการบริหารราชการแบบความรู้คู่คุณธรรม จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นและถือเป็นบทเรียน (Lesson Learn) สำหรับผู้เกี่ยวข้อง

ทุกฝ่ายเช่นกัน

จากการศึกษากรณี คุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน ต้องเข้าชี้แจงกับ ครม.ในการขออนุมัติ ครม.ประมูลข้าวโพด นั้น แสดงให้เห็นว่าการเป็นผู้นำในองค์กรใด ๆ นั้น ต้องมีความสามารถที่รอบด้าน พร้อมตั้งรับได้ในทุกสถานการณ์ ควบคู่ไปกับการมีธรรมาภิบาล ยึดถือความถูกต้อง นอกจากนี้ จากกรณีดังกล่าวยังสื่อให้เห็นว่าทีมที่ดีและมีข้อมูลครบถ้วน เตรียมพร้อมเต็มที่ตลอดเวลามีความสำคัญต่อผู้นำเป็นอย่างมาก เพราะบางครั้งผู้นำอาจไม่ได้เก่งไปเสียทุกด้าน ดังนีั้น ทีมที่ดีจึงถือเป็นหัวใจสำคัญ เนื่องจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากความไม่รอบคอบแม้เพียงครั้งเดียวอาจหมายถึงความเสียหายต่อองค์กร หรือการเสียโอกาสของตัวผู้นำเอง....อย่างคาดไม่ถึง

อ่านบทความของ อ.จิระ ที่เขียนเกี่ยวกับศึกษากรณี คุณยรรยงที่ ครม.แล้ว ทำให้ทราบว่า

ภายใต้การเมืองไทยอิทธิพลของนักการเมืองกับการทำงานของข้าราชการประจำ ที่ต้องทำงานร่วมกันมักจะมี 2 สิ่งเข้ามาเกี่ยวข้องระหว่างความถูกต้องและผลประโยชน์ ซึ่งกรณีคุณยรรยงก็เป็นตัวอย่างที่สะท้อนว่า แม้คุณยรรยง พวงราช จะเป็นบุคคลผู้ที่มีความรู้ มีความวิริยะอุตสาหะ สั่งสมคุณงามความดีและเป็นข้าราชการที่ดี มาโดยตลอด แต่คุณยรรยงก็มีจุดอ่อนที่ต้องแก้ไข การเป็นข้าราชการที่ดี เก่ง อาจไม่เพียงพอ ต้องมีความเฉลียวฉลาดและใช้วิจารณญานคิดวิเคราะห์อย่างรอบคอบ ตัดสินใจในสิ่งที่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ดังนั้นควรนำหลัก (learning from paint) การเรียนรู้จากบทเรียนที่ผิดพลาดมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมการเมืองไทย หากตัดสินใจผิดพลาดอาจตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองโดยไม่ตั้งใจ

สิ่งที่ได้รับจากการอ่านบทความ “คุณยรรยงที่ ครม.”

เป็นการแสดงถึงบทบาทของภาวะผู้นำของคุณยรรยง ซึ่งเห็นได้ว่าขาดความรอบคอบในการใช้วิจารณญาณที่จะอธิบายต่อ ครม. ถึงเหตุผลความจำเป็นซึ่งควรจัดเรียงลำดับความสำคัญ และความเป็นเหตุผล รวมทั้งคาดการณ์สถานการณ์ที่ผิดพลาด

รวมถึงขาดการควบคุมอารมณ์ โดยเฉพาะการขาดแรงต้านจากแรงเสียดทานทางการเมือง จึงทำให้มีการแสดงออกดังกล่าว ซึ่งอาจ

มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือที่มีมาโดยตลอดไม่มากก็น้อย เปรียบได้กับสำนวนทำดีร้อยครั้งไม่เท่าทำผิดครั้งเดียว

กรณีศึกษา คุณยรรยง ที่ ครม.

ทำให้เห็นว่า ข้าราชการประจำตกอยู่ภายใต้การครอบงำของนักการเมืองที่เข้ามามีอำนาจในการบริหารงานในกระทรวงต่างๆ

เป็นผู้ให้คุณให้โทษได้หากไม่สนองตอบต่อความต้องการของนักการเมืองนั้นๆ ถึงแม้บางครั้งอาจจะไม่เห็นด้วยแต่ต้องกระทำเพื่อความอยู่รอดในตำแหน่งหน้าที่การงาน ทำให้ข้าราชการไม่มีศักดิ์ศรีหรือมีความภูมิใจในการเป็นข้าราชการที่ดีหรือเป็นข้าราชการที่ทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติหรือของประชาชนที่รับเงินเดือนจากภาษีของประชาชน ดังนั้นการเป็นข้าราชการที่ดีมีคุณธรรมและเก่ง ไม่จำเป็นต้องพิ่งพานักการเมืองต้องมีความกล้าที่จะกระทำแต่ในสิ่งที่ถูกต้องโดยการคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก

- กรณีศึกษาคุณยรรงที่ ครม. เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นเพราะความไม่รอบคอบ การไม่มองบริบทที่เกี่ยวข้องให้รอบด้าน ทำให้บางครั้งสิ่งที่เราประเมินว่าเป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้อง อาจจะกลายเป็นประเด็นที่สร้างความเคลือบแคลงใจแก่คนอื่น และเกิดผลในทางลบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

- อย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ถือเป็นบทเรียนที่ต้องจดจำ และเป็นหลักคิดให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง (ข้าราชการประจำ) ต่อไป ทั้งนี้ ทางออกควรต้องกลับมาคิดให้รอบคอบถึงแนวทางทีดีที่สุด โดยยึดถือสิ่งที่ถูกต้อง “do the right thing” คำนึงถึงผลประโยชน์โดยส่วนรวม คือ ประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ (มากกว่าผลประโยชน์ของนักการเมือง)

จากบทความ ศึกษากรณีคุณยรรยง ในมุมมองส่วนตัว

1. ข้าราชการประจำตกอยู่ภายใต้อำนาจของนักการเมือง ต้องปฏิบัติตามนโยบายของนักการเมือง เพื่อความราบรื่นในหน้าที่การงาน หรือ เพื่อความเจริญก้าวหน้าในอนาคต

2. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณยรรยง ซึ่งเป็นอธิบดี กับ นรม. ตามสายการบังคับบัญชายังห่างกัน ยังมีปลัดกระทรวง รมช. รมว. การไปชี้แจง นรม.และ ครม. จึงอาจถูกมองว่าเป็นการไม่ให้เกียรติ์ รมว.ควรเป็นผู้ชี้แจงด้วยตัวเอง

3. การใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมกับ นรม. ทำให้เป็นภาพลบต่อผู้พูด

----------------------------------------------

จากบทความของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เรื่อง ศึกษากรณี คุณยรรยงที่ ครม. ทำให้เราทราบความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับนักการเมืองคือ

1.บางรัฐบาลหรือนักการเมืองบางกลุ่มให้ความสำคัญกับข้าราชการ ขณะที่บางรัฐบาลหรือนักการเมืองบางกลุ่ม ไม่ให้ความสำคัญกับข้าราชการมากนัก

2.รัฐมนตรีบางคนใช้ข้าราชการประจำ เพื่อเป็นเครื่องมือในการออกหน้าแทนตนเองหรือพรรค ในการนำเสนอโครงการที่สามารถสร้างผลประโยชน์เข้าพรรคตนเองได้

3.ข้าราชการบางคนมีความมั่นใจในตนเองสูง อาจลืมนึกถึงขอบเขตอำนาจของตนเอง โดยเฉพาะการนำเสนอประเด็นต่าง ๆ ต่อผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าตนเอง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อตนเองในอนาคตได้

ส่วนการที่ท่าน ศ.ดร.จีระ นำกรณีของคุณยรรยงมาวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีจากหนังสือที่ชื่อว่า Think again นั้น กระผมเห็นด้วยกับบทวิเคราะห์ของท่านอาจารย์ โดยเฉพาะประเด็นที่คุณยรรยงขาดความรอบคอบในการใช้วิจารณญาณที่เหมาะสม แม้โครงการประมูลข้าวโพดจะเป็นโครงการที่ดีเหมาะสม แต่ผู้เสนอต้องมีการเจรจาหรือนำเสนอในลักษณะที่เหมาะสม แม้คุณยรรยงจะมีความคิดไม่ยอมจำนนต่อระบบการเมือง แต่ก็จำเป็นต้องมีการประเมินสถานการณ์และผลกระทบในด้านต่าง ๆ จากการนำเสนอโครงการนั้นด้วย

จากบทเรียนที่ดังกล่าวที่ท่านอาจารย์ ได้ชี้ให้เห็น ทำให้พวกกระผมที่เป็นข้าราชการ ได้เรียนรู้และเข้าใจว่า การเป็นข้าราชการที่ดีและสามารถอยู่รอดได้หากเป็นผู้นำองค์กร จะต้องมีความเฉลียวฉลาด มีการหาข้อมูลและมีความรอบคอบในการจะกระทำการใด ๆ โดยเฉพาะกรณีที่อาจส่งผลกระทบต่อตัวเราและองค์กร แต่อย่างไรก็ตามทุกสิ่งที่ทำจะต้องอยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง ซึ่งหากสิ่งที่เราทำถูกต้องมีธรรมาภิบาล ก็ไม่จำเป็นต้องยอมจำนนต่อนักการเมืองที่ไม่ดีได้

สิ่งที่ได้รับจากการอ่านบทความ กรณีศึกษา คุณยรรยง แถลงต่อ ครม. คุณยรรยง ถือเป็นข้าราชการที่เก่ง โดยทั่วไปคนเก่งงานจะทำงานได้ประสบความสำเร็จ แต่คนที่เก่งบริหารจัดการคนจะประสบความสำเร็จมากยิ่งกว่า บ่อยครั้งเราพบว่า งานที่เราทำอยู่มีคุณค่า แต่กลับถูกปฏิเสธ เพราะเราไม่เก่งการบริหารคน อาจเรียกว่า ตกม้าตายก็ได้ ในชีวิตทำงาน เราทำงานกับคนมากกว่าทำงานกับงาน การทำงานกับคนเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จำเป็นต้องใช้จิตวิทยา การศึกษาความพึงพอใจของผู้ฟังเป็นสิ่งสำคัญมากที่ทำให้งานของเราประสบผลสำเร็จ แม้งานจะมีคุณค่าไม่มากนัก แต่ถ้านำเสนอถูกใจงานก็สำเร็จ 100 % ในกรณีมีผลประโยชน์ทับซ้อน ยิ่งจำเป็นต้องใช้จิตวิทยาศึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบคอบ ดีที่สุดคือ ใช้ความนุ่มนวล เพราะอย่างไร เราก็เป็นข้าราชการประจำ

ศึกษากรณีคุณยรรยงที่ ครม.

กรณีศึกษาของคุณยรรยงสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการประจำที่อาจส่อไปสู่การแสวงหาช่องทางในผลประโยชน์จากโครงการรัฐ จนอาจนำไปสู่ความเสียหายต่อภาพลักษณ์รัฐบาลจากความไม่โปร่งใส ขณะที่การออกมาชี้แจงของคุณยรรยงต่อที่ประชุม ครม.ทั้งที่ตนเป็นข้าราชการประจำ จึงถูกมองว่าขาดประสบการณ์และวิจารณญาณที่เสี่ยงต่อการเป็นเครื่องมือของนักการเมือง นับเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด ทั้งที่คุณยรรยงเป็นคนเก่งและคนดี ดังนั้นทางออกที่เหมาะสมและปราศจากข้อขัดแย้งระหว่างข้าราชการประจำกับนักการเมืองที่ดีที่สุดคงต้องเป็นผลประโยชน์ในลักษณะ win win (ได้ผลประโยชน์ทั้งคู่)

สรุปการบรรยาย

การบริหารสัมพันธภาพลูกค้า

Customer Relationship Management

 

CRM หมายถึง กระบวนการใดๆ ที่สามารถดึงดูดและรักษาลูกค้าที่สร้างกำไร (Profitable Customers) ไว้ด้วยวิธีการบริหารความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ เช่น

  •  ทุกช่วงเหตุการณ์ที่พบลูกค้า (Moment of Truth)
  •  การสร้างมูลค่าเพิ่มร่วมกับลูกค้า (Value Creation)
  •  สร้างภาวะผลประโยชน์ร่วม (win-win)
  •  สร้างความพอใจ ความภักดี (Customer Satisfaction & Loyalty)

 

Moment of Truth :

ทุกช่วงเหตุการณ์ที่ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าต้องเป็นฉากเหตุการณ์ที่ทำให้ลูกค้าจดจำและประทับใจอย่างดีเยี่ยม”

ด้วยหลัก Empathy และ I CARE

 

I CARE

I    = In tune

C   =  Clarification

A   = Action

RE = Recovery

 

แนวคิดใหม่เกี่ยวกับการให้บริการ

  • Product Oriented สู่ Customer Oriented
  •  Marketing สู่ Service Oriented
  •  เน้นลูกค้าตลอดชีพ
  •  เน้นกระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มร่วมกับ ลูกค้า
  •  การบริการจึงเป็นจุดขายของธุรกิจยุคใหม่

 

ความหมายของการบริการ

การบริการนั้นเป็นกระบวนการของการปฏิบัติตนเพื่อให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ (แก้ปัญหาให้ลูกค้า) และทำให้ผู้อื่นมีความสุข ความพอใจ  (สนองตอบความต้องการของลูกค้า)

 

ธรรมะของผู้ให้บริการ คือ พรหมวิหาร 4

1. เมตตา   2. กรุณา   3. มุทิตา   4. อุเบกขา

 

ลูกค้าคือใคร

ลูกค้าคือผู้ที่เชื่อมเราไปหาแหล่งทรัพยากรอื่นๆ อีกมากมายที่บริษัทต้องการ

 

ความต้องการของลูกค้า

1. ขอให้ตัวเองได้ประโยชน์

2. ความสะดวก สบาย และมั่นคง

3. ความใส่ใจ ความรัก

4. ความภาคภูมิใจ ยกย่อง VIP

5. ความรู้สึกสำเร็จ ชนะ (เล่นเกม)

 

ความสำคัญของลูกค้า

ในการทำธุรกิจนั้น ถ้าหากไม่มีลูกค้าเราก็ไม่มีธุรกิจ เมื่อไม่มีธุรกิจ เราก็ไม่มีรายได้  

      ดังนั้นลูกค้าคือผู้ที่สำคัญที่สุด จนมีคำกล่าวว่า

“Customer is the King”

      มหาตมะ คานธี กล่าวว่า “ไม่ควรคิดว่าลูกค้าจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยธุรกิจเรา เราต่างหากที่ต้องพึ่งพาอาศัยลูกค้า”

 

แนวทางเพื่อการสร้างความประทับใจการบริการ

. เตรียมสถานที่ให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย

2. เตรียมตัวเองให้สวยงาม สะอาด และสุภาพ

3. ตรงต่อเวลา “รอพบลูกค้า มิใช่ให้ลูกค้ารอเรา”

4. ยินดีที่จะพบลูกค้าด้วยท่าทีอบอุ่นเป็นมิตร

5. เป็นผู้ฟังที่ดี

6. ให้ข้อมูลข่าวสาร รายละเอียด ให้แก่ลูกค้า

7. อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า เช่น กรอกฟอร์มให้ จัดหาน้ำดื่ม

8. รีบปฏิบัติงานตามที่ลูกค้า ต้องการอย่างสุภาพ ครบถ้วนรวดเร็ว เต็มประสิทธิภาพ

9. ไม่ควรชวนลูกค้าคุยในขณะปฏิบัติงาน

10. ตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสีหน้าที่แสดงความเต็มใจ

11. เมื่อมีความผิดพลาด ควรรีบขอโทษลูกค้าทันที และแก้ไขให้ดีที่สุด

12. ถ้ามีลูกค้ามารับบริการพร้อมๆ กันหลายๆ คน อาจจัดหมายเลขให้ลูกค้าตามลำดับเพื่อความสะดวก และยุติธรรม หรือคอยจัดคิวให้ด้วยความนอบน้อม

13. เมื่อมีปัญหากับลูกค้า ควรฟังลูกค้าบ่นหรือต่อว่าด้วยความใจเย็น และอดกลั้น อย่าพยายามโต้แย้ง แก้ตัว หรือพยายามอธิบาย

10. ตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสีหน้าที่แสดงความเต็มใจ

11. เมื่อมีความผิดพลาด ควรรีบขอโทษลูกค้าทันที และแก้ไขให้ดีที่สุด

12. ถ้ามีลูกค้ามารับบริการพร้อมๆ กันหลายๆ คน อาจจัดหมายเลขให้ ลูกค้าตามลำดับเพื่อความสะดวก และยุติธรรม หรือคอยจัดคิวให้ด้วยความนอบน้อม

13. เมื่อมีปัญหากับลูกค้า ควรฟังลูกค้าบ่นหรือต่อว่าด้วยความใจเย็น และอดกลั้น อย่าพยายามโต้แย้ง แก้ตัว หรือพยายามอธิบาย คือ “ลึกซึ้งแต่ไว้ตัว”

 

Service Mindset in CRM

 

Sensitive to Customer’s Need.

Effective Communication

Reliable and Responsive

Value Creation

Innovative and Informative

Care and Concern

Empathic Understanding

Smiles and Share of Heart, thought, Wallet

 

 

ค้นหาดัชนีความเข้มแข็งของลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Strength Index)

  • ความผูกพันกับลูกค้า  (Customer Commitment)
  • ความพึงพอใจของลูกค้า  (Customer Satisfaction)
  • การแบ่งปันด้านจิตใจจากลูกค้า  (Share of Heart)
  • การแบ่งปันด้านความรู้จากลูกค้า  (Share of Mind)
  • การแบ่งปันการซื้อขายจากลูกค้า  (Share of Act)
  • ความไว้วางใจจากลูกค้า  (Trust)
  • ความร่วมมือร่วมใจจากลูกค้า  (Cooperation)
  • ระดับการสื่อสารจากลูกค้า  (Communication)
  • ระดับวัฒนธรรมองค์กร CRM (CRM Corporate Culture)

 

ค่านิยมหลักขององค์การ CRM (CRM Core Value)

  •  ทุกคนในองค์การต้องให้ความสนใจที่ลูกค้า (เราอยู่ได้เพราะลูกค้า  มิใช่ลูกค้าอยู่ได้เพราะเรา)
  •  การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการร่วมกับลูกค้าคือหน้าที่ ของเรา
  •  สัมพันธภาพที่ดีกับลูกค้าก่อให้เกิดกำไรทางธุรกิจ
  •  เราสามารถบรรลุเป้าหมายธุรกิจด้วยการทำงานร่วมกับลูกค้า
  •  จริยธรรมทางธุรกิจเพิ่มส่วนแบ่งทางจิตใจร่วมกับลูกค้า (Share of  Heart)
  •  สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เพิ่มส่วนแบ่งการซื้อขายร่วมกับลูกค้า (Share of Wallet)

 

ความฉลาดทางอารมณ์กับการทำงานยุคใหม่

โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง

  • การเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
  •  การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดการ  เปลี่ยนแปลง
  •  การเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามเหตุและผล
  •  การบริหารการเปลี่ยนแปลง คือ การบริหาร การกระทำในปัจจุบัน

 

การเปลี่ยนแปลงของโลกการบริหาร

  • Market Oriented à Customer Oriented (CRM)
  •  Finance Focus à Balance Focus (Balance Scorecard)
  •  ความลับขององค์การ à ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ (Transparency ; Business Ethics)
  •  สินทรัพย์ที่จับต้องได้ à สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้  (Intangible Asset)    เช่น ลิขสิทธิ์ ความคิดสร้างสรรค์
  •  Structured Organization à Flexible Organization
  •  ความมั่นคง à การปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลง
  •  ความสำคัญของ IQ à องค์การที่เน้น EQ และ AQ
  •  Working Organization à Learning Organization

 

 

การเปลี่ยนแปลงของพนักงาน

1. คิดเฉพาะงานในหน้าที่ à การคิดเชิงธุรกิจ

2. เก่งคนเดียว à เก่งทั้งทีม

3. เก่งด้านเดียว à เก่งรอบด้าน (Multi - skills)

4. ยึดระเบียบ à ความยืดหยุ่น

5. ทำตามคำสั่ง à ความคิดริเริ่ม

6. หลีกเลี่ยงความเสี่ยง à กล้าเสี่ยง

 

การทำงานยุคใหม่ต้องเก่งอะไรบ้าง

      เก่งงาน (Task Ability)

       เก่งคน (Human Skills)

       เก่งคิด (Conceptual Skills)

       เก่งการดำเนินชีวิต  (Happy Work Happy Life)

 

เก่งการดำเนินชีวิต (Happy Work Happy Life)

      ตระหนักรู้ตนเอง : รู้เป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต

       บริหารอารมณ์ (EQ)

       จูงใจตนเอง : เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส

       ระวังบาป 7 ประการ (มหาตมะ คานธี)

 

6Qs ที่นำไปสู่สำเร็จและความสุขของชีวิต

 

                        1. IQ  (Intelligence Quotient)

                        2. EQ (Emotional Quotient)

                        3. AQ (Adversity Quotient)

                        4. MQ (Moral Quotient)

                        5. HQ (Health Quotient)

                        6. SQ (Spiritual Quotient)

ความหมายและองค์ประกอบของ EQ

             EQ  (Emotional Quotient)  หมายถึง ความสามารถในการตระหนักรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น บริหารอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น สามารถจูงใจตนเองและผู้อื่นได้ มีความเห็นใจและเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ตลอดจนสื่อสารสร้างมิตรกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

 

องค์ประกอบของ EQ

1. การตระหนักรู้ในตนเอง (Self Awareness)

2. การจัดระเบียบอารมณ์ (Emotional Regulation)

3. การจูงใจตนเอง (Self Motivation)

4. การร่วมรับรู้ความรู้สึก (Empathy)

5. ทักษะทางสังคม (Social Skill)

Daniel Goleman

 

การเข้าใจตนเองหรือตระหนักรู้ในตนเอง (Self Awareness)

การวิเคราะห์ตนเอง (Self Analysis)

        ถ้าหากเกิดเป็นดอกไม้ อยากเป็นดอกอะไร เพราะอะไร

        ถ้าต้องเกิดเป็นสัตว์ ต้องการเป็นสัตว์อะไร เพราะอะไร

        ถ้าหากมีแก้วสารพัดนึก อยากได้อะไร 3 ข้อ

        เมื่อตายไปแล้ว อยากให้คนอื่น พูดถึงเราอย่างไร

 

Knowing others is wise (clever),

knowing yourself is genius ”

 

การรู้จักตัวเองนำไปสู่การเข้าใจและรู้จักคนอื่นอย่างลึกซึ้ง ”

 

การจัดการกับอารมณ์ของตนเอง (Emotion regulation)

      เข้าใจและยอมรับอารมณ์ของตนเอง

     (Understand and accept your own emotional validation)

      ไวต่ออารมณ์และการแสดงอารมณ์ของคนอื่น

     (Sensitive to people emotions)

      ขอให้แสดงอารมณ์ตามที่กำหนดให้

     (Demonstrate emotions as assigned as follows)

     - อารมณ์โกรธ (Anger)

     - อารมณ์เสียใจ – เศร้า (Sad, Sorrow)

     - อารมณ์ดีใจ (Happiness, Gladness)

     - อารมณ์สุข สงบ (Relax)

 

      ศึกษาจราจรอารมณ์ (Follow your emotional traffic)

      RET Theory

      หลักการควบคุมอารมณ์  4  ข้อ  (4  ways of emotional control)

    1. Individual  Difference

    2. Don’t do many things at one time

    3. Plan your work and work your plan

    4. I am OK you are OK

 

ตำแหน่งชีวิต (Life Position)

I am OK  you are OK

I am OK  you are not OK

I am not OK  you are OK

I am not OK  you are not OK

 

 

เข้าใจ “สัญญาณไฟจราจรอารมณ์ (Understand the Emotion Traffic Light)

ไฟแดง (Red light)

        - หยุดคิด ! หายใจเข้าลึก ๆ (Stop thinking, Inhale deeply)

        - มีสติ  (Be aware, Mindfulness)

        - ดูความคิด..ดูอารมณ์

         (Observing thinking, Observing Feeling)

ไฟเหลือง (Yellow Light)

 

                        - รับรู้ปัญหา…รับรู้ความรู้สึก

                           (Aware your problem, Emotion)

                        - พูดกับเพื่อนใกล้ชิด หรือตัวเอง (Talk out, self talk)

                        - ตรวจสอบความคิดด้วย RET (Check your thinking : RET)

                        - มองปัญหาตามจริง / เชิงบวก (Look for fact / Positive)

                        - ทุกปัญหามีทางแก้ไข  (All problem can be solved)

                        - วางแผนแก้ไข (Plan to solve)

                        - คาดการณ์ผลลัพธ์จากการแก้ไข

                           (Expecting all kind got consequences)

      ไฟเขียว (Green Light)

                      - ดำเนินตามแนวทางแก้ไข (Implement your plan)

                  - แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม (Assertive)

      •           ทางเบี่ยง (Detour)

                      - บางครั้งอาจจะหลบหลีกปัญหา

                  - ไม่ปะทะโดยตรง

      •           ที่พักริมทาง (Rest area)

                      - หาโอกาสที่จะชื่นชมตัวเอง

                      - ให้ความสุขกับตัวเอง

 

ความคิดที่ไม่สมเหตุสมผล (Irrational Thinking)

  • เราต้องได้รับการยอมรับและเป็นที่รักจากทุกคน
  • เราควรจะรอบรู้และเก่งทุกอย่าง
  • โทษตนเองเมื่อมีข้อผิดพลาด
  • โทษคนอื่นเมื่อมีข้อผิดพลาด
  • การไม่ได้ดังใจหวังเป็นสิ่งเลวร้าย
  • หลีกเลี่ยงดีกว่าการเผชิญหน้า
  • สุขและทุกข์ของเรามักเกิดจากการกระทำของผู้อื่น
  • ชีวิตนั้นถ้าไม่ชั่วก็ต้องเป็นคนดี
  • คิดเรื่องร้ายก่อนแล้วเรื่องดีๆ จะตามมา
  • อดีตกำหนดปัจจุบัน เราหลีกเลี่ยงไม่ได้
  • ทุกอย่างต้องมีคำตอบ ถ้าหากหาไม่ได้ถือว่า “โง่”
  • การกระทำของคนต้องมีเหตุผลเชิงตรรกะ
  • เราควรจะ หรือน่าจะ มีความสุขมากกว่านี้
  •  

การจูงใจตนเอง (Self Motivation)

      มีลักษณะเป็นดาวฤกษ์

       มี Need for Achievement

       รู้จักอดเปรี้ยวไว้กินหวาน (To be patient)

       มี Abundant Mentality

       มีความคิดสร้างสรรค์ (Be Creative)

       มองโลกในแง่ดี (Be Optimistic)

 

ร่วมรู้สึก (Empathy)

      ร่วมรับรู้อารมณ์ของผู้อื่น           

     (To be sensitive to others feeling)

         - อ่านเรื่องเขียนถึงเด

       ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดีด้วยการฝึกจับประเด็น

     (To practice Active Listening Technique)

       การทบทวนคำพูดด้วยประโยคของคนอื่น

 

ข้อคิด

     EQ ขององค์การย่อมส่งเสริม EQ ของลูกค้า

 

     ลูกค้าที่มี EQ ย่อมเข้าใจถึงความต้องการของตนเองและธุรกิจขององค์การ

 

     ลูกค้าที่มี EQ ช่วยให้การดำเนินธุรกิจอย่างราบรื่น

      Listen & Silent : ความแตกต่างที่เหมือนกัน คือ จะเป็นผู้ฟังที่ดี ต้องเงียบเป็น

- กรณีคุณยรรยงชี้แจง ครม. เป็นตัวอย่างสำหรับข้าราชการประจำที่จะต้องทำงานร่วมกับนักการเมือง ซึ่งบางโอกาสอาจตกอยู่ในสภาวะที่ถูกชี้นำจากฝ่ายการเมือง ซึ่งไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบกับการตัดสินใจที่ไม่เป็นเอกภาพ

- การกรณีศึกษาดังกล่าวสามารถนำทฤษฎี 2R’s คือ Reality และ Relevance คือการศึกษาจากความเป็นจริง ข้อเท็จจริงและการเรียนรู้ในประเด็นที่มีผลกระทบต่อผู้เรียนรู้ ถือเป็นข้อคิดเตือนใจสำหรับข้าราชการประจำที่จะต้องอยู่ในสถานการณ์เช่นเดียวกัน เพื่อจะได้มีโอกาสคิดหาทางป้องกันหรือแก้ไขเพื่อไม่ให้มีเหตุการณ์กระทบกระทั่งกันเหมือนกรณีเช่นนี้

กราบเรียนท่าน ดร.จีระ

จากการอ่านบทความกรณีคุณยรรยง มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการประจำ ซึ่งข้าราชการประจำชั้นผู้ใหญ่ระดับผู้บริหารทีไม่ยอมรับในบทบาทของนักการเมืองที่ใช้สถานะของผู้บริหารประเทศสั่งการและแทรกแซงกระบวนการทำงานของข้าราชการประจำ เพื่อผลประโยชน์ของพรรค อีกทั้งยังขาดคุณธรรม และไม่ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร ซึ่งล้วนแต่เป็นคุณลักษณะสำคัญของผู้นำ ขณะที่ข้าราชการประจำที่แม้จะฉลาดรอบรู้ในภารกิจที่รับผิดชอบ แต่ก็ยังตกเป็นเครื่องของนักการเมืองได้ จนทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธา ขาดความน่าเชื่อถือ รวมทั้งไม่เป็นที่ยอมรับจากรัฐบาล ที่ไม่สามารถสนองตอบเรื่องผลประโยชน์ จึงถือได้ว่าเป็นเรียนราคาแพงๆ

บทเรียนดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานของเราได้ว่า แม้ว่าจะมีประสบการณ์การทำงานมามากมาย มีความรอบรู้หลายด้าน มีความอดทนมุ่งมั่นขนาดไหน ย่อมเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ โดยเฉพาะมีเรื่องของผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว

แล้วประเทศชาติและประชาชนตาดำๆๆ จะอยู่อย่างไร ครับท่าน

สู้สู้ฮ่ะ........พวกเรา

-------------------------------------------------------------

จากบทความเกี่ยวกับคุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน (ขณะนั้น ) เกี่ยวกับการแถลงต่อ ครม. เมื่อวันที่ 13 พ.ค.52 พิจารณา เรื่อง การระบายจำหน่ายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามโครงการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2551 / 52 และขอทบทวนคณะกรรมการเกี่ยวกับสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตามที่ นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ เป็นผู้เสนอ โดยในการประชุม นางพรทิวา ได้เสนอให้ครม.อนุมัติเห็นชอบการจำหน่ายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่รับจำนำ ปี 2552/52 เพื่อการส่งออกต่างประเทศด้วยวิธีการประมูลให้กับผู้ซื้อในประเทศ จำนวนกว่า 4 แสนตัน มูลค่ากว่า 2 ล้านบาท ตามมติคณะอนุกรรมการด้านการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 52 โดยนางพรทิวา ให้เหตุผลว่าต้องระบายข้าวโพดเนื่องจากเป็นผลผูกพันจากมติคณะกรรมการระบายข้าวโพดชุดเดิม มีนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ขณะนั้นเป็นประธาน จนทำให้เกิดการถกเถียงกับ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวะสุ รองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านความมั่นคง ซึ่งเห็นว่าไม่เหมาะสมและได้ระงับโครงการไว้ก่อนหน้านี้ และปัจจุบันได้มีการคณะกรรมการนโยบายข้าวโพดชุดใหม่ขึ้นมาโดยมีนายกอร์ปศักดิ์ เป็นประธาน

โดยนางพรทิวา ต้องการให้ ครม.ได้เป็นผู้ชี้ขาดว่าจะให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการชุดใดในการพิจารณาจำหน่าย

ข้าวโพด ขณะที่รัฐมนตรีหลายคนไม่เห็นด้วยที่จะให้คณะกรรมการชุดเก่าเป็นผู้จำหน่วยโดยนายชุมพล ศิลปะอาชา รมว.ท่องเที่ยว และหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนาเสนอว่า น่าจะเป็นอำนาจของคณะกรรมการชุดของนายกอร์ปศักดิ์ ขณะเดียวกับพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่าจะไม่ยอมให้โครงการนี้ผ่านไปได้อย่างแน่นอน เพราะมีความไม่ชอบมาพากลตั้งแต่ต้น ทั้งนี้นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการด้านการตลาด ได้รายงานในที่ประชุม ครม.ว่า ครม.ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องนี้เนื่องจาก ครม.ไม่ใช่นิติบุคคล ดังนั้นจึงเป็นอำนาจของคณะกรรมการชุดเก่าซึ่งมีผลผูกพัน ยังความไม่พอใจต่อ นรม.และ ครม.ส่วนใหญ่

จากกรณีศึกษาดังกล่าว เราดูจากภูมิหลังของท่านยรรยง จะเห็นว่าท่านจบนิติศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 2 เป็นนักฎหมายที่มีความรู้ความเชียวชาญ ท่านน่าจะยึดหลักกฎหมาย ความถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ทั้งนี้นักการเมืองของไทยส่วนใหญ่ มักขาดจริยธรรม นิยมแสวงหาผลประโยขน์ให้ตัวและพวกพ้อง ได้อาศัยช่องทางกฎหมายที่ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่ดี มาเป็นช่องทางเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อตนเอง โดยอาศัยมือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ (ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง) เป็นผู้ออกหน้าแทน ทั้งนี้เนื่องจากนักการเมืองที่มีโอกาสเข้ามาเป็นฝ่ายบริหาร มีอำนาจหน้าที่ดูแลส่วนราชการต่าง ๆ มักมีอำนาจเหนือข้าราขการประจำ มีอำนาจให้คุณให้โทษ มักสั่งการแบบมีวาระซ่อนเร้นแอบแฝง ซึ่งโดยส่วนตัวผมมองว่าท่านยรรยง ท่านทำหน้าที่ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชา โดยยึดข้อกฎหมายเป็นหลัก แต่อาจไม่ถูกใจนักการเมืองบางพวกบางคน ส่วนเรื่องกาลเทศะ ผู้ใหญ่ระดับท่านยรรยง คงจะไม่น่าจะพลาดในเรื่องนี้ ผลสุดท้ายในเรื่องนี้ ท่านยรรยงคือแพะรับบาป นั่นเอง

ศึกษากรณีคุณยรรยงที่ ครม.

กรณีศึกษาของคุณยรรยงอาจมองได้ว่าเป็นการครอบงำข้าราชการประจำของนักการเมือง ที่อาจนำไปสู่การสูญเสียภาพลักษณ์ของรัฐบาล ขณะที่คุณยรรยงเองอาจขาดประสบการณ์จนนำไปสู่การตัดสินใจผิดพลาด จนกลายเป็นเครื่องมือของนักการเมือง ทั้งที่คุณยรรยงเป็นคนเก่งและคนดี ด้วยเหตุนี้หากคุณยรรยงใช้หลักธรรมาภิบาลในการตัดสินใจน่าจะเป็นทางออกที่ดี

ความเห็นกรณีศึกษาของคุณยรรยงกับ ครม.

เส้นทางชีวิตและความเจริญก้าวหน้าในอาชีพของคุณยรรยง พวงราช อดีตอธิบดีกรมการค้าภายใน ปลัดกระทรวงพาณิชย์คนปัจจุบัน แม้ว่าจะเป็นคนบ้านนอกแต่หากมีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีมานะอดทน ใฝ่รู้ มีคุณธรรมและธรรมาภิบาล ก็สามารถเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการจนขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งของกระทรวงพาณิชย์ในปัจจุบันได้

แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ถึงแม้ว่าจะเป็นคนเก่ง คนดี มีประสบการณ์ ก็อาจเกิดความผิดพลาดในการตัดสินใจได้ ซึ่งเข้ากับทฤษฎีการตัดสินใจผิดพลาดของคนเก่งตามหนังสือที่อาจารย์ได้นำมาถ่ายทอด “Think again” ในประเด็นการขาดความรอบคอบในการใช้วิจารณญาณที่เหมาะสม และประเด็นอาจถูกการเมืองนำไปสู่ความไม่เหมาะสม ซึ่งในบริบทนี้คุณยรรยงจึงควรปรับกระบวนทัศน์ให้เข้ากับฝ่ายการเมืองในลักษณะของการทำงานเป็นทีม โดยเฉพาะกับทีมของ นรม. ที่ถือเป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร

กรณีของคุณยรรยง พวงราช ซึ่งเป็นข้าราขการที่เก่งและดี แต่มาเสียคนกับรับมอบภารกิจจากนักการเมืองให้เป็นผู้แถลงต่อ ครม. เพื่อขออนุมัติให้โครงการที่มีปัญหา แสดงถึงความอ่อนแอของข้าราขการประจำที่ยอมรับใช้นักการเมืองที่เข้ามาเป็นผู้บังคับบัญชาแม้จะทราบว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นไม่โปร่งใสและถูกต้อง ต่างกับกรณีของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ที่ไม่ยอมอ่อนข้อให้กับนักการเมืองและยืนหยัดจะทำสิ้งที่ถูกต้อง ชี้ให้เห็นถึงการตัดสินใจที่ผิดพลาดของคนเก่งที่อาจเกิดจากการขาดประสบการณ์ ความรอบคอบ หรือได้รับผลประโยชน์จากนักการเมืองในการเสนอให้ ครม.อนุมัติในสิ่งที่ตนน่าจะพิจารณาเห็นว่ายังมีข้อผิดพลาด เมื่อนำมาเปรียบ

เทียบกันจะเห็นความแตกต่างระหว่างข้าราขการระดับสูงที่เป็นคนเก่งแต่ยังขาดประสบการณ์และความรอบคอบ กับข้าราชการที่เก่งและยึดมั่นในเกียรติและศักดิ์ศรีของข้าราขการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มการเมืองที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์

กรณีคุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ขออนุมัติ ครม.ประมูลข้าวโพดนั้น คุณยรรยง ไม่ควรเป็นผู้แถลงเอง ควรให้ รมว.พณ. ซึ่งเป็น รมต.ที่ดูแลกระทรวงพาณิย์เป็นผู้เสนอ รวมทั้งควรปรึกษาหารือกับทีมงานอย่างละเอียดและรอบคอบถึงข้อมูลรายละเอียดเพื่อความโปร่งใสของการปฏิบัติงาน เนื่องจากการที่คุณยรรยง กล้าขัดแย้งกับ นรม.อยากนักเช่นนี้ อาจทำให้คนมองได้ว่าคุณยรรยง มีผลประโยชน์ในเรื่องดังกล่าวหรือไม่

ขณะเดียวกัน การที่คุณยรรยง ยกเรื่อง ครม.ชุดที่แล้วอนุมัติแล้ว ไม่มีเหตุผลเพียง เพราะเป็น ควรจะนำเข้าวาระหารือ ครม.ชุดปัจจุบัน ซึ่งเป็นคนละชุดกัน

จากบทความเรื่องศึกษากรณีคุณยรรยงที่ ครม. เห็นว่า

1. ปัญหาดังกล่าวสะท้อนถึงปัญหาของพรรคการเมืองไทย คือ มุ่งหวังที่จะแสวงหาผลประโยชน์เข้าพรรค มากกว่าที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนรากหญ้าของประเทศอย่างจริงจัง ทำให้บางครั้งการกำหนดนโยบายจึงออกมาในลักษณะที่ค้านกับความรู้สึกของประชาชน แต่นักการเมืองก็ไม่ได้สนใจ เช่น กรณีการประมูลข้างโพด ซึ่งรัฐจะเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ แต่ผู้เกี่ยวข้องกับนักการเมืองได้ประโยชน์ นักการเมืองก็ทำโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องใดๆ ประเด็นนี้ ภาคประชาชน สังคม ควรจะต้องมีการเคลื่อนไหว เพื่อให้มีมาตรการทางสังคมที่จะกดดันให้พรรคการเมืองรักษาผลประโยชน์ของประชาชนมากกว่า ผลประโยชน์ของกลุ่มทุน นักธุรกิจที่สนับสนุนพรรคการเมือง

2. ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการประจำ คือ นักการเมืองเป็นฝ่ายคัดเลือกและแต่งตั้งข้าราชการ ซึ่งถ้าใช้หลักคุณธรรม และความรู้ความสามารถ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม และข้าราชการก็จะทำงานได้ดี แต่ถ้าเป็นระบบอุปถัมภ์ ส่วนมากมักจะสร้างปัญหา คือ ทำงานเพื่อสนองผลประโยชน์ของนักการเมือง กรณีปัญหาประมูลข้าวโพด อาจจะมองได้ว่า ตามตำแหน่งหน้าที่ ถึงแม้นายยรรยง อยากจะทำหรือไม่อยากทำก็ตาม แต่ก็ต้องทำ เพราะเป็นคำสั่งของนักการเมือง

3. กรณีการตัดสินใจของนายยรรยง นอกจากมีข้อผิดพลาดตามทฤษฏีที่ อ.จีระ ยกตัวอย่างคือ ขาดประสบการณ์, ขาดความรอบคอบในการใช้วิจารณญาน, ผลประโยชน์ทับซ้อน แล้ว ถ้าพิจารณาตามทฤษฏีการตัดสินใจของ เฮอร์เบิร์ต เอ ไซมอน (Herbert A Simon) ที่ว่า กระบวนการตัดสินใจ ควรมี 1) ทางเลือกมากๆ 2) วิเคราะห์ทางเลือก ว่ามีข้อดี ข้อเสียอย่างไร และ 3) เลือกเพื่อประโยชน์สูงสุดแล้ว คิดว่านายยรรยง ไม่ได้ตัดสินใจ แต่ต้องจำใจ มากกว่า

สมพงษ์

กรณีศึกษา คุณยรรยง พวงราช ชี้แจง ครม.เกี่ยวกับการ ประมูลข้าวโพด

1. คนเก่งเมื่อมีความมั่นใจในตัวเองจนเกินไป ขาดความรอบคอบ ก็เกิดการผิดพลาดได้

2. ข้าราชการถึงแม้จะเป็นคนซื่อ มือสะอาด มีความสามารถ ก็ยังต้องตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนักการเมืองก็จะไม่ได้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นได้

3. ทฤษฎีการตัดสินสินผิดพลาด ถึงจะเป็นคนเก่งเมื่อผู้บังคับบัญชาบีบบังคับให้พูด เพื่อแลกกับตำแหน่งที่สูงขึ้นก็ต้องเสี่ยง เพื่อให้ได้ตำแหน่งนั้นมา บางครั้งก็ต้องกล้าได้กล้าเสีย

4. ประชาธิปไตยของประชาชนชาวไทย เป็นประชาธิปไตยเพียง 1 นาที ในขณะที่หย่อนบัตรเลือกตั้งเท่านั้น หลังจากนั้นก็เป็นอำนาจเผด็จการในระบบพรรคการเมือง ข้าราชการและประชาชนไม่มีสิทธิที่จะให้นักการเมืองทำนอกกรอบที่นักเมืองวางไว้ได้ ทำได้เฉพาะข้อเรียกร้องเท่านั้น

• บทเรียนจากความจริง กรณีคุณยรรยง สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีระบบอุปถัมภ์อยู่มาก จึงทำให้มีกรณีการแทรกแซงทางการเมืองขึ้นในระบบราชการให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง กรณีคุณยรรยง ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงภาพปัญหาซึ่งระบบราชการไทยต้องเร่งหาทางแก้ไข

• ปัญหาที่ระบบการเมืองสามารถแทรงแซงและมีอำนาจต่อการตัดสินใจ/การกระทำของข้าราชการซึ่งเป็นระดับผู้นำ ทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ ประชาชนที่ควรจะได้รับประโยชน์ ก็ได้รับอย่างไม่เต็มที่ จากกรณีของคุณยรรยง จะเห็นได้ว่าแม้ว่าคุณยรรยงจะเป็นคนดี คนเก่ง เป็นผู้บริหาร แต่ในการเป็นผู้นำนั้น คุณยรรยง อาจมีจุดอ่อน คือ ขาดวิจารณญาณที่รอบคอบ หากจะให้วิเคราห์ในมุมมองของดิฉัน คิดว่าคุณยรรยงขาดจุดยืนในหน้าที่ อาจเพราะยังมีความเกรงใจ หรืออาจมีเรื่องของระบบอุปถัมภ์เข้ามาเกี่ยวข้อง

• กรณีดังกล่าวทำให้เห็นว่าการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อเป็นกำลังแก่ประเทศไทย เป็นเรื่องที่สำคัญซึ่งอาจไม่สามารถแก้ปัญหาได้ภายในระยะเวลาอันสั้น เพราะลักษณะนิสัยที่ถูกปลูกฝังและฝังรากลึกของคนไทยคือมีความเกรงใจ ยึดระบบอาวุโส และมีระบบอุปถัมภ์ การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของไทย จึงควรวางแผนให้เหมาะสม โดยแบ่งเป็นแผนระยะสั้น และระยะยาว กล่าวคือ

- แผนระยะสั้น คือ เร่งพัฒนาให้ข้าราชการ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และภาวะผู้นำ โดยจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ (คิดบวก มีคุณธรรมและจริยธรรม) ให้คิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อจะได้ทุ่มเทเพื่อการพัฒนาประเทศไทยอย่างแท้จริง เพื่อให้ประเทศไทยมีความความมั่นคงทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมต่อไป

- ส่วนแผนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในระยะยาว ต้องพัฒนาเยาวชนของชาติ ให้มีความมั่นคงทางอารมณ์ สอนให้รู้จักคิด และปลูกนิสัยให้รักการอ่าน ให้รู้จักเรียนรู้ตลอดเวลา ตามทฤษฎี 3 L ทั้งนี้ อาจให้มีการปรับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เน้นสร้าง คนดี+เก่ง (ความรู้คู่คุณธรรม)เพื่อให้เยาวชนสามารถต่อยอดความรู้ สามารถพัฒนาตนเองให้เติดโตอย่างมีคุณภาพ รู้จักการให้ การเสียสละ มุ่งประโยชน์ส่วนร่วม และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

ศึกษากรณีคุณยรรยงที่ ครม.

- จากการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้นำถึงแม้จะเป็นคนเก่ง คนดี ก็ยังมีข้อผิดพลาดได้หากขาดความรอบคอบในการใช้วิจารณญาณ ไม่มีความเชื่อมั่นในจุดยืนของตนเอง และไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ เสื่อมศรัทธาต่อตัวผู้นำ โดยเฉพาะข้าราชการประจำที่ถูกการเมืองแทรกแซง ผู้นำทั้งสองฝ่ายจึงควรยึดหลักความโปร่งใสหลักคุณธรรม และหลักธรรมาภิบาลเป็นสำคัญ

สรุปสาระที่ได้รับจากบทความ “ศึกษากรณี คุณยรรยงที่ ครม.” โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ใน นสพ.แนวหน้า ฉบับ 16 พ.ค.53

1. ศ.ดร.จีระ ชี้ให้เห็นว่า หน่วยงานราชการ จะต้องมีจุดยืนในการทำงานเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน และไม่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่ส่วนใหญ่ต้องการผลประโยชน์ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้นำองค์กร นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถแล้ว จะต้องมีความละเอียดรอบคอบ มีข้อมูลครบถ้วน ที่สำคัญต้องมีธรรมาภิบาล ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาในองค์กร และตัวผู้นำเอง

2. ศ.ดร.จีระ วิเคราะห์ให้เห็นภาพศรัทธาการเป็นผู้นำ กรณีคุณยรรยง ในฐานะอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ไม่มีประวัติด่างพร้อย มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้นำที่ดี ซึ่งคุณยรรยงเป็นตัวเก็งที่จะเป็นปลัดกระทรวงพานิช แต่ ศรัทธาการเป็นผู้นำของคุณยรรยงได้หายไปจากกรณีขออนุมัติ ครม. ประมูลข้าวโพดเมื่อ 13 พ.ค.52 เพราะ คุณยรรยงตัดสินใจผิดพลาดที่ยินยอมทำตามความต้องการของนักการเมือง โดยการเป็นผู้แถลงกับ ครม.เพื่อขออนุมัติโครงการดังกล่าว ทำให้คุณยรรยงขาดความน่าเชื่อถือของการเป็นข้าราชการ ในสายตานายกรัฐมนตรี และประชาชน และยังส่งผลไปถึงองค์กร และระบบราชการด้วย อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.จิระ ก็ได้เสนอแนะแนวทางการนำศรัทธากลับคืนมา ด้วยการที่คุณยรรยงต้องยืนยันทำสิ่งที่ถูกต้อง โดยไม่หวั่นไหวต่อผลที่จะตามมา หรือหาช่องทางที่ทำให้ ครม. และกระทรวงพาณิชย์ไม่เสียหน้า ซึ่งอาจดึงศรัทธาของคุณยรรยงให้กลับมาอีกครั้ง

3. ข้าราชการประจำจำเป็นต้องมีคุณสมบัติด้านจริยธรรม และมีธรรมาภิบาล เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ความผิดพลาดที่ผ่านมาสามารถหาทางป้องกันและแก้ไขได้ ด้วยการพัฒนาให้ข้าราชการมีทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ โดยเฉพาะการกระตุ้นให้รู้สึกถึงความมีเกียรติและมีศักดิ์ศรี

กรณีศึกษาของคุณยรรยง ในมุมมองของผมเห็นว่าน่าจะเกี่ยวข้องใน 2 ส่วน คือ (1) อำนาจแฝงทางการเมืองซึ่งแม้ว่าโดยส่วนตัวแล้วท่านนายกฯ อภิสิทธิ์เป็นตัวอย่างของคนรุ่นใหม่ที่เป็นคนดีมีคุณธรรมและศีลธรรม แต่ในภาพรวมยังต้องพึ่งพาพรรคร่วมรัฐบาลรวมทั้งบริวารแวดล้อมซึ่งต่างคนต่างมีแบบอย่างของตนเอง ทำให้ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ไม่สามารถทำในสิ่งที่อยากทำได้อย่างใจหวังซึ่งเป็นจุดด่างบนผ้าขาว แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันเป็นช่วง Countdown การเลือกตั้ง จึงน่าจะถึงเวลาที่จำเป็นต้องตัดสินใจที่จะต้องนำจุดเด่นในความเป็นมืออาชีพของท่านมาพิจารณาตัดสินใจว่าจะยอมเสียพรรคร่วมเพื่อแลกกับจุดยืนและความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองเก่าแก่หรือไม่ ซึ่งอาจทำให้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนคนรุ่นใหม่อย่างยั่งยืน และ (2) อำนาจตามกฎหมายที่ทับซ้อนผลประโยชน์ ซึ่งกรณีนี้เชื่อว่าคุณยรรยงได้ทำตามขั้นตอนและกระบวนการตามหลักการประมูลแล้ว เพียงแต่มีปัญหาเรื่องความเหมาะสมและ Timing รวมถึงพฤติกรรมที่แสดงออกด้าน EQ ต่อ ครม.เท่านั้น ซึ่งจำเป็นที่นักบริหารที่ดีต้องเรียนรู้ที่จะปรับปรุงข้อบกพร่องของตนเอง

อรรถกร

ศึกษากรณี คุณยรรยงที่ ครม.

ผมว่าเป็นการเล่นเกมการเมืองกันเองของ 2 พรรคร่วมรัฐบาล ที่รับผิดชอบในเรื่องเดียวกันแต่มีปัญหาความขัดแย้งกันในเรื่องประโยชน์ มักจะโยนความรับผิดชอบมาให้ข้าราชการประจำ ที่เป็นผู้ปฏิบัติแก้ปัญหา (นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯ พรรคประชาธิปัตย์ กับ นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน) ข้าราชการบางคนก็เลือกข้างแล้วชัดเจน โดยเฉพาะข้าราชการในระดับนี้ คงมีน้อยนักที่เป็นข้าราชการอาชีพพันธ์แท้ (นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม คงไม่ต้องรวมถึงเกียรติและศักดิ์ศรี) การที่เราจะมาวิเคราะห์ว่าการเข้าชี้แจงในวันนั้นเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดตามทฤษฎีของการตัดสินใจ ว่าขาดประสบการณ์ ขาดความรอบคอบในการใช้วิจารณญาณ ทำไมไม่ตัดสินใจแบบ win win ผมว่าก่อนเข้าชี้แจงคงศึกษาหาข้อมูล หรือปรึกษาทีมงานอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว ส่วนเรื่องจุดยืน ธรรมาภิบาล ความเสียหายต่อส่วนรวมคงไม่อยู่ประเด็นที่เขาจะนำมาพิจารณา เพราะคงเลือกข้างไปแล้ว

@ บทบาทข้าราชการประจำกับนักการเมือง @

ข้าราชการประจำกับนักการเมืองมีการทำงานที่เกี่ยวโยงกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยนักการเมืองที่เข้ามารับตำแหน่งหน้าที่ทางการบริหารในกระทรวงต่างๆ จะเป็นผู้วางนโยบาย ส่วนข้าราชการประจำจะเป็นผู้นำนโยบายที่ได้ถูกวางไว้ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผล ซึ่งหากทั้งสองฝ่ายปฏิบัติงานตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนอย่างเหมาะสม ประเทศชาติก็จะได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง

อย่างไรก็ดี ปัญหานักการเมืองเข้าแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำก็ยังปรากฎให้เห็นอยู่บ้างตามข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ อาทิ กรณีคุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน (ในขณะนั้น) ที่ถูก รมว.พาณิชย์ ขอให้เข้าชี้แจง ครม.กรณีขออนุมัติประมูลข้าวโพด ซึ่งการกระทำดังกล่าวของคุณยรรยง ได้ส่งผลกระทบด้านลบต่อตนเองในเวลาต่อมา

กรณีของคุณยรรยงนั้น เป็นบทเรียนสำคัญให้กับข้าราชการประจำชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ในการไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือให้กับนักการเมืองไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เนื่องจากบางครั้งข้าราชการประจำก็มิอาจปฏิเสธคำสั่งของนักการเมืองได้ จะเป็นด้วยเหตุผลใดก็ตาม ทั้งนี้ ในความเป็นจริงแล้วก็ยังพอมีทางออกให้กับข้าราชการประจำอยู่บ้างเพื่อเป็นเกราะป้องกันตัว โดยการนำหลักธรรมาภิบาลมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน

กรณีศึกษาคุณยรรยง พวงราช ที่ ครม. สะท้อนให้เห็นถึงการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองต่อข้าราชการประจำ ซึ่งมีมาเนิ่นนานทุกยุคทุกสมัย แต่ได้ปรากฏเห็นเด่นชัดมากในสมัยอดีต นรม.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นยุคตกต่ำที่สุดของ ขรก. ประจำ เนื่องจากต้องยินยอมทำตามคำสั่งของฝ่ายการเมืองทุกอย่างเพื่อความอยู่รอด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะผ่านพ้นยุคอดีต นรม.ทักษิณฯ จวบจนกระทั่งปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของ นรม.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ยังปรากฏการแทรกแซงของนักการเมืองต่อการทำงานของ ขรก.ประจำอยู่ และคาดว่าจะไม่มีวันสูญสิ้นไปจากสังคมไทยอย่างแน่นอน ดังเช่นกรณีของคุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน ซึ่งได้มาชี้แจงเรื่องโควตาประมูลข้าวและข้าวโพด ที่ ครม. เมื่อ 13 พ.ค.52 แต่การชี้แจงของคุณยรรยงฯ ไม่ได้เป็นไปตามหลักการบนพื้นฐานของผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติอันเป็นสิ่งที่ ขรก.ประจำควรจะยึดมั่นถือมั่น ในทางตรงกันข้ามกลับแสดงให้เห็นถึงการเล่นพรรคเล่นพวก และการแย่งชิงผลประโยชน์มหาศาลจากโควตาประมูลข้าวและข้าวโพด ซึ่งการชี้แจงต่อ ครม.ในครั้งนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณยรรยงในเรื่องภาพลักษณ์ของการเป็น ขรก. ระดับสูงที่ขาดความน่าเชื่อถือ

จากกรณีดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า หากคุณยรรยงฯ ปฏิบัติหน้าที่ของ ขรก.ประจำบนพื้นฐานเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ โดยไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง เป็น ขรก.ที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เราก็อาจเห็นภาพคุณยรรยงก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งปลัด พณ. แทนภาพที่ปรากฏใน ครม. ว่ามีจุดอ่อนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขาดประสบการณ์ในระดับความสัมพันธ์ระหว่าง ขรก. กับการเมือง ซึ่งมีผลต่อการล๊อบบี้ ครม. และเรื่องความไม่โปร่งใสเกี่ยวกับผลประโยชน์จากโควตาประมูลข้าวและข้าวโพด สิ่งต่างๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการขาดความรอบคอบในการใช้วิจารณญาณ และการขาดความน่าเชื่อถือ อันเป็นผลมาจากการเข้าแทรกแซงของนักการเมืองต่อ ขรก.ประจำ

ข้าราชการประจำที่ดีและเก่ง อาจตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่แสวงประโยชน์ ความรอบรู้และรอบครอบจะเป็นเกาะป้องกัน

ไม่ให้ถูกนักการเมืองชักนำไปในทางที่ไม่เหมาะสม

การเตรียมความพร้อมสำหรับการที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง จะต้องรอบรู้ทุกด้าน ขณะเดียวกันข้อมูลที่นำเสนอจะต้องเป็นข้อมูลที่เป็นจริง และเป็นผลประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนี้ยังต้องหาตัวช่วยในการประสานกับทีมงานของนักการเมือง

กรณีของท่านยรรยง สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการแทรกแซงและครอบงำข้าราชการของฝ่ายการเมือง ซึ่งไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรก สาเหตุเพราะนักการเมืองไทยส่วนหนึ่งหรือเกือบจะทั้งหมด ไม่ได้ทำงานเพื่อผลของประชาชนอย่างแท้จริง ดังเช่นที่อาจารย์จิระ ได้หยิบยกตัวอย่างจากหนังสือ Think again ของ Sydney Finkelstein , Jo Whitehead and Andrew Campbell ที่ว่าความผิดพลาดประการหนึ่งก็คือ "ผลประโยชน์ทับซ้อน" และวิธีป้องกันหรือแก้ปัญหาคือ ต้องนำระบบธรรมภิบาลมาใช้ในการบริหารประเทศ

ปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือ ประชาชนจะคาดหวังว่านักการเมืองหน้าเดิมๆ ในปัจจุบันนี้ จะสามารถนำเอาระบบธรรมาภิบาลมาใช้เป็นหลักในการบริหารประเทศชาติได้จริงหรือ? ผมเชื่อว่าผู้อ่านทุกท่านคงคิดเหมือนผมว่า...ไม่มีทาง เห็นได้จากความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน บางมาตราเป็นเรื่องของความได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้งของนักการเมืองเท่านั้น ประชาชนไม่ได้ผลประโยชน์อะไรจากการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ว่านั้นเลย ดังนั้นเมื่อไม่สามารถที่จะคาดหวังจากนักการเมืองในปัจจุบัน จึงต้องสร้างหรือพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ ให้มีความเป็นผู้นำที่มีคุณธรรมและจริยธรรม จัดระบบการเรียนการสอนอย่างถูกต้อง เป็นระบบ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงน่าจะเป็นหนทางแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้

เรื่องเดิม

จากกรณีศึกษา เห็นว่า การปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมาย หากเป็นงานที่ไม่คุ้นเคย หรือไม่มีประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน จะต้องมีการศึกษา และเตรียมข้อมูลในทุก ๆ ด้านอย่างละเอียด รอบคอบ ครบถ้วน รวมถึงบุคคลที่เราจะต้องประสานด้วย มิใช่แค่การเป็นคนดี มีความรู้ดี เป็นคนเก่ง มีความมุ่งมั่น เท่านั้นยังไม่เพียงพอ ยังจำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีวิจารณญาณที่รอบคอบเหมาะสม รวมถึงต้องศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาจเป็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน หรือการมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับบุคคลต่าง ๆ ด้วย โดยอาจจะมีแนวทางในการเตรียมป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ด้วยการศึกษาหาข้อมูลในเรื่องนั้น ๆ อย่างละเอียด ครบถ้วน รอบด้าน รวมถึงอาจหาทีมงานช่วยเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างลึกซึ้ง ชัดเจน โดยจะยังคงเน้นหลักธรรมาภิบาล พร้อมทั้งต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อมิให้ตกไปเป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรืออาจเป็นการสร้างปัญหาให้กับตัวเอง

กรณีศึกษาของคุณยรรยง เห็นได้ชัดว่าเป็นเรื่องของนักการเมืองที่มามีอิทธิพลต่อข้าราชการประจำ โดยเฉพาะกับข้าราชการระดับสูงที่ทำงานเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ ซึ่งอาจจะไม่ได้มีโอกาสเกิดกับคุณยรรยงเพียงท่านเดียวแต่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้กับอีกหลายๆคนและในอีกหลายกรม ถึงแม้ว่าข้าราชการดังกล่าวจะมีความสามารถเพียงใด หากไม่มีจุดยืนที่แน่วแน่ต่อผลประโยชน์ของชาติ หรือ ขาดประสบการณ์ / ความรอบคอบ ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ถ้าเกิดจากความสัมพันธ์ส่วนตัวและผลประโยชน์ก็จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมประเทศชาติและประชาชน ในอันที่จะทำให้เกิดประเด็นปัญหาทางการเมืองขึ้นมาได้ ดังนั้นในกรณีดังกล่าวนี้ข้าราชการประจำควรจะต้องมีจุดยืนที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองที่แน่นอนและมุ่งมั่นในความถูกต้อง หรือ ต้องหาความรู้และฝึกฝนทักษะหรือกลยุทธ์ที่จะเอาตัวรอดได้อย่างเหมาะสม อย่างน้อยก็เป็นการรักษาศักดิ์ศรีของข้าราชการประจำไม่ให้ถูกอำนาจทางการเมืองที่ไม่ถูกต้องมาครอบงำได้โดยง่าย และจะต้องคิดไว้เสมอว่าข้าราชการประจำต้องทำงานเพื่อประชาชนและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นที่รักของคนไทยทุกคนด้วย

วันที่ 5 พฤศจิกายน ถือว่าเป็นวันที่หนักเอาการสำหรับผู้เข้าอบรม เนื่องจากคืนวันที่ 4 มีงานเลี้ยงต้อนรับ ทุกคนสนุกสนานร้องเพลงกันอย่างสนุกสนาน และเลิกงาน เกือบ 22.00 น หลังจากนั้น ทุกท่านต้องรีบกลับไปทำการบ้านส่ง ท่าน ศ.ดร.จีระก่อน 24.00 น

เช้าวันที่ 5 ต้องตื่นแต่เช้าเพื่อเดินออกกำลังกายโดยมี ท่าน ศ.ดร.จีระ และท่านรอง ฐากูร เป็นผู้นำ ทุกคนสนุกสนานกับการชมวิวธรรมชาติ จนลืมความหนาวและความเหนื่อย

หลังอาหารเช้า ท่าน ศ.ดร.จีระ และท่านรองฐากูร กล่าวสรุปผลการอบรมในวันที่ 4 ก่อนส่งต่อให้ ท่าน ผศ ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์ บรรยายหัวข้อ การบริหารสัมพันธภาพลูกค้า ช่วงเช้า และหัวข้อ ความฉลาดทางอารมณ์กับการทำงานยุคใหม่ ช่วงบ่าย เนื้อหาสาระมาก แต่เน้นไปที่ภาคธุรกิจ ผู้เข้าอบรมเลยต้องเรียนรู้หนักหน่อยเพราะต้องพยายามนำความรู้ที่วิทยากรให้มาประยุกต์ทำความเข้าใจให้เข้ากับหน้าที่การงาน อย่างไรก็ตาม ท่าน ผศ ธีรศักดิ์ นำเสนอได้อย่างดีเยี่ยม ผู้เข้าอบรมทุกท่านให้ความสนใจ และตั้งใจเรียนรู้โดย ไม่มีผู้ใดง่วงนอน

เมื่อสิ้นสุดการอบรม ประธานรุ่นได้ประชุมผู้เข้ารับการอบรมเพื่อแบ่งกลุ่มและหน้าที่ในการเตรียมงาน Public Seminar ในวันที่ 24 พฤศจิกายน

8.30 น วันที่ 6 พฤสจิกายน Morning Coffee เรื่องเตรียมการจัดงาน Public Seminar

บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2553

ติดตามอ่านได้ที่ ลิงก์ ข้างล่างนี้

http://www.naewna.com/news.asp?ID=235287

 

การจัด Public Seminar และ พิธีปิดโครงการฯ

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2553

1.เลือกหัวข้อ /ประเด็นที่จะนำเสนอ

2. ภาพร่วมของงาน (อาจจะมี Exhibition เล็กๆ)

  • Guest Speakers
  • ผู้ที่จะเชิญมาร่วมฟัง
  • การจัดสถานที่
  • อาหารว่าง (Coffee Break)
  • การเตรียมเอกสารแจกในงาน
  • ผู้ดำเนินรายการ
  • ของขวัญวิทยากร
  • แบบประเมินผล
  • การประชาสัมพันธ์กิจกรรม เช่น สื่อต่างๆ ภายในหน่วยงาน (ฝ่ายกิจกรรม)
  • สรุปประเด็นของการสัมมนา จัดทำรายงาน สรุปผลงาน และรวบรวมข้อมูลเพื่อขึ้น Blog ประชาสัมพันธ์’เกี่ยวกับงาน
  • ฝ่ายวิชาการ

3. กิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์ (ช่วงบ่าย หลังพิธีปิดโครงการฯ)

 

Selftrust ในตัวตนของเรา คือ ต้องมีการกำหนดจุดยืน ต้องรู้เป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต รู้จักบริหารอารมณ์ โดยเราจะดึงเอาจุดแข็งที่มีอยู่นำออกมาใช้ ให้ได้ผลลัพธ์ที่ออกมาในรูปของผลสำเร็จ ซึ่งต้องนำเอาแนวคิดและทฤษฎีเพื่อการเรียนรู้มารเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ และใฝ่รู้เพื่อมุ่งไปสู่ความสำเร็จ องค์ประกอบที่สำคัญคือการคิดในแง่บวก สร้างแรงจูงใจ และต้องมีความเห็นใจและเข้าใจในความรู้สึกของคนอื่น

วันนี้รู้จักตัวเองมากขึ้น ขอบพระคุณอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด มากค่ะ ประทับใจอาจารย์มากค่ะ

การพัฒนาคนในองค์กรให้ดีขึ้น

การพัฒนาคนในองค์กรจะประสบผลสำเร็จได้จะต้องมีปัจจัยหลักที่สำคัญ

5 ประการ ดังนี้

1. ผู้นำในองค์กรจะต้องมีความเอาใจใส่และมีความเข้าใจคนที่ทำงานเกี่ยวกับ

HR ขององค์กรให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

2. การทำงานจะมีความสำเร็จได้ HR จะต้องปรับปรุงการทำงานแบบใหม่ เช่น

คิดใหม่ ทำใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงในการทำงาน เป็นต้น

3. ทำงานเป็นทีม

4. การทำงาน HR ต้องสร้างแรงบันดาลให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งแรงบันดาลใจมาจากพลังของคนในองค์กร

5. เงินไม่ใช้ความสุขในการทำงาน ทุนแก่งความสุขจะนำไปสู่ความสำเร็จของคนในองค์กร

การจะพัฒนาคนในองค์กรให้ประสบผลสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีนั้น ผู้นำในองค์กรจะต้องเห็นความสำคัญของคน เนื่องจาก คนเป็นทุนมนุษย์ที่มีค่าที่สุด ในขณะเดียว คนที่ทำงานเกี่ยวกับ HR จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานอยู่เสมอเพื่อให้ปรับเข้ากับสังคมโลกากาภิวัฒต์ องค์กรจึงจะสามารถยืนหยัดต่อไปได้

นั่นหมายถึงว่าคนในองค์กรจะต้องมีส่วนร่วมในการทำงานนั่นเอง

Self Trust กับ Being มนุษย์ทุกคนต้องมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเอง มิเช่นนั้นคงจะดำรงชีวิตอยู่ด้วยความลำบาก และเมื่อมี Self Turst แล้ว ก็ต้องหา Being ในด้านต่าง ๆ ในตัวเราให้เจน แล้วชีวิตก็จะมีความสุขและสนุกกับการทำงาน

สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ สถานการณ์วิกฤติน้ำท่วมกลายเป็นเครื่องมือของสื่อที่นำไปใช้เพิ่มพูนผลประโยชน์ทางธุรกิจ และเพิ่มทุนทางสังคม หากสื่อรับมือกับสถานการณ์ครั้งนี้เด้วยจรรยาบรรณของสื่ออย่างแท้จริง ก็น่าจะเป็นประโยชน์มหาศาลต่อผู้ที่ประสบปัญหาภัยพิบัติ ขณะเดียวกัน หากเป็นการฉวยโอกาสเพื่อสร้างสถานะให้ตนกลายเป็นวีรบุรุษ สื่อก็ไม่ต่างจากนักธุรกิจหรือแม้แต่นักการเมืองที่เห็นแก่ตัว ขาดคุณธรรมและจริยธรรม สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้จึงน่าจะเป็นบทเรียนที่ผู้ซึ่งมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต้องกลับมาทบทวนปัญหาและผลกระทบเชิงลบต่อภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นและเร่งดำเนินการเพื่อรื้อฟื้นความเชื่อมั่นและศรัทธา ขณะเดียวกัน ยังเป็นบทเรียนให้ทุกฝ่ายต้องตระหนักว่า การมุ่งในหน้าที่ความรับผิดชอบและผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญจะทำให้ทุกฝ่ายกลายเป็นวีรบุรุษของชาติร่วมกัน

บทบาทของ CEO ผู้นำในองค์กรต้องเอาจริงในการเอาใจใส่และเป็นผู้นำที่มีความเข้าใจว่าคนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าที่สุด การทำงานด้าน HR ต้องสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) ให้แก่ ผู้เกี่ยวข้อง แรงบันดาลใจมาจากพลัง หรือ Energy ของคนในองค์กร

และเงินไม่ใช่ความสุขในการทำงาน ทุนแห่งความสุข จะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร เห็นด้วยกับทุกข้อที่กล่าวมาเพราะทรัพยากรมนุษย์เป็นพื้นฐานและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้องค์กรไปสู่ความสำเร็จ หาก CEO ให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์แล้ว แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ ก็จะออกมานำองค์กรไปสู่ความสำเร็จในที่สุด

เรื่องปัญหาน้ำท่วมเป็นเรื่องที่ทุกคนในประเทศต้องมีส่วนร่วมกันแก้ไขปัญหา เมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา ซึ่งหลักในการดำรงชีวิต คือ ให้คนไทยมีเมตตา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ประเทศไทยจะอยู่รอดเมื่อคนไทยรู้รักสามัคคี สื่อมวลชนเป็นสื่อกลางที่สำคัญในการเผยแพร่ กระจาย ข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆ และสื่อมวลชนสามารถเข้าถึงพื้นที่ทุกพื้นที่ที่เกิดปัญหาดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นสื่อมวลชนทุกแขนงจะต้องมีความเป็นกลาง โปร่งใส ซื่อสัตย์ ยุติธรรม และมีหลักจรรยาบรรณที่ดีซึ่งเป็นหัวใจที่สำคัญในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ

จากบทความเรื่อง กฎ 5 ข้อของความสำเร็จของการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งเป็นแนวทางที่จะนำไปใช้ให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ ทำให้เราเห็นว่า การที่ผู้นำองค์กรให้ความสำคัญกับบุคคลากรในองค์กรว่ามีคุณค่าสำคัญสุดที่จะขับเคลื่อนองค์กรจะทำให้องค์กรพัฒนาหรือทำงานได้ตามเป้าประสงค์ได้ดี ขณะเดียวกันจะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดด้าน HR ใหม่ จากเดิมให้มีความทันสมัย เพื่อให้ต่อสู้กับสภาวการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ อาทิ การปรับ HR จากงานประจำเป็นการทำงานเชิงกลยุทธ์ การให้ทุกส่วนมาช่วยในการขับเคลื่อนและพัฒนาทุนมนุษย์ ต้องฝึกให้บุคลากรในองค์กรรักการเรียนรู้มากกว่าการเน้นจัดการฝึกอบรม การมีเครือข่ายที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้การพัฒนาทุนมนุษย์ให้แก่บุคลากรในองค์กรได้ดีและมีศักยภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทุกภาคส่วนในองค์กรต้องร่วมกันทำงานร่วมกันในการพัฒนาบุคลากร โดยสร้างแรงบันดาลใจจากพลังของคนในองค์กรเอง ที่สำคัญต้องสร้างความสุขให้แก่คนทำงานในองค์กร โดยให้เห็นว่าเงินไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างในการทำงาน

การที่เราเชื่อมั่นว่าเราสามารถที่จะทำสิ่งต่างๆ ได้ แม้มันจะยังไม่เคยเกิดขึ้นเลยก็ตาม แต่ความเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวเอง (Self Trust) จะผลักดันให้เราสามารถสร้างสรรค์ให้มันเกิดขึ้นได้ไม่ช้าก็เร็ว ความคิดเช่นนี้เป็นทัศนคติเชิงบวกที่มีอยู่ในตัวเรา ซึ่งมันเป็นศักยภาพ หรือธาตุแท้ (Being) ที่ซุกซ่อนอยู่ในตัวโดยที่เราไม่เคยดึงมันออกมาใช้ประโยชน์หรือตระหนักถึงการมีอยู่ในตัวตนอย่างเต็มที่ และธาตุแท้ก็จะเป็นตัวกระตุ้น Self Trust ซึ่งจะทำให้เรา focus เป้าหมาย และนำไปสู่ความสำเร็จได้ในอนาคต

Self trust ในตัวเราที่จะสร้างขึ้น เพื่อจะนำไปใช้ในการทำงานหรือพัฒนาตนเองและองค์กร โดยดูจาก Being ของตัวเรา ได้แก่ การมีจรรยาบรรณในการทำงาน มีความรับผิดชอบ มีความยุติธรรม รู้จักพัฒนาตนเอง เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ ชอบฟัง ช่างสังเกต ซึ่งหากเราใช้ Being ทั้งหมดที่เรามีได้อย่างเต็มที่ นอกจากจะทำให้เรามีความศรัทธาในตัวเองแล้ว จะทำให้ผู้อื่นทั้งภายในและภายนอกองค์กร Stakeholder มีความศรัทธาในตัวเราด้วย

การสร้าง Self Trust นั้น ต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อน เราจะต้องคิดว่าตัวเราทำได้ เรามีความสามารถในตัวเอง โดยการค้นหาตัวเองจาก My Being ว่าเรามีความสารถด้านใด เมื่อค้นพบแล้ว แล้วต้องมุ่งมั่นทำในสิ่งนั้นให้ดีที่สุด จึงจะมีความสุขในการทำสิ่งนั้น และจะประสบความสำเร็จในสิ่งที่ทำ

“Being” คือ ธาตุแท้ที่เป็นด้านดีงามที่ซ่อนอยู่ลึกๆ ในตัวคนเรา คนเราได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมด้านบุคคลและด้านวัตถุ ถ้าสภาพแวดล้อมอื้ออำนวย เราก็อาจสามารถค้นพบ being ของตัวเราได้ง่ายและเร็วขื้น หากสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย โอกาสการค้นหาและค้นพบ being ของตัวเองก็อาจจะยากขึ้น

Self Trust การเชื่อมั่นศรัทธาในตนเอง การเชื่อถือและไว้วางใจในตัวเอง ซึ่งเป็นด้านบวก เช่น เชื่อในความสามารถของตนเองว่าจะทำงานนี้ได้สำเร็จ

ทั้งนี้ ถ้าเราหา being ของเราพบ จะช่วยส่งเสริมให้ Self Trust ของเรามั่นคงขึ้น

จากการอ่านบทความ “ปัจจัยความสำเร็จเรื่องการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์” ทำให้ได้หลักคิดสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ในองค์กรอย่างมาก กล่าวคือ ผู้บริหาร ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน ต้องตระหนักว่า คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย และควรดูแลทุกข์สุขของคนในองค์กรทุกระดับอย่างใกล้ชิด สำหรับ HR – ต้องสร้างงานให้มีคุณค่า เพื่อให้ผู้บริหาร และคนในองค์กร รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญ มีความศรัทธา และเชื่อมั่นของ HR ต้องสามารถสร้างกระบวนการพัฒนาเพื่อทำให้คนในองค์กรเป็นคนเก่ง และคนดี เป็นพลังขับเคลื่อนให้องค์กรไปสู่ความเป็นเลิศในวิชาชีพได้

กฎ 5 ข้อของการบริหารด้าน HR

กฎ 5 ข้อของการบริหารด้าน HR นั้นองค์กรสามารถนำมาปรับใช้ได้ แต่อาจต้องอาศัยเวลาในการปรับทัศนคติ และพัฒนาความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น การปรับเปลี่ยนบทบาทของ HR จากแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ การทำงานให้ประสานสอดคล้องกันระหว่างตัวแสดงด้าน HR 3 กลุ่ม คือ CEO Smart HR และ Non - HR นอกจากนี้ ยังเห็นด้วยกับการส่งเสริมเรื่องต้นทุนด้านความสุขในองค์กร เพราะจะเป็นการสร้างความรู้สึกผูกพันกับองค์กรให้เกิดขึ้นในตัวบุคลากร

สิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

1. ทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในองค์กร จึงจำเป็นที่องค์กรต้องมีการพัฒนาคน ซึ่งถือเป็นการลงทุน (investment) อย่างหนึ่งที่คุ้มค่า และต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง แล้วรักษาไว้ให้ดีที่สุด

2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร - HR

- มุ่งเน้นกระบวนการที่เป็นระบบ มีการกำหนดแผนพัฒนาบุคลากรตามเส้นทางเดินที่ชัดเจน การนำทฤษฎี 3 วงกลมของอาจารย์จีระ (องค์ความรู้ที่ทำให้เห็นภาพชัดเจนที่สุด) context competencies และ motivation มาประยุกต์ใช้ในการกำหนดแผนพัฒนาบุคลากรขององค์กร

- มุ่งพัฒนาคนให้เป็นทั้ง “คนดี” และ “คนเก่ง” ซึ่งต้องนิยามคนเก่งและคนดีในแบบฉบับขององค์กรด้านการข่าวและการรักษาความปลอดภัยของเราให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจว่าคืออะไร

- ขณะเดียวกันการประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเลื่อนตำแหน่งควรอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมเพื่อส่งเสริมให้คนเก่งและคนดีขึ้นไปสู่ระดับตำแหน่งที่สำคัญขององค์กร สร้างแรงจูงใจให้คนในองค์กรเป็นคนดี มีกำลังใจในการทำงาน

- นอกจากนั้น HR ต้องสร้างคุณค่าของตัวเอง ให้ผู้บริหารเห็นความสำคัญเห็นผลงานแล้วศรัทธาและเชื่อมั่น

3. ผู้นำ

- เชื่อมั่นในเรื่องคุณค่าของคน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน มีความตระหนักว่า “คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย”

- management of love

- ดูแลทุกข์สุขของคนในองค์กรทุกระดับอย่างใกล้ชิด (Holistic concern)

- ต้องเป็นตัวอย่างหรือต้นแบบ (Role Model) ที่ดีในการเป็นคนเก่ง และคนดี

จากการอ่านหนังสือเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

ในหนังสือมีการเปรียบเทียบแนวคิดด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 4 L ของคุณพารณ และ 4 L ของดร.จีระ ทั้งนี้ แนวคิด 4 L ของทั้งสองท่านมีมุมมองคล้ายกันตรงที่มองว่า "คน” เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุด โดยให้ความสำคัญกับเรื่องการเรียนรู้ (learning) ที่เป็นกระบวนการต่อเนื่องยาวนานตลอดชีวิต ด้วยการส่งเสริมการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและกระตุ้นให้คนอยากเรียนรู้ เช่น ใน 4 L ของคุณพารณกล่าวถึงหมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ ขณะที่ใน 4 L ของดร.จีระกล่าวถึง การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ การสร้างชุมชนการเรียนรู้

สิ่งที่จะนำมาปรับใช้ในการพัฒนาด้าน HR ขององค์กร

1.การเน้นย้ำและสร้างทัศนคติที่ตรงกันว่า “ทรัพยากรบุคคล” เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร โดยผู้นำองค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว

2.ส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ด้วยการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้

3.ให้ความสำคัญกับกระบวนการสรรหา พัฒนา และรักษาทรัพยากรบุคคลให้อยู่กับองค์กรอย่างยั่งยืน

4.มีการเตรียมวางแนวทางสำหรับการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณสมบัติสอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของงานในอนาคต

self trust คือ ความเชื่อมั่นในตนเอง trust ตัวเอง ศรัทธาในตัวเอง

สำหรับ Being ของตนเองเมื่อค้นพบแล้วต้องทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด ให้เป็นจุดเด่นของเรา และต้องพัฒนาคุณลักษณะที่ดีด้านอื่นๆ ด้วย

ข้อคิดที่ได้จากการอ่านกฎ 5 ข้อของความสำเร็จของการพัฒนา HR

เห็นด้วยกับบทความของอจ.และมองว่า การที่รัฐบาลพยายามช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วม แม้อาจจะล่าช้า แต่เชื่อว่า ประชาชนส่วนใหญ่น่าจะยังเกิด trust ต่อรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลพยายามพัฒนาสัมพันธภาพกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในการช่วยเหลือประชาชน มีคุณธรรมและจริยธรรมในการช่วยเหลือทุกคน โดยไม่แบ่งแยกว่าภาคใดที่ประสบความเดือดร้อนมากกว่า ส่วนกรณีประธานาธิบดีสหรัฐฯนั้น ควรที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้นำในอดีตเพิ่มเติม และอาจต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคคลากรมากขึ้น สว่นบทบาทของ HR เก่าและใหม่นั้น ก็มีความแตกต่างกันหลายประการ เช่น Old HR จะเน้นการทำงานในลักษณะงานประจำ ส่วน New HR จะเน้นการวางแผนในลักษณะกลยุทธ์

Self trust คือ ความศรัทธา ความเชื่อมั่นในตัวเองและทุกคนมีอยู่แล้วในตัวของเราเอง เพียงแต่เราต้องค้นหาให้พบและดึงศักยภาพนั้นออกมา ซึ่งก็คือธาตุแท้ (Being) ของเรานั่นเอง อาทิเช่น การเป็นคนชอบช่วยเหลือคนอื่น เป็นคนจิตใจดี เป็นมิตรกับทุกคน ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ การเป็นคนให้อภัยกับความผิดของผู้อื่นเสมอ การยอมรับกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้น การปล่อยวาง ความเข้มแข็ง ความใจเย็น เป็นต้น ทั้งนี้ หากเรารู้ถึงธาตุแท้ของตัวเราก็เท่ากับรู้ว่าเป้าหมายของชีวิตอยู่ตรงไหนก็จะมุ่งไปสู่จุดนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในชีวิตได้

กฎ 5 ข้อของความสำเร็จในการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับแนวคิดของ อ.จีระ ที่ระบุว่า ทุนมนุษย์จะสร้างความสำเร็จและความยั่งยืนขององค์กรได้ โดยมีตัวละคร 3 กลุ่ม ต้องทำงานเป็นทีม คือ CEO , Smart HR และ Non - HR หรือ Line Manager และการทำงานด้าน HR ต้องสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง โดยส่วนตัวเห็นว่า ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ ผู้นำจำเป็นต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สำหรับแรงบันดาลใจ เห็นว่าเราสามารถแสวงหาแรงบันดาลใจได้จากสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ หรือสัตว์เลี้ยงในบ้าน หากเราเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา แล้วนำมาเป็นบทเรียนสอนเรา เราจะตระหนักได้ว่า ธรรมชาติคือการเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรคงอยู่ตลอดไป โดยเฉพาะความผิดหวัง ผิดพลาด ที่บั่นทอนจิตใจ จนบ่อยครั้งส่งผลกระทบต่อการทำงานของเรา สิ่งเหล่านี้จะอยู่กับเราไม่นาน แต่เราต้องอดทน รอคอยไหวหรือเปล่าเท่านั้นเอง

HR CHAMPIONS มุมมองของปราชญ์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่สอนวิธีการมองโลกแห่งการบริหารทุนมนุษย์ ให้แง่คิดเกี่ยวกับคนด้วยมุมมองใหม่ที่ลึกซึ้ง และเปี่ยมด้วยแง่คิดที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงเพื่อการสร้างทุนมนุษย์

ท่านอาจารย์จีระ และอาจารย์พารณ ชี้ให้เห็นถึงโอกาสสำหรับนักปฏิบัติเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำในอนาคต แง่คิดและแนวทางสำหรับผู้นำเพื่อที่จะนำไปเสริมและปรับใช้กับการบริหารบุคลากรในองค์กรให้เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณค่า หลักการใช้ประโยชน์จากคนในองค์กรที่ควรต้องดำเนินไปพร้อมกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรด้วย นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่น่าสนใจที่จะทำให้ผู้นำองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ คุณธรรมและยุติธรรมควรต้องตระหนักและให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างศรัทธาและความเชื่อมั่น (Trust) ภายในองค์กร การเข้าให้ถึงบุคลากรในองค์กร เช่นการใช้นโยบาย Open Door Policy ดังเช่นที่ท่านอาจารย์พารณได้เคยปฏิบัติ เป็นกรณีที่น่าสนใจที่ผู้นำองค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารความสัมพันธ์กับคนในองค์กร เพราะเป็นวิที่จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความรู้สึกศรัทธาและไว้วางใจในตัวผู้นำ และเห็นว่ามีผู้นำที่พร้อมรับฟังและสามารถเข้าถึงผู้บังคับบัญชาได้เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งยังนำไปสู่การกระตุ้นความรู้สึกว่าเป็นส่วนร่วม สร้างความรู้สึกจงรักภักดีต่อองค์กรและมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกัน

ท่านอาจารย์จีระยังเปิดมุมมองใหม่ๆ แก่ผู้นำ และผู้ที่จะนำองค์กรในอนาคต โดยชี้ว่าผู้นำที่ดีต้องป็นผู้รอบรู้ในศาสตร์แขนงต่างๆ มีความคิดริเริ่มและเป็นคนดี บริหารเวลาอย่างมีคุณค่า ขณะเดียวกัน ก็ควรให้ความสำคัญต่อการสร้างสภาพแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนาสมรรถนะและการสร้างแรงจูงใจแก่บุคลากรในองค์กร (ทฤษฎี 3 วงกลม) นอกจากนี้ การวางแผนและให้ความสำคัญต่อมนุษย์ในฐานะที่เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าขององค์กรจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายสูงสุด

การบริหารองค์กรที่มีค่านิยมการทำงานร่วมกันฉันท์พี่น้อง หรือมีวัฒนธรรมเครือญาติ เป็นภาวะความท้าทายของผู้นำองค์กรในยุคปัจจุบัน หากผู้นำยึดมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใส กล่าวคือยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารทุนมนุษย์ จะทำให้องค์กรมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า และกลายเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งขององค์กรที่จะส่งเสริมและสนับสนุนผู้นำให้สามารถนำองค์กรก้าวผ่านภาวะความท้าทาย ไปได้พร้อมกับการมีองค์กรที่มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น การที่องค์กรให้คุณค่าต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ จึงเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มขององค์กรในระยะยาว ซึ่งจะกลายเป็นจุดแข็งที่ทำให้องค์กรสามารถก้าวข้ามวิกฤติและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกที่มีพลวัตรอยู่ตลอดเวลา

จากบทความใน นสพ.แนวหน้า เรื่อง กฎ 5 ข้อของความสำเร็จของการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ (บทเรียนจากความจริง กับดร.จีระ)

จากบทความดังกล่าวที่พูดถึงบทบาทที่ไม่เหมาะสมของสื่อที่กล่าวโจมตี นรม.และรัฐบาลนั้น ก่อนอื่นเราคงต้องยอมรับว่าปัจจุบันนี้สังคมโลกอยู่ในยุคสงครามข่าวสาร ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อมวลชน โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อชีวิตของคนในสังคมอย่างมาก กรณีดังกล่าวโดยส่วนตัวเห็นว่าสื่อเองบางครั้งก็ตกเป็นเครื่องมือของกระบวนการ ดิสแครดิต นรม.และรัฐบาล การเปรียบเทียบระหว่าง นรม.กับ สื่อมวลชนคนหนึ่งถือว่าเป็นปรากฎการณ์หนึ่งในกระบวนการดังกล่าว ที่ต้องการสร้างกระแสโจมตี นรม. นอกจากนี้ บางครั้งสื่อก็ชอบสร้างความแตกแยกในสังคมซึ่งเป็นทัศนคติที่น่ากลัว ดังนั้น สิ่งที่จะสามารถแก้ไขปรากฎการณ์นี้ได้ก็คือ

- ต้องทำให้ประชาชนทราบว่ามีกระบวนการดิสแครดิต นรม.

- ต้องไม่ให้ความสนใจกับท่าทีของสื่อมวลชนดังกล่าว

- ต้องยอมรับว่าอารมณ์ของคนเป็นเรื่องจริง จึงต้องรู้จักการบริหารอารมณ์ของคน

- ต้องโฟกัสหรือดึงศักยภาพในด้านที่เป็นจุดเด่นของ นรม.ออกมาว่าเป็นนักบริหารมืออาชีพ รวมทั้งการให้ภาพที่ชัดเจนว่า นรม.เป็นบุคคลที่น่ายกย่อง ในขณะเดียวกันเราไม่ควรให้ความสำคัญกับ สื่อมวลชนดังกล่าวมากเกินไป เพราะตามหลักจิตวิทยาแล้วอะไรที่เราเน้นสิ่งนั้นก็จะมีความสำคัญ ตรงข้ามอะไรที่ไม่ให้ความสำคัญก็จะหายไปเอง ดังนั้น เรื่องนี้จึงไม่ควรให้ความสำคัญกับสื่อมวลชนดังกล่าวเลย

เรื่อง ขออนุญาตเข้าร่วมสนทนากับ Talented NIA รุ่น2

ด้วยกระผมเป็นสมาชิกของTalented NIAรุ่น1 และใช้นามในการสนทนาว่า "Mr.M" มาแว้ว อยากมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมของกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่ Talented NIA รุ่น2 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ในการศึกษา/พัฒนาต่อยอดในองค์ความรู้ต่างๆ ที่จะได้รับ เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองให้รองรับการเจริญเติบโตในตำแหน่งหน้าที่การงาน และรองรับการปฏิบัติราชการภายใต้สภาพแวดล้อมของการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในปัจจุบันที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วอย่างมากมาย ฉะนั้นสิ่งที่จำเป็นที่สุด คือ การพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้ ด้วยการพัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

จึงขอความอนุเคราะห์เข้าร่วมสนทนาด้วย ครับ

Mr.M

06 พ.ย. 2553

self trust และ Being ความเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวเราเองเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราบรรลุเป้าหมายในชีวิตและการทำงาน แต่ทั้งนี้ต้องมีการปฏิบัติด้วยการตั้งใจจริงและมีความสุขด้วย

การบริหารทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

พันธุ์แท้ต้องทำ 3 เรื่อง คือ ต้องทำให้สำเร็จ ต้องมีบารมี และต้องยั่งยืน ทฤษฎีที่สำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของ ดร.จีระ มี 10 แนวคิด แต่จะขอยกทฤษฎี 8 k's ซึ่งได้แก่ ทุนมนุษย์ (Human Capital) ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ทุนทางสังคม (Social Capital) ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) ทุนทาง IT (Digital Capital) ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Talented Capital) ที่กล่าวมาเป็นทุนมนุษย์ที่สมบูรณ์ เพราะถือว่าทุนมนุษย์แต่ละประเภทนั้นมีส่วนช่วยให้ทรัพยากรมนุษย์มีคุณภาพ มีคุณค่า มีพลัง มีประสิทธิภาพ มีคุณงามความดี ถ้านำทฤษฎีดังกล่าวไปบริหาร พัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ระดับประเทศก็จะเกิดผลบดีกับประเทศ ถ้านำไปบริหารพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับองค์กรก็จะเกิดประโยชน์ต่อองค์กร ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้บอกให้คนอ่านได้รู้ถึงค่าของความเป็นคนว่ามันอยู่ที่ไหนบ้าง คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร เรื่องคุณภาพของคนกับการเพิ่มผลผลิตเป็นความสัมพันธ์ที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จซึ่งกันและกัน วิธีดูแลคนได้อย่างดีทำได้โดยมีแผนการพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือ ให้คนได้รับการอบรม ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเพิ่มผลผลิตประสบความสำเร็จคือ ความจงรักภักดีและความมีวินัยของคนในองค์กร การทำงานที่ดีหัวหน้าต้องเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้พบปะ พูดคุย ถ้าจะเป็นผู้นำที่ดีต้องรับฟังเมื่อคนอื่นพูด หลักการทำงานที่ดี คือ การทำงานที่เอาความสามารถของแต่ละคนมารวมกัน โดยใช้ happiness Capital (ทุนแห่งความสุข) ในเรื่องของความเก่งจะมีอยู่ 4 อย่าง คือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย ซึ่งผู้นำต้องให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลลูกน้องหรือเรียกอีกอย่างว่ามีมนุษยสัมพันธ์

การทำงานให้องค์กรมีคุณภาพต้องเน้นการทำงานเป็นทีม สร้างผู้นำ สร้างความจงรักภักดี การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ขณะเดียวกันต้องคงไว้ซึ่งคุณธรรม ค่านิยม วัฒนธรรมไทยอันดีงาม องค์กรที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของคน คือองค์กรที่ผู้นำมีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถถ่ายทอดวิสัยทัศน์ให้แก่ผู้ร่วมงานได้สำเร็จ และเป็นต้นแบบทั้งการเป็นคนเก่ง และคนดี

Being คือ ธาตุแท้ของมนุษย์หรือสิ่งที่ดีงามในจิตใจของมนุษย์ ซึ่งอาจต้องอาศัยระยะเวลาในการค้นหา ส่วน Self Trust คือ การรู้สึกศรัทธาต่อตัวเอง และมีความเชื่อมั่นว่าเราสามารถทำในสิ่งที่เราตั้งเป้าหมายไว้แล้วได้ Being น่าจะส่งเสริม Self Trust โดยหากเรารู้จักว่า Being ของเราคืออะไร เราก็จะเกิด Self Trust ในการปฏิบัตหน้าที่ต่างๆ และเกิดความรักตัวเองมากขึ้น

My Being

เป็นแรงปรารถนาที่สร้างคนให้เป็นมนุษย์ คนต่างจากมนุษย์ เพราะคนคือความวุ่นวาย ความกระเพื่อม ส่วนมนุษย์ ขอยกคำสอนของท่านพุทธทาส บางส่วน “ เป็นมนุษย์เป็นได้เพราะใจสูง เหมือนหนึ่งยูงมีดีที่แววขน ถ้าใจต่ำเป็นได้แต่เพียงคน ย่อมเสียทีที่ตนได้เกิดมา.....” จะเห็นว่าท่านกล่าวว่า ใจทำให้เกิดความแตกต่าง ส่วนท่าน ปอ.ปยุตโต กล่าวว่า มนุษย์ไม่ใช่สัตว์ประเสริฐ แต่มนุษย์ประเสริฐได้ด้วยการฝึก เชื่อว่าทุกคนมี My Being คือความดีอยู่ในตนเอง ปัจจุบันรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้มีความสุข และมีโชคดีที่ได้สนทนากับผู้มีความรู้อยู่เรื่อย ๆ และได้รับพลังจากความดีของผู้รู้เหล่านั้น จึงเข้าใจความจริงของชีวิตหลายๆ อย่างว่า ทุกๆ คนต้องการความสุข ธรรมชาติของคนมีความสุขจะเผื่อแผ่ความสุขให้กับคนที่อยู่รอบข้าง ในทางกลับกันธรรมชาติของคนมีความทุกข์จะแผ่ความทุกข์ให้กับคนรอบข้างเช่นกัน ถ้าใครกำลังประสบปัญหาอยู่ เราควรสงสารเขา เพราะเขาเป็นผู้มีความทุกข์ จำเป็นต้องหาทางระบาย ขอเป็นกำลังใจให้

Self Trust คือความเชื่อมั่นศรัทธาและมีปณิธานที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า ผสมกับ Being คือ คุณความดีที่ซ่อนอยู่ในมโนสำนึกของทุกคน แต่การจะค้นพบได้จำเป็นต้องมีสิ่งเร้ามากระตุ้น อาจเป็นในรูปของการได้รับการยอมรับ การได้รับความชื่นชม การได้รับเกียรติ การได้รับความสำคัญ ซึ่งหากสามารถค้นพบได้เร็วก็จะแรงผลักดันในการมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์

ความสำเร็จของการพัฒนาHR

การพัฒนาคนในองค์กรเป็นการลงทุนที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ซึ่งทุกฝ่ายต้องยึดหลักการมีส่วนร่วมโดยไม่มองว่าการพัฒนาคนเป็นงานประจำ แต่เป็นแรงขับเคลื่อนภายในตัวบุคคล ทั้งด้านทัศนคติ ค่านิยม แรงจูงใจ ที่มุ่งหวังต่อการทำงานโดยไม่หวังเงินเป็นสำคัญ จะเกิดขึ้นได้นั้นผู้บริหาร(CEO)ต้องมีความมุ่งมั่นและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคน ซึ่งจะกลายเป็นแรงศรัทธาและแรงบันดาลใจต่อคนในองค์กรที่พร้อมจะทำงานอย่างเต็มใจและมีความสุข อันจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

สถานการณ์อุทกภัยที่กำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทยในขณะนี้ ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นทางการเมือง โดยนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง นรม.กับสื่อมวลชนรายการเล่าข่าวยอดนิยมทางช่อง 3 ในประเด็นการให้ความช่วยเหลือต่อผู้ประสบภัย ก็ต้องทำความเข้าใจว่าปัจจุบันใครมีสื่ออยู่ในมือย่อมได้เปรียบ ซึ่งสังคมไทยยังยึดติดกับ “ภาพ” ที่เมื่อเกิดภัยพิบัดต่างๆ ต้องให้ผู้นำประเทศได้มารับรู้ถึงความเดือดร้อนในพื้นที่ และต้องทำตัวให้รู้สึกว่ามีผลกระทบต่อตัวเองด้วย เช่น ต้องเดินลุยน้ำพบปะผู้ประสบภัย แต่สิ่งสำคัญที่ผู้นำประเทศจะต้องกระทำน่าจะอยู่ที่การบริหารงานกำกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที การตั้งคณะทำงานในการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

จากหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ เมื่ออ่านแล้วทำให้ทราบถึงความมุ่งมั่นของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ อ.พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ซึ่งทั้งสองท่านมีส่วนที่คล้ายคลึงกันอยู่หลายประการ คือ ไม่ได้สำเร็จการศึกษาด้านทรัพยากรมนุษย์โดยตรงแต่มีความมุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุดเหนือกว่าทรัพยากรอื่นใด เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์สามารถเป็นได้ทั้งผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้ทำลายทรัพยากรอื่น ๆ และจะเห็นได้ว่าท่านทั้งสองเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในด้านการบริหารองค์กรที่เป็นที่ยอมรับในประเทศไทย คือ บ.ปูนซีเมนต์ไทย และ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงหลักทฤษฎีไว้หลายทฤษฎีที่สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานของเราได้คือ ทฤษฎี8 K’s ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัยากรมนุษย์,ทฤษฎี 5 K’s ล้วนเป็นทฤษฎีที่สำคัญสำหรับทรัพยากรมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์, ทฤษฎี 4 L’s และ 2 R’s และที่สำคัญคือทฤษฎี 3 L’s เพื่อการทำงานยุคใหม่ ทั้งนี้ในแง่คิดและมุมมองต่าง ๆ ของท่านอาจารย์หากผู้อ่านสามารถนำมาประยุกต์ปรับใช้การการทำงานของตนก็จะเกิดผลสัมฤทธิ์ได้เป็ฯอย่างดี

บทวิจารณ์หนังสือ เรื่อง ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

              หนังสือเล่มนี้เป็นการกล่าวถึงบทสนทนาที่ว่าด้วยแนวคิดและปรัชญาในการพัฒนา “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ของนักคิดและนักปฏิบัติสองท่านที่วัยต่างกัน แต่มีความคิดก้าวหน้าเหมือนกัน คือ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ โดยหลังจากที่อ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้วรู้สึกได้ถึงเนื้อหาที่ให้ความสำคัญกับทรัพยากรที่เรียกว่า “คน” เป็นอย่างมาก เพราะคนเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญสูงสุดที่ต้องมุ่งพัฒนาให้เพิ่มพูนความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา และจะต้องหาวิธีการที่ดีที่สุด ที่เหมาะสมที่สุด ด้วยการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและสนับสนุนให้มีการศึกษาและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นได้ เพราะคนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนเพียงแค่เงินทองแต่ยังต้องการผลตอบแทนด้านจิตใจด้วย ทั้งนี้ คนที่จะเป็นทรัพยากรที่สำคัญสูงสุดได้ต้องเป็นคนที่มีความรู้ หรือ knowledge worker ต้องมี skills หรือทักษะรวมทั้งต้องมี abilities หรือความสามารถด้วย จึงจะทำให้คนมีศักยภาพได้ รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ โดยความรู้นั้นจะต้องทันสมัยและนำไปใช้ได้จริง ขณะเดียวกันนักบริหารหรือผู้นำองค์กรควรจะสร้างวัฒนธรรมองค์กร หรือ Corporate Culture มุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และความสามารถในทุกระดับขององค์กร โดยเน้นเรื่องมูลค่าเพิ่ม ทำจริงและต่อเนื่อง เน้นความมีส่วนร่วมของบุคลากรให้เกิดความผูกพันและรักองค์กรของตัวเอง เนื่องจากการบริหารจัดการและกลยุทธ์ไม่ใช่ให้ความสำคัญจำกัดเฉพาะด้านกฎหมายและสวัสดิการสังคม ที่เน้นไปทางด้านรัฐศาสตร์หรือกฏหมายเช่นที่ผ่านมาในอดีต องค์กรต้องระลึกอยู่เสมอว่าความสำเร็จในอดีต ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ถึงอนาคตว่าจะประสบความสำเร็จต่อไปหรือไม่ จึงต้องพร้อมในการพัฒนาความรู้ความสามารถของคนอยู่เสมอเพื่อให้อนาคตขององค์กรสามารถอยู่รอดและประสบความสำเร็จต่อไปได้

                  ทั้งนี้ ปรัชญาชีวิตของ อ.จีระ ที่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตการทำงานได้คือ เราเกิดมาเพื่อจะเรียนรู้และเรียนรู้อย่างสนุกเพื่อนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์และเป็นจริง ซึ่งอาจารย์มีเเนวคิดอย่างชัดเจนที่จะพัฒนาคนเพื่อความก้าวหน้าของประเทศอย่างยั่งยืน เพราะทฤษฎีของอาจารย์เป็นทฤษฎีที่พร้อมจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี

Self Trust ( ความศรัทธาต่อตนเอง ) กับ Being ( ธาตุแท้ที่เป็นสิ่งดีของตนเองที่อยู่ภายใน ) ถึงแม้จะเป็นคนละเรื่องกัน แต่หากเรารู้จักนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ ก็จะเกิดประโยชน์แก่ตนเองได้อย่างคาดไม่ถึง การที่คนเราจะมีใครมาศรัทธาได้ ย่อมต้องมีสิ่งที่ดีอยู่ในตัวเองหรือเป็นคนที่มีสิ่งดีที่พิเศษกว่าผู้อื่น ดังนั้นหากเราสามารถค้นพบ Being ในตัวของเราเองได้มากเท่าใดและนำออกมาใช้ให้ได้มากที่สุด ก็จะยิ่งเป็นการส่งเสริม Self Trust ของเราให้เพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เราประสบผลสำเร็จทั้งด้านชีวิตส่วนตัวและด้านการงานได้อย่างที่ตั้งใจไว้ในที่สุด

- ทราบประวัติความเป็นมาของกูรูด้าน HR เมืองไทยทั้ง 2 ท่าน คือ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ และคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ที่เป็นผู้บุกเบิกองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จนเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีการขยายผลเป็นรูปธรรม ทั้งการพัฒนาระบบแรงงาน การปฏิรูปการศึกษา การพัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้าน HR และการก่อตั้งมูลนิธิ + สถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

- คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร องค์กรที่ต้องการความก้าวหน้าจึงควรพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยจะต้องมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาทั้งความรู้ในด้านการงาน ความสามารถที่จะสนับสนุนการทำงาน ทักษะทางอารมณ์ และการพัฒนาทางด้านจิตใจและจริยธรรม สร้างบรรยากาศการทำงานที่เสมือนทุกคนเป็นครอบครัวเดียวกัน นำไปสู่ความจงรักภักดีต่อองค์กร ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม สนับสนุนให้มีการศึกษาและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

Mr.M ขยันจริงๆ เลยค่ะ เข้า Blog อย่างต่อเนื่อง ขอบคุณค่ะ ที่เข้ามาแจมส์ กับรุ่นที่ 2

ขอความข้างต้นเป็นแนวคิดที่ได้จากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

จากบทความ กฎ 5 ข้อของความสำเร็จของการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์

ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จะทำอย่างไรที่จะการพัฒนาคนในองค์กรให้ดีขึ้นอย่างสำเร็จและยั่งยืน ผู้นำองค์กรยุคใหม่ ต้องมอง HR เป็นยุทธศาสตร์ แทนที่จะมองเป็น HR แบบเก่าที่เป็นงานประจำ เห็นด้วยกับกฎ 5 ข้อ ผู้นำองค์กรต้องเอาใจใส่และเห็นคุณค่าของทุนมนุษย์ ทำอย่างไรที่จะพัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้พร้อมที่จะทำงานให้องค์กรอย่างเต็มที่ กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจที่อยากทำงาน โดยให้คิดว่าเงินไม่ใช่ความสุขในการทำงาน ทุนความสุขจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

นับตั้งแต่ผมเริ่มเข้ามาเรียนหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับ HR หรือการพัฒนาทุนทรัพยากรมนุษย์ จากการจัดหลักสูตรของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ผ่านมา 3 วัน ทำให้ผมเปิดโลกทัศน์และมีมุมมองใหม่ ๆ โดยเฉพาะในเรื่อง HR ที่ผมไม่มีความคุ้นเคยมาก่อนเลย การเรียนช่วง 3 วันที่ผ่านมา และการได้ทำการบ้านที่ท่านอาจารย์ให้ไว้ ตอกย้ำให้ผมรู้ว่า “คน” เป็นสิ่งที่มีค่าหรือสำคัญที่สุดในองค์กร สามารถทำสิ่งที่ถูกต้องและมีความผิดพลาดได้ แต่ตัวเราต้องนำสิ่งเหล่านั้น มาพัฒนาตนเองได้ โดยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งอื่นใดเราต้องเรียนรู้ตัวตนของเราก่อน มี Self trust โดยเราต้องรู้เป้าหมายของตัวเรา มีทั้ง EQ และ IQ ในการทำงาน แม้การเรียนรู้ตัวตนวันนี้ (ของท่าน อ.พจนารถ ซีบังเกิด) จะทำให้ผมเริ่มสับสนว่า “Who am I ?” ก็ตาม แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นให้ผมได้คิดค้นหาตัวเอง และมีสิ่งใหม่ ๆ ที่ผมต้องเรียนรู้อีกมากมาย เพื่อนำไปพัฒนาตนเอง องค์กร และบ้านเมืองต่อไป

ส่วนการอ่านหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” (HR Champions) ได้ บอกเล่าความเป็น ท่าน ศ.ดร.จีระและท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะแนวความคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ หรือ ทุนมนุษย์ ที่เน้นคุณค่าของบุคลากรที่ต้องมาจากข้างในคือ ต้องเป็นคนดีไปพร้อม ๆ กับการที่เป็นคนเก่ง โดย คน เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร งานทุกงานจะสำเร็จได้ก็เพราะคน การเพิ่มคุณค่าของคน ต้องเชื่อมั่น ศรัทธา และให้ความรักก่อน จากนั้นให้ความรู้และคุณธรรมควบคู่ไปด้วย เน้นเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการใช้ทฤษฎีทุน 8 ประเภท และทฤษฎี 3 วงกลม ที่พูดถึงเรื่อง IT ที่เข้ามาช่วยในการหาความรู้ สืบค้นข้อมูล

การบริหารเวลา ภาวะผู้นำ นวัตกรรม และการสร้างแรงบันดาลใจให้มองว่าเป็นงานที่ท้าทาย ไปถึงการทำงานเป็นทีม คนก็จะทำงานตามศักยภาพที่มีอย่างเต็มที่ และสิ่งที่จะได้รับตอบแทนมา คือ ความสามารถในการเพิ่มมูลค่า เพราะคนได้ทำงานตามความสามารถที่มีและยังได้รับความรู้เพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆจนเกิดความชำนาญและมีความสุข องค์กรก็จะพัฒนาขึ้น เมื่อซื้อใจได้แล้ว จะเกิดความรักองค์กรและพร้อมที่จะทำงานให้และเสียสละให้กับองค์กร ท้ายที่สุดทุกอย่างจะเกิดขึ้นได้ ถ้าคิดแล้วนำไปปฏิบัติให้สำเร็จจะเกิดผล ก็จะได้คนเก่งที่เป็นคนดีและอยู่อย่างยั่งยืนด้วย

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ผมได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากการเรียน การสังเกตการสอนและการทำการบ้านในแต่ละวัน รวมทั้งการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ คือ แม้ท่าน ศ.ดร.จีระ และ ท่าน พารณ จะมีความรู้และประสบการณ์มากมายแล้วก็ตาม แต่ทั้ง 2 ท่าน ก็ยังคงหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา และนำไปปฏิบัติ รวมทั้งถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลัง ๆ โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และจากการที่ร่วมเดินออกกำลังกายกับท่าน ศ.ดร.จีระ เมื่อวานนี้ (5 พ.ย.53) ยิ่งเห็นว่า ท่านยังแข็งแรง ซึ่งสอดคล้องกับบทเรียนที่ท่านได้สอนในวันแรกคือ การสะสมพลัง (energy) ที่ท่านแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการสะสมพลังของท่านอยู่ตลอดเวลานั่นเอง ทั้งนี้ ผมรู้สึกว่า โชคดีที่มีโอกาสได้เรียนรู้จากท่าน โดยเฉพาะการเรียนรู้จากประสบการณ์ของท่านที่มีมากมาย ตามที่ท่านได้อธิบายถึงการเรียนรู้ของท่านในทฤษฎี 3 ‘L ซึ่งผมสามารถนำมาเป็นบุคคลตัวอย่าง (Role Model) ที่เราเคารพศรัทธา ได้เป็นอย่างดี

Being คือ ธาตุแท้หรือคุณสมบัติส่วนดีของมนุษย์ที่ซ่อนอยู่ภายใน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ การแสดงออกหรือไม่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้านบุคคล และสภาพแวดล้อมด้านวัตถุ การแสดงออกของ Being จะยิ่งปรากฏเด่นชัดเมื่อเรามีความเชื่อมั่นในศรัทธาของตัวเอง

โดยพื้นฐานมนุษย์ทุกคนต้องการเป้นคนดีแต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและปัจจัยด้านวัตถุ Being หรือธาตุแท้ของคนเราคือคุณสมบัติด้านดีที่อยู่ในส่วนลึกของจิตใจซึ่งจะมีส่วนในการยับยั้งความคิด (I) และความรู้สึก (s) ที่ไม่ดี แต่มีส่วนสัมพันธ์กับ self trust เพราะทั้ง being และ Self trust มุ่งการเป็นคุณสมบัติด้านดีของบุคคลเป็นสำคัญเหมือนกัน

อรรถกร

แนวคิดจากการที่ได้อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้

- การพัฒนา HR ในเมืองไทยจะต้องทำอย่างจริงจังเป็นระบบ และต่อเนื่อง เนื่องจากโลกเข้าสู่ยุค New Economy กระบวนการ HR จึงต้องเปลี่ยนแปลง จากการมองว่า HR เป็นต้นทุนและความรับผิดชอบของฝ่าย HR เท่านั้น แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน องค์กรที่จะประสบความสำเร็จนั้น ผู้บริหารจะต้องตระหนักเห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ (ทุนมนุษย์) โดยเริ่มต้นจากการปรับทัศนคติว่า กระบวนการ HR เป็นการลงทุนเพื่อความเจริญและพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน

- บุคคลที่มีศักยภาพเกิดจากกระบวนการล่อหลอมขององค์กร องค์กรที่ดีไม่เพียงสร้างและพัฒนาคนให้มีประสิทธิภาพ ยังสะท้อนและปลูกฝังค่านิยมที่ดี ให้เกิดแก่บุคลากร ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาสังคมในอนาคต ดังเช่น ศ.ดร.จิระ ซึ่งเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีจิตวิญญาณแห่งการเรียนรู้ตลอดเวลา เมื่อได้เป็นสมาชิกในองค์กรที่มีค่านิยมที่ดี เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มุ่งเน้นให้เกิดความตระหนักในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม จึงเป็นที่มาขององค์ความรู้ ผลงานทางวิชาการ การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ด้าน HR ที่เป็นคุณูปการต่อสังคมไทยและแวดวงวิชาการในเวทีโลก

“Being” คือ ธาตุแท้ด้านดีงามที่ซ่อนอยู่ภายใต้จิตสำนึกของเรา อยู่ในส่วนที่ลึกที่สุด เป็นสิ่งที่เราใฝ่ฝันต้องการจะเป็น แต่อาจยังไม่สามารถทำได้ในช่วงขณะนั้น เนื่องจากสภาพแวดล้อมและโอกาสยังไม่เอื้ออำนวย แต่หากสภาพแวดล้อมและโอกาสเอื้ออำนวย เราก็จะทำตามสิ่งที่เราใฝ่ฝันในที่สุด ส่วน Self Trust คือ ความเชื่อมั่นศรัทธาในตนเอง ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเรามีจุดยืน มีเป้าหมายชีวิตและรู้ตนเองว่ากำลังทำอะไรอยู่ และพยายามดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเองออกมาใช้ เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ สรุปทั้ง Being และ Self Trust ล้วนแต่เป็นคุณความดีที่มีอยู่ในตัวตนของเรา แตกต่างตรงที่ Being เป็นสิ่งที่เราคิดจะทำแต่ยังไม่ได้ทำ ฉะนั้นเราจึงต้องพัฒนา Being ด้วยการกระทำให้มากขึ้น ส่วน Self Trust เป็นสิ่งดีที่เราคิดจะทำ เพื่อให้คนอื่นศรัทธาในตัวเรา อย่างไรก็ตาม ทั้ง Being และ Self Trust จะช่วยให้เรารู้ว่าเราคือใคร ซึ่งจะทำให้เรามีความเข้าใจตนเอง มีจุดมุ่งหมายในชีวิต และมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายในชีวิตที่เราตั้งไว้

จากบทความเรื่อง กฎ 5 ข้อของความสำเร็จของการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งตีพิมพ์ใน นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 6 พ.ย.53 เป็นบทความที่มีประโยชน์ทำให้ทราบว่าการพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนนั้นจะต้องเริ่มต้นด้วยการ “พัฒนาคน” เนื่องจากคนถือเป็น “ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าที่สุด” โดยปัจจัยความสำเร็จว่าด้วยการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ในการทำงาน มี 5 ประการ ได้แก่ 1) ผู้นำองค์กรต้องเอาใจใส่และเป็นผู้นำที่มีความเข้าใจว่าคนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าที่สุด 2) การทำงานที่สำเร็จจะต้องเน้น HR ให้มากขึ้นไม่มองว่า HR เป็นแค่งานประจำ 3) เน้นการทำงานเป็นทีม 4) การทำงานด้าน HR ต้องสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ร่วมงาน 5) เงินไม่ใช่ความสุขในการทำงาน แต่ทุนแห่งความสุขจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

สิ่งที่เรียนรู้จากหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ , HR.Champions ของคุณพารณและอาจารย์จีระนับเป็นคุณูปการในวงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากทั้งสองท่านมีความเห็นตรงกันว่าบุคคลากรเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าและเป็นส่วนสำคัญที่สุดขององค์กรและของประเทศชาติ เพราะเป็นส่วนสำคัญที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและเป็นการนำพาองค์กรและประเทศไปสู่ชัยชนะในทุกด้าน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำองค์กรและผู้นำประเทศต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ในระยะยาว อย่างไรก็ตาม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นการลงทุนที่มีค่าใช้จ่ายสูงและเป็นการลงทุนระยะยาวที่ไม่สามารถเห็นผลในทันที จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำองค์กรและผู้นำประเทศจะต้องเข้าใจและมีความศรัทธาในเรื่องคนก่อน จึงจะทำให้ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประสบความสำเร็จได้

กล่าวสำหรับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในองค์กรของเราแล้ว ถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่ผู้บริหารขององค์กรเราได้เริ่มให้ความสำคัญกับการทรัพยากรบุคคล ทำให้พวกเราได้รับทราบหลักการหรือทฤษฎีที่สำคัญต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาตนเองและถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมงานอันเป็นการเริ่มสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์กร ให้บุคคลากรในองค์กรมีคุณภาพและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนองค์กรให้ไปในทิศทางที่ผู้บริหารคาดหวังไว้ ซึ่งเชื่อว่าเมื่อบุคคลากรของเรามีพื้นฐานความรู้ด้านการพัฒนาบุคลากรมากพอแล้วก็จะทำให้องค์กรของเราเป็นสามารถรับมือกับภัยคุกคามใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อรรถกร

จากบทความ กฎ 5 ข้อของความสำเร็จของการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ กับ ดร.จีระ

ทำให้วิเคราะห์ได้ว่า เมื่อผู้บริหารระดับสูงมองเห็นว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กรแล้วก็จะก่อให้เกิดความรัก หวงแหน และต้องรักษาให้อยู่กับองค์กรนานที่สุด ซึ่งวิธีการรักษาคือการให้ความสำคัญและพัฒนาคนให้เป็นทั้งคนเก่ง และคนดีของสังคมอย่างต่อเนื่อง

ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ดี มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถวิเคราะห์หรือคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ และมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ จะทำให้ไม่เกิดเหตุกรณีคะแนนเสียงตกของโอบามา หรือกรณี นรม. เพราะเมื่อคนมีภูมิคุ้มกันที่ดีแล้วก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวสารที่สื่อมวลชนนำเสนอได้โดยง่าย/

แนวคิดที่ได้จากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

1. การพัฒนาHR ของคุณพารณและดร.จีระเหมือนกันที่เน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรควบคู่ไปกับการพัฒนาผลผลิตด้วย และมีความคิดที่ตรงกันว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์กร และใช้หลักต่างๆ ในการบริหาร HR ได้แก่ การ สร้าง Trust ในองค์กร การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน การทำงานเป็นทีม การใช้ EQ ในการบริหารงาน

2. คุณพารณและดร.จีระมีมุมมองในการพัฒนา HR จากองค์ประกอบหลายๆ ด้าน ไม่ได้มุ่งมองที่การศึกษาและการฝึกอบรมอย่างเดียว แต่ต้องดูถึงศักยภาพของคนในการสร้างผลผลิตด้วย นอกจากนี้ การพัฒนา HR ยังต้องพัฒนาให้คนมีจริยธรรม และรักษาระบบธรรมาภิบาลด้วย

3. การพัฒนา HR ของทั้งสองคนต่างก็ต้องใช้การลงทุนเหมือนกัน จากทฤษฎี 5 K ของดร.จีระ ส่วนคุณพารณก็จะใช้หลักในการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในเครือซีเมนต์ไทย ในลักษณะการลงทุนเหมือนกัน เช่น การคัดเลือกคนเข้าทำงาน จะต้องเลือกคนที่มีเกรดเฉลี่ยพอสมควร ส่วนการคัดเลือกผู้บริหารก็ต้องเป็นบุคคลที่เข้ามาพัฒนาการทำงานอย่างจริงจัง นอกจากนี้ การพัฒนา HR ก็ยังเป็นการให้ผลตอบแทนในระยะยาว

สำหรับการนำมาปรับใช้กับองค์กร ก็คงคล้ายกัน คือ การจะพัฒนาบุคลากรในที่ทำงานได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการพัฒนาหรือลงทุนในระยะยาว ขณะที่ผู้นำองค์กรก็ต้องมีลักษณะผู้นำที่ใช้หลัก HR มาบริหารคนด้วย เช่น การสร้าง Trust ในองค์กร การคัดเลือกคนที่ทำงานโดยดูจากการสร้างผลผลิต

Self Trust และ Being เป็นตัวที่มีความเกี่ยวเนื่องกันจนยากที่แยกออกจากกันได้ เพราะ Self Trust คือ ศรัทธาในตัวเอง ซึ่งต้องมีอยู่ในตัวบุคคลนั้น ๆ ส่วน Being คือ ธาตุแท้หรือพลังส่วนดีที่มีอยู่ในตัวของคนทุกคนอีกเช่นกัน อาทิ การพูดจริงทำจริง การเป็นคนดี ขยัน ซื่อสัตย์ ยุติธรรม มีความรับผิดชอบ เก่งในงานที่ทำ ดังนั้นหากเรามี Being มาก ก็จะทำให้เรามี Self Trust มากตามไปด้วย

แนวคิดที่ได้จากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

1. การพัฒนาHR ของคุณพารณและดร.จีระเหมือนกันที่เน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรควบคู่ไปกับการพัฒนาผลผลิตด้วย และมีความคิดที่ตรงกันว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์กร และใช้หลักต่างๆ ในการบริหาร HR ได้แก่ การ สร้าง Trust ในองค์กร การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน การทำงานเป็นทีม การใช้ EQ ในการบริหารงาน

2. คุณพารณและดร.จีระมีมุมมองในการพัฒนา HR จากองค์ประกอบหลายๆ ด้าน ไม่ได้มุ่งมองที่การศึกษาและการฝึกอบรมอย่างเดียว แต่ต้องดูถึงศักยภาพของคนในการสร้างผลผลิตด้วย นอกจากนี้ การพัฒนา HR ยังต้องพัฒนาให้คนมีจริยธรรม และรักษาระบบธรรมาภิบาลด้วย

3. การพัฒนา HR ของทั้งสองคนต่างก็ต้องใช้การลงทุนเหมือนกัน จากทฤษฎี 5 K ของดร.จีระ ส่วนคุณพารณก็จะใช้หลักในการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในเครือซีเมนต์ไทย ในลักษณะการลงทุนเหมือนกัน เช่น การคัดเลือกคนเข้าทำงาน จะต้องเลือกคนที่มีเกรดเฉลี่ยพอสมควร ส่วนการคัดเลือกผู้บริหารก็ต้องเป็นบุคคลที่เข้ามาพัฒนาการทำงานอย่างจริงจัง นอกจากนี้ การพัฒนา HR ก็ยังเป็นการให้ผลตอบแทนในระยะยาว

สำหรับการนำมาปรับใช้กับองค์กร ก็คงคล้ายกัน คือ การจะพัฒนาบุคลากรในที่ทำงานได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการพัฒนาหรือลงทุนในระยะยาว ขณะที่ผู้นำองค์กรก็ต้องมีลักษณะผู้นำที่ใช้หลัก HR มาบริหารคนด้วย เช่น การสร้าง Trust ในองค์กร การคัดเลือกคนที่ทำงานโดยดูจากการสร้างผลผลิต

เห็นด้วยกับอาจารย์ทุกข้อค่ะ เกี่ยวกับกฎ 5 ข้อของความสำเร็จของการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ โดยเฉพาะ CEO หากไม่ได้รับการสนับสนุน HR คงไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ขอเพิ่มเกี่ยวทฤษฎี 3 วงกลม คือ Context Competencies และ Motivation น่าจะมีส่วนสำคัญเช่นกัน หากองค์กรใดนำแนวทางที่อาจารย์เสนอมาใช้ เชื่อว่าองค์กรนั้นจะบรรลุเป้าหมายอย่างแน่นอน

การดำเนินชีวิตและการทำงาน จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องรู้จักตนเอง หรือเป้าหมายของชีวิตเสียก่อน แล้วจึงดำเนินการเพื่อให้ไปสู่เป้าหมายของชีวิตที่ตั้งไว้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว เกี่ยวข้องกับการนำเอาสิ่งที่ดีงามตามธรรมชาติของมนุษย์หรือที่เรียกว่าธาตุแท้ (Being) มาใช้ร่วมกับมโนธรรมลึกซึ้ง (Deep Conscience) เพื่อตัดสินใจหรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่งเพื่อก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายของชีวิตที่ตั้งไว้

แต่การจะสบความสำเร็จทั้งในการดำเนินชีวิตหรือหน้าที่การงานนั้น จำเป็นที่ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลอื่นด้วย เราจึงจำเป็นต้องสร้างศรัทธาให้เกิดกับตนเองเสียก่อน หรือที่เรียกว่า Self Trust ได้แก่ การรักษาคำมั่นสัญญาที่ตั้งไว้ เชื่อมั่นในการทำความดี มุ่งมั่นที่จะกระทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ การใช้จุดแข็งของตนเอง หรือการใฝ่หาความรู้ การให้ความสนใจต่อผลลัพภ์มากกว่าการกระทำ เป็นต้น

Self trust คือ ความศรัทธา ความไว้ใจ ความเชื่อมั่นต่อตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่เราจะต้องสร้างขึ้น เช่น การสัญญาต่อตนเองว่าจะทำสิ่งใดแล้วต้องทำให้สำเร็จ ความมีจริยธรรม ศีลธรรม แต่เป็นสิ่งยากต่อการสร้างและการค้นหาในตัวตน หากเราสามารถค้นพบว่า Self trust ของเราแล้วสามารถนำมาใช้ได้แล้วควรจะสร้างเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ

ส่วน Being คือธาตุแท้ หรือมโนสำนึกในส่วนลึกในด้านความดีงามที่มีอยู่ในตัวเรา อาทิ ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความกตัญญู โดยได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมด้านบุคคลและสภาพแวดล้อมด้านวัตถุ ถ้าเราก็อาจสามารถค้นพบว่าธาตุแท้ (being) ของตัวเรามีอะไร (การค้นพบตัวตน) เราก็นำสิ่งนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งก็มีส่วนสัมพันธ์และส่งเสริม Self trust ให้มีความแข็งแกร่ง รวมทั้งการคิดในเชิงบวก

สิ่งที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ซึ่งเป็นบทสนทนาระหว่างอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ กับคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา คือ ความมุ่งมั่น ความตั้งใจอย่างแท้จริงในการที่จะทำงานให้บรรลุความสำเร็จ (การสร้างนวัตกรรมใหม่ คิด แล้วต้องทำให้ได้จริง) การอุทิศตนเพื่อประโยชน์ของประเทศโดยรวม โดยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน เพราะท่านทั้งสองเห็นว่า “คน” ซึ่งถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญดูแลเอาใจใส่บุคคลเหล่านี้นับแต่วันที่พวกเขาเข้ามาทำงานจนถึงวันที่ครบวาระที่ต้องออกจากการทำงาน ดังนั้น ผู้บริหารต้องมีส่วนช่วยผลักดันและเปิดโอกาสให้บุคคลในองค์กรสามารถแสดงออกซึ่งศักยภาพที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งต้องพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถต่าง ๆ ของพวกเขาเหล่านั้นโดยการปลูกฝังหรือเสริมสร้างเพื่อให้เกิดการเรียนรู้/การใฝ่รู้ตลอดเวลาและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาคนให้มีศักยภาพที่ยั่งยืนได้ต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จคือความจงรักภักดีและความมีวินัยของคนในองค์กร ดังนั้น ผู้นำที่ดีต้องยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่บุคลากรในองค์กรได้เกิดความไว้ใจ ความเชื่อถือ เคารพและศรัทธา ซึ่งความจงรักภักดีต่อองค์กรสามารถเกิดขึ้นได้ ด้วยการสร้างความรัก ความเมตตา ความเข้าใจ การยอมรับฟังความคิดเห็นต่าง ๆ การมีส่วนร่วม รวมถึงสัมพันธ์ภาพระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา หน่วยงานต่าง ๆ ให้บังเกิดขึ้นภายในองค์กร

อีกทั้งท่านทั้งสองต่างเห็นพ้องกันว่า หากจะพัฒนาประเทศไทยให้มีความยั่งยืนสถาพรได้นั้น ต้องพัฒนาคนตั้งแต่ยังเล็ก ๆ สร้างให้มีการใฝ่รู้ และการเรียนรู้อยู่เสมอ จากประสบการณ์จริง ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริง

- CEO ควรเห็นความสำคัญของการทำงานด้าน HR ในฐานะที่คนคือทรัพยากรที่สำคัญขององค์กร เพื่อให้คนเป็นพลังในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จด้วยการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเงินไม่ใช่สิ่งที่ทำให้มีความสุขเสมอไป แต่ความสุขจากการทำงานซึ่งเป็นคุณค่าทางจิตใจของบุคลากรต่างหากที่นำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร HR ยุคใหม่จึงต้องสร้างคุณค่าให้ประจักษ์ด้วยการปรับการทำงานจากรูปแบบเก่าไปสู่รูปแบบใหม่ ที่ทำงานร่วมกันระหว่าง CEO ,Smart HR และ Non – HR อย่างสมดุล

- Being คือ สิ่งที่ดีงามที่เป็นธาตุแท้ของมนุษย์ ที่มีปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมมาเกี่ยวข้อง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการค้นหาตัวเอง สำหรับ Selft Trust คือความเชื่อมั่นศรัทธา โดยมีจุดยืนและเป้าหมายที่ชัดเจนและตั้งใจดีในการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีความสุข

จากการอ่านบทความเรื่อง กฎ 5 ข้อของความสำเร็จของการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ เห็นว่า

1. “สถานการณ์สร้างวีระบุรุษ” เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ กรณีเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ถ้าผู้นำสามารถ “พลิกวิกฤตเป็นโอกาส” แก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างดีและทั่วถึง ก็จะได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากประชาชนโดยอัตโนมัติ ถึงแม้จะมีผู้ไม่หวังดีโจมตีอย่างไม่เป็นธรรม ก็จะไม่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชน ผิดกับกรณีที่ผู้นำได้โฆษณาชวนเชื่อกับประชาชนว่า มีความรู้ความสามารถ ในการแก้ไขปัญหาและนำพาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า แต่เมื่อบริหารแล้ว ทำไม่ได้ตามที่ให้สัญญาไว้ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อผู้นำก็หายไปได้เหมือนกัน

2. โลกยุคปัจจุบันมีการแข่งขันกันอย่างมากมาย ปัจจัยที่จะทำให้ประสบความสำเร็จก็มีมากมายเช่นกัน ข้อเสนอแนะเรื่อง ปัจจัยความสำเร็จ เรื่องการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ 5 ข้อ ในการแข่งขันของโลกยุคปัจจุปัน เห็นว่าเป็นปัจจัยที่จะทำให้ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังได้ง่าย เพราะว่าเป็นการให้ความสำคัญกับคน เมื่อคนมีศักยภาพ มีความสุข มีการบริหารจัดการที่ดี งานก็จะสำเร็จได้ง่าย

1. จากบทความ “กฎ 5 ข้อของการบริหารด้าน HR” ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ซึ่งกล่าวว่าปัจจัยความสำเร็จเรื่องการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ คือ HR 3 กลุ่ม (CEO , Smart HR และ Non – HR) ซึ่งจะต้องมีการปรับบทบาทจากแบบเก่าเป็นแบบใหม่ ซึ่งต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม โดยผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้การพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์สำเร็จได้ คือ CEO ผู้นำในองค์กรต้องเอาจริงในการเอาใจใส่และเป็นผู้นำที่มีความเข้าใจว่าคนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าที่สุด เป็นบทความที่สามารถจุดประกายความคิดไปสู่การพัฒนาองค์กรได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง หากองค์กรใดที่มีผู้นำองค์การที่เห็นคุณค่าของการบริหารทุนมนุษย์และมีการมอบนโยบายที่ชัดเจน ก็จะส่งผลให้บุคคลซึ่งทุนมนุษย์ขององค์การมีความกล้าที่จะเสนอแนวคิดใหม่ ๆ อันจะทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่นำสู่การพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องและมั่นคง

2. Being & Tust

- Being คือ จิตประภัสสร หรือ ธาตุแท้ดีงามที่ซุกซ่อนอยู่ในตัวเราลึก ๆ ซึ่งเราอาจไม่เคยรู้ หรือไม่เคยสำรวจว่ามีอยู่ในตัวตนของเรา โดยปัจจัยที่จะกระตุ้นเราสามารถค้นพบตัวตนของเราได้ช้าหรือเร็วนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้านบุคคล และสภาพแวดล้อมด้านวัตถุ (บุคคลที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี จะมีโอกาสที่จะค้นพบ Being ได้เร็วกว่าคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย) ทั้งนี้ การที่เราสามารถค้นพบ Being ที่เป็นจุดเด่นของเรา รวมถึง Being ที่เราคิดว่าอยากจะมีได้ก็จะให้ทราบว่า “เราคือใคร” / เข้าใจเป้าหมายของชีวิตและงาน / รู้ว่ากำลังมุ่งสู่ความสำเร็จหรือไม่/ และจะสามารถปรับตัวเพื่อถึงเป้าหมายของชีวิตได้ในที่สุด

- หากเรารู้ว่า “เราคือใคร” เราก็จะมีแนวทาง/จุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิต โดยคิดบวกอยู่เสมอ ก็จะทำให้เราเกิด Self Trust มีศรัทราในตนเองที่จะกระทำความดีอย่างมุ่งมั่นตั้งใจ ซึ่งเมื่อคนรอบข้างมองเห็นและรู้สึกชื่นชมทำให้ได้รับศรัทราจากผู้ร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา (การสร้างศรัทราต้องอาศัยระยะเวลาที่ยาวนานในการสร้าง แต่ทำลายได้ในพริบตา หากทำผิดพลาดและเสียศรัทราไปแล้วจะกู้คืนได้ยาก)

จากบทความ เรื่อง กฎ ๕ ข้อ ของความสำเร็จของการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ เห็นว่า

ปัจจัยความสำเร็จเรื่องการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ คือ ผู้นำองค์กรต้องเอาจริงเอาจังในการใส่ใจและเป็นผู้นำที่มีความเข้าใจว่า “คน” เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด จึงจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนา และผลักดันไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งการทำงานจะสำเร็จได้ต้องเน้น HR และต้องทำงานเป็นทีม ระหว่าง CEO Smart HR และ Non – HR ต้องมีการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง โดยอาจใช้ทุนในด้านอื่น ๆ มิใช่เรื่องเงินเพียงอย่างเดียว เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

Self trust คือ ความศรัทธาในตัวเองซึ่งทุกคนมีอยู่แล้ว แต่เราต้องนำออกมาใช้ให้ได้ โดยมีควาสัมพันธ์กับธาตุแท้ (Being) ซึ่งเป็นสิ่งดีที่อยู่ภายในตัวเรา ถ้าเรานำธาตุแท้ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็จะช่วยเพิ่มความศรัทธาในตัวเองมากยิ่งขึ้น

สมพงษ์

Being หมายถึงธาตุแท้ที่ซ่อนอยู่ภายใต้จิตสำนึกที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่ บางคนก็ค้นพบได้เร็ว บางคนที่หาตนเองไม่พบเนื่องจากสภาพแวดล้อมด้านบุคคลและสภาพแวดล้อมด้านวัตถุยังไม่เอื้ออำนวย แต่เมื่อสภาพแวดล้อมอำนวยให้ค้นพบแล้วมันก็จะโตขึ้น คนที่ค้นแล้วเมื่อได้ทำงานในด้านที่ตนเองชอบก็จะมีความสุขและจะทำงานได้ดี และ Being อาจจะหยุดโต เมื่อสภาพแวดล้อมไม่อำนวยก็ได้

Self Trust คือความศรัทธานต่อตนเอง เมื่อเราค้นพบ Being แล้วถ้ามันยังไม่โต เราสามารถที่จะนำ Self Trust มาปรับใช้ด้วยกันได้ โดยต้องมีความศรัทธา มีความเชื่อมั่นในตนเองว่าจะต้องทำ Being ของตนเองให้โตขึ้นได้ โดยใช้แรงจูงใจด้านต่างๆ เข้ามาช่วยเพื่อให้ Being โตได้

การประยุกต์ใช้บทเรียนทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ กับ สขช.

ขอขอบคุณ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ที่กรุณาถ่ายทอดประสบการณ์ สร้างคนให้เป็นมนุษย์พันธุ์แท้ สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ความเมตตากรุณาที่เต็มเปี่ยม ทุกทฤษฎีได้ผ่านการตกผลึกแล้วอย่างดี และนำไปใช้ได้จริงทุกทฤษฎี สำหรับ สขช. ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพและการทำงานอย่างมีความสุข เป็นสิ่งที่ควรนำมาใช้อย่างยิ่ง ประกอบด้วย

1. Happiness คือ การสร้างความสุข เพื่อส่วนรวม

2. Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

3. Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

4. Sustainability คือ ความยั่งยืนจากการมองถึงเป้าหมายระยะยาวร่วมกัน

การถ่ายทอดพลังบวก จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ไม่มีใน สขช. แต่สิ่งนี้จะทำให้ ทฤษฎี HRDS เป็นจริงได้ใน สขช. เป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะรุ่นน้องไม่เคยรับรู้ถึงความสามารถ วิธีการทำงาน หรือความผิดพลาด เพื่อไม่ให้ซ้ำรอย แต่รุ่นน้องกลับสัมผัสได้แต่ ความห่อเหี่ยว ท้อแท้ ท้อถอย หมดกำลังใจทำงานจากรุ่นพี่ สิ่งที่เป็นตัวบั่นทอน ความภาคภูมิใจในการเป็นข้าราชการด้านความมั่นคงของ สขช. ให้ผุกร่อน ควรเปิดเวทีให้รุ่นพี่ได้ถ่ายทอดให้น้องๆ อยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะผู้ที่เกษียณอายุราชการแล้ว ท่านคงมีความสุขมากถ้าได้ถ่ายทอดความรู้ ความผิดพลาดให้กับน้องๆ องค์กรจะก้าวหน้าได้อย่างไร ในเมื่อรุ่นพี่ไม่เคยบอกความผิดพลาดให้น้องๆ แต่กลับรอให้น้องๆ เดินตกหลุดอย่างที่พี่ๆ เคยตกมาก่อน ความมั่นคงขององค์กร จำเป็นต้องได้รับแรงกระตุ้นทางบวกอย่างต่อเนื่อง เมื่อถูกปลูกฝังเป็นความภาคภูมิใจในหน้าที่การงานแล้ว ทฤษฎี HRDS จะเป็นจริงได้ใน สขช.

1. Self Trust และการมองโลกแง่บวก มีส่วนช่วยในการหา Being ได้อย่างไร

แนวคิด Self Trust ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มีส่วนช่วยในการหา Being หรือธาตุแท้ที่ดีงามที่อยู่ลึกๆ ในตัวเรา เพราะวิธีการได้มาซึ่ง Self Trust นั้น จะทำให้เราต้องค้นหาว่าเป้าหมายและจุดยืนของเราในเรื่องต่างๆ นั้นคืออะไร และพยายามทำที่จะทำให้สำเร็จให้ได้ เพื่อที่จะสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นกับตัวเอง และสิ่งนั้นน่าจะเป็นสิ่งบ่งชี้ได้ว่า ความดี หรือสิ่งดี ในความคิดของเราคือมีอะไรบ้าง ซึ่งสิ่งนั้นอาจจะเป็น Being ที่ตัวเราเองไม่รู้ว่าเรามี เราจึงควรจะคิดในแง่บวก หรือบอกตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่าเราสามารถทำได้ และพยายามทำให้สำเร็จ เมื่อเรารู้ว่า Being คืออะไร และมีมากน้อยแค่ไหน ก็จะทำให้เราสามารถที่จะพัฒนาและนำไปใช้ เพื่อที่เราจะเข้าใจตัวเอง รู้ว่าตัวเองต้องการอะไรในชีวิต และดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณค่ามีความสุข นอกจากนี้ เมื่อเราเข้าใจตัวเอง เราก็พร้อมที่จะเข้าใจผู้อื่น และเรียนรู้ได้ว่าทุกพฤติกรรมมีเจตนาดี ซึ่งจะช่วยลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันได้

2. สิ่งที่ได้รับจากบทความ “กฎ 5 ข้อของความสำเร็จของการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ (บทเรียนจากความจริง กับดร.จีระ)” ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ใน นสพ.แนวหน้า ฉบับ 6 พ.ย.53

บทความของ ศ.ดร.จีระ แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยตัวท่านเองเป็นผู้ที่ทำงานด้านนี้มาอย่างต่อเนื่องจนได้รับความไว้วางใจจากผู้บริหารและผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ทั้งของทางราชการและเอกชนให้มาเป็นผู้ให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญข้อหนึ่งที่จะทำให้การพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ประสบความสำเร็จ คือ CEO จะต้องเอาใจใส่และเห็นว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งมีค่า นอกจากนี้ ยังต้องเน้น HR ใหม่โดยไม่มอง HR เป็นแค่งานประจำ การทำงานเป็นทีม และให้ความสำคัญกับทุนแห่งความสุขมากกว่าเงิน การพัฒนาทุนมนุษย์จะทำให้ได้คนดีมาเป็นผู้นำ และจะสร้างความสำเร็จและความยั่งยืนให้กับองค์กร

มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับจิตใจพร้อมจะเป็นคนดี และมีความสามารถด้านต่าง ๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ (Being) ส่วนด้านใดจะแสดงออกมาหรือเกิดขึ้นมาได้ก็เมื่อถูกกระตุ้นจากสภาพแวดล้อมที่เป็นบุคคลที่เจอ และสภาพแวดล้อมที่เป็นวัตถุรอบตัว การที่เราจะค้นหา และกระตุ้นให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นมาได้ในตัวเราจะต้องใช้ความศัทธา ความเชื่อมั่นในตัวเอง ว่าเราทำสิ่งนั้นได้ (Self Trust) เมื่อเราเข้าใจว่าเรากำลังทำ กำลังอยู่กับสิ่งที่เป็นตัวตนของเรา เราจะทำได้ดีและมีความสุข

“Being” คือ ธาตุแท้ที่ซ่อนอยู่ภายใต้จิตสำนึกของเรา ซึ่งมีแง่ดีและแง่ลบ ซึ่งอาจถูกนำมาใช้ขึ้นอยู่สภาพแวดล้อมและโอกาส หากสภาพแวดล้อมและโอกาสเอื้ออำนวยเราก็อาจทำตามสิ่งที่เราใฝ่ฝัน หากเราสามารถปรับทัศนคติ รู้จักบริหารอารมณ์ มีมโนสำนึกที่ดี (positive thinking) เราก็จะมี being ที่ดี ซึ่งจะทำให้เรามีศรัทธาในตัวเรา และต่อผู้อื่น

Being เป็นธาตุแท้ที่ดีและอยู่ภายในจิตใจ หากเราสามารถค้นพบ Being และแสดงออกมาจะเป็นประโยชน์แก่ตนเอง เช่นเดียวกัน Self Trust ยิ่งหากทำสำเร็จตามที่สัญญากับตนเองยิ่งทำให้เกิดความศรัทธามากขึ้น

@ จากการอ่านหนังสือ HR. CHAMPIONS นั้น ทำให้ข้าพเจ้าตระหนักได้ว่า "คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร" ซึ่งปัจจัยที่จะส่งเสริมให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประสบผลสำเร็จได้นั้น ประกอบด้วย (1) คุณภาพของคนที่จะคัดเลือกเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในองค์กร (2) ผู้บริหารระดับสูง ที่ต้องมีความเชื่อว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สิ่งสำคัญ อีกทั้งต้องดำเนินการพัฒนาอย่างจริงจังอีกด้วย (3 ) ทัศนคติของฝ่าย HR ที่ต้องเข้าใจว่า การพัฒนาฝึกอบรมเป็นการลงทุนในระยะยาว มิใช่ค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไป (4) การปลูกฝังให้คนในองค์กรพัฒนาตนเอง

อย่างไรก็ดี หน่วยงานของข้าพเจ้ามีกรอบ แนวคิด วิธีการคัดสรรบุคคลเข้ามารับราชการ รวมถึงการพัฒนาและรักษาบุคลากรนั้น มีรูปแบบ ขั้นตอน และกฎเกณฑ์ที่ซับซ้อนและแตกต่างจากหน่วยงานอื่น ซึ่งบางครั้งอาจยังไม่มีความยืดหยุ่นเพียงพอ ทำให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรไม่ได้มองถึงความเป็น "ทรัพยากรที่มีคุณค่า" ของบุคคลเหล่านั้นที่ได้ผ่านการคัดเลือกเข้ามาในระบบแล้ว ก็จะส่งผลให้บุคคลเหล่านั้นค่อย ๆ เสื่อมสภาพ ขาดการกระตุ้น และแรงจูงใจ ซึ่งถ้ามีการปรับให้เกิดระบบ Career Part น่าจะช่วยทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานนอกกรอบอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

@ ความสัมพันธ์ของ Being และ Self Trust ===> “Being” คือ ธาตุแท้ที่ดีงามและติดตัวเรามาโดยซ่อนอยู่ภายใต้จิตสำนึก ซึ่งบ้างครั้งเราอาจไม่รู้ตัวเองเลยว่า บางสิ่งที่เรายึดมั่นเป็นธาตุแท้ของเรา เนื่องจากธาตุแท้อยู่ในส่วนที่ลึกที่สุดที่เราใฝ่ฝันอยากจะเป็น ขณะที่ “Self Trust” คือ ความศรัทธาในตนเอง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากความมั่นคงในหลักการที่ถูกต้อง (Integrity) เจตนา (Intent) ความสามารถ (capabilities) และ ศักยภาพในการทำให้สำเร็จ (Results) ของแต่ละคน ซึ่งทั้ง Being และ Self Trust นั้น เป็นความดีที่มีอยู่ในตัวเรา ซึ่งช่วยให้เรารู้ถึงตัวตนของเราว่าเราคือใคร และเมื่อเรารู้ว่าเราเป็นใครและมีจุดหมายในชีวิตแล้ว ทุกอย่างที่เราทำจะเป็นเรื่องที่มีความสุข

@ จากการอ่านบทความของท่าน อ.จีระ เรื่อง “กฎ 5 ข้อของความสำเร็จของการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์” ทำให้ข้าพเจ้าคิดได้ว่า องค์กรจะดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้น ผู้นำขององค์กรเป็นปัจจัยที่สำคัญ โดยต้องมองว่า “บุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด” และให้การสนับสนุนการพัฒนาทรัยากรขององค์กรอย่างเต็มที่

จากหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ต่อสังคม ซึ่งสาระสำคัญที่กล่าวถึง

๑. ความเชื่อและศรัทธาและความมุ่งมั่นเรื่องคน

๒. แนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในเรื่องปรัชญาของทรัพยากรมนุษย์ที่ว่า “คน ถือเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร” การพัฒนามนุษย์โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้พร้อมทั้งกลยุทธ์ในการสร้างความเป็นเลิศให้องค์กรจากแรงจูงใจ

๓. การขยายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ภาคประชาชน โดยเน้นการขยายผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ประชาชนโดยให้ประชาชนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

๔. การแสดงให้เห็นถึงการสร้างศักยภาพ การแข่งขันด้วยการพัฒนาทรัพยากรเป็นสำคัญ

นอกจากนั้น ยังมีการนำเสนอแนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนา “ทรัพยากรมนุษย์” คือ

๑. HR Architecture ใช้เป็นแนวทางในการมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสามารถนำปรับใช้ได้ทั้งในระดับประเทศ สังคม ชุมชน และในระดับองค์กร

๒. ทฤษฎี ๓ วงกลม คือ CONTEXT , COMPETENCIES และ MOTIVATION

๓. ทฤษฎีทุน ๘ ประการ (8 K’s) ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งควรจะมี

๔. ทฤษฎีทุนใหม่ ๕ ประการ (5 K’s new) ที่สำคัญสำหรับทรัพยากรมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งจะต้องตระหนักถึงทุนที่สำคัญเพิ่มขึ้นอีก ๕ ประการ

๕. ทฤษฎี 4 L’s เพื่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

๖. ทฤษฎี 2 R’s เพื่อการมองวิเคราะห์ปัญหา และกาเรียนรู้

๗. ทฤษฎี 2 I’s เพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน

๘. ทฤษฎี C&E เพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่

๙. ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข

๑๐. ทฤษฎี 3 L’s เพื่อการทำงานยุคใหม่

สำหรับการจะนำไปปรับใช้ในองค์กรนั้น เห็นว่า จากการที่ คน ถือเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาในทุกระดับชั้นอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อเป็นการเพิ่มทุนให้กับบุคลากรให้เกิดการเรียนรู้ และมีพลังในการปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงไปด้วยดี

คนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในองค์กร CEO ที่เข้าใจในบทบาทและตระหนักถึงความสำคัญโดยมีการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาคนในองค์กรทุกระดับ นับว่าเป็น CEO ยุคใหม่ที่น่ายกย่องและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับ CEO รุ่นต่อๆไป และเป็นการขยาย TRUST อีกด้วย การพัฒนาคนโดยการถ่ายทอดประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น เป็นการสร้างแรงบันดาลใจและปลูกฝังให้รักองค์กรตลอดไป

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ : HR CHAMPIONS

หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้สื่อสารให้เห็นถึงความเชื่อและแนวทางในการทำงานอย่างมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยหวังให้มนุษย์มีความรัก ความผูกพันกับงานในองค์กรในมุมมองของนักปราชญ์ โดยนำองค์กรที่ประสบความสำเร็จต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์มาเป็นต้นแบบ ซึ่งให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรมนุษย์อย่างมีคุณภาพ สร้างความศรัทธาให้เกิดต่อองค์กร ทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม และการมีทัศนคติและวิสัยทัศน์ที่เด่นชัดต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทำให้บุคลากรในองค์กรมีความเต็มใจที่จะทำงานโดยไม่คำนึงถึงผลตอบแทน แต่จะทำงานภายใต้แรงจูงใจหรือแรงบันดาลใจต่อหน้าที่ของตนเอง นอกจากนี้การใช้นโยบาย Open Door Policy ของผู้นำยังเป็นแรงกระตุ้นต่อความรู้สึกการเข้าถึงผู้นำได้ง่าย การดำเนินการตามแนวทางข้างต้นเปรียบเสมือนกับการทำงานแบบสายพันธุ์แท้ที่ทำจากใจ อันจะเป็นประโยชน์และนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ด้วยเหตุนี้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงนับเป็นการลงทุนที่ไม่ใช่ต้นทุนที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนล้วนให้ความสำคัญ เพราะผลสุดท้ายจะเกิดประโยชน์โดยรวมต่อองค์กร หากองค์กรใดนำไปปรับใช้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะการทำงานด้วยใจจะนำไปสู่การคิดริเริ่มใหม่ ๆ ที่มีแรงกระตุ้นต่อความตั้งใจจะทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย ภายใต้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

ทั้งนี้การที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี การเตรียมพร้อมด้วยทฤษฎี 3 วงกลม จึงเป็นสูตรสำหรับรับมือ โดยวงกลมที่ 1 เรื่อง Context คือ บริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ พูดถึงเรื่องสภาพแวดล้อมขององค์กรที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน วงกลมที่ 2 เรื่อง Competencies คือ สมรรถนะ หรือ ทักษะความสามารถของบุคคลในองค์กร วงกลมที่ 3 เรื่อง Motivation คือ การสร้างแรงจูงใจ ซึ่งมีทั้งแรงจูงใจที่เป็นตัวเงิน เช่น การขึ้นเงินเดือน และแรงจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น คำชมเชย การยกย่องให้เกียรติ การมอบหมายงานท้าทาย หากนำมาปรับใช้ในองค์กรจะเกิดแรงกระตุ้นต่อการทำงานที่มีความสุขอันเป็นประโยชน์ต่อองค์กร

ธาตุแท้ในตนเองนั้น เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาบนพื้นฐานความเป็นจริง เพราะเป็นการมองเข้าไปในตัวตนของเราและสะท้อนความดีที่เป็นความจริงออกมา ทั้งนี้ อาจใช้แนวคิดเรื่อง Self Trust และ Positive Thinking เป็นหลักในการพิจารณา โดยเมื่อนำมาพิจารณาแล้วพบว่า Being คือ ร่าเริง เป็นกันเอง อัธยาศัยดี

ธาตุแท้ (Being) เมื่อพิจารณาถึง Self Trust ที่เป็นจุดแข็งของตัวเองประกอบกับความคิดบวก หรือ Positive Thinking ทำให้รู้ว่าธาตุแท้ของเราที่เราเป็น คือ การรับฟังผู้อื่นและการมองโลกในแง่ดี

การค้นหาธาตุแท้ (Being) ของตนเอง อาจใช้ทฤษฎี Self Trust (ศรัทธาในตัวเอง) มาพิจารณาประกอบกับหลักคิดการมองโลกในแง่บวก (Positive Thinking) จะค้นพบข้อดีที่ตนเองมีอยู่ เช่น เป็นคนสนุกสนาน พูดเก่ง เป็นมิตร

ธาตุแท้ (BEING) คือ คุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวของคนทุกคน เช่น กล้าหาญ ขยัน ซื่อสัตย์ อดทน ใจดี ชอบเล่าเรียน ยอมรับความจริ ง ชอบช่วยเหลือคนอื่น ฯลฯ ซึ่งจะมีชนิดใดชนิดหนึ่งที่เด่นเป็นพิเศษ ถ้าเราสามารถค้นหาธาตุแท้ของตนเองได้พบ ก็จะรู้ว่าเราเป็นใคร มีความต้องการอะไร มีเป้าหมายของชีวิตอย่างไร เราก็สามารถจะผลักดันความปรารถนานั้นไปสู่ความสำเร็จได้

Self Trust คือ ความเชื่อมั่น ความศรัทธาต่อตนเอง เมื่อตั้งใจหรือสัญญาจะทำอะไรไว้กับตนเอง ต้องทำให้สำเร็จ Self Trust จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรามีจุดยืนของตนเอง เชื่ออะไรแล้วไม่วอกแวก รู้เป้าหมายว่าเราต้องการอะไร จะทำอะไร ความสามารถของเราเองมีอย่างไร และผลงานที่สามารถทำได้ ทั้ง Self Trust และ BEING จะช่วยให้เราไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการ เช่น เราต้องการเป็นนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียงระดับชาติ ถ้าหากเราค้นพบว่า เรามี BEING ชอบเล่นฟุตบอล และมีทักษะที่ดี เมื่อเราตั้งใจว่า จะต้องเล่นฟุตบอลให้เก่ง ติดทีมชาติ แล้วพยายามขวนขวยฝึกซ้อม หาผู้ฝึกสอนที่ดี พัฒนาฝีเท้าเข้าไปเล่นในระดับสโมสร ต่อไปก็จะมีชื่อเสียงระดับชาติได้ตามที่มุ่งหวัง

ครั้งหนึ่งที่ผมเข้ารับการอบรมวิชาชีพเฉพาะทางเมื่อก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรนี้ วันนั้นอาจารย์ผู้สอนได้หยิบเอาสิ่งของสิ่งหนึ่งออกมาจากถุงพลาสติกที่นักเรียนทั้งห้องก็เห็นว่าเป็นลูกชิ้นหมูไม้หนึ่ง ที่มีน้ำจิ้มราดจนเยิ้ม พร้อมกับตอบอาจารย์ไปตามที่เห็น อาจารย์ท่านเรียกนักเรียนคนหนึ่งออกไปหน้าห้อง พร้อมกับยื่นลูกชิ้นหมูไม้นั้นให้รับประทาน เพื่อนร่วมชั้นเรียนผมรับมาแล้วก็เอาเข้าปาก เพียงครู่เดียวก็รีบเอาไม้ลูกชิ้นนั้นออกจากปากพร้อมกับหัวเราะด้วยความขบขัน เพราะลูกชิ้นไม้นั้น แท้จริงเป็นเพียงปูนปลาสเตอร์ที่ทำให้คล้ายกับลูกชิ้นเท่านั้น

เนื้อหาส่วนหนึ่งของวิชานี้คือสอนให้เรารู้ว่าสิ่งที่เราเห็น หรือได้ยินได้ฟังมานั้น อาจจะไม่ใช่ข้อเท็จจริง จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ตามกระบวนการที่เชื่อถือได้เสียก่อน

เช่นเดียวกันกับข่าวของสื่อมวลชนที่วิพากวิจารณ์การแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันของ นรม. ในเชิงลบ โดยเปรียบเทียบกับผู้ประกาศข่าวของโทรทัศน์ช่องหนึ่งที่อาจารย์จิระ ได้หยิบยกมาเป็นกรณีศึกษาในครั้งนี้ ถ้าหากฟังโดยไม่ใช้วิจารณญาณก็อาจจะเกิดความรู้สึกคล้อยตาม แต่ถ้าหากฟังแล้วพิจารณาถึงสถานภาพของคนทั้งสอง จะเห็นว่าทั้งสองคนนั้น มีอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน ลักษณะการทำงานแตกต่างกัน ความรับผิดชอบต่ออำนาจหน้าที่แตกต่างกัน จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ ไม่ว่าจะพิจารณาในประเด็นใดก็ตาม

อย่างไรก็ตาม กรณีศึกษานี้ทำให้คิดถึงคำกล่าวของอาจารย์จิระ ที่ว่าคนไทยเราคิดไม่เป็น ซึ่งก็ดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ หากคนไทยเรารับฟังข่าวสารทางสื่อแล้วเชื่อโดยไม่รู้จักการใช้วิจารณญาณ และเห็นด้วยกับ ผศ.ธีะศักดิ์ กำบรรณารักษ์ ซึ่งร่วมประสิทธิประสาทความรู้ให้กับพวกผมให้ครั้งนี้ด้วย ท่านว่า "ฟังแล้วก็ปล่อยไป อย่าไปให้ความสำคัญกับข่าวในลักษณะนี้"


จากบทความ กฎ 5 ข้อของความสำเร็จของการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์

จากบทความความสำเร็จของการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ ของ ศ.ดร.จีระ ซึ่งเป็นแนวทางผลักดันให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ นั้นผู้นำองค์กรต้องมองเห็นความสำคัญของบุคลากรว่าเป็นทรัพยากรที่คุณค่า และให้ความสำคัญกับการพัฒนา ในส่วนของบุคลากรก็ควรมีความพร้อมที่จะรับการปรับเปลี่ยนแนวคิดด้าน HR เพื่อให้ทันสมัย สามารถต่อสู้กับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเมื่อทุกคนในองค์กรมีความพร้อมทางด้านทุนมนุษย์แล้ว ประสิทธิผลขององค์กรก็จะตามมาในรูปของผลงาน

CEO (Chief Executive Officer) คือ หัวหน้าคณะผู้บริหารระดับสูงหรือผู้บริหารสูงสุดของทุก องค์กร CEO จึงเป็นผู้นำ ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้ในทุกองค์กร โดยมียุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ขององค์กรที่ชัดเจนด้วย รวมทั้งต้องได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับ ตลอดจนทุกคนในองค์กรด้วย มีการบูรณาการงานภายในองค์กร การมอบอำนาจ มีการสร้างทีมงานที่ดี มุ่งมั่นและตั้งใจจริงที่จะทำงาน มีคุณภาพ การถ่ายทอดและสื่อสารให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจ ซึ่งขั้นตอนทุกอย่างเกี่ยวข้องกับคนในองค์กรเกือบทั้งสิ้น

จากการอ่านหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” สรุปประเด็นที่สำคัญได้ว่า คน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดขององค์กร ซึ่งถ้าผู้นำในองค์กรมีความเชื่อและศรัทธาในเรื่องทรัพยากรบุคคล และมีความมุ่งมั่น ความตั้งใจอย่างแท้จริงที่จะทำงานให้องค์กรบรรลุความสำเร็จ ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน ซึ่งถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญดูแลเอาใจใส่บุคคลเหล่านี้นับแต่วันที่พวกเขาเข้ามาทำงานจนถึงวันที่ครบวาระที่ต้องออกจากการทำงาน ดังนั้น ผู้บริหารต้องมีส่วนช่วยผลักดันและเปิดโอกาสให้บุคคลในองค์กรสามารถแสดงออกซึ่งศักยภาพที่มีอยู่ในตัวตนได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งต้องพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถต่าง ๆ ของพวกเขาเหล่านั้นโดยการปลูกฝังหรือเสริมสร้างเพื่อให้เกิดการเรียนรู้/การใฝ่รู้ตลอดเวลาและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาคนให้มีศักยภาพที่ยั่งยืนได้ต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จคือความศรัทธา ความจงรักภักดีและความมีวินัยของคนในองค์กร ดังนั้น ผู้นำที่ดีต้องยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่บุคลากรในองค์กรได้เกิดความไว้ใจ ความเชื่อถือ เคารพและศรัทธา ซึ่งความจงรักภักดีต่อองค์กรสามารถเกิดขึ้นได้ ด้วยการสร้างความรัก ความเมตตา ความเข้าใจ การยอมรับฟังความคิดเห็นต่าง ๆ การมีส่วนร่วม รวมถึงสัมพันธ์ภาพระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา หน่วยงานต่าง ๆ ให้บังเกิดขึ้นภายในองค์กร

-------------------------------------------------

สิ่งที่ได้รับจากการอ่านบทความ ศ.ดร.จิระ

Smart HR เป็นหน่วยงานสำคัญที่จะร่วมขับเคลื่อนให้องค์กรพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีให้เพิ่มประสิทธิภาพในมูลค่าของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ จะสำเร็จไปได้ด้วยการสนับสนุนจากผู้บริหารองค์กรที่จะต้องเล็งเห็นความสำคัญของทุนมนุษย์ และเชื่อมั่นว่า หากมีการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรแล้ว จะเป็นเครื่องมือสำคัญไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน

สิ่งที่ได้รับจากการอ่านบทความ ศ.ดร.จิระ

ในโลกปัจจุบันทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กรคือ ทุนมนุษย์ที่แต่ละองค์กรจะต้องพัฒนาให้มีศักยภาพรองรับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ โดยผู้บริหารจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ สร้างความภาคภูมิใจ และพัฒนาบุคลากรทั้งระบบภายในองค์กรไปพร้อมกัน

สิ่งที่ได้จากการศึกษาบทความเรื่องกฎ 5 ข้อของความสำเร็จของการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์

จากบทเรียนเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยครั้งนี้ นับเป็นปีที่หนักที่สุดปีหนึ่งเท่าที่ประสบมา หากผู้นำสามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง หรือได้มีการเตรียมแผนการป้องกันหรือช่วยเหลือบรรเทาผู้ได้รับความเดือดร้อนไว้เป็นอย่างดี ถึงจะป้องกันไม่ได้ตามที่ตั้งใจไว้ก็ตาม ก็น่าจะได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากประชาชนบ้างไม่มากก็น้อย ผู้ที่ไม่หวังดีจะดำเนินการในรูปแบบใดก็ย่อมจะไม่ได้รับการสนับสนุน สำหรับในกรณีตามบทความนี้น่าจะเป็นบทเรียนที่ดีบทหนึ่งให้แก่รัฐบาลนี้ หรือแม้แต่รัฐบาลในรุ่นต่อไป ไม่ว่าจะมาจากพรรคใดก็ตาม หากมีความรู้ความสามารถ ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และ สามารถนำพาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อผู้นำก็จะยั่งยืนและมั่นคง สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งซึ่งสามารถช่วยทำให้สถานการณ์ที่เลวร้ายกลับมาดีขึ้นได้ คือ สื่อต่างๆ เพราะในสถานการณ์ขณะนี้ควรหันหน้าเข้าช่วยเหลือกัน มากกว่าที่จะถือโอกาสมาซ้ำเติมใครบางคนเพราะยิ่งจะทำให้เกิดความแตกแยกมากกว่าที่จะเป็นผลดีต่อบ้านเมือง

สำหรับปัจจัยความสำเร็จเรื่องการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ คือ ผู้นำองค์กรจะต้องเอาใจใส่อย่างจริงจัง โดยเฉพาะ “คน”ซึ่งถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนา และส่งเสริมให้ไปสู่ความสำเร็จ โดยใช้แนวทางของ HR ซึ่ง CEO Smart HR และ Non – HR ต้องร่วมมือกันทำงานเป็นทีม มีการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด โดยอาจใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในทุกๆด้าน มิใช่ให้ความสำคัญกับเงินเพียงอย่างเดียว

สิ่งที่ได้รับจากการอ่านบทความ ศ.ดร.จิระ

การพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กร ต้องเกิดจากความตระหนักในคุณค่าของทุนมนุษย์ของ CEO ในองค์กรนั้น ๆ ซึ่งจะเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนแนวความคิดในการพัฒนา และกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนภายในองค์กร ด้วยการปรับเปลี่ยนทัศนคติ แนวความคิดเรื่องงาน HR ให้เข้ากับโลกยุคใหม่ที่มุ่งเน้น Competency ในด้านต่าง ๆ ควบคู่ไปกับ Ethic ผ่านกระบวนการสนับสนุนให้มีการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ

Self Trust เป็นความศรัทธาที่เกิดขึ้นในตัวเรา มีจุดยืน และเป้าหมายที่แน่นอน ที่จะต้องทำให้สำเร็จ ส่วน Being เป็นธาตุแท้ในส่วนลึกที่อยู่ในตัวเราซึ่งเป็นส่วนที่ดี อาจไม่รู้ตัว ถ้าสามารถค้นพบแล้วนำมาใช้อย่างถูกต้อง ถูกกาลเวลา จะเกิดผลดีเป็นอย่างมาก

กรณีศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำในการแก้ไขปัญหาของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกรณีของ นรม.อภิสิทธิ์ กับประธานาธิบดี

โอบามา นั้น หลักที่สามารถนำมาเทียบเคียงอธิบายได้คือ Self Trust และ Social Trust โดยในช่วงที่แต่ละท่านเข้ารับตำแหน่งล้วนแต่เกิดปัญหาวิกฤติของแต่ละประเทศ จึงเกิดความคาดหวังจากประชาชนในการแก้ไขปัญหา แต่หลังการบริหารงานผ่านไปโดยเฉพาะ นรม.อภิสิทธิ์ ยังสามารถบริหารงานได้แม้ในภาวะวิกฤติอีกหลายครั้ง ในขณะที่ผู้สนับสนุนยังคงเป็นคนกลุ่มเดิม ส่วนโอบามานั้นความนิยมจากผู้สนับสนุนลดลงอย่างรวดเร็วแม้จะบริหารงานได้ 2 ปี ซึ่งน่าเป็นข้อพิสูจน์เรื่อง Self Trust และ Social Trust ของผู้นำแต่ละคนได้

อรรถกร

สมพงษ์

- เปรียบเทียบการทำงานของ นรม.ไทย กับพิธีกรทางโทรทัศน์ช่องหนึ่ง ที่ลงพื้นไปช่วยเหลือผู้ถูกน้ำท้วม เปรียบเทียบก็เหมือนสินค้าที่วางขายบนห้างกับวางขายบนฟุตบาต จะมีลูกค้าคนละระดับ และคุณภาพดีมีความทนทานที่ต่างกัน ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ อย่าได้นำมาเป็นกระแสทำให้สังคมแตกแยก

- เปรียบเทียบบทบาทของ HR เก่าและใหม่ HR ใหม่เน้นที่คนต้องเรียนรู้ และถือว่าคนเป็นสินทรัพย์ขององค์กร ต้องให้ความสำคัญค่าใช้จ่ายในการพัฒนาคนถือว่าเป็นทุนไม่ใช่ค่าใช้จ่าย

BEING คือ ธาตุแท้ที่อยู่ในตัวของคนเรา ซึ่งในคนหนึ่งจะมีธาตุแท้ (จิตใต้สำนึกที่ดี) อยู่หลายอย่าง แต่จะมีบางอย่างโดดเด่นที่สุด และเตรียมพร้อมที่จะเจริญเติบโตหรือแสดงออกมาในพฤติภายนอกของคนคนนั้น ถ้าเราสามารถค้นหาธาตุแท้ของตนเองได้ เราก็สามารถจะผลักดันความปรารถนานั้นไปสู่ความสำเร็จได้

Self Trust คือ ความเชื่อมั่น ความศรัทธาต่อตนเอง อย่างไรก็ตาม ทั้ง Being และ Self Trust จะช่วยให้เรารู้ว่าเราคือใคร ซึ่งจะนำไปสู่การมีความเข้าใจตนเอง มีจุดมุ่งหมายในชีวิต และมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายในชีวิตที่เราตั้งไว้

กฎ 5 ข้อของความสำเร็จของการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ (บทเรียนจากความจริง กับดร.จีระ) เรื่องปัจจัยความสำเร็จเรื่องการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ เห็นด้วย CEO ผู้นำในองค์กรต้องเอาจริงในการเอาใจใส่และเป็นผู้นำที่มีความเข้าใจว่าคนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าที่สุด และต้องกล้าลงทุนในการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ อย่างต่อเนื่องไปในระยะยาว ต้องสามารถดึงเอาศักยภาพของเขาออกมาให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร และต้องทำควบคู่กับการที่จะให้เขามีเกิดแรงจูงใจ ความศัทธา ที่จะทำงานอยู่กับองค์กรตลอดไป

จากหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ซึ่งเป็นการสนทนาระหว่างคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา กับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ แนวคิดสาระสำคัญ คือ

แนวคิดของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

คือ ต้องมีการจัดระเบียบองค์กรอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงผู้บริหารในทุกระดับ การทำงานเป็นทีมและการทำงานแบบมีส่วนร่วม ในแบบ Learning Organization ด้วยทฤษฎี 4 L’s Village that Learn หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ - School that Learn โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ - Industry that Learn อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้ และ Nation that Learn ชาติแห่งการเรียนรู้

แนวคิดของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คือ การให้ความสำคัญกับคน เน้นถึงความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นสำคัญ การจัดระบบบริหารโดยการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน ด้วยแนวคิดทฤษฎี 4 L’s คือ Learning Methodology เข้าใจวิธีการเรียนรู้ - Learning Envitonmenty สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ - Learning Opportunity สร้างโอกาสในการเรียนรู้ และ Learning Community สร้างชุมชนการเรียนรู้ และใช้การมองความจริง(Reality) ที่ตรงประเด็น (Relevance) มาใช้ประกอบการเรียนรู้

4 L’s ของทั้ง 2 ท่านถึงแม้จะมีความแตกต่างแต่มีเป้าหมายเดียวกัน คือความสำเร็จขององค์กร โดยผู้บริหารต้องให้ความสำคัญและมีนโยบายที่ชัดเจนด้านบุคลากร การพัฒนาบุคลากรถือเป็นการลงทุนไม่ใช่ต้นทุน รวมทั้งต้องมีความเชื่อมั่นในคุณค่าของคนด้วย และการสร้างแรงจูงใจ ซึ่งจะทำให้คนมีความจงรักภักดีต่อผู้นำและองค์กร

"การสร้างศรัทธามันยาก ต้องทุ่มเทเสียสละ ใช้เวลาสะสมอันยาวนาน แต่การทำลายเพียงเสี่ยววินาที" จงสร้างศรัทธาในจิตใจตนเองเสียก่อน จึงสร้างศรัทธาให้คนอื่น

สรุปสิ่งที่ได้รับจากการอ่านบทความของ อ.จีระ คือ

- ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการพัฒนาส่งเสริมองค์กรในยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อสนับสนุนให้เกิดความสามารถในการคิดวิเคราะห์เป็น และการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม ตามทฤษฎีการสร้างฐานความรู้สู่มูลค่าเพิ่ม คือ การนำข้อมูล (Data) เพิ่มมูลค่าเป็นข่าวสาร (Information) เพื่อพัฒนาเป็นความรู้ (Knowledge) นำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) เพื่อวางแผนการแก้ปัญหา การคิดค้นสิ่งแปลกใหม่ ทั้งนี้ ในการพัฒนาทุนมนุษย์จะต้องดำเนินการให้มีพร้อมทั้ง Capability และ Acceptability ควบคู่กันไป

- เนื้อหาภายในหนังสือกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการเป็นผู้เรียนรู้ที่ดี (Good Learner) และได้ข้อสรุปที่ว่า หากจะเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพในโลกปัจจุบันจำเป็นต้องมีการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง สร้างการเรียนรู้ในสังคมแก่คนทุกระดับตั้งแต่ระดับรากหญ้าจนถึงชนชั้นนำเพื่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้องค์ความรู้ได้มีการเชื่อมโยง บูรณาการสร้างนวัตกรรมต้นแบบแห่งการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism)

จากหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

1. ประเด็นที่ได้จากการถ่ายทอดประสบการณ์จริงที่ยาวนานของผู้เชี่ยวชาญทั้งสองในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ทำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างจริงจังและมีความปรารถดีอย่างแรงกล้าที่ต้องการเผยแพร่ความรู้จากประสบการณ์โดยตรงให้ผู้ที่สนใจทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงเห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นรากพื้นฐานสำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าทันต่อยุคของโลกโลกาภิวัฒน์ ที่สมควรนำมาเป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี

2. จากประสบการณ์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของท่านผู้เชี่ยวชาญทั้งสองที่ผ่านมาอย่างมากมายทั้งในและต่างประเทศ ได้คิดค้นและสร้างแนวทิศทฤษฏีที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างตะวันตกและตะวันออก ซึ่งมีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าสามารถนำมาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาทรัพย์กรมนุษย์ขององค์กรได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะทฤษฏี 3 วงกลม คือ context competencies and motivation ทฤษฏี 3L’s และ 4L’s ซึ่งจะทำให้คนที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ทรงคุณค่าสามารถนำพาองค์กร ประชาชน และประเทศชาติให้มีความมั่นคง ปลอดภัย และมีความสุขอย่างยั่งยืนตลอดไป/

สิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”

-ประเด็นที่น่าสนใจคือ Competitive Advantage of Thailand ที่ประเทศไทยยังมีศักยภาพในเรื่องดังกล่าวไม่มากเพียงพอในโลกยุค Knowledge Base Economy ซึ่งเนื้อหาจากหนังสือดังกล่าวได้กระตุ้นให้ผู้อ่านได้รับรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของทุนมนุษย์ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งจะต้องปลูกฝังด้วยการสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ (Learning Organization) เพื่อเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) โดยการส่งเสริมการลงทุนด้าน Human Capital อย่างจริงจัง ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีผู้รู้ทั้ง 2 ท่าน ผลักดัน ส่งเสริม และลงมือปฏิบัติ อย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นกระแสการยอมรับจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ตลอดจนเวทีโลก ด้วยการยอมรับแนวคิดที่มีความเชื่อ ศรัทธาในระบบการเรียนรู้มากกว่าเน้นรูปแบบในการอบรมเชิงปฏิบัติการ และปฏิวัติแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องของแรงงานสัมพันธ์ มาสู่การบริหารจัดการ HR ในรูปแบบใหม่

-นอกจากนี้ ผู้นำองค์กรต่าง ๆ จะต้องพิจารณาแนวโน้มในอนาคตว่าทิศทางของโลกอนาคตจะเป็นไปอย่างไร โดยพิจารณาตัดสินใจโดยการวิเคราะห์แบบการคิดเชิงระบบ เน้นให้เกิดองค์กรที่มีการทำงานเป็นทีม สร้างผู้นำ สร้างความจงรักภักดี การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และนวัตกรรมต่อองค์กร สร้างบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อพัฒนา Knowledge worker ที่มีประสิทธิภาพและคงไว้ซึ่งคุณธรรม ค่านิยมและวัฒนธรรมไทย

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ : HR Champions

หนังสือเล่มนี้เป็นการกล่าวถึงบทสนทนาที่ว่าด้วยแนวคิดและปรัชญาในการพัฒนา “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” (HR Champions) ของนักคิดและนักปฏิบัติสองท่านต่างวัย หรือมีวัยที่ต่างกัน แต่มีความคิดก้าวหน้าและก้าวไกลที่เหมือนกัน คือ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ โดยหนังสือกล่าวถึงเนื้อหาที่ทั้งสองท่านให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ เป็นอย่างมาก โดยถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญสูงสุดที่ควรต้องมุ่งพัฒนาตลอดเวลา และต้องหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ได้รับการศึกษาพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มองเห็นคุณค่าความสำคัญของมนุษย์ว่า ไม่ได้ต้องการเฉพาะผลตอบแทนเพียงแค่เงินตรา แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางด้านจิตใจควบคู่กันไปด้วย มนุษย์จะเป็นทรัพยากรที่สำคัญได้จึงควรต้องมีความรู้ มีความสามารถ และมีทักษะ จึงจะถือว่ามีศักยภาพ รวมถึงความรู้นั้นจะต้องมีความทันสมัย และนำไปใช้ได้จริง ในขณะเดียวกันผู้บริหารหรือผู้นำองค์กรก็ควรจะสร้างวัฒนธรรมที่มุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง โดยที่สำคัญควรเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรให้เกิดความรักความผูกพันต่อองค์กร พร้อมที่จะนำพาองค์กรเดินทางในทิศทางที่ถูกต้อง และประสบความสำเร็จได้ดังเช่นอดีตที่ผ่านมา

* หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” บทสนทนาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมุษย์ ของนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค (คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์) เป็นหนังสือที่มีคุณค่า ซึ่งได้นำเสนอบทบาทที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ต่อสังคม โดยเนื้อหาในหนังสือจัดเป็น 5 ช่วง หลัก ๆ คือ

- ช่วงที่ 1 เรื่องของสองแชมป์ : กล่าวถึงความเชื่อและศรัทธาและความมุ่งมั่นเรื่องคนที่ตรงกันของทั้งสองท่าน รวมถึงได้เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงานของแต่ละท่าน ซึ่งมีคุณค่าให้ข้อคิดโดยเฉพาะในด้านการทำงานที่เกี่ยวกับคน ทำให้เข้าใจถึงแนวทางในการทำงานของทั้งสองท่าน

- ช่วงที่ 2 คัมภีร์คนพันธุแท้ : บอกถึงแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดขององค์กร การพัฒนามนุษย์มุ่งเน้นที่การพัฒนา และได้มอบกลยุทธ์ในการสร้างความเป็นเลิศให้แก่องค์กร อาทิ เรื่องความเชื่อ..ศรัทธา และหลักการ / ทฤษฎีเกี่ยวกับทุนมนุษย์ (ทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s) ซึ่งสามารถนำไปประยุคต์ใช้ได้ในการทำงานได้

- ช่วงที่ 3 จักรวาลแห่งการเรียนรู้ : เน้นการพัฒนาคนให้เป็น Good Learner มีความสามารถในการเรียนรู้ และเรียนรู้ตลอดเวลา

- ช่วงที่ 4 สูตรเพิ่มผลผลิต : กล่าวถึงกรณีศึกษาของทั้งสองท่านที่มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาของไทยเพื่อความเป็นเลิศ ซึ่งเป็นการมองภาพกว้างขึ้นมุ่งพัฒนาทรัพยากรบุคคลในระดับประเทศ

- ช่วงที่ 5 นิยาม “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ : สรุปความเชื่อและแนวทางในการทำงานของทั้งสองท่านที่มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรบุคคล

* สิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือ“ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” คือ ได้รับความรู้จากประสบการณ์การทำงานด้านทรัพยากรบุคคลของทั้งสองท่าน ซึ่งได้แง่คิดจากการทำงาน และได้เครื่องมื่อ หลักวิธีการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมุนษย์ในองค์กรได้จริง อีกทั้งยังสามารถนำไปต่อยอดการทำงานในชีวิตจริงได้เป็นอย่างดี

หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ดีต่อ สขช.อย่างไร

หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นหนังสือที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรและประเทศชาติในปัจจุบัน เพราะถือว่าเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้ที่มีความรู้และมุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าจะมีประโยชน์ต่อสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวิธีคิดในเรื่อง “คน” หรือทรัพยากรบุคคล ว่าเป็นสมบัติที่มีค่าของ สขช. ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่และพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องเท่าเทียมหรืออาจจะต้องมากกว่าทรัพยากรอื่นๆ เนื่องจากการทำงานในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้งานมีความยากและสลับซับซ้อนมากขึ้น หากบุคลากรของ สขช.ก้าวตามไม่ทันโลก คงไม่สามารถไปสู่เป้าหมายที่จะนำพาความมั่นคงสงบสุขมาสู่ประเทศชาติและประชาชนได้ ซึ่ง ศ.ดร.จีระ ได้แนะนำให้มีความเชื่อความศรัทธาในระบบการเรียนรู้ (Learning) มากกว่าการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Training) อย่างที่เคยเป็นมา ซึ่งการเรียนรู้ต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และยังสามารถนำทฤษฎีที่ทั้งสองท่านได้สร้างจากประสบการณ์การทำงาน ทั้ง 4 L’s 8K’s 3 วงกลม มาปรับใช้ รวมถึงการปลูกฝังทัศนคติที่ว่า คนที่นำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จจะต้องทั้งเก่งทั้งดี ไม่ใช่เก่งอย่างเดียว เนื่องจากงานของ สขช. หากนำไปใช้ในทางที่ดีจะเกิดประโยชน์ หากนำไปใช้เพื่อผลประโยชน์จะเกิดอันตรายต่อประเทศชาติได้

หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ : HR. CHAMPIONS” ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าที่ปลุกกระแสเกี่ยวกับ “คน” ให้กลับมาอยู่ในความสนใจอีกครั้ง หลังจากที่ได้ถูกปล่อยปละละเลยมาเนิ่นนาน เนื่องจากในอดีตศาสตร์ว่าด้วย “ทรัพยากรมนุษย์” นั้น ถือเป็นเรื่องยาก และถูกมองข้ามไป แต่ท่าน ศ.ดร.จีระฯ กลับยืนหยัดยึดมั่นที่จะแสวงหาและให้ความรู้เรื่องทรัพยากรมนุษย์มาโดยตลอดจนกลายเป็น Brand ของ HR ในประเทศไทย และอาจจะของโลกด้วย หนังสือเล่มนี้บรรจุไปด้วยความความรู้มากมายที่มุ่งส่งเสริมพัฒนาผู้อ่านให้เป็นบุคลากรที่คุณค่าและมีคุณภาพขององค์กร ตั้งแต่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงลงมาถึงบุคลากรทุกระดับ ผลงานของ ดร.จีระฯ ชิ้นนี้ มีความโดดเด่นมาก แสดงให้เห็นถึงความปราดเปรื่องทางปัญญา และความเฉียบคมทางความคิด เนื่องจากทฤษฎี หรือหลักการด้าน HR ของท่านได้สอดแทรกหลักธรรมทางพุทธศาสนาเข้าไป ซึ่งนับเป็นการปรับทฤษฎีสากลให้เข้ากับสังคมไทยมากขึ้น อีกทั้งยังได้รับการยอมรับในประเทศต่างๆ ว่าเป็นศาสตร์ที่มีความทันสมัย มีความสอดคล้องกับสถานการณ์และยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป

หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ให้ความสำคัญกับคนว่าเป็น “ทรัพย์สินหรือทรัพยากรมนุษย์” ที่มีค่าที่สุดขององค์กร เนื่องจากโดยแท้จริงแล้วคุณภาพของ “คน” กับ “การเพิ่มผลผลิต” นั้น ล้วนเป็นความสัมพันธ์ที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบ ผู้นำองค์กรจึงควรดูแลเอาใจใส่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาคนอย่างจริงจัง สม่ำเสมอ และเป็นระบบ โดยผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ฝึกสอน และพี่เลี้ยง พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลา เพื่อให้เขาสามารถเรียนรู้ และสามารถปลดปล่อยความรู้ความสามารถออกมาอย่างเต็มที่ ด้วยการส่งเสริมการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม สนับสนุนให้มีการศึกษา และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (ตามทฤษฎี 3 ต ของท่าน ดร.จีระฯ เกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต) ซึ่งการเรียนรู้นั้นสามารถทำได้ด้วยการปฏิบัติจริง เพราะการปฏิบัติจะซึมซับเข้าไปในจิตใจทำให้เกิดความรู้จริงและติดตัวไปได้นาน และจะต้องมีหัวใจให้กับสิ่งนั้นอย่างเต็มที่ มีศรัทธาและความเชื่อต่อสิ่งที่เราจะทำอย่างไม่สั่นคลอน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงผลักดันไปสู่ความสำเร็จ นอกจากนี้ ยังชี้ให้เห็นว่าการสอนให้คนรู้หนังสือในเรื่องศาสตร์ต่างๆ เป็น Educated person (คนที่มีการศึกษา) นั้นสำคัญก็จริง แต่การทำให้คนมี Educated mind (คนที่มีจริยธรรม) สำคัญกว่า เนื่องจากคนที่มีการศึกษาไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีจริยธรรม แต่คนที่มีจริยธรรมจะสำคัญมากกว่าคนที่มีการศึกษา เป้าหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะให้บรรลุสู่การเป็นคนมีจริยธรรมนั้นเป็นเรื่องยาก แต่คนที่มีการศึกษาเราสามารถพัฒนาให้มีจริยธรรมได้ สำหรับในเรื่องของ “คนเก่ง – คนดี” นั้น เห็นว่าคนที่สามารถพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จจะต้องทั้งเก่งทั้งดี ไม่ใช่เก่งอย่างเดียว (เก่ง 4 ดี 4 ได้แก่ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน ส่วนดี 4 ได้แก่ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม)

สิ่งที่ได้จากการอ่าน HR Champion สามารถนำมาปรับใช้ในการพัฒนาด้าน HR ขององค์กรคือ

1. ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ซึ่งถือเป็นทุนมนุษย์สำหรับ

องค์กร

2. การสร้างวัฒนธรรมองค์กรโดยตระหนักว่า “คน” เป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด และควรสร้างแรงจูงใจแก่บุคคลากรในองค์กร

3. มีแนวทางในการปฏิบัติที่สามารถสร้างผู้นำที่ดีได้ เช่น เน้นการทำงานเป็นทีม การสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ร่วมงาน จะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

สิ่งที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”

1. อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ และนายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา มีมุมมองเหมือนกันคือเห็นว่าคนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร งานจะสำเร็จได้ก็ด้วยคน ดังนั้น ทั้งสองท่านจึงเห็นความสำคัญที่จะต้องมีการพัฒนาคนให้มีความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้น โดยการให้การศึกษา และการฝึกอบรม ทั้งนี้ การพัฒนาคนจะต้องทำอย่างครบวงจร และผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนและพี่เลี้ยง เพื่อพัฒนาลูกน้องอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ลูกน้องปล่อยความรู้ความสามารถออกมาเต็มที่

2. องค์กรที่ประสบความสำเร็จ จะให้ความสำคัญกับคน ผู้บริหารจะมีวิสัยทัศน์ในการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ การสร้าง การพัฒนา การเก็บรักษา และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรมนุษย์ วิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่นำเสนอ มีหลายวิธี เช่น การจัดฝึกอบรมให้กับสมาชิกทุกระดับ, การสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ , การสร้างค่านิยมขององค์กร เช่น มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์ อุทิศตัวต่อองค์กร จงรักภักดีต่อองค์กร การเป็นคนเก่ง คนดี , การให้โอกาสในการทำงานกับลูกน้องที่มีความรู้ความสามารถ , การใช้หลักความรู้ความสามารถในการรับคนเข้าทำงาน, การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน, การให้โอกาสด้านการเรียนรู้ เช่น ด้านภาษา เป็นต้น

3. ผู้นำองค์กรที่จะพาองค์กรประสบความสำเร็จ ต้องมีความรู้ ความสามารถ เป็นคนเก่ง คนดีเทคนิควิธีการที่นำมาใช้เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ เช่น สร้างความสัมพันธ์แบบพี่-น้อง เพื่อทำให้เกิดความอบอุ่นในการทำงาน ,มีการทำงานเป็นทีม มุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง เอาใจใส่ดูแลทุกข์สุข ให้เกียรติ รับฟังปัญหา มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความคิดริเริ่ม มีเครือข่ายกว้างขวาง เข้าถึงคนในองค์กรทุกระดับ และสร้างจุดร่วมเพื่อให้มีความภาคภูมิใจ ความศรัทธาในองค์กร

4. นอกจากนี้ ยังได้แนะนำทฤษฏี 3 วงกลม ซึ่งเป็นแนวคิดเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ , ทฤษฏีทุน 8 K’s ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ทฤษฏีทุน 5 K’s สำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ และทฤษฏี 4 L’s เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเมื่อคนได้รับการพัฒนาตามแนวทางนี้แล้ว องค์กรก็จะประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการ

5. จากความรู้ที่ได้รับ เห็นว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรได้ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรและคนในองค์กร คือ การพัฒนาคนทุกระดับโดยการฝึกอบรม, การสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี การสร้างความภาคภูมิใจ ความศรัทธาในองค์กร , การให้โอกาสคนที่มีความรู้ความสามารถ การเอาใจใส่ ดูแลทูกข์สุข มีความสัมพันธ์แบบพี่น้องในการทำงาน เป็นต้น

หนังสือ “ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ” (HR Champions)

การอ่านหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” (HR Champions) ได้บอกเล่าความเป็นมาและเส้นทางการทำงานและความก้าวหน้าในอาชีพการทำงานของ ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมถ์ และ ท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่ให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์ โดยทั้งสองท่านได้มองเห็นคุณค่าของบุคลากร ที่ต้องเป็นคนดีและเป็นคนเก่งในเวลาเดียวกัน ซึ่งจากผลงานของท่านที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า เป้าหมายขององค์กร หรืองานที่รับผิดชอบจะสำเร็จได้ก็เพราะ “ คน ” คุณค่าของคนสามารถพัฒนาให้เพิ่มขึ้นได้ จะต้องมีความเชื่อมั่น ศรัทธา และความรัก ต่อองค์กรที่ทำงานอยู่ และจะต้องใส่ความรู้และคุณธรรมควบคู่ไปพร้อมกันอย่างต่อเนื่อง โดยการใช้ทฤษฎีและองค์ความรู้ต่างๆ ในหลายๆด้านเข้ามาประกอบกัน

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ได้รับจากการอ่านหนังสือฉบับนี้ เห็นว่าท่าน ศ.ดร.จีระ และ ท่าน พารณ เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากบุคคลสำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศหลายท่าน เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์มากมาย แต่ในปัจจุบันทั้ง 2 ท่าน ยังคงหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ และ ยังนำไปปฏิบัติ ถ่ายทอด ให้แก่ผู้สนใจและลูกศิษย์ของท่านอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่ผมกลับสนใจและศรัทธาในตัวท่านทั้งสองมากขึ้น เนื่องจากว่า กว่าที่ท่านจะได้มายืนในจุดนี้ ท่านจะต้องใช้ความมานะพยายาม ความอดทน มีความยึดมั่นแน่วแน่ที่จะไปให้ถึงเป้าหมายที่ต้องการ แม้จะเป็นเวลาหลายปี ที่ร่วมกันต่อสู้ในแนวทางดังกล่าว จนเป็นที่ยอมรับในความสามารถ ดังคำกล่าวที่ว่า “ กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว ” นับเป็นความโชคดีของผมซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่มีโอกาสได้เรียนรู้จากท่านศ.ดร.จีระ โดยตรง และท่านได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของท่านที่มีอยู่อย่างมากมายโดยไม่ปิดบังอำพรางแต่อย่างใด และผมคิดว่าจะได้นำความรู้ที่ได้รับจากท่านไปปรับใช้ในการทำงานเพื่อประเทศชาติและองค์กรต่อไป

จากการอ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ สรุปประเด็นที่สำคัญได้ว่า

1.ทราบถึงความมุ่งมั่นตั้งใจ ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ซึ่งทั้งสองท่านมีควารมแตกต่างกัน คือวัยต่างกัน การศึกษาต่างกัน ส่วนที่เหมือนกันคือ ไม่ได้สำเร็จการศึกษาด้านทรัพยากรมนุษย์โดยตรง แต่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และทั้งสองท่านเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในด้านการบริหารองค์กรที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย คือ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย และ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

2. คน เป็นทรัพยากรสำคัญที่สุดขององค์กร ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาคน ต้องพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาคนให้มีศักยภาพ

3. ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้บุคคลในองค์กรสามารถแสดงออกถึงความรู้ ความสามารถได้อย่างเต็มที่

4. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จคือความศรัทธา ความมีวินัยความซื่อสัตย์ของคนในองค์กร

5. ผู้นำที่ดีต้องมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่บุคลากรในองค์กร ซี่งจะทำให้เกิดความเชื่อถือ เคารพ ศรัทธา และความภักดีต่อองค์กร

หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ เป็นคู่มือสำหรับบุคคลหรือองค์กรที่เห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์เช่นเดียวกับนายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เป็นผู้นำทางความคิด ผู้บุกเบิก และปฏิบัติ เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

จนทำให้องค์กรของบุคคลทั้งสอง (เครือซิเมนต์ไทย สถาบันทรัพยากรมนุษย์ และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ) เป็นผู้นำทางด้านนี้จวบจนถึงปัจจุบัน

แนวคิดการพัฒนา HR เครือซิเมนต์ไทย เน้นความเชื่อมั่นในคุณค่าของคน พนักงานคือคนในครอบครัว และบุคคลของบริษัทมีค่า

ทั้งราคาและคุณค่า โดยลงทุนสูงมาก การพัฒนา HR จะทำอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาทุกระดับตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงผู้บริหาร ส่วน ของ ดร.จีระ จะใช้ทฤษฎีต่าง ๆ อาทิ 3 วงกลม ทุน 8 ประการ 4’s และ 2 R’s ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์

การนำมาใช้สำหรับหน่วยงานคงต้องใช้ระยะเวลาในการเผยแพร่ให้ผู้บริหารทุกระดับ ตระหนักถึงความสำคัญที่จะต้องพัฒนา HR เพื่อรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้สามารถทำงานให้บรรลุยุทธศาสตร์ขององค์กร ขณะเดียวกันต้นทุนในการพัฒนา HR มีค่าใช้จ่ายสูง เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน รวมทั้งการพัฒนาจะกระทำอย่างต่อเนื่องและตลอดไป

สมพงษ์

จากการอ่านหนัง ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ซึ่งเป็นหนังสือที่มีคุณค่า ที่ท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมถ์ ได้บันทึกจากประสบการณ์จริงจากการทำงานด้านบริหารงานบุคคล ในขณะที่องค์กรต่างๆ ไม่เห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ โดยเห็นมนุษย์เป็นเพียงต้นทุนของสินค้าที่ผลิตได้เท่านั้น แต่ท่านทั้งสองจุดประกายว่ามนุษย์เป็นสินทรัพย์ที่มีค่าขององค์กร

มนุษย์ยิงอยู่นานเมื่อได้รับการฝึกผล มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ก็ยิ่งมีมูลค่าเพิ่มยิ่งขึ้น ต่างกับเครื่องจักร เครื่องยนต์ ยิ่งอยู่นานมูลค่ายิ่งลดลง มนุษย์ยิ่งอยู่ในองค์กรยิ่งนานยิ่งมีความผูกพันรักองค์กร มีจงรักษ์ภักดีต่อองค์กร มีประสบการณ์ในการทำงานมีการถ่ายทอดสู่คนต่อๆ ไป มี่ความผูกพันธ์เป็นเครือญาติ

สาระสำคัญของหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ของอาจารย์พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา กับ ดร.จิระ หงศ์ลดารมภ์ คือ การอธิบายให้เห็นถึงความสำคัญของคนที่มีค่าที่สุดในองค์กรเมื่อเปรียบเทียบกับทรัพยากรทางการบริหารทั้งหมด เพราะความมั่งคงและความเจริญก้าวหน้าขององค์กรเป็นผลมาจากการบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resources) ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งต่างจากความคิดเดิมๆ ที่ว่าคนเป็นเพียงต้นทุนการผลิต

ดังนั้นเมื่อคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจัยการผลิต จึงต้องมีการพัฒนาบุคลากรหรือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีการพัฒนาบุคลากรที่นำมากล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ มี 2 ทฤษฎี ประกอบด้วย</p>

1. ทฤษฎี 4 L’s ของอาจารย์พารณ ประกอบด้วย 1) Village that Learn : หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ 2) School that Lean : โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ 3) Industry that Learn : อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้ และ 4) Nation that Lean : ชาติแห่งการเรียนรู้

2. ทฤษฎี 4 L’s ของอาจารย์จิระ ประกอบด้วย  1) Learning Methodology : เข้าใจวิธีการเรียนรู้ 2) Learning Environment : สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ 3) Learning Opportunities : สร้างโอกาสในการเรียนรู้ และ 4) Learning Communities : สร้างชุมชนการเรียนรู้

ทฤษฎีทั้งสองแม้จะเรียกชื่อแตกต่างกัน แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ นำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อมุ่งสู่ความเลิศเหมือนกัน และได้นำไปใช้ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทั้งในภาคเอกชนและภาคราชการหลายแห่ง อาทิ บริษัทปูนซีเมนต์ไทยจำกัด (มหาชน) ซึ่งนับได้ว่าเป็นบริษัทเอกชนที่มีชื่อเสียงแพร่หลายในด้านการบริหารงานบุคคล



หนังสือ "ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้"

เป็นหนังสือที่มีคุณค่าอย่างมาก ว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย จากประสบการณ์ของอาจารย์พารณฯและอาจารญ์จีระฯ สองนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค ที่มีอุดมการณ์ไปในแนวทางเดียวกันว่า "คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร" ท่านทั้งสองได้มีความเชื่อและเผยแพร่แนวความคิด ทั้งความรู้สู่สังคมเป็นคนแรกๆ ทำให้ทุกคนหันมาสนใจในการพัฒนาคนว่าสามารถสร้างผลผลิตให้กับองค์กร การพัฒนาคนจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถแข่งขันในสังคมโลกยุคใหม่ยุคโลกาภิวัฒน์ได้ การพัฒนาคนจะต้องพัฒนาทั้งความรู้ ความสามารถ ควบคู่กับการให้มีคุณธรรมและจริยธรรม หรือให้เป็นมนุษย์ที่มีทั้งความเก๋ง ความดี และมีความสุข ดังเช่น เก่ง 4 ดี 4 คือ เก่ง 4 ได้แก่ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน ส่วน ดี 4 ได้แก่ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม ดังที่ท่านอาจารย์พารณได้ให้ไว้ที่ปูนซีเมนต์ไทย อาจารย์พารณฯ ยังให้ความสำคัญและความรักความเมตตาดูแลห่วงใยผู้ใต้บังคับบัญชา เสมือนคนในครอบครัว นอกจากนี้ อาจารย์จีระ ได้เสนอทฤษฏี 4 L’s (Learning methodology, Learning environment, Learning opportunity, Learning community) ทฤษฎี 3 วงกลม ทฤษฎี 2 R's ทฤษฎี 2 I's ทฤษฎี 3 L's เพื่อการทำงานยุคใหม่ ส่วนอาจารย์พารณฯ ได้กล่าวถึง การเรียนรู้ จะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน ในเวทีระดับโลก Global Citizen ต้องให้มีความคล่องแคล่วในเรื่องภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี และมีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดเวลา และเรียนรู้ตลอดชีวิตคนไทยจะสู้คนทั้งโลกได้ การบริหารคนต้องเน้นเรื่องความเชื่อมั่นศรัทธา ในระบบการเรียนรู้มากกว่า จะสามารถเพิ่มผลผลิตได้อย่างยั่งยืน

จากการศึกษาเรียนรู้จากงานเขียน ประการณ์ของอาจารย์ คน เป็นทรัพยากรซึ่งต้องมีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถและจะต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่ไปด้วย จะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต รู้อะไรรู้ให้จริง และสามารถนำความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ทั้งการทำงาน และในชีวิตประจำวันของเรา

สรุป Learning Forum หัวข้อ โลกาภิวัตน์…เทคโนโลยี และผลกระทบต่อการทำงานของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โดย ดร.เฉลิมพล เกิดมณี ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2553

 

  • การเปลี่ยนแปลงเกิดจากการกระตุ้นจากเทคโนโลยี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม

 

  • ประเทศไทยเราอยู่อันดับที่ 36 ในด้านเศรษฐกิจของโลก ซึ่งตกลงมาจากเดิมเรื่อยๆ

 

  • ในการพัฒนาที่ยั่งยืน คุณภาพมนุษย์สำคัญที่สุด

 

  • ยุคต่างๆของประเทศไทยรอดพ้นด้วยเทคโนโลยีในยุคต่างๆ

 

  • เทคโนโลยีนำมาใช้ในด้านต่างๆเช่น การทหาร การเมืองและเศรษฐกิจ

 

  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้ปรับปรุงพันธุ์พืชได้เร็ว ทำให้ภาวะการขาดอาหารของโลกหมดไปจากมนุษย์ได้

 

  • ขณะนี้มีการศึกษาพันธุกรรม มียีนดีหรือยีนชั่วกี่เปอร์เซ็นต์

 

  • เมื่อเราเข้าใจรหัสพันธุกรรม ก็ช่วยเรื่องสุขภาพ หมอจะรูดบัตรว่ามีโรคพันธุกรรมไหม แล้วออกแบบยาให้เหมาะสม

 

  • IT เก็บข้อมูลพันธุกรรม มีการทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

  • นาโนเทคโนโลยีมาพิสูจน์เรื่องสิ่งแวดล้อม

 

  • ฟิสิกส์ เคมี และชีวะจะมาผสานเป็นหนึ่งเดียวอธิบายสิ่งต่างๆในเชิงนาโนเทคโนโลยี
  • สำนักข่าวกรองต้องเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของคน

 

  • มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า น้ำมนตร์นำไปรดต้นไม้ได้งอกงามดี น้ำมันพรายมีฮอร์โมนกระตุ้นทำให้เซลล์อ่อนวัย

 

  • อเมริกาผลิตถั่วเหลืองด้วยเทคโนโลยี GMOs
  • GMOs ยังเป็นเทคโนโลยีแบบสุ่ม ยังไม่แน่นอน
  • GMOs อาจมีผลกระทบในสิ่งแวดล้อม

 

  • การตัดต่อยีนให้มะเขือเทศเขียว นำมาใช้กับหนูทำให้อายุยืนกว่าเดิม 3 เท่า มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้คนเป็นหนุ่มสาวสองพันปี

 

  • ความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้น พลังงานใต้พิภพจะหมดโลกในอีก 30 ปี คนจะหาพลังงานทางเลือก เช่น นิวเคลียร์ ฝรั่งเศสผลิตพลังงานนิวเคลียร์ให้ยุโรปใช้  ญี่ปุ่นใช้พลังงานไฮโดร

 

  • อเมริกาสกัดแอลกอฮอล์จากข้าวโพดมาทำเป็นพลังงาน

 

  • โลกไม่ขาดพลังงานแต่มีการซ่อนไว้ในสิ่งต่างๆของโลก

 

  • จากแผนที่โลกใหม่ ภาคใต้ของไทยหายไป ภาคอีสานและตะวันออกหายไปบางส่วน เนื่องจากน้ำทะเลขึ้น ญี่ปุ่นกับฟิลิปปินส์หายไปหมด จีนหายไปครึ่งประเทศ

 

  • ไทยควรเพิ่มพื้นที่ระบายน้ำให้ได้เร็วขึ้น เช่นลอกคลอง

 

  • ไทยมีเงินสำรองคงคลังมาก ค่าเงินแข็งมาก ภัยธรรมชาติทำให้ขายของไม่ได้ทั้งในและต่างประเทศ

 

  • สำนักข่าวกรองควรสนใจข้อมูลชี้นำความมั่นคงของประเทศ ต้องสนใจด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมด้วย

 

  • ปัญหาหลักของประเทศไทยคือ ความมั่นคงของรัฐบาล ความเสี่ยงต่อการเกิดรัฐประหาร ความมั่นคงในนโยบาย ความไม่มีประสิทธิภาพต่อระบบบริหารงานราชการ การคอรัปชั่น และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

 

  • ไอน์สไตน์บอกว่า อัจฉริยะสร้างได้

 

  • ในทางวิทยาศาสตร์บอกว่า มนุษย์มีพันธุกรรมไม่ต่างกัน แต่สภาพแวดล้อมทำให้พันธุกรรมทำงานต่างกัน

 

  • ทางวิทยาศาสตร์บอกว่า กระดูกหน้ามีการพัฒนาในช่วงที่ต่างกัน คนคางสั้นแสดงว่าตอนเด็กไม่ค่อยมีอันจะกิน

 

  • การที่โอกาสจะมามาจาก
  • Inspiration แรงบันดาลใจ แรงปรารถนา แรงอาฆาต ถ้าแรงมากมันจะติดตัวไปตลอดชีวิต ความดีความชั่วฝังอยู่ในจิต ผลกระทบจะแรงเมื่อคนสำนึกได้
  • Imagination ความฝัน
  • ทั้งสองอย่างทำให้ไปสู่เป้าหมาย ต้องหาตนเองให้เจอ ทำในสิ่งที่ตนถนัด ส่งแรงปรารถนาให้ถูกจุด ก็จะไปถึงเป้าหมายได้เร็ว

 

  • ประเทศไทยยังขาดโอกาสทางการศึกษาอยู่มาก

 

  • ลีกวนยูสำรวจประเทศสิงคโปร์ มีทรัพยากร ภูเขา น้ำทะเล คน จึงพัฒนาคน 15 ปี ตั้งด่านเก็บค่าเรือนำเงินมาพัฒนาคน

 

  • มนุษย์มีสมอง 3 ชั้น
  • แกนสมอง สมองของสัตว์ดึกดำบรรพ์ เน้นอยู่รอด
  • สมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เกี่ยวกับเรื่องอารมณ์
  • สมองการคิด มีการเชื่อมโยง

 

  • สมองแบ่งเป็นซีกซ้าย (วิทยาศาสตร์) และขวา (ศิลปะ)

 

  • มนุษย์ต้องมี MQ จริยธรรม

 

  • เวลาสัมภาษณ์งาน ต้องดู MQ ก่อนเพราะพัฒนายาก
  • ศิลปะ เช่น สี ต้องอาศัยการตีความ
  • วิทยาศาสตร์ เช่น อ่านตัวอักษร

 

  • จากการทดสอบการอ่านสี พบว่า วิทยาศาสตร์เห็นอะไรก็อ่านออกเป็นอย่างนั้น

 

  • การค้นหาตัวตนแบ่งเป็น 4 แบบ
  • นักทฤษฎี (C) ฉลาดและมีจริยธรรมดี มีหลักการ ไม่ชอบเสี่ยง
  • นักผจญภัย (D) กล้าตัดสินใจ มั่นใจในตัวเอง ใช้อำนาจ
  • นักกิจกรรม (I) ชอบเข้าสังคม ชักจูงใจผู้อื่น
  • นักปฏิบัติ (S) จริยธรรมดี ระมัดระวัง สงบนิ่ง ดื้อเงียบ ไม่แสวงหาการเปลี่ยนแปลง
  • คนอายุมากขึ้นสามารถหลอมรวมคุณสมบัติทั้งสี่ข้อข้างต้นได้

 

  • การสร้างแรงจูงใจต้องดูความต้องการ
  • นักทฤษฎี (C) และ นักผจญภัย (D) ต้องการชื่อเสียง
  • นักกิจกรรม (I) และนักปฏิบัติ (S) ต้องการความรัก

 

  • เวลาประชุมควร Lobby นักผจญภัย (D) เป็นพวกก่อน เพราะมีอำนาจตัดสินใจและมีการเรียกร้องสูง

 

  • ต้องเลือกคนให้เหมาะกับงาน

 

  • นักทฤษฎี (C) ต้องการความภาคภูมิใจ เจ้านายต้องมี logic ให้คนทำดีได้ดี ทำงานเป็นทีม

 

  • บุคลิกภาพของคนเปรียบเหมือนกับสัตว์ต่อไปนี้
  • หมี=นักทฤษฎี (C)
  • นกอินทรีย์=นักผจญภัย (D)
  • กระทิง=นักปฏิบัติ (S)
  • นกยูง=นักกิจกรรม (I)

 

  • ต้องกระตุ้นประสาทสัมผัสให้ตรงกับการทำงานตามความชอบของเขา

 

  • คนมาทำงานตามพื้นฐานความต้องการ เช่น การเงิน (สำหรับคนระดับล่าง) การยอมรับในสังคม (สำหรับคนระดับสูงขึ้นไป)

 

  • เกมทดสอบการใช้ประสาทสัมผัสโดยการดูภาพ พบว่า
  • คนที่เห็นภาพใหญ่ๆแต่แรกจะเป็นคนที่บริหารจัดการเก่ง
  • ถ้าเห็นสิ่งเล็กๆได้ด้วย จะสามารถลงรายละเอียดได้ดี
  • ถ้าเขียนบรรยายความรู้สึก สะท้อนว่า EQ ดี

 

  • หัวหน้างานควรจะใช้คำถามชี้นำให้สำนึกด้วยตนเอง เช่น ต้องถามว่า ทำไม

 

  • การคิดเชิงกลยุทธ์
  • สำรวจตนเอง
  • ดูโอกาสความก้าวหน้า เช่น องค์กรสนับสนุนไหม
  • พัฒนาตนเองและทำให้องค์กรได้ประโยชน์
  • ทำงานสำคัญก่อน
  • เริ่มทำในสิ่งที่ทำได้ก่อน เมื่อทำได้ดี ก็จะได้งานมาสร้างโอกาสให้เรา

 

  • EQ ทำให้คนประสบความสำเร็จ ทำให้ได้รับโอกาส แต่ถ้า IQ ไม่ดี ก็ไม่ประสบความสำเร็จ

 

  • ต้องทำตาม Fact ถูกต้องเสมอไม่ว่าอยู่ที่ไหน

 

  • จากเกมส่งลูกปิงปอง พบว่า
  • คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตคิดว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้
  • อย่าคิดตามรูปแบบเดิมๆ
  • ใช้กระบวนการใดก็ได้แต่เป้าต้องได้ครบ
  • หัวหน้างานต้องแสดงบทบาทให้เหมาะสม
  • ต้องประเมินทักษะความสามารถก่อนมอบหมายงานให้แต่ละคน

 

 

 

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

 

Learning Forum หัวข้อ Innovative กับสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โดย ดร.เฉลิมพล เกิดมณี ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2553 

  • นวัตกรรมต่างจากคิดสร้างสรรค์ ต้องนำไปใช้แล้วเกิดมูลค่าหรือคุณค่าหลังการนำไปใช้

 

  • อุปสรรคขัดขวางการคิดเชิงนวัตกรรม
  • มีพฤติกรรมที่สม่ำเสมอกับชีวิตประจำวันแบบเดิม ไม่ชอบความแปลกใหม่
  • มีข้อมูลมาก ไอเดียมาก กิจกรรมมาก
  • เฉื่อย

 

  • ทางแก้ปัญหา
  • ต้องพบประสบการณ์ที่แตกต่าง
  • อยากได้สิ่งที่ดีกว่า และไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่

 

  • การคิดนวัตกรรมเก่ง ต้องใช้สมองส่วนการคาดการณ์เก่ง

 

  • หลักการคิดนวัตกรรม
    • ใช้คุณสมบัติชนคุณสมบัติ นำเหตุและผลมาชนกัน เช่น รัชกาลที่ 5 เสด็จเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าซาร์นิโคลัสแห่งรัสเซียแล้วฉายพระรูปร่วมกัน ส่งไปตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์อังกฤษ ทำให้ประเทศอื่นๆในยุโรปไม่ได้มารุกรานไทย นี่ถือเป็นนวัตกรรมในสมัยนั้น

 

  • การคิดนวัตกรรมของคนแต่ละแบบ
  • นักปฏิบัติ (S) คิดนวัตกรรมแบบเปรียบเทียบ ดูคุณสมบัติแล้วนำมาใช้
  • นักกิจกรรม (I) คิดนวัตกรรมแบบแฟนตาซี เช่นโอเปร่าเฮ้าส์ สร้างอาคารแบบไม่มีเสา
  • นักผจญภัย (D) คิดนวัตกรรมแบบภาวะแข่งขัน กดดัน จำกัดเวลา
  • นักทฤษฎี (C) คิดนวัตกรรมแบบเหตุผล

 

  • คนคิดนวัตกรรมเป็นต้องสื่อสารเป็น

 

  • การสื่อสารคลาดเคลื่อนเพราะมันขึ้นกับประสบการณ์ที่แตกต่างกัน

 

  • การสื่อสารต้องมีเป้าหมายชัดเจน และการร่วมกันคิดและมีส่วนร่วม

 

  • การที่คิดนวัตกรรมได้ต้องมีจินตนาการ แล้วนำแต่ละส่วนมาจับคู่กัน

 

  • คนคิดนวัตกรรมได้เพราะปัญหาข้อจำกัดเดิมและต้องการสิ่งที่ดีกว่า

 

Workshop

ในสภาวะที่ประเทศต้องประสบกับภัยธรรมชาติจากสภาวะโลกร้อน ก่อให้เกิดภาวะน้ำท่วมอย่างรุนแรงต่อเนื่อง 3 ปี และค่าเงินบาทแข็งตัวต่อเนื่อง ในฐานะที่ท่านเป็นสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ขอให้ท่านใช้ยุทธศาสตร์ที่ท่านได้รับมอบหมายเพื่อช่วยเหลือประเทศให้ประชาชนอยู่ดีกินดีและมีความสุข โดยเสนอนโยบายที่มีนวัตกรรมมาแก้ปัญหานี้

 

กลุ่มนำเสนอลำดับที่ 1

  • ได้ช่วยโดยตั้งทีมเฉพาะกิจ ศอช. ทำหน้าที่รวมหน่วยงานทุกภาคส่วนติดตามประเมิน ช่วยเหลือประชาชน เร่งรัดฟื้นฟู

 

  • ส่งอาหาร เครื่องอุปโภคและทีมแพทย์

 

  • ตั้งปัญหาน้ำท่วมเป็นวาระแห่งชาติ และสร้างเขื่อน ลอกคูคลอง โครงการพระราชดำริแก้มลิง
  • ในช่วงน้ำลด ก็จะสร้างเขื่อนแน่นอน

 

  • ตอนนี้จะสร้างอาชีพหาพันธุ์ปลาไปลง สร้างอาหารในพื้นที่

 

  • นำอาหารไปมอบให้ผู้เดือดร้อน โดยใช้กล่องสุญญากาศลำเลียงอาหารไปส่งจะได้กินได้หลายวัน

 

กลุ่มนำเสนอลำดับที่ 2

 

  • ผลิตอาหารรูปแบบแคปซูล เพื่อให้ส่งได้ทันและเพียงพอ โดยมอบให้กระทรวงเกษตรและกระทรวงวิทย์ร่วมกันผลิต

 

  • ให้กระทรวงวิทย์สร้างพันธุ์พืชทีเก็บเกี่ยวได้เร็ว

 

  • เลี้ยงปลาในกระชังช่วงน้ำท่วม

 

  • ป้องกันโดยสร้างคันกั้นน้ำ ปลูกป่าลดภาวะโลกร้อน วางแผนอพยพคน  ประสานงานผ่านดาวเทียม ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศ

 

  • รณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้น้ำมัน แอร์ เพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

 

  • ตั้งสถานีวิจัย มีการแจ้งเตือน

 

  • ร่วมมือกับต่างประเทศ เช่น นำแนวทางแก้ของเนเธอร์แลนด์มาใช้

 

  • อาจจะกู้จากต่างประเทศเพื่อหางบมาใช้

 

  • ให้คนที่ต้องการความช่วยเหลือไปลงชื่อแล้วรับของที่ส่งไปช่วยเหลือที่ผู้ใหญ่บ้าน

 

กลุ่มนำเสนอลำดับที่ 3

 

  • ส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจพอเพียง

 

  • ให้กระทรวงแรงงานและพาณิชย์จัดสรรเงินชดเชยให้คนว่างงาน

 

  • ให้เมล็ดพืชลอยน้ำ เช่น ผักบุ้ง

 

  • สร้างชุมชนเข้มแข็งให้ชาวบ้านมาร่วมมือแจ้งเตือนภัย และประสานกับผู้นำชุมชน

 

  • ตั้ง Rapid team เข้าถึงชุมชน

 

  • สร้างระบบเตือนภัยทำร่วมกับต่างประเทศ

 

  • กระตุ้นจิตสำนึกรักษาสิ่งแวดล้อม ให้ชาวบ้านร่วมเก็บขยะ

 

  • ให้ผู้นำชุมชนเป็นหอกระจายข่าว

 

  • ส่งเสริมให้แต่ละชุมชนขุดลอกท่อทุก 6 เดือน

 

  • ตั้ง Monitoring team ประสานกับหน่วยงานความมั่นคง และเครือข่ายภาคประชาชนแก้ปัญหา

 

  • ใช้ Video Conference ประสานงานกับผู้ว่า

 

  • ในภาวะน้ำลด จะมีกิจกรรมเสริมความสามัคคีในชุมชนฟื้นฟูสภาพจิตใจ เช่น กีฬาวิ่งโคลน

 

  • นำคนมาปลูกพืชลอยน้ำ สร้างอาหาร

 

กลุ่มนำเสนอลำดับที่ 4

  • ใช้เครือข่ายแจ้งเตือนประชาชน

 

  • จัดหายานพาหนะช่วยประชาชน

 

  • ตั้งศูนย์คลายเครียดแก่ประชาชน

 

  • แจกแผงโซล่าเซลในพื้นที่ถูกตัดขาด

 

  • ส่งเสริมอาชีพปลูกผักไม่ใช้ดิน เลี้ยงปลาในกระชัง

 

  • แจ้งเตือนการเกิดโรคระบาด

 

  • ประสานต่างประเทศขอความช่วยเหลือ

 

  • ประมาณการความมั่นคงทุกสัปดาห์

 

  • จะใช้ภาพถ่ายดาวเทียมกำหนดพื้นที่ขุดลอกคูคลองระบายน้ำ

 

กลุ่มนำเสนอลำดับที่ 5

 

  • นำทุกหน่วยงานที่จะช่วยเหลือมาอยู่ใต้นายกจะได้สั่งการง่าย

 

  • ประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้าน

 

  • จะส่งเสริมถุงยังชีพแคปซูลอาหารไว้ประจำบ้าน

 

  • จะส่งเสริมการปลูกข้าวแบบลอยน้ำได้

 

  • พัฒนาพันธุ์ข้าวที่ปลูกในน้ำได้

 

  • ส่งเสริมการปลูกพืชไร้ดิน

 

  • ส่งเสริมการสร้างบ้านที่ลอยตัวบนน้ำได้

 

  • ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรเพื่อผลิตยา

 

  • ปรับการปิดภาคเรียนในช่วงน้ำท่วม

 

  • ส่งเสริมโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก

 

  • ทำกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าในช่วงน้ำท่วม

 

  • ตั้งกระทรวงน้ำเพื่อแก้ปัญหา รวมทุกหน่วยงานมาทำงานแบบบูรณาการ

 

  • ตั้งศูนย์ดูแลคนต่างด้าวที่จะเข้ามา

 

  • ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์คิดเรื่องดาวเทียม ทำระบบโทรศัพท์ดาวเทียมแจ้งน้ำท่วม

 

  • ทำสุขาลอยน้ำและจะนำไปช่วย

 

ดร.เฉลิมพล

  • ต้องดูจากลูกค้าเพื่อช่วยเหลือ เช่น

 

  • ช่วยคนอีสาน ต้องดูแลสภาพจิตใจ

 

  • ช่วยคนภาคกลาง ต้องพูดถึงมาตรการระยะยาว

 

  • ช่วยคนภาคใต้ ต้องดูเรื่องอนาคต

การตัดสินใจ

ในฐานะที่เป็นผู้นำที่มีคุณธรรม (MQ) ไม่ต้องการที่จะเอาตัวรอดด้วยการละทิ้งบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เนื่องจากทั้ง ๙ คน ล้วนเป็นบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณค่าในตนเองทั้งสิ้น ซึ่งเชื่อว่าถ้าทุกคนยังอยู่ร่วมกันจะสามารถร่วมกันระดมความคิดและกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจร่วมกัน (EQ) โดยนำทักษะ ความรู้ ความสามารถ มาผสมผสาน ให้เกิดแนวทางหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ (IQ) ที่จะช่วยรับมือกับวิกฤตการณ์โรคระบาดในครั้งนี้ (SQ) และป้องกันโอกาสที่จะเกิดโรคระบาดใหม่อย่างยั่งยืน และการนำคนไปเพียง ๘ คน คาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลานานและคงต้องเหนื่อยยากกันอย่างหนักในการสร้างเมืองใหม่ ทั้งนี้ หากเราย้ายไปสร้างเมืองใหม่ ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าโรคระบาดจะระบาดไปยังเมืองใหม่อีกหรือไม่ หากเป็นเช่นนี้เราจะไม่สามารถย้ายเมืองหนีอยู่ตลอดไป

(กลุ่ม ๕ : อิทธินันท์ ส่งศักดิ์ สมปอง สุทิษา สุภานันท์ ศิราณี นุชนารถ)

กลุ่ม 2 (สุริศ เดชา ประภัสสร ดวงรัตน์ จิราภรณ์ อรรฆพร ภควตี นฤนาท)

สถานการณ์ว่าด้วยการตัดสินใจ

เกิดวิกฤตการณ์โรคระบาดอย่างรุนแรง มีเครื่องบินที่จะบรรทุกไปได้ 8 คน โดยมีคนที่เหลือในเมืองทั้งหมด 10 คน ดังนี้ ในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำเพื่อพาคนให้รอดพ้นและสามารถไปสร้างเมืองใหม่ที่มั่งคง และยั่งยืนได้ท่านจะเลือกผู้ใดให้เดินทางไปกับท่าน ตอบ บุคคลที่เลือกเดินทางไปด้วย ประกอบด้วย

1. ผู้นำ/ตัวเรา ซึ่งต้องปฏิบัติภารกิจนำพาสมาชิกเดินทางไปสถานที่ปลอดภัยเพื่อสร้างเมืองใหม่ที่มั่นคงและยั่งยืน

2. เด็ก เพราะเป็นอนาคตของชาติ ที่เราสามารถให้การศึกษาในศาสตร์ที่สามารถพัฒนาประเทศได้ในอนาคต

3. คุณครูผู้หญิง เป็นบุคคลที่ให้ความรู้แก่ผู้อื่น ซึ่งนอกจากจะให้ความรู้ทางด้านวิชาการแล้ว ยังคอยปลูกฝังจริยธรรมให้กับบุคคลอื่นๆ รวมถึงเป็นตัวกลางที่ให้ความรู้เรื่องการป้องกันระบาดของโรคติดต่อ

4. เกษตรกร ทำหน้าที่ผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงชุมชน

5. กรรมกร ทำหน้าที่เป็นแรงงานสร้างเมืองใหม่ รวมถึงก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของชุมชน

6. นายแพทย์ ในสถานการณ์โรคระบาดอย่างรุนแรง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีบุคคลที่ทำหน้าที่รักษาโรค

7. นักวิทยาศาสตร์ ทำหน้าที่คิดค้นยารักษาโรค รวมถึงการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อการสร้างเมือง และการดำรงชีวิตของคนในชุมชน

8. หมอแผนโบราณ ในสถานการณ์โรคระบาดอย่างรุนแรง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีบุคคลที่ทำหน้าที่รักษาโรคที่สามารถนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ความรู้เรื่องสมุนไพร นำมารักษาโรคบางโรคซึ่งยาแผนปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาได้

สาเหตุที่ไม่เลือก นักกฎหมายสูงอายุ และนักการเมือง เนื่องจากเมื่อเรียงลำดับความสำคัญแล้ว เห็นว่าในสถานการณ์ที่เกิดโรคระบาดและต้องสร้างเมืองใหม่ จึงจำเป็นต้องเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติที่ช่วยให้ทุกคนสามารถรอดพ้นจากวิกฤตการณ์โรคระบาดที่กำลังเกิดขึ้น และสามารถสร้างเมืองใหม่ที่มั่นคงและยั่งยืน

กลุ่ม 1

การตัดสินใจ “กรณีเกิดวิกฤติโรคระบาด”

จุดมุ่งหมาย/เหตุผลของการตัดสินใจ เพื่อให้ทุกคนมีชีวิตรอด

วิธีการคัดเลือกคน แบ่งคนเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 เป็นกลุ่มที่จะเดินทางไปรอบแรก จำนวน 8 คนโดยพิจารณาจากบุคคลที่มีความจำเป็นในการสร้างเมืองใหม่ให้มั่นคงและยั่งยืน ประกอบด้วย ผู้นำ หมอแผนโบราณ นักกฎหมายสูงอายุ เด็ก ครูผู้หญิง นักการเมือง เกษตรกร และกรรมกร

กลุ่ม 2 จะต้องดำรงชีพเพื่อรอให้เครื่องบินบินกลับมารับอีกครั้ง จำนวน 2 คน โดยพิจารณาจากความรู้ความสามารถที่จะสามารถดำรงชีพในสถานการณ์วิกฤติและพึ่งพากันได้ ประกอบด้วย นายแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์

สรุปภาพรวมขององค์ความรู้ที่ได้รับเมื่อวันที่ 6 พ.ย.53

ช่วงเช้า เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนผลงานให้เป็นไปในทิศทางและเป้าหมายเดียวกันประกอบด้วย

1.Alignment เป็นเรื่ององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวโยงกัน

2.Values Alignment เป็นความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมส่วนตัว กับค่านิยมองค์กร

ช่วงบ่าย เป็นเรื่องของทักษะการใช้ชีวิต (ทั้งภายในและภายนอกองค์กร) ประกอบด้วย

1.วงจรที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเรา ที่ทำให้รู้จักชีวิตของเราหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ดีขึ้น โดยแบ่งเป็นทฤษฎีวงกลม 2 วงซ้อนกันบางส่วน

ประกอบด้วยวงกลมแรก Circle of concern (COC) หรือวงจรที่ควบคุมไม่ได้ และวงกลมที่สอง Circle of Influence (COI)

หรือวงจรที่สามารถควบคุมได้

2.ทฤษฎีเกี่ยวกับการค้นหาธาตุแท้ของตนเอง (Being) ซึ่งเป็นของบาทหลวงชาวฝรั่งเศสชื่อ อังเดร โลเซอร์

3.ทฤษฎี 6 ปัจจัยความต้องการของมนุษย์ ซึ่งเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์

สรุปในภาพรวมทั้งหมด เป็นองค์ความรู้ที่ช่วยในการขับเคลื่อนบุคลากร และองค์กร ให้เดินไปในทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน ให้เป็นผลสำเร็จมากที่สุด โดยอาศัยทฤษฎีของการค้นหาตนเองหรือผู้ร่วมงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้บังคับบัญชา ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน อื่นๆ เพื่อส่งเสริมการทำงานภายในองค์กร หรือการใช้ชีวิตในครอบครัวให้มีความสุข และจะส่งผลหรือสนับสนุนให้บรรจุเป้าหมายหรือความสำเร็จขององค์กรในภาพรวมด้วย

(กลุ่ม 3 ฤกษ์ชัย ทรงกรด ประไพวัลย์ ทิภวรรณ แสงอุทัย มัทยา สัจจาพันธ์)

“การตัดสินใจ”

- กรณีที่เกิดวิกฤตการณ์โรคระบาดอย่างรุนแรง มีเครื่องบินที่จะบรรทุกคนไปได้ 8 คน โดยมีคนที่เหลือในเมืองทั้งหมด 10 คน ดังนี้ (นายแพทย์ หมอแผนโบราณ นักกฎหมายสูงอายุ เด็ก คุณครูผู้หญิง นักการเมือง เกษตรกร กรรมกร นักวิทยาศาสตร์) ในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำเพื่อพาคนให้รอดพ้น และสามารถไปสร้างเมืองใหม่ที่มั่นคงและยั่งยืนได้ท่านจะเลือกผู้ใดให้เดินทางไปกับท่าน

- กลุ่มได้ร่วมกันวิเคราะห์ และได้จัดลำดับความสำคัญกลุ่มคนดังกล่าวตามลำดับตามความสำคัญและความสามารถเฉพาะของบุคคล ซึ่งจะสามารถเป็นประโยชน์แก่การสร้างเมืองและสังคมใหม่ที่มั่นคง เหตุผลประกอบ ดังนี้

1. นักวิทยาศาสตร์ : เป็นผู้ความคิดกว้างไกล มีความสามารถในการสร้างนวกรรมใหม่ มีความสำคัญยิ่งในการสร้างเมืองใหม่

2. นายแพทย์ : เมื่อเกิดความเจ็บป่วยต้องอาศัยแพทย์รักษาให้หายจากอาการเจ็บป่วย

3. เกษตรกร : สามารถนำองค์ความรู้ด้านการเกษตรไปใช้ในการผลิตอาหาร

4. คุณครูผู้หญิง : เป็นผู้หญิงคนเดียวในกลุ่มมีหน้าที่ในการผลิตทรัพยากรมนุษย์ และยังเป็นผู้มีความรู้ สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ ต่าง ๆ ต่อคนรุ่นต่อไป

5. เด็ก : เด็กเป็นอนาคตของชาติ และจะเป็นกำลังสำคัญให้เกิดการรพัฒนาด้านต่าง ๆ ต่อไป

6. กรรมกร : เป็นแรงงานสำคัญ เป็นผู้ที่มีพลัง เป็นกำลังสำคัญที่สามารถช่วยสร้างเมือง

7. หมอแผนโบราณ : เป็นแพทย์ทางเลือก มีภูมิปัญญา ที่แพทย์แผนปัจจุบันอาจไม่มี เช่นเรื่อง

การจับเส้น การรักษาโดยสมุนไพร ฯลฯ

- ดังนั้น จึงคิดว่าผู้ที่ควรเสียสละไม่ไปกับเครื่องบิน คือ นักกฎหมายสูงอายุ ซึ่งตามหลักเหตุและผลท่านก็คงจะแจ้งว่าท่านสูงอายุแล้วและขอไม่ไปด้วย ส่วนนักการเมือง ท่านก็ควรจะอยู่กับประชาชนของท่าน เสมือนกัปตันที่ไม่ทอดทิ้งลูกเรือ เพราะท่านนักการเมืองมีจรรยาบรรณในอาชีพของท่าน และได้ตั้งปณิธานไว้ว่าท่านจะไม่ทอดทิ้งประชาชน

บรรยากาศการออกกำลังกายเช้าวันของวันสัมมนา

 

กลุ่มที่ 4 ขอเลือกหัวข้อในการทำรายงานคือ เรื่อง “การตัดสินใจ”

สมาชิกในกลุ่มได้ร่วมกันวิเคราะห์แล้ว เห็นว่า เราสามารถนำบุคคลไปได้ทั้งหมด โดยการนำบุคคลกลุ่มแรก 7 คน ไปก่อน แล้วจะกลับมารับอีก 2 คน ที่เหลืออยู่ เนื่องจากทางกลุ่มมองเห็นว่า ทุกคนมีประโยชน์ในการสร้างเมืองใหม่ แต่มากน้อยต่างกันไป ตามความจำเป็นในแต่ละช่วงสถานการณ์ ซึ่งแต่ละคนอาจต้องทำในสิ่งที่ตนเองไม่ถนัด ซึ่งต้องมีการพัฒนาต่อไป

การที่จัดลำดับจะเน้นความสำคัญ และผู้ที่จะทำประโยชน์ให้แก่เมืองใหม่ หรือที่จะสร้างอนาคตได้ยั่งยืนที่สุด โดยบุคคลที่จะให้เดินทางเป็นเที่ยวแรก พร้อมเหตุผลประกอบ มีดังนี้

1. ตัวเราเอง : ขับเครื่องบินได้

2. นักวิทยาศาสตร์ : จะเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จำเป็นต่อการสร้างเมืองใหม่และการดำรงชีวิตภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัด

3. เกษตรกร : จะเป็นผู้เพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร เพื่อนำไปผลิตเป็นอาหารผลิตอาหาร

4. นายแพทย์ : จะเป็นผู้รักษาอาการเจ็บป่วยของทุกคนได้

5. คุณครูผู้หญิง : จะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็ก และยังเป็นผู้หญิง ที่จะมีบุตรในอนาคตได้

6. เด็ก : จะเป็นผู้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากผู้ใหญ่ในกลุ่ม ที่จะเป็นแนวทางในการส้รางเมืองให้ยั่งยืนในอนาคต

7. กรรมกร : จะเป็นแรงงานในการสร้างเมืองหรือสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ

8. หมอแผนโบราณ : จะเป็นผู้ถ่ายทอดและนำเอาความรู้ด้านสมุนไพรมาเป็นยา เพื่อร่วมกับนายแพทย์ในการรักษาโรคต่าง ๆ

ส่วนหากมีโอกาสเป็นเที่ยวที่สอง จะมารับเพิ่มอีก 2 คน พร้อมเหตุผล คือ

1.นักกฎหมายสูงอายุ : แม้จะมีอายุมาก แต่อาจมีประสบการณ์ในด้านอื่น ๆ ที่อาจเป็นประโยชน์ ต่อการสร้างเมืองใหม่ได้ อาทิ เป็นแรงงาน

2.นักการเมือง : น่าจะมีประโยชน์ในการช่วยเหลือเกษตรกรและแรงงานในการทำการเกษตรและสร้างบ้านเมือง

วิชา โลกาภิวัฒน์ เทคโนโลยี และผลกระทบต่อการทำงานของ สขช.

อ.เฉลิมพล เกิดมณี ได้ชี้ให้เห็นว่ากลไกที่เป็นเครื่องมือของประเทศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นประกอบด้วย 1) เทคโนโลยี 2) ทรัพยากร 3) คุณภาพมนุษย์ ทั้งนี้คุณภาพของมนุษย์เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนประเทศให้มีการพัฒนา เนื่องจากคนเป็นผู้สร้างเทคโนโลยี ทำให้สามารถหาวิธีการต่าง ๆ ในการค้นหาทรัพยากรขึ้นมาทดแทนพลังงานโลกที่กำลังจะหมดไปได้

วิชาการคิดเชิงนวัตกรรม

ในโลกยุคปัจจุบันพบว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่เบื้องหลังการพัฒนาต่าง ๆ มากมาย ดังนั้น เราจึงต้องพัฒนาคนเพื่อให้เข้าถึงเทคโนโลยีและนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ ยุค Green Revolution เป็นยุคที่มีการคิดค้นเรื่องการดัดแปลงด้านพันธุกรรม ทำให้สามารถดัดแปลงพันธุ์พืช ช่วยลดภาวะการขาดแคลนอาหารให้หมดไปจากมวลมนุษยชาติ แต่การดัดแปลงทางด้านพันธุกรรมคือ มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอาจส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ด้วยเช่นกัน แต่มนุษย์เชื่อมั่นว่าสามารถเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ โดยใช้ IT Technology และ Bio Technology ซึ่งเป็น Technology ที่สามารถช่วยในการคาดการณ์ในอนาคตได้

อย่างไรก็ตามสิ่งที่มนุษย์พึงระลึกอยู่เสมอคือ “มนุษย์ไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้ สิ่งที่มนุษย์ทำได้ดีที่สุด คือ การรู้และเข้าใจธรรมชาติและเลียนแบบธรรมชาติ”

ไอน์สไตล์ บอกว่า “อัจฉริยะสร้างได้” โดยโอกาสหรือสิ่งที่ขับเคลื่อนชีวิตมนุษย์นั้นมีด้วยกัน 2 แบบ คือ

1) Inspiration แรงปรารถนา

2) Imagination ความฝัน ซึ่งจะไปขับเคลื่อนแรงปรารถนาทำให้มุ่งไปสู่เป้าหมาย (Goal) โดยมนุษย์จะต้องหาตนเองให้เจอด้วยการเพิ่มโอกาส และลดความเสี่ยง

สำหรับสิ่งที่จะช่วยให้มนุษย์ประสบความสำเร็จได้จำเป็นจะต้องมีความฉลาดทั้ง 4 คือ (4QS)

1) ความฉลาดทางปัญญา (IQ)

2) ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)

3) ความฉลาดทางจริยธรรม (MQ) เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องมี

4) ความฉลาดในการเอาตัวรอด/ สัญชาติญาณ (SQ)

ในยุคปัจจุบันที่โลกมีการแข่งขันกันมากขึ้น สังคมยุคใหม่จำเป็นต้องคิดค้นนวัตกรรม ที่แตกต่างซึ่งจะต้องมีกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล เนื่องจากการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลจะช่วยให้เผชิญกับสภาวะสังคมที่เสียสมดุลได้อย่างเข้มแข็ง

คุณสมบัติที่สำคัญที่จะช่วยให้กระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้คือ ควรเป็นคนอยากรู้อยากเห็น ช่างซักช่างถาม มีการจัดลำดับความคิดให้เป็นระบบ มีความเป็นเหตุเป็นผล มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการผลิตสร้างสรรค์ มีการคิดแบบกลยุทธ์ และมีความคิดเชิงนวัตกรรม

ผลกระทบต่อการทำงานขององค์กร

ด้านเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานขององค์กร เนื่องจากเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารในปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้พรมแดน ทำให้กลุ่มที่ไม่หวังดีต่อประเทศชาติทั้งในและต่างประเทศใช้สื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยบ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศชาติ เช่น ในเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีการโพสต์ข้อความไม่เหมาะสมและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ดังนั้นบุคลากรขององค์กรที่มีความรู้ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องทำหน้าที่ Monitor ข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา เพื่อสกัดกั้นไม่ให้กลุ่มที่ไม่หวังดีต่อประเทศชาติบรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้

นอกจากนี้บุคลากรในองค์กรยังต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการสืบสวนและหาทางระงับการบ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศด้วย

---------------------------------------

Who am I จากวันนั้นถึงวันนี้ ฉันได้รู้จักตัวเองแล้วว่าฉันต้องเป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีความอดทน มีความเอื้อเฟื้อต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อเพื่อนมนุษย์ และต้องมองโลกในแง่ดี (Be Optimistic) เมื่อฉันมีโอกาสที่ดีในอนาคต (Imagination) ต่อไปฉันจะเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความคิดสร้างสรรค์ (Be creative) ทำหน้าที่ด้วยศรัทธา (Trust) โดย Being รวมทั้ง การใช้หลักธรรมาภิบาล คุณธรรม

รักนะจู๊บๆๆ

การบ้าน สำหรับวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553

1.จากบทความ "กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า" อ่านแล้วได้อะไรบ้าง

2. บทความนี้เกี่ยวข้องอะไรกับ ทฤษฎี 8K's , 5K's  ที่ได้เรียนมาแล้ว

3. เกี่ยวข้องอะไรกับความมั่นคงของชาติ

 

ติดตาม อ่านบทความ ได้ที่ลิงก์ ข้างล่างนี้ค่ะ

http://www.naewna.com/news.asp?ID=230750

 

 

สรุป Learning Forum หัวข้อ Creative Thinking กับการทำงานของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553

โดย อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

  • โลกเปลี่ยนแปลงทำให้คน เทคโนโลยีและงานเปลี่ยนไป
  • ผมชอบเข้าป่าถ่ายรูปนก เดิมมีคนถ่ายรูปนกไม่มาก แต่ตอนนี้ เทคโนโลยีการถ่ายภาพดีขึ้น อัดเสียงนกเปิดเสียงให้ดังเพื่อเรียกนก แล้วก็ถ่ายรูปนกได้ง่ายขึ้น แล้วนำไป share ให้คนอื่น
  • พฤติกรรมและการท่องเที่ยวเปลี่ยน ตัวเลขนักดูนกมากขึ้น
  • บริษัทกล้องก็ออกกล้องใหม่เพื่อตอบสนองลูกค้าที่ชอบถ่ายรูปนก
  • คนก็เปลี่ยนไป ทุกคนมีชุมชนที่อยู่หลายที่ มีชุมชนออนไลน์
  • เราเปลี่ยนมาเป็นยึดครองพื้นที่ในสมองมนุษย์ ทำให้คนอื่นรู้จักแบรนด์สินค้า
  • การตีความมาจากชุดความรู้ ถ้ามีมากกว่าก็ตีความได้มากกว่า นี่คือวัฒนธรรมทางสายตาผ่าน new media สื่อต่างๆ
  • ควรเรียน c4
  • Command
  • Control
  • Computing คอมพิวเตอร์
  • Communication การสื่อสาร งานข่าวมีการเก็บข่าวและนำข่าวไปเสนอ การสื่อสารทำผ่านกลยุทธ์การสื่อสารสมัยใหม่ไม่ใช่ Mass Communication ต่อไป ได้แก่(Integrate/Marketing/Communication) เข้าใจแต่ละคนแล้วไปดักให้ตรงตามความต้องการเขา

 

  • คนไม่ใช่อยู่ที่บ้านอย่างเดียวแต่อยู่บนโลกไซเบอร์ด้วย มีกลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นที่มีความสนใจร่วมกัน ถ้าเข้าใจคนกลุ่มแบบนี้ เวลาเขาสนใจเรื่องใด ก็จะส่งความช่วยเหลือมามหาศาล เช่นช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วมเป็นต้น
  • ผมไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบ้านแม่กำปอง จนได้รับรางวัลการฟื้นฟูวัฒนธรรม  ทำให้คนหนุ่มสาวกลับมาอยู่ที่หมู่บ้านนี้ เพราะมีอาชีพคนเฝ้าไข้คนแก่ได้เงิน ซึ่งได้งบมาจากหมู่บ้าน Eco-tourism (การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม) ผมพาคนไปดูงานที่ฟูกูโอกะ
  • กรมส่งเสริมวัฒนธรรมก็ไปช่วยฟื้นฟูการฟ้อนรำบ้านแม่กำปอง
  • ไอน์สไตน์บอกว่า จินตนาการสำคัญมากกว่าความรู้ ความรู้ตีกรอบจำกัดมนุษย์ รู้แล้วก็ทำตามที่รู้โดยไม่ยอมทำสิ่งใหม่ เพราะกลัวว่าออกนอกกรอบแล้วจะผิด
  • ต้องคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นกระบวนการ
  • โลกเข้าสู่ยุคใหม่ (สหวิทยาการ) มนุษย์ต้องมีหลากหลายความรู้ในตัวคนเดียวกัน
  • หนังสือแนะนำ
  • International Marketing เน้นเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม แก่นแท้ไม่ใช่การขายของ แต่เป็นเรื่องคุณค่า (Value) เกี่ยวโยงกับสำนักข่าวกรองโดยตรง สำนักนายกฯก็ต้องการข้อมูลที่มีคุณค่าจากท่าน ต้องตั้งคำถามที่ถูกต้อง จะได้คำตอบที่ถูกต้อง
  • Blue Ocean เน้น Value Innovation นวัตกรรมทางความคิด วิธีที่ได้ข่าวสารแบบใหม่ๆ
  • Entrepreneurial Mindset ต้องแตกต่างจึงจะรอด
  • Marketing Moves
  • The World is Flat ในปี 2015 จะเกิดประชาคมเดี่ยว ทุกอย่างเปลี่ยน เกิด margin รวมกลุ่มผลประโยชน์ใหม่ต่อรองกับกลุ่มผลประโยชน์เดิม
  • Leisure Marketing
  • Customer Relation Management
  • Differentiate or Die
  • Creative Economy เกิดจาก Change
  • ตั้งคำถามว่า Why ในการเริ่ม Creative Economy
  • UNCTAD ได้ศึกษา Creative Economy ดูผลกระทบจากการที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก ทำให้ประเทศเล็กเช่นไทยลำบากเพราะเคยแข่งขันด้วยราคาถูกแต่จีนถูกกว่า
  • กระแสใหม่ของโลกคือ
  • Taste of Slow ตรงข้ามกับ Fast food
  • ความหมายบริโภคในสมัยใหม่ จะเน้น Emotional แล้ว ความสุขทางใจ ความมีรสนิยม
  • Cita Slow (Slow City) เมืองที่ไม่มีอะไรวุ่นวาย ละเมียด มีรสนิยม มีเวลา
  • ผลไม้อร่อยที่สุดในโลกอยู่ที่สิงคโปร์ นำ IT technology ชื่อว่า RFID การระบุบางสิ่งบางอย่างด้วยคลื่นวิทยุ ดูที่คุณค่าผลไม้คือ shelf life ความสด จะได้ของแท้
  • ต้องตั้งคำถาม Why they buy?
  • คนบริโภคเพราะต้องการซื้อแบรนด์สินค้าไปติดตัวเองบนโลกไซเบอร์
  • วิถีชีวิตคนเปลี่ยนไป คนบริโภคโดยใส่ใจสุขภาพมากขึ้นและสนใจสิ่งแวดล้อม
  • โลกไซเบอร์เปิดให้เข้าถึงสังคมได้เยอะขึ้นแต่ทำให้ความเป็นส่วนตัวของเราลดลง
  • การถ่ายภาพนกก็เหมือนการถ่ายภาพคน ต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเขา และถ่ายให้เหมาะสมกับข้อมูลตัวเขา
  • ผมเริ่มพัฒนาโฮมสเตย์บ้านคุณแดงที่แหลมผักเบี้ย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  มีกิจกรรมดูนก ศึกษาวิถีชาวบ้าน
  • ปัจจุบันเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy)
  • ทำไมประเทศไทยต้องใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพราะไทยใช้ต้นทุนแรงงานราคาถูกไปแข่งขันไม่ได้ ต้องสร้างความแตกต่างด้านศิลปวัฒนธรรม นำ talent ไปต่อยอดคุณค่าแพงที่ลูกค้าต้องการให้ได้ (Sense and Respond) ทำอะไรให้ลงลึกไปสู่แต่ละคน (Customization)
  • ต้องเข้าใจการท่องเที่ยวแบบใหม่ ทำไมคนจึงมาเที่ยวประเทศไทย เขาต้องการมาดูวัฒนธรรม ควรทำโฮมสเตย์ ในการเข้าไปชุมชน ผมเข้าไปแบบนักท่องเที่ยวก่อน ชาวบ้านจึงให้การต้อนรับดี
  • ในหลวงบอกว่า พอเพียงคือมีความรู้ในเรื่องนั้นๆอย่างพอเพียง ไม่ใช่ขี้เหนียว
  • ในหลวงสอนให้สนใจความต้องการของชาวบ้านและสนใจวัตถุประสงค์ในการดำรงชีวิต
  • เราควรสนใจคนมีประสบการณ์ปฏิบัติจริงมากกว่าคนเรียนทฤษฎีมาก
  • ต้องใช้ Information Technology
  • ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้จาก 3 ส่วนคือ
  • มี Expertise
  • คิดอย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการ ควรอ่านหนังสือ Six Thinking Hats โดย Edward De Bono
  • แรงจูงใจ
  • OTOP มาจาก OVOP (One Village One Product) ผู้ว่าญี่ปุ่นบอกว่า ถ้าพูดเรื่องปัญหา จะเชิญออกนอกห้อง แต่ถ้าพูดเรื่องโอกาสจะไม่ถูกเชิญออกนอกห้อง
  • ควรพิจารณาว่าทฤษฎีตะวันตกแล้วประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสังคมไทย
  • ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากเริ่มคิดที่จะทำหมู่บ้านท่านให้เป็นชุมชนเข้มแข็ง
  • ชุมชนต้องมีการพัฒนา (Dynamic)
  • ต้องเลือกสิ่งดีๆเข้าไปเติมวัฒนธรรม

 

สรุป Learning Forum หัวข้อ Value Innovation ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

โดย อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553

  • ควรจะนำสารคดีประเทศไทยไปให้ National Geography ออกอากาศ ก่อนออกอากาศ ควรจะนำตัวอย่างสินค้าทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสารคดีไปให้ดูเพื่อทำโฆษณา ถ้าคนดูสนใจ ก็จะได้สั่งซื้อ
  • ควรรู้เรื่อง JTEPA, FTA, APEC, AFTA, NAFTA
  • โลกมีการรวมกลุ่มทางการเงินมากขึ้น
  • บางทีต้องทำให้คนเห็นคุณค่า คนจึงจะยอมจ่าย
  • ควรเข้าใจพฤติกรรมการบริโภคแล้วใช้ให้เป็น
  • คนจีนมีความเชื่อว่า กล้วยเป็นผลไม้ระดับอ๋องกิน คนจีนนำกล้วยไปไหว้เจ้ากวักโชคกวักลาภ ทำให้กล้วยขายดี
  • ในอเมริกามีที่แขวนกล้วย เฉพาะคนรวยกินกล้วยได้
  • เดือนกันยายน-ตุลาคม จีนนำเข้าส้มโอจากไทยมากที่สุดเพราะเป็นช่วงสารทจีนนำไปไหว้เจ้าให้มีโชค
  • คนจีนมีความเชื่อว่า อาหารที่ดีและอร่อยที่สุดอยู่ที่ประเทศไทย เวลามาเที่ยวเขาก็จะมากินด้วย
  • ต้องถามคนว่าอยากได้อะไรแล้วค่อยทำ
  • ที่ลำพูน กลุ่มแม่บ้านไปเปิดร้านอาหารพื้นเมืองแท้ๆ ตรงบริเวณย่านธุรกิจ แล้วก็มีคนมาต่อแถวรอยาวมาก
  • ควรจะทำสิ่งแตกต่างออกไป
  • คนไทยออกแบบเมืองลอยน้ำ (The Palm) ให้ดูไบ นี่เป็น Creative Economy
  • ดูไบเปลี่ยนเป็นศูนย์กลางธุรกิจ เพราะรู้ว่าในอนาคตน้ำมันจะหมดไป
  • โรงแรมเจ็ดดาวของดูไบราคาคืนละ 3 แสนและมียอดจองเต็มตลอดแสดงให้เห็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม
  • ประเทศที่เจริญแล้วจะมีคนแก่มากขึ้น
  • คนแก่ญี่ปุ่นมาอยู่ประเทศไทยมากขึ้นโดยเฉพาะเชียงใหม่ ชอบข้าวเหนียว ข้าวซอย ข้าวที่ทำข้าวปั้นดีที่สุดอยู่ที่พะเยา คนญี่ปุ่นส่งออกไปที่ร้านญี่ปุ่นที่แพงที่สุด วาซาบิที่ดีที่สุดในโลกอยู่ที่ลำพูน
  • พฤติกรรมคนเปลี่ยนไป คือ เข้าฟิตเนส แต่กินฟาสท์ฟู้ด ซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ซื้อสินค้าที่ใช้แรงงานเด็ก
  • คนสนใจ Lifestyle (Art of Living)
  • New Media มีอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลง
  • ความรวยในแต่ละสังคมไม่เหมือนกัน เครื่องประดับบางสิ่งมีค่าในที่หนึ่ง
  • แต่ก่อนมี Traditional Culture ใส่สูทผูกไทด์ แบบอังกฤษ ตอนนี้ ออกเป็น Street Fashion
  • เยอรมนี เป็น Engineering culture
  • อิตาลีเป็น Sexy culture
  • อเมริกาเป็น Pop Culture เช่น กินโค้ก ฮอลลีวู้ด กางเกงยีนส์
  • ญี่ปุ่น Copy Pop Culture
  • เกาหลีทำ Korean Pop Culture เขาศึกษาการเกิดวัฒนธรรมสมัยใหม่ ยึดครองพื้นที่โดยผ่านแบรนด์ เกิดการสื่อสารต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นระบบ
  • คนอเมริกันที่รวยมักจะไปยุโรป เพื่อไปดูปูมหลังทางประวัติศาสตร์
  • เรื่องศิลปวัฒนธรรมเป็นเรื่องคุณค่า
  • การบริโภควัฒนธรรมแต่ละที่ไม่เหมือนกัน
  • ต้องเปลี่ยนเป็น
  • Sense & Response
  • Mass Customization
  • Economic of Speed
  • Real Time
  • Demand Driven เอาลูกค้าเป็นตัวตั้ง
  • สมัยใหม่ เน้นการวิจัยและพัฒนามากขึ้น แล้วผลิตทำให้เกิดมูลค่าสูง
  • ต้องหาความแตกต่างให้สินค้า
  • แต่ละคนต้องการมีเอกลักษณ์ของตนเองให้คนอื่นจดจำได้ อาจจะสร้างภาพใหม่หรือไปรวมกลุ่มกับคนอื่น
  • ความเข้าใจมนุษย์ยุคใหม่ต้องเข้าใจความเป็นตัวตน
  • คนอเมริกันกินกาแฟแบบแก้ว mug
  • บางคนกลางวันเป็นนักบริหาร แต่วันศุกร์ใส่กางเกงขาสั้น ขี่มอเตอร์ไซค์ฮาร์เลย์
  • ต้องหาว่าคนที่ซื้อสินค้าชนิดนั้นเป็นใคร ดูจาก Art of Living
  • Art of Living มีพื้นฐานมาจาก Lifestyle
  • Art of Living ศิลปะการแสดงออกถึงตัวตน (Self)
  • ควรแทรก How-to ไปบนเว็บไซต์ถือเป็นการสร้างเครือข่าย เพราะคนชอบไปหาความรู้ใหม่ๆ บนโลกไซเบอร์
  • ปัจจุบันโลกไม่ได้ขายของแค่เคลื่อนย้ายข้อมูลเท่านั้น แค่รู้ว่า แต่ละที่ขายได้เท่าไร
  • ควรศึกษาแต่ละเมืองว่ามีวิธีการสร้างคุณค่าอย่างไร
  • ที่เวนิส จะหล่อหน้ากากจากคนที่ซื้อจริง = Customization ทำให้มีราคาแพงขึ้น
  • แต่ละเมืองมีของที่ต่างกันไม่จำเป็นต้องแข่งขันกัน
  • คนตะวันออกเก่งๆ ก็มีมาก คนอเมริกันก็นับถือว่าคนตะวันออกเรียนเก่ง
  • ควรส่งเสริมสินค้าของที่ระลึกของประเทศไทยเพราะสร้างรายได้มากให้ภาคการท่องเที่ยว
  • ควรทอผ้าทำสีโทนร้อน (แดง ส้ม) เพราะฝรั่งชอบเอาไปใช้เป็นผ้าพันคอทำให้อบอุ่นในหน้าหนาว
  • ชาวต่างชาติรวยๆจะซื้อสินค้าหัตถกรรมทำมือ
  • ต้องนำทุนทางวัฒนธรรม+ความคิดสร้างสรรค์+ความรู้ใหม่ๆ
  • ที่ญี่ปุ่น ด้วงกว่างเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจจึงมีราคาแพงเป็นแสนบาท
  • คุณค่าของสินค้าในแต่ละที่ไม่เหมือนกัน
  • ควรมีห้องข้อมูลประวัติศาสตร์ในชุมชน
  • ต้องสร้างเครือข่ายในชุมชนให้เข้มแข็ง

(กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า) นักการเมืองที่มุ่งแสวงประโยชน์ส่วนตัวจากระบบการเมืองที่ยังมีช่องโหว่หรือจุดบกพร่องอันเนื่องมาจากกระบวนการตรวจสอบด้านคุณธรรมและความโปร่งใสทางการเมืองที่ไม่เข้มแข็ง โดยไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม แต่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการขาดแคลนต้นทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (8K ‘s) ในภาคการเมืองทุกด้าน โดยเฉพาะการขาดแคลนทุนทางปัญญา ทุนความรู้ทักษะและทัศนะคติ ที่สำคัญยิ่งคือ การขาดแคลนทุนทางจริยธรรม ภาวะเสี่ยงต่อการไร้คุณภาพอย่างถาวรของทุนมนุษย์ในแวดวงการเมืองจะส่งผลต่อการเพิ่มทุนมนุษย์ในภาคราชการด้วย

การที่นักการเมืองเข้าไปแทรกแซงการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงในภาคราชการและใช้อำนาจหน้าที่เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อภาคราชการ เช่นการคำนึงถึงบุคคลที่มีทุนความรู้ความสามารถ แต่ขาดซึ่งทุนด้านปัญญา จริยธรรม และทักษะ มากกว่าจะพิจารณาถึงทุนมนุษย์ที่มีความพร้อมซึ่งทักษะการเป็นผู้นำและมีปัจจัยที่เป็นทุนพื้นฐานทุกด้านที่พึงมีอยู่ในการเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ จึงเป็นการทำลายทุนพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคราชการ เพราะเป็นการบั่นทอนกำลังใจของผู้นำในภาคราชการที่เป็นทุนมนุษย์ที่มีค่ายิ่งต่อองค์กร และที่น่ากังวลที่สุดคืออาจส่งผลกระทบไปยังบุคลากรในองค์กรจนทำให้ขีดความสามารถในการพัฒนาทุนมนุษย์ขององค์กรด้อยลง และยังอาจส่งผลต่อการเสริมสร้างความพร้อมเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ให้พร้อมต่อโลกในยุคโลกาภิวัตน์ (5K’s) ทั้งในด้านการกระตุ้นให้เกิดการสร้างทุนด้านความรู้ ตลอดจนด้านการสร้างสรรค์ นวัตกรรม วัฒนธรรม และการพัฒนาทุนทางอารมณ์ ภาคราชการและการเมืองเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ก่อให้เกิดความมั่นคงของประเทศ หากทุนมนุษย์ในภาคราชการและการเมืองด้อยคุณภาพเพราะทุนแห่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่ในทุกด้านถูกบั่นทอน จะส่งผลให้พลังแห่งการขับเคลื่อนความมั่นคงลดน้อยถอยลงจนนำไปสู่ภาวะที่ขาดทุนมนุษย์ไปในที่สุด

New Media สื่ออินเตอร์เน็ต โลกไซเบอร์ ยุคดิจิตอล ไม่ได้เป็นเพียงแค่โลกใหม่ที่ให้ความรู้และมุมมองใหม่ๆ แต่ยังเป็นโลกอีกหนึ่งใบที่ช่วยปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ กระตุ้นความคิดแปลกใหม่และสร้างสรรค์ พัฒนาและต่อยอดความรู้เดิมที่มีอยู่ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือเสริมสร้างจินตนาการและกระตุ้นความรู้สึกร่วมที่ทำให้เกิดอยู่ร่วมในสังคมที่ปรากฎบนสื่อนั้นด้วย แต่อีกมุมหนึ่ง สื่อเป็นเครื่องมือสำหรับผู้ที่ต้องการทำลายคู่ต่อสู้ ที่จะทำสื่อสีขาวให้เป็นสื่อสีดำหรือเทา ดังนั้นการบริโภคสื่อหรือใช้ประโยชน์จากโลกไซเบอร์จึงควรต้องเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ นวัตกรรม และส่งเสริมการสร้างคุณค่าให้แก่ตัวเอง

กขค. การเมืองกับการเข่นฆ่า

จากการอ่านบทความแล้ว มีความคิดเห็นว่า การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างไทยเรา หากนักการเมืองหรือผู้นำขาดหลักธรรมาภิบาล ตัดสินใจโดยคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง จะทำให้ประชาชนขาดความศรัทธาเชื่อมั่น (Trust) ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม นักการเมืองหรือผู้นำที่ดีที่จะสามารถสร้างศรัทธากับประชาชนและยืนหยัดอยู่บนถนนการเมืองได้นานและมั่นคง ต้องรู้จักใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้ถูกต้องเหมาะสม การนำทฤษฎี 8 K’s มาช่วยในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จะได้คนที่เป็นทั้งคนดี คนเก่ง และมีจริยธรรม มาช่วยในการขับเคลื่อนองค์กร สังคม ประเทศชาติให้มีความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัตน์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ การนำทฤษฎี 5K’s มาใช้โดยเน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่แตกต่างจะทำให้ประเทศชาติอยู่รอดและมั่นคงต่อไปได้

ปัจจุบัน มีนักการเมืองจำนวนมากที่แสวงหาผลประโยชน์จากการเมือง โดยใช้ช่องโหว่ตของกฎหมายที่

ไม่สามารถตรวจสอบกระบวนการได้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการขาดคุณธรรม ขาดจริยธรรมและไม่มีความโปรงใส่ใน

การทำงานของนักการเมือง

อนึ่ง จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะทุกยุคทุกสมัย นักการเมืองจะพยายามใช้อำนาจหน้าที่ของตนเองเข้าไปแทรกแซง

กระบวนการแต่งตั้งข้าราชการ โดยเฉพาะข้าราชการระดับสูงหรือตำแหน่งที่สำคัญ ๆ ซึ่งเป็นการทำลายระบบการแต่งตั้ง

ข้าราชการที่เป็นทุนมนุษย์ที่มีค่าอย่างยิ่งต่อการพัฒนาองค์กร ตลอดจนส่งผลกระทบต่อเจ้าหน้าที่ในองค์กรตามไปด้วย

ทั้งยังส่งผลกระทบต่อการเสริมสร้างการพัฒนาทุนมนุษย์ต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ ทั้งนี้ หากภาคราชการ

และภาคการเมืองด้อยคุณภาพก็จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศได้

"กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า"

1. การเมืองแทรกแซงการแต่งตั้งข้าราชการประจำ ทำให้ได้ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงที่พร้อมจะปฏิบัติตามคำสั่งของนักการ เมืองแม้จะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและอาจทำให้ประเทศชาติและประชาชนต้องเสียประโยชน์

2.เป็นการปฏิบัติที่ขาดทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) ตามทฤษฎี 8K's และทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) ตามทฤษฎี 5K's

3. ความมั่นคงในชาติจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากนักการเมืองและข้าราชการขาดคุณธรรมและจริยธรรม มุ่งหวังเพียงประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง และการเมืองสามารถแทรกแซงการบริหารงานของข้าราชการประจำ การแต่งตั้งข้ามลำดับอาวุโสทำให้วัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาของส่วนราชการได้รับผลกระทบ จนอาจส่งผลให้ข้าราชการมีความรู้ความสามารถ

แต่ถูกแต่งตั้งข้ามลำดับอาวุโส ขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

1. สิ่งที่ได้จากการอ่านเรื่องนี้ คือ การเมืองที่ล้มเหลว ไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งเกิดขึ้นจากการทุจริต ขาดจริยธรรม จะส่งผลให้ประชาชนต้องตกเป็นผู้รับเคราะห์ไปด้วย นอกจากนี้ ในบทความยังชี้ให้เห็นว่าปัจจุบัน กระบวนการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในระบบราชการไทย ยังคงมีการแทรกแซงทางการเมือง โดยขึ้นอยู่กับอิทธิพลของพรรคการเมืองที่มีอำนาจอยู่ในช่วงนั้นๆ

2. การมีนักการเมืองที่ไม่มีคุณธรรมจริยธรรมสะท้อนว่าแวดวงการเมืองไทยขาดทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ คือ ไม่มีคุณสมบัติที่เป็นต้นทุนด้านต่างๆ ตามทฤษฎี 8K's และ 5K's นอกจากนี้ การที่พรรคการเมืองเข้าไปแทรกแซงกระบวนการแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยราชการระดับสูงนั้น ทำให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคมากกว่าจะเป็นการสรรหาบุคคลอย่างโปร่งใสเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลัก 8 K’s และ 5 K’s อย่างแท้จริง

3. หากทุนมนุษย์ที่เป็นนักการเมืองอ่อนด้อยคุณภาพ ระบบการเมืองอ่อนแอ เช่น ทุจริต แสวงหาอำนาจผลประโยชน์ ก็จะส่งผลกระทบต่อเนื่องให้การดำเนินนโยบายต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิตของประชาชนไร้ประสิทธิภาพตามไปด้วย และเมื่อประชาชนไม่ได้รับการพัฒนาด้านพื้นฐานคุณภาพชีวิต เช่น การประกอบอาชีพ รายได้ การศึกษา ฯลฯ ก็จะทำให้ประเทศชาติขาดความมั่นคง เพราะคนถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการพัฒนาประเทศ

สรุปบทเรียนที่ได้จากฟังบรรยายเรื่อง ”Creative thinking” & “Value Innovation”

โดยอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

(กลุ่มที่ 3 ฤกษ์ชัย ทรงกรด ประไพวัลย์ ทิภวรรณ แสงอุทัย มัทยา สัจจาพันธ์)

“Creative thinking”

- โลกเปลี่ยนแปลง เราต้องปรับตามให้ทันโลก มิฉะนั้น เราก็จะตกยุค

- ปัจจุบันคนจะเลือกหรือตัดสินสิ่งต่าง ๆ โดยใช้สิ่งที่ตนรู้ว่าดี จากประสบการณ์ผ่านมา ยึดติดกับ

แบรนด์ที่เป็นที่นิยม ดังนั้น สขช. ก็ควรจะสร้างแบรนด์ของเราให้เป็นที่รู้จัก เพื่อเกิดการยอมรับและคนจะเชื่อมั่นใน สขช.

แนวคิดของ Albert Einstein :

“Imagination is more important Then knowledge. For knowledge is limite”

- จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ เพราะความรู้จำกัดความคิด (เรามักจะคิดว่ารู้แล้ว ทำให้ไม่คิดนอกกรอบ ไม่มีจินตนาการ เพราะคิดว่าตนเองรู้แล้ว)

แนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : “พอเพียง”

- ไม่ได้หมายถึงรู้พอแล้ว แต่หมายถึง ต้องมีความรู้อย่างพอเพียง คือ เราต้องมีความรู้ให้มากพอ ต้องรู้ลึก รู้จริงรู้ให้ถึงแก่นแท้ เราจึงสามารถที่จะคิดนวตกรรมใหม่ ๆ ให้ไปสู่การพัฒนาสู่สิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างมีคุณภาพ (ต้องรู้จักสิ่งเดิมที่มีอยู่อย่างดี จึงจะคิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่าได้)

ฉะนั้นเราต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยได้

ความคิดสร้างสรรคจะเกิดขึ้น เมื่อมีองค์ประกอบสามประการ คือ

!) Expertise มีผู้ที่มีประสบการณ์ตรง เคยลงมือประสบการณ์จริงมาถ่ายทอด และชี้แนะแนวทาง

2) Creative thinking skills ต้องมีทักษะในการคิดอย่างเป็นกระบวนการคิด ไม่คิดเรื่อยเปือย

3) Motevation ต้องมีแรงจูงใจ แรงกระตุ้น (คนมีความสามารถ แต่ถ้าไม่มีการกระตุ้น เพื่อผลักดันให้เกิดความคิดสร้างสรรค คิดนอกกรอบ)

“Value Innovation”

5 บริบทของการเปลี่ยนแปง : ถ้าบริบทโลกเปลี่ยนเรื่องราวจะเปลี่ยนตาม

1. ความเชื่อมโยงเศรษฐกิจการเงินโลก

2. เทคโนโลยี

3. ประชาการและสังคม

4. ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

5. รูปแบบการบริโภค

- เมื่อโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทั้ง 5 บริบท เราก็ปรับ และเรียนรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

ต้องมีการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ /ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องรู้ลึก รู้จริงให้ถึงแก่นแท้ของสิ่งนั้น ๆ เพราะยุคปัจจุบันนี้เป็นยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีมีการแข่งขันสูง ผู้ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ก่อนก็จะเป็นผู้ที่ยึดครองพื้นที่ได้

- Make it Better But Make it different. ทำให้ดีอาจไม่เพียงพอ แต่ ต้องทำให้แตกต่างด้วย ถึงจะได้

นวตกรรมที่มีคุณค่า (Value Innovation)

กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า : จากบทความนี้อ่านแล้วทำให้ทราบว่า การเมืองไม่มีมิตรและศัตรูที่ถาวรสามารถทำได้ทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ผู้ที่มีอำนาจอยู่ในมือสามารถทำอะไรก็ได้โดยไม่คิดถึงความถูกต้อง ความเหมาะสม บุคคลเหล่านี้ไม่มีทั้งทฤษฎี 8K's และ 5K's ซึ่งไม่เพียงแต่การแต่งตั้งโยกย้ายเท่านั้นที่บุคคลเหล่านี้จะเข้ามาแทรกแซงกิจภายในของข้าราชการประจำ ที่ทำให้เกิดการบั่นทอนความมั่นคงของประเทศ เกิดการแบ่งแยกแตกเป็นก๊กเป็นเหล่า แบ่งข้างของข้าราชการประจำ ทำให้ขาดความสามัคคีในหมู่คณะ ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาความมั่นคงระดับนโยบาย

จากบทความ กขค. การเมืองกับการเข่นฆ่า จะเห็นได้ว่า

1.ภาคการเมืองยังคงมีอิทธิพลต่อข้าราชการ โดยเฉพาะการโยกย้ายข้าราชการระดับสูงที่สามารถทำประโยชน์หรือเป็นแขนเป็นขาให้กับนักการเมืองที่ครองอำนาจอยู่ในช่วงนั้น ๆ

2.ระบบอุปถัมภ์ยังคงอยู่คู่กับสังคมไทย แม้โลกจะเปลี่ยนไปก็ตาม โดยเฉพาะการเลือกบุคคลที่มีที่มาจากกลุ่มเดียวกันหรือมีความสัมพันธ์กันในทางใดทางหนึ่ง

เมื่อนำทฤษฎี 8 K‘s ซึ่งเป็นทุน 8 ประการ ที่เป็นพื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และทฤษฎี 5 K’s ซึ่งเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ มาพิจารณาแล้วพบว่า

1.ระบบการบริหารของไทยยังไม่ให้ความสำคัญของทุนมนุษย์ ทั้งที่มีบุคลากรที่มีความสามารถอยู่แล้ว แต่ไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์

2.ผู้บริหารยังขาดทุนทางจริยธรรม ในการเลือกบุคคลเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งการเลือกบุคลเข้ารับตำแหน่งต้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

ปัญหาด้านความมั่นคงที่จะตามมาคือ

1.การเกิดความขัดแย้งและแบ่งพรรคแบ่งพวกในประเทศ ทั้งที่ประเทศต้องการความสมานฉันท์ แต่การเลือกบุคคลโดยเน้นพวกตนเอง แสดงให้เห็นว่า คนที่ไม่ได้เลือกไม่ใช่พวกตนเอง ซึ่งทำให้เกิดทุนทางวัฒนธรรมแบบผิด ๆ ในระบบราชการไทยต่อไปอีก

2.หากยังคงมีการแบ่งพวก จะทำให้บุคคลที่ต้องการตำแหน่งสำคัญ ๆ ก็จะเน้นเลือกฝ่ายหรือรับใช้นักการเมืองที่จะช่วยเหลือตนเอง มากกว่าพัฒนาทุนมนุษย์ของตนเอง

3.ประเทศขาดการพัฒนา เพราะขาดบุคคลที่มีความสามารถเข้ารับตำแหน่งสำคัญๆ

4.บุคคลที่ได้รับเลือก จะขาดทุนทางจริยธรรม เนื่องจากต้องเน้นการรับใช้นักการเมืองมากกว่าการพัฒนาประเทศ รวมทั้งแสวงหาผลประโยชน์ เพื่อตนเองและนักการเมืองที่สนับสนุนตนเอง

5.เกิดพฤติกรรมเลียนแบบในรุ่นต่อมา โดยเฉพาะการขาดทุนทางจริยธรรม

มองว่าคนที่เข้ามาในวงการการเมืองนั้นจะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเจตนาที่จะเข้ามา

เล่นการเมือง หากเข้ามาแบบไม่มีจริยธรรมหรือธรรมาภิบาล จนส่งผลให้รัฐบาลไม่มี เอกภาพและความมั่นคงในการบริหารจัดการ จะทำให้ประเทศชาติเสียหายได้

นอกจากนี้ หากนักการเมืองที่แทรกแทรงการทำงานของข้าราชการประจำ จนกลายเป็นวัฒนธรรมในองค์กรหรือสังคม ดังนั้น จึงต้องมีการแก้ไขที่ตัวข้าราชการ คือ การพัฒนาทุนทางจริยธรรม ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติในยุคโลกาภิวัฒน์ รวมทั้งทุนทางวัฒนธรรม

จากบทความ “กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า” ชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันการเมืองของไทยยัง

พัฒนาไปอย่างไม่มีทิศทาง เนื่องจากทุกพรรคการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศ มักจะเข้ามามีบทบาทเปลี่ยนแปลงและแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำในรูปแบบต่างๆที่เป็นประโยชน์ของพรรค/ตนเอง ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อภาคราชการ เช่น การแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงในภาคราชการ ที่คำนึงแต่บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ แต่ขาดซึ่งทุนด้านปัญญา จริยธรรม มากกว่าจะพิจารณาถึงทักษะการเป็นผู้นำ ซึ่งเป็นการบั่นทอนกำลังใจการทำงานของผู้นำในองค์กร ที่ถือเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญ นับเป็นการทำลายทุนพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคราชการ และอาจส่งผลกระทบไปยังบุคลากรในองค์กร จนทำให้ขีดความสามารถในการพัฒนาทุนมนุษย์ขององค์กรด้อยลง ภาคราชการและการเมืองถือเป็นกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญที่สะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพด้านความมั่นคงของประเทศ หากทุนมนุษย์ในภาคราชการและการเมืองด้อยคุณภาพ จะส่งผลสะท้อนให้พลังการขับเคลื่อนความมั่นคงลดน้อยถอยลงในที่สุด

จากบทความ กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า (ปราโมทย์ นาครทรรพ)

ความสัมพันธ์ของของข้าราชการกับนักการเมืองเป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งสองฝ่ายเกื้อหนุนและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันโดยมีงบประมาณแผ่นดินที่เป็นประโยชน์ของสาธารณะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาประโยชน์ ในยุคปัจจุบันที่อำนาจทางการเมืองเป็นใหญ่เหนืออำนาจอื่น ๆ นักการเมืองจะใช้อำนาจผ่านระบบราชการ จึงจำเป็นต้องพึ่งพาข้าราชการที่เป็นพวกพ้องของตัวเอง หรือเครือญาติ เพื่อตักตวงผลประโยชน์นั้น ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้นถ้านักการเมืองกำหนดนโยบายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจของตัวเองที่เรียกว่าการทุจริตเชิงนโยบาย ผลเสียก็จะเกิดกับสังคมส่วนรวมอย่างร้ายแรง มันจะมาทำลายแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ตามทฤษฎี 8K's หรือ 5K's ซึ่งขาดทั้งคุณธรรม และจริยธรรม ข้าราชการก็มีทัศนะคติที่ไม่ดี ขาดแรงจูงใจที่จะทำงานและการพัฒนาตนเอง

กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า

บทความ กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่าสะท้อนให้เห็นว่าบุคคลใดหากมีทุนพื้นฐานของความยั่งยืนหรือเปรียบเสมือนวีรบุรุษจนเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ จะสามารถคงความเป็นลักษณะเด่นของตนอยู่ได้ตลอดไป แม้จะแพ้การเลือกตั้งครั้งนี้แต่มีโอกาสเสมอที่จะกลับมาได้รับเลือกตั้งครั้งหน้า เพราะมีการสั่งสมของทุนทางจริยธรรมและทุนทางสังคมไว้สูง นอกจากนี้ยังบ่งชี้ให้เห็นว่าการเลือกตั้งทางการเมืองจะแพ้หรือชนะเพียงใดไม่สำคัญเท่ากับคุณลักษณะเด่นของตนที่เป็นที่ได้รับการยอมรับจากสังคม ส่วนการแต่งตั้งข้าราชการที่มีการแทรกแซงจากการเมือง จนขาดหลักธรรมาภิบาลและจริยธรรม สะท้อนให้เห็นถึงการขาดการพัฒนาทุนทางจริยธรรม ซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ส่วนรวม เหตุการณ์ข้างต้นเปรียบได้ว่าการขาดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (8K’s) มีส่วนสำคัญต่อบุคลากรในองค์กรอย่างมาก โดยเฉพาะการทำลายขวัญและกำลังใจของผู้นำอื่นที่มีความพร้อมของทุนมนุษย์ จนกลายไปสู่การทำงานที่ไม่เต็มกำลังความสามารถ และจะไม่เกิดแรงกระตุ้นต่อการพัฒนาทุนทางความรู้เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ (5K’s) ทั้งทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนทางความรู้ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางอารมณ์ และทุนทางวัฒนธรรม ขณะที่ภาคการเมืองและข้าราชการประจำ นับเป็นกลไกสำคัญต่อการบริการจัดการความมั่นคงของประเทศ หากไม่มีแรงกระตุ้นต่อการแสวงหาความรู้ด้านต้นทุนมนุษย์แล้ว การพัฒนาประเทศไปสู่สิ่งใหม่จะไม่เกิดขึ้นท้ายสุดจะกลายเป็นผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ

บทความ "กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า"

- การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ ปัจจุบันนับวันยิ่งเห็นมากขึ้นถึงการใช้อำนาจของนักการเมืองเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนพรรค ส่วนพวกพ้อง มากกว่าส่วนรวม และมุ่งรักษาความมั่นคงของพรรค ความมั่นคงของตนเองและพวกพ้องเป็นสำคัญ ยิ่งกว่าความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาติ

- กรณีการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงซึ่งมีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง สะท้อนซึ่งการขาดหลักการและความไม่โปร่งใสของกระบวนการ รวมถึงการขาดคุณธรรมจริยธรรมของฝ่ายการเมืองในความคิดเห็นส่วนตัวแล้ว การแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง ควรมีหลักการ เน้นเรื่องความรู้ ความสามารถ ควบคู่กับการดูความอาวุโสด้วย ข้าราชการที่ถูกข้ามหัวทั้งที่อาวุโสมากกว่าเหล่านี้ หากไม่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม จะได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงก่อนได้อย่างไร

- นักการเมืองปัจจุบันนับวันยิ่งขาดคุณธรรมจริยธรรม ไม่ได้ใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศ ใช้อำนาจการเมืองเข้ามาแทรกแซงการบริหารราชการ จึงเป็นการขาด ทุนทางจริยธรรม Ethical Capital ที่ชัดเจน

- เมื่อผู้บริหารประเทศขาดซึ่งธรรมาภิบาล คุณธรรมและจริยธรรม ข้าราชการประจำต้องทำงานรับใช้นักการเมืองเป็นผลประโยชน์ต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน ขาดจิตสำนึกในการเป็นข้าราชการที่ดี เกิดปัญหาการเล่นพรรคเล่นพวกในหมู่ข้าราชการประจำ และต่อไปปัญหาที่จะตามมา คือ การทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

จากการอ่านบทความ กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า

การทำงานของข้าราชการจะต้องถูกแทรกแซงกับการเมืองบ่อยครั้ง บทความนี้ชี้ให้เห็นว่า ทั้งข้าราชการและนักการเมืองในกระทรวงที่อ้างถึงในบทความนี้ขาดทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) นักการเมืองต้องการแต่งตั้งข้าราชการที่สามารถสนอบตอบผลประโยชน์ทางการเมืองได้ หรืออาจจะใช้ระบบพวกพ้องด้วย ขณะที่ข้าราชการระดับรองก็ได้ตำแหน่งระดับสูงขึ้นไป โดยขาดความชอบธรรม การแต่งตั้งบุคคลที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ยังทำลายทุนทางสังคมด้วย (Social Capital) เพราะจะทำให้สถาบันการปกครองซึ่งเป็นหลักยึดเหนี่ยวของคนไทยอ่อนแอ อย่างไรก็ดี มีแนวทางแก้ไขคือ การใช้ทฤษฎี 5 K มาปรับใช้กับข้าราชการยุคใหม่เพื่อให้มีศักยภาพในการทำงานกับนักการเมืองมากขึ้น เช่น พัฒนาให้ข้าราชการยุคใหม่มีทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนทางความรู้ และทุนทางนวัตกรรมมากขึ้น เพื่อให้รู้จักปฏิบัติงานโดยไม่ยึดกรอบเดิมๆ

สิ่งที่จะกระทบต่อความมั่นคงของชาติ คือ การที่นักการเมืองแทรกแซงการทำงานของข้าราชการจะทำให้สังคมแตกแยกมากขึ้น เนื่องจากข้าราชการก็แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายระหว่างพวกที่นักการเมืองแต่งตั้ง กับพวกที่มีอาวุโสแต่ไม่ได้รับการแต่งตั้ง นอกจากนี้ หากกระทรวงปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้เต็มที่ ประชาชนก็เสื่อมศรัทธาต่อรัฐบาล นำไปสู่การขาด Trust ต่อรัฐบาลในที่สุด

1.จากบทความ “กขค การเมืองกับการเข่นฆ่า” ทำให้ทราบถึงผู้นำที่ได้รับความนิยมในระดับนานาชาติ แต่ไม่ได้รับความนิยมในชาติ อาจเนื่องมาจากเก่งในการบริหารความสัมพันธ์ ความร่วมมือ ในระดับนานาชาติ แต่ไม่เก่งในการพัฒนาชาติ ซึ่งคนในชาติอยู่ใกล้ชิดกว่าย่อมมองเห็น และทราบถึงวัฏฐจักรของระบบราชการไทย ที่ต้องวนเวียนอยู่กับการเมืองที่ย่ำแย่ ข้าราชการประจำเข้าหานักการเมืองยอมอยู่ภายใต้อำนาจของนักการเมือง เพื่อผลประโยชน์ เพื่อหวังตำแหน่งหน้าที่สูงๆ ขึ้นไป นักการเมืองก็หวังที่จะมีข้าราชการประจำ เป็นแขน เป็นขา ตอบสนองความต้องการ เป็นผลประโยชน์ร่วมกันอย่างลงตัว แม้จะไม่ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม

2.การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว มากกว่าส่วนรวม เป็นการแสดงถึงความบกพร่องในทุนพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (8K ‘s) และการที่ระบบราชการยังย่ำอยู่กับที่ในระบบเดิมๆ ย่อมส่งผลกระทบในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์ (5K ’s)

3. เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ กรณีที่นักการเมืองเลือกข้าราชการประจำมาดำรงตำแหน่งสูงๆ ซึ่งไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม มุ่งตอบสนองความต้องการของนักการเมืองมากกว่าความต้องการของประชาชน ย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

สมพงษ์

จากบทความ กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า

1.นักการเมืองส่วนใหญ่ก่อนเสนอตัวเข้ามารับใช้ประชาชนมีทุนตามทฤษฎีทุน 8 K’s ครบถ้วน แต่เมื่อเข้ามาเล่นการเมืองแล้วมีเป้าหมายคือแสวงหาอำนาจและความร่ำรวยให้กับตนเองและพรรคพวก นโยบายที่สวยงามที่ได้แถลงไว้เป็นเพียงข้ออ้าง และเส้นทางเข้าสู่อำนาจเท่านั้น เมื่อได้รับอำนาจแล้ว ความบ้าอำนาจก็จะทำให้ทุนทางจริยธรรมหมดไป ส่วนคนที่ยังมีทุน 8 K’s ครบถ้วนก็จะกลายเป็นคนกลุ่มน้อยขาดเพื่อน และก็จะอยู่ในระบบการเมืองได้ไม่นาน

2. การที่นักการเมืองเข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการอย่างไม่เป็นธรรม โดยเอาคนและพรรคพวกของตนเอง เข้าดำรงตำแหน่ง ทำให้ข้าราชการที่ดีๆ ที่ทำงานเพื่อแผ่นดินขาดขวัญและกำลังใจในการทำงานขาดทุนความรู้ตามทฤษฎีทุนความรู้ 5 K’s เช่นทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางนวัตกรรม ส่วนนักการเมืองที่เข้ามาแทรกแซงโยกย้ายนักการเมืองทำให้ขาดทุนทางวัฒนธรรม และทางอารมณ์ ทำให้ประชาชาติไม่มีการพัฒนา ไม่มีความเจริญในด้านต่างๆ

3. ในยุคโลกาภิวัตน์ ประเทศที่ไม่มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ไม่มีความเจริญในด้านต่างๆ ก็จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และแรงงานด้วย

(กขค การเมืองกับการเข่นฆ่า)

การเมืองที่ล้มเหลวเกิดจากการแสวงหาอำนาจและผลประโยชน์ของนักการเมือง นักการเมืองมีบทบาทสำคัญต่อการแทรกแซงการแต่งตั้งข้าราชการประจำ ซึ่งเป็นผลให้เกิดการสูญเสียคนดีและเป็นการตัดวงจรที่สำคัญของการพัฒนาคน คนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด การพัฒนาทุนมนุษย์จึงต้องอาศัยทฤษฎี 8k's มาพัฒนาคน สร้างคนเป็นผู้นำและมีภาวะผู้นำ เน้นให้คนมีองค์ความรู้ คิดเป็น และวิเคราะห์เป็น และที่สำคัญต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กับองค์ความรู้ดังกล่าว การพัฒนาคนให้มีศักยภาพสูงขึ้นจะลดบทบาทของวงจรที่ไม่ดีในสังคมให้หมดไป ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ คนจึงต้องพัฒนาตนเองด้วยการเรียนรู้เพื่อหาองค์ความรูใหม่ๆ นำนวัตกรรมที่ทันสมัยมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (5k's)

การทำงานร่วมกันจะต้องใช้หลักการปรองดอง สมานฉันท์ ประนีประนอม หากการทำงานตั้งอยู่บนความถูกต้อง สังคมมีการจัดระเบียบที่ดี จะส่งผลดีต่อการเสริมสร้างความเข็มแข็งและเป็นภูมคุ้มกันที่สำคัญให้แก่ประเทศชาติ

ระบบการบริหารงานบุคคลที่เป็นหลักใหญ่ ๆ คือ ระบบคุณธรรม และระบบอุปถัมภ์ โดยระบบคุณธรรมนั้นเกิดจากการใช้อำนาจร่วมกับคุณธรรมและจริยธรรมของผู้บังคับบัญชาแต่ละคน เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ได้คนดีมีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงาน เป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน โดยยึดหลักความสามารถ ความเสมอภาค ความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่ และความเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งตรงข้ามกับระบบอุปถัมภ์ซึ่งเป็นการเล่นพรรคเล่นพวก ยึดหลักความพึงพอใจ

นักการเมืองที่เข้าแทรกแซงการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงนั้นมีมานานเกือบจะทุกรอบปีที่การแต่งตั้ง เพียงแต่จะเกิดข่าวฮือฮามากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป หากเรามองอย่างเป็นกลาง มีใจเป็นธรรม การที่เราร่วมทำงานกับคนที่เป็นพรรคพวกกัน คนสนิทกัน ย่อมจะทำให้การทำงานนั้นราบรื่น เพื่อความสะดวกในการบริหาร แต่ในความเป็นจริงมีวาระซ่อนเร้นแอบแฝงอย่างน่ากลัว

ตามทฤษฎี 8k’s และ 5k’s ได้กล่าวถึงเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ดังที่กล่าวมาข้างต้นข้าราชการทุกท่านที่มีสิทธิได้รับการแต่งตั้งล้วนเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ แต่ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ขาด “ความรู้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ยังยืน” คือขาดจริยธรรม โดยยึดเอาแต่ประโยชน์ส่วนตัว เป็นการมุ่งเน้นทำลายระบบคุณธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็น ยิ่งเป็นอันตรายต่อองค์กรโดยภาพรวม ผู้ไม่ได้รับการแต่งตั้งขาดขวัญกำลังใจ ขาดความสามัคคีในองค์กร เกิดการเล่นพรรคเล่นพวกเต็มรูปแบบ ผู้ที่ต้องรับชะตากรรมคือประชาชนและประเทศชาติ

กขค. การเมืองกับการเข่นฆ่า

การเมืองไทยยังอยู่ในวังวนของการทุจริตแบบครบวงจร เพราะสังคมไทยรับกระแสวัฒนธรรมจากโลกตะวันตกที่ให้ความสำคัญกับวัตถุนิยม โดยไม่กลั่นกรองให้เหมาะสมกับสังคมไทย ที่สำคัญความไม่เข้มแข็งของสังคมไทยเอง ในทุน 8K’s และ 5 K’s ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะทุนทางปัญญา และทุนทางจริยธรรม ซึ่งเป็นนามธรรม เห็นผลไม่ชัดเจน จับต้องไม่ได้ จึงพ่ายแพ้ทุนทางวัตถุ ที่จับต้องได้ ให้ผลทันตา สิ่งเหล่านี้จึงบ่มเพาะปัญหาในสังคมไทยให้ซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน จากการกระทำผิดของคนเพียงคนเดียว เมื่อสังคมให้การยอมรับ ผิดจะกลายเป็นถูก เมื่อขยายวงกว้างออกไปเป็นกลุ่ม โดยเฉพาะนักการเมือง จึงส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติอย่างเลี่ยงได้ยาก ในเมื่อปากท้องเป็นเรื่องสำคัญของทุกชีวิต การให้รายได้ที่มากพอกับการดำรงชีวิตอยู่อย่างสมเกียรติของนักการเมือง น่าจะเป็นทางออกที่ทำให้การทุจริตลดลงได้บ้าง

"กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า"

การใช้อำนาจทางการเมืองเข้าแทรกแซงในการแต่งตั้งข้าราชการประจำ โดยคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตน และพวกพ้อง ซึ่งสามารถคาดการณ์ได้ว่า ในวันข้างหน้าเมื่อบุคคลเหล่านี้เข้าปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งก็จะหนีไม่พ้นเรื่องการตอบแทนบุญคุณคืนให้กับกลุ่มการเมือง แทนที่จะตอบแทนบุญคุณให้แก่ประเทศชาติ และประชาชน ซึ่งเมื่อเริ่มต้นมุ่งแต่จะหาประโยชน์เฉพาะส่วนตนโดยไม่คำนึงถึงหลักคุณธรรม จริยธรรม หรือหลักธรรมาภิบาลแล้ว ผลกระทบที่จะติดตามมา คือ การไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม หรือขาดความเชื่อมั่นและศรัทธา (Trust) ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า การแต่งตั้งข้าราชการประจำของนักการเมืองไม่ได้ใช้หลักทฤษฎี 8K’s และ 5K’s มาช่วยในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ทรัพยากรมนุษย์อย่างมีคุณค่า ซึ่งผลกระทบที่จะตามมา คือความล้มเหลวของนโยบายต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองจะลดประสิทธิภาพลง ประชาชนจะขาดคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเมื่อนั้นก็เท่ากับประเทศชาติขาดซึ่งความมั่นคง

“กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า”

จากการอ่านบทความแล้ว มีความคิดเห็นว่า ระบบการเมืองไทยมีนักการเมืองส่วนใหญ่มักจะเข้ามาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์

โดยการเข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้งข้าราชการประจำ โดยมิได้คำนึงถึงหลักจริยธรรม (8 K’s) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อข้าราชการประจำ ในขณะเดียวกันข้าราชการประจำควรมีจุดยืนในตนเองและทำงานด้วยความโปร่งใสไม่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง

ทั้งนี้ หากนักการเมืองและข้าราชการประจำร่วมกันแสวงประโยชน์ โดยไม่คำนึงถึงประเทศชาติและประชาชน อาจทำให้เกิดการเรียนรู้วัฒนธรรมที่ผิด ๆ (5 K’s) ประเทศชาติอาจเสียหายได้

วิเคราะห์บทความ “กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า” ของ ปราโมทย์ นาครทรรพ

1. การเมืองที่ไม่คำนึงถึงจริยธรรม แต่ทำเพื่ออำนาจและผลประโยชน์ จะส่งผลกระทบต่อประเทศชาติ โดยเฉพาะการเข้ามาแทรกแซงระบบราชการ จะเป็นช่องทางให้ข้าราชเลวๆ เข้ามาแสวงประโยชน์ และเอารัดเอาเปรียบประชาชน ขณะเดียวกันก็จะทำให้ข้าราชการดีๆ เกิดความท้อแท้

2. จากบทความนี้ วิเคราะห์ได้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศเรายังขาดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ได้ผล จะเห็นได้ชัดเจนว่า คนไทยไม่ว่าในระดับใด จำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาตามทฤษฎีทุน 8 ประเภท (8 K’s) และ ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ (5 K’s) ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในทุกด้าน โดยเฉพาะจากปัญหาในบทความนี้ บ่งชี้ถึงการขาด Ethical Capital หรือทุนทางจริยธรรม ซึ่งเป็นทุนที่เกี่ยวข้องกับความซื่อสัตย์สุจริต สอดคล้องกับที่ อ.จีระ ประเมินว่า กลุ่มที่อ่อนที่สุดในทุนข้อนี้คือ นักการเมืองกับข้าราชการ (ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ หน้า 136) เพราะคนที่มีความสามารถและความรู้แต่ไม่มีคุณธรรม จะใช้ทักษะความสามารถไปในทางที่ผิดๆ ขณะที่ประชาชนก็ต้องได้รับการพัฒนาในทุกด้าน เพื่อให้รู้เท่าทันความเป็นไปในสังคมและกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งจะทำให้สามารถคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจเลือกนักการเมืองที่จะเป็นตัวแทนในปกป้องผลประโยชน์ของตน ไม่ใช่มาแสวงประโยชน์เสียเอง

3. ปัญหาที่พบในบทความนี้ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่แก้ไข และไม่มีการลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อาจทำให้ประเทศชาติต้องล่มสลาย ประชาชนเดือดร้อน เพราะนักการเมืองและข้าราชการที่ไม่มีจริยธรรมจะคอยแต่ตักตวงผลประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของประเทศชาติและประชาชน เกิดความแตกแยกในระบบราชการ ประชาชนขาดศรัทธา ประการสำคัญ นักการเมืองและข้าราชการดังกล่าวคงจะไม่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นพลังสำคัญที่สุดที่จะนำพาประเทศไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืน

@ จากบทความ “กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า” เมื่อได้อ่านทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่า การเข้าแทรกแซงของนักการเมืองในระบบราชการไทยยังคงมีอยู่ทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ปี ทำให้ย้อนกลับมาคิดว่า การพัฒนาระบบราชการไทยที่ยังไม่ก้าวหน้าได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้นั้น อาจเป็นเพราะนักการเมืองเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ฉุดรั้งการพัฒนาดังกล่าวไว้

@ อย่างไรก็ดี เมื่อนำทฤษฎี 8K’s ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ ทฤษฎี 5 K’s (ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ) ซึ่งเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ มาประกอบการพิจารณาบทความดังกล่าว ทำให้ตระหนักได้ว่าระบบการบริหารของราชการไทยในบางหน่วยงาน ยังขาดความเข้าใจและยังปรับตัวไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงในแนวคิดเรื่องทุนมนุษย์ ซึ่งแนวคิดนี้ครอบคลุมในหลายด้านด้วยกัน ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ทุนห่างการสร้างสรรค์ ทุนทางความรู้ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางอารมณ์ และทุนทางวัฒนธรรม

@ ซึ่งจากบทความชี้ให้เห็นว่า หน่วยงานภาครัฐดังกล่าวในลำดับแรกยังไม่เข้าใจในทุนมนุษย์และทุนทางจริยธรรมอย่างถ่องแท้ เนื่องจากทุนมนุษย์เป็นทุนที่สำคัญที่สุดที่มองว่า บุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด การที่ทางหน่วยงานละเลยบุคลากรของตนที่มีความสามารถทั้งที่โดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม อาจส่งผลให้การปฏับัติงานขององค์กรไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้

@ นอกจากนี้ การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐขาดความเข้าใจเรื่องแนวคิดทุนมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดแล้วนั้น อาจส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาประเทศชาติ เนื่องจากบุคลากรในองค์กรอาจไม่ได้รับการพัฒนา ขาดจริยธรรมในการปฏิบัติงาน ขาดความสุขในการทำงาน ไม่มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เป็นต้น

สิ่งที่ได้รับจากการอ่านบทความ

การเมืองเป็นปัจจัยหนึ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ จริยธรรมของนักการเมือง ไม่ว่าในหรือต่างประเทศยังคงเป็นตัวแปรสำคัญที่จะส่งเสริมหรือฉุดรั้งการเติบโต สร้างหรือลดโอกาสในการแข่งขันของประเทศและการดำรงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของชาติ เมื่อนำมาพิจารณาประกอบกับทฤษฎี 8 K พบว่า ทุนมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นเพราะหากบุคลากรมีคุณภาพจะไม่ยอมให้เกิดสภาวะดังที่ปรากฎในบทความเนื่องจากมีความรู้ความเข้าใจ และมีจริยธรรม ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี 5 K’s ในหัวข้อทุนทางความรู้นั่นเอง

วิเคราะห์กรณีศึกษา การเมืองกับการเข่นฆ่า

๑. จากกรณีศึกษาพบว่ายังมีการแทรกแซงทางการเมือง เพื่อวัตถุประสงค์ในการควบคุมการบริหารให้เป็นไปตามความต้องการ เป็นการได้ผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย ผู้นำจึงควรคำนึงถึงหลักคุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผลประโยชน์โดยรวมเป็นสำคัญ

๒. Ethical Capital หรือทุนทางจริยธรรม เป็นทุนที่สำคัญที่ผู้บริหารประเทศต้องคำนึงถึงและยึดเป็นหลักในการบริหารงานจึงจะสามารถสร้างเชื่อมั่นให้เกิดความศรัทธาต่อประชาชนได้

๓. การบริหารที่มีคนส่วนใหญ่เป็นคนกลุ่มหรือพวกเดียวกัน ในระยะยาวจะส่งผลให้เกิดการทุจริต คอรัปชั่น

ได้ง่ายขึ้น มีการเล่นพรรคเล่นพวก เพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตัว ส่งผลให้ประเทศชาติขาดความมั่นคงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ

จากการอ่านบทความ กขค.

- อุปสรรคในการพัฒนาประเทศที่เห็นได้ชัดคือ ขาดความเป็นเอกภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน การขาดการยอมรับ สนับสนุน ศรัทธา และต้นทุนทางสังคม พิจารณาจากทฤษฎี ของ ศ.ดร.จิระ ในเรื่องทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมในการเรียนรู้ และเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ทั้งของผู้บริหารและประชาชน ที่ยังขาดทักษะในการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ถูกต้อง อันส่งผลให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคมได้

1. กรณีศึกษา กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า

เห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องของการแย่งชิงผลประโยชน์และการครอบครองอำนาจ ฝ่ายตรงข้ามจะถูกทำลายล้างอย่างทุกวิถีทางโดยไม่คำนึงถึงหลักการใดๆ เพื่อให้อีกฝ่ายสูญเสียการยอมรับจากประชาชน (Social Trust) ในการเลือกตั้ง ซึ่งกรณีดังกล่าวเกิดจากนักการเมืองบกพร่องทุนพื้นฐานของการพัฒนามนุษย์ เช่น ทุนทางจริยธรรม ทุนมนุษย์ และทุนทางสังคม ตามหลักทฤษฎี 8K’s เช่นเดียวกับกรณีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการไทยซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีการเมืองแทรกแซงการแต่งตั้งข้าราชการเพื่อผลประโยชน์และหวังผลการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น ซึ่งกรณีดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความแตกแยกของข้าราชการที่มีส่วนได้เสียและส่งผลกระทบต่อการทำงานขององค์กรตลอดจนผลประโยชน์ของประเทศชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติทางอ้อม

2. ในเรื่องที่ อจ.ณรงค์ศักดิ์ กรุณาให้ความรู้ในวันนี้นั้น เห็นได้ว่าท่านเป็นนักธุรกิจที่เป็นแบบอย่างที่ดี เนื่องจากแม้ว่าทำธุรกิจส่วนตัวแล้วยังช่วยงานของสถาบันฯ และยังช่วยเปิดโอกาสด้านการตลาดแก่ชุมชนต่างๆ โดยใช้สื่อสมัยใหม่ เช่น Internet ในการโฆษณาต้นทุนต่ำ โดยใช้หลัก Visual Culture นอกจากนี้ยังมี Key แห่งความสำเร็จคือต้องรู้ประวัติศาสตร์/ความเป็นมาของสิ่งนั้นๆ อย่างแท้จริง ปรับตัว พัฒนาและกำหนดความต้องการให้ตรงจุด รวมทั้งการสร้างความแตกต่างเพื่อการแข่งขัน, การสร้างเครือข่ายในโลก Cyber และการปรับตัวเพื่อการเอาตัวรอด ซึ่งสามารถนำ Key ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อให้การทำงานในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. ส่วน VDO ที่ฉายให้ดูนั้น สะท้อนได้ว่าสิ่งที่เห็นในครั้งเดียวอาจไม่ใช่สิ่งที่ใช่ จำเป็นที่ต้องดู (คน) อย่างลึกซึ้ง

อรรถกร

จากบทความเรื่อง กขค. การเมืองกับการเข่นฆ่า (ปราโมทย์ นาครทรรพ) เห็นว่า

1. ผู้นำมีความสำคัญต่อชาติบ้านเมือง ถ้าได้ผู้นำที่ดี ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ประชาชนก็จะเชื่อถือศรัทธา ผู้นำที่ดี ควรจะเป็นคนมองการณ์ไกล คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในระยะยาว มองอนาคตให้สุดขอบฟ้า มีความคิดใหม่ๆ ที่จะนำมาใช้ในการทำงาน ก็จะได้รับความศรัทธาจากสังคม (Social Trust) แต่ในบทความที่อ่าน เห็นว่าหากผู้นำไม่มีภาวะความเป็นผู้นำ ขาดคุณธรรม จริยธรรม ไม่ปกครองตามหลักธรรมาภิบาล กระทำการเพื่อมุ่งหวังอำนาจและผลประโยชน์ของตน ผลเสียหายก็จะตกต่อประชาชนและประเทศชาติ

2 เกี่ยวข้องกับทฤษฏี 8 K’s ในเรื่องทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) คือ ผู้นำหรือนักการเมืองถึงแม้จะมีความรู้ ความสามารถที่ดีเยี่ยม แต่ถ้าหากขาดคุณธรรม จริยธรรม ความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดี เขาก็อาจจะใช้ความรู้ ความสามารถไปในทางที่ผิด เอารัดเอาเปรียบประชาชน กระทำการต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ดังเช่นกรณีการแต่งตั้งในกระทรวงมหาดไทยที่มีผู้ร้องเรียนว่าไม่เป็นธรรม และเกี่ยวข้องกับทฤษฏี 5 K’s คือ ข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถซึ่งได้รับการพัฒนาตามหลัก ทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creativity Capital), ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) และทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) ก็จะไม่อยู่ในองค์กร หรือที่ฝืนอยู่ก็ไม่มีจิตใจมุ่งมั่นในการทำงาน ทำให้กระทบต่อทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) คือ สร้างวัฒนธรรมว่า คนที่ใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจ หรือมีเส้นสาย จะได้รับการสนับสนุนส่งเสริมมากกว่าคนที่อาวุโสหรือมีความรู้ความสามารถ

3. ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ คือ ชาติจะมั่นคง ต้องมีผู้นำ และข้าราชการที่ดี มีความรู้ความสามารถ แต่ถ้าผู้นำหรือนักการเมืองไม่ดี แล้วมีข้าราชการที่เป็นพวกพ้องมาจากระบบอุปถัมภ์ อาจจะร่วมกันโกงกินชาติ และทำให้ข้าราชการดีๆ หมดกำลังใจที่จะทำงานเพื่อประเทศชาติต่อไป ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ

บทความที่อ่านสะท้อนให้เห็นว่า

- ไม่ว่าจะเป็นการเมืองไทยหรือต่างประเทศ ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องพร้อมที่จะรับคำวิพากษ์วิจารณ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงการแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงทฤษฎีของท่านอาจารย์ว่า บุคคลที่อยู่ในแวดวงการเมืองต้องมีภูมิคุ้มกันทางอารมณ์ คือ ทุนแห่งความสุข หรือทุนทางอารมณ์ ที่จะทำให้พร้อมรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองหรือข้าราชการประจำ หากมีเป้าประสงค์ที่จะทำงานให้กับประเทศชาติ จะต้องดำรงตนให้อยู่ในสภาวะที่พร้อมจะเผชิญกับแรงกดดัน ทั้งหมดนี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในกระแสโลกาภิกาวัตน์ที่ต้องการการพัฒนาอย่างเป็นระบบทั้งด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติ จริยธรรม

1. จากบทความ "กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า" ซึ่งเขียนโดย ปราโมทย์ นาครทรรพ ซึ่งผู้เขียน

เล่าให้ฟังว่าเชิชชิล ซึ่งเป็นวีรบุรุษสงคราม กลับมาแพ้การเลือกตั้งอย่างหมดรูปให้กับแอตลี แม้ว่า

ในสมัยถัดมาเขาจะกลับมาชนะแอตลีและได้ตำแหน่งคืน แต่ก็แพ้แอตลีหลุดลุ่ยในการโหวต

เป็นนายกรัฐมนตรีที่ดีที่สุดแห่งศตวรรษ ทั้งๆ ที่แอตลีเป็นนายกฯได้เพียงเทอมเดียว แต่ในระดับ

นานาชาติ แอตลีแพ้เชิชชิลหลุดลุ่ย เชิชชิลได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐบุรุษของโลก (เชิชชิล กล่าวว่า

“สงครามฆ่าเราได้หนเดียว แต่การเมืองฆ่าเราได้หลายหน” เชิชชิลพูดถึงเฉพาะชีวิตของนักการเมืองเท่านั้น

แต่ผู้เขียนต่อยอดไปถึงชีวิตของประชาชน ประเทศชาติ หรือแม้แต่ของโลก ที่ต้องตกเป็นเหยื่อของ

การเมืองทราม การเมืองล้มเหลว การเมืองเพื่ออำนาจและผลประโยชน์ ครั้งแล้วครั้งเล่า เคราะห์กรรม

ถักทอต่อยอดไปถึงลูกถึงหลาน เป็นมรดกโหดที่เราต้องตกเป็นเหยื่อชั่วชีวิตถึงหลาชั่วคน)

- วิเคราะห์ได้ว่าการที่เชิชชิล ไม่ได้รับเลือกตั้ง อาจเป็นคนภาพของ “วีรบุรุษสงคราม” กล่าวคือ

ประชาชนไม่ได้ชื่นชอบสงคราม การเป็นวีรบุรุษสงครามทำให้ทำให้ภาพของสงครามซึ่งมีภาพของ

การเข่นฆ่า ความสูญเสียเลือดเนื้อ ความเสียหายที่เป็นผลกระทบจากสงคราม อาจทำให้ภาพวีรบุรุษ

สงครามของ เชิชชิล ซึ่งน่าจะเป็นผลดี แต่กลับกลายเป็นผลลบ เพราะอาจทำให้ไม่ได้รับความนิยมชมชอบ

และศรัทธาในฐานะนักการเมือง ซึ่งมีหน้าที่ทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข เป็นผลให้ไม่ได้รับเลือกตั้ง

2. บทความนี้เกี่ยวข้องกับ ทฤษฎี 8 K's , 5 K's ที่ได้เรียนมาแล้ว คือ

- ตามทฤษฎี 8 K's และ 5 K’s เกี่ยวข้องกับกรณีความเชื่อมั่นศรัทธาในตัว เชิชชิล ซึ่งถือเป็นทรัพยากร

มนุษย์ หากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งวิเคราะห์คุณสมบัติของ เชิชซิล ตามหลักทฤษฎี 8 K's , 5 K’s

ก็อาจมองว่า เชิชชิล ในภาพของวีรบุรุษสงครามว่าขาดคุณสมบัติของทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข

ทุนแห่งความยั่งยืน เพราะยึดติดกับภาพสงคราม ซึ่งสือถึงการเข่นฆ่าและการสูยเสีย จึงทำให้ไม่เกิดศรัท

3. เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ

- การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ และมีการแข่งขันให้ได้มาซึ่งอำนาจ หากนักการเมืองมุ่งแต่ “เล่นการเมือง” เพื่อแย่งชิงอำนาจเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง การพัฒนาชาติให้มั่นคงก็เป็น

เรื่องยาก จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านนักการเมืองผู้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติ จะมุ่งมั่นทุ่มเท และให้ความรู้ความสามาถช่วยกันพัฒนาชาติให้มีความมั่นคงทั้งด้าน การเมือง เศรษฐกิจ

และสังคม สาธุ....

กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า (ปราโมทย์ นาครทรรพ)

๐ จากบทความดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงอุปสรรคหนึ่งของการพัฒนาประเทศชาติ ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยเสียโอกาสในแข่งขันกับประเทศต่างๆ จนเทคโนโลยีด้านการสื่อสารบางอย่างล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้อาจกล่าวได้ว่าความเจริญทางด้านวัตถุของประเทศไทยรุดหน้าไปไม่น้อยกว่า 10 ปี ตัวอย่างเช่นเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารรูปแบบ 3G


๐ การแทรกแซงข้าราชการของนักการเมืองชี้ให้เห็นถึงภาวะการขาดคุณสมบัติด้าน Moral Quotient หรือจริยธรรมศิลธรรมของนักการเมือง ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับความเป็นมนุษย์ และพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือทฤษฎี 8K's ในข้อ 3 คือทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) ทั้งนี้นักการเมืองย่อมทราบดีว่าการทุจริตคอรัปชั่นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมที่เรียกว่าทุจริตเชิงนโยบาย โดยการใช้ช่องว่างของกฎหมายหรือความได้เปรียบในแง่ข้อมูลข่าวสาร นำมาซึ่งผลประโยชน์ตอบแทนให้กับตนเองและพวกพ้องนั้น ในทางจริยธรรมถือว่าเป็นการได้มาโดยไม่ชอบ เพราะควรจะเป็นผลประโยชน์ของคนทั้งประเทศหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ หรือไม่ทำให้ประเทศชาติเสียเปรียบในการแข่งขันกับต่างประเทศ นอกจากนี้การแทรกแซงข้าราชการของนักการเมืองยังเป็นการทำลายองค์ประกอบของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามทฤษฎี 5K's ด้วย เพราะส่งผลให้ข้าราชการที่ดีที่เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า สูญเสียกำลังใจในการทำงาน หรือไม่ก็ลาออกไปจากองค์กร เป็นผลให้ศักยภาพของการบริหารราชการแผ่นดินหรือความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศลดน้อยลงไปด้วย


๐ ปัญหาการแทรกแซงข้าราชการของนักการเมืองไม่เพียงแต่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศเท่านั้น ยังเป็นปัญหาต่อความมั่นคงของประเทศชาติอีกทางหนึ่งด้วย เพราะความมั่งคั่งของประเทศชาติก็คือส่วนหนึ่งของความมั่นคงของประเทศ หากนโยบายของรัฐบาลในด้านต่างๆ ที่มีอิทธิพลเหนือคำแนะนำ หรือแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องของข้าราชการ มีผลต่ออาณาเขต หรือความได้เปรียบเสียเปรียบทางการค้า ตลอดจนทรัพยากรของประเทศ ถูกนำไปใช้เป็นข้อต่อรองเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองหรือพวกพ้อง ย่อมทำให้ประเทศชาติเสียเปรียบในการแข่งขันกับต่างประเทศ ซึ่งหากปัญหานั้นก่อให้เกิดความแตกแยกของคนภายในประเทศ หรือเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างรุนแรง จนนำไปสู่สภาวะ "ไร้ขื่อแป" ก็อาจถูกแทรกแซงจากต่างประเทศได้โดยง่าย ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศโซมาเลีย

อ้างอิง : ข้าราชการไม่เป็นกลาง ล้างผลาญบ้านเมือง , นี่หรือ ภูมิใจมหาดไทย

กขค.การเมืองการเข่นฆ่า (ปราโมทย์ นาครทรรพ)

1. จากการอ่านบทความทำให้ความทราบว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในด้านหนึ่งมิใช่จะประสบความสำเร็จในอีกด้านหนึ่ง อย่างกรณีของเชิชชิลที่เป็นวีรบุรุษสงครามแต่ไม่ได้ประสบความสำเร็จด้านบริหารการเมือง

2. การแต่งตั้งการดำรงตำแหน่งข้าราชการในเมืองไทยทุกยุคทุกสมัยยังมีการใช้ระบบอุปถัมภ์มากกว่าระบบคุณธรรม โดยเฉพาะปัจจุบันการแต่งตั้งข้าราชการถูกแซกแซงจากผู้บริหารระดับสูง นักการเมือง หรือผู้มีอิทธิพลที่แต่งตั้งบุคคลที่สามารถให้ผลประโยชน์และควบคุมได้เข้าดำรงตำแหน่งมากกว่าบุคคลที่มีความสามารถอย่างแท้จริง ซึ่งเห็นได้ว่าผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญเกี่ยวกับทฤษฏี 8K’s และทฤษฏี 5 K’s เลยแม้แต่น้อย

3. เมื่อผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญในการพัฒนาคนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญที่สุดแล้ว ในอนาคตประเทศชาติจะมีความมั่นคง(ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของชาติ) ได้อย่างไร เมื่อประเทศเต็มไปด้วยผู้บริหารและข้าราชที่ขาดหลักธรรมมาภิบาลในการบริหารประเทศ มีแต่จะทำให้ประเทศชาติล่มสลายไปในที่สุด/

บทความ กขค. การเมืองกับการเข่นฆ่า ซึ่งเขียนโดยปราโมทย์ นาครทรรพ แสดงให้เห็นความสำคัญของสถานการณ์โลกที่ส่งผลต่อความศรัทธาในตัวผู้นำ โดยได้ยกตัวอย่างประเทศอังกฤษ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อดีตนายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิลล์ ผู้นำอังกฤษ ได้นำพาประเทศเข้าสู่ภาวะสงครามโลก จนกระทั่งสงครามยุติลง นรม.เชอร์ชิลล์ ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษแห่งสงครามโลก อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าประหลาดใจว่าเมื่อมีการลงคะแนนเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีที่ดีที่สุดแห่งศตวรรษ นรม.เชอร์ชิลล์ กลับไม่ได้รับการรับเลือก ยิ่งไปกว่านั้นยังพ่ายแพ้ต่ออดีต นรม.แอตลี อย่างหลุดลุ่ย ทั้งๆ ที่ นรม.แอตลี ดำรงตำแหน่ง นรม.แค่เพียงสมัยเดียวเท่านั้น สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าสังคมอังกฤษได้คำนึงถึงทุน 8 ประการ (ทฤษฎี 8 K’s) ซึ่งให้ความสำคัญต่อทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก แต่ในช่วงของ นรม.เชอร์ชิลล์ ซึ่งเป็นช่วงที่อังกฤษเข้าสู่ภาวะสงคราม ทำให้เกิดการสูญเสียทุนทั้ง 8 ประการ ที่สำคัญคือ ทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม และทุนแห่งความสุข

ด้านการปฏิบัติงานของข้าราชการประจำยุคปัจจุบัน ข้าราชการที่ดีควรประพฤติตนให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าในยุคโลกาภิวัตน์ (ทฤษฎี 5K ’s) คือ เป็นบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้ความสามารถ มีทุนทางนวัตกรรม มีทุนทางอารมณ์ และทุนทางวัฒนธรรม

ทั้งนี้ จากบทความ กขค. การเมืองกับการเข่นฆ่า แสดงให้เห็นว่าความมั่นคงของชาติจะเกิดขึ้นได้จากจากการตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง โดยผู้นำประเทศจะต้องคำนึงถึงหลัก 8 K’s ให้เกิดความสมดุลในสังคม ขณะที่ข้าราชการประจำก็จะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าในองค์กร ตามหลัก 5K ’s

จากบทความ “กขค. การเมืองกับการเข่นฆ่า”

- จากบทความดังกล่าว พิจารณาได้ว่าระบบการเมืองไทยมีลักษณะเช่นนี้มาเนิ่นนาน และคาดว่าจะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป ส่วนหนึ่งอาจจะเข้าในลักษณะ “ค่าของคน อยู่ที่คนของใคร” ประกอบกับการแสดงออกที่เสมือนมีการแบ่งฝ่ายในหมู่ข้าราชการบางส่วนด้วย จึงแล้วแต่ยุคสมัยว่าฝ่ายใดจะได้ขึ้นเป็นผู้นำ ซึ่งหากผู้นำขาดคุณสมบัติการเป็นผู้นำที่ดี ไม่มีทุนทางด้านจริยธรรม ทุนทางปัญญา และทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ตามทฤษฎี 8 K’s รวมถึงการขาดทุนทางอารมณ์ ตามทฤษฎี 5 K’s ก็จะรักษาผลประโยชน์ในกลุ่มของตนก่อน

- หากการบริหารประเทศยังคงอยู่ในลักษณะรักษาผลประโยชน์ เฉพาะกลุ่ม มีการแบ่งพวก แบ่งฝ่าย ย่อมจะทำให้ข้าราชการเกิดความรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิตการปฏิบัติหน้าที่ ขาดขวัญและกำลังใจ อาจทำให้ประสิทธิภาพ และความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศลดลง ทำให้ประเทศขาดการพัฒนา จนกระทั่งเกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติในทุก ๆ ด้าน

ในสถานการณ์ปัจจุบัน หากนักการเมือง หรือผู้นำของประเทศยังขาดหลักธรรมาภิบาล ในการบริหารประเทศเอาแต่ผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง ก็ย่อมจะทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นและศรัทธา (Trust) นักการเมืองหรือผู้นำที่ดีที่จะต้องสร้างศรัทธาให้กับประชาชน และรู้จักการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้ถูกต้องตามหลักทฤษฎี 8 K’s มาช่วยในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะได้คนดี คนเก่ง และมีจริยธรรม มาปฏิบัติหน้าที่ช่วยการขับเคลื่อนองค์กร สังคม และประเทศชาติให้มีความเจริญมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัตน์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อปรับเปลี่ยนให้มีความสามารถแข่งขันในระดับเวทีโลกได้ รวมทั้งการนำทฤษฎี 5K’s มาปรับใช้เพื่อช่วยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่แตกต่างจะทำให้ประเทศชาติอยู่รอดและมั่นคงต่อไปได้

ส่วนเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ หากผู้นำ และข้าราชการ ยังไม่สามารถนำทฤษฎี ทั้ง 8 k’s และ 5 k’s มาเป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะในด้านจริยธรรม คุณธรรม ย่อมไม่สามารถจะผู้นำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญและพัฒนาก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไปได้

บทความ กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า

การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจและผลประโยชน์ นักการเมืองบางคนเคยประสบผลสำเร็จในอาชีพอื่นแต่เมื่อมาเป็นนักการเมืองกลับล้มเหลว ไม่สามารถบริหารประเทศให้เป็นที่ยอมรับจากประชาชนได้ ขณะเดียวกันหากบุคคลใดตกเป็นเหยื่อการเมือง จะทำให้ตกทอดถึงรุ่นหลานเช่นกัน

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามทฤษฎี 8K’s และ 5K’s มีความสำคัญต่อทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน โดยเฉพาะทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) ซึ่งขาดหายไปจากกลุ่มนักการเมืองและนักธุรกิจ หากกลุ่มเหล่านี้ได้รับการพัฒนาทุนด้านนี้ การแต่งตั้งข้าราชการประจำคงจะไม่ถูกแทรกแซงจากนักการเมืองที่ต้องการแสวงประโยชน์ส่วนตนอย่างแน่นอน ปัญหาการทุจริตและคอรัปชั่นคงไม่เกิดในประเทศ ข้าราชการประจำ และนักการเมือง สามารถทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง เกิดความมั่นคงทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

จากบทความ "กขค.การเมืองกับการเข่นฆ่า" อ่านแล้วได้อะไรบ้าง

จากข้อสังเกตเรื่องการแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการขึ้นเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตามบทความข้างต้นนั้น ผมต้องขอออกตัวก่อนว่าผมไม่รู้จักกับท่านใดและไม่มีผลประโยชน์ร่วมกับผู้ใดทั้งสิ้น แต่พิจารณาแล้วเห็นว่ารายละเอียดบางอย่างยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนนักถึงเจตนารมณ์ของการแต่งตั้งดังกล่าว แม้แต่ผู้เขียนบทความเองยังอ้างถึงหลักเกณฑ์ของ ก.พ.ว่า บุคคลใดในรายชื่อที่คณะกรรมการเสนอเหมาะสม ให้ระบุความเหมาะสมที่จะได้รับแต่งตั้งพร้อมทั้งเหตุผลของการตัดสินใจดังกล่าวแล้วเสนอให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอ ครม.อนุมัติ และเมื่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดใช้ดุลพินิจแล้วเห็นว่า บุคคลใดในรายชื่อที่ปลัดกระทรวงเห็นว่าเหมาะสมก็ให้ระบุความเหมาะสมที่ได้รับการแต่งตั้งพร้อมทั้งเหตุผลของการตัดสินใจดังกล่าวเพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้นั้น แสดงว่าผู้เขียนเองก็ยังไม่ทราบถึงเหตุผลในการแต่งตั้งแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการคาดการณ์ตามความเห็นของตนเท่านั้น สำหรับการแต่งตั้งตามระบบของ ก.พ.ในปัจจุบัน ได้เน้นที่ความรู้ความสามารถและความเหมาะสมในด้านต่างๆกับตำแหน่งที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นหลัก สำหรับกรณีอาวุโสจะนำมาพิจารณาใช้ในสภาวะที่มีผู้มีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถเหมาะสมที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ผู้ที่อาวุโสกว่าก็น่าที่จะเป็นผู้ได้รับเลือก ดังนั้นการแต่งตั้งตามบทความข้างต้นจะเหมาะสมหรือไม่เราคงไม่สามารถที่จะกล่าวได้ว่าถูกต้องหรือไม่ แต่จะต้องนำเหตุผลมาประกอบด้วย แต่หากว่าฝ่ายการเมืองหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ไม่สามารถนำเหตุผลดังกล่าวที่เหมาะสมมาแสดงได้ ก็อาจจะทำให้มองได้ว่าการเมืองเข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้งในกระทรวงมหาดไทย จนขาดธรรมาภิบาล ผิดกฎหมาย จริยธรรมจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง และผมเองก็สนับสนุนในหลักการที่ว่าการเลือกบุคลเข้ารับตำแหน่งที่สำคัญในทุกส่วนราชการ ต้องมีความโปร่งใส และ ตรวจสอบได้ และที่สำคัญจะต้องอยู่บนพื้นฐานเพื่อประโยชน์ต่อชาติและประชาชนเป็นหลัก

บทความนี้เกี่ยวข้องอะไรกับ ทฤษฎี 8K's , 5K's

ทฤษฎี 8 K‘s เป็นทฤษฏีว่าด้วยทุน 8 ประการ ที่เป็นพื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อันประกอบไปด้วยทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา จริยธรรม ความสุข สังคม ความยั่งยืน IT และทุนทางความรู้และทักษะ ซึ่งสามารถนำมาช่วยในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่จะใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาคัดเลือกเพื่อให้ได้คนที่เป็นทั้งคนดี คนเก่ง และมีจริยธรรม มาช่วยในการขับเคลื่อน องค์กร สังคม ประเทศชาติ ให้มีความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกที่ก้าวไปอย่างรวดเร็วได้

ทฤษฎี 5K’s เป็นทฤษฏีทุนมนุษย์ที่สำคัญอีก 5 เรื่องที่สามารถนำมาใช้เพิ่มเติมร่วมกับทฤษฎี 8 K‘s ได้อย่างเหมาะสม โดยเน้นไปที่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่แตกต่างจากแนวทางปฏิบัติที่ผ่านมา เพื่อจะทำให้ประเทศชาติสามารถอยู่รอดและมั่นคงต่อไปได้ ซึ่งประกอบไปด้วย ทุนทางความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วัฒนธรรม และทางอารมณ์

จากแนวทางของทฤษฏีทั้งสองข้างต้น จะเห็นได้ว่าเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น นักการเมือง ข้าราชการระดับสูง หรือ ผู้มีอำนาจในการแต่งตั้งทุกระดับ หากมีความเป็นผู้นำที่แท้จริง มีความยุติธรรม ตลอดจนมีความตั้งใจในการบริหารประเทศหรือองค์กร อย่างโปร่งใสเป็นธรรม สามารถนำแนวทางดังกล่าวไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาติและประชาชนได้เป็นอย่างดี

เกี่ยวข้องอะไรกับความมั่นคงของชาติ

หากการแต่งตั้งดังกล่าวตามบทความข้างต้น มีเจตนาที่บริสุทธิ์และยึดหลักความรู้ความสามารถเพื่อให้ได้คนดีเข้าไปทำงานก็จะทำให้ข้าราชการประจำและประชาชนให้ความสำคัญและความเชื่อถือต่อภาคการเมืองมากขึ้น ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะนำไปสู่การพัฒนาในด้านต่างๆให้ดีขึ้นต่อไป

แต่หากการแต่งตั้งดังกล่าวตามบทความข้างต้น มีเจตนาไม่บริสุทธิ์แอบแฝง หรือ ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงกระบวนการแต่งตั้งของข้าราชการประจำจริง เพื่อผลประโยชน์ทั้งต่อตนเองและพวกพ้องก็เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การเมืองยังมีอิทธิพลเหนือข้าราชการประจำและประเทศก็ยากที่จะพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าต่อไป และจะยิ่งก่อให้เกิดความแตกแยกเป็นหลายพวกซึ่งมีผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง หากไม่รีบแก้ไข อาจนำไปสู่ปัญหาทางด้านสังคมต่างๆ หรือ ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองในอนาคตเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาหรือซ้ำเติมต่อความมั่นคงของชาติและประชาชน

Homework tonight

  1. Write in English
  2. Work as group-present in a group
  3. Read paper on Performance and Loyalty
  4. Analyze
  • Is loyalty a problem in National Intelligence Agency?
  • Why loyalty is weak at the present time?
  • Do you have problems with different generations?
  • How to improve loyalty in National Intelligence Agency?

 

สรุป Learning Forum หัวข้อ สำนักข่าวกรองแห่งชาติกับเส้นทางสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2553

  •  ขอให้นำความรู้ที่ได้วันนี้ไปเป็นเบ็ดตกปลา
  • วัฒนธรรมองค์กรกับวัฒนธรรมการเรียนรู้ต้องไปด้วยกัน มันขึ้นกับเจ้านายด้วย
  • ถ้ามีความรู้แต่ไม่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ (LC) ก็จะไม่มีองค์กรการเรียนรู้ (LO)
  • ถ้ามีวัฒนธรรมการเรียนรู้ ก็จะไปสู่องค์กรการเรียนรู้ได้
  • องค์กรการเรียนรู้ประกอบด้วย 4L’s, 2R’s, เศรษฐกิจพอเพียง, Peter Senge
  • อย่าเน้น E-learning เกินไป ต้องดูเนื้อหาด้วย มี Best Practice และความรู้ที่มองไม่เห็น
  • LC พูดถึงความคิดในอนาคต มี 8K’s, 5K’s ความคิดเชิงวิเคราะห์
  • ต้องให้แหล่งข่าวของเราใฝ่รู้จะได้มีข่าวสดและคม
  • สำนักข่าวกรองจะต้องมีมุมมองกว้างไกลทำให้ผลผลิตการทำงานดีขึ้น

     นวัตกรรมสำนักข่าวกรอง

  • มีความคิดใหม่ๆเสมอ
  • คิดสร้างสรรค์
  • มีความรู้
  • ทำงานข้ามสายงานให้ได้
  • ข่าวกรองต้องทำงานอย่างรวดเร็ว (Speed)
  • ข่าวที่ส่งมาอย่าให้สับสน มีทั้ง Clear และ Clarity

    หลังจากเรียน ต้องสำรวจว่าได้อะไรจากการเรียนรู้

  • ต้องมีการจุดประกายสร้างองค์กรการเรียนรู้ โดยรุ่น 1 ผนึกกำลังร่วมกับรุ่น 2
  • องค์กรมักมีแต่ training แต่ไม่มี learning
  • การเรียนที่ยิ่งใหญ่คือการเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม
  • ต้องเข้าใจก่อนท่อง รู้ให้จริง พึ่งตนเอง แก้ปัญหาด้วยตนเอง
  • ศึกษาเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดในโลก
  • สิ่งที่เกิดในอดีตอาจไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต ต้องใฝ่รู้ ปะทะกับความจริง
  • เรียนด้วยตนเอง
  • คิดเป็นระบบ
  • บทความ Harvard Business Review ความสำเร็จองค์กรการเรียนรู้มาจากการมีผู้นำที่ดี การพัฒนาบุคลากรในองค์กร (ในด้านที่มองไม่เห็น)
  • วัฒนธรรมองค์กรข่าวกรองต้องสร้างให้คนวิเคราะห์ ออกความเห็น แบ่งปันแล้วนำไปสู่ความสำเร็จ ต้องมี facility และ habit
  • ควรให้ลูกน้องอ่านหนังสือดีๆบ้าง พาลูกน้องไปห้องสมุดและร้านหนังสือบ้าง

 Workshop 1

  1. ถ้าจะให้คะแนน 0-10 องค์กรแห่งการเรียนรู้ในสำนักข่าวกรองฯ ได้เท่าไหร่
  2. ถ้าจะพัฒนาตัวเองให้มี LC จะต้องทำอะไรเพิ่มขึ้น
  3. อุปสรรคในสำนักข่าวกรองฯไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้มีอะไร 3 เรื่อง

 

กลุ่มนำเสนอลำดับที่ 1

1.ถ้าจะให้คะแนน 0-10 องค์กรแห่งการเรียนรู้ในสำนักข่าวกรองฯ ได้เท่าไหร่

  • เรามีทำ KM แล้วได้ 6 คะแนน
  • +Share และผู้นำแล้วได้คะแนนรวม 7.5 คะแนน

 

2. ถ้าจะพัฒนาตัวเองให้มี LC จะต้องทำอะไรเพิ่มขึ้น

  • สร้างนิสัยให้คนใฝ่รู้ในทุกศาสตร์ ข้ามสายงาน ศึกษาจิตวิทยาเพื่ออ่านคน
  • ต้องมีการแบ่งปัน แต่องค์กรยังแบ่งการทำงานเป็นส่วนๆ
  • พัฒนาการคิดวิเคราะห์เป็น
  • เรียนรู้จากประสบการณ์และความเจ็บปวด
  • นำความคิดทั้งหมดมาคิดนอกกรอบ มีความคิดสร้างสรรค์

 

3. อุปสรรคในสำนักข่าวกรองฯไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้มีอะไร 3 เรื่อง

  • เรายังยึดติดความคิดเดิมๆ
  • Compartmentation
  • ระบบยังมี Command and Control เจ้าหน้าที่จึงยังไม่กล้าแสดงความคิดเห็นขัดแย้ง

 

ดร.จีระ

  • ยังไม่ได้บอกเรื่องการใฝ่รู้ วิเคราะห์
  • คะแนนเท่าที่ผมคาดไว้
  • เทคนิคการทำสเกลดีมาก
  • ดีที่มีการข้ามศาสตร์
  • ต้องมีบรรยากาศและโอกาสการแบ่งปันความรู้กัน
  • คิดวิเคราะห์เป็นดีมากตรงประเด็น ต้องมีวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมมาส่งเสริม
  • ดร.สรจักร เกษมสุวรรณพูดเรื่องการคิดวิเคราะห์ดี
  • ควรระบุว่ามีวิธีการใฝ่รู้อย่างไร
  • เรื่องคุณธรรมก็เป็นความมั่นคงของชาติ

 

กลุ่มนำเสนอลำดับที่ 2

1.ถ้าจะให้คะแนน 0-10 องค์กรแห่งการเรียนรู้ในสำนักข่าวกรองฯ ได้เท่าไหร่

  • หลังสถานการณ์การเมืองเกิด รับมือกับการจัดการความขัดแย้ง ได้ 7 คะแนน

 

2. ถ้าจะพัฒนาตัวเองให้มี LC จะต้องทำอะไรเพิ่มขึ้น

  • เปิดใจรับฟังความคิดเห็น
  • คิดวิเคราะห์จากความจริงไม่ใช่ข่าวลือ เราหาความจริงเอง
  • วางแผนโยกย้ายบุคลากรไปทำงานที่อื่น รวมทั้งอุปกรณ์และเทคโนโลยี

 

3. อุปสรรคในสำนักข่าวกรองฯไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้มีอะไร 3 เรื่อง

  • การทำงานแบบ Compartmentation การทำงานไม่ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน ทุกเรื่องเป็นความลับ
  • การตีความหมาย need to know ผิดพลาดไป เราคิดว่า รู้เท่าที่จำเป็น แต่จริงๆ คือรู้เพื่อให้ทำงานได้ ยังขาดการประสานความร่วมมือข้ามสายงาน ถ้ามีประสานงานจะมองภาพรวมได้ดี รัฐบาลจะได้นำไปแก้ปัญหาได้
  • แต่ละคนไม่เปิดรับความคิดใหม่ ไม่ยอมพัฒนาตนเอง

 

ดร.จีระ

  • ดีที่ตอบโดยกรณีศึกษา
  • ต้องมีความแตกฉาน
  • ผมอยากเปลี่ยนเรื่องความลับ ให้เปิดเผยมากขึ้น
  • กลุ่มนี้ดี เน้นเปิดใจกว้างซึ่งสำคัญ
  • อย่ารวมกิจกรรมทุกชนิดกับ LC และ LO

 

กลุ่มนำเสนอลำดับที่ 3

1.ถ้าจะให้คะแนน 0-10 องค์กรแห่งการเรียนรู้ในสำนักข่าวกรองฯ ได้เท่าไหร่

  • 7.5 คะแนน
  • จุดแข็งคือ ผู้นำส่งเสริมการเรียนรู้ มีกิจกรรมส่งเสริม

2. ถ้าจะพัฒนาตัวเองให้มี LC จะต้องทำอะไรเพิ่มขึ้น

  • แสวงหาความรู้ใหม่ๆ ทำตัวเองให้ว่าง รับสิ่งใหม่ๆ
  • เปิดกว้างและปรับทัศนคติของตนเอง กล้าคิดนอกกรอบ
  • สร้างประสบการณ์เป็น Best Practices บันทึกไว้เป็นรูปธรรมให้คนรุ่นหลังใช้
  • แบ่งปันความรู้

3. อุปสรรคในสำนักข่าวกรองฯไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้มีอะไร 3 เรื่อง

ปัจจัยภายนอก

  • สิ่งแวดล้อมไม่เอื้อให้มีความรู้ใหม่ๆ พัฒนาความรู้ เนื่องจากงบไม่พอ
  • สวัสดิการและกิจกรรมยังมีอยู่น้อยจึงจาดความร่วมมือกัน

ปัจจัยภายใน

คน

  • คนต้องมีการเรียนรู้ต่อเนื่อง คิดวิเคราะห์
  • คนขาดการทำงานข้ามสายงาน วิเคราะห์เฉพาะงานตนเอง

ค่านิยม

  • ยึดติดกับค่านิยมเก่าๆ
  • ชีวิตการทำงานไม่สมดุล เจ้าหน้าที่มีชีวิตครอบครัวที่ไม่สมดุล
  • เรายังไม่นำประสบการณ์มาเป็นบทเรียน มองแค่งานตนเองสำเร็จ
  • อยากให้คนอื่นๆได้มาเรียนแบบเราบ้าง
  • ควรสอดแทรกวัฒนธรรมที่ดีๆลงไป

 

ดร.จีระ

  • กลุ่มนี้มีการทำงานเป็นทีมและโยงไปสู่การทำงานขององค์กร

 

กลุ่มนำเสนอลำดับที่ 4

1.ถ้าจะให้คะแนน 0-10 องค์กรแห่งการเรียนรู้ในสำนักข่าวกรองฯ ได้เท่าไหร่

  • 6.5 คะแนน แต่ละส่วนก็ได้รับการเรียนรู้ที่ต่างกัน

2.ถ้าจะพัฒนาตัวเองให้มี LC จะต้องทำอะไรเพิ่มขึ้น

  •  รู้จักบริหารเวลา
  • สร้างการใฝ่รู้ให้เป็นนิสัย อ่านหนังสือ องค์กรอาจแจกบทความให้อ่าน
  • ตั้งกลุ่มเครือข่ายที่ไม่ค่อยเป็นทางการ คุยกันทุกเรื่อง
  • เปิดใจให้กว้างรับคำวิพากษ์วิจารณ์ แสวงจุดร่วมแล้วดึงเข้ากลุ่ม
  • จัดหลักสูตรสนับสนุน

3. อุปสรรคในสำนักข่าวกรองฯไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้มีอะไร 3 เรื่อง

  • จัดกิจกรรมสันทนาการชั่วคราว ผ่อนคลาย ละลายพฤติกรรม เปิดใจคุยกัน
  • วัฒนธรรมองค์กร
  • ความเคยชินในการทำงาน ค้นหางานด้วยตนเองไม่ปรึกษาเอง
  • โครงสร้างองค์กรกระจัดกระจาย
  • ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

ดร.จีระ

  • การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ควรใช้หาความรู้ โดยเริ่มจากสิ่งที่คุณชอบก่อน
  • ควรหาข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษมากขึ้น
  • อ่านแล้วติดตามใกล้ชิดอย่างต่อเนื่อง
  • อย่าใช้อินเตอร์เน็ตทำงานอย่างเดียว
  • ควรไปร่วมงานสัมมนาที่ดีๆ เพราะงานวิจัยดีๆอยู่ที่งานสัมมนาไม่ใช่ Journal
  • ควรไปร่วมงานสังคมบ้าง
  • ในอนาคต อาจอยู่ในชมรมต่างๆก็ได้ เพื่อฝึกฝนนิสัยการสร้างเครือข่าย

 

กลุ่มนำเสนอลำดับที่ 5

1.ถ้าจะให้คะแนน 0-10 องค์กรแห่งการเรียนรู้ในสำนักข่าวกรองฯ ได้เท่าไหร่

  • 7 คะแนน บางส่วนมีการ share ความรู้กัน บางทีไม่มีการเรียนรู้ข้ามสายงาน

2.ถ้าจะพัฒนาตัวเองให้มี LC จะต้องทำอะไรเพิ่มขึ้น

  • สร้างนิสัยใฝ่รู้

3. อุปสรรคในสำนักข่าวกรองฯไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้มีอะไร 3 เรื่อง

  • ขาดการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น หัวหน้าไม่รู้ ถ่ายทอดไม่ได้และไม่เห็นความสำคัญ
  • ขาดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้บริหารและลูกน้อง

 

ดร.จีระ

  • ฝ่าย HR ควรเชิญผู้บริหารระดับ 9-11 มาสลับกันฟังหรืออ่าน blog ทุกวัน
  • ควรนำความเห็น 6 กลุ่มนี้มากรอง
  • ควรจำบรรยากาศการปะทะกันทางปัญญา
  • ควรเชิญตำรวจและทหาร 10 คนมาเรียนด้วย ควรเชิญอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักธุรกิจมาเรียนด้วย

บรรยากาศ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2553 และ ภาพการทำ Workshop

สรุป Learning Forum หัวข้อ Project Proposal & Project Management

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2553

  • ควรทำโครงการเกี่ยวกับองค์กรการเรียนรู้
  • โครงการ (Project)
  • กิจกรรมที่รวมกันโดยมีเป้าหมายชัดเจน ภายใต้งบประมาณชัดเจน
  • กิจกรรมที่เสริมงานประจำ
  • เน้น Cross-functional team
  • โครงการต้องมีความโปร่งใส
  • ผู้บริหารต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการโครงการ ต้องมีความเป็นเจ้าของ (Ownership)

 

สรุปวีดิทัศน์ โดย ผู้เข้าร่วมโครงการ

  • การบริหารกลยุทธ์สิ่งสำคัญคือการรวบรวมความคิด กำหนดวิธีทำงาน ต้องมียุทธศาสตร์มาจากผู้บริหาร
  • การเกิดกลยุทธ์ต้องมาจากทัศนคติที่ดีและกระจ่างในกลยุทธ์
  • เน้นวิธีการวางแผนและทำให้สำเร็จ
  • มีการเชื่อมโยงข้อผูกมัด ผู้บริหารและพนักงานต้องมีแนวคิดและแนวทางที่สอดคล้องกัน
  • ตั้งคำถามว่า ทำเพื่ออะไร
  • กรณีศึกษาสิงคโปร์สร้างสังคมการเรียนรู้ กลยุทธ์สร้างห้องสมุดเพื่อให้ทุกคนได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเรียนรู้  เป็นการให้ความสำคัญกับคน นำคนที่ทำงานแบบเดิมๆมาปรับวิธีคิดและวิธีทำงานเพื่อปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยี ทำให้มองเห็น Alignment และ Engagement ทุกคนต้องร่วมมือกันทำงานให้สำเร็จเกิดองค์กรการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม

 

ดร.จีระ

  • คุณเข้าใจมากกว่าผมอีก
  • หัวข้อวันนี้เน้น project proposal และ planning เป็นหลัก
  • ควรเริ่มเขียนขั้นตอนต่างๆก่อน
  • ต้องปฏิรูปการทำงานอย่างจริงจังเพื่อที่จะได้เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง
  • แม้มีอุปสรรคในการทำงานมาก แต่ก็เอาชนะอุปสรรคได้

 

The New Office Social Contract Loyalty is Out ,Performance is in

There are two different official contracts ,case study from IBM, are time dependent discussed by Steve Lohr from the New York Times 12nd December 2005.

First , it is called the Old Loyalty for Security is now fading from corporate America. Steady job and regular raises, work hard and play hard, have been explained to this contract. The company like an extended family and the employee have a cradle to grave mentality.

The second , it is said to be the Production Contract. Employee 'expectation (like long range career goal, compensation etc.) performance measures instead of seniority, mutual benefit etc., can be explained to this contract. It is said that corporate loyalty like a market transaction and no longer happiness in worker.

This transformation is caused by rapid technological change, the globalization and faster moving market and market and corporate disruption occurred.

However , in modern work place, the market oriented production model is used and accepted by most managers and professionals ,vision and reputation of the company will be part of the key elements.

It can be concluded that the productivity as well as meaning in their work and the institute are necessary. Social connections and skills are also important for a career today.

Is loyalty a problem in National Intelligence Agency?

• Yes, but does not affect the overall organization. Because the work can continue. The people who are loyal to the organization to work together towards the organization goals.

Why loyalty is weak at the present time?

• Because compared to other organizations with similar work.

Our organization provides financial compensation that is less than other organizations

Do you have problems with different generations?

• Yes, such as the conceptual gap between the older generation to generation.

• Values of young people will focus on ability rather than seniority.

How to improve loyalty in National Intelligence Agency?

• The theory, 8 K's and 5 K's used in the organization.

• Create a Trust for the organization

• Provides opportunities and career advancement for staff in the organization.

(กลุ่ม 2 อธิพงศ์ ทิภวรรณ จิราภรณ์ มาลินี สุภานันท์ ประภัสสร ปติภา)

There is loyalty problem in NIA :

-Each employee has different individual motivation.

-The organization still emphasize on productivity rather than life quality of employees.

-NIA’s employees feel they have to work harder than other agencies.

Generation Gap

OLD GENERATION NEW GENERATION

Seniority , Command & Control Traditional Work Style

Arguments Capabilities , Open-minded

Creative, Innovative Share Ideas

The Organization should

-Create Loyalty atmosphere within the Organization

-Emphasize on work-life balance policy

-Provide promotion and compensation based on merit and performance

-Provide activities or social gatherings like sport days or parties occasionally to build harmony among employees

-Organize more various training courses to increase knowledge and experience

New edition

Generation Gap

OLD GENERATION

Seniority , Command & Control

Traditional Work Style

Arguments

NEW GENERATION

Capabilities , Open-minded

Creative, Innovative

Share Ideas

(Group5 : Khachonsak,Kittipan,Kanyarat,Saenguthai,Nuchanach,Duangrat, Naruenart,Siranee)

The loyalty is exists problem in the organization. It is the weakness of the organization and is cause of the high rate of young blood resignation. The young people lack of trust in the workplace. They make comparative to other organization and make alternative decision when they can not find progressive on the jobs in hands. They feel that their capabilities are not fit to the jobs.

Generation gap is a big problem. The young or new generation people are creators, eager to learn and freely express themselves. They have self esteem. They are ready to work hard but less patient. They set short goal which is seeking to the alternative or the opportunity to grow. They can quit whenever they are not satisfied with the organization’s discipline and benefits. While the old generation people are loyalty to the organization. They are happy to work as long as they feel secured with jobs and compensation. Some old generation people never aware nor accept of the change. They get used to the traditional working style and emphasize to the old fashion value.

To improve loyalty in the workplace, Build lasting relationships within the workforces is important. The organization should support those who perform the high performance with benefit, training, and motivate their organization and relationship trust. For those who keep faith and trust, the organization should praise the high potential with loyalty as the role model. The organization should reengineer the responsibilities structure based on the workforces abilities and clarify their career paths. The organization that concern with the advantage from the workforces should support opportunity of advancement for them.

-------------------------------------------------------

Group3 : Autakorn , Suris , Sompong , Suthisa , Patarin, Prapaiwan , Sajjaphan

•loyalty a problem in National Intelligence Agency?

Yes, the new generation wants to move to other places due to the benefits (not salary)

In their opinion, they have the potentials and might be promoted to be the high level workers.While the old generation wants to work for their ideal.However,our workplace tried to cope the problem. Now, they get more bonus and benefit. Moreover,our leaders’re open-minded

•Why loyalty is weak at the present time?

1.The output of the workplace is ineffective .due the offers who don”t have the loyalty.

2. due to the disloyal workers, The worker in the office don’t have the capability to work. They want to work for only benefits.

3. The royal workers don’t want to inprove themselves.

•Do you have problems with different generations?

1.Yes, the old generation’re idealistic. They spend much time to work for national interest and people. At the sometime,the new generation wants to work for their benefits.

2.The old generation have move experiences than the young people .They can cope with the emergency situations quickly.

3.The new generation’re more ambitions than the old generation . They have high expectations in their life. While the long last workers have low expectations.due to the patronage system in the office.

•How to improve loyalty in National Intelligence Agency?

1.We should improve the working environment such as all levels of the workers should participate in decision making process.

2.Our leaders and officers have two-way communication.

3.The new workers should be inspired by building unity in our organization culture.

กลุ่ม 1 : ภควตี , มัทยา ,อุมาวรรณ ,อรรฆพร,วาสนา,สมปอง,รวิวรรณ

Loyalty becomes a problem to NIA. Since there have been changes on attitudes , goals and the model of organization. In addition, there is a rapid development of new technology. Previously officials in the organization would help each other and this way was acceptable in general. However now people in new generation have obviously altered their view. Compared with new generation, they expect more advantages. These kinds of people do not obtain whatever they want (5 K’s Theory) , they will move to other organization. Therefore there is a huge gap between old – generation and new – generation especially their objectives.

The problems between the old – generation and the new – generation are differented of attitudes and goals in living their life. The Baby Boom generation (1957-1970) will love to working hard. The generation X (1970-1980) that grows in the period between Analog and Digital , this generation do not working hard and like to work without supervision. While Millennium, from 1984 onwards, they are energistic and entrusiastic. They pay attention to think rather than to memorize also they have much self confidence too.

Consequently, the possible solution is to adjust the ideas of these people. This is the best solution that we can find at these days in order to reduce the gap among the generations.

บทเรียน จาก อาจารย์ ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

ในแง่มุมของ Mr.chalawanc และคณะ (ผู้นำนักปฏิบัติการแนวใหม่)

หลังจากได้รับฟังบทเรียนจากท่านอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ซึ่งท่านได้เล่าประสบการณ์การทำงานของท่านเกี่ยวกับการ Creative Thanking (การคิดอย่างสร้างสรรค์) โดยใช้หลักการและเหตุผล และองค์ความรู้ที่ได้สั่งสมประสบการณ์มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะนำเอาทฤษฎี 8 K’s และทฤษฎี 5 K’s ของท่านอาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ มาปรับใช้ด้วยยิ่งเป็นความสุดยอดของขบวนการองค์ความรู้ ที่จะทำให้เกิด Value Innovation ในองค์กร หรือในการปฏิบัติการ ของเรา เช่น การนำเอาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เชิงวัฒนธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (การคิดนอกกรอบว่าใครจะคิดว่าเราจะเอาการท่องเที่ยงเชิงนิเวศน์มาใช้ด้านการข่าว) เข้าสู่ชุมชนทุกชุมชนที่เป็นลูกค้า (เป้าหมาย) ของเราอยู่แล้ว โดยจะต้องทำด้วยความเชื่อมั่น ด้วยความศรัทธา (TRUST) ซึ่งเมื่อสามารถทำให้ชุมชนเข้มแข็งโดยมีรายได้อย่างยั่งยืนแล้ว ชาวบ้านหรือชุมชนย่อมเกิดความเชื่อมั่นและเกิดศรัทธากับเราเช่นกัน

จากนั้น จึงแสวงประโยชน์ด้านการข่าว โดยสร้างเครือข่ายด้านการข่าวอย่างยั่งยืน ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง (ซึ่งสามารถนำแนวคิดดังกล่าวไปปรับใช้ให้เหมาะสมในทุกพื้นที่ได้)

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ ที่ให้แง่คิดดีๆ กับพวกเราเป็นอย่างมากครับ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับคำปรึกษาและความร่วมมือจากท่านอาจารย์และคณะในโอกาสต่อไป

สรุปบทเรียนสำนักข่าวกรองกับเส้นทางสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

และการบริการโครงการในบริบทของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เมื่อ 9 พ.ย.53

ศ.ดร.จีระ กล่าวว่า

• การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization : LO) วัฒนธรรมองค์กรกับวัฒนธรรมการเรียนรู้ต้องไปด้วยกัน

• การมีความรู้แต่ไม่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ (Learning Culture : LC) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization : LO) ก็จะไม่เกิด แต่ถ้ามี LC ก็นำไปสู่การเป็น LO ได้ และสามารถไปถึงชาติแห่งการเรียนรู้ (Learning Nation : LN) อีกด้วย

• KM แตกต่างจาก LO

• KM เป็นเพียง Tool, Technique

• LO ประกอบด้วย 4L’s 2R’s เศรษฐกิจพอเพียง Peter Senge’s Concept

• LC เป็นการพูดถึงความรู้ในอนาคต, การคิด วิเคราะห์, มี 8K’s 5K’s

• Human Capital จะเกิดใน สขช. ถ้า 1. CEO ร่วมมือ 2. HR ร่วมมือ และ 3. ความร่วมมือระหว่าง Talent รุ่น 1 และ รุ่น 2

• LC จะเกิดหากมี การใฝ่รู้ การคิดให้เป็นระบบ การเรียนรู้ข้ามสาย การคิดและวิเคราะห์เป็น การคิดโดยไม่มีใครบังคับ

• การเป็น LO ต้องทำเป็นขั้นตอน และเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะทำให้

- อยู่ในโลกของการแข่งขันได้

- เกิดการทำงานที่มีคุณภาพสูง (High Performance)

- จาก Good อาจไปสู่ Great

- พนักงานจะภุมิใจและมีความสุขในการทำงาน

- การทำงานอย่างยั่งยืนในอนาคต

• LO จะเกิดขึ้นอย่างจริงจังต้องวิเคราะห์

- ผู้นำเป็นอย่างไร

- บรรยากาศในการสร้าง LO (วัฒนธรรมองค์กร)

- ทำแล้วได้อะไร

- สร้าง Facilities ให้พร้อม (แต่ต้องไปพร้อมกับ Habit ที่มีอยู่)

- กลับไปสอนผู้อื่น

• Habit ที่ดี ใฝ่รู้ มองล่วงหน้า คิดเป็น วิเคราะห์เป็น แบ่งปันให้คนอื่นมี ฟังเยอะๆ เปิดใจ (Open Mind)

• Project คือ Activities หรือกิจกรรม ที่รวมกันมีเป้าหมายชัดเจน ภายใต้งบประมาณ คน และเวลา

• Project ไม่เหมือนกิจกรรมทั่วๆ ไป ที่ทำอยู่เป็นประจำ (ไม่ต้อง Routine)

• Project ต้องมีการ Implement

• Project เน้น Cross Functional Team

• คนไทยมีปัญหาในการหา Ideas เพื่อสร้าง Project เพราะคนไทยไม่ค่อยคิดนอกกรอบ (Thinking outside the box)

• Ideas เกิดจาก LO ได้

(สรุปโดย : อรรถกร, กันยารัตน์, ระวิวรรณ, อธิพงศ์, อุมาวรรณ, เนตรนภา, ปติภา)

สวัสดีค่ะพี่ ๆ Talent รุ่น 2 ทุกท่าน

เอต้องขออภัยที่กลับก่อนเนื่องจากมีงานด่วนที่กรุงเทพฯ แต่ขอส่งกำลังใจให้พี่ ๆ ทุกคนนะคะ ขอให้เรียนและทำการบ้านอย่างมีความสุขค่ะ..เสียดายที่ไม่ได้ร่วมร้องเพลงด้วยคืนนี้ แล้วพบกันที่กรุงเทพฯ นะคะ :)

วราพร (เอ)

ทีม Chira Academy 

สรุป Learning Forum หัวข้อ Mind Mapping สำหรับการทำงานแบบมืออาชีพ

โดย อาจารย์กิตติพล ลีปิพัฒนะวิทย์ ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 

  • อัจฉริยะบุคคลใช้สมองซีกซ้ายประกอบกับสมองซีกขวา แต่จดบันทึกเป็นภาพบนกระดาษที่ไม่มีเส้น
  •  จำ Keyword “จินตนาการ” และ “เชื่อมโยง”
  • กิจกรรมที่ 1 ล่ารายชื่อ
  • บทเรียนคือ ใช้เทคนิคคิดเป็นกลุ่มคนรู้จัก เริ่มเป็นกลุ่มเป็นต้นไป ถ้าคิดเป็นระบบก็จะคิดไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด
  • หนังสือ The Last Lecture โดย Randy Pausch บอกว่า ถ้าคุณจะตายจะเอาอะไรมาสอนลูก และคนรุ่นหลัง
  • กิจกรรมที่ 2 Goal 2015
  • บทเรียนคือ เป้าหมายต้องชัดเจน มีระยะเวลาที่แน่ชัด
  • ภาษาที่เก่าที่สุดคือภาษาภาพ
  • กิจกรรมที่ 3 วาดภาพตัวเองโดยใช้หลายๆสี วาดเป็นแบบโลโก้
  • กิจกรรมที่ 4 คิดกว้าง เลือก 3 ภาพ 18 ความคิด
  • วาดภาพแรกตรงกลางแล้วเขียนเชื่อมโยงไปยังความคิดอื่น (ภาพ)
  • วิธีการคิดอย่างเป็นระบบ

 

  • กิจกรรมที่ 5 ล่ารายชื่อ คนรู้จัก วาดเป็น Mind Map

 

  • กิจกรรมที่ 6 เขียนเป้าหมาย 1 ปี โดยมีหลักดังนี้

 

ทำให้เห็นภาพรวมของชีวิตเรา และเราจัดลำดับได้

  • กิจกรรมที่ 7 เขียน Mind Map สรุปเรื่อง การทำงานอย่างมืออาชีพ

 

สวัสดีครับ

หลังจากที่ได้อยู่ร่วมกันมาตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน จนถึงวันนี้ 10 พฤศจิกายน เป็นเวลา 8 วัน 7 คืน อีกไม่กี่ชั่วโมงผมก็จะต้องจากท่านไปชั่วคราว จนกว่าจะพบกันอีกครั้งในวันที่ 16 พฤศจิกายน ระหว่าง self study ถ้าต้องการคำปรึกษา สามารถติดต่อผมได้ตลอดเวลาครับ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์ หรือ e-mail

โทรศัพท์ : 089-1381950

e-mail : [email protected]

ขอให้ทุกท่านโชคดี มีความสุขทั้งหน้าที่การงานและชีวิตครอบครับครับ

ชาญโชติ

ไม่มีใครสรุปเรื่องการไปดูงาน TPIPL ว่าเขาพัฒนาหรือบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างไรบ้างเลยหรือ เขาใช้คำว่า บุคลากร แทนทรัพยากรมนุษย์ จำได้แต่

@ เป็นเลิศด้านการผลิต

@ เป็นเยี่ยมด้านผลิตภัณฑ์

@ มุ่งมั่นพัฒนาคน

@ พัฒนาสังคมยั่งยืน

ถึง ลูกศิษย์ทุกท่าน

          ผมได้อ่าน Workshop เรื่อง Performance and Loyalty แล้ว ได้เห็นว่าการเขียนภาษาต่างประเทศของแต่ละกลุ่มใช้ภาษาได้ดีครับ

          สำหรับการเรียนช่วงที่ 1 ก็ผ่านไปแล้วแล้ว เรามีเวลาเหลือเพียงแค่ไม่กี่วัน ที่จะต้องทำช่วง Self Study  ซึ่งเป็นการเรียนในช่วงที่ 2  เป็นการเรียนและทำการบ้านผ่าน Blog ก่อนจะเริ่มช่วงที่ 3 ในวันที่ 16 นี้ครับ

          สำหรับการบ้านครั้งนี้ ผมขอฝากผ่าน Blog มีรายละเอียดดังนี้ครับ

อ่านบทความแนวหน้า เรื่อง คอรัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust)  ฉบับวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2553  แล้ววิเคราะห์ว่า

  • อ่านแล้วตัวเองได้อะไร 3 เรื่อง
  • องค์กรได้อะไร 3 เรื่อง

 อ่านบทความได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้

http://gotoknow.org/blog/chiranaewna/407939

 

เพิ่มเติมจากข้างต้นนะครับ

       ประเด็นเพิ่มเติม....จากการที่เรียนมาตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 3 ถึง วันที่ 10 พ.ย.53 รวม 8 วัน ให้ทบทวนว่าจากการเรียนครั้งนี้มีแรงบันดาลใจใหม่ๆ อะไรเพิ่มขึ้น (แตกต่างอย่างไรกับก่อนที่จะได้มาเข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้)

  • ตัวเองได้อะไร 3 เรื่อง
  • ระดับองค์กร ได้อะไร 3 เรื่อง
  • ประเทศชาติ  ได้อะไร  3 เรื่อง

ขอให้ตอบผ่าน Blog นี้นะครับ

กราบเรียน อ.จีระ

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลา ในช่วงที่ต้องไปอบรมที่ต่างจังหวัด ไม่ได้ติดต่อกับส่วนกลาง แต่เมื่อกลับมา กทม. น้องๆ เพื่อนๆ ที่ทำงาน บอกว่าถึงอยู่ไกลแต่เหมือนอยู่ใกล้กันเลย ได้เห็นรูปและคุยกันได้ทุกวันแสดงถึง IT ที่มีอิทธิพลในชีวิตประจำวันของคนรุ่นใหม่

สำหรับการบ้านของอาจารย์ดิฉันจะตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง ค่ะ

เด็กบ้านน๊อกบ้านนอก

กราบเรียนท่าน อ.จีระฯ

วันเสาร์ อาทิตย์และ จันทร์ จะมีการบ้านไหมค่ะ .... เพราะช่วงเวลานั้นนู๋ต้องไปอยู่ในถิ่นทุรกันดาร น้ำเข้าถึง แต่ไฟยังไม่มีต้องใช้แสงจันทร์ส่องนำทางยามค่ำคืน ... คำถามคือ ... ถ้าช่วงนั้นมีการบ้าน ดิฉันสามารถทำรวบยอดทันทีที่กลับถึงที่ตั้งได้ไหมค่ะ?

ปล. นู๋คงไม่มีโอกาสได้อ่านคำตอบอาจารย์ เพราะนู๋จะต้องรีบไปขึ้นรถไฟชั้นสามแล้วค่ะ เด๋วตกรถไฟ สุดท้ายนี้ขอให้ท่านอาจารย์จีระฯ รักษาสุขภาพด้วยนะค่ะ อากาศเปลี่ยนแปลง พวกเรากลัวว่าอาจารย์สุดสมาร์ท สุดเท่ห์ของพวกเราจะไม่สบาย ดูแลสุขภาพ และดูแลกรุงเทพมหานครแทนนู๋ด้วยนะคะ

จากบทความ คอรัปชั่น ทุนมนุษย์ และ การสร้างศรัทธา ( Trust )

บทความดังกล่าว ได้นำเสนอสาระสำคัญของการประชุมนานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ครั้งที่ ๑๔ ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงาน ป.ป.ช. ที่เน้นการแก้ไขการคอรับชั่นของไทยอย่างเร่งด่วน โดยมีประเด็นที่น่าสนใจและควรได้รับการแก้ไข ได้แก่

- ค่านิยมของคนไทยที่ชอบยกย่องคนที่มีอำนาจ ร่ำรวย แต่ขาดคุณธรรมและจริยธรรม

- ต้องแก้ไขค่านิยมที่ว่า ยอมรับคอรับชั่นได้ถ้าผู้นั้นทำให้ชาติหรือองค์กรเจริญเติบโต ซึ่งเป็นความนิยมที่ไม่ถูกต้อง

- การคอรับชั่นในปัจจุบันจะขยายวงไปสู่ระดับนานาชาติ หรือกลายเป็นรูปแบบไร้พรมแดน

- ประชาชนและเอกชนต้องร่วมมือและช่วยกันแก้ไข รวมทั้งป้องกันการคอรับชั่น จากวัฒนธรรมดังกล่าวข้างต้น

จากบทความดังกล่าวทำให้เรามองเห็นได้ว่า

๑ ) การคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเกิดจากนักการเมืองหรือในแวดวงราชการ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ถูกกล่าวขวัญในเรื่องดังกล่าวนี้มาอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเกิดมาจากค่านิยมของคนไทยซึ่งสะสมกันมาตั้งแต่ในวัยเด็ก ที่ชอบยกย่องผู้มีอำนาจ หรือ กลุ่มคนที่ร่ำรวย ให้มาเป็นผู้นำ ถึงแม้ว่าบุคคลดังกล่าวจะขาดคุณธรรมและจริยธรรมก็ตาม ซึ่งไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะในอนาคตจะลุกลามออกไปแบบไร้พรมแดน และ จะมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น

๒ ) ปัญหาดังกล่าวประชาชนทุกคน รวมทั้งภาคเอกชนหรือราชการ ทุกภาคส่วน ควรจะต้องช่วยกันแก้ไขและป้องกันอย่างจริงจัง

๓ ) ควรเริ่มการปลูกฝังทางด้านคุณธรรมและจริยธรรมที่ถูกต้อง รวมทั้งความซื่อสัตย์ สุจริต และ การทำงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม โดยเฉพาะในระดับเยาวชน ควรเริ่มตั้งแต่ยังเล็กเพื่อให้ซึมซับเข้าไปในจิตใจ เป็นการเน้นไปที่การพัฒนาทุนมนุษย์ เป็นหลัก ( ซึ่งเป็นหนึ่งในทฤษฏีว่าด้วยทุน 8 ประการ [8 K] ที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ )

องค์กรควรจะนำข้อคิดเห็นที่ได้ไปปรับใช้ในกระบวนการสร้างผู้นำที่ดีในอนาคต ดังนี้

 ๑ ) การสร้างผู้นำขององค์กรในอนาคต นอกจากจะเน้นที่ความรู้ความสามารถแล้ว ควรจะต้องคำนึงถึงความเป็นคนดี มีจริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต เพื่อเป็นพื้นฐานทางจิตใจและแบบอย่างที่ดี สำหรับช่วยในการขับเคลื่อน องค์กร สังคม ประเทศชาติ ให้มีความมั่นคง ผู้นำที่ดีควรจะต้องป็นผู้ที่รอบรู้ในศาสตร์แขนงต่างๆ มีความคิดริเริ่มและเป็นคนดี บริหารเวลาอย่างมีคุณค่า และควรให้ความสำคัญต่อการสร้างสภาพแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนาสมรรถนะและการสร้างแรงจูงใจแก่บุคลากรในองค์กร (ทฤษฎี 3 วงกลม) นอกจากนี้ การวางแผนและให้ความสำคัญต่อมนุษย์ในฐานะที่เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าขององค์กรจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายสูงสุด

๒ ) ควรพยายามสร้างผู้นำที่ได้รับการศรัทธา มากกว่าผู้นำที่ชอบใช้อำนาจ เพราะศรัทธาจะอยู่ในจิตใจแต่อำนาจอาจไม่คงทนถาวร ทั้งนี้โดยอาศัยหลักการของ Being และ Self Trust รวมทั้งการพัฒนาตามแนวทาง ทฤษฎี 8 K’s และ ทฤษฎี 5 K’s ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความเข้าใจในตนเอง มีจุดมุ่งหมายในชีวิตที่สอดคล้องกับองค์กร และ รู้แนวทางในการพพัฒนาตนเอง เพื่อมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

๓ ) ภาพลักษณ์ของผู้นำที่ดีมีอิทธิพลสูงต่อความน่าเชื่อถือขององค์กร และ ความสำเร็จในเป้าหมายและการพัฒนาบุคลากรภายในขององค์กรเป็นอย่างมาก

จากบทความเรื่อง “คอร์รัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust)” ซึ่งตีพิมพ์ใน นสพ.แนวหน้าฉบับวันที่ 13 พ.ย.53 สะท้อนให้เห็นถึงคุณสมบัติของผู้นำประเทศว่าควรจะมีอะไรบ้าง ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่ผู้นำประเทศควรจะมีนอกเหนือจากความรู้ ความสามารถ คือ “จริยธรรม” ซึ่งจะทำให้ผู้นำได้รับความศรัทธาจากประชาชน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นปัญหาสังคมอยู่ขณะนี้เป็นเรื่องของค่านิยมของคนในสังคม ซึ่งนิยมชมชอบคนมีอำนาจ คนรวย โดยไม่สนใจถึงที่มาของความมั่งคั่งนั้น กลายเป็นค่านิยมรูปแบบใหม่คือ สามารถยอมรับผู้นำที่คอร์รัปชั่นได้ หากผู้นำนั้นทำประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นของตน นับว่าเป็นอันตรายต่อรากฐานความเจริญของประเทศเป็นอย่างมาก

สิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับประโยชน์จากบทความนี้

1. การเลือกผู้นำ ควรเลือกผู้นำที่เป็นทั้งคนดี และคนเก่ง ไม่ใช่เลือกที่ “ความมั่งคั่งร่ำรวย”

2. การสร้างสังคมที่ปลอดคอร์รัปชั่น ต้องมีการปลูกฝังค่านิยม และจิตสำนึกที่ดีตั้งแต่ยังเยาว์วัย ส่วนการพัฒนาสังคม ต้องเริ่มจากการพัฒนาคนให้กลายเป็นคนที่มีคุณภาพ กลายเป็น “ทุนมนุษย์” มีจิตสาธารณะเพื่อส่วนรวม โดยไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัว

3. สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไป สามารถยอมรับการทุจริตคอร์รัปชั่นได้ หากได้รับการตอบสนองเรื่องผลประโยชน์ ซึ่งเป็นค่านิยมที่ผิด อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เห็นเด่นชัดในบทความนี้คือ คนรวยไม่ได้หมายความว่าเขาจะโกงไม่เป็น

ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร

1. ผู้นำองค์กรควรมีแผนการเตรียมพร้อมในการพัฒนาบุคลากรให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าขององค์กร มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรม

2. การสร้างผู้นำขององค์กรในอนาคต นอกจากจะเน้นที่ความรู้ความสามารถแล้ว ควรจะต้องคำนึงถึงความเป็นคนดี มีจริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต เพื่อเป็นพื้นฐานทางจิตใจและแบบอย่างที่ดี สำหรับช่วยในการขับเคลื่อน องค์กร สังคม ประเทศชาติ ให้มีความมั่นคง

3. ภาพลักษณ์ของผู้นำมีอิทธิพลต่อความน่าเชื่อถือขององค์กร

บทความ”คอร์รัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศัทธา(Trust)”

บทความเรื่อง”คอร์รัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา(Trust)”เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปัญหาคอร์รัปชั่นขยายตัวอย่างกว้างขวาง เป็นเพราะการยอมรับในค่านิยมที่ผิด ๆ อาทิ การยกย่องและศรัทธาคนที่ร่ำรวยว่าเป็นคนดี โดยไม่คำนึงถึงที่มาของความร่ำวย โดยเพิกเฉยต่อหลักคุณธรรม และจริยธรรม จึงทำให้ปัญหาคอร์รัปชั่นขยายตัวและซับซ้อนยิ่งขึ้น จนกลายเป็นความเสียหายที่เกิดต่อสังคมโดยรวม อาทิ ปัญหาโลกร้อน และปัญหาความยากจน ด้วยเหตุนี้ทางแก้ไขคงต้องแก้ที่ค่านิยม ด้วยการปลูกฝังค่านิยมที่คำนึงถึงหลักคุณธรรมและจริยธรรมต่อกลุ่มเยาวชน เพื่อให้ก้าวไปสู่การเป็นคนเก่ง และคนดี พร้อมให้ความสำคัญกับผู้นำที่ได้รับศรัทธาจากนานาประเทศ

ประโยชน์ที่ข้าพเจ้าได้รับ

1.การจะเลือกใครมาเป็นผู้นำของเรา ต้องให้ความสำคัญต่อแรงศรัทธาในตัวผู้นำที่มีคุณลักษณะตามหลักคุณธรรม และจริยธรรม มากกว่าการเลือกผู้นำที่มีแรงศรัทธามาจากความร่ำรวย

2.การปลูกฝังค่านิยมที่ยึดหลักความถูกต้องแก่กลุ่มเยาวชน ควบคู่กับการพัฒนาทุนมนุษย์ให้เป็นคนเก่งและคนดี จะช่วยบรรเทาปัญหาคอร์รัปชั่นได้ในอนาคต

3.การยอมรับกับปัญหาคอร์รัปชั่นของสังคมไทย อาจกลายเป็นความเคยชินที่ไม่รับรู้ว่าเป็นการกระทำที่ผิดหลักคุณธรรมและจริยธรรม ท้ายสุดความเสียหายจะย้อนกลับสู่สังคมและตัวเราได้

ประโยชน์ที่องค์กรได้รับ

1.การพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักทฤษฎี 8 k’s และทฤษฎี 5 k’s นับเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างจริงจังทั้งด้านผลประกอบการและปราศจากปัญหาคอร์รัปชั่น

2.แรงศรัทธาในตัวผู้นำที่มาจากคุณธรรมและจริยธรรม จะนำไปสู่การร่วมแรงร่วมใจในการทำงานของบุคลากร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการบรรลุวัตถุประสงค์สูงสุดขององค์กร

3.การยอมรับของสังคมไทยต่อปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นความเชื่อในค่านิยมที่ผิดซึ่งต้องเร่งแก้ไขเพื่อมิให้ความสูญเสียเกิดต่อองค์กร

- สิ่งที่ได้จากบทความ

1. ผู้นำสหรัฐฯ และ นรม.ไทย ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการคอรัปชั่น โดยมาร่วมงานประชุมนานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ครั้งที่ 14 ของ ป.ป.ช. เพราะได้ตระหนักแล้วว่า การคอรัปชั่นได้ขยายวงกว้างไปสู่นานาชาติเป็น “คอรัปชั่นไร้พรมแดน” ทำให้เกิดปัญหาความยากจน ปัญหาโลกร้อน กระทบกับคนทั้งโลก

2. ค่านิยมของคนไทยที่ชอบยกย่องคนมีอำนาจ คนร่ำรวย แต่ขาดคุณธรรม จริยธรรม ถึงแม้จะคอรัปชั่นแต่หากทำให้ชาติหรือองค์กรเจริญเติบโตก็ยังเป็นที่ยอมรับ เป็นค่านิยมที่ต้องแก้ไข และการจะป้องกัน แก้ไขปัญหาคอรัปชั่นให้ได้ผล ทุกภาคส่วนของสังคมทั้งประชาชน เอกชน และสื่อ ต้องช่วยกัน โดยเริ่มตั้งแต่ระดับเยาวชน ควรปลูกฝังค่านิยมที่ดีๆให้เยาวชน ในการยกย่องคนดีมากกว่าคนเก่งแต่โกง

3. ทุนทางจริยธรรม เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การจะพัฒนาคนต้องให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีจุดยืน ทำเพื่อส่วนรวม คุณสมบัติเหล่านี้จะช่วยการแก้ปัญหาคอรัปชั่นได้มาก

- การนำไปปรับใช้ในองค์กร

1. ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) เป็น 1 ทุนที่สำคัญ ใน 8 ทุนของทฤษฎีทุน 8K’s ที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผู้นำองค์กรควรส่งเสริมบุคลากรที่มีคุณธรรม จริยธรรม มากกว่าส่งเสริมคนเก่ง แต่โกง

2. การป้องกันปัญหาการคอรัปชั่นในองค์กรวิธีหนึ่ง คือการสับเปลี่ยนโยกย้ายบุคลากรตามวาระ เพื่อเป็นการลดโอกาสการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งหลายองค์กรที่มีหน่วยงานอยู่ตามภูมิภาคได้ใช้วิธีนี้ นอกจากจะเป็นการป้องกันการคอรัปชั่นแล้วยังเป็นการเพิ่มประสบการณ์ให้กับ จนท.อีกด้วย

3. ปัญหาการคอรัปชั่น เป็นปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงและความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อองค์กร องค์กรควรมีมาตรการลงโทษที่จริงจังกับบุคลากรที่ทุจริต เพื่อมิให้บุคคลอื่นเอาแบบอย่าง

คอรัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust)

1)การทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นปัญหาที่บ่อนทำลายความศรัทธาในสังคมและประเทศชาติอย่างรุนแรง ผู้นำที่มีความเห็นแก่ตัว อาศัยเส้นทางการเมืองเพื่อแสวงผลประโยชน์ส่วนตัว แม้จะเคยเป็นผู้ที่สร้างคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติรวมทั้งเคยสั่งสมบารมีและศรัทธาจากประชาชนทั่วประเทศจนกลายเป็นบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ เมื่อมุ่งผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องมากเกินไปจนมองการทุจริตและคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดา ก็ทำให้ความศรัทธาที่ได้รับการสั่งสมมานานในสังคมและประเทศชาติเลือนหายไป

2) ผู้นำประเภทนี้ยากที่จะฟื้นความศรัทธาที่เคยได้รับจากประชาชน เนื่องจากปัจจุบันประชาชนเริ่มตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่ว่าผู้นำที่ดีควรต้องเป็นผู้ที่ศรัทธาในตนเองด้วยการไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น และสร้างศรัทธาต่อประชาชนอย่างยั่งยืนด้วยการยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาลที่เน้นคุณธรรมและความโปร่งใส

3) ความเชื่อถือและศรัทธาในตนเอง เป็นเสมือนเกราะคุ้มครองความดีที่มีอยู่ในตนเองและเป็นเครื่องมือที่ช่วยปกป้องไม่ให้กระทำทุจริตและคอร์รัปชั่น สิ่งนี้จึงทำให้เราเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพซึ่งจะยิ่งเสริมสร้างความศรัทธาในสังคมให้ยั่งยืน

หากมองในภาพรวมที่เกิดขึ้นในองค์กร 1)ปัญหาการทุจริตคอร์ปชั่นเป็นปัจจัยที่ส่งผลเสียอย่างยิ่งต่อภาพลักษณ์ขององค์กรทั้งต่อสายตาของคนภายในองค์กร และภายนอก ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้การขับเคลื่อนขององค์กรเป็นไปอย่างเชื่องช้าและถดถอย

2)ผู้นำที่มุ่งแสวงประโยชน์ส่วนตัวมักไม่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กร โดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้การพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรขาดความเติบโตอย่างยั่งยืน ขณะที่ผู้นำที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมและมีวิสัยทัศน์กว้างไกลจะให้ความสำคัญต่อการสร้างความยั่งยืนในสังคม ซึ่งสิ่งนี้เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความศรัทธาในตนเองของผู้นำและเสริมสร้างศรัทธาในองค์กรให้เข็มแข็งยิ่งขึ้น

3)องค์กรที่ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืนจึงควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสรรหาผู้นำที่มีคุณภาพในด้านจริยธรรม คุณธรรม และปลูกฝังค่านิยมของการมีผู้นำที่มีความรู้ควบคู่กับซื่อสัตย์สุจริต และสร้างค่านิยมนี้ให้เป็นวัฒนธรรมร่วมกันในองค์กร

กรณีศึกษา TPI

TPI ตระหนักถึงความจำเป็นต้องสร้างความศรัทธา(Trust) ขององค์กรและได้รับความไว้วางใจจากคนในสังคม เพื่อสร้างความยั่งยืนขององค์กรที่จะต้องเติบโตได้อย่างยาวนาน ดังนั้น TPI จึงได้กำหนดแนวดำเนินการด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมไว้ในนโยบายขององค์กรที่เน้นการบริหารจัดการด้านคุณภาพ ชีวอนามัย และด้านห้องปฏิบัติการวิเคราะห์

พันธกิจของ TPI เน้นการสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ และมีความหลากหลายเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า และยังเน้นการบริโภคอย่างยั่งยืนควบคู่กับการนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม การที่ TPI ให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์และไว้เนื่อเชื่อใจกับลูกค้า จึงสะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการด้านความสัมพันธ์ (CRM) อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ TPI ยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทุนขององค์กร (8K’s และ 5K’s) โดยเฉพาะทุนมนุษย์(Human Capital) ซึ่ง TPI ให้ความสำคัญต่อการสร้างความเติบโตและก้าวหน้าในสายงานของตนเอง(Career Path) อย่างชัดเจนแก่บุคลากรในองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการเสริมสร้างศรัทธาร่วมกันของคนในองค์กร( Social Trust & Relationship Trust) จึงนับว่า TPI เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นทุนที่สำคัญต่อพลวัตรขององค์กร

กรณีของ TPI เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางการบริหารจัดการองค์กรที่ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น องค์กรที่มีผู้นำที่เปี่ยมด้วยวิสัยทัศน์ ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทุนทุกด้านขององค์กร โดยเฉพาะการมีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจะทำให้องค์กรนั้นเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนเช่นเดียวกัน

สิ่งที่ได้รับจากบทความ เรื่อง คอร์รัปชั่นทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust)

ในโลกยุคปัจจุบันการคอร์รัปชั่นถูกกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของผู้นำ ที่จะทำให้สังคม ทั้งในและต่างประเทศยอมรับและเกิดศรัทธา (Trust) ในตัวผู้นำมากน้อยเพียงใด การที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ของไทยได้ให้ความสำคัญ และมีความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น โดยจัดประชุมนานาชาติขึ้น เป็นการสะท้อนให้ทั่วโลกมองว่า ประเทศไทยมีความตั้งใจและต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง ถือเป็นการสร้าง Social Trust ในสายตาเวทีโลก

สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นทำได้โดยการพัฒนาคนให้เป็นคนดี มีความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรม (ทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s) ทำเพื่อส่วนรวม ไม่เห็นประโยชน์ส่วนตน โดยเริ่มปลูกฝังค่านิยมเหล่านี้ให้กับเยาวชนคนรุ่นหลัง รวมถึงการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนและภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของรัฐ ซึ่งสามารถทำได้ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 กำหนดให้มีการตรวจสอบความโปร่งใสและเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการร่วมกันตรวจสอบเพื่อลดการทุจริตคอร์รัปชั่นจากสังคมไทยได้ หากทุกคนตระหนักในสิทธิและแสวงหาความร่วมมือในการที่จะสร้างสรรค์ให้สังคมไทยไร้คอร์รัปชั่นอย่างแท้จริง

คอรัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust)

๑) การแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น ต้องแก้ไขค่านิยมการยกย่องคนรวยแต่ขาดคุณธรรมและ จริยธรรม สร้างฐานะจากการคอรัปชั่นหรือร่ำรวยจากธุรกิจผิดกฎหมาย

๒) ควรปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเยาวชนให้ยกย่องคนดี แทนที่จะยกย่องคนเก่งแต่โกง

๓) สังคมไทยต้องการผู้นำที่ได้รับการศรัทธา (Trust) มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและสังคมโลก

๔) องค์กรควรจะสนับสนุน จนท.ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์

สุจริต ให้เติบโตก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และลงโทษผู้ที่ทำผิดโดยการทุจริตคอรัปชั่นไม่ให้ดำรงตำแหน่งในหน้าที่สำคัญ

๕) ผู้นำองค์กรต้องจะมีคุณธรรมและจริยธรรม รวมทั้งได้รับศรัทธาจากบุคคลในองค์กร

เพื่อร่วมมือกันขับเคลื่อนภารกิจขององค์กรให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

๖) ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) เป็นเกณฑ์สำคัญในการคัดเลือกบุคคลเข้าสู่องค์กร

8 วันของ Talent 2 ทำให้ได้ตระหนักว่า 1) ตนเองและเพื่อนหลายคนมีศักยภาพหลายๆ ด้าน และมีขีดความสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพในด้านที่ยังไม่ปรากฎได้เช่นเดียวกับหลายคนที่มีศักยภาพเป็นที่ประจักษ์ 2) ขณะเดียวกันก็เป็นช่วงเวลาที่ทำให้เกิดความศรัทธาในตนเองมากขึ้นและจะมากยิ่งขึ้นในอนาคต 3) ที่สำคัญยังทำให้เห็นถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันและการทำงานเป็นทีม และอย่างเป็นระบบ

สำหรับองค์กร 1) ความรู้ที่ได้เพิ่มพูนขึ้นและจะเพิ่มพูนมากขึ้นในอนาคต ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสริมสร้างคุณภาพของบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญขององค์กร 2)ส นับสนุนการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน ทำให้คนในองค์กรสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขและเชื่อมั่นมากขึ้น -3) นอกจากนี้ ยังทำให้องค์กรสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับเชื่อถือมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต

คาดว่าการที่องค์กรมีบุคลากรที่แข็งแกร่ง เข้มแข็งและมีภาวะผู้นำมากขึ้นจะส่งเสริมให้ 1) การทำงานด้านความมั่นคงของประเทศมีความก้าวหน้า ถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งจะส่งผลต่อภารกิจด้านการรักษาความมั่นคงของชาติที่จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2) ทำให้สังคมโดยรวมเกิดความสงบสุขสามัคคี 3) ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะแห่งความสงบเรียบร้อยของชาติในที่สุด

บทความ “คอรัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust) ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับ 13 พฤศจิกายน 2553 โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ได้รับจากบทความนี้

1. จากการอ่านบทความนี้ ทำให้เห็นว่า การจะพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้าจะต้องมีผู้นำที่เก่งและดี เพราะหากใช้ความเก่งแต่นำไปใช้ในทางที่ผิด ทำเพื่อตนเองและพวกพ้องก็จะเป็นการทำลายประเทศชาติ ประเทศขาดความน่าเชื่อถือและไม่ได้รับการยอมรับ ดังนั้น นอกจากความเก่งจะต้องมีความดีควบคู่ไปด้วย คือ จะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมเห็นประโยชน์ส่วนรวมและประเทศชาติมากว่าประโยชน์ส่วนตน

2. ปัญหาคอรัปชั่นในสังคมไทยแก้ไขได้ยากหากไม่มีการแก้ไขค่านิยมของคนไทย เพราะคนไทยส่วนหนึ่งให้การยอมรับนับถือคนที่มีอำนาจ ร่ำรวย มากกว่าคนที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นคนดีมีจริยธรรม โดยเห็นว่าหากบุคคลใดทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าพัฒนาได้ การคอรัปชั่นก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ซึ่งถือเป็นค่านิยมที่ผิด เพราะการนำพาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า จะต้องได้รับการยอมรับจากนานาประเทศด้วย และการคอรัปชั่นไม่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

3. การจะทำให้คนไทยมีค่านิยมให้ยกย่องคนดีที่มีคุณธรรมและจริยธรรม จำเป็นต้องสร้างทุนทางจริยธรรม (การพัฒนาทุนมนุษย์ตามทฤษฎี 8 K’s) ตั้งแต่ในวัยเด็กและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับ

1. แนวคิดในการพัฒนาบุคลากรขององค์กร นอกจากการพัฒนาให้เป็นคนเก่งในเรื่องงานแล้ว จำเป็นต้องสร้างค่านิยมการเป็นคนดีมีจริยธรรมให้เกิดขึ้นควบคู่ไปด้วยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีความอย่างยั่งยืน

2. การพัฒนาบุคลากรและผู้นำขององค์กรเป็นคนดี มีจริยธรรม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ก็จะได้รับความเชื่อถือไว้วางใจจากประชาชน และแม้ว่าบางครั้งจะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซง ก็สามารถดำรงจุดยืนที่จะปฏิบัติงานด้วยความเป็นกลาง ซื่อสัตย์ สุจริต เป็นประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ เพราะไม่เช่นนั้นประชาชนจะเสื่อมศรัทธา ซึ่งการจะกู้ศรัทธากลับคืนมานั้นทำได้ยาก

3. ผู้นำองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรได้รับความเชื่อถือ ทั้งจากประชาชน รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยผู้นำที่ดี นอกจากเก่งและมีจริยธรรมแล้ว ต้องเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ หรือคนภายในองค์กรให้มีความรู้ความสามารถและคุณธรรมจริยธรรมควบคู่กันไป

กรณีการประชุม ป.ป.ช.นานาชาติ ที่ไทยเป็นเจ้าภาพโดยมีบุคคลระดับอดีตประธานาธิบดีให้ความสำคัญเข้าร่วมนั้น เห็นได้ว่านานาชาติยังคงให้เกียรติและให้ความสำคัญกับไทย รวมทั้งนานาชาติยังตระหนักถึงปัญหาคอร์รัปชั่นว่าจะเป็นปัญหาที่ถ่วงความเจริญของประเทศโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งปัญหาคอร์รัปชั่นในไทยเป็นปัญหาที่อยู่มานานคู่กับสังคมไทยโดยรากเหง้าของปัญหาอยู่ที่ทุนมนุษย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับแนวคิด 8K’s+5K’s ที่เราขาดตั้งแต่กระบวนการปลูกฝังทัศนคติและค่านิยมในวัยเด็ก ทำให้ไทยยังคงมีปัญหาคอร์รัปชั่นในปัจจุบัน ดังนั้นสิ่งสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นคือกระทรวงศึกษาธิการต้องทบทวนการสร้างทัศนคติ ค่านิยม และวัฒนธรรมที่ดีควบคู่กับการหาความรู้ เพื่อให้เด็กของเรามีพื้นฐานที่ดีและยังช่วยโน้มน้าวบุคคลในครอบครัวให้เป็นคนดี นอกจากนี้จำเป็นต้องมีระบบการตรวจสอบจากสังคมที่เข้มแข็งและน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ต้องเริ่มลงมาทำได้แล้วเพื่อให้มีผลโดยเร็ว เพราะหากเรามีทุนมนุษย์ที่เพียงพอก็จะทำให้ทั้งองค์กรและประเทศชาติก้าวหน้าและแข่งขันกับต่างชาติได้มากกว่านี้หลายเท่า ส่วนปัญหาการที่สื่อมวลชนวิพากษ์วิจารณ์นั้น เมื่อเรามีทุนมนุษย์ที่เพียงพอแล้ว เราสามารถตัดสินเองได้ว่าเป้นการสร้างกระแสหรือบิดเบือนข้อมูลหรือไม่

อรรถกร

จากการอ่านบทความเรื่อง “คอรัปชั่น ทุนมนุษย์ และการสร้างศรัทธา (Trust) มีความเห็นว่า

1. เห็นว่าปัญหาการคอรัปชั่นในสังคมไทยเป็นปัญหาใหญ่ที่กัดกร่อนสังคมไทยมานาน และมีอยู่ในสังคมทุกระดับชั้น ตั้งแต่หมู่บ้าน อำเภอ ถึงระดับประเทศ แตกต่างกันที่ความเสียหาย โดยการทุจริตระดับชาติ ก็จะส่งผลเสียหายมากกว่าการทุจริตในระดับรากหญ้า ที่ผ่านมาได้พยายามแก้ไขปัญหากันโดยตลอด แต่ก็ยังไม่ดีขึ้น ถึงแม้ปัจจุบันจะมีการตั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขึ้นมาดูแลก็ตาม

2. เห็นว่าที่มาของปัญหาการคอรัปชั่น เกิดจากค่านิยมของคนไทยที่นิยมยกย่องคนมีอำนาจ คนร่ำรวย โดยไม่ได้สนใจว่าอำนาจหรือความร่ำรวยดังกล่าวได้มาอย่างไร หรือส่วนหนึ่งเป็นเพราะนิสัยของคนไทยที่ไม่ช่วยกันรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม ถือว่าธุระไม่ใช่ หากตัวเองไม่ได้รับความเดือดร้อน หรืออาจจะเกรงกลัวอำนาจอิทธิพล อยากจะต่อต้านแต่ก็ไม่กล้า เพราะถ้าได้รับอันตรายก็ไม่มีใครช่วยเหลือจริงจัง หนทางแก้ไขจะต้องสร้างค่านิยมให้นับถือคนเก่ง คนดี มีคุณธรรมให้ได้

3. การช่วยกันแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น จะต้องเริ่มที่ตนเองก่อนโดยมีความเชื่อมั่นต่อตนเอง (Self Trust) ว่าจะไม่ทุจริตคดโกง และประพฤติปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างกับคนรอบข้าง จากนั้นจึงขยายไปสู่ครอบครัวและสังคม โดยสอนลูกหลานให้นิยมยกย่องคนเก่ง คนดีที่ซื่อสัตย์ สุจริต ถึงแม้เขาจะไม่ร่ำรวย ไม่มียศฐาบรรดาศักดิ์ใหญ่โตก็ตาม ในระดับสังคม ต้องสร้างทุนทางจริยธรรม ตั้งแต่วัยเด็กและเยาวชน ให้มีค่านิยมที่ถูกต้อง

4. ผู้นำองค์กรต้องประพฤติปฏิบัติตัวให้มีความโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต เพื่อเป็นตัวอย่างและให้ได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากสมาชิกในองค์กร สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ยกย่องคนดี มีคุณธรรม ถึงแม้จะไม่ร่ำรวยก็ตาม บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ถ้าหากพบเห็นการทุจริต ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง

5. ผู้นำองค์กรต้องเชื่อมั่นว่า ทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญที่สุด (ตามทฤษฏี 8 K’s) จึงต้องพัฒนาให้มีความรู้ โดยการให้การศึกษา ซึ่งเป็นการสร้างทุนทางปัญญา ให้สามารถคิด วิเคราะห์ พร้อมกันนั้น ก็จะต้องสร้างทุนทางจริยธรรมด้วย เพราะลำพัง คนเก่ง คนฉลาด อย่างเดียว แต่ไม่มีคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต ปัญหาการคอรัปชั่นก็แก้ไม่ได้

6. สมาชิกในองค์กร ต้องทำงานด้วยความโปร่งใส และมีความศรัทธาเชื่อมั่นร่วมกันว่า คนที่มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นคนดี แล้วให้เกียรติยกย่องนับถือ ถ้าพบเห็นการทุจริตทั้งในองค์กรที่ทำงาน และในสังคมส่วนร่วม ต้องช่วยกันป้องกันและแก้ไข ไม่นิ่งเฉย เพื่อเป็นตัวอย่างให้สังคมส่วนอื่นๆ ได้ปฏิบัติตาม

แรงบันดาลใจจากการเรียนที่ผ่านมา

๑) สามารถกระตุ้นการพัฒนาภาวะผู้นำของตนเอง เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น และเรียนรู้การปรับทัศนคติให้สามารถแก้ไขปัญหาโดยการคิดนอกกรอบ

๒) องค์กรสามารถพัฒนาบุคลากรให้มีภาวะผู้นำ ใฝ่ที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา และ

สามารถจัดการความคิดได้อย่างเป็นระบบ

๓) ประเทศชาติได้ข้าราชการที่มีคุณภาพ มีภาวะผู้นำ มีมุมมองและวิธีคิดซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพบุคลากรของประเทศโดยรวมในอนาคต

จากบทความ คอรัปชั่น ทุนมนุษย์ และ การสร้างศรัทธา ( Trust )

จากบทความเรื่อง “คอร์รัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust)” สะท้อนให้เห็นว่าบุคคลที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำของประเทศ ควรจะต้องมีทั้งคุณธรรม และจริยธรรม นอกเหนือจากความรู้ ความสามารถ ซึ่งจะเป็นบ่อเกิดแห่งความศรัทธา รวมถึงปัจจุบันนี้ สังคมโลกกำลังให้ความสำคัญ ให้ความสนใจกับการสร้างศรัทธาของผู้นำ ซึ่งจะเห็นได้จากข้อความของ อ.จีระ ที่บอกว่า มีผู้สนใจฟัง นรม.ปาฐกถากว่า 120 ประเทศในการประชุมนานาชาติ ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ครั้งที่ 14 ของสำนักงานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รวมถึงแสดงให้เห็นว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังประสบปัญหาเช่นเดียวกันกับประเทศไทย คือ “การคอรัปชั่น” และกำลังมองไปในทิศทางเดียวกันว่า เป็นที่มาของปัญหาสังคม ความยากจน และปัญหาโลกร้อน ซึ่งจำเป็นจะต้องหาทางป้องกัน และกำจัดให้หมดไป นอกจากนั้น สิ่งที่เป็นปัญหาสังคมขณะนี้ยังมีเรื่องของค่านิยมแบบผิดๆ คือ การนิยมคนมีอำนาจ คนรวย คนก่งแต่โกง โดยไม่สนใจว่าเบื้องหลังจะเป็นอย่างไร ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายต่อสังคมและความมั่นคงของประเทศเป็นอย่างยิ่ง

สิ่งที่เป็นประโยชน์จากบทความ

1.การเป็นผู้นำนอกจากการเป็นคนมีความรู้ความสามารถแล้ว จำเป็นต้องมีคุณธรรม และจริยธรรมด้วย

2.สังคมปัจจุบันกำลังถูกบั่นทอนจากค่านิยมการนับถือคนรวย คนมีอำนาจ คนเก่งแต่โกง โดยไม่สนใจเบื้องหลังว่าการมีอำนาจ ความร่ำรวย จะมีที่มาอย่างไร

3.ปัจจุบันจำเป็นต้องเร่งปลูกฝังค่านิยม และจิตสำนึกที่ดี โดยควรเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ระดับเยาวชน เพื่อนำไปสู่สังคมที่มีคุณภาพ ซึ่งจะกลายเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ

ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศและองค์กร

1. ความศรัทธา (Trust) เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศ หรือองค์กร

2. ทุนมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับประเทศและองค์กร ควรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

3. คอรัปชั่นกำลังเป็นภัยร้ายแรงที่บันทอนการพัฒนาประเทศ และองค์กร จำเป็นต้องเร่งแก้ไข

สิ่งที่ได้รับจากการอ่านบทความ “คอรัปชั่นทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust)”

ผู้เขียนชี้ประเด็นให้ตระหนักว่า สังคมไทยกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับค่านิยมที่ผิดเพี้ยน จากหลักเหตุและผลที่ถูกต้อง ซึ่งควรจะยกย่องคนดี คนเก่ง ที่สุจริต และประพฤติดี ประพฤติชอบ ไม่คดโกง หรือคอรัปชั่น ทำให้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศและทุนมนุษย์ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะผลักดันให้ประเทศชาติมีความสามารถในการแข่งขันในประชาคมโลก

ประโยชน์ที่ได้รับในส่วนผู้อ่าน

1.แนวคิดในการปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องให้กับตนเองและลูกหลาน คนใกล้ชิด ตลอดจนเผยแพร่และยืนหยัดในหลักคิดตามทฤษฎี 8 K’s เฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital)

2.รับทราบถึงความตื่นตัวและบทบาทของหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบการทุจริตและประพฤติมิชอบ

3.แสดงให้เห็นถึงการยอมรับในระดับสากลถึงการมีจริยธรรมของคนในชาติ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงอยู่อย่างมีเสถียรภาพและเจริญก้าวหน้าของประเทศนั้น เห็นได้จากการที่นายบิล และนางฮิลลารี คลินตันที่ให้ความสนใจและสนับสนุนงานต่อต้านการคอรัปชั่น

ประโยชน์ที่องค์กรน่าจะได้รับ

1.หลักคิดในการคัดเลือกผู้นำที่ดี ที่จะต้องเก่งคู่กับคุณธรรม

2.การบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพ จะลดโอกาสและช่องว่างในการคอรัปชั่น ทั้งนี้อยู่ที่ผู้บริหารให้ความสำคัญ ให้ความรู้ และสร้างจิตสำนึกในเรื่องดังกล่าว ตลอดจนปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

3.การให้ความสำคัญกับการตระหนักถึงบทบาทของแต่ละองค์กรที่มีความเชื่อมโยงกันในระดับประเทศและระดับโลก กล่าวได้ว่า เหมือนกับโดมิโนที่หากตัวใดตัวหนึ่งล้มลงก็จะส่งผลกระทบถึงกันทั้งหมด

-------------------------------------------

จากบทความ”คอร์รัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศัทธา(Trust)”

- สิ่งที่ได้จากบทความ

1. นานาชาติได้ตระหนักแล้วว่า การคอร์รัปชั่นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในระดับประเทศ หรือระดับภูมิภาค แต่ได้ขยายไปสู่นานาชาติเป็นคอร์รัปชั่นไร้พรมแดน มีผลกระทบกับคนทั้งโลก

2. สิ่งสำคัญที่ทำให้การคอร์รัปชั่นขยายตัวออกไป เป็นเพราะสังคมยอมรับค่านิยมที่ผิด ๆ เช่น การยกย่องคนที่ร่ำรวยว่าเป็นคนดี ไม่คำนึงถึงการได้มาของทรัพย์สินนั้นๆ ว่าได้มาถูกต้องหรือไม่ เพิกเฉยต่อหลักคุณธรรม และจริยธรรม

3.การแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชั่นไม่ได้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกภาคส่วน ที่จะต้องร่วมมือป้องกันและแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น

- ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร

1. การปรับเปลี่ยนค่านิยมเดิมๆ ที่ไม่ถูกต้อง ปลูกฝังในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมในองค์กร

2. การป้องกันปัญหาคอรัปชั่นในองค์กร วิธีการหนึ่งคือต้องมีการตรวจสอบประวัติ พฤติกรรม เช่นมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ การใช้จ่ายเงินเกินตัวหรือไม่ ติดการพนันหรือไม่ เป็นต้น ก่อนมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ

3. ผู้นำเป็นแบบอย่างที่ดีของคนในองค์กร

จากบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2553

คอรัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust)

ปัญหาการทุจริต คอรัปชั่น โดยเฉพาะในระบบราชการเป็นปัญหาสำคัญ เป็นอุปสรรคต่อการค้าขายในระบบธุรกิจเสรี ทั่วโลกจึงให้ความสนใจ เห็นได้จากมีการจัดอันดับประเทศที่มีการคอรัปชั่นสูงอยู่เป็นประจำ และที่สำคัญเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีข่าวการสำรวจว่าคนไทยยอมรับผู้นำที่เก่งแต่โกง ยิ่งเป็นอันตรายต่อการพัฒนาประเทศ เราจำเป็นจะต้องแก้ไขปรับเปลี่ยนค่านิยมที่ผิด ๆ ในทุกระดับ ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นระบบราชการ การเมือง เอกชน ประชาชน และสื่อ ต้องช่วยกัน การพัฒนาประเทศโดยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ ใช้แนวทางทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ควรปลูกฝังให้กับเยาวชน เพื่อให้เกิดปัญญา มีทัศนคติที่ดี ให้รู้จักความพอเพียง การมีความสุขที่ยั่งยืน มีความศรัทธาเชื่อมั่นในตัวเอง (Self Trust) ต้องยึดมั่น ความซื่อสัตย์ สุจริต คุณธรรม จริยธรรม ดังในพระบรมราโชวาท ที่ให้ไว้กับคนไทยว่า เราไม่สามารถทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดีให้คนดี ได้ปกครองบ้านเมือง ถ้าเราสามารถพัฒนาคนให้เป็นคนมีคุณธรรม จริยธรรมได้ก็จะส่งผลให้กับสังคมส่วนรวม องค์กร และประเทศชาติมีความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

สิ่งที่ให้เห็นว่า ผู้นำที่จะได้รับความไว้วางใจและศรัทธา นอกจากความเก่งแล้ว ต้องมีคุณธรรมได้รับจากบทความ “คอรัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust)”นี้

1) ผู้นำของไทยได้รับการยอมรับจากสังคมโลก เพราะมีคุณสมบัติในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต สะท้อนจริยธรรมควบคู่กันไปด้วย

2) การคอรัปชั่นเป็นปัญหาสำคัญในสังคมไทย เพราะคนส่วนหนึ่งให้การยอมรับผู้คอรัปชั่นที่มีความสามารถ มีอำนาจ และร่ำรวย เพียงเพราะคิดว่าได้รับประโยชน์และประเทศชาติพัฒนา แต่ข้อเท็จจริงเป็นการทำลายประเทศชาติ อีกทั้งไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ แต่ลักษณะดังกล่าวได้กลายเป็นค่านิยมของสังคมไทยไปแล้ว

3) การแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นในสังคมไทย ต้องเริ่มที่การแก้ไขค่านิยมการยกย่องนับถือคนที่อำนาจ เงินทอง และทำให้การนับถือคนดีมีจริยธรรมเป็นค่านิยมของสังคมไทยแทน โดยต้องเริ่มสร้างทุนทางจริยธรรมให้กับเยาวชน และให้ยกย่องนับถือคนที่เก่งและดี

ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับ

1) ผู้นำที่เก่งและดี จะทำให้องค์กรพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงควรมีการวางแผนในการพัฒนาผู้นำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้คนที่มีคุณภาพในด้านความรู้ คุณธรรม จริยธรรม มาเป็นผู้นำในอนาคต

2) สร้างค่านิยมให้การนับถือยกย่องคนเก่งและดีให้เป็นค่านิยมขององค์กร

3) พัฒนาทุนทางจริยธรรมให้กับบุคลากรในองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันปัญหาคอรัปชั่น และสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นภายในองค์กรและนอกองค์กร ในการที่จะเป็นองค์กรที่มีคุณภาพและจริยธรรม ทำงานเพื่อสังคมและประเทศชาติ

จากบทความเรื่อง “คอร์รัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust)”

สิ่งที่ตนเองได้รับจากบทความนี้

1. การคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาใหญ่ที่ขัดขวางการพัฒนาชาติ ในทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะหากผู้นำคอร์รัปชั่น ก็จะทำเกิดการเสื่อมศรัทธา
ต่อตัวผู้นำ ในระดับองค์กร ระดับประเทศ

2. ปัญหาการคอร์รัปชั่น ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่คนในสังคมไทย ก็ยังมีค่านิยมผิด ๆ
ที่ยกย่องคนมีอำนาจ คนร่ำรวย โดยไม่ได้มองลึกลงไปถึงการเป็นคนดี มีจริยธรรม คุณธรรม ยอมรับผู้นำที่คอรัปชั่น เพราะคิดว่า ยังทำประโยชน์ต่อตนเอง พวงพ้อง และชุมชนของตนอยู่บ้าง อีกส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการไม่มีศรัทธา ในตนเอง จนไม่กล้า
ที่จะปฏิเสธหรือเรียกร้องความเป็นธรรรม แม้ไม่ชอบในก็ไม่มีความมั่นใจที่จะปฏิเสธ
ไม่กล้าคิดนอกกรอบ 3. การที่จะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นต้องเริ่มจากการปรับทัศนคติ
ค่านิยมของคนไทย ให้รู้จัก being ของตนเองเพื่อให้รู้ว่าตนเป็นใคร มีความต้องการอะไร รู้จักใช้มโนสำนึก คุณธรรม จริยธรรม ตัดสินใจ ที่จะกระทำ ในสี่งที่ถูกต้อง รู้สึกเชื่อมั่นใจตน (self Trust) และส่งเสริมค่านิยมเรียนรู้ตลอดเวลา เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยือของผู้ไม่หวังดีที่จ้องจะแสวงหาประโยชน์จากการไม่รู้ คิดไม่เป็นและไม่เชื่อมั่นในตน ทั้งนี้ การมีศรัทธา ในตนเอง จะทำให้กล้าที่จะคิดนอกกรอบและทำในสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นผลให้ได้รับการยอมรับต่อสังคม ว่าเป็นคนดี คนเก่ง หากสามารถเปลี่ยนค่านิยมของคนในสังคมไทยให้รู้จักเรียนรู้ตลอดเวลา ตามทฤษฎี 4 L’s และพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีทุนตามทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s ได้อย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้คนไทยมีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ากว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

สิ่งที่องค์การได้รับจากบทความนี้

1. องค์การต้องเร่งพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์การให้เป็นคนดี เคนเก่ง
เพื่อสร้างบุคลากรให้พร้อมที่จะเป็นผู้นำที่มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่อให้เกิดศรัทธาในองค์การ และเป็นแรงผลักดันให้ประเทศพัฒนาอย่างมั่นคง
2. ผู้นำที่ดีต้อง มีความโปร่งใส่ มีจริยธรรม คุณธรรม เพื่อทำให้เกิดศรัทธาขึ้น
ในองค์การ
3. นอกจากจะพัฒนาทรัพยากรบุคคลโดยให้ความรู้ที่เพียงพอแล้ว ต้องปรับ
ทัศนคติให้มีจริยธรรม คุณธรรมควบคู่กันไปด้วย และต้องทำอย่างต่อเนื่อง
จึงจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยังยืน

จากบทความเรื่อง ““คอรัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust)”

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.ได้ทราบข่าวสารที่แสดงให้เห็นถึงการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐของไทยและบุคคลที่มีชื่อเสียงในเวทีโลก เกี่ยวกับการสนับสนุนให้สังคมเล็งเห็นความสำคัญของการต่อต้านการคอรัปชั่นที่ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อองค์กรหรือประเทศนั้น ๆ แต่ผลกระทบแผ่ขยายถึงระดับนานาชาติด้วย (จากคอรัปชั่นถึงโลกร้อน+ความยากจน)

2.แนวโน้มของการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีภูมิคุ้มกันด้านการคอรัปชั่น เริ่มจากการปรับค่านิยมให้มีค่านิยมที่ถูกต้องในการนับถือคนเก่ง และมีคุณธรรม ควบคู่กัน ไม่ใช่นับถือแต่ความเก่งเพียงอย่างเดียว โดยมีหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบหลักสนใจและผลักดันให้เป็นกระแสในวงกว้างเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของคนในสังคม

3.ร่วมรับรู้และรับทราบบทบาทของตนเองที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เกิดทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) หากได้เริ่มจากตนเองและถ่ายทอดไปยังสมาชิกในครอบครัว เพื่อน คนใกล้ชิด เพื่อให้ร่วมกันแสดงออกถึงค่านิยมที่ถูกที่ควร

ประโยชน์ต่อองค์กร

1.ถือเป็นความท้าทายต่อผู้นำองค์กรที่จะแสดงจุดยืนและพิสูจน์ให้เห็นถึงความจริงจังในการขับเคลื่อนการปฏิบัติเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนทัศนคติตั้งแต่คนในองค์กร ไปจนถึงในประเทศ ให้ยอมรับแนวคิด ค่านิยม เรื่องคุณธรรม จริยธรรม มากกว่าการมุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จเพื่อตอบสนองกระแสทุนนิยม

2.แนวคิดในการริเริ่มและต่อยอดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ (การจัดประชุมนานาชาติ) ทั้งในระดับองค์กร ประเทศชาติ และประชาคมโลก ซึ่งหากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน มีการตื่นตัวและร่วมมือกันในการจัดงานระดับประเทศเช่นนี้ ก็จะยิ่งทำให้วัตถุประสงค์ได้รับการตอบสนองมากขึ้น เป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น

3.บทบาทของสื่อสารมวลชนในโลกปัจจุบันที่เป็นเสมือนโลกไร้พรมแดน การรู้จักใช้ประโยชน์จากสื่อให้ถูกต้องทั้งเนื้อหา สาระ เวลา และชนิดของสื่อ จะเป็นเสมือนการมีเครื่องมือพิเศษในการนำไปสู่เป้าประสงค์ต่าง ๆ ที่ตั้งไว้ เพราะต้องยอมรับว่าปัจจุบันสื่อมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้เสพอย่างยิ่ง (ตามทฤษฎี The New Visual Media)

อ่านบทความแล้วได้แนวคิด 3 เรื่องดังนี้

1. การมีจุดยืนที่มุ่งทำความดี เชื่อสัตย์ สุจริต ถึงแม้อาจจะไม่เห็นผลในวันนี้ แต่เชื่อว่าคนทำดีต้องได้รับผลดีตอบแทนแน่นอน

2. การเป็นผู้นำที่ดี มีหลักธรรมมาภิบาลในการปกครองอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องมีการสื่อให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมออกมาอย่างแท้จริงด้วยการทำงานเป็นทีมที่คอยเสริมให้เต็มในส่วนที่ขาด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้เกิดขึ้น

3. การบริโภคข่าวสารในยุคปัจจุบันต้องมีการคิดและวิเคราะห์ให้เป็นทำให้ไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวสารที่เสนอข่าวขาดความเป็นกลาง

ประโยชน์สำหรับองค์กร

1. ในโลกยุคเทคโนโลยีการสื่อสารไร้พรมแดนประเทศทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับปัญหาการทุจริตเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัญหาทุจริตมีความสลับซับซ้อนและมีผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวในวงกว้าง

2. หากทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างร่วมมือแก้ปัญหาการทุจริตร่วมกัน โดยเฉพาะการกระตุ้นให้ประชาชนมีจิตสำนึกในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งปลูกฝังให้เยาวชนเป็นคนเก่ง คนดี และมีคุณธรรมจริยธรรมของสังคมแล้วเชื่อว่าประชาชนคงมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

3. หากประเทศใดมีผู้นำที่เก่ง ดี และมีคุณธรรม จริยธรรม ประเทศนั้นก็จะได้รับความน่าเชื่อ หรือได้รับการยอมรับจากนานาชาติทั่วโลก และเป็นต้นทุนสำคัญในการได้รับความร่วมมือทางด้านต่างๆ ตามมามากมาย

แนวคิดที่ได้จากการอ่านบทความ คอรัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา 1. การเลือกผู้นำต้องพิจารณาจากการมีคุณธรรมและจริยธรรม ไม่ได้เลือกจากผู้นำที่มีอำนาจหรือร่ำรวย 2. ประเทศไทยยังมีค่านิยมที่ว่า ยอมคอร์รัปชั่นได้ ถ้าผู้กระทำ ทำให้ชาติเจริญ ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะถ้ามีปัญหาการคอร์รัปชั่นอย่างแพร่หลาย ก็จะกลายเป็นสิ่งที่ขัดขวางไม่ให้ประเทศพัฒนา นักการเมืองจะมองว่าการคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องปกติ ไม่มีความผิด 3. สถาบันของประเทศ เช่น การศึกษา สื่อมวลชน ก็ไม่ได้ช่วยกันปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง เช่น ยกย่องคนที่มีศีลธรรม คุณธรรม แต่จะยกย่องคนที่มีอำนาจและมีความพร้อมทางด้านวัตถุมากกว่า การนำไปใช้กับองค์กร 1. การพัฒนาทุนมนุษย์ตามทฤษฎี 8 K และ 5 K จะช่วยให้คนในองค์กรได้รับการพัฒนา มีคุณธรรม จริยธรรมมากขึ้น ช่วยให้มองผลประโยชน์ขององค์กรมากกว่าส่วนตัว ปัญหาทุจริตและคอร์รัปชั่นจะน้อยลง 2. ผู้นำองค์กรที่มุ่งแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว ขาดคุณธรรมและจริยธรรม แม้อาจจะมีนักการเมืองหรือผู้มีอิทธิพลสนับสนุน ก็จะขาดความชอบธรรมในการเป็นผู้นำองค์กรในที่สุด เพราะคนในองค์กรและประชาชนไม่ยอมรับ 3. ควรให้มีการปลูกฝังค่านิยม คุณธรรมและจริยธรรมในองค์กร โดยเฉพาะผู้นำองค์กรควรเป็นแบบอย่างในการทำงานที่สุจริตและโปร่งใส เพื่อให้คนในองค์กรเกิดความไว้วางใจ และปฏิบัติตาม องค์กรก็จะมีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

แนวคิดที่ได้จากการอ่านบทความ คอรัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา

    1. การเลือกผู้นำต้องพิจารณาจากการมีคุณธรรมและจริยธรรม ไม่ได้เลือกจากผู้นำที่มีอำนาจหรือร่ำรวย
      2. ประเทศไทยยังมีค่านิยมที่ว่า ยอมคอร์รัปชั่นได้ ถ้าผู้กระทำ ทำให้ชาติเจริญ ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะถ้ามีปัญหาการคอร์รัปชั่นอย่างแพร่หลาย  ก็จะกลายเป็นสิ่งที่ขัดขวางไม่ให้ประเทศพัฒนา  นักการเมืองจะมองว่าการคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องปกติ  ไม่มีความผิด

      3. สถาบันของประเทศ เช่น การศึกษา  สื่อมวลชน ก็ไม่ได้ช่วยกันปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง เช่น ยกย่องคนที่มีศีลธรรม คุณธรรม แต่จะยกย่องคนที่มีอำนาจและมีความพร้อมทางด้านวัตถุมากกว่า

 

การนำไปใช้กับองค์กร

  1. การพัฒนาทุนมนุษย์ตามทฤษฎี 8 K และ 5 K จะช่วยให้คนในองค์กรได้รับการพัฒนา มีคุณธรรม จริยธรรมมากขึ้น  ช่วยให้มองผลประโยชน์ขององค์กรมากกว่าส่วนตัว  ปัญหาทุจริตและคอร์รัปชั่นจะน้อยลง
  2. ผู้นำองค์กรที่มุ่งแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว ขาดคุณธรรมและจริยธรรม แม้อาจจะมีนักการเมืองหรือผู้มีอิทธิพลสนับสนุน ก็จะขาดความชอบธรรมในการเป็นผู้นำองค์กรในที่สุด  เพราะคนในองค์กรและประชาชนไม่ยอมรับ
  3.  ควรให้มีการปลูกฝังค่านิยม คุณธรรมและจริยธรรมในองค์กร โดยเฉพาะผู้นำองค์กรควรเป็นแบบอย่างในการทำงานที่สุจริตและโปร่งใส เพื่อให้คนในองค์กรเกิดความไว้วางใจ และปฏิบัติตาม องค์กรก็จะมีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน      

สิ่งที่ได้รับจากการอ่านบทความ “คอรัปชั่นทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust)”

สรุปประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านบทความดังกล่าว แบ่งเป็นประโยชนต่อตนเอง และ

ประโยชน์ต่อองค์กร ดังนี้

ประโยชน์ต่อผู้อ่าน

1.ศรัทธา (Trust) สร้างได้ แต่การรักษาศรัทธาให้มุ่งมั่นและดำรงอยู่ในวิถีที่ถูกต้อง ไม่แปรเปลี่ยนไปตามกระแสสังคมเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบัน

2.ทบทวนและสำรวจค่านิยมของตนเองว่า แท้จริงแล้วเป็นเช่นไร เพื่อปรับเปลี่ยนให้เป็นค่านิยมที่เหมาะสม และส่งเสริมการพัฒนาตนเองที่ยั่งยืน

3.ตระหนักถึงคุณค่าในการช่วยกันสร้างสรรค์ค่านิยมที่ดีของสังคม เพราะจะมีผลสะท้อนถึงตัวเราไปจนถึงระดับโลก

ประโยชน์ต่อองค์กร

1.แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดเรื่องทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Talented Capital) ที่จะต้องพัฒนาให้มีอยู่ในสมาชิกของทุกองค์กรตั้งแต่สถาบันครอบครัวไปจนถึงประชากรของแต่ละประเทศ

2.การแสวงหาแนวร่วมในการสนับสนุนแนวคิดที่ดีที่เป็นประโยชน์ จะทำให้ความสำเร็จในการผลักดันแนวคิดไปสู่การปฏิบัติเกิดผลสัมฤทธิ์ได้เร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้นำต้องเป็นผู้จุดประกายและเป็นหลักในการเดินหน้าเพื่อแสดงจุดยืนที่ชัดเจน เมื่อมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ก็จะได้รับความร่วมมือที่ดีจากทุกภาคส่วนที่เห็นความจริงจังในการดำเนินการนั่นเอง

3.การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ นำไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นการปรับเปลี่ยนค่านิยม และวัฒนธรรมองค์กรที่ดีอย่างแท้จริง เพราะหากผู้นำองค์กรวางนโยบายอย่างไรก็ตาม หากแต่บุคลากรในองค์กรไม่เกิดการยอมรับและตระหนักได้ด้วยตนเอง ก็ไม่มีทางที่จะนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

-------------------------------------------------

สิ่งที่ได้รับจากบทความ

1. ปัญหาการคอรัปชั่่นที่เกิดขึ้น ทั้งจากนักการเมืองและข้าราชการ เกิดจากค่านิยมที่ยอมรับผู้นำที่ความร่ำรวย หรือทำให้องค์กร

เติบโตแต่ขาดคุณธรรมและจริยธรรม

2) การสร้างค่านิยมใหม่ เน้นการปลูกฝังด้านคุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์ สุจริต ทำงานเพื่อส่วนรวม โดยเฉพาะเยาวชน

ที่เคยมีค่านิยมด้านวัตถุมากกว่าจิตใจ

3) สังคมไทยยอมรับการทุจริตคอร์รัปชั่นมากขึ้น โดยมองว่าหากทุจริตทำให้ตอบสนองผลประโยชน์ได้

สิ่งที่องค์กรได้รับคือ

1) สร้างผู้นำขององค์กรในอนาคต ที่เน้นความรู้ ความสามารถและเป็นคนดี มีจริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต เป็นแบบอย่างที่ดี

2) สร้างผู้นำที่ได้รับการศรัทธามากกว่าผู้นำที่ใช้อำนาจ เนื่องจากผู้นำทีได้ร้บความศรัทธา จะเป็นบุคคลที่ได้รับความเชื่อถือทั้งจากคนในองค์กรและภายนอก ทำให้องค์กรมีความน่าเชื่อถือ

3) การสรรหาผู้นำมีความสำคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมาก องค์กรใดมีผู้นำที่ได้รับความศรัทธา เป็นคนมีความรู้ ความสามารถ และเป็นคนดี ย่อมทำให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน

สิ่งที่ได้รับจากบทความ

1. ปัญหาการคอรัปชั่น เป็นปัญหาระดับนานาชาติ ที่หลายฝ่ายให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

2. การสร้างค่านิยมที่ผิด หรือได้รับการปลูกฝังมาอย่างไม่ถูกต้อง จากที่เคยยกย่องและนับถือคนดีที่คุณธรรมและจริยธรรมแต่กลับยกย่องคนดีที่วัตถุนิยม ทำให้เกิดจากยอมรับภายในสังคม ถือเป็นค่านิยมที่ผิด ดังนั้นสิ่งที่ควรกระทำคือการสร้างค่านิยมใหม่เน้นยกย่องคนดีทีมีคุณค่าต่อสังคม

3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ให้ความสนใจต่อการสร้างค่านิยมที่ดีสำหรับเยาวชน

สิ่งที่องค์กรได้รับคือ

1. การสร้างผู้นำขององค์กร นอกจากด้านวิชาชีพ ยังต้องเน้นด้านคุณธรรม จริยธรรม ชื่อสัตย์และสุจริต

2. การพัฒนาบุคลากร ตามหลัก 8 k’s และ 5 k’s มีความสำคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมาก

3. การปลูกฝังค่านิยมภายในองค์กร เน้นด้านคุณธรรม และจริยธรรม

กรณีศึกษาจากบทความเรื่อง คอรัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust) ของอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

การประชุมนานาชาติว่าด้วยการทุจริต ครั้งที่ 14 ระหว่าง 10-13 พ.ย.2553 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เน้นบทบาทของการทุจริตและธรรมาภิบาลในบริบทคำถามเชิงสังคม การเมืองและเศรษฐกิจที่จะกำหนดคุณภาพชีวิตให้กับผู้คนทั่วโลกทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ส่งเสริมความโปร่งใสและสำนึกความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติ และตลาดพลังงาน

ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าในภาวการณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่สถาบันภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม ต้องฟื้นฟูความเชื่อมั่นในบทบาท และอำนาจหน้าที่ของตน โดยการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรที่มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนเพื่อต่อต้านการทุจริต โดยมีบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบอย่างชัดเจน

แนวทางแก้ไขปัญหาที่น่าสนใจ 3 ประการ คือ 1) ฟื้นฟูความเชื่อมั่น (Restoring trust) 2) กำหนดความท้าทายของโลก (Addressing the Global Challenges) และ 3) การเพิ่มศักยภาพให้กับมวลมนุษย์ ทั้งในเรื่องความคิด แรงบันดาลใจ และนวัตกรรม (Empowering citizens)

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมการประชุมนานาชาติว่าด้วยการทุจริต (International Anti-Coruption Conference : IACC) ได้ที่เว็บไซต์ http://14iacc.org/ น่ะครับ มีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

สำหรับข้อคิดที่ได้จากกรณีศึกษาในส่วนตัวนั้น

ประการแรกคือ สังคมไทยยังขาดทุนพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ทฤษฎี 8K's) ตัวอย่างเช่น คำพูดที่ว่า "กินบ้างก็ไม่เป็นไร ขอให้ทำบ้างก็แล้วกัน" เวลาที่พูดถึงนักการเมืองหรือมีการเลือกตั้ง ซึ่งคำพูดแบบนี้สะท้อนให้เห็นว่าอย่างน้อยสิ่งที่ขาดแคลนก็คือ ทุนทางจริยธรรม และทุนทางปัญหา ไม่เพียงแต่เฉพาะนักการเมืองเท่านั้น หากรวมถึงผู้พูดซึ่งเป็นผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งด้วย เพราะรู้ดีว่านักการเมืองเหล่านั้น เมื่อเลือกเข้าไปแล้วก็จะทุจริตคอรัปชั่น แต่ก็ยังส่งเสริมให้นักการเมืองเหล่านี้เข้าไปมีอำนาจในการบริหารทรัพยากรของประเทศ ไม่ใช้ปัญญาที่ตนเองมี ทำในสิ่งที่ถูกต้อง หรือวัฒนธรรมการรอรับความช่วยเหลือจากส่วนกลาง โดยไม่พึ่งพาตนเอง ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการสำนึกในบุญคุณของผู้ให้ ถ้าเรามีทุนเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์ (ทฤษฎี 5K's) เราก็จะสามารถพัฒนา หรือคิดค้นหาวิธีในการประกอบอาชีพ หรือทำการเกษตรเพื่อดำรงชีวิตอยู่โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากส่วนกลาง และไม่ไปชื่นชมนักการเมืองที่ก่อสร้างถนน แล้วติดป้ายประกาศว่าเป็นผลงานของตนเอง หรือเอาสิ่งของมาแจก เพราะรู้ดีว่าเป็นเงินภาษีของคนทั้งประเทศ จะเห็นได้ว่าโครงการพระราชดำริในพื้นที่ต่างๆ ช่วยให้คนเรารู้จักวิธีดำรงชีวิตอยู่โดยไม่จำเป็นต้องรอความช่วยเหลือจากส่วนกลางเลย เป็นการแก้ไขจุดอ่อนของวัฒนธรรมไทยในบ้างเรื่องได้เป็นอย่างดี

ประการที่สองคือ ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคนทั้งโลก ไม่ใช่แค่ประเทศใดประเทศหนึ่ง ตัวอย่างเช่นปัญหาโจรสลัดในประเทศโซมาเลีย ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของประเทศต่างๆ ถ้ารัฐบาลมีการบริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาล และคนในประเทศมีศักยภาพ ประเทศชาติก็จะดำรงอยู่ด้วยความสงบเรียบร้อย ประเทศอื่นๆ ก็จะไม่ได้รับผลกระทบอย่างเช่นในปัจจุบัน

ประการที่สามคือ ตัวเราหรือผู้ที่เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามพันธกิจ หรือเป้าหมายขององค์กร ถ้าทำความเข้าใจกับเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของความเป็นมนุษย์ ปรับทัศนคติ และดำเนินการเพื่อให้ไปสู่การเป็นบุคลากรที่มีคุณค่า ไม่ใช่แค่เป็นอันดับหนึ่งหรือผู้บริหารสูงสุดขององค์กรเท่านั้น

ข้อคิดที่องค์กรได้รับคือ

1) การ Restoring trust สขช. จะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นซึ่งเป็นปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศโดยตรง และเป็นประเด็นที่ท้าทายจากข้อสรุปของการประชุมนานาชาติว่าด้วยการทุจริตในครั้งนี้ด้วย แต่ปัญหาที่น่าขบคิดคือ ใครจะเป็นองค์กรพันธมิตรที่เชื่อถือได้ ที่จะมาทำหน้าที่ในการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่เชื่อถือของสังคม เพราะคงไม่ใช่หน้าที่ของภาคการเมือง ภาคราชการ องค์กรอิสระ นักวิชาการ หรือประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น และจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเป็นองค์กรที่เป็นทางการ? จะทำอะไรได้บ้าง?

2) การ Addressing the Global Chanllenges ให้ถูกต้อง และคลอบคลุมถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้คำชี้แนะต่อรัฐบาล หรือภาคส่วนต่างๆ นำไปเป็นข้อมูลในการดำเนินการ และเตรียมการปฏิบัติเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3) การ Empowering citizens ในกรณีนี้ก็คือการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง และบุคลากรเหล่านี้ สามารถนำเอาความรู้ไปถ่ายทอดให้กับคนใกล้ตัว หรือผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาไม่เพียงแต่เฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น

 

การคอร์รัปชั่น เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว กลุ่ม พวกพ้อง เป็นการทำลายความไว้วางใจ และความชอบธรรมในกระบวนการ ปัญหาการคอร์รัปชั่นมีอยุ่ทุกวงการ ไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทย คาดว่าทุกประเทศทั่วโลกต่างก็ประสบปัญหานี้เช่นเดียวกัน สาเหตุหลักคือการขาดคุณธรรม จริยธรรม และขาดหลักธรรมาภิบาล สำหรับปัญหาคอร์รัปชั่นในประเทศไทยนั้น เมื่อประมาณ 27 ต.ค. 53 องค์กร เพื่อความโปร่งใส นานาชาติ (Transparency International :TI) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระนานาชาติ ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์แก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น มีเครือข่ายใน 120 ประเทศทั่วโลก ได้เปิดเผยว่า ได้มีการจัดทำดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่น ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้จัดอันดับ คอร์รัปชั่นโลกจาก 178 ประเทศ ไทยอยู่ในลำดับที่ 78

ในปัจจุบันการคอร์รัปชั่นนั้นไม่สามารถที่จะกระทำการเพียงคนเดียวได้ จะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุก ๆ ด้าน มีการทำอย่างเป็นระบบ ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่ากิจกรรมต่าง ๆ ต้องเกิดมาจากคน ดังนั้น “คน” ที่มีคุณภาพต้องมีการพัฒนาทั้งด้านสมอง และการมีซึ่งคุณธรรม และจริยธรรม ซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีการปลูกฝัง สั่งสม ตั้งแต่ในวัยเด็ก โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความตระหนักรู้ของคนว่าสิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว และการมีซึ่งความอดทนและความละอาย “ขัตติ โสรัจจะ”

กระผมเอง ไม่อาจกล่าวได้อย่างเต็มปากว่ารัฐบาลในยุดใดสมัยใดโกงหรือคอร์รัปชั่นมากกว่ากัน และที่สำคัญผมไม่รู้จริงในเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นวงจรอุบาวท์ที่ซับซ้อน แต่สิ่งที่ผมได้รับทราบจากสื่อฯ ผู้นำหลาย ๆ ท่าน มักจะพยายาม “สร้างภาพ” ว่าตัวเองเป็นคนดี โดยตั้งตัวเป็นปรปักษ์ต่อการคอร์รัปชั่น แต่ผู้ใต้บังคับบัญชาบางท่าน บางคน งาบโครงการใหญ่ ๆ เข้าไปหลายโครงการ ที่เรียกว่า “ปากว่าตาขยิบ” ก็มีอยู่ถมไป สร้าง Image ดี Trust สูง ก็อยู่ในสังคมต่อไปได้ ดังมีให้พบเห็นหลายต่อหลายกรณี อาทิ นักการเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนได้เสียใน สปก. 4-01 ความร่ำรวยผิดปกติ (ไม่มีการตรวจสอบและดำเนินการอย่างแท้จริง)

สิ่งที่ได้รับจากบทความ : “มีความรู้ ขาดมโนธรรม เป็นวินาศกรรมอันใหญ่หลวง”

สิ่งที่ได้รับจากบทความ

1.สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สังคมไทยยังคงมีปัญหาการคอรัปชั่นอยู่มาก คือ ค่านิยมของคนไทยที่นิยมชื่นชอบคนที่มีอำนาจ มีชื่อเสียง เงินทอง มากกว่าจะนับถือที่คุณธรรมจริยธรรมอย่างแท้จริง

2.ปัจจุบัน ปัญหาการคอรัปชั่นขยายวงกว้างขวางและมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งที่สุดแล้วก็จะส่งผลกระทบต่อทุกๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนยากจนและด้อยโอกาส

3.การแก้ไขปัญหาเรื่องการคอรัปชั่นควรจะต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก เช่น การปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนโดยให้ความสำคัญกับเรื่องคุณธรรมจริยธรรมมากขึ้น จากเดิมที่เน้นเฉพาะด้านวิชาการ

สิ่งที่องค์กรได้รับ คือ

1.ผู้นำองค์กรควรเป็นผู้ที่ได้รับไว้วางใจ (Trust) จากบุคคลในองค์กร ทั้งในด้านความรู้ความสามารถ และความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งเมื่อผู้นำได้รับการยอมรับจากทุกคนในองค์กรแล้ว ก็จะทำให้การบริหารงานดำเนินไปอย่างราบรื่นมากขึ้น เพราะทุกฝ่ายยินดีให้ความร่วมมือ

2.องค์กรควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์โดยเน้นเรื่องคุณธรรมจริยธรรมมากขึ้น

3. สร้างค่านิยมการนับถือคนดี มีคุณธรรมขึ้นในองค์กร

จากการเรียนมา ๘ วัน มีแรงบันดาลใจใหม่ๆ เพิ่มขึ้น คือ

• สิ่งที่ตัวเองได้

๑. ได้เปิดโลกทัศน์การเรียนรู้ จากอาจารย์ที่มีความรู้ประสบการณ์ ทำให้เกิด

ความคิดสร้างสรรค์และทักษะใหม่ๆ และที่สำคัญคือ การปรับทัศนคติให้เป็นเชิงบวก ถึงแม้จะยังปรับให้เป็นบวกไม่ได้ทุกเรื่อง แต่ก็ได้เห็นความสำคัญของทัศนคติเชิงบวก

๒. การนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการทำงานและชีวิตส่วนตัว การคิดอย่างเป็นระบบ การกระตุ้นตัวเองให้ใฝ่เรียนรู้ การสร้างความเชื่อถือศรัทธาให้เกิดขึ้นกับตัวเอง

๓. การมีเครือข่ายเพิ่มขึ้น ได้เรียนรู้ เข้าใจ และปรับตัวเข้าหากันจากการทำงานเป็นทีม ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดี ซึ่งจะเป็นเครือข่ายเรียนรู้ร่วมกันในอนาคต

• สิ่งที่องค์กรได้

๑. เมื่อได้รับความรู้ ทักษะ ก็จะนำไปพัฒนาตนเอง พัฒนาการทำงาน และ พัฒนาองค์กรให้ดีขึ้น

๒. การร่วมมือร่วมใจทำให้ สขช. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างน้อยก็มีแนวร่วมรุ่น ๑ และรุ่น ๒ แล้ว

๓. เชื่อว่าผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรนี้ ส่วนใหญ่จะต้องเป็นผู้นำที่มีคุณภาพ เป็นคนดี คนเก่ง และเป็นกำลังสำคัญของ สขช.ต่อไป

• สิ่งที่ประเทศชาติได้

๑. เมื่อเราได้รับการพัฒนา การทำงานของเราก็จะพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ ตอบสนองยุทธศาสตร์การสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้ประเทศ

๒. เมื่อเราเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เป็นคนเก่ง คนดี เราก็จะสามารถพัฒนาประเทศชาติให้สามารถยืนหยัดอยู่ภายใต้กระแสของการแข่งขันในโลกยุคปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมั่นคง

๓. การทำให้ สขช.เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นตัวจุดประกายให้คนในองค์กรเห็นความสำคัญของการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เราจะทำอย่างไรให้รัฐบาลเห็นความสำคัญและส่งเสริมสนับสนุนอย่างจริงจังให้ไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไป

เราได้อะไรจากการอบรมสัมมนา ๘ วันของหลักสูตร Talent รุ่นที่ ๒

ตัวเรา

๑) ได้รับรู้แนวทางในการดำเนินชีวิตใหม่ๆจากเดิมที่เราปฏิบัติผ่านมาอย่างไม่เป็นระบบที่ชัดเจน ให้เป็นระบบมากขึ้นและสามารถนำไปปรับใช้และพัฒนาตนเองได้ทั้งในชีวิตส่วนตัวและการทำงานให้เหมาะสมและดียิ่งขึ้น อาทิ วิธีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ การส่งเสริมความรู้ข้ามสายงาน การค้นหาตนเอง การสร้างศรัทธา แนวทางการสร้างวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร และความรู้ที่จำเป็นในด้านอื่นๆ อีกมากที่เราไม่เคยสนใจรับรู้มาก่อน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่มีคุณภาพมากขึ้น

๒) ทำให้เรามีความภาคภูมิใจตนเองมากขึ้นในฐานะที่เราเป็นทรัพยากรมนุยษ์ที่สำคัญ ( ถึงแม้ว่าใครจะไม่เห็นความสำคัญของเราก็ตาม ) และทำให้เกิดแรงบันดาลใจอย่างลึกๆ ที่จะพัฒนาตนเอง ตลอดจนบุคคลในครอบครัว ผู้ใต้บังคับบัญชาของเรา ให้มีคุณภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นบุคลากรที่มีคุณค่า อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยใช้ความรู้ต่างๆที่ได้รับมาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

๓) ทำให้เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของการอยู่ร่วมกัน การทำงานเป็นทีม ที่มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกันตามความรู้ความสามารถที่ตนเองถนัดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการอย่างมีคุณภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เข้ารับการอบรมทุกคนให้มีความเชื่อมั่นต่อกัน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และมีความร่วมแรงร่วมใจที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน

ระดับองค์กร

๑) การที่องค์กรมีบุคลากรหรือทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ มีความซื่อสัตย์สุจริต และส่งเสริมให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ย่อมเป็นพลังและพื้นฐานที่ดีต่อการบรรลุเป้าประสงค์ขององค์กร

๒) องค์กรควรให้ความสำคัญกับบุคลากรทุกคนและทุกสายงานด้วยความเสมอภาคและส่งเสริมโอกาสในการพัฒนาให้เป็นบุคลากรหรือทรัพยากรที่มีคุณภาพ ทั้งในสายงานที่ปฏิบัติและการเรียนรู้ข้ามสายงาน ไม่ใช่ให้ความสำคัญเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือสายงานใดสายงานหนึ่ง บุคลากรที่จะมีคุณภาพได้จะต้องมีความรู้ในศาสตร์หลายๆแขนง และสามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสม ผู้บริหารหรือผู้นำที่ดีขององค์กรในอนาคตควรจะต้องมีความรู้ในหลายๆด้าน เพราะในแต่ละหน่วยงานมีลักษณะงานที่หลากหลายอยู่ร่วมกัน หากองค์กรมีแนวทางที่ดีในการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบและเป็นธรรมแล้ว การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขก็จะเกิดขึ้น และองค์กรสามารถที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า อย่างเต็มที่และคุ้มค่า เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนและมั่นคง

๓) การที่องค์กรมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ยิ่งมากเท่าใด ก็ยิ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะนำพาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับจาก ประชาชน สังคม รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากขึ้นในอนาคต

ประเทศชาติ

๑) หากการพัฒนาตามแนวทางดังกล่าวประสบความสำเร็จโดยให้ครอบคลุมในทุกองค์กร ประเทศก็จะมีทรัพยากรมนุษย์ที่ดี มีความรู้ควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาวต่อไป

๒) สำหรับในหน่วยงานทางด้านความมั่นคงแล้ว ยิ่งเป็นส่วนสำคัญมากที่จะทำให้ชาติอยู่รอดอย่างปลอดภัย และ ช่วยให้สังคมมีความสงบสุขมากขึ้น

๓) เมื่อทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน หรือ การเมือง มีจุดยืนที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ก็จะทำให้เกิดความร่วมมือที่จะเสริมสร้างความมั่นคงและพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างยั่งยืนและมั่นคง

จากการอ่านบทความ “คอรัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust)”

สรุปสิ่งที่ตัวเองได้รับคือ

- เมื่อผู้นำประเทศได้รับความน่าเชื่อถือและความศรัทธาจากทั้งในและต่างประเทศ

จะทำให้ประเทศได้รับความน่าเชื่อถือไปด้วย

- การทุจริตคอรัปชั่นเป็นปัญหาอย่างมากในปัจจุบัน สืบเนื่องจามาอดีตมาถึงปัจจุบัน

กลายเป็นวัฒนธรรม จนทำให้คนทั่วไปเห็นเป็นเรื่องปกติธรรมดา ซึ่งความคิดเช่นนี้ถือเป็นเรื่องอันตรายสำหรับสังคมไทย

- ต้องเริ่มปลูกจิตสำนึกด้านจริยธรรมและคุณธรรมให้เยาวชน มิใช่ความเป็นคน

เท่านั้น เนื่องจากทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธานั้น ต้องเริ่มจากระดับเยาวชนให้มีความแข็งแกร่งรอบด้านในโลกยุคใหม่ที่มีความพร้อมทั้งด้านการเรียนและรอบรู้เรื่องทั่วไปในยุคโลกาภิวัฒน์ รวมทั้งเรื่องจริยธรรมคุณธรรม

สรุปสิ่งที่องค์กรควรเรียนรู้และต้องดำเนินการ คือ

- องค์กรต้องมีผู้นำได้รับความน่าเชื่อถือและความศรัทธาจากคนในองค์กร

ขณะเดียวกัน ผู้นำต้องให้ความสำคัญ จนท.ในองค์กร จะเป็นแรงผลักดันให้องค์กรเดินหน้าไปในเป้าหมายเดียวกัน

- ต้องพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีความรู้และกล้าที่จะเปลี่ยนความเชื่อและ

วัฒนธรรมแบบเดิมที่ไม่ถูกต้อง

- เมื่อองค์กรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในสังคมมีบุคลากรที่มีทั้งความรู้และจริยธรรมคุณธรรม

จะสามารถนำพาสังคมและประเทศชาติเข้มแข็งและได้รับความน่าเชื่อถือ รวมทั้งองค์กรได้รับการยอมรับจากรัฐบาลและประชาชน

แรงบันดาลใจจากการได้เรียนรู้ช่วง 8 วัน จากหลักสูตร Talent

ตัวเรา

1.การใฝ่รู้หรือความอยากเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาคือปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาทุนความรู้ของตนเองที่มาจากการต่อยอดทุนความรู้เดิม หากเมื่อใดขาดการใฝ่รู้หรืออยากเรียนรู้เมื่อนั้นจะไม่เกิดความรู้ที่พัฒนาแม้จะมีทุนความรู้เดิมดีก็ตาม

2.ความสำคัญของเครือข่ายมีส่วนช่วยกระตุ้นให้การทำงานประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ จากการพึ่งพาและเชื่อมโยงกันในทุกส่วนงาน

3.การคิดอย่างมีระบบซึ่งกระทำผ่านการเรียนรู้ด้านแผนผังความคิด(mind mapping) นับเป็นการจัดลำดับความคิดได้ไกล และจะนำไปสู่ทางออกของการแก้ปัญหาได้หลายทาง การเลือกแนวทางใดขึ้นกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมขณะนั้น

องค์กร

1.บุคลากรในทุกองค์กรล้วนมีความสำคัญต่อการนำองค์กรให้บรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวัง เนื่องจากทุนทางทรัพยากรอื่น ๆ อาทิ วัตถุดิบ เครื่องจักร ล้วนเป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป ขณะที่ทุนมนุษย์สามารถสร้างสรรค์ให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ อันจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรเต็มที่

2.พลังแห่งศรัทธาของผู้นำที่บุคลากรในองค์กรให้การยอมรับจากการยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และให้ความสำคัญต่อทุนมนุษย์ที่ทุกคนสามารถพัฒนาการเรียนรู้ให้เพิ่มขึ้นได้ นับเป็นแรงศรัทธาที่จะนำไปสู่แรงจูงใจต่อการมุ่งมั่นปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลัง โดยมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ต่อองค์กรมากกว่าผลประโยชน์ของตัวเอง

3.การทำงานที่มีระบบหรือเรียกว่าการทำงานเป็นทีม นับเป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำงานขององค์กร เนื่องจากทุกส่วนงานจะมีส่วนที่เชื่อมโยงกันหรือพึ่งพากัน อันจะทำให้ผลงานมุ่งไปในทิศทางเดียวกันและตอบสนองตรงกับวัตถุประสงค์สูงสุดขององค์กร

ประเทศชาติ

1.ทุนมนุษย์มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ด้วยเหตุนี้การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ให้เกิดการอยากเรียนรู้ตลอดเวลา รวมทั้งรู้จักการทำงานเป็นทีม จะเป็นผลประโยชน์ต่อประเทศที่จะรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ เนื่องจากจะเกิดการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มโดยรวมให้เกิดต่อประเทศ

2.การเป็นผู้นำที่ได้รับแรงศรัทธาตามทฤษฎีการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยเฉพาะทุนด้านคุณธรรม และจริยธรรม จะทำให้นานาชาติมองเห็นถึงศักยภาพผู้นำต่อการบริหารงานทุกด้าน อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของประเทศ

3.การสร้างองค์ความรู้ด้านการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ตลอดเวลา พร้อมกับการทำงานที่เป็นระบบ นับเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศ เพราะนานาชาติจะมองเห็นถึงศักยภาพของมนุษย์ ท้ายสุดผลประโยชน์จะเกิดต่อสังคมภายในประเทศ

แนวคิดที่ได้จากการอ่านบทความ คอรัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา พบว่า

1.คนไทยบางส่วนยังคงยอมรับบุคคลที่มีแนวคิดคอรัปชั่น โดยมีมุมมองที่ว่าแม้บุคคลนั้นคอรัปชั่นแต่ยังยอมรับได้หากยังมีบางส่วนตกอยู่กับประชาชน

2.การปราบปรามการคอรัปชั่นเป็นเรื่องยาก เพราะหากมีการคอรัปชั่นตั้งแต่ระดับนโยบายแล้ว จะเป็นต้นแบบให้มีการคอรัปชั่นลงมาได้อีก

3.การปลูกฝังในสิ่งที่ถูกต้องด้านคุณธรรม จริยธรรมเป็นเรื่องที่ต้องทำตั้งแต่เด็ก การส้รางทุนมนุษย์ จำเป็นต้องเน้นด้านทุนทางคุณธรรมจริยธรรมควบคู่กันด้วย

การนำข้อคิดเห็นที่ได้ไปปรับใช้ในกระบวนการสร้างผู้นำที่ดีในอนาคต ดังนี้

1.การสร้างผู้นำขององค์กรในอนาคต ต้องคำนึงถึงความเป็นคนดี มีจริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต เพื่อเป็นพื้นฐานทางจิตใจและแบบอย่างที่ดี เพราะคนเก่งหาไม่ยากเท่าคนดี

2.การสร้างผู้นำที่ได้รับการศรัทธา มากกว่าผู้นำที่ชอบใช้อำนาจ โดยเน้นการใช้ทฤษฎี 8 K’s และ ทฤษฎี 5 K’s ที่เน้นการใช้ทุนมนุษย์ที่ครบทุกด้านทั้งความสามารถลุคุณธรรม

3.ผู้นำจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้บุคลากรทั้งในและนอกองค์กรนำไปเป็นแบบอย่างที่ดีได้ต่อไป

คอรัปชั่น ทุนมนุษย์ และการสร้างศรัทธา (trust)

1. คนบางกลุ่มมีค่านิยมยกย่องคนมีอำนาจ คนรวย เพราะคนเหล่านั้นได้รับผลประโยชน์โดยตรงซึ่งเป็นค่านิยมที่ผิด การปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเยาวชนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่กระทรวงศึกษาธิการต้องนำไปดำเนินการต่อไป เพื่อลดปัญหาการคอรัปชั่นที่จะเกิดขึ้นในสังคมแห่งอนาคต

2. การคอรัปชั่นของคนในสังคมจะกลายเป็นปัญหาคอรัปชั่นไร้พรมแดน ปัจจุบันหลายประเทศกำลังให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ปัญหาการคอรัปชั่นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อประชากรทั่วโลก

3. บุคคลที่มีความเป็นผู้นำซึ่งได้รับความไว้วางใจ (trust) จากคนในสังคมต้องเป็นบุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีจุดยืน ทำเพื่อส่วนรวม มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม การปลูกฝังค่านิยมที่ดีและถูกต้องจะสามารถทำให้สามารถเลือกผู้นำที่ดีมาบริหารประเทศ ก่อให้เกิดความศรัทธาและความเชื่อมั่น ปัญหาคอรัปชั่นในสังคมก็จะหมดไป ภาพพจน์ผู้นำที่ดีก็จะปรากฎต่อสายตาของประชาคมโลก

สิ่งที่ได้รับจากการเข้ารับการอบรมครั้งนี้

1. การอบรทำให้เราค้นพบตัวตนที่แท้จริง Being (ธาตุแท้) ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ มีแนวความคิดในการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ จากเทคโนโลยีและนวตกรรมแห่งโลกยุคโลกาภิวัฒน์ มีมุมมองหลายแง่มุม มองและคิดนอกกรอบ เพื่อต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคต

2. ทำให้มีแรงกระตุ้นและมีแรงผลักดันในด้านการพัฒนาตนเองให้ก้าวสู่ภาวะความเป็นผู้นำ กล้าแสดงออกทางด้านความคิด แบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ มีความคิดหลายด้าน มองแบบนอกกรอบ คิดด้านลบให้เป็นด้านบวก คิด Macro ทำ Micro สามารถนำเอา Mind Map ซึ่งเป็นความคิดอย่างเป็นระบบมาใช้ในโครงสร้างและคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน สามารถนำความรู้ดังกล่าวมาปรับใช้ในการวางแผนการดำเนินชีวิตและการทำงาน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จอย่างแท้จริง

3. ให้ความรู้ในด้านการทำงานเป็นทีม โดยใช้หลักทฤษฎี 8k’s ผลที่ได้รับคือ Happiness capital และ Reward

สิ่งที่องค์กรและประเทศได้รับ

คนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดขององค์กร องค์กรจะประสบความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับคน คนจึงต้องพัฒนาตนเองให้ทันสมัยหรือทันต่อกระแสโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาด้วยการเรียนรู้เพื่อหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ โดยนำเอาเทคโนโลยีและนวตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ ซึ่งผลจากการอบรมครั้งนี้ทำให้องค์กรมีทรัพยากรบุคคลที่มีภาวะความเป็นผู้นำเพิ่มขึ้น คนที่มี Self trust มีความเชื่อมั่นในตนเอง และสามารถสร้างความศรัทธาต่อผู้อื่นได้ สามารถแบ่งปันองค์ความรู้ไปสู่บุคคลอื่นๆ ในองค์กร จะสามารถสร้างโอกาสจากการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ระหว่างกันอย่างต่อเนื่องและต่อเนื่อง โดยมี Vision – Mission – Strategies – Core Value เพื่อมุ่งไปสู่ความสำเร็จหรือทำงานแบบเป็นทีม Alignment และ Shared Vision จะเป็นผู้นำทีดีในองค์กรและส่งผลดีต่อบทบาทของคนโดยส่วนรวม สามารถสร้างความปรองดองนำมาซึ่งความมั่นคงของคนในประเทศในภายภาคหน้า

@ จากการอ่านบทความเรื่อง คอรัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust) พบว่า

1. ค่านิยมของคนไทยที่ยกย่องคนมีเงิน มีอำนาจ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดการคอรัปชั่นในสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2. ค่านิยมดังกล่าวถือว่าเป็นสิ่งที่ผิด แต่ก็ยังพบได้ในหมู่ชนชั้นผู้นำบางคน ซึ่งคนในสังคมต้องช่วยกันตีแผ่การกระทำดังกล่าวว่าเป็น

สิ่งที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งหากปล่อยให้เงียบหายไปก็จะส่งผลร้ายต่อการรับรู้ของเยาวชนไทยว่า ถ้าทำการคอรัปชั่นแล้วไม่ถูกลงโทษ

สิ่งผิดจะกลายเป็นถูก เยาวชนอาจนำไปเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติต่อไปได้ (เป็นการปลูกฝังค่านิยมที่ผิดโดยไม่รู้ตัว)

3. การเป็นผู้นำที่จะได้รับความศรัทธาจากผู้อื่น ควรจะประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี สร้างทุนทางจริยธรรมของตนเองให้แข็งแกร่ง

และพร้อมที่จะยืนหยัดในการต่อต้านการคอรัปชั่นในสังคม

สำหรับการเปรียบเทียบบทความดังกล่าวกับภายในองค์กร พบว่า

1. ผู้นำเปรียบเสมือนตัวแทนขององค์กร ถ้าผู้นำองค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดี ไม่มีชื่อเสียเกี่ยวกับการคอรัปชั่น ก็จะช่วยให้ผู้อื่นศรัทธาใน

องค์กรนั้นด้วย

2. ภายในองค์กรควรสร้างทุนทางจริยธรรมต่อบุคลากรให้มาก เพื่อปลูกฝังค่านิยมที่ดี ต่อต้านการคอรัปชั่น ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นตัวช่วยให้

ค่านิยมในสังคมเปลี่ยนไปด้วย

3. ผู้นำจะได้รับความศรัทธาจากคนในองค์กรได้ จะต้องเป็นคนมีคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเป็นทุนอย่างหนึ่งที่สามารถสร้างได้ แต่จะคง

อยู่ถาวรหรือไม่เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากสิ่งที่สร้างจะต้องไม่ขัดกับตัวแต่ที่แท้จริงของคนๆ นั้น

@ จากการเรียนมา 8 วัน ทำให้ข้าพเจ้าพบว่า

1. คนเราหากมีเป้าหมายในชีวิตของตนเองแล้ว ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จะมีอุปสรรค ขวากหนามอย่างไร เราก็จะสู้และฟันฝ่า เพื่อให้

เป็นสู้จุดหมายที่ตั้งไว้ให้ได้

2. การทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งสำคัญ บางครั้งงานบางอย่างเราไม่สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียวได้ แต่เมื่อต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นแล้ว

จะทำอย่างไรถึงจะทำให้ทีมของเรามุ่งไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ

3. การเป็นผู้นำนั้นสร้างได้ แต่จะทำอย่างไรให้เป็นผู้นำที่ได้รับความศรัทธาจากคนในทีมได้

สำหรับการนำไปใช้ในระดับองค์กรนั้น

1. บุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีค่า ซึ่งควรได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ในทุกด้าน โดยผู้ที่ได้รับประโยชน์ก็คือองค์กรนั้นเอง

2. ผู้นำที่จะนำองค์กรไปสู่เป้าหมายขององค์กรได้สำเร็จ จะต้องได้รับศรัทธาจากบุคลากรในองค์กรก่อน และเมื่อนั้นบุคลากรทุกคน

ก็จะเชื่อมั่นในตัวผู้นำ ซึ่งทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด

3. การทำงานเป็นทีมที่ดีโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ

ด้านประเทศชาติก็จะได้รับประโยชน์คือ

1. เมื่อบุคลากรในทุกภาคส่วนของประเทศได้รับการพัฒนาตามแนวคิด 8 K's และ 5 K's แล้ว เชื่อได้ว่าจะช่วยให้การทำงานมี

ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะถือว่าเป็นการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศอีกทางหนึ่ง

2. การสร้างนวัตกรรมของประเทศในด้านต่างๆ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้เช่นกัน

3. ผู้นำหากได้รับความศรัทธาจากคนทุกภาคส่วน ปัญหาความแตกแยกก็จะลดน้อยลง โดยทุกคนจะหันมาร่วมมือกันพัฒนาให้

ประเทศพัฒนายิ่งขึ้น

สิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงานที่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน ( TPIPL )

ทางด้านการบริหารและการจัดการทั่วไป

- เป็นบริษัทของคนไทยที่บริหารโดยคนไทย มีพนักงานจำนวนมากและหลากหลาย ตั้งแต่ระดับบริหารจนถึงผู้ใช้แรงงาน ( ประมาณ ๓,๐๐๐ คน )

- การผลิตของบริษัทมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมข้างเคียงเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงมีการกำหนดแนวทางในด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมไว้ในนโยบายหลักขององค์กรโดยเน้นการบริหารจัดการด้านคุณภาพ ชีวอนามัย และด้านปฏิบัติการ ตลอดจนการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อลดปัญหาดังกล่าว และเพื่อแข่งขันทางด้านการค้ากับบริษัทคู่แข่งไปพร้อมกัน

- ให้ความสำคัญกับสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความหลากหลายเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุดโดยใช้เทคนิคทางด้านการประชาสัมพันธ์เป็นหลัก ควบคู่กับการคิดค้นเทคนิคการนำขยะหรือวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่เพื่อประโยน์ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ดีตลอดไป รวมทั้งสนับสนุนให้มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆอย่างต่อเนื่องและไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่

- มีความตั้งใจในการพัฒนาองค์กรสูงเพื่อการข่งขันในด้านการผลิต หากมีแนวคิดที่ดีและสามารถดำเนินการได้จะทำทันที จุดเด่นคือเมื่อคิดแล้วทำจริง ไม่ใช่คิดอย่างเดียวแต่ไม่ทำ จึงทำให้บริษัทก้าวมาอยู่ระดับแนวหน้าในปัจจุบัน ( อันดับที่ ๓ ในกิจการประเภทเดียวกัน และหากโรงงานที่กำลังก่อสร้างเพิ่มเติมใหม่แล้วเสร็จอาจก้าวขึ้นมาอยู่ในลำดับที่ ๒ รองจากบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย )

ทางด้านการบริหารบุคคลหรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์

- ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรขององค์กรในทุกด้านและทุกสายงาน ซึ่งคล้ายกับแนวทางทฤษฏี 8K’s และ 5K’s โดยเฉพาะทุนมนุษย์ (Human Capital) และใช้คำว่า บุคลากร แทนคำว่า ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเน้นความสำคัญต่อการสร้างความเติบโตและก้าวหน้าในสายงานของตนเองเป็นหลักอย่างชัดเจน เพราะส่วนใหญ่บุคลากรจะมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันมาก

- การสรรหาในช่วงเริ่มต้นจะเน้นที่ผลการศึกษาเป็นหลัก โดยกำหนดเกรดของผู้ที่มีสิทธิ์สมัครงานไว้ตามความเหมาะสม ( ประมาณ ๒.๕ – ๒.๗ ) ถ้ามีประสบการณ์ ก็พิจารณาปรับลดเงื่อนไขดังกล่าวได้ ( ประมาณ ๒.๓ – ๒.๕ )และเมื่อเข้ามาได้แล้วจะมีการอบรมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ สำหรับในเรื่องสถาบันที่เรียนมาไม่ได้ให้ความสำคัญ เพราะหลังจากการเข้ามาทำงานแล้วจะเน้นที่คุณภาพการปฏิบัติงานเป็นหลัก การเจริญเติบโตของบุคลากรอยู่ที่คุณภาพไม่ใช่สถาบัน และจะเกษียณอายุการทำงานเมื่ออายุครบ ๖๐ ปี

- มีการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมและเป็นที่พอใจของบุคลากร โดยผสมผสานกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการใช้จ่ายในการครองชีพตามฐานะของตน เช่น การจัดให้มีรถรับส่ง มีโบนัส มีการรักษาพยาบาลให้ครอบคลุมตนเองและบุคคลในครอบครัว มีบ้านพักสวัสดิการ เป็นต้น

- เน้นการพัฒนาคนควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบและมีส่วนร่วม

คำถามข้อแรกตอบแล้วค่ะอยู่ที่ 336

2. การเรียน 8 วัน ทำให้มีแรงบันดาลใจต่อตนเอง ได้แก่

         1. ทำให้ตระหนักว่าการสร้างศรัทธาต่อตัวเองเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะทำอะไรๆ ให้สำเร็จ รวมถึงการมองโลกในทางบวก การมีความคิดสร้างสรรค์จะเป็นแรงบันดาลใจในการแก้ปัญหาต่างๆ

        2. การค้นคว้า ศึกษาข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานเพื่อที่จะนำมาปรับปรุงงานให้ดีขึ้น สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน

       3. ควรยอมรับฟังความคิดเห็น คำวิจารณ์ของผู้อื่นซึ่งอาจจะไม่ตรงกับความคิดของเราแต่ก็จะทำให้เรามีมุมมองใหม่ๆ เกิดขึ้น

ระดับองค์กร

       1. ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนาองค์กร และการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยใช้ทฤษฎีต่างๆ ก็จะช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืน เช่น การใช้ทฤษฎี 8 k และ 5 k จะทำให้คนและผู้นำขององค์กรมีศักยภาพและมีคุณค่ามากขึ้น รวมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรมด้วย

      2. การพัฒนาคนให้มีศักยภาพได้ต้องใช้ระยะเวลา โดยเฉพาะการจะเป็นผู้นำขององค์กรที่ดีได้ ต้องเรียนรู้จากหลายๆ ด้าน เช่น จากประสบการณ์ จากการฟังคนอื่น ไม่ได้จากการศึกษาอย่างเดียว

      3. องค์กรจะพัฒนาไปได้ ผู้นำและลูกน้องจะต้องร่วมมือกันทำงานอย่างใกล้ชิด มีการถ่ายทอดความรู้แก่กัน และควรมีการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ด้วย เพื่อให้องค์กรพัฒนาไปสู่ องค์กรการเรียนรู้อย่างแท้จริง

ระดับประเทศชาติ

       1. ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประเทศ และประเทศควรวางแผนการพัฒนาศักยภาพคนให้สอดคล้องกับโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ เช่น การลงทุนด้านการศึกษาเพื่อให้คนไทยมีทักษะในสาขาที่ประเทศยังขาดแคลน เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการใช้ IT การปลูกฝังให้เยาวชนไทยรู้จักคิดและวิเคราะห์

       2. สถาบันในประเทศไทย เช่น สื่อมวลชน สถาบันการศึกษา ศาสนา ยังไม่มีความเข้มแข็งพอที่คนไทยจะพึ่งพาได้ รัฐบาลควรส่งเสริมให้สถาบันดังกล่าวให้ความสำคัญกับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้มาก แทนการยกย่องคนที่ร่ำรวย แต่ขาดความชอบธรรม

      3. ระบบราชการไทยซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ จะพัฒนาได้อย่างเต็มที่ หากไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของนักการเมือง ปัจจัยสำคัญ คือ ข้าราชการไทยจะต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการรู้จักคิดเชิงสร้างสรรค การคิดนอกกรอบ การค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ ฯลฯ ซึ่งหากมีการพัฒนาในระยะยาวแล้ว ก็จะช่วยให้ระบบราชการเข้มแข็งขึ้น โดนแทรกแซงจากการเมืองน้อยลง

สมพงษ์

จากการอ่านบทความ คอรัปชั่น ทุนมนุษย์ และการสร้างศรัทธา (Trust) การประชุมนานาชาติ ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ครั้งที่ 14 ของ ป.ป.ช. ไทย

สิ่งที่ตัวเองได้ 3 เรื่องคือ

1. การคอรัปชั่น เป็นปัญหาใหญ่ที่คนไทยทุกคนจะต้องช่วยกันแก้ไขและปลูกฝั่งตั้งแต่เยาวชน ให้เห็นว่าการทุจริตเป็นสิ่งน่ารังเกลียด ไม่คบค้าสมาคม ไม่รับบริจาคจากคนทุจริต

2. สังคมไทยยังมีการคอรัปชั่นทุกหย่อมหญ้านับตั้งแต่ระดับผู้ใหญ่บ้าน กำนัน จนถึงการเมืองระดับชาติ เราต้องไม่ยกย่องคนที่ร่ำรวย จากการทุจริต ช่วยกันรณรงค์ต่อต้าน ไม่ให้ร่วมกิจกรรมในสังคมเพื่อเปิดโอกาสให้มีอำนาจในสังคม

3. ไม่สนับสนุน และไม่ลงคะแนนให้นักเมืองที่ทุจริต เพื่อไม่ให้มีอำนาจและมีหน้ามีตาในสังคม เหมือนดังที่ พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ตรัสไว้ว่า ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช้การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมความดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้

สิ่งที่องค์กรได้ 3 เรื่องคือ

1. นานาชาติยังเห็นว่า ป.ป.ช.ไทย เป็นหน่วยงานที่สำคัญที่ยังมีศักยภาพในการปราบปรามการการทุจริตคอรัปชั่น

2. องค์กรอิสระของไทยยังมีบุคคลที่ได้รับศรัทธาจากชาวไทยและต่างชาติ และ นานาชาติให้การยอมรับและศรัทธานายกรัฐมนตรีของไทยที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ควรใช้โอกาสนี้รณรงค์ ต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทุจริตการเลือกตั้ง โครงการพัฒนาทางด้านต่างๆ ของภาครัฐ

3. องค์กรภาครัฐควรจะใช้โอกาสนี้ ยกย่องคนดีที่มีความสามารถปฏิบัติราชการอย่างซื่อสัตย์สุจริต เพื่อจะได้เป็นตัวอย่าง และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ข้าราชการที่มีความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อจะได้เป็นแรงบันดาลใจสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่ซื่อสัตย์สุจริต

จากการที่เรียนมาตั้งแต่ วันที่ 3 ถึง10 พ.ย.53 รวม 8 วัน มีแรงบันดาลใจใหม่ๆ เพิ่มขึ้น (แตกต่างอย่างไรกับก่อนที่จะได้มาเข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้) มีดังนี้

สิ่งที่ตัวเองได้ 3 เรื่องคือ

1. จุดประกายให้คิดเป็น วิเคราะห์เป็น ลัษณะผู้นำที่ดีเป็นอย่างไร ผู้นำต้องสร้างศรัทธา (trust) รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

2. ปรับทัศนะคติในการทำงานใหม่ พยายามกำจัดอุปสรรคในการทำงานออกไป เห็นความสำคัญของตนเอง หานวัตกรรมใหม่ในการทำงาน คิดนอกกรอบ

3. ค้นหาตัวเองให้เจอ มีความเชื่อมั่น เพื่อทำงานในสิ่งที่ตนเองชอบ และต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เรียนรู้จากความเจ็บปวด จากประสบการณ์ เพื่อนำไปสู่ปฏิบัติ

องค์กรได้ 3 เรื่องคือ

1. แบ่งปันความรู้ที่ได้อบรมมา นำไปปฏิบัติ เพื่อให้เพื่อนร่วมงานในองค์กรเรียนรู้ เพื่อสร้างวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

2. องค์กรที่ประสบความสำเร็จได้ต้องทำงานเป็นทีม การทำงานเป็นทีมที่ดีโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ

3. องค์กรที่ได้ผู้นำที่ได้รับการอบรมและเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ที่ได้รับศรัทธาเป็นที่ยอมรับ องค์กรก็จะประสบความสำเร็จในการบริหาร

ประเทศชาติ ได้ 3 เรื่อง

1.การอบรมและการเรียนรู้ทำให้เกิดผู้นำที่ดีมีประสิทธิภาพ ที่ได้รับความศรัทธาจากสังคมทุกภาคส่วน ปัญหาความแตกแยกก็จะลดลง โดยทุกคนจะหันมาปรองดอง ร่วมมือกันพัฒนาให้ประเทศมีความสงบ

2. ผู้นำในองค์กรที่ดูแลด้านความมั่นคง เมื่อได้รับศรัทธาจากผู้ใต้บังคับบัญชา การทำงานจะมีประสิทธิภาพ ทุกฝ่ายช่วยกันทำงานความสงบสุขก็จะตามมา

3. ได้ผู้นำองค์กรในอนาคตที่ถูกกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจ ที่ได้รับการอบรม ให้เป็นคนดี มีจริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต รักษาสัญญา เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มีความยั่งยืน

จากการเรียนตั้งแต่ 3-10 พ.ย.53 ได้รับแรงบันดาลใจใหม่ๆ ดังนี้

1. ต่อตนเอง

- เรื่องวัฒนธรรมในการเรียนรู้ (Learning Culture) ที่ต้องเป็นคนใฝ่รู้ตลอดชีวิต มีนิสัยแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อมาเติมความรู้ที่เรามี เมื่อมีความรู้แล้ว ก็นำเสนอสิ่งที่เรารู้ให้คนอื่นรับทราบด้วย

- เรื่องทักษะในการทำงานเป็นทีม ที่ต้องมีการปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน เพื่อความสำเร็จของงาน, ทักษะในเรื่องการฝึกฝนตนเองให้มีนิสัยรักการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา ,ทักษะในเรื่องการจินตนาการเพื่อมองหาโอกาสข้างหน้า การคิดนอกกรอบ คิดนวัตกรรมใหม่ เพื่อประโยชน์ในการทำงาน ฝึกทักษะการเป็นผู้นำ เพื่อสร้างคุณลักษณะของผู้นำที่ดี

- มีทัศนคติในทางบวกต่อการใช้ชีวิต เข้าใจว่าคนแต่ละคนมีนิสัยใจคอ ความรู้ ความสามารถ แตกต่างกัน มีความต้องการแตกต่างกัน ถ้าแต่ละคนค้นหาและเข้าใจตนเอง รู้จักเป้าหมายของตนเองก็สามารถพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน ถึงแม้งานจะหนักก็เชื่อมั่นในตนเอง เชื่อมั่นในองค์กร เชื่อมั่นในตัวผู้นำ ที่จะช่วยกันทำงานเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ

2. ระดับองค์กร

- เมื่อสมาชิกมีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ องค์กรก็จะกลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เมื่อทุกคนมีความรู้ ก็จะช่วยให้การทำงานประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ

- ปรัชญาเรื่อง คนเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร ดังนั้น จึงต้องลงทุนเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้เกิดศักยภาพ เพื่อประโยชน์ในการทำงาน เพราะงานที่จะทำในอนาคตต้องเผชิญกับสิ่งใหม่ๆ หลายประการจากกระแสโลกาภิวัฒน์

- ผู้นำ สำคัญมากสำหรับองค์กร ผู้นำต้องมีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม จึงจะได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากสมาชิกขององค์กร และจากสังคม ผู้นำต้องสามารถโน้มน้าวจูงใจให้ผู้ตามทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามต้องการ การสร้างผู้นำขององค์กรมีความสำคัญ เพราะจะช่วยขับเคลื่อนการทำงานขององค์กรต่อไป

3. ประเทศชาติ

- เมื่อคนมีความรู้ การพัฒนาประเทศก็ทำได้ง่าย ประเทศก็จะเจริญรุ่งเรือง ปัญหาสังคมต่างๆ ที่บั่นทอนความเจริญของประเทศ เช่น ยาเสพติด การทำลายสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ก็จะลดลง

- เมื่อเห็นว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ก็จะเน้นการพัฒนาคนโดยให้การศึกษา คนก็จะมีความรู้ สามารถคิดวิเคราะห์ สังคมก็ก้าวหน้า ประเทศก็เจริญ เพราะคนจะมีศักยภาพในการทำงาน และจะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องคนขาดคุณธรรม จริยธรรมได้อีกด้วย

- เมื่อเห็นว่าผู้นำมีความสำคัญ การเลือกผู้นำนอกจากมีความรู้ ความสามารถแล้ว ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องคุณธรรม จริยธรรมประกอบด้วย ส่วนการฝึกภาวะผู้นำ ก็จะทำให้มีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มุ่งผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง มากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้อง

สิ่งที่ได้รับจากเรียน 8 วัน

ตนเอง

1. ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับอาจารย์ที่มีความรู้ ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนค้นหาศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเอง ค้นหาเป้าหมายในการดำเนินชีวิต และคิดบวก เพื่อที่มุ่งไปสู่เป้าหมายอย่างมีคุณค่าและมีความสุข

2. เรียนรู้ที่จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่มองไม่เห็นภายในตัวเรา ซึ่งก็คือจิตใจที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับความสามารถอย่างต่อเนื่อง

3. สร้างเครือข่ายที่จะสนับสนุนให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และนำสิ่งที่เรียนรู้มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและองค์กรต่อไป

องค์กร

1. เป็นจุดเริ่มต้นของการปรับทัศนคติของเจ้าหน้าที่ในองค์กรให้ทำงานอย่างมีเป้าหมาย มีประสิทธิภาพ และการทำงานเป็นทีม โดยมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

2. การพัฒนาทุนทางความรู้และทัศนคติจะช่วยให้บุคลากรได้เรียนรู้ถึงภาวะผู้นำ การทำงานเชิงสร้างสรรค์ และทักษะในการบริหารเพื่อให้องค์กรพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืนและได้รับความไว้วางใจ

3. สร้างและกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ แสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อที่จะนำไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ในอนาคต และสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลก

ประเทศชาติ

1. มีข้าราชการที่มีความรู้ควบคู่คุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งเป็นทุนมุษย์ที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ

2. มีองค์กรด้านความมั่นคงที่ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นกลาง

3. สามารถรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ที่มีความสลับซับซ้อน

การเรียน 8 วัน ทำให้มีแรงบันดาลใจต่อตนเอง ได้แก่

1. ได้มีโอกาสพบปะ ทำความรู้จัก และพัฒนาสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานในองค์กรเดียวกัน รวมถึงเพื่อนจากต่างองค์กร (ทีมงานของ ศ.ดร.จีระ) และที่สำคัญที่สุด คือการได้มีโอกาสเป็นลูกศิษย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

2. ได้เปิดโลกทัศน์ของตัวเองจากการได้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ จาก ศ.ดร.จีระ และทีมงาน ซึ่งถือเป็นประโยชน์อย่างหาที่เปรียบไม่ได้

3. การปรับทัศนคติ และสำรวจตนเอง และเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และมองเห็นความสำคัญของเรื่อง HR จนรู้สึกประทับใจกับคำว่า “มนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร”

ระดับองค์กร

1. มองเห็นว่า “มนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร”

2. องค์กรได้บุคลากรที่ได้รับการพัฒนา ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในรูปของการปฏิบัติงาน

3. เกิดความสามัคคีขึ้นภายในองค์กร อย่างน้อยก็ในกลุ่มของผู้เข้ารับการอบรม

ระดับประเทศชาติ

1. ได้ข้าราชการที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น

2. ได้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ พร้อมที่จะตอบสนองความต้องการตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ

3. การต่อยอดด้านการเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด จะทำให้เกิดนวัฒกรรมใหม่ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

แรงบันดาลใจที่ได้รับจากการเรียนระหว่างวันที่ 3 – 10 พ.ย.53

ตนเอง

1.มีทักษะในการคิด รวมทั้งปรับวิธีการคิดให้เป็นระบบ และมีเหตุมีผล เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้อง

2.รู้จักค้นหาตัวเอง รู้จักตนเองมากขึ้น รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรให้มีความสุขกับการทำงาน

3.ได้เรียนรู้หลักการอยู่ร่วมกันและฝึกทักษะในการทำงานเป็นทีมเพื่อนำไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

องค์กร

1.องค์กรมีภารกิจหลักเกี่ยวกับความมั่นคง การอบรมทำให้เจ้าหน้าที่ในองค์กรมีศักยภาพเพิ่มขึ้น

ทั้งในด้านการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาสังคม ถือได้ว่าเป็นมูลค่าเพิ่มโดยรวมขององค์กร

2.สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้กับ Stakeholders ขององค์กรเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดี เป็นเครือข่ายที่ยั่งยืนต่อไป

3.นำความรู้ที่ได้ขับเคลื่อนให้ สขช. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และทำให้บุคลากรภายในองค์กรอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยมีเป้าหมายเดียวกัน

ประเทศชาติ

1.ได้รับการพัฒนาโดยรวมเนื่องจากบุคลากรทุกองค์กรมีการพัฒนาที่ดีขึ้น

2.ได้รับการยอมรับและศรัทธาจากนานาประเทศ

3.เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน เพราะประชากรมีคุณภาพทั้งในด้านชีวิต การศึกษา และการทำงาน

จากการเข้าอบรมตั้งแต่ 3 – 10 พ.ย.53

สิ่งที่ตัวเองได้ คือ

- การค้นหาตัวเอง และสร้าง Self Trust เพื่อหาเป้าหมายทั้งชีวิตส่วนตัวและการทำงาน

โดยการปรับค่านิยมส่วนตัวและให้เข้ากับค่านิยมขององค์กร เพื่อทำให้การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

- การพัฒนาตนเองให้รอบรู้ในหลายด้านและแบ่งปันความรู้ให้คนในที่ทำงานและส่วนตัว

โดยการทำงานต้องมีการสื่อสารสองฝ่ายต้องมีความเข้าใจกัน

- การเปิดใจรับฟัง และมีความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงาน

สิ่งที่องค์กรได้ คือ

- องค์กรจะมีบุคลากรที่มีทั้งความรู้และทำให้องค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งนอกจากจะมีความรู้ ฉลาดแล้ว ยังมีความฉลาดทางอารมณ์ด้วย

- สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ให้องค์กร ส่งเสริมการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

สิ่งที่ประเทศได้ คือ

- ส่งผลให้ประเทศได้ทั้งบุคลากรและองค์กรที่มีคุณภาพ จะลดปัญหาต่างๆ ได้

- ได้คนในประเทศมีศักยภาพของคนในประเทศเพื่อรับมือกับภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆ

- ประเทศเกิดความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

ความรู้ใหม่ที่ได้รับเพิ่มเติม + แรงบันดาลใจ ระหว่างวันที่ 3 – 10 พ.ย.53

ตนเอง

1.มนุษย์ต้องพัฒนาและพัฒนาได้เสมอ ไม่ว่ามีวัยวุฒิ และคุณวุฒิอย่างไร (Keep walking)

2.รู้จักการค้นหาธาตุแท้ของตนเอง และได้รับมุมมองที่มีคุณค่าเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล

เป็นผลให้เกิดการปรับทัศนคติในการใช้ชีวิต เพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีสติ + สุข

3.แนวคิดสร้างคนเก่ง + คนดี ยังไม่ตกกระแสโลกาภิวัตน์ แม้จะไม่ชัดเจนและต้องใช้เวลา แต่เมื่อมี

ความมุ่งมั่นและพยายาม ความสำเร็จก็เป็นแค่ส่วนประกอบเท่านั้น สิ่งที่สำคัญคือการเข้าใจและปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

องค์กร

1.ผู้นำเห็นคุณค่าของทุนมนุษย์ และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างจริงจัง ด้วยการสนับสนุนให้บุคลากรในองค์กรได้รับทราบถึง Alignment และร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่ไปด้วยกัน

2.กระตุ้นการสร้างและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร ด้วยการปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ให้สมกับบทบาทและความคาดหวังของสังคมที่มีต่อองค์กร

3.โลกก้าวไปไม่หยุดนิ่ง ทั้งด้านองค์ความรู้ เทคโนโลยี ตลอดจนถึงเรื่องของภัยคุกคาม อย่างน้อยองค์กรต้องปรับตัวให้ทัน อย่างมากต้องสามารถเป็นผู้ชี้นำหรือประเมินวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ เพื่อกำหนดนโยบายในการทำงานรองรับให้เหมาะสม ซึ่งวิสัยทัศน์ของผู้นำและศักยภาพของบุคลากรภายในองค์กรประกอบกันเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การทำงานมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย

ประเทศชาติ

1.กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่เริ่มเข้าใจและเห็นคุณค่าในการพัฒนาตนเอง เป็นจุดเล็ก ๆ จุดหนึ่งที่ร่วมกันก้าวเดินไปในทิศทางที่เหมาะสม

แผ่ขยายไปทีละเล็กละน้อย ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมได้เช่นกัน (เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว)

2.การสร้างทุนมนุษย์ที่มีความรู้ จริยธรรม และทัศนคติที่ดี ขยายเป็นทุนทางวัฒนธรรม เพื่อการสาน

ต่อที่ยั่งยืน เป็นเครื่องยืนยันได้ว่า สังคมไทยจะยังอยู่ต่อไปได้ไม่ว่าสถานการณ์โลกจะเปลี่ยนแปลง

ไปในทิศทางใดก็ตาม (ถ่ายโอนหลักคิด ค่านิยม ส่งต่อไปยังรุ่นลูก รุ่นหลาน)

3.ในยุคที่ความเห็นของบุคคลแม้เพียงคนเดียวมีคุณค่าหากนำเสนอได้ถูกต้องทั้งเวลาและสถานที่

จึงพอตั้งสมมติฐานได้ว่า หากบุคคลมีความมุ่งมั่นที่จะเผยแพร่แนวคิด ทฤษฎีที่เป็นประโยชน์

อย่างเช่นการเผยแพร่ผ่านเว็บไซด์ น่าจะส่งผลต่อกระแสความคิดหลักและรองในสังคม (เสมือน

จริง) โดยอาจนำไปสู่การปรับเปลี่ยนค่านิยมของเยาวชน ประชาชน ไปในทิศทางที่ดี และเห็น

คุณค่าของสิ่งที่ตนมีอยู่มากกว่าการตอบรับวัฒนธรรมหรือค่านิยมอื่น

ได้อะไรจากการอบรม 8 วัน (3-10 พ.ย.53)

ตัวเอง

1) การเป็นคนดี คนเก่ง (ตามทฤษฎี 8K’s หรือ 5K’s) และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน อยู่ที่การพัฒนาของตัวเราเองที่จะต้องเป็นผู้ตื่นตัว และใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง (ตามทฤษฎี 4L’s)

แต่ทั้งนี้การที่จะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงต้องลงมือปฏิบัติจริงด้วย

2) ทำได้รับความคิดและทัศนคติใหม่ๆ จากอาจารย์ที่ประสบความสำเร็จ มีความรู้ และผ่านประสบการณ์มาโดยตรง

3) การมีทัศนคติและคิดในแง่บวก เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง จะทำให้ได้รับความคิดและแนวคิดที่หลากหลาย สามารถนำไปปรับหรือพัฒนาความคิดของเราให้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลยิ่งขึ้น

องค์กรและประเทศชาติ

1) การที่จะให้องค์กรและประเทศชาติพัฒนาทันยุคโลกาภิวัตน์นั้น ต้องพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถก่อน เพราะเมื่อคนมีการพัฒนาก็จะนำพาองค์กรและประเทศชาติพัฒนาตามไปด้วย

2) องค์กร และประเทศชาติ จะพัฒนาด้วยคนคนเดียวคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นการทำงานเป็นทีมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้องค์กรและประเทศชาติบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์สูงสุด นั้นคือ องค์กรและประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข

3) การที่จะให้องค์กรและประเทศชาติพัฒนานั้น วิสัยทัศน์ของผู้นำและการมีเครือข่ายที่มีความศรัทธา (Trust) ต่อผู้นำเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่จะนำพาองค์กรและประเทศชาติให้มีการพัฒนาล้ำหน้าอารยะประเทศ

จากการอ่านบทความเรื่อง คอรัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust) ทำให้เห็นภาพความสัมพันธ์ของแนวคิดเรื่องความเชื่อถือศรัทธา และทุนมนุษย์ในองค์กรและซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความได้แง่คิดและมุมมองทั้งต่อตนเองและองค์กรที่สำคัญ ดังนี้คือ

ตนเอง

1. เรามักจะนิยมชมชอบ และยอมรับนับถือคนเก่ง - ในความหมายที่ว่า เป็นคนที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ร่ำรวย มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง (มีอำนาจ) - เป็น idol ในการดำเนินชีวิตทั้งส่วนตัวและการงาน บางครั้งเราก็ไม่ได้พินิจพิเคราะห์ว่าคนนั้นเป็นคนดีจริงๆ หรือไม่ เราจึงต้องมีสติมากขึ้น ในการมองคน แยกแยะให้ออกระหว่างคนดี และคนเก่งแต่โกง ถ้าเรายกยกย่องคนเก่ง แต่เป็นคนที่ใช้ความรู้ ความสามารถในทางที่เอาประโยชน์ของตัวเองและพรรคพวกเป็นที่ตั้งก็เท่ากับเป็นการส่งเสริมคนผิดให้มีอำนาจ และส่งเสริมค่านิยมที่ผิดๆ ให้กับตัวเอง และสังคมโดยไม่รู้ตัว

2. การสร้างค่านิยมที่ดีให้เกิดขึ้นกับองค์กรและสังคมโดยรวม ต้องเริ่มจากตนเอง การทำงานอย่างมีคุณธรรมจะทำให้ได้รับความไว้ใจ ความเชื่อถือ และความศรัทธาจากผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน และถ้าเรามีความเชื่อว่าสิ่งที่เราทำเป็นสิ่งที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติ ก็จะเป็นแรงจูงใจผลักดันไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายทั้งตนเองและองค์กรต่อไป

3. การขยายผลการสร้างทุนมนุษย์ในหน่วยเล็กจากครอบครัวตนเอง ด้วยการถ่ายทอดค่านิยมที่ดีให้แก่สมาชิกในครอบครัว ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในวงราชการปัจจุบันจะแก้ได้โดยการพัฒนาคุณธรรมจากจุดเล็กๆ ในครอบครัว และขยายสู่สังคมใหญ่

องค์กร

1. ศรัทธาของคน และศรัทธาขององค์กร เป็นปัจจัยที่จำเป็นต้องคำนึงถึงในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร การพัฒนาคนให้มีคุณภาพจะเป็นการสร้างทุนมนุษย์ในองค์กรของเรา (Human Capital - 8 K’s) ทั้งนี้ การสร้างคุณภาพของคนในองค์กรให้เป็นคนเก่ง และคนดี ต้องเน้นการฝึกอบรมและพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ ควบคู่กับการเป็นคนมีคุณธรรมด้วย เพราะหากคนในองค์กรไม่มีคุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวก็อาจจะใช้ความรู้ของตนเองทำสิ่งที่ทุจริต

2. องค์กรควรเน้นการปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับคนในองค์กรของเราซึ่งยึดถือค่านิยมที่ว่า “การมีวินัย รับผิดชอบต่อวิชาชีพ มุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อชาติและประชาชน” และมีจริยธรรม “ยืนหยัดในความถูกต้อง ไม่บิดเบือน” ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้คนในองค์กรมีศรัทธาในตัวเอง self trust โดยเฉพาะในด้านการมีคุณธรรมจริยธรรมเข้มแข็งขึ้นและพัฒนาต่อไปเป็น Organization trust นอกจากนี้ องค์กรควรจัดกิจกรรมยกย่องคนที่ทำความดี รับผิดชอบต่อหน้าที่ เสียสละเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติ อย่างจริงจังควบคู่ไปกับการยกย่องชมเชยคนที่สร้างผลงานโดดเด่น

3. ผู้บริหาร มีส่วนสำคัญในการหล่อหลอมวัฒนธรรมการเป็นคนดีให้กับคนในองค์กร ผู้บริหารควรยึดถือคุณธรรมในการบริหารงาน บริหารคน และบริหารทรัพยากรอย่างเป็นธรรม การเสริมสร้างทุนทางจริยธรรม (Ethical capital - 8 K’s) โดยเฉพาะการสร้างความยุติธรรมในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง การประเมินผลการปฏิบัติงาน การพิจารณาคนเข้าฝึกอบรมหลักสูตรที่สำคัญอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม รวมทั้งควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี (Role Model) ซึ่งนอกจากจะเสริมสร้างศรัทธาให้ตัวผู้นำ และ Organization Trust ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

- สิ่งที่ได้จากบทความ

1. ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบันบั่นทอนต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะในระดับประเทศ หรือระดับภูมิภาค แต่ได้แต่ได้ขยายไปสู่นานาชาติเป็นคอร์รัปชั่นไร้พรมแดน มีผลกระทบกับคนทั้งโลก

2. สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลง สามารถยกย่องคนรวย คนเก่ง แต่ขาดคุณธรรม จริยธรรม แม้จะคอรัปชั่นแต่หากเอื้อประโยชน์ให้กับตนเองหรือสังคมเพียงบางส่วนก็เป็นที่ยอมรับ ซึ่งเป็นค่านิยมทางสังคมที่ผิด ทำให้ประเทศขาดการพัฒนาที่ยั่งยืน

3. การปลูกฝังค่านิยม และจิตสำนึกที่ดีแต่เยาว์วัย ทางด้านจริยธรรมเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การจะพัฒนาคนต้องให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะทำเพื่อส่วนรวม คุณสมบัติเหล่านี้จะช่วยการแก้ปัญหาคอรัปชั่นได้มาก

- การนำไปปรับใช้ในองค์กร

1. การแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น จะต้องเริ่มที่ตนเองก่อนโดยมีความเชื่อมั่นต่อตนเอง (Self Trust) จะไม่ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ดี ยึดกรอบการทำงานที่ถูกต้องเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือต่อผู้ร่วมงาน

2. ผู้นำองค์กรที่ดีนอกจากจะเป็นคนเก่ง คนดีแล้ว ยังสร้างแรงศรัทธาในตัวผู้นำให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจในการทำงานของบุคคลากรภายในองค์กร

3. การส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นทุนทางจริยธรรม

สิ่งที่ได้รับจากเรียน 8 วัน

ต่อตนเอง :

1. ตามที่ไอน์สไตน์ได้กล่าวไว้ว่า”อัจริยะสร้างได้” เปรียบเสมือนสิ่งต่างๆเราสร้างได้ ถ้าเรามีความพยายามในการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การเรียน Talent 2 สร้างและกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ แสวงหาความรู้ใหม่ๆ ในศาสตร์ทุกแขนงจะช่วยให้ค้นหาและพัฒนาศักยภาพให้กับตนเอง

2. ทำให้มีแรงกระตุ้นและมีแรงผลักดันในด้านการพัฒนาตนเองให้ก้าวสู่ภาวะความเป็นผู้นำ กล้าแสดงออกทางด้านความคิด แลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ มีความคิดหลายด้าน มองนอกกรอบ รู้จักการคิดเชิงนวัตกรรม เป็นการต่อยอดความคิด เป็นการนำเทคโนโลยี ทรัพยากร และคุณภาพมนุษย์ มาปรับใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิต

3. การร่วมแรงร่วมใจในการทำงาน การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานเป็นทีม นำมาสู่ความสำเร็จ

ต่อองค์กร :

1. ส่งเสริมให้บุคคลากรในองค์กรเกิดการเรียนรู้จนเกิดเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้นำไปสู่ศักยภาพขององค์กร

2. สร้างเครือข่ายที่จะสนับสนุนให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และนำสิ่งที่เรียนรู้มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและองค์กรต่อไป

3. ส่งผลให้องค์กรเป็นที่ยอมรับ/เชื่อถือและมีศักยภาพทางสังคม (Social trust)

ต่อประเทศชาติ :

1. หากระบบราชการไทยซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ มีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า มีศักยภาพจะส่งผลให้การพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่

2. การเรียนรู้ในการต่อยอดความคิดเชิงนวัตกรรมจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

3. มีองค์กรด้านความมั่นคงที่ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นกลาง

สรุปสาระสำคัญระหว่างวันที่ 3-10 พ.ย.53

สิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับ

1.ความรู้เกี่ยวกับการสร้างมูลค่าให้กับตัวเอง เรียนรู้ที่จะรู้จักตัวเอง Mind Mapping

และการทำงานเป็นทีม

2.มองตนเองว่า ยังต้องเรียนรู้ในสิ่งที่ควรจะรู้เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง

3.รู้จักเพื่อนใหม่ที่มาจากต่างสำนัก กอง ต่างรุ่น

สิ่งที่หน่วยงานได้รับ

การที่บุคลากรจากแต่ละสำนัก กอง ร่วมเรียนรู้ด้วยกัน ก่อให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

ขนาดย่อม บุคลากรของหน่วยงานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การที่บุคลากรส่วนใหญ่ของหน่วยงานให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ก็จะสามารถนำพาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ได้

สิ่งที่ประเทศชาติได้รับ

ข้าราชการที่มีศักยภาพ ที่ตระหนักในคุณค่าและบทบาทหน้าที่ของตนเอง และพร้อมที่จะพัฒนา เรียนรู้ ความรู้ในการทำงาน ทักษะและความสามารถพิเศษอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

จากการเรียน 8 วัน ค้นพบในตัวเองว่ามีแรงบันดาลใจใหม่ๆ เพิ่มขึ้นหลังการเรียนรู้ ดังนี้

• ตัวเอง

1. ความเป็นผู้นำสร้างได้ และพัฒนาได้ โดยสร้าง self - trust ค้นหาตัวเองหรือความเป็นตัวตนที่แท้จริงของเราให้เจอ แล้วกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง เพื่อเสริมสร้างจุดแข็ง และพยายามพัฒนาปรับปรุงจุดด้อยของตนเองอย่างต่อเนื่อง

2. ในช่วง 8 วันที่ผ่านมา ทำให้ได้เรียนรู้ร่วมกันระหว่างเพื่อนต่างสายงานเพิ่มมากขึ้น - cross functional - ได้เห็นภาพรวมของการทำงานในองค์กรมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมีโอกาสในการเรียนรู้ลักษณะนี้ค่อนข้างน้อย ทั้งนี้ การฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมาก

3. รู้จักการแสวงหาความรู้ในรูปแบบใหม่ๆ การเปิดใจ Open Mind รับสิ่งใหม่ๆ การรับฟังคนอื่นๆ มากขึ้น และได้แง่คิดเกี่ยวกับการพัฒนาทัศนคติเชิงบวกในการทำงานและชีวิตส่วนตัว เพื่อบริหารอารมณ์ของตนเอง

• ระดับองค์กร

1. เกิดแนวคิดที่จะนำทฤษฎีทุน8 k’s และทฤษฎี 5 k’s (ใหม่) เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ เ ป็นแนวทางในการฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กร ทำให้บุคลากรเป็นคนเก่ง และคนดี เสริมสร้างความเป็นผู้นำที่ดี ด้วยแนวคิดเรื่อง trust และคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารงาน บริหารคน และบริหารทรัพยากรต่างๆ ในองค์กร

2. การนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จจะต้องประกอบด้วยหลายปัจจัย คน ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ การสร้างศรัทธาให้เกิดแก่องค์กรต้องเริ่มจากตนเองและขยายตัวกว้างออกไป เพื่อสร้างศรัทธาแก่องค์กร สร้าง trust องค์กรให้เข้มแข็งเป็นที่พึ่งได้ของประชาชนและประเทศชาติ

3. การสร้างวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก ทำให้องค์ความรู้ขององค์กรเราซึ่งเป็นความรู้ที่มีลักษณะ unique อย่างมาก ได้รับการต่อยอด ปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ที่เป็นนวัตกรรม ได้วิธีการใหม่ๆ ในการทำงาน และองค์กรจะสามารถปรับตัวได้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ภายนอกองค์กร

• ประเทศชาติ

1. การแก้ปัญหาของประเทศเราที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในระยะยาว เราต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้ของคนให้มากๆ เพราะปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น รากเหง้ามาจากการด้อยความรู้ ทำให้ถูกชักจูงได้ง่าย และต้องได้รับการปลูกฝังค่านิยมที่ดี รวมทั้งการส่งเสริมเรื่องคุณธรรมจริยธรรมให้มากด้วยตั้งแต่เด็กๆ ทั้งนี้ เมื่อคนจากหน่วยย่อยเล็กในระดับสถาบันครอบครัว และองค์กร ได้รับการพัฒนาให้เป็นคนเก่ง และคนดีแล้ว ประโยชน์ก็จะยังผลแก่สังคมและประเทศชาติต่อไป

2. เราต้องเน้นการสร้าง network ในการทำงานขององค์กรเราให้กว้างขวางออกไป ส่งเสริมให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ในระดับประเทศ เพื่อให้ประเทศของเราสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ และรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงต่างๆ

3. ผู้นำประเทศ มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการนำประเทศไปสู่เป้าหมาย ผู้นำที่เราต้องการคือ ต้องสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนและประเทศชาติโดยรวม ดังนั้น เราต้องเลือกผู้นำอย่างชาญฉลาดมากขึ้น เพื่อให้ได้แบบของผู้นำที่เข้ากับสถานการณ์ของประเทศ และเป็นที่เชื่อถือศรัทธาของนานาชาติด้วย

สรุปองค์ความรู้ใหม่ที่ได้เพิ่มเติมระหว่างวันที่ 3 10 พ.ย.53

ต่อตนเอง

  1. ผู้ที่จะดำรงอยู่ในกระแสสังคมปัจจุบันอย่างมีคุณภาพ จะต้องสนใจใฝ่รู้ และพยายามพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยจำเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับงานที่ทำ และความรู้รอบตัวที่จะเปิดโลกทัศน์ให้แก่ตนเอง
  2. ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ  และการติดตามความก้าวหน้า จะเป็นความได้เปรียบในการเข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ ๆ   รวมถึงสนับสนุนการทำงานให้เกิดประสิทธิผล
  3. การพัฒนาตนเอง  ทำได้ทั้งโดยตนเอง  และการรวมทีมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างแรงจูงใจในการใฝ่เรียนรู้  และต่อยอดองค์ความรู้ระหว่างกัน

 ต่อองค์กร

  1. เมื่อบุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาทุนมนุษย์ จะทำให้เกิดความเข้าใจและมีแรงจูงใจที่ดี ในการสนองตอบวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร
  2. บุคลากรที่มีนิสัยใฝ่รู้  นำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้  เมื่อกลุ่มคนดังกล่าวนำเสนอแนวคิดกับบุคลากรกลุ่มอื่น ๆ ในหน่วยงาน  เป็นผลให้เกิดการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในที่สุด
  3. องค์กรที่ตระหนักในภารกิจหน้าที่ของตนเอง และมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดความสามารถจะเป็นองค์กรต้นแบบให้กับองค์กรอื่น ๆ  ที่จะพัฒนาผลิตภาพ  และคำนึงถึงการสร้างประโยชน์ต่อสังคมเป็นสำคัญ

 ต่อประเทศชาติ

มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด เมื่อมนุษย์พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง  ก็จะส่งผลถึงองค์กรที่สังกัด และท้ายที่สุดนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืน   นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างกระแสค่านิยมเรื่องการใฝ่รู้เพื่อร่วมกันผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Learning Nation   รวมทั้งการสร้างวัฒนธรรม ค่านิยมไทยที่ตอบสนองความดี ความเก่ง  มากกว่าความสำเร็จตามหลักทุนนิยม

8 วันของเรา

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้แลกเปลี่ยนในช่วง 8 วันที่ผ่านมา เห็นได้ว่าในภาพรวมส่วนใหญ่เป็นการดึง/สร้างทักษะเฉพาะบุคคล (Individual Skill) เช่น การรู้จักตัวตนของเรา (Who I am) การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) จินตนาการ (Imagination) แรงจูงใจ (Motivation) การคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creative) และจิตใจที่ดีส่วนลึก (Being) เพื่อผลักดันให้เรานำพลังด้านดีมาใช้ทั้งในเรื่องส่วนตัวและการทำงานได้อย่างมีศักยภาพ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการทำงานเป็นทีม (Team Work) สำหรับส่วนที่เหลือเป็นเรื่องหลักคิด/ทฤษฎี โดยหลักคิดและทฤษฎีต่างๆ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่มีการศึกษา/วิเคราะห์มาในระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ความรู้ (Knowledge) และประสบการณ์ (Experience) ของแต่ละท่าน อย่างไรก็ตามทฤษฎีดังกล่าวสามารถต่อยอดแตกแขนงได้เมื่อได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือมีองค์ความรู้ที่ถูกพบใหม่ ดังนั้นการเรียนของเราจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่เราต้องใฝ่รู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างต่อเนื่องไม่มีวันจบ ที่สำคัญการอยู่ร่วมกัน 8 วันของเรา ได้ทลายเงื่อนไขหรือสิ่งที่เคยกั้นพวกเราไว้ ทำให้เรารู้จักกันมากขึ้น เนื่องจากทุกคนต่างมีจุดเด่นและมีศักยภาพในตัวเอง สามารถเติมเต็มในสิ่งที่บางคนขาด ทำให้พวกเราสามารถรวมตัวกันเป็นเครือข่ายที่มีศักยภาพเพื่อร่วมกันผลักดันองค์กรของเราให้สามารถเดินไปข้างหน้าในทิศทางเดียวกัน (Alignment) ด้วยความมั่นคง แล้วพบกันนะ 16 นี้ครับ

อรรถกร

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ระหว่าง 3-10 พ.ย.53

ต่อตนเอง

1.ได้เรียนรู้แนวทางการพัฒนาตนเองจากหลักการต่างๆ เช่น การพัฒนาคนตามแนว 8 K's 5K's ซึ่งครอบคลุมมิติต่างๆอย่างรอบด้าน ทั้งด้านสติปัญญาความรู้ ทัศนคติ คุณธรรมจริยธรรม ความสุข ฯลฯ

2.ได้แรงบันดาลใจและวิธีการในการค้นหาตัวเอง การสร้างแรงจูงใจให้กับตัวเองเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ (Human 6 Core Needs) ซึ่งเป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจตนเอง และ เข้าใจคนอื่น

3. ได้รับฟังความรู้และประสบการณ์จากวิทยากรหลายท่านซึ่งมีความเชี่ยวชาญในสาขาที่แตกต่างหลากหลายกันไป ทำให้เราได้เปิดมุมมอง โลกทัศน์ และเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ที่อาจไม่ค่อยมีโอกาสได้สัมผัสนักในช่วงการทำงานตามปกติ เช่น การคิดเชิงสร้างสรรค์ การคิดนอกกรอบ การจัดระบบความคิดด้วย mind mapping

ต่อองค์กร

1. การจัดอบรมหลักสูตรนี้ทำให้ผู้เข้าอบรมมีโอกาสทำความรู้จักและพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานต่างสำนัก/กองมากขึ้น ถือเป็นการขยายเครือข่ายในการทำงานให้กว้างขวาง ซึ่งจะช่วยให้การติดต่อประสานงานในอนาคตดำเนินไปโดยราบรื่นมากขึ้น อันจะนำมาสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรโดยรวม

2. รูปแบบการจัดอบรมช่วยทำให้ผู้เข้าอบรมมีความคุ้นเคยกับการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ เช่น การแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านทาง blog การทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยผู้เข้าอบรมสามารถนำวิธีการเหล่านี้ไปปรับใช้ในการทำงานของตนเองได้ นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างเครือข่ายผู้เข้าอบรมทั้งรุ่นที่ 1 รุ่นที่ 2 และรุ่นต่อๆไป เพื่อร่วมมือกันสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่แท้จริงให้เกิดขึ้นในองค์กรได้

3.บุคลากรขององค์กรที่เข้าอบรมหลักสูตรนี้ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการ ทำงานในสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ

ต่อประเทศชาติ

1. การพัฒนาคนให้มีความพร้อมทั้งด้านความรู้ และคุณธรรมจริยธรรม จะช่วยสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพให้แก่ประเทศชาติ

2. การเลือกบุคคลที่จะมาเป็นผู้นำในระดับต่างๆ ของประเทศต้องคำนึงถึงด้านความรู้ความสามารถ ความซื่อสัตย์ รวมถึงการสร้างศรัทธา (Trust) และเป็นที่พึ่งให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริง

3. การสร้างค่านิยมรักการเรียนรู้ให้ขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ โดยเริ่มจากตัวเราเองก่อน จากนั้นก็ขยายต่อไปยังระดับองค์กร ระดับชุมชน และระดับประเทศ จะช่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศในระยะยาว

การบ้านข้อแรกอยู่ลำดับที่ 331 ค่ะ 

ข้อสอง    -   สิ่งได้รับจากการเรียน 8 วัน

สิ่งที่ตนเองได้รับ

           จากการเรียนรู้ในช่วงที่ผ่านมาแม้ว่าจะเป็นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ แต่สิ่งหนึ่งที่คิดว่าได้รับและเป็นหัวใจของการเรียนรู้ในครั้งนี้คือ การรู้จักตัวเอง who am I เพราะสิ่งที่ดีที่สุดของการเป็นคน คือ ต้องรู้จักตัวเอง รู้จักคุณค่าในตนเอง แล้วมุ่งไปให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้อย่างชัดเจน โดยคิดเสมอว่า "โลกนี้ไม่มีคำว่าล้มเหลว มีแต่ Feedback"  คือเมื่อต้องการอย่างไรให้คิดแบบนั้นแล้วลงมือทำ ด้วยการใฝ่รู้รอบด้าน คือเมื่อรู้อะไรต้องรู้ให้จริงมีแบบอย่างทางความคิด รู้จักที่จะเรียนรู้เป็นทีมและการมีเป้าหมายร่วมกันช่่วยเหลือกันด้วยการเริ่มคิดอย่างมีระบบมีเหตุมีผล  ดังแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ ก่อนที่จะเริ่มทำงานใด ๆ ให้คิดว่า ทำอะไร ทำอย่างไร ทำเพื่อใคร ทำแล้วได้อะไร

สิ่งที่องค์กรได้รับ

           การที่ "คน" เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กรคงปฏิเสธไม่ได้ว่าองค์กรจะมีประสิทธิภาพและเจริญได้อย่างยั่งยืนคงต้องประกอบด้วย บุคคลากรที่มีความรู้ ความสามารถอย่างมืออาชีพ โดยต้องมีคุณสมบัติทั้งเก่่งคน เก่งงาน และเก่งคิด  ทั้งนี้ องค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนเป็นอันดับแรก เพราะความเป็นองค์กรไม่สามารถเลือกคน เลือกงานได้เองต้องมีปัจจัยมาช่วย คือ ความยืดหยุ่นที่ปรับตัวได้เป็นหัวใจสำคัญ   ดังนั้น ถ้าบุคคลากรมีแรงจูงใจ ใฝ่เรียนรู้ทั้งความรู้รอบด้านและการมีวัฒนธรรมองค์กรแล้วนำมาปรับใช้องกรค์จะมีประสิทธิภาพในทุกระดับ  อย่างไรก็ตาม องค์ต้องส่งเสริมให้เกิดการ Learning ไม่ใช่ Training เพื่อให้เกิด Change หรือการเปลี่ยนแปลงอย่างท้าทายจนนำไปสู่การมีมูลค่าเพิ่ม Value added  

            ทั้งนี้ จากสิ่งที่ตนเองได้รับและองค์กรได้รับจะนำไปสู่ สิ่งที่ประเทศชาติจะได้รับ   นั่นก็คือเมื่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐที่เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศมุ่งสู่การพัฒนาทั้งบุคลากรและองค์กร  โดยเริ่มจากการมี knowledge แล้วส่งเสริมให้เกิด Learning Culture จนนำไปสู่  Learning Organization แล้วประเทศของเราก็จะเข้มแข็งสามารถแข่งขันกับนานาอารยประเทศได้อย่างเต็มที่

 

 

ได้อะไรจากการอบรม 8 วันของหลักสูตร Talent รุ่นที่ 2

* ตัวเอง *

- เกิดแรงบันดาลใจในการค้นหาตนเอง กำหนดเป้าหมายของชีวิตและการทำงาน เพื่อที่จะให้เดินทางไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้

- ได้รับความรู้ใหม่ ๆ ที่นำมาพัฒนาตนเองในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน รู้จักการสร้างศรัทธา ค้นหาตนเองและคิดอย่างเป็นระบบ รู้จักเพื่อนต่างสำนัก รวมทั้งได้รู้จัก อ.จีระ และทีมงาน

- นำความรู้ที่ได้รับโดยเฉพาะการเปิดใจ ปรับทัศนคติเชิงบวกต่อการทำงาน เพื่อนร่วมงาน ให้สามารถทำงานร่วมกันให้บรรลุยทธศาสตร์ขององค์กร

* ระดับองค์กร *

- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีความจำเป็นและสำคัญในทุกองค์กร องค์กรใดที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ได้บุคลากรและผู้นำที่มีคุณภาพทั้งด้านวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม

- การสร้างศรัทธาสำหรับสาธารณะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้นำองค์กร หากผู้นำองค์กรได้รับการศรัทธา ทำให้องค์กรนั้นเป็นที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจ การดำเนินกิจกรรมใด ๆ ย่อมประสบผลสำเร็จ

- องค์กรใดที่เปิดรับองค์ความรู้ใหม่ สามารถทำให้องค์กรนั้นปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้ทันต่อกระแสใหม่ ๆ ของโลก

* ประเทศชาติ *

ทุนทางมนุษย์มีความสำคัญต่อการพัฒนาและบริหารประเทศ หากสามารถทำให้เป็นวาระแห่งชาติ ย่อมทำให้ประเทศก้าวหน้าอย่างแน่นอน ขณะเดียวกันการสื่อสารที่ไร้พรมแดนมีส่วนสำคัญที่จะช่วยทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศหรือผู้นำประเทศมีผลทางด้านลบหรือด้านบวก

จากบทความ คอรัปชั่น ทุนมนุษย์ และการสร้างศรัทธา

สำหรับตนเองมีแนวคิดดังนี้

๑. จากที่มีการ “จัดประชุมนานาชาติ ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ครั้งที่ ๑๔ เพื่อเป็นการแก้ไขการคอรัปชั่นอย่างเร่งด่วน” แสดงให้เห็นว่ามีการคอรัปชั่นเกิดขึ้นอย่างมากมายอย่างไร้พรมแน ถึงแม้จะมีการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง และมีการจัดประชุมมาแล้วอย่างน้อย ๑๓ ครั้ง ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ และนับวันจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น จึงต้องรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน

๒. การสร้างสังคมที่ปลอดคอรัปชั่นจะต้องปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้แก่เยาวชน เพิ่มทุนทางจริยธรรมไม่ให้หมกมุ่นในวัตถุนิยม ขาดการทำเพื่อส่วนรวม ทั้งนี้ ต้องพิจารณาไปถึงหลักสูตรของกระทวงศึกษาธิการให้ปลูกจิตสำนึกในหน้าที่พลเมืองและมีศีลธรรมที่ดี

๓. คนไทยจะต้องมีสติ คิดเป็น และวิเคราะห์เป็น ปรับเปลี่ยนค่านิยมที่ชอบยกย่องคนมีอำนาจ ร่ำรวย แต่ขาดคุณธรรม จริยธรรม

สำหรับองค์กรมีแนวคิดดังนี้

๑. ผู้นำองค์กรจะต้องเป็นผู้ที่ มีคุณธรรม จริยธรรม โปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต ไม่มุ่งแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว เพื่อเป็นการสร้างศรัทธา (Trust) กับบุคลากรในองค์กร

๒. พัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต เป็นคนดีมีจุดยืน เพื่อป้องกันปัญหาการคอรัปชั่น

๓. ปลูกฝังค่านิยมที่ดี ยกย่องคนดีมากกวาคนเก่งแต่โกง

บทความ คอร์รัปชั่น ทุนมนุษย์และการสร้างศรัทธา (Trust)

สำหรับตนเอง เห็นด้วยกับความคิดเห็นของอาจารย์หลายเรื่อง ดังนี้

1. ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ปัจจุบันมุ่งด้านวิชาการมากเกินไป ทำให้เยาวชนหลงกับค่านิยมด้านเน้นวัตถุ แบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา ต่างจากหลักสูตรสมัยก่อนที่ให้ความสำคัญกับคุณธรรมมากกว่า โดยมีการปลูกฝังเรื่องหน้าที่พลเมือง และวิชาศีลธรรม

2. การลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน เป็นการสร้างทุนมนุษย์ที่ดี เพราะกระแสวัตถุนิยมมาแรงมาก จะเอาคุณธรรมอย่างเดียวมาต่อสู้เป็นเรื่องยาก ตราบใดที่ปากท้องยังหิว จำเป็นต้องทำให้ปากท้องอิ่มก่อน แล้วคุณธรรมจึงเป็นสิ่งที่ตามมา เพราะแสดงให้เห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์

3. การเป็นคนที่มีคุณค่าที่แท้จริง คือ คนดีที่ทำเพื่อสังคมอย่างมีจุดยืน เพราะถ้าจุดยืนไม่แข็งแกร่งมากพอ กระแสวัตถุนิยมก็ชนะ

การปรับใช้ประโยชน์กับองค์กร

1. ต้องตระหนักว่า ค่านิยมในปัจจุบัน คือ การยกย่องคนรวยที่มีอำนาจ และยอมรับการคอร์รัปชั่นได้ การออกจากวังวนเป็นเรื่องยาก แต่การกระจายผลประโยชน์อย่างทั่วถึงน่าลดปัญหานี้ได้

2. ความยั่งยืนขององค์กร คือ การสร้างและรักษาศรัทธาขององค์กรให้คงอยู่ จำเป็นต้องมีผู้นำที่ได้รับศรัทธา ในทางกลับกัน ผู้นำที่มีอำนาจ แต่ปราศจากศรัทธาจะนำพาองค์กรถอยหลัง

3. การปลูกจิตสำนึกรักองค์กรเป็นสิ่งที่ต้องทำบ่อยๆ และต่อเนื่อง การถ่ายทอดจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้องจะทำให้เกิดความยั่งยืน เพราะเห็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม การถ่ายทอดผ่านตัวอักษรไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด

8 วันในอดีต :

ทำให้รู้ว่า เราต้องเพิ่มความสนใจ ใฝ่รู้ ในเรื่องรอบตัวในทุก ๆ ด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร สังคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาตนเอง นอกจากการเสริมสร้างศักยภาพในตัวเองแล้วทำให้เราทราบถึงความจำเป็นที่ต้องพัฒนาคน เพราะคนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด โดยนำหลักทฤษฎีในการพัฒนาทุนมนุษย์ และแนวคิดจากวิทยากรท่านต่าง ๆ ที่มาบรรยาย อาทิ การสร้างและบริหารทีมเพื่อประสิทธิภาพ การบริหารสัมพันธภาพลูกค้า ความฉลาดทางอารมณ์กับการทำงาน การสร้างแรงจูงใจ เป็นต้น แล้วนำมาปรับ/ประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร หากการพัฒนาคนให้มีประสิทธิภาพและสามารถนำศักยภาพของแต่ละคนมาทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติในภาพรวมได้

ทั้งนี้หากเราต้องการทำให้ประเทศของเรามีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอริยประเทศแล้ว สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือ เราต้องให้ความสำคัญและพัฒนาความรู้ของ “คน” ตั้งแต่วัยเด็ก ให้เป็นคนที่ใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา และต้องสร้างค่านิยมที่ถูกต้องและดีงาม รวมทั้งต้องมีคุณธรรม และจริยธรรมสูง

แรงบันดาลใจ หลังเข้ารับอบรมหลักสูตรพัฒนาทุนความรู้ รุ่นที่ 2 (8 วัน)

ตนเอง

1. การพัฒนาตนเอง ต้องเริ่มจากความคิด คือ คิดอย่างมีกระบวนการ โดยคิดบวกในทุกๆ เรื่อง บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่ใช่สิ่งที่เราอยากให้เป็น

2. ทุกเช้าวันใหม่ ต้องทำตัวเป็นแก้วเปล่า อย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว เพื่อให้เกิดการใฝ่เรียนรู้เป็นการพัฒนาตนเอง และเปิดใจกว้างเป็นการยอมรับฟังผู้อื่น

3. ไอน์สไตน์ กล่าวว่า อัจฉริยะสร้างได้ มนุษย์จึงเป็นสิ่งมหัศจรรย์ในตัวเอง แต่ต้องอาศัยการสั่งสมประสบการณ์ การใกล้ชิดกับผู้มีปัญญา แล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับตนเอง

องค์กร

1. Mind Mapping จะทำให้กระบวนการคิดของเราเป็นระบบมากขึ้น หากนำมาใช้ในองค์กรอย่างกว้างขวางจะเกิดการทำงานแบบมืออาชีพ

2. ผู้นำ คือ ผู้ที่รับผิดเป็นคนแรก รับชอบเป็นคนสุดท้าย สิ่งนี้จะนำไปสู่วัฒนธรรมองค์กร (ฉันท์พี่น้อง) ที่แท้จริง

3. การปรับใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายบนโลกไซเบอร์ จะทำให้การทำงานขององค์กรง่ายขึ้น และตอบปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

ประเทศชาติ

1. ต้องปฏิวัติหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการครั้งใหญ่ เพราะเห็นแล้วว่าประสบความล้มเหลว เยาวชนไทยมีลูกก่อนวัยอันควรติดอันดับต้นของโลก ต้องกระตุ้นให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตนเอง พอๆ กับเห็นคุณค่าของความเป็นพลเมืองดี และมีศีลธรรมควบคู่กับเก่งวิชาการ

2. ควรบรรจุหลักสูตร Mind Mapping สอนเยาวชนไทย เพราะเป็นกระบวนการคิดใกล้เคียงกับการทำงานของสมอง Mind Mapping เกิดจาก ความเข้าใจ แล้วถ่ายทอดออกมา ไม่ใช่เกิดจากการท่องจำ

3. ทุนมนุษย์เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก เพราะสามารถพัฒนาได้อย่างไม่มีขีดจำกัด และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาทุนจริยธรรมเป็นพื้นฐานก่อน ที่สำคัญ หากสามารถปลูกฝังค่านิยมคิดบวกได้ จะก่อให้เกิดการสร้างสรรค์มากกว่าการคอยล้างผลาญดังเช่นในปัจจุบัน

สิ่งที่ไดจากการที่เรียน 8 วันที่ผ่านมา (3-10 พ.ย.53)

1, ตัวเอง :

1.1 ได้ปรับแนวคิดในการดำเนินชีวิตทำให้เกิด Self Trust ในตนเองมากขึ้น และกระตุ้นให้ตนเองอยากที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น (เรียนรู้ตลอดเวลา ในเพียงพอ และทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา)

1.2 ได้เห็นมุมมอง/แนวความคิดที่หลากหลาย เกิดควารมคิดสร้างสรรค์ และฝึกคิดอย่างเป็นระบบ

1.3 เห็นถึงประโยชน์ของการทำงานเป็นทีม ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกันโดยต้องมีการตั้งเป้าหมายร่วมกัน และมีการแบ่งงานกันทำอย่างมีระบบ เพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ระดับองค์กร :

2.1 บุคลากร ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้น หากบุคลากรได้รับการพัฒนา และปรับทัศนคิตให้เกิด Self Trust ในตนเอง และมี Relationship Trust ระหว่างบุคลากรในองค์กร ก็จะทำให้บุคลากรทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข ทำให้ผลการปฏิบัติงานในภาพรวมขององค์กรมีประสิทธิภาพ และทำให้เกิด Organization Trust

2.2 เมื่อบุคลากรมีความศรัธราในตนเอง ทำให้สามารถพัฒนาไปสู่การมีภาวะผู้นำที่จะสามารถสร้างศรัทธาให้แก่คนในองค์กร และเกิดเป็นแรงจูงใจ มุ่งมั่น ตั้งใจทำงานให้แก่องค์กรอย่างเต็มที่

2.3 การทำงานเป็นทีม ที่สามารถทำงานสอดประสานกันระหว่างหน่วยงานย่อยภายในองค์กร จะทำให้การทำงานในภาพรวมขององค์กรได้ผลลัพท์ที่มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันอย่างแท้จริง

3, ประเทศ :

3.1 หากสามารถพัฒนาบุคลากรในภาครัฐ และเอกชน ให้มีความรู้คู่คุณธรรม คิดอย่างเป็นระบบ มีทุนมนุษย์ตามทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s และมีการเรียนรู้ตลอดเวลาตามทฤษฎี 4 L’s อย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้ประเทศเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

3.2 ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เพิ่มขีดความสามารถให้สามารถแข่งชันในระดับนานาชาติ

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนตั้งแต่วันที่ ๓ – ๑๐ พ.ย. ๕๓

๑. ตัวเอง

๑.๑ ได้รับความรู้ใหม่ ๆ ทำให้เกิดความหลากหลายในแนวคิดเพิ่มมากขึ้น มีความตื่นตัวในการที่แสวงหาความรู้ และพร้อมที่จะเปิดรับแนวคิดใหม่ ๆ โดยนำด้านบวกมาปรับปรุงให้ดีขึ้น ส่วนที่เป็นด้านลบ ต้องให้ความสำคัญในฟังคนอื่นพูดให้มากขึ้น เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น มีการคิดนอกกรอบ ยอมรับสิ่งที่ดีมาใช้ เพื่อปรับปรุง/พัฒนาตนเอง และการทำงาน

๑.๒ ได้พัฒนาและเพิ่มเติมทุนทางความรู้ ทักษะ และได้แนวคิดในการปรับเปลี่ยนทัศนคติในเชิงบวก มีหลักในการคิดทั้งที่เกี่ยวกับตัวเอง ผู้ร่วมงาน และการปฏิบัติหน้าที่การงานอย่างหลากหลายตามทฤษฎีของอาจารย์แต่ละท่าน ซึ่งล้วนแต่เป็นเลิศทั้งสิ้น

๑.๓ มีประสบการณ์ในการทำงานเป็นทีม เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน ๆ ต่างสำนัก/กอง ต่างสายงาน แต่ก็สามารถทำงานประสานกันอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันได้

๒. ระดับองค์กร

๒.๑ องค์กรจะมีบุคลากรที่มีคุณภาพ จากการที่ได้มีการพัฒนาทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติไปในทางที่ดี ย่อมทำให้บุคลากรเหล่านั้นเปี่ยมไปด้วยศักยภาพ พร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม “คน” เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่จะทำให้องค์กรอยู่ได้ ต้องรักษาคนที่มีคุณภาพไว้เพื่อให้องค์กรอยู่อย่างยั่งยืน

๒.๒ ผู้เข้าอบรมมีโอกาสทำความรู้จัก สร้างความคุ้นเคยกับเพื่อนร่วมงานต่างสำนัก/กอง ได้ปะทะกันทางปัญญาใน workshop ต่าง ๆ ทำให้มีความเข้าใจกันมากขึ้น นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายเครือข่ายในการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรโดยรวม

๒.๓ ผู้นำองค์กรมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นผู้นำควรจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจ ศรัทธา มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม เมื่อบุคลากรในองค์กรไว้วางใจ และศรัทธาในตัวผู้นำ ก็จะช่วยให้การขับเคลื่อนการทำงานขององค์กรบรรลุตามวัตถุประสงค์

๓. ประเทศชาติ

๓.๑ เมื่อ “คน” ได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ มีแนวคิดที่ดี ประเทศชาติก็จะมีข้าราชการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การพัฒนาประเทศง่ายขึ้น ปัญหาต่าง ๆ ก็จะลดลง ประเทศก็จะมีความเจริญก้าวหน้า

๓.๒ เมื่อองค์กรมีบุคลากรที่ดี มีคุณภาพ ก็จะทำให้การปฏิบัติภารกิจขององค์กรเพื่อสนองตอบนโยบายของรัฐบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จได้

๓.๓ การให้ความสำคัญต่อการสรรหาผู้นำประเทศที่มีคุณสมบัติในการเป็นผู้นำที่ดี ควรค่าแก่การศรัทธา มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศอย่างมีทิศทางและเป็นระบบ

จากการเข้ารับการอบรมตั้งแต่วันที่ 3-10 พ.ย.53 รวม 8 วัน นั้น


สิ่งที่ตนเองได้รับ

1) ความสำคัญของการพัฒนาบุคลากร เนื่องจากบุคลากรเป็นสิ่งที่สำคัญในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ตามพันธกิจและเป้าหมายขององค์กร ประกอบกับโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก

2) เครื่องมือต่างๆ สำหรับการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพ หรือทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานเป็นทีม และการทำงานร่วมกับคนอื่น รวมทั้ง "ลูกค้า"

3) เกิดแรงกระตุ้นเพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นบุคลากรที่มีคุณค่าต่อองค์กร และความสำคัญของจริยธรรม คุณธรรม


สิ่งที่องค์กรได้รับ

1) บุคลากรที่ได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ เข้าใจความสำคัญของตนเอง เพื่อให้องค์กรเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน

2) แนวโน้มที่ดีขึ้นของประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม หากมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และบุคลากรที่ได้รับการพัฒนานำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

3) ความสามัคคีของบุคลากรภายในองค์กร และทัศนคติที่ดีต่อองค์กร


สิ่งที่ประเทศชาติได้รับ

1) ความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ เมื่อประชาชนในประเทศมีศักยภาพ

2) สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้

3) มีการบริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาล


สิ่งที่ได้รับจากการอบรม 8 วัน ที่ผ่านมา

-ต่อตัวเอง

1) ทำให้เกิดความคิดและทัศนคติใหม่ๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรที่มีความรู้ มีประสบการณ์ และประสบความสำเร็จในแต่ละด้าน

2) จากการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นทำให้ได้รับความรู้ ได้รับแนวคิดที่หลากหลาย ซึ่งเป็นประโยชน์ในการทำงานเป็นทีม

3) มีวิธีคิดในการทำงานมากขึ้น เกิดมุมมองมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

-ต่อองค์กรและประเทศชาติ

1) จากการที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้ได้เห็นสักยภาพ ทักษะ ความรู้ ความสามารถ ของแต่ละคน และสารมารถคาดการณ์ไปในอนาคตได้ว่าใครที่จะเจริญก้าวหน้าเป็นผู้บริหารหรือผู้นำองค์กร

2) การพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับจาก ประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรัฐบาล

3)เมื่อองค์กรหลายองค์กรมีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพ ก็จะทำให้การปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศไทยไปในทิศทางเดียวกัน และไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย

8 วัน สำหรับการเรียนรู้

สรุปโดยภาพรวม สิ่งที่ได้รับ เป็นผู้ที่มีความใฝ่เรียนรู้อย่ตลอดเวลา เช่น รู้วิธีการคิดอย่างสร้างสรรค์ การนำนวัตกรรม

แนวความคิดใหม่ ๆ การรู้จักตัวเอง การคิดนอกกรอบ การคิดใหม่ทำใหม่ แม้กระทั่งการพัฒนาทุนมนุษย์ การมีจริยธรรม

คุณธรรม เป็นต้น รวมทั้ง ได้เรียนรู้พฤติกรรมของเพื่อน ๆ ที่เข้ารับการอบรม ฝึกให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงออก

หรือในการแสดงคิดเห็นร่วมกัน นอกจากนี้ยังทำให้มีเครือข่ายในกล่มเพื่อนมากยิ่งขึ้น (สนุกมากเลยค่ะ)

ซึ่งการเรียนรู้ในครั้งนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาองค์กรของเราและพัฒนาประเทศชาติต่อไป

สรุป Panel Discussion หัวข้อ กรณีศึกษาของ High Performance Organization ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ต้องสร้างองค์กร Hybrid ในบริบทของข่าวกรอง
  • ต้อง open-mind
  • ข้าราชการสำนักข่าวกรองควรอยู่ในบริบทการเรียนรู้เอกชนผสมกับราชการ ต้องปรับองค์กรไม่ใช่ลอก

ดร.สมโภชน์ นพคุณ

  • ผมให้ความสำคัญเรื่องคน ทำงานด้านพัฒนาคนให้ราชการมา 31 ปี ต่อมาผมพัฒนาผู้บริหาร
  • องค์กรที่มีประสิทธิผลสูง ต้องย้อนกลับไปดูองค์ประกอบสำคัญ
  • โครงสร้างองค์กร ปรับโครงสร้างเป็นที่นิยมเพราะทำได้ง่าย
  • กระบวนการทำงาน ไปคู่โครงสร้าง ราชการมีโครงสร้างซับซ้อน มหาวิทยาลัยถ้าเน้นคุณภาพจะเป็น Mass น้อยลง
  • กฎระเบียบข้อบังคับ ซับซ้อน ไม่ยืดหยุ่น ไม่ทันสมัย ต้องเปลี่ยน paradigm ว่า กฎระเบียบคือแนวทางดำเนินการ ต้องใช้วิจารณญาณทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินการ
  • คนในองค์กร รายบุคคลที่มีคุณภาพ กลุ่มคน (High Performance Team) พฤติกรรมองค์กร+โครงสร้างองค์กร+กฎระเบียบข้อบังคับ = Branding Organization เกิดจากคนในองค์กรสร้าง performance team
  • วัฒนธรรมองค์กร คุมให้น้อยสุดเพื่อให้เป็น High Performance Team
  • Cream of the crop คนเก่ง มีแรงจูงใจ มีจำนวน 20% แต่สร้างผลงาน 70%
  • Average คนความสามารถระดับกลาง คนส่วนใหญ่
  • พวกคนไม่เอาไหน มีจำนวน 25% เราวางกฎเพื่อบริหารพวกนี้ทำให้อีก 2 พวกไม่อยากทำงาน
  • ควรจะใช้กฎเป็นแนวทางปฏิบัติ
  • เทคโนโลยี
  • Human Resource คิดคนเป็นค่าใช้จ่าย
  • การลงทุนเรื่องคน มองคนไม่ใช่ resource
  • ถ้าใช้คนทำงานบ่อยๆ ก็จะเก่งขึ้น
  • การพัฒนาคนเป็นการลงทุน ไม่ใช่ค่าใช้จ่าย
  • High Performance Organization ของราชการลดต่ำลง
  • การสร้าง High Performance Team ต้องมองคนเป็นคนมากขึ้น บริหารโดยใช้ทัศนคติ ความเชื่อจะช่วยได้มากขึ้น คนมีแนวโน้มจะทำงานเป็นทีม
  • ต้องสร้างค่านิยมที่ผู้บริหารไปคุยกับผู้ปฏิบัติการ
  • บริษัทที่ประสบความสำเร็จและยั่งยืนใช้ shared value  ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • เอ เค เซ็นกล่าวว่า การพัฒนาเศรษฐกิจคือการทำงาน
  • การอยู่ที่สำนักงานอาจจะทำให้ลืมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

คุณอนุรัตน์ ก้องธรณินทร์

  • ท่านดึงศักยภาพตนเองออกมาใช้เต็มที่หรือยัง
  • มนุษย์ชอบอยู่ที่ Comfort Zone จุดสบายๆ แต่เราก็ต้องตระหนักว่า ถ้าไม่ทำบุญเพิ่ม ก็จะหมด
  • ต้องให้คนรอบข้างมีความสุข ต้องมีความรักและการทำงานควบคู่กันไปและสร้างความสมดุลระหว่าง 2 สิ่งนี้เพื่อให้ชีวิตมีพลัง
  • เราต้องทลายความกลัว แล้วหาอิสรภาพ สู้กับมัน
  • ต้องมี Shared vision อนาคตร่วม หาแนวร่วม
  • ต้องเป็นผู้นำในจุดที่เราต้องการจะสร้างความแตกต่าง เช่น ออกจาก Comfort zone
  • ผู้นำต้องมี Integrity มีรักษาคำพูด ให้เกียรติผู้อื่น ตรงต่อเวลา
  • องค์กรเอกชนกับราชการไม่ต่างกันในหลักคิด มี Shareholder คือประชาชน เราต้องสร้างความพึงพอใจ
  • ต้องให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วม เป็นจุดเริ่มต้น
  • ต้องให้ความรู้แก่ Shareholder
  • เตรียมผู้สืบทอด Successor ให้คนมี Competency ได้อย่างไร
  • ค่านิยมบางอย่างเปลี่ยนแปลงได้
  • High Performance Organization ต้องทนต่อการเสียดสีจากสภาพภายในและภายนอก ต้องรู้จักปรับตัวตามสมัย
  • ต้องเปลี่ยนแปลงตนเองก่อนเปลี่ยนแปลงคนอื่น
  • จากประสบการณ์การทำงานกับบริษัทข้ามชาติ ผมได้เรียนรู้และเข้าใจความคาดหวังของคนและระบบงาน องค์กรเอกชนใหญ่ๆลงทุน 6 เดือนแรกให้เข้าไปสัมผัสกับคน
  • Job Rotation เป็นอีก Key Success องค์กรต้องยืดหยุ่นให้พนักงานทำอย่างอื่นได้ด้วย
  • High Performance Organization ต้องมีคนที่มีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

ดร.ชัยยะ

  • เห็นด้วยกับอาจารย์สมโภชน์
  • เราไม่จำเป็นต้องอยู่ในสำนักงานตลอดเวลา แต่ต้องมี Job Description เข้าสำนักงานเพื่อนำเสนอผลงาน
  • ต้องคุมคนให้น้อย ปล่อยให้มาก แล้วจะได้งานมากขึ้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • อาจารย์สมโภชน์ก็ชี้ให้เห็นปัจจัยหลายอย่างก็เหมือนทฤษฎี 3 วงกลม
  • High Performance Organization ต้องเข้าใจองค์กร เรื่องคน กฎระเบียบ
  • ต้องทำให้ศักยภาพมนุษย์ไปสู่ Performance ขององค์กรได้
  • คุณอนุรัตน์บอกว่า ถ้าเป็นองค์กรใหญ่ แต่มีพฤติกรรมดีก็ดี
  • สำนักข่าวกรองต้องมีวัฒนธรรมการเรียนรู้
  • ในที่สุด เอกชนกับราชการก็มีเป้าหมายเดียวกันคือความยั่งยืน สำนักข่าวกรองต้องมีความยั่งยืน

 

Workshop

แต่ละกลุ่ม

  • แนวคิดของราชการที่ดร.สมโภชน์นำเสนอมีอะไรบ้าง

            ที่ข่าวกรอง

–         ทำแล้วดี 2 เรื่อง

–         ยังมีช่องว่าง 2 เรื่อง

  • คุณอนุรัตน์เสนอแนวทางเอกชน

–         มีอะไรที่ทำแล้ว 2 เรื่อง

–         มีอะไรที่ขาด 2 เรื่อง

  • ถ้าจะเสนอเรื่องที่ Hybrid ที่ 2 ฝ่ายร่วมมือกันทำคืออะไร

กลุ่ม 1

  • แนวคิดของราชการที่ข่าวกรอง

ทำแล้วดี 2 เรื่อง

–         การพัฒนาทุนมนุษย์ ดูจากหลักสูตรนี้ และอื่นๆ

–         กระบวนการการทำงาน มีการออกแบบดี ทุกคนรู้บทบาทตนเอง ทำงานใช้ศาสตร์และศิลป์

ยังมีช่องว่าง 2 เรื่อง

–       กำลังจะดีเรื่องการสร้างแบรนด์ เปิดตัวมากขึ้น

–       วัฒนธรรมการเรียนรู้

  • แนวทางเอกชน

มีอะไรที่ทำแล้ว 2 เรื่อง

–         Shared value ภูมิใจในงาน

–         ทำงานแบบพี่น้อง ดูแลกัน ให้คำแนะนำกันทุกเรื่อง

มีอะไรที่ขาด 2 เรื่อง

–         โอกาสพัฒนาตนเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้

–         Rotation เชื่อมต่อมากขึ้นกับแต่ละสำนัก เริ่ม Cross-functional

  • ถ้าจะเสนอเรื่องที่ Hybrid ที่ 2 ฝ่ายร่วมมือกันทำคืออะไร
  • การวางแผนอนาคตข้าราชการ จะทำให้สมองไหลน้อยลง

กลุ่ม 2

  • แนวคิดของราชการที่ข่าวกรอง

ทำแล้วดี 2 เรื่อง

  • ทุนมนุษย์ มีการเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ได้รับการฝึกอบรม
  • วัฒนธรรมองค์กรเหนียวแน่นเป็นพี่น้อง มีการเอื้อเฟื้อ

ยังมีช่องว่าง 2 เรื่อง

–         กฎระเบียบ กับการทำงานไม่สัมพันธ์กัน

–         การบริหารคุมให้น้อย เพราะเราต้องติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา แต่เจ้าหน้าที่บางส่วนขาดประสบการณ์ต้องอาศัยพี่ๆดูแล

  • แนวทางเอกชน

มีอะไรที่ทำแล้ว 2 เรื่อง

  • การทำงานแบบครอบครัว
  • Job Enrichment

มีอะไรที่ขาด 2 เรื่อง

–         Share vision ยังไม่ชัด

–         การสืบทอดตำแหน่ง บางรุ่นมี Gap อายุ เกษียณทั้งแผน

  • ถ้าจะเสนอเรื่องที่ Hybrid ที่ 2 ฝ่ายร่วมมือกันทำคืออะไร
  • พัฒนาทุนมนุษย์

กลุ่ม 3

  • แนวคิดของราชการที่ข่าวกรอง

ทำแล้วดี 2 เรื่อง

–         ปรับโครงสร้างทำให้ได้ขยายตำแหน่งขึ้น สร้างแรงจูงใจให้อยู่กับองค์กร

–         การลงทุนพัฒนาคน เป็นการเพิ่มมูลค่าตนเอง เป็นผลดีต่อองค์กร

ยังมีช่องว่าง 2 เรื่อง

–         การปรับโครงสร้าง มีคนมากแต่ทำงานคนเดียว

–         กฎระเบียบ ร่างยังไม่ทันเสร็จ แต่สถานการณ์มันเปลี่ยนไปแล้ว กฎบางข้อใช้ได้กับบางคนแต่บางคนใช้ไม่ได้

  • แนวทางเอกชน

มีอะไรที่ทำแล้ว 2 เรื่อง

–         การทำงานแบบพี่น้อง ร่วมทุกข์ร่วมสุข

–         การพัฒนาคนในรุ่นต่อๆไป

มีอะไรที่ขาด 2 เรื่อง

–         ขาดการแบ่งปันความรู้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน

–         พนักงานขาดการค้นหาเป้าหมายของตนเอง

  • ถ้าจะเสนอเรื่องที่ Hybrid ที่ 2 ฝ่ายร่วมมือกันทำคืออะไร

–         วัฒนธรรมองค์กร การทำงานแบบพี่น้อง ยังไม่มีความเสมอภาค บางคนได้เข้ารับการอบรมทุกหลักสูตร แต่บางคนได้เข้าเฉพาะที่เกี่ยวกับงานของตน

–         ปรับวัฒนธรรมการใฝ่รู้

–         การสร้างความเป็นเจ้าของ

กลุ่ม 4

  • แนวคิดของราชการที่ข่าวกรอง

ทำแล้วดี 2 เรื่อง

–         ทำงานเป็นระบบบูรณาการมากขึ้น

–         มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น สารบรรณอิเลคทรอนิกส์

ยังมีช่องว่าง 2 เรื่อง

–         วัฒนธรรมทำงานเป็นกลุ่มยังไม่เข้มแข็ง

–         กฎระเบียบองค์กรยังไม่ยืดหยุ่น ต้องดูงบประมาณก่อน ทำให้ผลลัพธ์ถูกตัดทอนลงมา

  • แนวทางเอกชน

มีอะไรที่ทำแล้ว 2 เรื่อง

–         ทำงานแบบพี่น้อง พูดกันได้

–         สร้างแรงจูงใจที่ไม่เป็นตัวเงิน นายให้เปิดใจ

มีอะไรที่ขาด 2 เรื่อง

–         ขาดงบประมาณ

–         กระบวนการสอนงานอยู่ในวงแคบ ไม่มีการประเมิน

  • ถ้าจะเสนอเรื่องที่ Hybrid ที่ 2 ฝ่ายร่วมมือกันทำคืออะไร

–         พัฒนาคนโดยนำวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์

กลุ่ม 5

  • แนวคิดของราชการที่ข่าวกรอง

ทำแล้วดี 2 เรื่อง

–         การทำงานเป็นทีมมากขึ้น

–         ปรับโครงสร้างองค์กร เป็นผอ.สำนักขึ้นมา

ยังมีช่องว่าง 2 เรื่อง

–         กพ. ออกกฎระเบียบมากเกินไปทำให้การทำงานล่าช้า เช่นการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นก็ต้องเข้ารับการอบรม

  • แนวทางเอกชน

มีอะไรที่ทำแล้ว 2 เรื่อง

–         การสร้างบรรยากาศในการทำงาน ทำให้คนรอบข้างมีความสุขแล้วเราจะมีความสุข

–         การทำงานแบบมีส่วนร่วม ดึงประชาชนมามีส่วนร่วม

–         ทำงานแบบพี่น้อง

มีอะไรที่ขาด 2 เรื่อง

–         การ rotate งานจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก

–         แผนกำลังคนขาดความต่อเนื่อง ควรจะมีการให้ความรู้บุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมพร้อมให้เขาเป็นผู้นำได้ตลอดเวลา

  • ถ้าจะเสนอเรื่องที่ Hybrid ที่ 2 ฝ่ายร่วมมือกันทำคืออะไร

–         Shared value มีจุดหมายเดียวกันในการทำงาน

–         Empower ทำให้ตัดสินใจได้เร่งด่วน ในเรื่องที่ไม่ใช่คอขาดบาดตาย

คุณอนุรัตน์ ก้องธรณินทร์

  • ต้องสื่อสารสิ่งที่ท่านทำไปสู่ Stakeholder
  • การทำงานแบบพี่น้องทำให้องค์กรมีความสุขแต่อาจจะทำให้เกิด Comfort zone แต่ละคนควรเป็นตัวอย่างที่ดี

ดร.สมโภชน์ นพคุณ

  • บทเรียนที่เกิดขึ้นกับตัวเราคือสิ่งที่เราจะนำไปใช้ต่อ นำไปพัฒนาตนเองต่อเนื่อง
  • ยิ่งกฎมาก จะทำงานได้น้อยลง
  • ควรให้อิสระการทำงาน
  • การบริหารสมัยใหม่ หัวหน้าต้องคุมให้น้อยแต่ต้องช่วยให้มาก เช่น สอน สร้างแรงจูงใจให้ลูกน้อง
  • ถ้าเราคุมตัวเองได้ และคุมกันเป็นทีม อาจจะไม่จำเป็นต้องมีหัวหน้า
  • ควรให้พนักงานมีส่วนร่วมมากที่สุดแล้วหัวหน้ามีบทบาทน้อยที่สุด
  • ต้องมีเป้าหมายคือความสำเร็จร่วมกัน
  • สำนักข่าวกรองต้องมีการสร้างแบรนด์
  • ต้องทำงานร่วมกับคนอื่นให้มากที่สุด
  • ต้องหงายกะลาที่ครอบอยู่แล้วกระโดดออกจากกะลาไปที่อื่น
  • ต้องใส่พลังในการทำงานที่สูงขึ้นแล้ว องค์กรการเรียนรู้จะมาโดยอัตโนมัติ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ต้องมีการ Coaching ให้มาก ถามคำถามมากๆ
  • ต้องดึงภาคเอกชนมาช่วย Mentoring เพราะไม่ใช่การสร้างเส้นสาย
  • ต้องมีนิสัยใฝ่รู้
  • การลงทุนพัฒนาคนไม่ใช่แค่เงินอย่างเดียว แต่รวมถึงวิธีการด้วย

สรุป Learning Forum หัวข้อ สำนักข่าวกรองกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ โดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์ ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553

  • สำนักข่าวกรองต้องเรียนรู้สภาพสังคมจะได้กำหนดนโยบายได้
  • การวางแผนเชิงกลยุทธ์จะช่วยกำหนดวิสัยทัศน์ (เป้าหมายในระยะยาว) ขององค์กรได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • การวางแผนเชิงกลยุทธ์จะทำให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
  • เรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องใกล้ตัว สำนักข่าวกรองต้องสนใจ
  • เวลาประเทศไปกู้เงิน เขาดูความมั่นคงของประเทศ และต้องมีหน่วยงานกลางวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ
  • ตอนนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นเพราะดอลล่าร์อ่อนค่า และอัตราดอกเบี้ยไทยสูง
  • การวางแผนเชิงกลยุทธ์ต้องมีข้อมูล จะนึกคิดเอาเองไม่ได้ ต้องหาข้อมูลที่ถูกต้องให้ได้มากที่สุด เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเราเอง
  • อุปสรรคในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกเพราะการไม่ยอมรับความจริง มีอคติ
  • ควรทำ SWOT วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกโดยไม่มีอคติ
  • ในการทำ SWOT ผู้บริหารต้องใจกว้าง ฟังทั้งคำติและคำชม
  • การกำหนดทิศทางขององค์กรต้องมีวิสัยทัศน์ มีพันธกิจ (ภารกิจ) แล้วสร้างวิธีการนำไปสู่ภาคปฏิบัติ
  • หน่วยงานท้องถิ่นต้องทบทวนแผนและงบประมาณ เพราะมีปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้มากระทบ
  • เมื่อนำแผนไปใช้ ต้องมีการปรับเปลี่ยนบ้าง
  • องค์ประกอบการวางแผนเชิงกลยุทธ์
  • SWOT (จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคาม) เราจะใช้ SWOT ปัจจุบันคาดการณ์ไปในอนาคต
  • วิสัยทัศน์ (ที่ดีควรมีระยะเวลา 3-5 ปี) และพันธกิจ
  • วัตถุประสงค์ (วิสัยทัศน์ระยะสั้น 1 ปี)
  • Action Plan แผนปฏิบัติการ
  • องค์ประกอบการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ดี
  • ทำ SWOT ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง การทำ SWOT ที่ดีใช้เวลาจริงๆ 2-3 วัน (จัดไปอยู่ในที่ที่กลับบ้านไม่ได้) นำแต่ละมุมมองมารวมกันแล้วมองไปที่เดียวกัน ดูที่เนื้องานไม่ใช่ตัวบุคคล ไม่ควรดูจาก SWOT ของเดิม เพราะจะไม่มีมุมมองใหม่ๆ
  • มีแผนระยะยาว ระยะกลางและระยะสั้น
  • ทุกองค์ประกอบของแผน จะต้องมีความสัมพันธ์เป็นองค์รวมเชื่อมโยงเป็นระบบ มีความสัมพันธ์เชิงสาระและเงื่อนเวลา สัมพันธ์ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม สู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
  • เป็นแผนที่ท้าทายแต่เป็นไปได้
  • การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกให้ถูกต้อง
  • ต้องมีข้อมูล ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะสำคัญหมด
  • มีองค์ความรู้
  • อะไรที่อยู่ใกล้ต้องชัด อะไรที่อยู่ไกล เห็นลางๆ แต่เป็นโครงสร้างก็พอเพียง
  • มีวัฒนธรรมในการคิดแบบนักวางแผนเชิงกลยุทธ์ เช่น เห็นภาพใหญ่
  • ต้องมีข้อมูลและความรู้เชิงกลยุทธ์
  • อย่ารู้ทุกเรื่องแต่ไม่รู้เรื่องที่ตนเองต้องรู้
  • จุดเริ่มต้นความคิดในเรื่องอื่นๆต่อไป คือการคิดเชิงบวก เป็นการคิดในเชิงสร้างสรรค์และน่าจะทำได้
  • ต้องมี Organic Thinking  การคิดต่อเนื่อง
  • การคิดเชิงกลยุทธ์ อะไรก็เป็นไปได้และต้องมองในภาพรวม บางทีอาจจะทำให้มีปัญหาศีลธรรมด้วย
  • การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในให้ถูกต้อง
  • KPI (Key Performance Indicator)
  • Benchmarking เปรียบเทียบในอุตสาหกรรมเดียวกัน เปรียบเทียบกับคนเก่งที่สุดเพื่อพัฒนาตนเอง เปรียบเทียบว่าดีขึ้นจากอดีตไหม นำวิธีการของคนอื่นมาปรับใช้
  • มีมิติใหม่
  • มีน้ำหนัก แต่ละปัจจัยมีความสำคัญไม่เท่ากัน ปัจจัยข้อแรกๆมีความสำคัญมากกว่าข้อหลังๆ ต้องให้น้ำหนักเป็นเปอร์เซ็นต์ว่ามีผลกระทบต่อเรามาเท่าไร
  • ใช้ลูกค้าเป็นตัวตั้ง ให้ความสำคัญต่อความคิดเห็นของบุคคลภายนอก (ลูกค้า)
  • การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ต้องดูความเปลี่ยนแปลง
    • มหภาค เช่น เทคโนโลยี โลกไร้พรมแดน การเติบโตทางเศรษฐกิจ การเปิดเสรี การปกป้องตนเอง การรวมกลุ่มในภูมิภาคเพื่อสร้างอำนาจการต่อรอง
    • การแข่งขัน หน่วยงานภาครัฐมีคู่แข่งโดยอ้อมมีทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จะถูกนำมาเปรียบเทียบประกอบการประเมิน
    • ลูกค้า เปลี่ยนไป ลูกค้าสำนักข่าวกรองคือผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลซึ่งมีทั้งหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก ถ้าลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงการทำงาน ความต้องการใช้ข้อมูลก็จะเปลี่ยนไป ทำให้สำนักข่าวกรองต้องเปลี่ยนแปลงการทำงานไป
    • องค์กร
  • การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในโดยแมคเคนซีโมเดล (7S) ดูปัจจัยต่อไปนี้
    • Structure โครงสร้างองค์กร
    • System ระบบทำงานเอื้อให้ทำงานได้อย่างรวดเร็วไหม
    • Style รูปแบบการบริหารของผู้บริหารต้องเหมาะกับสถานการณ์
    • Staff เจ้าหน้าที่จำนวนมากพอไหม ใช้คนตรงกับงานไหม
    • Skill ทักษะ ความสามารถเจ้าหน้าที่พอไหม พัฒนาได้ไหม
    • Strategy กลยุทธ์ วิธีการทำงาน
    • Shared Value วัฒนธรรมองค์กร บ่งบอกว่า องค์กรขับเคลื่อนไปได้ไกลเท่าไหน
  • เมื่อได้จุดแข็งและจุดอ่อนแล้ว ต้องมีการจัดอันดับ
  • คุณสมบัติที่ดีของวิสัยทัศน์
    • เข้าใจง่าย
    • สื่อความหมาย
    • แสดงถึงความผูกพัน
    • ทนทานไม่ล้าสมัย
    • ท้าทายแต่เป็นจริงได้
  • กลยุทธ์องค์กร
    • เติบโต
    • คงที่
    • ถดถอย (เพื่อตั้งหลัก) ต้องใช้อย่างระมัดระวัง
  • กลยุทธ์แข่งขัน
    • ต้นทุน
    • ความแตกต่าง
  • กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ

Group 4 : เดชา แสงอุทัย สัจจาพันธุ์ จิราภรณ์ สุภานันท์ ส่งศักดิ์ มัทยา

1.in our organization, Integrity is

To set the mind on the accuracy, integrity committed to the interests of the nation and people.

2. (1) Allows us to reach the goal quickly.

(2) The organization has been accepted. And reliable.

(3) Not distort the facts. We solve the problem needs.

(4) Enables us to ensure a comprehensive look at the problem.

3. To encourage awareness to staff continuously. Having a good leader is a role model will be important in encouraging people to modify the concept. Incentives for personnel at all levels to Decrease Gap between supervisors and subordinates so that lead organization to integrity.

กลุ่ม 3

(อรรถกร , กิตติพันธ์ , ทรงกลด , ประภัสสร , อุมาวรรณ , ภัทรินทร์ , กันยารัตน์)

1. Integrity is a quality of a person’s character. It is comprised of Trust, consistency and moral compass. We can find people who possess integrity as follows,

1) They will do what they said.

2) They will do and decide by principles.

3) People’ll have integrity over a long period of time

2. Integrity is important for organization to operate. The leader has to possess integrity to motivate the workers to work. The leader who has integrity will accept trust and loyalty from the workers.

3. Improving your integrity, the workers have to listen the criticism from others. If the integrity is weak in our organization, we have to inspire the workers to aware the importance of integrity. At the same time, we should build ‘the integrity’ to be our organization’s value by using some activities as the tools such as public seminar, providing the benefits to the workers who have integrity. If the cause of integrity comes form outside our organization, we should trust ourselves that we are right.

(Group 2 : Sompong, Kachonsak, Tippawan, Rawiwan, Sutisa, Wasana, Siranee)

Integrity is the set of value that guide our decision .Integrity is the combination of

- Trust : The trustworthy comes with honest, loyal, open mind, caring and supportive.

- Consistency : Thinking of consistency or having different idea is the bridge between a vow and the corresponding behavior.

-Moral compass : The set of value that guide the decision,

As a multi-dimension functional organization, integrity is important to our organization. Differences on behavior, competency and skills make the workforces in organization diversity .So we need to work with integrity. Our career base on morality and honesty. Integrity can brings us fairness, justice and firm in our moral principles. So it can make us as the high performance organization.

To improve integrity in our organization, the workforces should set the organization ideology as self ideology. Moreover, the organization should set the shared value of honest, sharing and working as team and publicize to the new generations.

กลุ่ม 1 (เนตรนภา นุชนารถ สมปอง อรรฆพร ดวงรัตน์ สุริศ อธิพงศ์ และธัญลักษณ์)

1)Definiton of Integrity

Integrity is

-To be true to oneself, to be honest and always keep promises.

-To have courage to say no and have courage to face the truth.

-To be confident in what we do and what we say because we realize that we are acting in the right way.

2)Integrity is important for our work because :

- We can use “Integrity” as effective self motivation tools to

help us reach the highest goals we want and prevent us from getting out of the way. Moreover, committing to “Integrity” will enhance our self trust and encourage us to stand for the right things.

3)We can improve “ Integrity” in our organization by :

- Provide more opportunity to ourselves and have courage to face the truth.

-Renew our integrity mindset as “I’m achieving it, and I’m doing my best”

-Emphasize on Lessons Learned such as Learning by pain and Learning from past mistakes.

----------------------------------

Hybrid ที่ทุกฝ่ายร่วมมือกันทำ

ระบบราชการจะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโดยการนำวิธีการของภาคเอกชนมาผสมผสาน

ทั้งด้านค่านิยม วัฒนธรรม โครงสร้างองค์กร ดึงศักยภาพของบุคลากรออกมาใช้อย่างเต็มที่ สร้างค่านิยมร่วม (Share Value) ในการทำงานหนัก ซื่อสัตย์ สุจริต ตรงต่อเวลา มีสัจจะวาจา ทำงานให้เป็นแบบอย่าง ห่วงใยลูกน้อง สร้างบรรยากาศให้บุคคลรอบข้างมีความสุขในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลให้บุคลากรมีประสิทธิภาพสามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้เกิดผลสัมฤทธิ์ คุ้มค่างบประมาณ

การนำแนวคิด ของส่วนราชการและเอกชนมา Hybrid

การนำนวัตกรรมใหม่มาใช้กับส่วนราชการ โดยส่วนราชการควรร่วมมือกับภาคเอกชน หรือส่วนราชการด้วยกัน เช่นสถาบันการศึกษาในการให้ทุนศึกษาวิจัย หรือผลิตเครื่องมือเทคนิคพิเศษ เช่น เครื่องตรวจวัตถุระเบิด โดยในส่วนของสถาบันเป็นการสร้างองค์ความารู้ให้กับนักศึกษา ขณะที่ส่วนราชการได้ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมใหม่ และประหยัดงบประมาณ เพราะเครื่องมือพิเศษส่วนใหญ่ไทยนำเข้าจากต่างประเทศ

Hybrid

หน่วยงานราชการส่วนใหญ่ไม่ค่อยคำนึงการจัดทำกลยุทธ์ด้านการแข่งขัน เนื่องจากเราไม่มีคู่แข่งขันโดยตรงเหมือนกับภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม การแข่งขันทางอ้อมก็ยังคงอยู่ เพราะเมื่อหน่วยงานหนึ่งมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ วิธีการทำงาน ก็จะส่งผลกระทบต่อหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น สำนักงาน ก.พ. นำระบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้ก็ส่งผลต่อหน่วยงานราชการอื่น ๆ ที่ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้สอดรับ

ทั้งนี้ หากหน่วยงานราชการให้ความสำคัญต่อการจัดทำกลยุทธ์ด้านการแข่งขัน โดยมุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของลูกค้า (ผู้รับบริการ) จะทำให้ผลิตภาพ ผลงาน และรูปแบบการทำงาน ได้รับการปรับปรุง และพัฒนาให้เหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพในที่สุด

การผสมผสาน (Hybrid) จุดแข็งของภาคเอกชนที่ควรนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรได้แก่ 1) ด้าน Working Process โดยภาคเอกชนมีการลดขั้นตอนการทำงานให้กระชับ รวดเร็วขึ้น ขณะที่องค์กรราชการยังคงยึดติดกับระบบบังคับบัญชาตามสายงาน ที่มีลักษณะละเอียด ซับซ้อน ทำให้ผลผลิตงานออกมาล่าช้า ตัวอย่างเช่น ขั้นตอนการจัดส่งเอกสารต่าง ๆ หนังสือเวียน 2) ด้าน Corporate Social Responsibility : CSR ภาคเอกชนมีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ด้าน CSR อย่างเด่นชัด เช่น การคืนกำไรสู่สังคม สนับสนุนชุมชนใกล้เคียง หรือสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ ขณะที่หน่วยงานราชการ แม้จะมีการสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวเช่นกัน แต่การแสดงบทบาทยังไม่ชัดเจน

หน่วยงานราชการควรนำส่วนดีของเอกชนมาปรับใช้ อาทิ การจัดทำ SWOT Analysis เพื่อนำไปใช้ในการจัดทำวิสัยทัศน์ พันธกิจ เนื่องจากรูปแบบการจัดทำของเอกชนมีมานานหลายสิบปี ซึ่งน่าจะมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์มากกว่าภาครัฐ การประเมินวิเคราะห์ข้อมูล สภาพแวดล้อม โอกาส และภัยคุกคาม มีความชัดเจน เป็นรูปธรรม และเป็นข้อเท็จจริง มากกว่าการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐที่ยังคงมีอุปสรรคในการดำเนินการเพราะขาดทักษะ

นอกจากนี้ ในการพัฒนาบุคลากร ภาคเอกชนจะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมากกว่า ซึ่งภาครัฐควรนำมาปรับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องทันสมัยกับความเปลี่ยนแปลงของโลก อาทิ ความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ Work Processing ที่ส่วนราชการมีขั้นตอนยุ่งยาก (Red Tape) ต่างกับภาคเอกชนที่มีการตัดสินใจรวดเร็วและให้อิสระแก่บุคลากรมากกว่า (Empowering)

ภาคเอกชนมีการสร้างแรงจูงใจในการทำงานทั้งในรูปตัวเงิน เช่น โบนัส และแรงจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น สวัสดิการที่ดี การดูแลครอบครัวของพนักงาน การสนับสนุนให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ด้วยการให้ทุนในการฝึกอบรม และดูแลอย่างต่อเนื่องรายบุคคล ขณะที่ภาครัฐแม้จะมีการสร้างแรงจูงใจในการทำงานทั้งสองแบบเช่นกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเห็นได้จากระดับความผูกพันของบุคลากรกับองค์กร (ภาวะสมองไหล) ดังนั้น หากภาครัฐสามารถศึกษาและปรับเปลี่ยนรูปแบบการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้ทัดเทียมกับภาคเอกชน ก็จะสามารถรักษาบุคลากรที่มีสมรรถนะ และความรู้ความสามารถให้ทำงานอยู่กับองค์กรได้

หน่วยงานภาคเอกชนมีการสร้าง Brand ที่ชัดเจน เพื่อสร้างความจงรักภักดีต่อองค์กร และชิงความได้เปรียบทางการตลาด ในขณะที่ภาครัฐมักไม่ค่อยมีกลยุทธ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวแม้ว่าจะเกิดประโยชน์ในการสนับสนุนภาพลักษณ์ของหน่วยงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และทำให้ได้รับความร่วมมือสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน รวมทั้งอาจได้รับการสนับสนุนให้การดำเนินภารกิจขององค์กรลุล่วงด้วยดีก็ตาม จึงถือเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่งที่จะพัฒนาและสร้าง Brand ในหน่วยงานภาครัฐให้ได้รับการยอมรับ เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการบรรลุผลสัมฤทธิ์

วิรัตน์ ภควตี ปติภา นฤนาท ประไพวัลย์ อิทธินันท์ มาลินี

1. Definition of Integrity

As someone has ethic and moral to guide their way of working or how to live their life which will support their faith. Finally, this will create the integrity among us.

2. From the definition of integrity. We can conclude its concept as follow

1) Ethic and Moral

2) Faith and Trust to each others

3) United

Above will create and harmonie in working and it is a core value for good organizational culture. Therefore, these will support work more efficiency.

3. If integrity is weak, we can improve it by…

1) In order to gain benefit from integrity, we could set activities as follow, sport to build trust again.

2) Set rebate / forum to discuss ideas of work by sharing point of view / vision.

3) In case of weak morality, we should set an award for those who accomplish to be a model for others

4) Leaders must keep their promise.

การผสมผสานข้อดีระหว่างภาครัฐและเอกชน(Hybrid)

           ภาครัฐควรส่งเสริมให้ผู้บังคับบัญชาและข้าราชการทำงานใกล้ชิดกันมากขึ้นเหมือนกับภาคเอกชนที่ผู้บริหารให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำงานและหารือถึงปัญหาในการปฏิบัติงานได้ ภาครัฐยังควรฝึกให้ข้าราชการยุคใหม่มีวิธีคิดและปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่จำเป็นต้องยึดกฎระเบียบที่อาจเป็นข้อจำกัดในการทำงานหลายๆ ด้าน นอกจากนี้ การทำงานของภาครัฐควรดูความต้องการของผู้ใช้บริการ เช่น ประชาชน รัฐบาลให้มากขึ้น แทนการผลิตออกมาอย่างเดียว เช่นเดียวกับภาคเอกชนที่ให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้า

องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างมีการบริหารที่เหมือนกันคือ Man Money Meterials และ Management แต่การดำเนินการหรือเป้าประสงค์นั้นมีต่างกัน คือ กลุ่มลูกค้า และผลกำไร ตลอดจนกรรมวิธีการดำเนินการ จึงมีข้อดีข้อด้อย หากเราทำงานขององค์กรในลักษณะ Hybrid ซึ่งเป็นการผสมผสานคุณลักษณะที่ดีขององค์กรทั้งในภาครัฐและเอกชน ซึ่งองค์กรของผมก็มีคุณลักษณะดังกล่าวแล้ว คือการกำหนดเป้าหมายขององค์กรที่ชัดเจน เน้นการปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ มีความร่วมมือร่วมใจทำงานเป็นทีมได้ดี มีการสร้างค่านิยม/วัฒนธรรมองค์กรคือการอยู่ร่วมแบบฉันท์พี่น้อง ให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของ จนท. เชื่อว่าหากมีการพัฒนาคนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องแล้ว จะเป็นองค์กรที่มีคุณภาพองค์กรหนึ่งในระดับประเทศ

Hybrid

Hybrid ในบริบทของการผสมผสานระหว่างภาคเอกชนกับราชการ คงต้องให้ความสำคัญกับศักยภาพของมนุษย์ที่พร้อมรับกับการทำงานภายใต้ลักษณะทดแทนกันได้ พร้อมสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการมองอนาคตขององค์กรร่วมกัน (Shared vision) ด้วยการเปิดโอกาสให้แสดงมุมมองและเปิดรับความคิดสร้างสรรค์ อันจะนำไปสู่ความจงรักภักดีต่อองค์กรเพราะมองว่ามีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ ที่พร้อมจะมุ่งมั่นทำงานอย่างเต็มศักยภาพ โดยไม่ยึดติดกับกฎระเบียบและลักษณะการทำงานแบบเดิม ๆ รวมทั้งสร้างวัฒนธรรมต่อการตั้งคำถาม เพื่อให้เกิดมุมมองที่หลากหลาย ขณะเดียวกันอาจต้องลดช่องทางการทำงานของระบบราชการที่ยืดเยื้อ ซึ่งจะเป็นผลดีทั้งการลดต้นทุน และระบบการทำงานที่ไหลลื่น รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ อันนำไปสู่ความยั่งยืนขององค์กร

Hybrid

ภาคเอกชนมีแรงจูงใจเป็นค่าตอบแทนที่สูงกว่าภาครัฐ เช่น จ่ายเงินเดือนตามความรู้ความสามารถ มีโบนัส มีสวัสดิการต่างๆ มีเงินสนับสนุนให้พนักงานอบรมดูงานต่างประเทศเพื่อพัฒนาตนเอง มีการท้าทายถ้าองค์กรมีกำไรเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้มีการจ่ายโบนัสเพิ่มขึ้น ถ้าบุคลากรมีความสามารถเจริญเติบโตในหน้าที่การงานเร็ว มีเส้นทางเจริญเติมโตในสายงานที่เห็นชัดเจนโดยไม่คำนึกถึงอายุ ส่วนภาคราชการก็พยายามทำตามภาคเอกชนแต่ก็ยังไม่เห็นเด่นชัด เช่นการรับข้าราชการพันธ์ใหม่เป็นต้น แต่ก็ยังติดกรอบระบบราชการ ติดกรอบระบบอาวุโสในการทำงาน ติดกรอบอายุ จึงเห็นว่าภาคราชการควรจะนำระบบภาคเอกชนมาปรับใช้มากขึ้น

การผสมผสาน (Hybrid) แนวความคิดทางด้านการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

แนวทางการบริหารงานทั้งของภาครัฐและเอกชนต่างก็มีส่วนที่ดีของตนเอง รวมทั้งเป้าหมายที่เหมือนกันคือความยั่งยืน หากส่วนราชการสามารถนำข้อดีของทั้งสองหน่วยงานมาผสมผสานกันให้เหมาะสมก็น่าที่จะพัฒนาไปสู่ High Performance Organization ได้

แต่เนื่องจากปัจุบันในระบบราชการ ยังมีข้อที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอยู่หลายประการ อาทิ กฎระเบียบ ข้อบังคับ ซับซ้อน ไม่ยืดหยุ่น ไม่ทันสมัย ระบบการตรวจสอบต่างๆที่รัดกุม หรือสายการบังคับบัญชาที่มากเกินไป ดังนั้นจึงควรปรับปรุงข้ออุปสรรคดังกล่าวให้ลดน้อยลงไป ซึ่งอาจจะใช้วิธีการแบบค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ เพื่อให้ข้าราชการมีการปรับตนเอง ปรับแนวความคิด หรือวัฒนธรรมองค์กรให้มากที่สุด และในขณะเดียวกันควรที่จะส่งเสริมและสนับสนุนส่วนที่ดีที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งที่เป็นแบบอย่างที่ดีในภาคเอกชน มาบูรณาการไปพร้อมกัน เช่น ผู้นำต้องมี Integrity มีการรักษาคำพูด ให้เกียรติผู้อื่น ตรงต่อเวลา เตรียมผู้สืบทอดอย่างเป็นระบบและเที่ยงธรรม องค์กรต้องปรับตนเองให้มีความยืดหยุ่น จัดให้มีการสร้างกิจกรรม แรงจูงใจ เพื่อให้ข้าราชการดึงศักยภาพตนเองออกมาใช้ให้เต็มที่ ใฝ่เรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ถึงแม้ว่าอาจจะใช้เวลานานแต่หากไม่เริ่มก็จะไม่มีวันสำเร็จ

กลยุทธ์ Hybrid ที่นำด้วย IT และ คน

องค์กรส่วนใหญ่จะดำเนินการจัดการความรุุ้ในองค์กรโดยเลือกการทำ KM องค์กรในภาครัฐเริ่มเข้าสู่วงจรแห่งความล้มเหลวเพราะความสำเร็จของการทำ KM จะถูกวัดโดยตัวชี้วัด ซึ่งส่วนมากกำหนดเป็น "จำนวน" Information ที่ได้จัดเก็บเป็น Knowledge Base แต่ไม่มีกระบวนการสร้างบรรยกาศและส่งเสริมให้คนเข้ามาร่วมปันความรู้ องค์กรที่ประสบความสำเร็จจะมีการวางระบบ IT และจัดเก็บ Information ซึ่งเป็นฐานความรู้ที่ง่ายต่อการสืบค้นและนำไปใช้งาน องค์กรเหล่านี้จะมีการดำเนินการควบคู่กับการดำเนินการด้าน "คน" ส่งเสริมการปันความรู้ "Sharing" การจัดการ KM โดยใช้กลยุทธ์แบบ Hybrid จะเชื่อมโยง Information หรือ content กับ คน ให้เกิดการสร้าง การจัดเก็บ การปันความรู้ และการนำความรู้ไปใช้งาน

Hybrid - นวัตกรรมการผสมผสานระหว่างภาคเอกชนกับรัฐบาล

อาจกล่าวได้ว่า  การที่รัฐให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการดำเนินกิจการของรัฐเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การให้สัมปทาน กล่าวคือเป็นการผสมผสานจุดแข็งระหวางภาครัฐและเอกชน โดยการลดขอจํากัดดานเงินทุน และชวยเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินงาน การร่วมงานระหว่างภาครัฐและเอกชนก็เป็นเสมือนการควบรวมกิจการ (merger) โดยที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องแบ่งรับความเสี่ยงตามความเหมาะสมและจะได้รับประโยชน์ร่วมกันจากการที่สามารถดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น....

Hybrid การผสมผสานการบริหารราชการกับภาคเอกชน ดังนี้

- ลดขั้นตอนสายการบังคับบัญชาของระบบราชการไทย ให้กระชับเพื่อการ

ปฏิบัติงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเช่นเดียวกับเอกชน

- เปลี่ยนวัฒนธรรมในองค์กรแบบเดิมที่ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรอรับคำสั่งหรือทำ

ตามคำสั่งเพียงอย่างเดียว โดยต้องเปิดโอกาสให้มีการแสดงความเห็นเพื่อการปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ Shared Vision และ Shared Value ร่วมกันในองค์กร

การร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน (Hybrid) คือ

การบริหารงานทั้งของภาครัฐและเอกชนที่ร่วมมือกันพัฒนาบุคลากรเพื่อนำไปสู่ High Performance Organization ได้แก่ การที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติ เห็นความสำคัญของบุคลากรภายในองค์กรว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าควรได้รับการพัฒนาอยางต่อเนื่อง จึงร่วมมือกับภาคเอกชน นำโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ/ประธานที่ปรึกษา Chira Academy ในนามบริษัท เอเชียแปซิปิคคอนซัลแตนท์ จำกัด จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “พัฒนาทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ” (Talented Capital Development Program) เพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านบุคลากรไว้รองรับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวได้ดำเนินการมาแล้วเป็นรุ่นที่ 2

การร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน (Hybrid) คือ

การบริหารงานทั้งของภาครัฐและเอกชนที่ร่วมมือกันพัฒนาบุคลากรเพื่อนำไปสู่ High Performance Organization ได้แก่ การที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติ เห็นความสำคัญของบุคลากรภายในองค์กรว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าควรได้รับการพัฒนาอยางต่อเนื่อง จึงร่วมมือกับภาคเอกชน นำโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ/ประธานที่ปรึกษา Chira Academy ในนามบริษัท เอเชียแปซิปิคคอนซัลแตนท์ จำกัด จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “พัฒนาทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ” (Talented Capital Development Program) เพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านบุคลากรไว้รองรับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวได้ดำเนินการมาแล้วเป็นรุ่นที่ 2

Hybrid

ความมั่นคงของประเทศ เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของคนทุกคนในสังคม และทุกหน่วยงาน เราต้องปลูกฝังจิตสำนึก หรือค่านิยมร่วม ให้ตระหนักถึงปัญหาภัยคุกคามต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และให้ทุกคนทุกหน่วยงานต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องปรับเปลี่ยนแนวความคิด และบทบาท ว่าไม่ใช่หน้าที่ของตัวเองโดยลำพัง ต้องเป็นผู้ที่มีบทบาทในการดึงทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบ นำพลังอำนาจของชาติทุกด้านออกมาใช้ โดยเฉพาะคนเก่ง คนดี ของสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนราชการ หรือเอกชน เราต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน เพิ่มช่องทางที่จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วม ทั้งในกระบวนการทำงานและการกำหนดทิศทางในปัญหาภัยความมั่นคงของประเทศ

Hybrid เป็นแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐ ที่ผสมผสานระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อให้การปฏิบัติงานของภาคราชการมีความคล่องตัวและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น โดยการนำจุดเด่นของภาคเอกชนมาประยุกต์ใช้เพื่อเติมเต็มในส่วนของภาครัฐ อาทิ ขั้นตอนการทำงานของภาครัฐที่มีความยุ่งยากหลายขั้นตอน กรอบแนวคิด กฎระเบียบต่างๆ รวมทั้งการทำงานที่สนุกและมีความสุขเหมือนอยู่ในครอบครัวเดียวกัน อีกทั้งต้องมีการเสริมสร้างพัฒนาทรัพย์กรมนุษย์อย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างทักษะ ความมั่นใจ และเกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี

การผสมผสาน ( Hybrid) การทำงานของภาครัฐและภาคเอกชน

ปัจจุบันภาคเอกชน มีการจ้างผู้เชี่ยวชาญมา Coaching ผู้บริหาร และพนักงาน เพื่อดึงศักยภาพของทุนมนุษย์ที่มีอยู่ออกมาใช้อย่างเต็มที่ ซึ่งเมื่อตัวเองรู้ว่าตัวตนที่แท้จริงเป็นอย่างไร มีศักยภาพความสามารถเป็นอย่างไร การทำงานเพื่อไปสู่ความสำเร็จก็ง่ายขึ้น ในเรื่องนี้ภาครัฐยังไม่มี แต่อาจนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยให้หัวหน้างาน ทำหน้าที่ในบทบาทเป็นผู้สอนงาน ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องในการทำงาน ให้กับลูกน้อง มากกว่าที่จะเป็นผู้ออกคำสั่งอย่างเดียว นอกจากนี้ ก็ต้องสนใจศึกษาศักยภาพในตัวของลูกน้อง เพื่อดึงมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเพื่อจัดให้ทำงานในตำแหน่งที่ตรงกับความรู้ ความสามารถของเขา ซึ่งจะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น

องค์กรภาคเอกชนต้องกระตือรือร้นติดตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงจึงจะดำรงอยู่ได้ เพราะมีการแข่งขันสูง บุคลากรก็จะต้องมีการพัฒนาให้ชำนาญ มีการหมุนเวียนงาน เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง และภาคเอกชนจะต้องรู้ว่าลูกค้าหรือตลาดต้องการอะไร จึงต้องมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ขณะที่ภาครัฐ การแข่งขันไม่สูง แต่ จนท. ควรมีความกระตือรือร้น ศึกษาหาความรู้ พัฒนาตนเอง เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง องค์กรต้องสนับสนุนการพัฒนาคน เมื่อคนมีคุณภาพ องค์กรก็จะมีพลัง สามารถไปแข่งขันกับองค์กรอื่นได้ และกลายเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ

Hybrid

องค์กรภาครัฐและเอกชนมีเป้าประสงค์ที่แตกต่างกัน ภาคเอกชนมีเป้าประสงค์คือผลกำไร คิดเป็นเป็นมูลค่า ส่วนองค์กรภาครัฐ เป้าประสงค์คือการดำเนินการตามนโยบายที่วางไว้จนประสบความสำเร็จ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการพัฒนาคนให้มีศักยภาพ มีความรู้ ความสามารถ เพื่อปฏิบัติงานให้ได้ตามเป้าประสงค์ การทำให้องค์กรประสบความสำเร็จนั้น จะต้องมีการเรียนรู้อยู่อย่างต่อเนื่อง

ปลุกจิตรสำนึกให้ภักดีต่อองค์กร สร้างขวัญกำลังใจ การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นจะช่วยให้การทำงานเป็นทีมประสบความสำเร็จ การอยู่ร่วมกันแบบพี่น้อง ลดช่องว่างระหว่างกัน จากลูกจ้างกับนายจ้าง จากหัวหน้ากับลูกน้อง มาเป็นเพื่อนร่วมงานในองค์กร

เดียวกัน พร้อมที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปสู้ความสำเร็จร่วมกัน

การผสมผสาน (Hybrid) ข้อดีของภาคเอกชนเข้ากับภาคราชการเพื่อสร้าง HPO ขององค์กร นั้น เห็นได้ว่ามนุษย์ยังเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้องค์กรมี HPO ในขณะที่ภาคเอกชนให้ความสำคัญส่งเสริมการลงทุนด้านทุนมนุษย์ (Human Capital) อย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ในระยะยาว แต่ภาคราชการยังมีปัญหาด้านงบประมาณในการลงทุนด้านทุนมนุษย์ จึงจำเป็นที่ภาคราชการต้องยืดหยุ่นกฎระเบียบเพื่อเปิดโอกาสให้สามารถพัฒนามนุษย์ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น นอกจากนี้ ทฤษฎี 3 วงกลมของท่านอาจารย์จีระก็มีส่วนสำคัญที่ภาคราชการจะนำมาพัฒนาองค์กรเพื่อนำไปสู่ HPO เช่น การสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง

อรรถกร

การสร้าง สขช.ให้เป็นองค์กร HPO ในบริบทของการผสมผสานระหว่างภาคราชการและเอกชน คือการดึงข้อดีของภาคราชการเช่น เน้นการทำงานเป็นทีมและความสร้างสำเร็จร่วมกัน สำหรับในส่วนของภาคเอกชนคือการดึงศักยภาพในตัวเองออกมาและความสร้างความสมดุลย์ระหว่างความสุขในครอบครัวกับการทำงานซึ่งจะเป็นสิ่งที่ควบคู่กันไปเพื่อให้เรามีพลังส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งหากเรานำข้อดีของทั้ง 2 ภาคส่วนมาผสมผสานกันเพื่อปรับใช้กับ สขช.จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อองค์กรสูงสุด

http://wiki.answers.com/Q/What_is_the_definition_of_integrity

What is the definition of integrity?

Answer

In my own words I would say that INTEGRITY is, A very nice balance of self respect and confidence.,,,, Jamison.

Answer

Integrity comes from the Greek words 'integritas' and 'integra' meaning whole. It enters into any aspect of one's life. It's belief system without faltering no matter how dangerous, how unpopular the person makes themselves to others. It includes: sincerity, keeping one's word and agreements, honesty, truthfulness, ethics, fairness and justice, punctuality and never faltering for what one believes in. A quote regarding integrity is 'It is better to have an enemy who keeps his word, than a friend who does not.'

Answer

Keeping your good name/ character (assuming that it is good).

Answer

Most definitely as the answer above, in addition, integrity is having values, being consistent with one's values or belief system, not wavering due to outside influences, standing strong in how one should live and believe.

ANSWER

ALWAYS DOING THE RIGHT THING EVEN WHEN YOU KNOW NO ONE ELSE IS LOOKING.

Answer

Integrity refers to wholeness as a human being. It means that you have developed into a person whose thoughts, words, and actions are congruent, and therefore do not conflict with each other. In the exercise of your free will, your decisions reveal any degree of disorder in your soul. To the extent that you have brought every aspect of your self into harmony, you can be trusted to live according to your convictions. Although some contend that these convictions are completely individual and can vary widely from person to person, this would mean that even selfish or cowardly people could be said to have integrity. To the contrary, I believe that well-considered convictions tend toward universal guiding principles that approach ultimate truth, which is both simple and complex simultaneously. For example, "treat another person as you would want to be treated if that were you, taking into account the dignity that person has as an autonomous human being who has a right to determine his or her own course in life." Decisions can be difficult to reach for the concrete, unique, day-to-day circumstances in which we are asked to apply abstract priciples. That is why exercising prudent judgment is the ultimate skill in living the good life--doing the right thing, in the right way, at the right time, for the right reason. Immature individuals have not integrated what life teaches, and remain focused on apparent goods instead of the true goods that the phenomenon of existence offers. They live a disordered life, not a life of integrity. This leads to my definition: Integrity--a life in which thoughts, words, and actions are congruent and conform to ethical principles.

Integrity has two definitive answers.

1.Integrity as a human shows that you fulfill the requirements needed to feel happy, secure in what you do, and hold yourself in good stature. *you are a man of your word which allows others to come for an opinion*

2. in computers, integrity of information has to deal with how secure and reliable is the data on your system. this could mean that you have provided secure measures in backups, security concerns, and what the likliness is that your data will be there when

you need it most.

~Laz~

• ข้อเสนอแนวคิดการเป็น High Performance Organization (HPO) ของ สขช. ที่ใช้การบริหารจัดการแบบผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

- Hybrid คือ การผสานระหว่างสองสิ่งเข้าร่วมกันให้เป็นหนึ่งเดียว ในปัจจุบันเริ่มมีการนำแนวคิดแบบ Hybrid มาใช้มากขึ้น ซึ่งไม่จำกัดวงเฉพาะในอุตสาหกรรมรถยนต์ ดังเช่นที่เราเคยจะได้ยินเรื่องเครื่องยนต์ระบบ Hybrid ที่เป็นเครื่องยนต์ลูกผสม โดยเทคโนโลยีหลักของระบบไฮบริด คือ การผสานการทำงานระหว่างเครื่องยนต์สันดาปภายในกับมอเตอร์ไฟฟ้า

- ด้านกล้องถ่ายรูป เช่น บริษัท แคนนอน อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จในการคิดค้นเทคโนโลยีล่าสุด ระบบป้องกันภาพสั่นไหวออพติคอล ระบบไฮบริด (Hybrid IS: Hybrid Image Stabilizer) ได้เป็นรายแรกของโลก ซึ่งระบบ Hybrid IS นี้ช่วยลดการสั่นไหวของกล้องได้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

- ส่วนอุตสาหกรรมด้านคอมพิวเตอร์ บริษัท MSI ได้เปิดตัว Hybrid Netbook ที่ผสมระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบ Solid State Drive (SSD) และ Hard Drive เข้าด้วยกัน พร้อมทั้งการประหยัดพลังงานด้วยระบบ Hybrid Storage Technology ที่สามารถปิดการทำงานของ Hard Drive และใช้เก็บไฟล์ไว้ที่ SSD

- นอกจากนี้ ในระบบการศึกษาก็มีการนำแนวคิดแบบ Hybrid มาใช้เช่นกัน โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้พัฒนาการเรียนการสอนผ่านระบบ UTCC Hybrid Learning สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นการผสานระบบอีเลิร์นนิ่ง (E-Learning) เข้ากับการเรียนการสอนในห้องเรียนที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนในชั้นเรียนและอาจารย์

- ดังนั้น เพื่อให้ สขช.เป็น High Performance Organization ควรปรับการบริหารจัดการภายในองค์กร โดยส่งเสริมบุคลากรภายในองค์กร (People) ให้มีค่านิยม (Value) ในการทำงานเป็นทืมให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานเป็นทีมแบบข้ามสายงาน (Cross Functional) ซึ่งจะเป็นการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ (Learning Culture) อีกรูปแบบหนึ่งให้เกิดขึ้น เพื่อให้เกิด High Performance Team ขึ้นภายในองค์กร โดยจะนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ได้ เนื่องจากบุคลากรจะสามารถบอกได้ถึงพฤติกรรมขององค์กรได้ว่าจะเป็นแบบใด

- อย่างไรก็ดี ก็นำการบริหารจัดการแบบภาคเอกชนเข้ามาผสม โดยการเพิ่ม Share Vision ภายในองค์กร เพื่อให้บุคลากรทุกคนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการทำงานขององค์กรร่วมกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นจากการทำงาน อีกทั้งนำระบบการสอนงาน (Coaching) เข้ามาเสริม โดยต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง มิใช่ทำเฉพาะช่วงระยะเริ่มต้นของการเข้ามาทำงานในองค์กร ขณะเดียวกัน การนำระบบการเป็นที่ปรึกษา (Consulting) มาใช้ โดยให้ผู้บริหารทุกระดับเป็นผู้ดำเนินการ ก็จะช่วยให้บุคลากรรู้สึกว่าการทำงานของตนจะดำเนินไปอย่างถูกทิศทาง และตรงกับเป้าหมายขององค์กรมากขึ้น

(Hybrid) ของภาครัฐและภาคเอกชน

ภาคเอกชนมีการเปิดกว้างให้บุคลากรแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ โดยการควบคุมแต่น้อย และให้อิสระในการทำงานอย่างกว้างขวาง ตรงข้ามกับภาครัฐที่มีกฎ ระเบียบ ข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่กำหนดให้บุคลากรต้องดำเนินการตามแนวทางที่วางไว้อย่างเคร่งครัด

การสร้างนวัตกรรมการทำงานในรูปแบบใหม่ ที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยพยายามคิด ออกแบบ สรรหา วิธีการทำงานเพื่อลดขั้นตอน และประหยัดเวลา รวมทั้งได้ผลผลิตของงานเพิ่มมากขึ้น เป็นสิ่งที่หัวหน้าหน่วยงานภาครัฐควรตระหนักและสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดขึ้นในองค์กรของตน เช่น one stop service เป็นต้น

ข้อเสนอแนวคิดผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

- การจัดการความรู้ KM (Knowledge Management) ในภาคราชการมุ่งให้ความสนใจจัดการความรู้โดย IT

ซึ่งอาจทำให้การจัดการความรู้ยังไม่ได้ผลดีนัก จึงต้องมีการปรับปรุงให้การจัดการความรู้ในภาครัฐต้องมีการ

Hybrid กับแนวความคิดของภาคเอกชน ซึ่งจะเชื่อมโยง "Information หรือ Content" กับ "คน" ให้เกิดการสร้าง

การจัดเก็บ การปันความรู้และการนำความรู้ไปใช้งานให้เกิดขึ้นจริงในองค์การ เพราะหากเน้นด้าน IT เพียงอย่างเดียว

แต่ “คน” ไม่มีความสนใจใผ่รู้ การจัดการความรู้ภายในองค์การก้อาจล้มเหลวไม่เป็นท่า ดังนั้น จึ้งต้องมีการ Hybrid

แนวความคิดและวิธีการดำเนินการจัดการความรู้จากภาคเอกชนเข้ามาเป็นแบบอย่างในการจัดการความรู้ เพื่อให้เกิด

การพัฒนาเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง

แนวคิดในการนำแนวทางการทำงานของภาคเอกชนมาผสมผสานกับแนวทางการทำงานขององค์กรนั้น อาจเป็นไปได้ หากแนวทางนั้นไม่ต้องใช้เงินเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากองค์กรภาครัฐจะมีความจำกัดในเรื่องงบประมาณเป็นอย่างมาก หากทำอะไรที่มีผลกระทบต่องบประมาณ ความเป็นไปได้อาจมีน้อย อย่างไรก็ตาม เห็นว่าที่น่าสนใจ คือ แนวทางการทำงานที่สั้น กระชับ และรวดเร็ว เนื่องจากภาคเอกชนจะมีกระบวนการทำงานที่สั้น กระชับ ทำให้บรรลุผลสำเร็จของงานในเวลาอันรวดเร็ว ขณะที่องค์กรมีลำดับการผ่านงานที่ละเอียด หลายขั้นตอน ทำให้ต้องใช้เวลามากกว่างานจะสำเร็จลุล่วง ซึ่งหากสามารถลดขั้นตอนการทำงานให้มีความกระชับขึ้น โดยยังอยู่บนพื้นฐานของความละเอียด ถูกต้อง ก็จะทำให้งานสำเร็จได้โดยไม่ต้องใช้เวลามาก สามารถนำไปสู่ผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ทันสถานการณ์ และอาจรวมถึงการได้ปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นด้วย

การเป็น High Performance Organization (HPO) ของ สขช. โดยใช้แนวคิด Hybrid จากค่านิยมขององค์กรที่เน้นการทำงานฉันท์พี่น้อง หัวหน้างานควรปรับเรื่องการควบคุมสั่งการให้น้อยลง วิเคราะห์ลูกน้องแต่ละคน put the right man in the right job รู้ว่าคนไหนต้องให้งานแบบไหน ดึงความรู้ความสามารถของลูกน้องแต่ละคน ให้อิสระลูกน้องในการทำงาน เพื่อให้เขาเกิดความภูมิใจ เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของงาน ขณะเดียวกันต้องเพิ่มการ coaching ให้คำแนะนำ รวมทั้งติดตามการทำงานเพื่อทราบปัญหาและเสนอทางแก้ไขด้วย เพื่อให้ลูกน้องรู้สึกว่าหัวหน้าดูแลเอาใจใส่ และยอมรับความสามารถของตนเอง เป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ให้มีความกระตือรือร้นในการทำงานยิ่งขึ้น

แนวคิด Hybrid

แนวคิดในการบริหารงานเอกชนของคุณอนุรัตน์ที่น่าจะนำมาปรับใช้ใน สขช.ได้ คือ การดึงสมาชิกในองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนทัศนะเพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายร่วมของคนในองค์กร รวมทั้งการแลกเปลี่ยนกับ Stakeholder รับฟังข้อบกพร่องและรับทราบความต้องการ เพื่อปฏิบัติงานได้อย่างมีเป้าหมายตรงความต้องการ นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม โดยอาจสร้างเป็นค่านิยมใหม่ขึ้นมา เพื่อให้การทำงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และสามารถทำงานข้ามสายงาน หรือทำงานแทนกันได้ อีกทั้งจำเป็นต้องลดขั้นตอนการทำงานให้มีความคล่องตัว โดยใช้กฎระเบียบที่มีอยู่เป็นแนวทาง ซึ่งการนำมาปรับใช้อาจต้องใช้ระยะเวลาเพราะข้าราชการอาจยังไม่คุ้นเคย จึงจำเป็นต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง

การผสมผสานข้อดีระหว่างภาครัฐและเอกชน (Hybrid)

ภาคราชการควรให้ความใส่ใจเรื่องวัฒนธรรมองค์กรมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการสร้างบรรยากาศในการทำงานฉันท์พี่น้อง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนมีความสุขในการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีตามมาทั้งด้านผลงาน และด้านจิตใจ

แรงบันดาลใจได้รับจากเรียน 8 วัน

ตนเอง

1. ทำให้เกิดความคิดที่จะสำรวจตัวเองและงานที่ทำอยู่เพื่อตั้งเป้าหมายในการทำงานให้ตรงกับเป้าหมายองค์กร และทำงานเชิงรุกมากขึ้น

2. จุดประกายให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาตนเอง และการปรับทัศนคติในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

3. ได้รู้จักเพื่อนต่างสำนัก/กอง ที่จะสามารถเป็นเครือข่ายในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต

องค์กร

1. จุดประกายให้เกิดการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ เพื่อที่จะนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป

2. สร้างทัศนคติเชิงบวกให้เกิดขึ้นกับคนในองค์กร ให้พัฒนาตนเองไปสู่การเป็นคนเก่งและดี มีคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน

3. ปลูกฝังคุณสมบัติการเป็นผู้นำ เพื่อสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้น นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จและได้รับการยอมรับจากรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชน

ประเทศชาติ

1. เห็นคุณค่าในการพัฒนาตนเอง

2.การสร้างทุนมนุษย์ที่มีความรู้ จริยธรรม

3.การสรรหาผู้นำประเทศควรคำนึงถึงคุณสมบัติในการเป็นผู้นำที่ดี เช่น มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศอย่างมีทิศทางและเป็นระบบ

ถึงลูกศิษย์ทุกท่าน

ขอขอบคุณสำหรับการบ้าน ผมได้อ่านทั้ง 2 เรื่อง ที่ทุกคนส่งมาแล้ว การวิเคราะห์ภาษาอังกฤษมีประโยชน์ต่อทุกคน การตอบคำถามก็ทำกันได้ดีครับ

การผสมผสาน (Hybrid) ข้อดีของภาคเอกชนกับภาครัฐเพื่อสร้าง HPO ขององค์กร นั้น เห็นได้ว่ามนุษย์ยังเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้องค์กรมี HPO ในขณะที่ภาคเอกชนให้ความสำคัญส่งเสริมการลงทุนด้านทุนมนุษย์ (Human Capital) อย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ในระยะยาว แต่ภาครัฐยังมีปัญหาด้านงบประมาณในการลงทุนด้านทุนมนุษย์ จึงจำเป็นที่ภาครัฐต้องยืดหยุ่นกฎระเบียบเพื่อเปิดโอกาสให้สามารถพัฒนามนุษย์ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการแบบภาคเอกชนเข้ามาผสม โดยการเพิ่ม Share Vision ภายในองค์กร เพื่อให้บุคลากรทุกคนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการทำงานขององค์กรร่วมกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นจากการทำงาน อีกทั้งนำระบบการสอนงาน (Coaching) เข้ามาเสริม โดยต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง มิใช่ทำเฉพาะช่วงระยะเริ่มต้นของการเข้ามาทำงานในองค์กร ขณะเดียวกัน การนำระบบการเป็นที่ปรึกษา (Consulting) มาใช้ โดยให้ผู้บริหารทุกระดับเป็นผู้ดำเนินการ ก็จะช่วยให้บุคลากรรู้สึกว่าการทำงานของตนจะดำเนินไปอย่างถูกทิศทาง และตรงกับเป้าหมายขององค์กรมากขึ้น

สรุป Learning Forum หัวข้อ สำนักข่าวกรองแห่งชาติในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2553

  • ผมเกี่ยวข้องกับข่าวกรอง
  • คนฉลาดเห็นความเหมือนภายใต้ความแตกต่าง
  • คนมี Mindset แบบ Mechanic และ Organic พวก Organic วิเคราะห์ข้อมูลได้ละเอียดกว่า

  • ต้องเปลี่ยนโลกทัศน์เป็นเน้น Speed และ Global
  • โลกปัจจุบัน เราต้องการมนุษย์พันธุ์ Blue Ocean มองแป๊บเดียวแต่เห็นทั้งโลก
  • ปัญหาจากระบบการศึกษาทำให้คนเปลี่ยน Mindset ลำบาก
  • กระบวนการข่าวกรอง

  • ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจปี 1997 เป็นเพราะเชื่อว่า อัตราแลกเปลี่ยนไม่เปลี่ยนแปลง
  • ข่าวกรองพลาดตรง Input ต้องดูที่มาข้อมูล
  • บางทีได้รับข้อมูลมากเกินไป ยกเว้นเรื่องที่จำเป็นต้องรู้ทำให้เป็นโรค Information Overflow Knowledge Overload (IOKO)
  • ควรตัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับเราออกไปให้หมด
  • ควรจัดลำดับความสำคัญของเวลาในการทำแต่ละสิ่งให้ดี
  • มนุษย์พันธุ์ใหม่ของข่าวกรองต้องรู้ว่าข้อมูลไหนสำคัญและข้อมูลไหนสำคัญมาก (ระดับกลยุทธ์) ใช้ข้อมูล 10% แต่เห็นภาพมาก
  • กฎพาเรนโต้บอกว่า คนฉลาดใช้เวลา 5% ครอบคลุมงานทั้งหมด มนุษย์พันธุ์ใหม่ของข่าวกรองต้องเป็นแบบนี้
  • ไม่ควรรอข้อมูลจากราชการฝ่ายเดียวเพราะมันช้า
  • ในการวิเคราะห์ข่าว อาจจะนำ output ใส่เข้าไปใน process ใหม่ก็ได้
  • ต้องรู้จักมององค์รวมโดยพัฒนาวิทยาศาสตร์
  • วิธีการเรียนแบบฉลาด ต้องไม่เครียด ไม่ต้องเชื่ออาจารย์ทั้งหมด แสดงความคิดเห็นออกมาได้โดยเสรี ช่วยกันคิดหาสิ่งใหม่ๆ
  • การมองอดีตทำให้มองอนาคตได้ จะเห็นได้จากเมื่อมอบหมายให้ลูกน้องไปสำรวจป่า คนหนึ่งไปเดินป่าสำรวจใช้เวลา 5 ปี อีกคนขึ้นเฮลิคอปเตอร์สำรวจป่าใช้เวลา 1 ชั่วโมง ส่วนอีกคนเข้า Google ใช้เวลา 5 นาทีเพื่อสำรวจป่า คนที่ใช้เวลา 5 ปีจะมีปัญหาระบบคิด มองอะไรแบบแยกส่วน คนที่ใช้เวลา 1 ชั่วโมงมีความสามารถในการมองภาพรวม ส่วนคนที่ใช้ Google สามารถมองภาพรวมได้ในเวลาอันรวดเร็ว และไม่ใช่เห็นได้แค่ป่าเดียว ถ้าเขามีเวลามากขึ้นเขาก็จะได้เห็นอะไรมากขึ้นและมีข้อมูลมากขึ้น
  • ต้องใช้ดุลยพินิจก่อนจะเชื่ออะไร
  • คนฉลาดพยายามค้นหาตำแหน่งลูกค้า และเข้าไปได้ใกล้ที่สุด นี่คือการคิดที่เป็นระบบ
  • คนฉลาดจะไม่ทุ่ม 100% เพราะอาจจะพลาดได้
  • บางทีมีข้อมูลน้อยแต่ชนะคนที่มีข้อมูลมากเพราะข้อมูลแต่ละอย่างมีน้ำหนักความสำคัญไม่เท่ากัน
  • ไม่ควรคิดแทนลูกค้า
  • เวลาศึกษาคน ต้องศึกษาอดีตและข้อมูลเกี่ยวกับตัวเขาแล้วหาความเหมือนในความแตกต่าง

 

สรุป Learning Forum หัวข้อ Blue Ocean กับการทำงานของสำนักข่าวกรอง

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2553

  • Blue Ocean คือการทำสิ่งใหม่ๆที่ยังไม่มีใครทำ มองเห็นกลุ่มลูกค้าที่คนอื่นมองไม่เห็น
  • จุดเปลี่ยนแปลงที่ต้องเห็นก่อนคือ เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที)

  • คอมพิวเตอร์ให้ทั้งความลึก ความเร็วและมัลติมีเดีย
  • คนจะฆ่ากันตายเพราะทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ค นี่เกี่ยวข้องกับ Intelligence และเป็น Blue Ocean ที่ข่าวกรองต้องให้ความสนใจ
  • คนฉลาดจะหลีกเลี่ยงทฤษฎีเกมศูนย์ (Zero Sum Game) มีผลแพ้-ชนะ มีที่มาจากการเล่นหมากรุก (Think forward and work backward คิดก่อนแล้วค่อยทำ) แต่จะใช้ก็ต่อเมื่อว่ามั่นใจว่าจะชนะ หรือรู้ว่า ต้องแพ้แต่ขอแพ้แบบสู้
  • ถ้าตัดสินใจเป็นกลุ่ม จะตัดสินใจแบบมีเหตุมีผลกว่าเพราะมีการประชุมกัน
  • อย่าให้การชนะการเจรจาระยะสั้นทำลายผลระยะยาว
  • คนฉลาดไม่เลือกการสมานฉันท์เป็นทางออกอันดับแรก เพราะรู้ว่ามีทางออกอื่นอีก
  • ต้องรู้จักประเมินอำนาจต่อรองและข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม
  • จะเกิดสิ่งตรงกันข้ามที่ไปด้วยกัน (Creative Destruction) มีสิ่งใหม่ๆ เกิดเร็วมาทดแทนของเดิม ซึ่งใช้ไอที และการข่าวก็ต้องเกี่ยวข้องกับไอทีจึงต้องปรับตัว
  • ไอทีทำให้เกิดการก่อการร้ายแบบใหม่ อาชญากรรมการเงินซึ่งข่าวกรองจะต้องสนใจ

  • โลกาภิวัตน์ทำให้เกิดการขยายตัวของข้อมูลข่าวสาร ทุนนิยม NGOs สิทธิมนุษยชน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน

  • วิธีการของข่าวกรองต้องเปลี่ยนไปเพราะได้รับผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ NGOs และชนกลุ่มน้อยเรียกร้องสิทธิ
  • ข่าวกรองต้องมี mindset ใหม่ๆ ข้อมูลใหม่ๆและวิธีการใหม่ๆขึ้นมารองรับ บุคลากรต้องปรับตัว

หวัดดีครับเพื่อนๆทุกคน ขอเข้ามาทักทายกันหน่อยนะ หลังจากเลิกเรียนแยกย้ายกันกลับบ้านกลับช่อง วันนี้ก็ได้ประโยชน์จากการเรียนวิชาจากท่าน อ.สมชาย เป็นอย่างมาก แต่ช่วงบ่ายก็มีอาการง่วงนิดหน่อย อ.สมชายท่านมีวิธีการสอนและถ่ายทอดดีมากนะ ทำให้เห็นภาพและเป็นรูปธรรมดีนะ เพื่อนๆว่ามัย ถ้าคิดตามแกทันนะ เพราะบางทีคิดตามแกไม่ทัน สงสัยว่าบางเรื่องเรายังเป็นพวกมนุษย์พันธ์แรกอยู่เลยตามแกไม่ทัน พอจะทันแกไปเรื่องใหม่เสียแล้ว เสียดายเวลาน้อยไปหน่อย อยากเป็นมนุษย์พันธ์ที่สอง จัง องค์กรเราจะได้พัฒนาไปได้เลิศๆๆ บายบ๊ายๆๆ

วิเคราะห์เปรียบเทียบ จำนวนผู้อ่าน และผู้แสดงความเห็นใน blog ของรุ่น 1 และรุ่น 2

รุ่นหนึ่ง วันที่ 5 พ.ย. 2552 -17 พ.ย 2553 จำนวนผู้แสดงความเห็น 1,098 ราย จำนวนผู้อ่าน 8,812 ราย

รุ่นหนึ่ง วันที่ 5-27 พ.ย. 2552 (ระหว่างการอบรม) จำนวนผู้แสดงความเห็น 587 ราย จำนวนผู้อ่าน ไม่ทราบจำนวน

รุ่นสอง วันที่ 3-17 พ.ย. 2553 (เหลือวันอบรมอีก 3 วัน) จำนวนผู้แสดงความเห็น 421 ราย จำนวนผู้อ่าน 2,356 ราย

ตัวเลขนี้บอกอะไรกับรุ่น 2 ครับ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

Information Technology ยุคโลกาภิวัตน์ ข้อมูลข่าวสารมีมากหลายมิติ ทั้งลึกทั้งกว้าง และไม่หยุดให้เราก้าวทัน

การบริโภคข้อมูลมากเกินไปอาจทำให้กลายเป็นโรค IOKO - information overflow knowledge overload ความสำคัญอยู่ที่การเลือกรับบริโภคข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อมูลเชิงกลยุทธ์หรือข้อมูลที่จำเป็นจริงๆ ส่วน

ความท้าทายอยู่ที่การวิเคราะห์้และมองไปข้างหน้า ที่สำคัญคือจะ Take Action อย่างไรต่อข้อมูลกลยุทธ์เหล่านั้น

หัวข้อบรรยาย ของ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ในวันนี้สำคัญกับท่านมากครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับท่านโดยตรง คุณจิตรลดา ได้ทำสรุปไว้ให้แล้ว ความจริงช่วงบ่าย เป็นช่วงที่ท่านชี้ให้เห็นว่าคนที่ได้รับข้อมูลเร็วจะได้เปรียบคนอื่น และคนฉลาดจะนำข้อมูลไปวิเคราะห์ อาจารย์สมชายยกตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลที่ทำให้อ่านเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าได้ หลังจากนั้นผู้นำก็จะต้องตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป โดยมีหลักในการตัดสินใจ Game Theory Concepts ได้แก่ การตัดสินใจว่าจะเล่นส์ไหน อาจารย์ได้ยกตัวอย่างเรื่องที่เกิดขึ้นมาและผ่านไปแล้ว และ เหตุการณ์ในปัจจุบัน ว่าทำไม่ถึงเลือกเกมส์นั้นๆ แต่ละเกมส์รู้ผลที่จะออกมา (รายชื่อเกมส์อยู่ในเอกสาร)

ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องตามไม่ทัน หลักใหญ่ๆเพียงให้เข้าใจว่า ยุคปัจจุบันเปลี่ยนไป ดังนั้นต้องเปลี่ยนวิธีการทำงาน และการเรียนรู้ให้ทันกับเหตุการณ์ เข้าใจและยอมรับ ก็ถือว่า เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีแล้วครับ ส่วนที่เหลืออยู่กับการปฎิบัติ จะค่อยๆเรียนรู้และเป็นผู้ชำนาญการได้ไม่ยากครับ สงสัยหรือไม่ทันในส่วนไหน ปรึกษาผมได้ครับ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

สวัสดี วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓ and Hello 18 Nov 2010

Tallted 2009 ครับยังไม่มีชื่อรุ่นเลย เข้ามากระตุ้นความรู้ให้ตัวเอง และช่วยเพิ่มเรตติ้งให้ Tallted รุ่น 2 ขอแสดงความคิดเห็นที่ 422 ตัวเลขไม่ใช่สิ่งที่เป็นตัววัดอย่างเดียวยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย บล็อกของ 2009 ก็นิ่งแล้วครับ แต่พวกเรามีแนวคิดที่จะสร้างสรรค์นวตกรรมใหม่อยู่ หากเป็นเพราะภารกิจอันมากมายมัดตัวของเหล่าสมาชิก จึงยังไม่สามารถคิดอะไรได้เต็มที่นัก แล้วพวกเราคงจะได้แลกเปลี่ยนความคิดกันต่อไปนะครับ ขอให้ดูดซับความรู้จากท่านอาจารย์ทั้งหลายอย่างเต็มที่ ท่าน อ.จีระฯ กรุณามอบให้ เพื่อเพิ่มพูนนำมาพัฒนาองค์กรและประเทศชาติของพวกเราให้มีความสุขความเจริญตลอดไปจร้า

 

สรุป Panel Discussion หัวข้อ การใช้ IT เพื่อการเรียนรู้ยุคใหม่

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในวันที่18 พฤศจิกายน 2553

  • ไอทีกับข่าวกรองก็เกี่ยวข้องกันมาก
  • ควรไม่จำกัดงบไอที
  • ควรไปดู Benchmark ของสก๊อตแลนด์ยาร์ด ซีไอเอ
  • ไอทีน่าจะช่วยเรื่อง Security ได้
  • ข้อมูลสำคัญของข่าวกรองควรจะเป็น Social Capital

ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์

  • ประเด็นสำคัญของการเรียนรู้คือการลงลึก ถ้าไม่ลงลึก ก็จะทำอะไรบางอย่างไม่ได้
  • เราจะเรียนรู้จากพจนานุกรมได้มาก เช่น Dictionary of New Words ของ Oxford มีคำอธิบายครึ่งหน้า พจนานุกรมที่ดีต้องมีคำอธิบายให้ยาวขึ้น
  • ต้องลงลึกให้เข้าใจหลักการของมัน หลักการเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร หลักการจัดการคืออะไร
  • ตอนนี้ ปัญหาคือเราสูญเสียความสามารถในการจำโดยเฉพาะเบอร์โทรศัพท์
  • ชื่อข่าวกรอง (Intelligence) คือความฉลาด เป็นข่าวที่กรองด้วยเหตุผล
  • โลกนี้ความรู้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทุก 10 ปี
  • ข่าวสารแพร่กระจายมากขึ้น ทุกคนสร้างข่าวออกมา ข่าวกรองสำคัญมากขึ้น ต้องอาศัยความรู้มหาศาลในการกรอง
  • ทรัพยากรมีปัญหามากขึ้น
  • มีความขัดแย้งมากขึ้น
  • กรุงเทพขยายตัวมากขึ้นและดึงดูดคนต่างจังหวัดเข้ามาทำงานมากขึ้น
  • คนไทยในภาพรวมมีความสามารถต่ำลง
  • คนไทยมีความใฝ่รู้ต่ำลง มีแต่ความฉาบฉวย อยากได้ปริญญาอย่างเดียว คนเรียนจบปริญญาตรีก็ยังทำงานไม่ได้
  • คนไทยขาดตำราภาษาไทย มีตำราภาษาอังกฤษแต่อ่านไม่ได้
  • คนไทยมีความสนใจจะทำแต่เรื่องง่ายๆเพิ่มขึ้น
  • ควรอ่านประวัติหมอเสม พริ้งพวงแก้ว ท่านบอกว่า ชีวิตที่ทำงานหนักคือชีวิตที่เจริญ
  • ประเทศไทยต้องรีบค้นหาปัญญา หาสาเหตุ หาวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
  • ประเทศไทยเน้นทุนนิยม
  • ประเทศไทยขาดศีลธรรม
  • ประเทศไทยไม่มีวิสัยทัศน์ เมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์ มีวิสัยทัศน์เป็น Singapore One เป็นอันดับหนึ่งด้านต่างๆ
  • คนไทยขาดความรักประเทศ
  • ผู้บริหารประเทศส่วนหนึ่งเป็นตัวอย่างที่เลว
  • สื่อที่เผยแพร่เรื่องที่มุ่งแต่จะสร้างรายได้ เจ้าของสื่อทำลายประเทศ ในทีวีไม่มีการนำเสนอดนตรีไทยเพราะไม่มีสปอนเซอร์
  • ขาดกฎหมายควบคุมคนเลว
  • ผู้บริหารประเทศขาดความเข้าใจปัญหาการศึกษา
  • ผู้บริหารประเทศขาดความสามารถในการบริหารจัดการศึกษา
  • ต้องเริ่มแก้ปัญหาที่ตนเอง
  • ต้องเข้าใจช่องว่างและตระหนักว่าเป็นปัญหาของประเทศ
  • สำนักข่าวกรองต้องอ่านแผนที่เป็น เพราะจะเรียนรู้จากแผนที่ได้มาก
  • คนไทยควรเรียนรู้ อ่าน เขียน เลข ไอทีและแผนที่
  • ต้องให้ลูกหลานใฝ่รู้และลงลึก
  • ต้องลงลึกรายละเอียดและขจัดความคิดที่จะทำงานอย่างฉาบฉวย
  • เรียนรู้จากงานที่ตนทำ เราเรียนรู้ได้ตลอดเวลา เช่นเรื่องปัญหา ทางแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหา ต้องมีการจดบันทึก
  • ตั้งเป้าให้งานทุกชิ้นมีคุณภาพสูง และลดข้อผิดพลาดลง เช่น
  • เขียนถูกต้อง ไม่ทำให้ผู้รับสารเข้าใจผิด
  • ทำงานตรงตามความต้องการของหัวหน้าหรือหน้าที่ที่เราทำ
  • ทำงานให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด
  • ใช้งบประมาณไม่เกินที่กำหนด
  • ใช้เครื่องมือไอทีเรียนรู้
  • ไอทีทำให้เกิดนวัตกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น
  • นำ Computer Assisted Instruction (CAI) มาเป็นอุปกรณ์ช่วยสอน แต่ต้องใฝ่รู้และบังคับตัวเอง ตอนหลังมี multimedia ด้วย
  • CAI ขยายตัวเพราะอินเตอร์เน็ตและนำมาทำเป็นซีดีพกพาง่าย
  • ต่อมา CAI กลายมาเป็น E-learning นำความสามารถอินเตอร์เน็ตมาผนวก
  • E-learning ทำให้ผู้เรียนโต้ตอบกับผู้สอนได้ เหมือนการเรียนในชั้นจริงๆ เป็นการเรียนทีละขั้นก่อน ไม่ให้มีการข้ามขั้นตอน
  • E-learning ยังมีขีดจำกัดการโต้ตอบ ถาม ทำความเข้าใจ ไม่เหมือนกับการเรียนต่อหน้า Face to Face
  • ประเทศไทยอยู่ในสังคมที่ชอบฟังมากกว่าอ่าน

อาจารย์จำรัส สว่างสมุทร

  • ตอนนี้ เราอยู่ในยุคสงครามคอมพิวเตอร์ (Cyber Warfare)
  • การใช้เทคโนโลยีหาข้อมูลมี
  • ทั้งเว็บไซต์
  • เว็บบอร์ด
  • Blackberry (BB) สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ห้ามใช้
  • Twitter เราใช้ทั้งสร้างสรรค์และทำลาย ลูกค้าไปใช้บริการแล้วบ่นผ่าน Twitter ทำให้ร้านนั้นขายไม่ได้
  • Facebook คนที่เริ่มเข้าใจ จะไม่พยายามใส่ข้อมูลมาก
  • Cloud Technology นำทุกอย่างไปอยู่ที่อินเตอร์เน็ต เหมือนที่เราใช้ Google, Yahoo, Hotmail ทำให้ลดต้นทุน แต่มีอันตรายคือ Password ถูกแฮ็คได้ง่าย
  • เวลาเราจ่ายเงินโดยเลขที่บัตรเครดิต ไม่ควรให้คนอื่นรู้เลข 3 ตัวข้างหลังบัตร มันเป็นตัวยืนยันเจ้าของที่แท้จริง แต่ก็มีปัญหาการละเมิดขโมยข้อมูล
  • ค่าจ้างในการละเมิดทางคอมพิวเตอร์ เช่น ผ่านโทรศัพท์ต้มตุ๋น 315-629 บาทต่อครั้ง บริการตรวจสอบบัตรเครดิต 13 บาทต่อครั้ง
  • ในระดับองค์กร ล้วงความลับโดยการแฝงตัวไปเป็นพนักงาน ต่อมาใช้คอมพิวเตอร์แฝงตัวเข้าไปโดยใช้
  • ไวรัส (ทำลายคอมพิวเตอร์)
  • Spyware (ดูดข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เข้าไป มันมักจะมากับเว็บไซต์ต่างๆ)
  • Cookie  (จำข้อมูลเราแม้ไม่ต้องพิมพ์ครบ)
  • มีไวรัสใหม่ๆวันละ 100 ไวรัส
  • เราต้องมีโปรแกรมป้องกันไวรัสมาแก้
  • ในระดับประเทศ เรามีกฎหมายความมั่นคง ห้ามเผยแพร่แผนที่ทหารที่มีละเอียดขั้นสูง แต่กฎหมายนี้ไม่มีความหมายแล้วเพราะ Google ทำให้เรารู้ทุกเรื่องและ update แผนที่ตลอดเวลาผ่านดาวเทียมและมีความแม่นยำเรื่องพิกัดสูง
  • Google เกิดโดยเชื่อว่า จะทำ search engine (เครื่องมือในการหาข้อมูล) ที่ดีที่สุดในโลกได้ สามารถหาข้อมูลในโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 10 วินาที ในอนาคตอาจจะไม่ต้องมีห้องสมุด
  • Google ได้เงินจากการขายโฆษณามากที่สุด เวลาหาข้อมูล ก็จะมีโฆษณาในเรื่องที่เกี่ยวข้องปรากฏขึ้น ทำให้ผู้ใช้บริการพอใจ
  • Google ทำ Index ของทุกอย่างไว้แล้ว
  • มี Google Translate ทำให้อ่านเว็บไซต์ภาษาอื่นได้
  • พระราชบัญญัติธุรกรรมอิเลคทรอนิกส์ผ่านแล้ว
  • ดีคือ ลดต้นทุนการดำเนินธุรกรรมโดยใช้อิเลคทรอนิกส์ Paperless, สารบรรณอิเลคทรอนิกส์ แต่ต้องระวังความมั่นคงปลอดภัย
  • Internet Security Operation Center ก็ดี เหมือนการตรวจคนเข้าเมือง ก็ตั้งกล้องจับคนเข้าออก ทำให้จับกุมคนละเมิดเว็บไซต์ได้มาก โดยดูจาก IP Address
  • Blackberry (BB) ใช้ SMS ส่ง ทุกข้อความถูกเก็บที่ Center
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ขอให้หน่วยข่าวกรองตรวจสอบถ้า Blackberry (BB) ให้บริการ ถ้าอัลไคด้า ส่งรหัสลับผ่าน BB มันกระจายข้อมูลได้เร็วมาก จะควบคุมสถานการณ์ไม่ได้
  • จีนขอไปตรวจสอบข้อมูลใน Google แต่ Google ไม่ยอม
  • หน่วยข่าวกรองสหรัฐทำความร่วมมือกับ Google และ Intel ร่วมกันเก็บข้อมูลเพื่อสืบข้อมูลการเจาะระบบคอมพิวเตอร์สหรัฐ
  • กฎหมายความมั่นคง เมื่อมีการปิดเว็บไซต์ ก็มี NGOs มาต่อต้าน
  • ถ้าเสรีภาพมาก ความมั่นคงของประเทศไม่มี อย่าเอาใจ NGOs มาก
  • ต้องร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและต่างประเทศ
  • ต้องมีหน่วยงานดูแลความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ตอนทำ Workshop ควรเน้นประเด็นหลักๆมา
  • ไอทีจากนี้ไปอีก 10 ปีจะเปลี่ยนแปลงมหาศาล
  • ตอนนี้สื่อเมืองไทยแบ่งเป็น 2 ค่ายคือ สื่ออาชีพสร้างปัญหาให้ประเทศ กับสื่อทางเลือก มีความสร้างสรรค์กว่า

 

Workshop

  • IT กับการเรียนรู้
  • IT กับการทำงาน
  • IT กับการบริหาร
  • IT กับการสร้างเครือข่าย
  • อื่นๆ

จากข้อมูลข้างต้น วิเคราะห์ดังนี้

1.              สถานการณ์ปัจจุบันคืออะไร

2.              จะปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร

3.              อุปสรรคคืออะไร

4.              ความสำเร็จคืออะไร

 

กลุ่ม 1

1.              สถานการณ์ปัจจุบันคืออะไร

  • เราใช้ไอทีสืบค้นและเก็บข้อมูล

2.              จะปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร

  • ตอนนี้ กำลังปรับปรุงให้ทันสมัย ใช้งานง่าย
  • ปรับปรุงเจ้าหน้าที่ให้มีจิตสำนึกเพื่อมีความทันสมัยมากขึ้นโดยได้รับการอบรม
  • ฐานข้อมูลต้องทันสมัยขึ้น

3.              อุปสรรคคืออะไร

  • งบประมาณ
  • ศักยภาพเจ้าหน้าที่ต้องได้รับการฝึกอบรม
  • พฤติกรรมเจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ไอทีอย่างเต็มที่ ใช้ไปในเรื่องอื่นมากกว่า

4.              ความสำเร็จคืออะไร

  • นำไอทีมาใช้แล้ทำให้ทันเวลาบรรลุเป้าหมายองค์กรมากขึ้น

 

กลุ่ม 2

1.              สถานการณ์ปัจจุบันคืออะไร

  • การใช้ไอทียังใช้ขั้นพื้นฐาน เก็บข้อมูล สื่อสารภายใน ส่งไฟล์ภาพนิ่ง ยังไม่ทันสมัยแบบสื่อมวลชนที่เป็น real time

2.              จะปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร

  • ปรับปรุงให้ใช้หน้าที่อื่นได้มากขึ้น
  • real time
  • ขาดบุคลากร ต้องหาให้พอ

3.              อุปสรรคคืออะไร

  • งบประมาณ
  • ขาดการรักษาความปลอดภัย

4.              ความสำเร็จคืออะไร

  • เข้าใจการทำงาน
  • ลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน

กลุ่ม 3

1.              สถานการณ์ปัจจุบันคืออะไร

  • เราใช้ไอที โดยมีเครือข่ายภายใน และเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
  • เรามีเว็บไซต์เผยแพร่ความรู้ แต่คนนอกเข้ามาไม่ได้
  • มีข้อมูล KM และกฎระเบียบ

2.              จะปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร

  • ช่องทางให้สำนักงานต่างจังหวัดเข้าถึงองค์ความรู้
  • การพัฒนาบุคลากร ยังไม่มีส่วนร่วมเสนอความรู้ ต้องได้รับการอบรมอุปนิสัยใฝ่หาความรู้ ต้องกระตุ้นให้มีส่วนร่วม

3.              อุปสรรคคืออะไร

  • คน
  • การเข้าถึงข้อมูล

4.              ความสำเร็จคืออะไร

  • ทุ่มงบประมาณพัฒนา
  • วัฒนธรรมการเรียนรู้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • การมีเครื่องมือดีไม่มีประโยชน์ถ้าไม่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้
  • สำนักข่าวกรองต้องเป็น Self Learning
  • เลือกหัวข้อดีเป็น long term
  • ความรู้ล้าสมัยเร็วมาก ต้องทันเหตุการณ์

กลุ่ม 4

1.              สถานการณ์ปัจจุบันคืออะไร

  • เราได้ใช้ไอที ทั้ง input, process, output, outcome

2.              จะปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร

  • ต้องใช้เครื่องมือ งบ
  • ผู้บังคับบัญชาส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง
  • ควรมีการ share ความรู้ให้มีความสามารถไปทำงานโลกภายนอกได้

3.              อุปสรรคคืออะไร

  • ขาดงบ
  • เครื่องมือ
  • บุคลากร

4.              ความสำเร็จคืออะไร

  • ทุกคนมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ความมั่นคงเป็นเรื่องที่ประมาณค่าไม่ได้
  • เวลาที่คุณขึ้นมาเป็นผู้นำ ต้องให้งบพัฒนาไอที CIA เขาทุ่มงบพัฒนาไอที
  • พวกคุณเรียนจากประสบการณ์และความเจ็บปวดได้ดี แต่ต้องเรียนการคิดเป็นระบบมากขึ้น

กลุ่ม 5

1.              สถานการณ์ปัจจุบันคืออะไร

  • เราใช้ Intranet แต่การติดต่อกับหน่วยงานอื่นต้องใช้ Internet
  • เราใช้เครือข่ายประชาคมข่าวกรอง
  • มีเครือข่ายภาคประชาชน แต่เขาขาดเครื่องมือติดต่อกับเรา

2.              จะปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร

  • ยังไม่มีเครือข่ายบนโลกไซเบอร์

3.              อุปสรรคคืออะไร

  • ขาดเจ้าหน้าที่ไอที
  • มีการตั้งรหัสผ่าน ทำให้เข้าถึงข้อมูลไม่ได้
  • ประชาชนมีความรู้น้อยที่จะใช้เครือข่ายติดต่อเรา
  • ประชาชนขาดอุปกรณ์

4.              ความสำเร็จคืออะไร

  • จัดอบรมไอทีแก่เจ้าหน้าที่และประชาชน
  • เพิ่มอุปกรณ์ที่ทันสมัย
  • ฐานข้อมูลกลาง มาดูแลเชื่อมข้อมูลส่งถึงกันโดยปลอดภัย

 

อาจารย์จำรัส สว่างสมุทร

  • ควรเริ่มต้นที่ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน นำไอทีไปแทรกกับทุกยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
  • เรายังมีขีดกรอบมากไปจึงไม่อยากเรียนรู้ไอที เราไปคิดว่ามันยาก
  • ในทุก 6 เดือน ควร update เทคโนโลยีและเทคนิค ไม่ต้องรองบ
  • ควรอบรมพฤติกรรมคนและยุคสมัยเปลี่ยนไปอย่างไร
  • นำข้อมูลสมัยใหม่มาใช้ ไม่ต้องใช้งบมาก

ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์

  • ยุทธศาสตร์สำนักข่าวกรองต้องมีการปรับให้ไอทีเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์
  • ผู้บริหารต้องใส่ใจ
  • สิ่งที่เสนอมายังติดกับอุปสรรคเดิมๆ
  • ใช้พันธมิตร เช่น เนคเทค กระทรวงไอซีที ให้เป็นประโยชน์ด้านไอที
  • สำนักข่าวกรองต้องมีผู้เชี่ยวชาญภาษาประเทศเพื่อนบ้าน และต้องเข้าใจภาษาวัยรุ่นปัจจุบัน จะได้หาข้อมูลได้มาก และวิเคราะห์ได้มากขึ้น
  • เราควรทั้งวิเคราะห์ย้อนหลังและไปข้างหน้า
  • ต้องทำ Data Mining ศึกษาเบื้องลึก มองเห็น Pattern จะได้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
  • ควรใช้ไอทีตรวจกฎหมายใหม่ว่ามีข้อใดขัดกับกฎหมายเดิม
  • ควรใช้ไอทีสกัดสาระของข่าวออกมา
  • ปัญหาคือข้อมูลเอกสารถูกทำลายมากโดยเฉพาะประวัติศาสตร์ ประวัติหน่วยงาน ประวัติโครงการ ทำให้เราไม่รู้ข้อมูลประวัติศาสตร์
  • ไอทีก็เป็นความเสี่ยง เราต้องมีแผนรับมือความเสี่ยงด้านไอที เช่น รับมือไวรัส แฮคเกอร์
  • กระทรวงไอซีทีกำหนดความต่อเนื่องของธุรกิจ งานข่าวกรองจะเดินหน้าต่อในยามฉุกเฉินได้อย่างไร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • เราไปเน้นปัญหาเดิมมากเกินไป
  • ตัวเราต้องมีแรงจูงใจขวนขวายด้านไอที
  • ต้องมี passion ในการเอาชนะอุปสรรค

 

สรุป Learning Forum หัวข้อ เทคนิคการจัดทำแผนปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ โดย รศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร ในวันที่18 พฤศจิกายน 2553

  • การวางแผนคือ การกำหนดจุดมุ่งหมายขององค์การ วิธีการไปสู่ความสำเร็จ และรายละเอียดกิจกรรมต่างๆที่นำไปสู่ความสำเร็จโดยการประสานกิจกรรมต่างๆที่มีอยู่ในองค์การให้มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องเป็นเนื้อเดียวกัน
  • ปัญหาคือ คนไทยไม่ค่อยวางแผน ไปเคาน์เดาวน์ที่ราชประสงค์แต่ไม่ได้วางแผนเพื่อรับมือกรณีฉุกเฉิน
  • การวางแผนช่วยลดความซ้ำซ้อน ความสิ้นเปลืองและช่วยทำให้เกิดความสำเร็จ
  • ประเภทแผน
  • ถ้าดูตามความกว้าง แบ่งเป็น แผนกลยุทธ์ (ทั่วไป) และแผนปฏิบัติการ (เฉพาะเรื่อง)
  • ถ้าดูตามกรอบเวลา แบ่งเป็น ระยะยาว (3-5 ปี) ระยะสั้น (1-2 ปี) ถ้าแผนยิ่งยาวมีโอกาสไม่เป็นจริงมาก
  • ถ้าดูตามการจำเพาะเจาะจง แบ่งเป็นแผนระบุทิศทาง และแผน Specific บอกรายละเอียด
  • ถ้าดูตามความถี่ในการใช้ แบ่งเป็น แผนใช้ครั้งเดียว กับ แผนยืนพื้น (สำหรับการทำงานในสถานการณ์ที่คล้ายๆกัน)
  • แผน คือแผนงานหลายอันรวมกัน
  • แผนงาน คือหลายโครงการรวมกัน
  • โครงการ คือหลายกิจกรรมรวมกัน
  • กิจกรรม คือหน่วยย่อยที่สุดของโครงการ
  • โครงการเป็นแกนของเรื่อง ต้องทำให้เป็นรูปธรรมที่สุด ต้องมีกิจกรรม คนรับผิดชอบ กรอบเวลา มีกลไกในการติดตามความคืบหน้า
  • เกณฑ์การกำหนดโครงการ
  • เป็นสิ่งที่ทำแล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
  • ทำแล้วคุ้มค่า
  • ตรงตามความรู้ความสามารถ
  • ทำแล้วมีโอกาสได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายต่างๆ
  • เป็นสิ่งที่ยังไม่เคยทำ หรือไม่ใช่สิ่งที่ทำแล้วล้มเหลวในอดีต
  • Key word วางแผนยุทธศาสตร์
  • วิสัยทัศน์ คือ ภาพอนาคต
  • พันธกิจ คือ สิ่งที่มุ่งมั่นทำให้สำเร็จในปัจจุบัน
  • ประเด็นยุทธศาสตร์
  • เป้าประสงค์
  • SWOT Analysis/ TOWS Matrix
  • กลยุทธ์
  • KPI (Key Performance Indicators)
  • Key word แผนปฏิบัติราชการ
  • ประเด็นยุทธศาสตร์
  • เป้าประสงค์
  • กลยุทธ์
  • โครงการ
  • Unit/persons
  • งบประมาณ
  • กรอบเวลา/Gantt Chart
  • KPIs/Target
  • Balance Scorecard เป็นการวัดผลที่สมดุลในมิติต่างๆที่สำคัญ ได้แก่
  • ประสิทธิผล คือ ทำงานให้สำเร็จตามเป้าประสงค์ เป็นการวัดโดยเปรียบเทียบ Outcome กับ Goal โดยดูผลสำเร็จตามนโยบายรัฐ ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ งานตามพันธกิจของหน่วยงาน
  • คุณภาพบริการ คือ การทำให้ประชาชนพึงพอใจ ฟังความเห็นของประชาชน วิธีที่ดีคือการไปเป็นลูกค้าเอง จะได้เข้าใจความต้องการลูกค้า
  • ประสิทธิภาพ คือ การทำงานให้คุ้มค่า เปรียบเทียบ Output กับ Input ใส่ Input แล้วได้ Outputมากกว่า วัดโดยดุจากการลดขั้นตอน เวลา ประหยัดงบประมาณและพลังงาน
  • การพัฒนาองค์กร คือ การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร การพัฒนาเทคโนโลยี การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กร การพัฒนาคุณภาพการจัดการ
  • ให้สนใจเหตุ แก้ที่เหตุด้วย
  • ให้ความสำคัญทั้งปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร
  • ต้องจัดลำดับความสำคัญว่าจะทำอะไรก่อนหลัง ทำสิ่งที่สำคัญและเร่งด่วนก่อน ต่อมา ควรทำสิ่งที่สำคัญแต่ไม่ด่วน เพราะเป็นการวางรากฐานเมื่อทำดีแล้วงานสำคัญและเร่งด่วนจะหายไป
  • ควรทำสิ่งที่ง่าย ผลกระทบมากก่อน แล้วตามด้วยทำสิ่งที่ง่ายและผลกระทบน้อย เพราะไม่เปลืองพลังงาน
  • ประโยชน์ KPIs
  • บอกว่า งานสำเร็จไปถึงไหนแล้ว
  • บอกว่า ต้องปรับปรุงจุดไหน
  • เพื่อการให้รางวัลและลงโทษ
  • เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล
  • เพื่อการพัฒนาองค์การในระยะยาว
  • ควรใช้ตัวชี้วัดเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพ
  • ลักษณะเป้าหมายที่ดี
  • ต้องมีตัวเลขและกรอบเวลา
  • ต้องมีความท้าทาย
  • สูงกว่ามาตรฐานการทำงานที่เคยปฏิบัติ
  • ส่งเสริมให้เกิดความพยายาม
  • ไม่สูงเกินจนไม่สามารถทำได้จริง
  • นำไปสู่การพัฒนา
  • ตั้งเป้าหมายโดย
  • เทียบกับผลงานในอดีตที่ผ่านมา
  • เทียบกับผลงานเฉลี่ยในช่วงเวลาที่ผ่านมา
  • ดูจากแนวโน้มที่น่าจะเป็นในอนาคต
  • เทียบกับผลงานที่ดีที่สุดในช่วงเวลาที่ผ่านมา
  • เทียบกับหน่วยงานอื่นๆที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
  • ตั้งเป้าหมายตามนโยบายของผู้บริหาร
  • ตั้งเป้าหมายร่วมจากผู้ปฏิบัติงาน คิดร่วมกัน กระบวนการปัจจุบันยังไม่ใช่แบบนี้
  • การให้น้ำหนักการประเมินเรียงลำดับมากไปน้อยดังนี้

1.ประสิทธิผล (50-60%)

2.การพัฒนาองค์กร

3.คุณภาพบริการ

4.ประสิทธิภาพ (10%)

  • ถ้าองค์กรตั้งมานานแล้วต้องเน้นคุณภาพบริการมากที่สุด
  • ถ้าองค์กรตั้งใหม่ต้องเน้นการพัฒนาองค์กรและประสิทธิภาพมากที่สุด

 

ประเทศไทยเราก็มีวิสัยทัศน์เหมือนดังเช่นประเทศอื่น เพียงแต่ไม่เป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวาง ข้าพเจ้าจึงขอนำข้อมูลที่มีอยู่มาแบ่งปัน ทั้งนี้หากใครต้องการทราบรายละเอียด สามารถหาข้อมูลของวิสัยทัศน์และพันธกิจของประเทศไทยได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ www.nesdb.go.th

วิสัยทัศน์ประเทศไทย (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10)

มุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี

ขอบคุณท่านที่แสดงความคิดเห็นที่ 425 ครับ ผมขอชื่นชมความเห็นและความตั้งใจของท่าน แถมยังแสดงความมีน้ำใจและให้คำแนะนำกับ รุ่น 2

สำหรับท่านที่แสดงความคิดเห็นที่ 428 ท่านได้ค้นหาข้อมูลเพื่อแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยก็มีวิสัยทัศน์ ไม่ใช่ไม่มีตามที่ท่าน วิทยากร ได้บรรยายในวันนี้ ในหัวข้อ"รากเหง้าของปัญหาที่เกิดขึ้น"

เป็นการทำงานอย่างรวดเร็วของเจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรอง ที่ค้นหาข้อมูลเพื่อนำมาหักล้างกับข้อมูลที่มีผู้แสดงไว้ก่อนหน้านี้

ผมเห็นว่าเราสามารถนำกรณีนี้เป็นกรณีศึกษาได้ หัวข้อที่ต้องนำมาพิจารณา

1.ท่านวิทยากร บรรยายว่า ประเทศไทยไม่มีวิสัยทัศน์ ควรสอบถามกับท่านวิทยากรโดยตรง ว่า ท่านใช้ข้อมูลอะไร ท่านมีความเห็นอย่างไรกับ วิสัยทัศน์ประเทศไทย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10

"มุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”

2.ผู้เข้าอบรมท่านอื่นๆ มีความเห็นอย่างไร ถ้ากรณีที่ผมยกมานี้เป็นเรื่องที่ท่านจะต้องดำเนินการบริหารจัดการข่าวนี้ตามที่ท่านฟังการบรรยายจาก รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

โปรดพิจารณา ความเห็นข้อ 429 ผมได้เห็นความผิดพลาดของผมหลังจากทำการบันทึกไปแล้ว ผมผิดพลาดในข้อ 2 ข้อความที่ผมเขียนลงไปอาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ หลายประเด็น เช่น

1.วิทยากรที่บรรยายว่า ประเทศไทยไม่มีวิสัยทัศน์ คือ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ( ความจริงเป็นคนละคน รศ.ดร.สมชาย บรรยายวันที่ 17 พฤศจิกายน แต่ท่านวิทยากรที่กล่าวถึงบรรยายในวันที่ 18 พฤศจิกายน)

2.เข้าใจว่าผมสับสนชื่อท่านวิทยากร

ความจริงผมต้องขยายความคำถามของผม ดังนี้ ".ผู้เข้าอบรมท่านอื่นๆ มีความเห็นอย่างไร ถ้ากรณีที่ผมยกมานี้เป็นเรื่องที่ท่านจะต้องดำเนินการบริหารจัดการข่าวนี้ โดยใช้หลักการทำงาน ที่ท่าน รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ บรรยายในวันที่ 17 พฤศจิกายน หัวข้อ Blue Ocean Strategy"

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

สรุป Learning Forum หัวข้อ การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดย อาจารย์ประกาย ชลหาญ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2553

  • ฝรั่งบอกว่า ชีวิตเริ่มต้นที่อายุ 40 (Life begins at 40.) หมายความว่า เมื่อมีอายุ 40 ปี ก็ควรจะมีประสบการณ์และวุฒิภาวะ (Mature) แล้ว
  • เวลาเกิดการเปลี่ยนแปลง ท่านต้องปรับตัวเสมอ ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดผลที่ดีขึ้นหรือแย่ลง
  • ผู้นำและผู้ตามเป็นองค์ประกอบการบริหารจัดการ
  • สถานการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจ ขึ้นอยู่กับเหตุและผล

  • เหตุผลเดียวที่คุณอยู่ในสำนักข่าวกรองได้เพราะคุณมีผลงาน ไม่ว่าจะมากหรือน้อย
  • จะทำงานได้ต้องมีสมรรถนะ (Competencies) ซึ่งประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ทัศนคติที่ดีต่อองค์กร
  • ประสบการณ์ไม่ได้นับด้วยจำนวนปี ต้องสร้างขึ้นมา
  • ไม่ใช่ว่าคนเก่งทุกคนทำงานให้องค์กร
  • แต่ละคนก็อาจจะทำงานได้ดีไม่เท่ากันทุกวันขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละวัน บรรยากาศการการทำงานที่เปลี่ยนแปลง
  • Motivation (แรงจูงใจ) ผลักดันให้คุณทำงาน
  • แรงจูงใจที่ผลักดันให้คุณทำงานให้ข่าวกรอง คือ ความรักชาติ ความท้าทาย ตำแหน่งหน้าที่
  • คนต้องมีสมรรถนะและแรงจูงใจจึงจะทำงานให้องค์กรได้
  • ต้องสื่อสารให้ลูกน้องเข้าใจว่าไม่ได้ประเมินเขาจากความยุ่งแต่ดูจากผลงาน
  • ต้องทำให้มั่นใจว่าแรงจูงใจเป็นแรงจูงใจจริงๆ ที่ตอบสนองความต้องการของคนในองค์กร ตอนที่ทำงานกับบริษัทฝรั่ง มีการประกวดพนักงานดีเด่น แต่เจ้านายฝรั่งให้รางวัลเป็นการได้ไปรับประทานอาหารกับเจ้านาย ซึ่งพนักงานรู้สึกเหมือนกับการลงโทษมากกว่าเป็นรางวัล ควรเปลี่ยนรางวัลให้ตรงตามความต้องการของพนักงาน
  • ผู้บริหารต้องรู้จักคนในองค์กร รู้ว่าแต่ละคนต้องการอะไร
  • วิธีที่จะรู้ว่าคนมีผลงาน ต้องวัดจากเป้าหมายที่คุณให้เขา
  • ความยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญ เราสร้างองค์กรก็ไม่อยากให้ล่มสลาย
  • Balance Scorecard บอกว่า เวลาตั้งเป้าหมายองค์กร ผู้บริหารต้องสร้างความสมดุลระหว่าง การเงิน ลูกค้า การพัฒนาคนในองค์กร (Learning and Growth) กระบวนการในการทำงาน (Process) แล้วองค์กรจะมีความยั่งยืน
  • อย่าเน้นกำไรเกินไป ต้องใส่ใจกับลูกค้า
  • ผู้บริหารต้องมีเวลาให้กับพนักงาน
  • คนคือทรัพย์สิน (Asset) เก็บไว้นานๆ มีค่า
  • กระบวนการในการทำงานรับประกันคุณภาพในการทำงาน (Quality) ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
  • ผู้บริหารต้อง Re-invent สร้างต่อ
  • แจ็ค เวลช์ บอกว่า คุณต้องเปลี่ยนก่อนที่คุณจะถูกบังคับให้เปลี่ยน (มิฉะนั้นมันจะสายเกินไป)
  • ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คือ สึนามึทำให้คนภูเก็ตต้องเปลี่ยนแปลง
  • สิ่งที่บังคับให้คุณเปลี่ยนได้แก่ การแข่งขัน เทคโนโลยี การเมือง สังคม สุขภาพ บุคคลรอบข้าง
  • ต้องคาดการณ์และเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง
  • การเปลี่ยนแปลงมี 2 แบบ คือ สิ่งที่คุณอยากเปลี่ยน และสิ่งที่คุณไม่อยากเปลี่ยนแต่มันจะเปลี่ยน
  • ในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นและรุนแรงขึ้น
  • ปัญหาคือ เรามักจะให้รางวัลคนที่ทำผิดและลงโทษคนที่ทำถูกต้อง
  • ควรสื่อสารว่า อะไรถูก อะไรผิด
  • คนที่ประสบความสำเร็จจะต้องเก่งเรื่องการบริหารจัดการคน (หัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน)
  • สิ่งที่คาดว่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สำนักข่าวกรองคือ การเปลี่ยนรัฐบาล ภัยธรรมชาติ กฎระเบียบ การก่อการร้าย
  • Edward De Bono  กล่าวว่า ความคิดมนุษย์เหมือนฝนตกลงมา น้ำไหลเป็นทาง หมายถึง ถ้าไม่ฝืนให้ตัวเองคิด เราจะคิดเหมือนเดิมและคิดน้อยมาก
  • คนเราต้องเก่งเรื่องความคิด ก้าวไกล สร้างสรรค์ หลากหลาย
  • แจ็ค เวลช์ บอกว่า อย่าทำงานให้จำเจเกินไป ต้องทบทวนสิ่งที่ทำมาว่าควรทำไหม ไม่ใช่ทำไปโดยไม่เป็นประโยชน์ต่อใครเลย
  • คนเราต้องเก่งเรื่องตัวเลข ผู้บริหารมักคิดเป็นตัวเลข เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วน
  • สิ่งที่ทำให้คุณพร้อมจะเปลี่ยนแปลงคือ
  • การปรับตัว (Adaptability) เปลี่ยนทัศนคติใหม่ ไม่ควรทำเหมือนเดิมแต่หวังผลให้มันดีขึ้นเพราะมันเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นใน Balance Scorecard เราจึงเน้นกระบวนการ ต้องพัฒนากระบวนการให้ดีขึ้นแล้วผลจะออกมาดีขึ้น
  • มุ่งเน้นกลยุทธ์ (Strategic Focus) มองที่เป้าหมาย ไม่จำกัดวิธีการ
  • เน้นผลลัพธ์ (Results Focus) อย่าเน้นความขยัน
  • คิดถึงการทำงานร่วมกันเป็นทีม (Foster a Collaborative Approach) สร้างความรู้สึก Win-Win
  • เปิดสมอง เปิดใจ (Facilitate Openness and Understanding)
  • ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดเวลา (Encourage Learning) ถ้าคุณเรียนรู้ คุณก็จะเก่งและช่วยพัฒนาองค์กรได้ และนำไปสู่ความยั่งยืน
  • การเปลี่ยนแปลงแบบจีอีประกอบด้วยช่วงการเปลี่ยนแปลงดังนี้
  • สถานภาพปัจจุบัน (Current State)
  • ในช่วงระหว่างการเปลี่ยนแปลง(Transition State) สำคัญมาก ถ้าบริหารจัดการให้ดีจะนำไปสู่ผลแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ระยะเวลาขึ้นอยู่กับความเปลี่ยนแปลงที่คุณเผชิญว่าใหญ่แค่ไหน
  • สถานภาพใหม่ (Improved State)
  • ในการเปลี่ยนแปลงแบบจีอี ผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเครื่องมือจัดการการเปลี่ยนแปลงของ
  • มีบทบาทจริงจังในการเปลี่ยนแปลง
  • สร้างให้เกิดความต้องการร่วมกันให้ได้
  • สร้างวิสัยทัศน์วาดภาพให้คนเห็นว่าจะได้อะไรหลังการเปลี่ยนแปลง
  • สร้างให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกัน (Commitment)
  • ทำให้การเปลี่ยนแปลงยั่งยืนโดยเปลี่ยนระบบและโครงสร้าง
  • ติดตามควบคุมความคืบหน้า อย่าปล่อยให้อะไรเกิดขึ้นตามบุญตามกรรม
  • ผู้นำที่ดีต้องมี 4 บทบาท
  • Pathfinder หาทางให้คนเดิน เขียน Vision, Mission
  • Align พยายามให้คนไปทิศทางเดียวกัน จะได้มีพลัง
  • Empower กระจายอำนาจให้คนอื่นทำงาน
  • เป็นตัวอย่างที่ดี
  • ถ้าคุณเปลี่ยนความคิด มันจะนำไปสู่การเปลี่ยนความเชื่อ
  • ถ้าคุณเปลี่ยนความเชื่อ มันจะนำไปสู่การเปลี่ยนความคาดหวัง
  • ถ้าคุณเปลี่ยนความคาดหวัง มันจะนำไปสู่การเปลี่ยนทัศนคติ
  • ถ้าคุณเปลี่ยนทัศนคติ มันจะนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรม
  • ถ้าคุณเปลี่ยนพฤติกรรม มันจะนำไปสู่การเปลี่ยนผลงาน
  • ถ้าคุณเปลี่ยนผลงาน มันจะนำไปสู่การเปลี่ยนชีวิต แล้วชีวิตคุณจะมีความสุขขึ้น
  • บางทีคุณเป็นเหยื่อของความสำเร็จของคุณ และคิดว่าไม่ต้องพัฒนาและปรับปรุงแล้ว
  • ต้องเป็นผู้นำที่ทำให้ลูกน้องรัก

 

สรุป Presentation หัวข้อ สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้..สู่การปรับใช้กับการทำงานของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2553

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • การที่จะทำอะไรสำเร็จไม่ได้อยู่แค่ความเก่งของตนเอง ต้องมี Networking ด้วย
  • การเป็นข้าราชการที่ดีอาจมีแรงกดดันมากและเงินก็น้อย
  • สำนักข่าวกรองต้องใช้ระบบเงินเดือนพิเศษแบบศาล
  • ความรู้อยู่ที่ความบ้าคลั่งของแต่ละคน
  • อยากให้รุ่น 2 ค้นหาตนเอง เมื่อเรียนจบ ต้องสร้างความเป็นเลิศในการแบ่งปันความรู้
  • สำนักข่าวกรองต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น
  • ข่าวกรองคือความฉลาดเฉลียว (Intelligence) ต้องทำให้ความมั่นคงรอดด้วย
  • สำนักข่าวกรองต้องคิดนอกกรอบ และลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์
  • สำนักข่าวกรองเรียนจากประสบการณ์และการแก้ปัญหาซึ่งดีมาก
  • โครงการนี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น
  • ควรประเมินพฤติกรรมคนในห้องนี้อีก 1 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร จะเป็นผู้นำได้ไหม จัดการกับสถานการณ์ได้ไหม
  • ผมชอบที่ท่านพูดว่า ผู้นำสำนักข่าวกรองต้องคาดการณ์ในอนาคตได้
  • ควรทำงานร่วมกันโดยคนในห้องนี้

กลุ่ม 1

  • สิ่งที่อาจารย์สอนเราคือ เรียนในห้องแล้วก็ต้องเรียนรู้ต่อไป แบ่งปันความรู้ในองค์กรและนอกองค์กรด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ลูกน้องมีข้อมูลมาก เราก็ควรจะนำไปทำให้สำเร็จ โดยเปลี่ยนเป็นผลงาน ทั้งระดับบุคคล องค์กร ภาค ประเทศ ระดับนานาชาติ
  • เรื่องระดับนานาชาติเรายังอ่อน เราทำงานมาก และเน้นแต่ปัญหาภายในประเทศ
  • ต้องสนใจภาวะโลกร้อน ดินถล่ม ความมั่นคงอาหาร ความมั่นคงทางสังคม ค่านิยมวัยรุ่น

กลุ่ม 2

  • อาจารย์ให้ความสำคัญกับ social media เป็นช่องทางสร้างเครือข่าย และรักษาพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นร่วมกันทำให้ได้มุมมองใหม่ๆ และเรียนรู้ร่วมกัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • คนรุ่นใหม่มีค่านิยมแตกต่างกันไป
  • ถึงเวลาแล้วที่วิธีการมองปัญหาความมั่นคงต้องเปิดตัวบ้าง ระวังจะไม่ได้ทำเรื่องใหญ่จริงๆ
  • ข่าวกรองต้องดูทัศนคติของคนแต่ละรุ่นแล้วทำความเข้าใจ
  • ถ้าข่าวกรองจะเปิดตัวเอง ก็ต้องฉลาดในการเปิด
  • ประเทศไทยอาจมีความเสี่ยงอื่นที่เราพูดไม่ได้อีก
  • ผมอยากเห็นสำนักข่าวกรองพัฒนาไปอยู่ระดับเดียวกับ CIA
  • สำนักข่าวกรองยังเน้นด้านการเมือง ความมั่นคงมากเกินไป ควรจะเน้นด้านอื่นด้วย เช่น เศรษฐกิจและสังคม

กลุ่ม 3

  • อาจารย์ชี้ให้เห็นความสำคัญของการใฝ่รู้ ซึ่งทำได้ตลอดเวลา และตลอดชีวิต ทำอย่างไรเราจึงจะฉลาดขึ้น ก็ต้องแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อาจใช้ blog เป็นสื่อกลางแสดงความคิดเห็น
  • อาจารย์ยังได้เน้นให้ใช้ไอทีให้เกิดประโยชน์สูงสุด เราต้องปรับตัวให้ทัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ข่าวกรองต้องมีเว็บไซต์ที่เหมาะสมในอนาคต แต่ยังสามารถใช้ blog ผมได้
  • อยากให้ประธานรุ่นเชื่อมโยงกับพวกเราทั้งหมดและหาข้อมูลจากอาจารย์
  • ควรมีมุมเล็กๆและสงบสำหรับการเรียนรู้ในบ้าน
  • ควรอ่านเว็บไซต์ภาษาอังกฤษและภาษาจีนมากขึ้น และค้นหาข้อมูลเชิงลึก
  • แต่ละคนควรมีเว็บไซต์ของตนเอง นำข้อมูลใส่ลงไปทุกวัน นำเสนอตัวเองได้

กลุ่ม 4

  • องค์กรเราต้องเรียนรู้ตลอดเวลา จากประสบการณ์ ความเจ็บปวด
  • อาจารย์เรียนรู้ตลอดเวลา
  • อยากให้พวกเรามองเห็นสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • มนุษย์สามารถเรียนรู้จากทุกอย่างได้
  • เราเรียนรู้วิชาการมากเกินไป ควรเรียนรู้หน้าที่พลเมืองและศีลธรรมด้วย
  • อย่ามีความลับจนเกินไป

กลุ่ม 5

  • งานข่าวกรอง ต้องกรองข่าวให้ถูกต้อง ต้องใช้สติปัญญาวิเคราะห์ ปัญหาความมั่นคงต้องมองหลายมุม ต้องมีความรู้ความสามารถ
  • งานข่าวกรองมีจุดแข็งคือเรียนรู้จากประสบการณ์ตนเอง เราเผยแพร่ข้อมูลไปภายนอกได้ยาก แต่ภายในมี KM
  • ข่าวกรองมีงานหนักแต่รายได้น้อย
  • ผู้นำต้องมองการณ์ไกล

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ภายใน 3 เดือน จะส่งแบบสอบถามว่านำความรู้อะไรไปใช้อะไรบ้าง ก่อนเรียนและหลังเรียนมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร นี่คือ Tracer Study
  • ผมจะส่งบทความภาษาอังกฤษมาทุกๆ 2 สัปดาห์มาให้คุณวิเคราะห์ โดยมีม.ล.ชาญโชติดูแล

คุณทำนอง ดาศรี

  • ผมชอบประเด็นสุดท้าย
  • การกรองข่าว เราต้องจัดมุมเรียนรู้เล็กๆ
  • ทำตารางกรองข่าว ทุกวันโดย

ข่าว

กรอง

 

ผลกระทบความมั่นคง

การจัดการกับสถานการณ์

 

การจัดการความเสี่ยง

 

ผลกระทบต่อนโยบายและเป้าหมาย

ข้อดี

1.

2.

3.

 

1.จริง

2.เท็จ

3.ยังไม่รู้

 

1.เศรษฐกิจ

2.สังคม

3.การเมือง

 

1.

2.

3.

 

1.

2.

3.

 

1.

2.

3.

 

1.

2.

3.

 

  • วิเคราะห์จริงหรือเท็จ
  • วิเคราะห์กระทบต่อความมั่นคงด้านใดบ้าง
  • ต้องวิเคราะห์มิติที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
  • มีการจัดการกับสถานการณ์อย่างไร
  • วิเคราะห์ความเสี่ยงจากการจัดการกับสถานการณ์
  • หาวิธีการจัดการความเสี่ยง
  • วิเคราะห์มีผลกระทบต่อนโยบายและเป้าหมายสำนักข่าวกรองอย่างไร
  • วิเคราะห์ว่า ดีอย่างไร
  • วิธีนี้มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจภายในเวลาอันรวดเร็ว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • การทำงานมีประโยชน์มาก
  • ถ้าลูกน้องเก่ง ก็ควรจะมอบให้ทำงานแทน
  • การนำเสนอโครงการต้องนำไปทำจริง

 

 

ช่วงนำเสนอโครงการ

โครงการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้รอบด้านในสขช. (360NIA Learning Organization) แบ่งเป็น 5 โครงการย่อย ใช้งบประมาณรวม 438,000 บาท

กลุ่ม 1

โครงการการจัดการสื่อสารองค์ความรู้ภายในสขช.

  • โครงการนี้ส่งข้อมูลให้แต่ละคนได้ตรงตามความต้องการ มีการประเมินผลสำรวจโดยแบบสอบถามว่าได้รับข้อมูลเพียงพอไหม ต้องปรับปรุงอะไรไหม
  • ใช้เทคโนโลยีเดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • โครงการนี้ดี
  • ท่านสุวพันธุ์คงเห็นชอบ

กลุ่ม 2

โครงการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ (E-learning)

  • จัดทำโดยโปรแกรมสำเร็จรูป (ROSETTA STONE) ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต
  • มีการทดสอบระดับความรู้ก่อน
  • มีช่องทางติดต่อระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้ดูแลโครงการ
  • มีทดสอบหลังการเรียนจบ
  • มีใบรับรองผลการเรียน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ขอชื่นชม ผมรู้จักโปรแกรมนี้ดี
  • สอดคล้องกับการย้ำของผมเรื่องภาษาอังกฤษ
  • แค่ 20 ชั่วโมงก็ยังไม่พอ
  • นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี อยากให้ต่อยอดไปด้วย
  • การเขียน การพูดภาษาอังกฤษเป็นเรื่องสำคัญ
  • ต้องเรียนรู้วัฒนธรรมต่างประเทศด้วย ควรอ่าน Bangkok Post, The Nation และ Herald Tribune ด้วย
  • ควรเรียนภาษาจีน ภาษาอารบิกและภาษาอื่นๆด้วย

 

 

 

กลุ่ม 3

โครงการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการด้านการข่าว

  • ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ลดช่องว่างระหว่างรัฐและประชาชน
  • รับข้อมูลข่าวสารได้เร็ว
  • ใช้แลกเปลี่ยนความรู้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ควรเชิญคนนอกเข้ามาช่วยทำโครงการ เช่นคุณจำรัส
  • รู้ได้อย่างไรว่า คนจะมาเป็นแนวร่วม

กลุ่ม 3

  • นี่คือสิ่งที่มีอยู่รอบตัวเรา บางข่าวหาจาก Google ไม่ได้ แต่การข่าวเราหาได้จากเครือข่าย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • นี่คือการเพิ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมตัวกันให้ข่าวแก่เรา
  • ควรทำให้ Social Media มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
  • ต้องมีการวัดผลมากกว่า 3 เดือน
  • ควร Outsourcing ควรมีคนที่มาจาก Microsoft, Blackberry
  • ขอชื่นชมที่คิดเรื่อง Social Media
  • ขอให้ข่าวกรองมีเครือข่ายที่มีนักเทคโนโลยีที่หวังดีกับเรามาช่วยทำโครงการ
  • ควรให้คนเล็กๆที่หวังดีกับเรามาให้ข้อมูลกับข่าวกรอง
  • มีการนำเสนอที่ดี

กลุ่ม 4

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการรายงานข่าวสารของสขช.

  • รายงานข่าวให้ทันเหตุการณ์ (Real time)
  • ใช้เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการต่างจังหวัดใช้เทคโนโลยีรายงานส่งข่าวเร็ว มีการถ่ายทอดสดจากที่เกิดเหตุ มีการเก็บข้อมูลส่งมาเป็นฐานข้อมูล
  • ใช้กล้องวีดิโอไร้สายติดไว้ที่หมวก ส่วนตัวรับติดกับโมบายเชื่อมคอมพิวเตอร์ต่อไปสขช.
  • มีการใช้แว่นตาเทคนิคเก็บข้อมูล
  • มีการประเมินความพึงพอใจกับผู้ปฏิบัติการและผู้ใช้ข้อมูล

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ไอทีกับ Real time ก็เกิดขึ้นได้
  • โครงการนี้น่าจะได้รับการพิจารณาอย่างเร่งด่วน

 

กลุ่ม 5

โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ผ่านระบบสื่อสารสำนักข่าวกรองแห่งชาติ NIA Database

  • พัฒนาจากเครือข่ายวังปารุสที่มีอยู่แล้ว
  • ใช้ Virtual Private Network มีความปลอดภัยสูง
  • ข้อมูลที่จะนำเข้าสู่ระบบ ได้แก่ กฎ ระเบียบที่ต้องรู้ องค์ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในประเทศและต่างประเทศ ข่าวประชาสัมพันธ์และพื้นที่แสดงความคิดเห็น
  • สามารถ Link กันหลายๆกลุ่มทำให้เห็นภาพใหญ่
  • มีฐานข้อมูลกลางในการสืบค้น นำข้อมูลทุกแห่งมารวมกันสืบค้นเป็นฐานข่าวได้

ท่านที่ปรึกษาฯ

  • ผมขอขอบคุณที่ใช้การต่อยอดไอทีเข้ามาใช้
  • เราใช้ E-learning มาก เรื่องพวกนี้จะต้องอยู่กับเรา
  • ผมเชื่อว่า โครงการต่างๆสามารถเข้าไปในแผนงานของแต่ละท่านได้
  • ขอบพระคุณอาจารย์จีระที่มาสอนพวกเรา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ท่านพูดสั้นๆแต่ก็ให้กำลังใจ
  • โครงการเหล่านี้ทำแล้วต้องนำเข้าบูรณาการเข้าโครงสร้างใหญ่ด้วย

ผอ.สำนักฯ

  • วันนี้รับฟังได้รับความรู้
  • ขอบคุณผู้เข้ารับการอบรมที่ได้นำเสนอ
  • ในสำนักของผม มีปัญหาระบบฐานข้อมูล ในอนาคตจะทำ 15-20 ฐานข้อมูล แต่มีปัญหา software ฝากความหวังให้ท่านพัฒนาระบบฐานข้อมูล
  • เราควรพัฒนาระบบให้ผู้บังคับบัญชาหาข้อมูลเจอง่าย

คุณทำนอง ดาศรี

  • ผมประทับใจมาก
  • ชอบกลุ่มสุดท้าย ใช้คำว่า ข้าราชการ ถือว่าดี
  • ทุกกลุ่มได้คะแนนเกือบเต็ม
  • คนที่จะนำความรู้ไปใช้ได้แก่ พวกรู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม และ Need to Know จำเป็นต้องรู้เพื่อนำไปใช้งาน
  • อะไรที่เกิดประโยชน์ต่อเราต้องจดไว้
  • โครงการภาษาอังกฤษดีมาก แต่บางคนพูดภาษาไทยไม่ชัด ต้องพูดภาษาไทยให้ชัด ถ้าไม่ชัด จะพูดภาษาอังกฤษไม่ชัด
  • ชอบองค์ความรู้ทุกโครงการ แต่งบประมาณน้อยมาก
  • ผู้นำเสนอบางท่านก็ไม่ได้มองหน้าผู้ฟังเลย
  • ในการถ่ายทอดให้คนอื่นรู้มากกว่าหรือเท่ากับเรายากมาก
  • ภาษากายถ่ายทอดความรู้ได้มากที่สุด
  • เนื้อหาทุกอย่างดีมาก
  • ควรสำรวจความต้องการว่าแต่ละส่วนต้องการรู้อะไร
  • ความรู้ที่ลับมี password ถูกต้องแล้ว
  • การได้งบประมาณมันขึ้นอยู่กับการนำเสนอ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

  • โครงการนี้มีประโยชน์ต่อประเทศชาติมาก
  • วิทยากรมีความเต็มใจที่ได้มีส่วนร่วม
  • ควรทำโครงการแบบนี้อย่างสม่ำเสมอ
  • ในวันเปิดวันแรก แต่ละคนปิดตัวเองมาก มีความหวาดระแวง ไม่มีความเป็นธรรมชาติ
  • วันแรกที่ไปเรียนที่สระบุรี พฤติกรรมเริ่มละลาย และเป็นกันเองมากขึ้น
  • การบ้านใน blog เพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นแต่ละวัน
  • บางท่านก็ส่ง blog มาด้วยความเข้าใจและจากข้างใน
  • ในวันเปิดท่านผอ.ก็บอกชัดเจนว่า ต้องการทัศนคติในการทำงาน นั่นคือความเข้าใจจากข้างใน
  • แต่ละวิทยากรก็จะมีพูดเรื่องที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันอยู่
  • ผมเข้าใจว่าท่านได้รับความรู้ที่หนักมาก ต้องมีการทำซ้ำแล้วจะเริ่มคุ้นเคยมากขึ้น
  • ดร.จีระก็ติดตามและคุยผ่านสื่อทุกวัน ผมก็รายงานดร.จีระทุกวัน
  • ผมก็ได้อ่านการบ้านทาง blog และแสดงความคิดเห็นตอบไปใน blog
  • ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความอบอุ่นแก่ผม ผมรู้สึกเหมือนอยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น
  • เรื่องไอที ผมอาจจะช่วยประสานเนคเทคให้ได้
  • ทั้ง 5 โครงการนี้ต้องทำเพราะสำคัญมาก
  • คุณสุทิษาเป็นผู้ดำเนินรายการที่ดีมากและยอดเยี่ยมมาก
  • การนำเสนอชุดที่ 1 และ 2 ดีมาก เป็นมืออาชีพ
  • ขอบพระคุณดร.จีระที่ให้เกียรติผม
  • ผมพร้อมรับใช้ตลอดเวลา นี่คือเรื่องของประเทศชาติ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ผมขอย้ำว่า การนำเสนอครั้งนี้ต้องนำไปทำ
  • เราจะมีการประชุมอีก 3 วันมานำเสนอว่าได้ไปทำอะไรบ้าง ถ้าไม่ทำก็จะไม่เกิด Phase 2 ของรุ่น 2
  • เรื่องยากคือการนำ 12 วันนี้ไปบูรณาการกับระบบ
  • มองภาพใหญ่ได้ดีมาก มี Conceptual Ability
  • ความริเริ่มเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
  • การทำตามคนอื่นไม่มีปัญหา ควรเริ่มต้นให้แม่นก่อน
  • แต่ควรจะเกิด Paradigm Shift ใน blog ด้วยในอนาคต
  • ข้อดีวันนี้
  • การทำงานเป็นทีมในวันนี้สุดยอด นำทุกกลุ่มมารวมเป็นเรื่องเดียว
  • นำทฤษฎีมาใช้ ไอทีมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ และต้องนำวัฒนธรรมการเรียนรู้มานำไอที ต้องมีความสุขในการเรียนรู้โดยมีทุนแห่งความสุขก่อน ควรมีความคิดสร้างสรรค์ด้วย
  • ขั้นตอนต่างๆที่วางไว้ดี แต่ขอให้นำไปปฏิบัติจริง
  • จุดอ่อนคือไปไม่สุด เราพูดถึง E-learning แต่คิดว่ามันคือความสำเร็จ จริงๆแล้วต้องนำไปสู่ Performance ต้องบอกว่า Final Outcome คืออะไร หนึ่งในนั้นคือความมั่นคงของประเทศ ความสงบ
  • ขอขอบคุณทุกท่าน

ผมชอบโครงการของกลุ่ม 1 มากที่สุด โครงการการจัดการสื่อสารองค์ความรู้ภายในสขช เป็นโครงการที่เป็นไปได้มากที่สุด เป็นการสร้างประสิทธิภาพให้กับเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการ การนำเสนอดี เนื้อหาสาระดี การลงทุนถูก โครงการไม่ใหญ่เกินไป สามารถเริ่มจากเล็กและพัฒนาไปหาใหญ่ได้ สามารถดำเนินการได้ทันที ต่อยอดจากสิ่งที่ สขช มีอยู่แล้ว ข้อสำคัญอยู่ที่การบริหารจัดการข้อมูล และการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ สขส และความต่อเนื่อง ข้อมูลต้องสดและเป็นประโยชน์

กลุ่ม 2 โครงการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ (E-learning) เป็นโครงการที่สร้างสรรค์เช่นกัน โครงการให้ความสำคัญที่การซื้อโปรแกรม จึงต้องหาโปรแกรมที่เหมาะกับความต้องการของผู้เรียน จากการนำเสนอเชื่อว่าผู้นำเสนอได้ทำการศึกษามาค่อนข้างดี ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ผู้ให้ความสนใจที่จะเรียนจริงๆมีแค่ไหน ผมมีเครื่องข่ายที่ทำเรื่อง e-learning อยู่ ถ้าต้องการคำปรึกษาหรือต้องการการสนับสนุน ผมสามารถประสานงานส่งทีมจาก English Language Development Center& Thailand Cyber University หรือ สมาคม e-learning มาให้ได้

กลุ่ม 3 โครงการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการด้านการข่าว โครงการดีและมีความสำคัญมาก การนำเสนอใช้ได้ ไม่แน่ใจว่าเข้าใจเรื่องขบวนการในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ พร้อมที่จะนำทีมมาให้คำปรึกษา

กลุ่ม 4โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการรายงานข่าวสารของสขช. กลุ่มนี้เน้นที่การจัดหาอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพในการรายงานข่าวสาร หัวใจขึ้นอยู่ที่การบริหารจัดการ การนำเสนอและสาระค่อนข้างน้อย เห็นด้วยว่าหน่วยงานนี้ควรมีเครื่องมือที่ทันสมัย และเหมาะสมกับภาระกิจ สิ่งที่ต้องการเป็นเรื่องของการจัดเสนอซื้ออุปกรณ์ ถ้าเป็นโครงการต้องมีเนื้อหาและสาระมากกว่านี้

กลุ่ม 5โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ผ่านระบบสื่อสารสำนักข่าวกรองแห่งชาติ NIA Database เป็นโครงการใหญ่ครับ หลายองค์กรได้พยายามจัดตั้ง แต่ยังไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมศึกษาและร่วมทำเรื่องนี้กับหลายหน่วยงานด้วยกัน สำหรับประเทศไทยยากมากครับ แต่ต้องรีบดำเนินการทำอย่างจริงจัง ให้สำเร็จ เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก ยินดีหาทีมงานมาให้คำปรึกษาและให้การสนับสนุนครับ

จากความคิดเห็นเลขที่ 422 ที่ผมแสดงข้อมูลเปรียบเทียบ จำนวนผู้เข้าอ่าน blog และผู้แสดงความคิดเห็นใน blog ของรุ่น 1 และรุ่น 2 มีบางท่านเข้าใจเจตนาของผมผิด จึงขออธิบายเพิ่มเติมว่า เจตนาที่แท้จริง คือต้องการทราบว่า หลังจากท่านได้ฟังการบรรยายของ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ในหัวข้อ Blue Ocean Strategy แล้วท่านมีความเข้าใจและนำความรู้ที่ได้ไปใช้กับท่านแค่ไหน 

วิเคราะห์เปรียบเทียบ จำนวนผู้อ่าน และผู้แสดงความเห็นใน blog ของรุ่น 1 และรุ่น 2  

รุ่นหนึ่ง วันที่ 5 พ.ย. 2552 -17 พ.ย 2553 จำนวนผู้แสดงความเห็น 1,098 ราย จำนวนผู้อ่าน 8,812 ราย

รุ่นหนึ่ง วันที่ 5-27 พ.ย. 2552 (ระหว่างการอบรม) จำนวนผู้แสดงความเห็น 587 ราย จำนวนผู้อ่าน ไม่ทราบจำนวน

รุ่นสอง วันที่ 3-17 พ.ย. 2553 (เหลือวันอบรมอีก 3 วัน) จำนวนผู้แสดงความเห็น 421 ราย จำนวนผู้อ่าน 2,356 ราย 

ข้อมูลสีแดงข้างบน คือข้อมูลที่ต้องการให้ท่านทราบโดยผ่านการคัดเลือกและวิเคราะห์มาส่วนหนึ่งแล้ว

ตัวเลขนี้บอกอะไรกับรุ่น 2 ครับ

ประโยคสีน้ำตาลข้างบนคือโจทย์ ในการทดสอบของผม

สาเหตุที่ผมเลือกใช้ข้อมูลและโจทย์นี้กับท่านมาจากผลของผู้แสดงความเห็นใน blogเลขที่  421

ผลทดสอบ ล้มเหลว เพราะไม่มีผู้ให้ความสนใจ ?????????????????????

 

คติประจำวัน(นี้)

"competency ทำให้เรายังมีงานทำ Motivation ทำให้เรายังทำงาน"

เรียน ท่านอาจารย์ชาญโชติ

เข้าใจว่าอาจารย์มีความหวังดี ที่ต้องการให้ blog นี้เป็นที่แลกเปลี่ยน ทบทวนและทำความเข้าใจกับบทเรียนที่ได้เรียนรู้ในแต่ละวัน ซึ่งอาจมีเพื่อนๆบางคนที่ฟังไม่ทัน จับประเด็นไม่ถูก จะได้เป็นที่ปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดกัน ก็ขอขอบคุณในเจตนาของอาจารย์ชาญโชติ เป็นอย่างสูง

รักษาสุขภาพบ้างนะค่ะ เห็นว่านอนดึกบ่อยๆ

ศิษย์รุ่น 2

เรียน ท่านผู้แสดงความเห็น เลขที่ 437 (ศิษย์รุ่น 2 ) และท่านผู้เข้าอบรมรุ่น 2 ทุกท่าน

ขอบคุณครับ ที่ให้เกียรติ เรียกผมเป็นอาจารย์ ความจริงผมเป็นค่าผู้ช่วยอาจารย์ เท่านั้น ผมดีใจและมีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่มีโอกาสเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ เป็นผู้ประสานงาน และสรุปให้วิทยากรแต่ละท่านทราบว่าที่ผ่านมาวิทยากรท่านอื่นๆได้บรรยายอะไรไปบ้าง และผู้เข้าอบรม เข้าใจแค่ไหน มีส่วนไหนที่ควรจะเน้น เพื่อให้วิทยากรที่กำลังจะบรรยายได้ทราบข้อมูลจะได้บรรยายได้ตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร

ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผมได้รับมอบหมายหน้าที่นี้จากท่าน ศ.ดร.จีระ ถ้าผมทำอะไรเกินหน้าที่ความรับผิดชอบของผม หรือบกพร่องในหน้าที่ ก็ขออภัยไว้ ณ.ที่นี้

ได้อ่านการแสดงความคิดเห็น เลขที่ 437 จากผู้ที่ไม่ประสงค์กล่าวนาม ทำให้ดีใจ ที่มีผู้เข้าใจเจตนา ของผม และขอถือโอกาสนี้เฉลย โจทย์ จาก blog เลขที่ 422 ดังนี้ครับ

1.ผมเข้าใจว่า ช่วงระหว่าวันที่ 3-24 พฤศจิกายน เป็นช่วงที่ท่านได้รับมอบหมายให้มาเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มความรู้เพื่อการเตรียมตัวที่จะเป็นผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อการเลื่อนตำแหน่งความรับผิดชอบที่สูงขึ้น

2 ผมเข้าใจว่าท่าน ศ.ดร.จีระ ได้จัดทำ blog ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นช่องทางให้ท่านส่งการบ้าน และเป็นการต่อยอดการเรียนรู้นอกห้องเรียน

3.ผมเข้าใจว่าผู้เข้าอบรมให้ความสนใจกับ blog นี้เพื่อส่งการบ้านเท่านั้น

4.ผมจึงเกิดความคิดที่จะต่อยอดการใช้ blog ให้เกิดประโยชน์ มาก ขึ้น จึงพยายามจำลองว่า blog นี้คือแหล่งข้อมูลหนึ่งที่ท่านผู้เข้ารับอบรมมีหน้าที่บริหารข้อมูลทั้งหมดใน blog นั้ (ในช่วงการอบรม 3-24 พ.ย.) เพื่อ

4.1 เช็คข้อมูลข่าวสารในblog ทุกวัน

4.2 คัดเลือข้อมูล วิเคราะห์ และตัดสินใจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับข่าวสารนั้นๆ (การบริหารข่าวสาร)

4.3 ใช้ blog เป็นแหล่งปล่อยข้อมูล

ผมไม่ได้หวังว่าทุกท่านจะต้องทำตามที่ผมกล่าวไว้ ในข้อ 4 สามารถมอบหมายบางท่านรับผิดชอบงานในส่วนนี้ เช่นเดียวกับที่ท่านประธานรุ่น 2 ได้แบ่งหน้าที่ให้แต่ละท่านรับผิดชอบดำเนินการในกิจกรรมหลายๆอย่างเช่น ผลัดกันนั่งโต๊ะทานข้าวกับผมและวิทยากรท่านอื่นๆ (ระหว่างที่อยู่สระบุรี)

สิ่งที่ผมต้องการทราบในคำตอบจาก blog เลขที่ 422 คือ

มีผู้ให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ผมส่งให้ไหม (ข้อมูลที่ให้เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับท่าน มีตัวเลข และระยะเวลา )

ท่านนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และคิดที่จะนำข้อมูลดังกล่าวมาทำอะไรเพื่อให้ได้ประโยชน์กับองค์กรของท่าน (หมายถึงผู้เข้ารับการอบรมรุ่น 2 ) หรือไม่ อย่างไร

ข้อมูลใน blog เกือบทั้งหมด เป็นข้อมูลที่ท่านส่งออกไป ได้แก่การทำการบ้านส่ง ที่หลือส่วนใหญ่จะเป็น ข้อมูลสรุปการบรรยายของคุณจิตรลดา ( ท่านผู้ใดนำมาตรวจสอบหรือไม่ว่า ตรงกับความเข้าใจของท่านไหม ถ้าไม่ตรง ท่านย้อนไปเช็คกับเอกสารที่วิทยากรให้มาหรือไม่ เพื่อจะได้ทราบว่าคุณจิตรลดาสรุปมาถูกต้องหรือไม่ (สรุปมาผิด หรือท่านเข้าใจผิด ) จะได้นำไปสู่การสร้างความเข้าใจที่แท้จริง

ที่เหลือก็คือข้อแสดงความคิดเห็นของผม ซึ่งมีน้อยมาก แต่ละครั้งจะมีความสำคัญและเป็นประโยชน์กับทุกท่าน ถ้าท่านสนใจและทำความเข้าใจ

สรุป ผมพยายามทำตัวให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเพื่อให้โครงการประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ท่านผู้อำนวยการ และท่าน ศ.ดร.จีระ คาดหวัง ส่วนจะสำเร็จมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับผู้เข้าอบรมทุกท่าน

ขอบคุณครับ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

แนะนำหนังสือ

"วิตกจริตเท่านั้น จึงจะรอด" Only The Paranoid Survive

ของ แอนดรู กรู๊ฟ อดีต CEO บริษัทอินเทล

พูดถึงโมเดล  10x Forces และ Strategic inflection Point

ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะรับมือกับมันได้อย่างไร

โดยปีเตอร์ เอฟ. ดรักเกอร์ พูดถึงหนังสือเล่มนี้ว่า

เป็นหนังสือที่อันตราย เพราะมันทำให้คนคิด

(This terrific book is a dangerous book.

It will make people think.)

 

๐ขออนุญาต แนะนำหนังสือ White Ocean เป็นแนวคิดที่มองว่าโลกใบนี้ไม่ได้คับแคบ และไม่ใช่โลกของการแข่งขันเท่านั้น แต่เป็นโลกของโอกาสและความอุดมสมบูรณ์

ขณะที่ Red Ocean ต้องทุ่มเททำอะไรสักอย่างเพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามมา และเมื่อหมดทรัพยากร โอกาส“เพลี่ยงพล้ำ” จึงมีสูง

ศาสตร์ใหม่จึงแนะไปหา “Blue Ocean” น่านน้ำสีคราม อาณาจักรที่ธุรกิจสมัยใหม่อยากว่ายไปให้ถึง ด้วยการคิดนอกกรอบ สร้างตลาดใหม่ ฐานลูกค้าใหม่ สร้างความต้องการใหม่ๆ คิดในสิ่งที่ไม่มีใครคิดมาก่อน เพื่อหนีจากทะเลสีเลือด

สวัสดีครับ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณอาจารย์ชาญโชติที่ติดตามความเคลื่อนไหวและคอยกระตุ้นเตือนศิษย์รุ่น 2 อย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้ ซึ่งพวกเราหลายคนมีภาระหน้าที่ที่แตกต่างกันไปจึงอาจทำให้ในช่วงที่ผ่านมาไม่ค่อยได้ใช้ Blog มากนักนอกจากส่งการบ้าน ซึ่ง แต่ผมเชื่อว่าภายหลังการอบรมและการงานเข้าที่ที่ทางแล้วเราจะได้ใช้ Blog ในการต่อยอดองค์ความรู้กันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม องค์ความรู้ในการทำงานยังมีความจำเป็นต้องสื่อสารเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ซึ่งพวกเรามีช่องทางการสื่อสารเฉพาะกันอยู่แล้วครับ

สำหรับการแนะนำหนังสือดีๆ ก็มีประโยชน์มาก ซึ่งผมเชื่อว่าทุกๆวันก็มีนักคิดที่ศึกษามุมมองใหม่ๆ จับประเด็นต่างๆ ไปต่อยอดเป็นหลักทฤษฎีใหม่เพื่อให้เราเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับหลักสูตรการทำงานของเราในปัจจุบันย่อมมีการพัฒนาไปตามประสบการณ์และสถานการณ์ที่แตกต่างกันของแต่ละท่าน แต่เห็นได้ว่ายังไม่มีการรวบรวมเป็นตำรากลางสำหรับการศึกษาร่วมกัน ซึ่งควรต้องพิจารณาในเรื่องนี้ต่อไป

รุ่น 2

ชอบ motto ที่อาจารย์ประกาย หยิบยกมากล่าวคือ "change before you are forced to change" คุณต้องเปลี่ยน (ตัวเอง) ก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน เท่ากับเราจะไม่หยุดที่จะเรียนรู้ และก้าวตามให้ทันกับสังคมที่เปลี่ยนแปลง มันเป็นการย้ำเตือนตัวเองให้มีพลังตลอดเวลา

ขอบคุณและดีใจครับที่ได้ทราบเหตุผลจากรุ่น 2 # 442 เป็นเหตุผลที่รับได้ครับ

พูดถึงการแนะนำหนังสือ ขณะนี้ผมกำลังอ่านหนังสือ เรื่อง เอกกษัตริย์ ใต้รัฐธรรมนูญ โดย วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย เป็นหนังสือชุด มี 3 เล่ม จัดจำหน่าย โดย สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี เป็นหนังสือดีที่คนไทยทุกคนควรอ่าน เป็นเรื่องราวของประวัติศาสตร์ไทย เริ่มต้นขึ้นอย่างง่ายดายและเงียบงำ ในเช้าของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นหนังสือที่นำเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาเรียบเรียงได้อย่างครบถ้วน ทำให้เห็นความต่อเนื่องจากเหตุการณ์หนึ่งไปอีกเหตุการณ์หนึ่งได้เป็นอย่างดี มีข้อมูลที่เป็นเบื้องหลังของเหตุการณ์ที่น่าสนใจ ทำให้เข้าใจถึงความยากลำบากในการปฎิบัติพระองค์ในฐานะพระประมุขของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทรงต้องเผชิญกับผู้นำทางการเมืองซึ่งกำลังดำเนินการในสิ่งที่ไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ

ผู้เขียนและทีมงานใช้เวลาในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นเวลานานกว่า 3 ปี หนังสือชุดนี้พิมพ์ครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 2553 จำหน่ายในราคาชุดละ 1,500 บาท มูลค่าของหนังสือมีค่ามากกว่าจำนวนเงิน 1,500 บาทมาก แต่มีคนไทยเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถซื้อหนังสือในราคา 1,500 ได้ จึงอยากจะวิงวอนให้ท่านผู้เขียน ช่วยกรุณาพิจารณาดำเนินการให้คนไทยที่มีรายได้น้อยมีโอกาสได้อ่านหนังสือชุดนี้โดยทั่วหน้า

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

white Ocean ยังบอกด้วยว่าการที่จะอยู่รอดในสังคมและภาวะการแข่งขัน ไม่ใช่แค่เก่งเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นคนดีมีศิีลธรรม จริยธรรมด้วย ก็ทำนองเดียวกับธรรมาภิบาลที่เป็นหลักการบริหารซึ่งควรเน้นในคนชนชั้นปกครองและนายทุนที่ยังยึดถือแนวทาง Red Ocean บริหารเส้นทางเดินของตนเองเพื่อการก้าวเป็นที่หนึ่ง มีหนังสืออีกเล่มที่กำลังอ่านและอยากแนะนำค่ะ

Super Class บอกว่าโลกาภิวัตน์ถูกครอบงำด้วยคนชั้นสูงที่อาจใช้อำนาจทางตรง หรืออำนาจทางอ้อมเพื่อชี้นำเส้นทางเดินของโลก ขณะที่มีคนจนในโลกมากกว่าสองพันห้าร้อยล้านคน กลับมีเพียงคนชั้นสูงไม่ถึงหกพันคนบนโลกที่กำหนดชะตากรรมของโลก แง่คิดก็คือโลกกำลังอยู่ในมือของกลุ่มคนเหล่านี้ และถ้าพวกเขากำหนดโลกโดยขาดจริยธรรม จะเกิดอะไรขึ้น

ขอเพิ่มเติมข้อคิดของ รุ่น 2 #442 ประโยคสุดท้ายที่ทิ้งไว้ 

"หลักสูตรการทำงานของเราในปัจจุบันย่อมมีการพัฒนาไปตามประสบการณ์และสถานการณ์ที่แตกต่างกันของแต่ละท่าน แต่เห็นได้ว่ายังไม่มีการรวบรวมเป็นตำรากลางสำหรับการศึกษาร่วมกัน ซึ่งควรต้องพิจารณาในเรื่องนี้ต่อไป"

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ e-learning ของหน่วยงาน จะช่วยได้ แต่ต้องมีหน่วยงานที่ดูแลโดยตรง อาจจะอยู่ในหน่วยงานของ HRD ก็ได้ แต่จะต้องจัดทำเป็นโครงการโดยตรง มีงบและคนที่เชียวชาญด้านการจัดทำ เมื่อได้เครื่องมือในเบื้องต้นแล้ว ก็ต้องอยู่ที่การบริหารจัดการ

# 443 กล่าวถึงอาจารย์ประกาย ผมขอถือโอกาสอธิบายเหตุผลที่ผมถามอาจารย์ประกายว่า การบริหารเจ้านาย บริหารลูกน้อง และบริหารเพื่อนร่วมงาน สิ่งไหนยากกว่ากัน  ที่ผมยกคำถามนี้ขึ้นมาเพราะทราบว่าหลายๆคนคิดว่าไม่สามารถบริหารเจ้านายได้ เลยไม่กล้าแสดงความคิดเห็นอะไรที่ขัดแย้งกับเจ้านาย

จากประสบการณ์ของผม การบริหารตัวเองยากที่สุด เมื่อบริหารตัวเองได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการบริหารลูกน้อง บริหารเพื่อนร่วมงาน หรือแม้นกระทั่งบริหารเจ้านาย ไม่ใช่ของยากอีกต่อไป

ความจริงการบริหารเจ้านายไม่ยากอย่างที่คิด เรารู้ว่าเจ้านายชอบอะไร ก็ทำสิ่งที่เจ้านายชอบ และช่วยทำงานที่เจ้านายมอบหมายให้เสร็จ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริหารเจ้านายคือการอ่านและเรียนรู้ความคิดของเจ้านายให้ได้ 

การบริหารลูกน้องและบริหารเพื่อนร่วมงานก็เช่นเดียวกัน เราต้องอ่านและเรียนรู้ความคิดของแต่ละคนให้ออกเราจึงจะบริหารเขาได้ 

ความคิดและความต้องการของลูกน้องและเพื่อนร่วมงานมีหลากหลาย และไม่นิ่ง ค้นหายาก และมีปัจจัยหลายอย่างเกี่ยวข้อง ความต้องการของเขาบางครั้งก็สวนทางกับนโยบาย และความถูกต้อง แต่เรามีหน้าที่ๆจะต้องให้เขาร่วมมือทำในสิ่งที่สวนทางกับความต้องการของเขาทำให้เราต้องใช้ความสามารถในการบริหารให้เขาร่วมมือและทำตามแนวทางของเราด้วยความเต็มใจ

 

 

ขอแสดงความคิดเห็นต่อจากคุณ Siranee # 445

Super Class บอกว่าโลกาภิวัตน์ถูกครอบงำด้วยคนชั้นสูงที่อาจใช้อำนาจทางตรง หรืออำนาจทางอ้อมเพื่อชี้นำเส้นทางเดินของโลก ขณะที่มีคนจนในโลกมากกว่าสองพันห้าร้อยล้านคน กลับมีเพียงคนชั้นสูงไม่ถึงหกพันคนบนโลกที่กำหนดชะตากรรมของโลก แง่คิดก็คือโลกกำลังอยู่ในมือของกลุ่มคนเหล่านี้ และถ้าพวกเขากำหนดโลกโดยขาดจริยธรรม จะเกิดอะไรขึ้น

เกิดสิ่งที่เราพบเห็นกันอยู่ทุกวัน ครอบครัวล้มเหลว สังคมอ่อนแอ เต็มไปด้วยความหลอกลวง เห็นแก่ตัว ขาดความสุข

ยุคนี้เป็นยุคเสื่อม จะเกิดสิ่งที่เลวร้าย คนไม่ดีมีอำนาจ โลกจะพบกับความล่มสลาย แต่ไม่ต้องกลัวครับ คนดีจะมีภูมิคุ้มกัน มีเกิดก็ต้องมีดับ ในที่สุดความดีก็จะชนะ เมื่อสิ่งร้ายๆผ่านไปโลกจะเข้าสู่ยุค "ศิวิไลซ์" 

 

ได้รับคำสอนของท่าน ว.จากเพื่อนคนหนึ่ง เห็นว่าดี จึงนำมาฝากทุกๆท่าน

ว . วชิรเมธี …. มายาการแห่งหลอดด้าย

มายาการแห่งหลอดด้าย...โดยท่าน ว . วชิรเมธี

เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ผู้เขียนจาริกปฏิบัติศาสนกิจในฐานะพระธรรมทูตอยู่ที่มหานคร

นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา วันหนึ่งหลังจบการเสวนาธรรม สตรีสูงอายุคนหนึ่งขอโอกาส

เข้ามานั่งคุยกับผู้เขียน ระหว่างการสนทนา ผู้เขียนสังเกตเห็นว่า น้ำตาเธอคลอหน่วย

เมื่อสอบถามถึงสาเหตุเธอจึงตอบว่า ที่น้ำตาคลอหน่วย เพราะรู้สึกดีใจที่ได้มาฟังธรรม

แต่พร้อมกันนั้นก็เสียใจจนสะเทือนใจ ที่สะเทือนใจก็เพราะเธอรู้สึกว่า ตนเองได้พบกับ

ธรรมะเมื่ออายุมากแล้ว จึงรู้สึกเสียดายวันเวลาที่ผ่านมา เธอเล่าว่า

" ชีวิตของคนเราก็เหมือนกับเส้นด้าย ที่ถูกดึงออกมาจากหลอดด้ายทีละนิดๆ ขณะที่

ดึงด้ายออกมาจากหลอดด้ายนั้น บางทีเราก็รู้สึกกระหยิ่มว่า ยังมีด้ายเหลืออยู ่อีกมากมาย

จึงชะล่าใจจึงด้ายออกมาใช้อย่างฟุ่มเฟือย เพื่อที่จะพบว่า แท้ที่จริงแล้ว มีด้ายอยู่เพียง

นิดเดียว เย็บผ้าได้เพียงนิดหน่อยก็หมด หากแต่ที่เราเห็นว่า ยังคงมีด้ายเหลืออยู่

เยอะแยะนั่นเป็นเพราะว่า แกนด้ายมันใหญ่ต่างหาก ... แกนด้ายมันหลอกตาให้

เราพลอยชะล่าใจ ... "

พลันที่เธอเล่าจบ ผู้เขียนก็รู้สึกสว่างโพลงขึ้นมาในใจ ผู้หญิงคนนี้ เธอไม่ได้มา

ฟังเทศน์เสียแล้ว แต่เธอมาเทศน์ต่างหาก

เธอกำลังเทศน์เรื่อง " ความสำคัญของเวลา " และ " คุณค่าของชีวิต "

เคยได้ยินคำพูดในทำนองนี้บ่อยๆ ว่า เรามีเวลา ๒๔ ชั่วโมงต่อหนึ่งวันเท่ากัน ทว่า

เราได้ประโยชน์จากเวลาไม่เคยท่ากัน

สำหรับบางคนเวลา ๒๔ ชั่วโมงช่างแสนสั้น แต่สำหรับบางคน ๒๔ ชั่วโมง ช่าง

เป็นเวลายาวนานเหลือแสน

ผู้หญิงคนนี้เธอบอกว่า เธอเสียดายที่มีเวลาเหลืออีกไม่มาก อยากจะปฏิบัติธรรม

ให้ถึงที่สุดก็เกรงว่าเวลาจะมีไม่พอ

ผู้เขียนจึงบอกว่า การปฏิบัติธรรมนั้นไม่สำคัญที่เวลา แต่สำคัญที่ " ปัญญา " สำหรับ

คนมีปัญญากล้าแข็ง อย่าว่าเป็นวันเลย บางที นาทีเดียวก็บรรลุธรรมได้ สำหรับคนเขลา

ต่อให้ภาวนาทั้งชีวิต บางทีก็ยังไม่เห็นผล คนที่อยู่ในวัยสนธยา จึงไม่ควรน้อยใจว่า

เรามีเวลาไม่พอ แต่ควรจะบอกตัวเองว่า

เรายัง " พอมีเวลา " ต่างหาก

แต่คนที่คิดว่าเรายัง " พอมีเวลา " ก็ต้องระวังด้วยเหมือนกัน เพราะบางทีการคิดด้วย

ท่าทีที่เป็ นบวกอย่างนี้ ก็ทำให้ประมาท และเป็นเหตุให้พลาดโอกาสที่จะเร่งรัดทำสิ่งดีๆ

ดังนั้น นอกจากจะคิดว่ายังพอมีเวลาแล้ว ก็ควรจะคิดเพิ่มอีกอย่างหนึ่งว่า " วันนี้เป็น

วันสุดท้ายของชีวิต " ด้วย เพราะหากเราคิดว่า วันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต เราจะ

เริ่มคิดถึงสิ่งที่ต้องทำแข่งกับเวลา และนั่นจะทำให้ เวลา กลายเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุด

ของชีวิตได้ในทุกๆ วัน

เราเคยได้ยินพระท่านสอนอยู่บ่อยๆ ว่า การฆ่าสัตว์เป็นบาป แต่ผู้เขียนอยากบอกว่า

การฆ่าเวลาต่างหากที่เป็นบาปมหันต์ยิ่งกว่า เพราะเมื่อคุณฆ่าสัตว์ หากสำนึกได้ คุณ

ก็อาจจะไปหาสัตว์มาปล่อยเอาบุญ แต่หากคุณฆ่าเวลาด้วยวิธีใดก็ตาม ถึงแม้คุณจะ

สำนึกผิด กลับมาเห็นคุณค่าของเวลา ทว่าก็ไม่สามารถย้อนเวลาที่ผ่านไปแล้วให้

หวนคืนกลับมาได้อีก เราทุกคนต่างก็มีเวลาที่ไม่อาจรีไซเคิล ไม่ว่าคุณจะมีเงิน

มหาศาลสักกี่ล้านล้านดอลล่าร์ก็ตามที สำหรับเวลานั้น ผ่านแล้ว ผ่านเลยนิรันดร์

ครั้งหนึ่งลีโอ ตอลสตอย เคยเขียนปริศนาธรรมไว้ว่า

" ใคร คือ คนสำคัญที่สุด

งานใด คือ งานที่สำคัญที่สุด

เวลาใด คือ เวลาที่ดีที่สุด "

ตอลสตอยตั้งคำถามนี้ผ่านเรื่องสั้นเรื่องหนึ่ง และในที่สุดก็เฉลยว่า

" คนสำคัญที่สุด ก็คือ คนที่อยู่เบื้องหน้าเรา

งานสำคัญที่สุด ก็คือ งานที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนี้

เวลาที่ดีที่สุด ก็คือ เวลาปัจจุบันขณะ "

ทำไมคนที่อยู่เบื้องหน้าเราจึงสำคัญที่สุด คำตอบก็คือ อาจเป็นไปได้ว่า ในชั่วชีวิต

อันแสนสั้นนี้ เรากับเขาอาจมีโอกาสพบกันได้เพียงครั้งเดียว ดังนั้น เราจึงควรทำให้

การพบกันทุก ครั้ง เป็นเหมือนการเฉลิมฉลองอันแสนวิเศษที่ต่างฝ่ายต่างควร

สร้างความทรงจำแสนงามไว้ให้แก่กันและกันตลอดไป

เราต้องไม่ลืมว่า มนุษย์นั้น รู้เกลียดยาวนานกว่ารู้รัก

หากการพบกันครั้งแรกนำมา ซึ่งความรัก และหากเป็นการพบกันเพียงครั้งเดียวขอ ง

ชีวิตในอนันตจักรวาล นั่นก็นับว่า เป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่สุดแล้วสำหรับการปฏิสัมพันธ์

ระหว่างคนสองคน

ทำไมงานที่เรากำลังทำอยู่ขณะนี้ จึงเป็นงานสำคัญที่สุด คำตอบก็คือ เพราะทันที ที่คุณ

ปล่อยให้งานหลุดจากมือคุณไป งานก็จะกลายเป็นของสาธารณ์ หากคุณทำงานดี มัน

ก็คือ อนุสาวรีย์แห่งชีวิต และหากคุณทำงานไม่ดี มันก็คือ ความอัปรีย์แห่งชีวิต

ตอนแรกคุณเป็นผู้สร้างงาน แต่เมื่อปล่อยงานหลุดจากมือไปแล้ว งานมันจะเป็น

ผู้ย้อนกลับมาสร้างคุณ

ทำไมเวลาที่ดีที่ส ุด จึงควรเป็นปัจจุบันขณะ คำตอบก็คือ เพราะเวลาทุกวินาทีจะไหล

ผ่านชีวิตเราเพียงครั้งเดียว ไม่ว่าคุณจะหวงแหนเวลาขนาไหน มีเงินมากเพียงไร

ก็ไม่มีใครสามารถรื้อฟื้นเวลาที่ล่วงไปแล้วให้คืนกลับมาได้

ทุกครั้งที่เวลาไหลผ่านเราไป หากเราไม่ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ชีวิตของคุณ

ก็พร่องไปแล้วจากปวงประโยชน์มากมายที่คุณควรได้จากห้วงเวลา

เวลาไม่มีตัวตน แต่หากเรามีปัญญา ก็สามารถสร้างคุณค่าที่เป็นรูปธรรมจากเวลาได้

อเนกอนันต์ คน - - แม้มีตัวตนเห็นกันอยู่ชัดๆ แต่หากปฏิบัติไม่ถูกต่อเวลา

ถึงมีตัวตนเป็นคนอยู่แท้ๆ แต่ชีวิตก็อาจว่างเปล่ายิ่งกว่าเวลา

ทุกวันนี้ เราทุกคนกำลังสาวด้ายแห่งเวลาในชีวิตออกมาใช้กันอยู่ทุกขณะจิต เคยคิด

กันบ้างหรือไม่ว่า เส้นดายแห่งเวลาในชีวิตของเรา เหลือกันอยู่สักกี่มากน้อย เราถนัด

แต่สาวด้ายออกมาใช้ หรือว่าเราใช้เส้นดายแห่งเวลาอย่างมีคุณ ค่าที่สุดแล้ว ?

ขอชื่นชม blog นี้ที่ให้ความรู้ และแนวคิดใหม่ ๆ แม้ว่าผมจะเป็นคนนอก

แต่มีอารมณ์ร่วมที่จะแสดงความคิดเห็น แต่ไว้โอกาสหน้านะ นายมา

นายไปแล้ว..... มาเข้าเรื่องของเราต่อ บังเอิญผมติดตามและได้ทราบว่า มีการพูดถึงอุปนิสัยที่ดีผมจึงอยากนำเสนอ

1.Be Proactive คนที่มีนิสัย "Proactive" คือคนที่เลือกที่จะเป็น เลือกที่จะทำ คือคนที่ "รู้ตัวว่าเลือกได้" คนที่มีนิสัยแบบนี้ จะมีความกระตือรือล้น เป็นคนที่ Active เป็นคนที่รู้ว่า ตัวเองต้องการอะไร คนที่ Proactive จะไม่รอให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นกับตัวเขา แต่เขาจะเป็น คนทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น ด้วยตัวเขาเอง เพราะเมื่อเขาเลือกที่จะเป็น เมื่อเขารู้ว่าตัวเองต้องการอะไร เขาก็จะมีความริเริ่มที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นในทันที

2.Begin with the end in Mind (เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ)

3.Put First Things First (ทำสิ่งทีสำคัญก่อน) ถ้าเราสามารถฝึก 3 อุปนิสัยแรกทั้ง 3ได้ จะทำให้นำไปสู่ การที่เราสามารถพึงพาตนเองได้ (Independence) และหลุดพ้นจาก การพึ่งพาผู้อื่น (Dependence) เป็นคนที่มีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ ซึ่งทั้ง 3 นิสัยดังกล่าว เป็นการเรียนรู้การฝึกตนเอง เพื่อให้เกิดการสร้างวินัยให้ตนเอง ชัยชนะในสังคม (Public Victory) ชนะใจผู้อื่น ประกอบด้วย 3 อุปนิสัย :

4.Think Win-Win (คิดแบบ ชนะ-ชนะ)

5.Seek First to Understand Then to Be Understood (เข้าใจผู้อื่นก่อนแล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา)

6.Synergie (ผนึกพลังประสานความต่าง) เมื่อเรามีความน่าไว้วางใจและสามารถพึงพาตนเองได้ (dependence) และ มีการฝึกฝนอุปนิสัยที่ 4-6 จะนำไปสู่ ความไว้วางใจระหว่างบุคคล และเกิดการพึงพาซึ่งกันและกัน (Interdependence) และจะนำไปสู่การสร้าง ความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง ระหว่างบุคคลที่ยืนยาว การฝึกฝน โดยใช้อุปนิสัยสุดท้าย

7.Sharpen the Saw (ลับเลื่อยให้คม) สำหรับอุปนิสัยที่ 7 เป็นการฝึกฝนในการปฏิบัติอุปนิสัยทั้ง 6 อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว ไม่มีใครที่จะสามารถฝึกให้บรรลุ อุปนิสัยทั้ง 7 ได้ตลอดเวลา จะมีการกลับมาของนิสัยเสมอ เมื่อมีสิ่งเร้าจากภายนอก แต่ถ้ามีการฝึกฝนอยู่เสมอ การเบี่ยงเบนของอุปนิสัย ต่อสิ่งเร้าก็จะเกิดขึ้นน้อย

ถ้าเราฝึกฝนให้มีอุปนิสัยทั้ง 7 นี้ ก็จะทำให้เราพัฒนาศักยภาพของตนเอง และเป็นประโยชน์ต่อองค์กร และประเทศชาติได้  หวังว่า ขอเริ่มจากคิดเป็น Positive thinking  และเรียนรู้จากการเป็นผู้ฟังที่ดี

โอ๊ะ โอ โอเพิ่นมายด์ Openmind  ก่อนนะครับ bye bye

เรียน ดร.สลัมพ์

ขอบคุณครับ ที่ให้ความสนใจ blog นี้ และได้นำเสนอสิ่งที่ดีมากครับ เข้าใจว่าจะเป็นเรื่องของอุปนิสัย 7 ประการของผู้มีประสิทธิภาพสูง The 7 Habits เป็นหลักสูตร ลิขสิทธิ์ ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งผมจำไม่ได้ ค่าอบรมค่อนข้างสูง

จากการนำเสนอของ ดร.สลัมพ์ ผมเห็นว่าเป็นการนำเสนอที่ดี เลยไปค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อขยายความให้มากขึ้น จะได้ไม่ต้องไปเข้าอบรมในหลักสูตร The 7 Habits ที่มีราคาค่อนข้างสูง

http://javawork.exteen.com/7-the-7-habits-7

กรอบความคิดของอุปนิสัยทั้ง 7 ประการ The 7 Habits (อุปนิสัย 7 อย่าง)

posted on 14 Jan 2009 03:00 by javawork

เริ่มจากการพึ่งพาผู้อื่น นำไปสู่การพึ่งพาตนเอง และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

ชนะใจตน

1. เป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (โปรแอกทีฟ)

2. เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ

3. ทำตามลำดับความสำคัญ

ชนะใจผู้อื่น

4. คิดแบบ ชนะ/ชนะ

5.เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา

6. ประสานพลัง

7. ลับเลื่อยให้คม

อุปนิสัย ที่ 1 Be Proactive ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำ ก่อน ( Individuals are responsible for their own choices and have the freedom to choose.) “ไม่ มีใครทำร้ายเราได้ นอกจากตัวเอง” “เราเป็นอย่างที่เราเป็น หรือเป็นอย่างที่ เขาพูด”การรุก คือ การทำให้ดีที่สุด ตั้งแต่ครั้งแรก (อย่าคิดว่าจะสามารถ แก้ไขครั้งที่ 2 ได้อีก “ฉันทำได้”สิ่งที่จำเป็นต้องทำ หลีกเลี่ยงไม่ ได้ แต่ไม่ชอบ แต่จำเป็นต้องทำ ให้พยายามทำจิตใจให้ชอบ ทำซ้ำ ๆ จนเข้าไป อยู่ในจิตใจของตนเอง

Be Proactive คือ อะไรไม่เคยทำ ต้องเรียนรู้ ทำให้ได้ ทำให้เกิดความชำนาญ

การคิดแนวรุก คือ การตัดสินปัญหาแก้ไขได้ อย่าให้สิ่งภายนอกตัดสินเรา ฉันเลือกที่จะไป ฉันควบคุมความรู้สึกของฉันได้

แก่นสารของความอยู่รอด

อย่า ไปสนใจว่าใครทำอะไร ให้สนใจเฉพาะว่า ตนเองทำอะไร ทำดีหรือยัง เพื่อที่ จะเปิดเกมส์รุกได้ เช่น หัวหน้าว่า คือ เรื่องของหัวหน้า เรื่องของ เรา คือ งานที่เราต้องทำ ทำไป อย่าสนใจสิ่งที่หัวหน้าว่า จนทำให้เราไม่ สามารถทำงานในส่วนที่เรารับผิดชอบ

ความมีอิสระในการเลือก เช่น Self Awareness (เตือนตนเอง ให้รู้ว่าเรารู้สึกอย่างไร) Imagination

(ใช้สมองคิดว่าตอบโต้ให้เป็นการออมบัญชีความรู้สึก) Conscience (สติ) Independent Will (อิสระในความคิด)

อย่าสนใจสิ่งที่มากระทบระหว่างทางก่อนถึงความสำเร็จหรือเป้าหมาย ปล่อยวางมันไป มุ่งไปสู่สิ่งที่เป็นเป้าหมาย

- ตอบสนองตามค่านิยม โดยไม่ยอมให้ อิทธิพลภายนอก (อารมณ์ ความรู้สึก หรือ สภาวการณ์) มาควบคุมการตอบสนองของตน

- รับผิดชอบต่อ พฤติกรรมของตนเอง (ทุกคนมีอิสระในการเลือกที่จะทำอะไร แต่ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตามมาจากสิ่งที่เราเลือก)

- มุ่งเน้นที่ Circle of Influence (หาทางแก้ไขปัญหาเพื่อกำจัดความ กังวล หรือ ไม่มองหรือคิดกังวลแต่เรื่องปัญหา) และถ้าฝึกไปเรื่อยๆ จะนำไป สู่ระดับ ให้อภัยต่อผู้อื่น (Transition Figure)

ดังนั้น จิตใจที่ให้อภัย คือ จิตที่ถูกฝึกแล้ว จิตที่ได้รับการพัฒนา - ดวงรัตน์

ผู้บริหารที่ดี จะต้องมีหลักการบริหาร 5 ข้อ คือ

Personal Mastery มุ่งสู่ความเป็นเลิศ – สมอง (ความคิดสร้างสรรค์) – innovation

Mental Models วิธีคิดมุมมอง – channel (ช่องทาง) เช่น ตัวอย่างสินค้า เช่น แชมพู เป็นต้น

Shared Vision ประสานวิสัยทัศน์ – แบ่งปันความคิด – เรียนรู้นิสัยใจคอกัน

Team Learning เรียนรู้การทำงานเป็นทีม (Top – Down/ Down – Top)

Systems Thinking (คิดเป็นระบบ)

อุปนิสัยที่ 2 Begin with the End in Mind เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ(Mental creation precedes physical creation)

จิต คือผู้เดินทางอยู่เหนือมิติแห่งกาลเวลา ทุกอย่างเริ่มต้นที่จิต

เจตนา เป็นเครื่องชี้กรรม ทุกอย่างเป็นไปตามกรรม

ความสำเร็จ เริ่มต้นจากก้าวแรก เริ่มสะสมความสำเร็จด้วยระยะเวลาที่ท่านไปอย่างสม่ำเสมอ

You are what you think.

การเรียน คือ ฟังด้วยหู การอบรม การพัฒนา

ความร่วมมือเป็นทีม/ ความคิดที่ช่วยกันแก้ปัญหา/ ความรับผิดชอบหน้าที่ตนเองให้ดี

การ ที่มนุษย์จะประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ ได้จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อย่าติดกับกรอบความคิด (สิ่งที่เราเห็นแล้วคิด เกิด ความเข้าใจไปเอง ซึ่งอาจจะเป็นไปไม่ได้)

มนุษย์ควรหาความสามารถ เพื่อทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เราจะทำงานให้เหมือนว่า วันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต

Think smart – ชี้เฉพาะ วัดได้ เป็นไปได้ เชื่อถือได้ มีตัวตน

จินตภาพ = Mind Map

วัน ใดที่คิดอยากจะทำอะไรที่ดี ให้เขียนไว้เพื่อให้จำได้ และต้องทำให้ สำเร็จ ระวังทัศนคติที่ทำลายตัวเอง เช่น ขี้เกียจ ท้อแท้ พลัดวันประกัน พรุ่ง วิตกกังวล ฯลฯ เ พราะจะทำให้เราไม่สามารถไปถึงความสำเร็จได้ การปรับ เปลี่ยนกรอบความคิด โดยมีหลักการ คือ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้ บริสุทธิ์ เข้าใจถึง ความไม่เที่ยงแท้ ฯลฯ

สมองมี 2 ซีก คือ ซีกซ้าย (ปัญญา) ซีกขวา (อารมณ์) การฝึกสมองด้านขวาโดยจินตนาการให้แข็งแกร่ง ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจน

อย่ายึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นคนหลงและผิดพลาด ยึดกับกรอบของตนเอง

ยุทธศาสตร์ - วางแผน – ตัดสินใจทำ- คาดการณ์ว่าจะเพิ่มกี่ % - คิดว่าจะทำอย่างไร-ลงมือทำ

- การเริ่มต้นที่จุดมุ่งหมายในใจ คือ การสร้างหรือวางแผน การออกแบบ และ วาง โครงร่างสำหรับสิ่งที่เราต้องการจะเป็น ก่อน โดยคิดหลายๆ ทาง เลือก และ เลือกสิ่งที่ดีที่สุดในใจก่อน แล้วค่อยนำความคิดนั้นมา ปฏิบัติ ให้เกิดผล ตามความคิดหรือสิ่งที่เราคาดหวังไว้

- การฝึกฝน อุปนิสัยที่ 2 นี้ ต้องเริ่มต้นที่ ต้อง ตั้ง Personal Mission ก่อน แล้ว จาก Personal Mission ค่อยๆ แตกมา เป็น Activity ย่อยๆ ในการทำอะไรในแต่ละช่วงของชีวิต และ ทบทวนสิ่งที่เรา กระทำว่า support หรือ เป็นไปตาม Mission ที่เราอยากได้ หรือ อยากเป็น หรือ ไม่

- นิสัยข้อนี้เป็นการสร้าง ความปรารถนา และแรงจูงใจ ให้ทำในสิ่งที่เราควรจะทำ แต่เรามัก ผลัดวันกับตัวเองเสมอ

อุปนิสัย ที่ 3 Put First Things First ลำดับความสำคัญก่อน หลัง (Effectiveness requires balancing important relationships, roles, and activities.)

- อุปนิสัยนี้เป็นการฝึก การบริหารเวลา โดยต้องจัดลำดับความสำคัญของงาน โดย จะโยงมาจาก Personal Mission คือทำในสิ่งที่ support mission ชีวิตที่ประสบ ความสำเร็จนั้น ต้องเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง คือ คิดว่าจะทำอะไร ทำ อย่างไร เริ่มจากอะไรก่อน โดยตอบรับในสิ่งที่ดีและปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ดี ทุก คนมีต้นทุน คือ เวลาที่เท่ากัน 24 ช.ม. แต่ต่างกันในการใช้เวลาให้มีคุณค่า และเป็นประโยชน์อย่างไร

การสั่งสม (คุณลักษณะที่ดีที่ควรสะสมไว้) การลบล้าง (สิ่งที่ควรเลิก)

ความเมตตากรุณาและสุภาพ

รักษาสัญญา

ทำตามความคาดหวัง

ซื่อสัตย์ต่อผู้ที่ไม่อยู่ในเหตุการณ์

กล่าวขอโทษ คำทักทาย คำขอบคุณ

เอาใจใส่คนในครอบครัว พูดคุย

รับประทานอาหารร่วมกัน

นอนให้ได้วันละ 6 ช.ม. เต็ม

ออกกำลังกายทุกวัน ๆ ละ 15 นาที

สงบจิตใจทุกวัน ๆ ละ 15 นาที

อ่านหนังสือทุกวัน ๆ ละ 30 นาที

ความโหดร้าย ความหยาบคาย และอบายมุขต่าง ๆ

ไม่รักษาสัญญา

ทำลายความคาดหวัง

ไม่ซื่อสัตย์และตีสองหน้า

ยโส หลอกลวง

ทะะเย่อหยิ่งดูละครโทรทัศน์จนดึก

ผลัดวันประกันพรุ่ง

ทะเลาะกันในครอบครัว

เอาความเครียดจากงานมาระบายกับคนในบ้าน

- ใช้หลักในการแบ่ง สิ่งที่ต้องทำออกเป็น 4 ส่วนคือ

I. สำคัญ และ เร่งด่วน (Emergency Job)

II. สำคัญ แต่ ไม่เร่งด่วน (Planning Job) ถ้า Plan ไม่ดี จะกลายไปเป็น ข้อ I

III. ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน (Yes Man คือ ใครชวนทำอะไร ทำหมด)

IV. ไม่สำคัญ และ ไม่เร่งด่วน (สิ่งบันเทิง ที่เกินความจำเป็นในชีวิต ) ต้องเลิกทำ

1. Urgent (เร่งด่วน) Important (สำคัญ)

เช่น วิกฤตการณ์ การแก้ปัญหางานเฉพาะหน้า 2. Unurgent (ไม่เร่งด่วน) Important (สำคัญ)

เช่น การวางแผน การพักผ่อนหย่อนใจ การวางแผน

3.Urgent (เร่งด่วน) Unimportant (ไม่สำคัญ)

เช่น การรับโทรศัพท์ รายงาน ปิดประชุม

4. Unurgent (ไม่เร่งด่วน) Unimportant(ไม่สำคัญ)

เช่น การดูละครโทรทัศน์ กิจกรรมเสียเวลาต่าง ๆ

- สรุป คือต้องเลือกทำในข้อ I & II และ พยายามอย่าปล่อยให้ ข้อ II กลายมาเป็นข้อ I (Try to Keep Schedule)

Permanent change – Result/Action/Think/Idea/Conditioning

Strategy – Change Condition/New Idea/Positive Thinking/Focus Action/Better Result

Put First Think First คือ หน้าที่เราทำอะไร ให้ทำตามนั้นเป็นอันดับแรก ให้ได้ Productivity

อุปนิสัยที่ 4 Think Win-Win (Effective long-term relationships require mutual benefit)

- แสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน

- ให้ความร่วมมือ ไม่ใช่แข่งขันชิงดีกัน

- เน้นการฟัง ใช้เวลาในการสื่อสารกันให้ยาวนานขึ้น และ พูดคุยกันด้วยความกล้าแสดงออก

- จุดประสงค์ ของ การฝึกนิสัยที่ 4 คือ การสร้าง ความเชื่อซึ่งกันและ กัน (Interpersonal Thrust ) หากเราคิดชนะ วันหนึ่งเราก็ต้องแพ้ หากเรา ปรองดองกันมีแต่ ชนะ-ชนะ เราควรฝึกให้คนคิดและต้องการสิ่งนั้นด้วยตัวเขา เอง

วุฒิภาวะ คือ การแสดงความคิดและความรู้สึกของตนเองด้วยความกล้าแสดงออกและด้วยความเอาใจใส่ต่อความคิดและความรู้สึกของผู้อื่น

Character (คุณลักษณะ) + Competence (ความรู้ความสามารถ) นำไป สู่ Trustworthiness (ความน่าไว้วางใจ) นำไปสู่ Trust (ความไว้วางใจ) รวม กันเป็นความสัมพันธ์ (Relationship)

นิสัยที่มีประสิทธิภาพ (Effective Habits Internalized Principles and Patterns of Behavior) ประกอบไปด้วย

Knowledge & Skill (What to, Why to)

Skills (How to) ทำซ้ำ ๆ กลายเป็น Habit (นิสัย)

Desire = I want to (ความต้องการ)

กรอบ ความคิด คือ สิ่งที่เห็นเข้ากระบวนการความคิด ประสบการณ์เฉพาะบุคคล ค่า นิยมเฉพาะคน สิ่งที่เป็นความใฝ่ฝันของตน ออกมาเป็น กรอบความคิดเฉพาะของตน เอง

กรอบความคิด หรือ กระบวนทัศน์ (Paradigm) เป็นวิธีการที่บุคคลรับรู้ มอง เห็นเข้าใจ และตีความโลกที่อยู่รอบตัว เปรียบเสมือนแผนที่ในใจ บุคคล เป็นผล ผลิต ของ การเรียนรู้ และ ประสบการณ์ และไม่มีบุคคลที่สองที่จะมีความรู้แบบ เดียวกัน ดังนั้น จึง ไม่มีบุคคลสองคนที่จะตึกรอบความคิดลักษณะเดียวกัน

กรอบความคิด เป็นสิ่งที่ทำให้เราเกิดการการกระทำ ส่งผลต่ออนาคตของตนเองและผู้อื่น คนจะต้องคิดและควบคุมความคิดให้ได้

การ กระทำอย่างเดียวกัน บางคนมีความสามารถในการทำงานให้เสร็จเร็วหรือช้าต่าง กัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการตัดสินใจของแต่ละคน คนที่อยู่ข้างหน้า มีผล ต่างจากคนที่อยู่ข้างหลัง รางวัลที่ได้ มีผลต่างกันมหาศาล แม้ว่าจะทุ่มสุด ตัว เช่น การวิ่งแข่ง ที่ 1 มีความแตกต่างจากที่ 2 ดังนั้น เราจะต้องคิดให้ ทันกับการการเปลี่ยนแปลงของโลก

ความผิดที่ไม่ก่อความ เสียหายในทางศีลธรรมไม่ถือว่าเป็นสิ่งเลวร้าย ความ ผิด คือ สิ่งที่ทำให้คนก้าวหน้าจาก การพัฒนาสิ่งที่ผิด ให้ทำถูกและดีขึ้น

ปัจจุบัน สิ่งที่เราต้องคำนึง คือ เป้าหมายสูงสุดที่ให้ผลประโยชน์สูง สุด ดังนั้น สิ่งที่ต้องเปลี่ยน คือ วิธีการ อย่ายึดวิธีการเดิม ๆ ที่ไม่ สามารถบรรลุเป้าหมายได้

ความสำเร็จ คือ มีชีวิตเป็นอิสระ ที่เกิดจาก ความมุ่งมั่นให้ได้เป้า หมาย (Mission) + สิ่งที่ต้องการจะไป (Vision) + พลังผลักดัน (Passion)

การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงการกระทำ เกิดเป็นพฤติกรรมแล้วเกิดการเปลี่ยน แปลง คือ ความรู้ ดึงความคิดที่เป็นนามธรรมมาเป็นการกระทำ ซึ่งเป็นรูปธรรม

กรอบความคิดใหม่ คือ ทำวิกฤติให้เป็นโอกาส

การว่าใคร ให้คิดเสมอว่า เราเอากรอบความคิดเราว่าเขา = เราว่าตัวเราเอง

กรอบความคิด สร้างจากอารมณ์ + ความคิด

ทุกสิ่งไม่เที่ยงแท้ ทุกคนต้องเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสิ่งที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา

Principle = หลักการที่เป็นจริงไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ขึ้นกับเวลาและสถานที่

ถ้าไม่มีการสูญเสีย จะไม่มีการได้มา ต้องเสียสละ อดทน จึงจะได้มา นี่คือหลักการ

Independence = การพึ่งพาตนเองได้ Interdependence นำไป สู่ Globalization การผูกพันพึ่งพาคนหนึ่งคน มีผลกระทบต่อตนเองและผู้ อื่น ให้ระลึกไว้เสมอว่า “เราจะร่วมกันทำอย่างไรดี”

สงบจิตใจวันละ 15-30 นาที ทบทวนสิ่งที่ทำในแต่ละวันทุก ๆ วัน สร้างภาพความสำเร็จของตนเองให้ชัดขึ้นทุก ๆ วัน – กล้าพูด กล้าทำ

คนพยายามมองโลกอย่างที่ต้องการเห็น ไม่มองอย่างโลกที่เป็นอยู่

คุณลักษณะ (Character) + ความรู้ความสามารถ (Competence) นำไปสู่ ความน่าไว้วางใจ (Trustworthiness) และนำไปสู่ความไว้วางใจ (Trust)

การทำงานร่วมกันอยู่ตรงที่ว่า รู้จักเอาวัตถุประสงค์ของงานเป็นหลัก ไม่ใช่เอาเรื่องใจชอบหรือไม่ชอบเป็นเกณฑ์

ทุก สิ่งทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีสิ่งใดอยู่กับที่ไม่ว่าบุคคลหรือ วัตถุ ปัญหาอยู่ที่ว่า จะคิดและทำให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร นัก ต่อสู้ที่แท้ ย่อมไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง

รากฐานความก้าวหน้า 5 ประการ (5 Pillars) คือ

Productive – ผลผลิตขององค์กร เป็นตัวชี้วัดความสามารถของผู้บริหารและบุคคลในองค์กร

Participate – การร่วมมือการยอมรับ การพึ่งพาซึ่งกันและกัน การให้ความร่วมมือที่ดีต่อกัน

Positive – ความคิดบวก การมีมุมมองที่กว้างไกล มองโอกาสที่ซ่อนตัวอยู่ใน ปัญหาทุกปัญหาได้ออก รู้จักคิด ความคิดเป็นตัวเริ่มต้นที่จะจุดประกายไฟ ทุกอย่าง ความคิดสร้างสรรค์เป็นแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ให้คนทำอะไรที่เป็น ประโยชน์

Patriotic – ความผูกพันความรัก ความเสียสละให้กับองค์กร เพื่อให้บริษัทอยู่ได้ เราก็อยู่ได้

Professionals – การเป็นมืออาชีพ จะต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ คือ ตาถึง - ต้อง มองอะไรกว้าง มองไกล มองลึกซึ้ง มองให้เห็นที่มาที่ไป มองเห็นภาพรวมภาพ ย่อย มองเห็นความชัดเจนของข้อมูล การมองกว้าง – ความลึกซึ้งเป็นเรื่องของ ประสบการณ์และทักษะจะต้องมีควบคู่กันไป มองเห็นรายละเอียด เห็นที่มาที่ไป โปร่งใส

ใจถึง – กล้าตัดสินใจ แต่จะต้องตัดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด

มือถึง – ทำอะไรต้องเก่ง หากเราไม่เก่ง ก็ขอความร่วมมือจากบุคคลอื่น ๆ ได้ เพียงใช้ศิลปะการเข้าไปนั่งในใจคนให้เป็น

เงินถึง – เงินในที่นี้ หมายถึง สมองมนุษย์ คนมีสมองก็เหมือนมีเงิน เศรษฐีของโลกร่ำรวยมาจากการใช้สมองมากกว่าขนเงินมาลงทุน

บุญถึง – เป็นคนมีความสุข จิตใจสงบ ทำดี ผลมาย่อมดี

คนที่เข้มแข็ง อดทน และเชื่อมั่นเท่านั้นที่จะยืนอยู่บนฝั่งแห่งความสำเร็จได้

ทักษะการฟังอย่างตั้งใจ (Responsive Listening Skills)

โดยไม่ใช้คำพูด โดยใช้คำพูด

- ฟังอย่างสนใจ

- มีสีหน้าที่เอาใจใส

- สบตา

- พยักหน้า

- เอนตัวมาข้างหน้า

- เล่าต่ออีกซิครับ/ค่ะ่

- อ้อ/ งั้นหรือ/ จริงหรือ

- ผมยังไม่ค่อยเข้าใจ…กรุณาเล่า อีกครั้งได้ไหมครับ

เทคนิคการใช้สูตร Taking the heat ในการรับฟัง

H - Hear them out (ตั้งใจรับฟัง)

E - Empathize (แสดงความเห็นอกเห็นใจ)

A - Apologize (ให้อภัย)

T - Take responsibility for action (รับผิดชอบในการแก้ไข)

อุปนิสัยที่ 5 Seek First to Understand , Then to Be Understood (การวินิจฉัยโรคต้องมาก่อนการจ่ายยา ความเข้าใจได้มาจากการฟัง)

- อุปนิสัยนี้ เป็นการฝึก การฟัง โดยพยายามให้เป็นการฟังแบบ เข้าอกเข้าใจกัน

- มักจะพบว่าในองค์กร มีคนที่มักจะ ตัดสินใจ หรือ ออกคำสั่ง โดยยังไม่ ได้ ทำความเข้าใจกับ สิ่ง ที่ผู้สื่อสาร ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ เพื่อนร่วม งาน ต้องการให้เราเข้าใจ

อุปนิสัยที่ 6 Synergize (ผลรวมที่ได้รับทั้งหมดมีค่ามากกว่าการเอา แต่ละส่วนมาร่วมกัน)

- ถ้าเราสามารถ ฝึก อุปนิสัยที่ 4 และ 5 ผ่านแล้ว จะทำให้เราสามารถ ผนึก พลังแนวความคิด ที่แตกต่างของแต่ละคน มาช่วยกันเป็นจุดเสริม เป็นทางเลือก ใหม่ ทีมีประสิทธิผลมากขึ้น

- ผลรวมทั้งปวงจะมากกว่าการเอาแต่ละส่วนประกอบมาบวกกัน เช่น การ เกิด Synergize ไม่ใช้การหารือร่วมกันเพื่อเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่งของแต่ ละคน แต่เป็นการนำ ข้อดีของแนวทางของแต่ละคน มารวมกันเป็นทางเลือกใหม่ ให้ มีประสิทธิผลการขึ้น กว่าการนำแนวทางของแต่ละคนมารวมกัน

อุปนิสัยที่ 7 Sharpen the Saw (Production (results) requires development of Production Capability (resources) )

- เป็นการฝึกฝนอุปนิสัยทั้ง 6 ให้คมอยู่เสมอ โดยแบ่งเป็น

การฝึกฝน ด้านกายภาพ (ทำร่างกายให้สมบูรณ์)

การฝึกฝน ด้านสติปัญญา (อ่าน หนังสือ หาความรู้ใหม่อยู่เสมอ)

การฝึกฝน ด้านจิตวิญญาณ ( ทำสมาธิ หรือ การใช้เวลากับธรรมชาติ)

เสียอะไรเสียได้อย่าเสียใจ เพราะมันหมายถึงการสูญสิ้นทุก ๆ อย่าง

อดีตจบไปแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง ทำปัจจุบัน ขณะจิตให้ดีที่สุด

ความคิดมีตัวตน คนจะเป็นอย่างที่คิด จงพูดอย่างที่คิดและทำอย่างที่พูด

ข้อมูลเพิ่มเติมที่หามาได้จาก website ข้างล่าง เข้าใจว่าจะเป็นข้อมูลเริ่มต้นของแนวคิดนี้

http://www.thailocaladmin.go.th/work/kpinow/7ebook/pdf/4712.pdf

อุปนิสัย 7 ประการ ของผู้มีประสิทธิผลสูง

สตีเวน อาร์ โควีย์ ( Stephen R. Covey ) เจ้าของแนวคิด อุปนิสัย 7 ประการของผู้มีประสิทธิผลสูง ( The 7 Habits of Highly Effective People ) ชี้ว่า คำว่า “ ผู้นำ ” นั้น เป็นมากกว่าคำเรียกเฉพาะตำแหน่งที่โก้หรู เท่านั้น แต่องค์กรจะประสบผลสำเร็จได้ต้องมีผู้นำในทุกระดับ นั่นคือ พนักงานทุกคนขององค์กรต้องมีความเป็นผู้นำ โดยบ่มเพาะอุปนิสัยทางบวกให้เกิดขึ้นอย่างแข็งแกร่งจนนำองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ต้องการบรรลุได้

- In The 7 Habits of Highly Effective People, author Stephen R. Covey presents a holistic, integrated, principle-centered approach for solving personal and professional problems. With penetrating insights and pointed anecdotes, Covey reveals a step-by-step pathway for living with fairness,integrity,honesty, and human dignity -- principles that give us the security to adapt to change and the wisdom and power to take advantage of the opportunities that change creates.

อุปนิสัย 7 ประการ มีอะไรบ้าง ?

อุปนิสัยที่ 1

โพรแอกทีฟ ( Proactive ) - หลักการวิสัยทัศน์ส่วนบุคคล

ต้องเป็นคนที่มีอิสรภาพในการเลือก มีทางเลือกของตนเองบนพื้นฐานค่านิยมที่ถูกต้อง และรับผิดชอบต่อทางเลือกของตนเอง อุปนิสัยที่ 1 จะเป็นพื้นฐานของของอุปนิสัยที่ 2 – 7 ถ้าไม่สามารถสร้างอุปนิสัยที่ 1 ได้ ก็จะไม่สามารถสร้างอุปนิสัยที่ 2 – 7 ได้

อุปนิสัยที่ 2

เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ - หลักการของการเป็นผู้นำในตนเอง

หลังจากที่เรามีทางเลือกของเราเอง เราต้องสร้างภาพในใจขึ้นมาก่อน เหมือนแผนที่นำทางว่าอยากเห็นตนเองเป็นอย่างไร อยากเห็นผลงานเป็นอย่างไร จากนั้นจึงเริ่มลงมือปฏิบัติ

อุปนิสัยที่ 3

ทำสิ่งที่สำคัญก่อน - หลักการบริหารส่วนบุคคล

ขั้นนี้เป็นการเริ่มลงมือปฏิบัติโดยเริ่มต้นจากเรื่องที่สำคัญก่อน จงยึดหลักว่า “ ชีวิตนั้นสั้น ดังนั้นจึงควรทำสิ่งที่สำคัญในชีวิตก่อน ” เราจะทำอย่างนั้นได้ต้องมีการบริหารเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง สิ่งที่ต้องทำคือเรื่องสำคัญ ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน หากทำได้ก็จะสามารถพึ่งตนเองได้

อุปนิสัยที่ 4

คิดแบบชนะ – ชนะ

มีแนวคิดว่า ถ้าครอบครัวได้ เราก็ได้ด้วย ถ้าองค์กรได้ เราก็ได้ด้วย แนวคิดเช่นนี้ทำให้เกิดความร่วมมือกัน หากเป็นตรงกันข้ามกับความคิดแบบตนเองชนะ คนอื่นแพ้ ก็จะเกิดการแข่งขันกัน

อุปนิสัยที่ 5

เข้าใจผู้อื่นก่อนก่อนให้ผู้อื่นเข้าใจเรา - หลักการผู้นำระหว่างบุคคล

ถ้าไม่คิดแบบชนะ – ชนะ คนเราจะไม่ยอมเข้าใจคนอื่นก่อน การจะเข้าใจคนอื่นก่อนได้ ต้องฟังให้มาก ๆ เพื่อเรียนรู้และเข้าใจผู้ที่เราฟัง แต่ถ้าไม่ฟังและพูดอย่างเดียว ก็จะไม่เข้าใจ เมื่อเข้าใจเขาแล้ว เขาจะเข้าใจเราเช่นกัน

อุปนิสัยที่ 6

ผนึกพลังประสานความต่าง - หลักการร่วมมืออย่างสร้างสรรค์

เมื่อเข้าใจผู้อื่นแล้วจะเห็นความแตกต่างระหว่างบุคคล แล้วจะให้คุณค่าในความแตกต่าง เหล่านั้น ซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถในการใช้ความแตกต่างนั้นมาผนึกพลัง ประสานความต่างได้ เมื่อเกิดความร่วมมือกัน ( Synergy ) เมื่อนั้นเราจะมีชัยชนะ หากเราสามารถพึ่งพากันได้

อุปนิสัยที่ 7

ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ - หลักการเติมพลังชีวิตให้สมดุล

ชีวิตประกอบไปด้วยปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านสติปัญญา ด้านสังคม – อารมณ์ และด้านจิตวิญญาณเมื่อตนเองมีประสิทธิผลสูงแล้ว จะโยงมาถึงอุปนิสัยที่ 8 ที่จะมุ่งให้ฟังเสียงของตนเอง เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของตนเองและเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม เขาจะค้นพบเหมือนที่เราค้นพบและจะนำไปสู่ความยิ่งใหญ่ ( The 8 th. Habit : From Effective to Greatness )

จะประยุกต์ใช้อุปนิสัยทั้ง 7 ได้อย่างไร ?

ปัญหาที่สำคัญของพนักงานองค์กรก็คือ พนักงานมักไม่รู้เป้าหมายขององค์กร ไม่รู้ว่าองค์กรกำลัง

จะไปทิศทางไหน อย่างไร ซึ่งทำให้ไม่เกิดการขับเคลื่อนไปข้างหน้า

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ประกอบด้วย ปัจจัย 4 ด้าน คือร่างกาย ( Body ) จิตใจ ( Heart ) สติปัญญา ( Mind ) และจิตวิญญาณ ( Spirit ) หากขยายความของทั้ง 4 ปัจจัย ร่างกายจะหมายความรวมถึง ภาวะเศรษฐกิจ การดำรงชีพให้อยู่รอด ( To Live ) สติปัญญารวมไปถึง สมอง ความคิด ทำอย่างไรจะให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนา ( To Learn ) จิตใจจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์และสังคม ( To Love ) และสุดท้ายคือ บุคคลจะดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าได้อย่างไร จะสร้างตำนานของชีวิตให้กับโลกใบนี้ได้อย่างไร ( To Leave a Legacy )

จากการวิจัย โควีย์ ชี้ให้เห็นว่าความไว้วางใจในองค์กรมักอยู่ในระดับต่ำ เหตุผลที่ความไว้วางใจระหว่างกันและกันอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนสูง เพราะสติปัญญาของคนไม่ได้เรียนรู้ให้มีวิสัยทัศน์หรือเป้าหมายเดียวกัน ไม่ได้ยึดถือค่านิยมในการอยู่ร่วมกัน เมื่อไม่เห็นความสำคัญเหล่านี้ ร่างกายจึงไม่ได้ถูกสั่งงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ด้วย จึงไม่มีพลังมากระตุ้นให้ทุ่มเทกายใจที่จะทำงาน สุดท้ายวิญญาณที่ไว้เนื้อเชื่อใจกันจึงไม่มี นี่คือปัจจัยด้านพื้นฐานความต้องการของมนุษย์

ในระดับองค์กรแล้ว สิ่งที่ทำให้พนักงานไม่รู้เป้าหมายที่ชัดเจนขององค์กร และไม่ปฏิบัติตามความต้องการขององค์กร มีสาเหตุตั้งแต่การขาดความชัดเจนของเป้าหมายเอง หรือไม่ได้อธิบายความหมายให้ทุกคนทราบ ทำให้ไม่รู้ว่าวิสัยทัศน์ขององค์กรจะไปทิศทางใด หรือบางคนรู้แต่ก็ไม่มีคำมั่นสัญญาว่าจะทำตามนั้นหรืออาจไม่มีการแปลงไปเป็นแผนปฏิบัติ หรือบางแง่มุม เพราะไม่ได้นำไปผูกโยงกับะบบการจ่ายค่าตอบแทน ไม่มีการผนึกกำลังประสานความต่าง ( Synergy ) ทำให้คนยังมองไม่เห็นวามแตกต่างความสามารถของแต่ละคน หรือเพราะคนไม่มีความรับผิดชอบจึงไม่มีการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง

ทำไมพนักงานบางคนจึงอยากจะทำหรือไม่อยากจะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดให้กับองค์กร

โควีย์ ตั้งคำถาม 4 คำถาม เพื่อวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าว คือ

โควีย์ ตั้งคำถาม 4 คำถาม เพื่อวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าว คือ

เห็นด้วยอย่างยิ่งเป็นอุปนิสัยของผู้นำที่น่าปฏิบัติและฝึกฝนตั้งแต่เริ่มแรกก่อนก่อนที่จะเป็นผู้นำหรือเป็นหัวหน้าคนอื่น จะได้เป็นนิสัยและเข้าไปในธาตุแท้ (Being) ของตนเอง เจริญพร

เรียน...ท่าน อจ.ชาญโชติ

ขอบคุณครับสำหรับความรู้ที่ดีๆและมีประโยชน์ กับพวกเรา ซึ่งผมขอร่วมแสดงความคิดเห็นบ้างในบางประเด็นครับ

คำถามของโควีย์ 4 คำถาม ตามที่ผมเข้าใจนะครับ

๑) ทำอย่างไรจึงจะทำให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้และการพัฒนา ( To Learn )

๒ ) มนุษย์จะดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าได้อย่างไร

๓) เราจะสร้างตำนานของชีวิตให้กับโลกใบนี้ได้อย่างไร ( To Leave a Legacy )

๔) ทำไมพนักงานบางคนจึงอยากจะทำหรือไม่อยากจะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดให้กับองค์กร

เห็นด้วยครับกับประโยคที่ว่า...จิตใจจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์และสังคม…ส่วนอุปนิสัย 7 ประการนั้น สำหรับตัวผมเองก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะอยู่ในพวกใด โดยเฉพาะข้อที่ ๑ ขึ้นอยู่กับอารมณ์และสภาพแวดล้อมจริงๆครับ หากเรารู้สึกดีต่อการทำงานมันก็จะดีไปหมด แต่ถ้าเราเจอพิษของคนบางประเภทเข้าก็ไม่อยากทำอะไรเลยเหมือนกัน โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่หรือระบบราชการเอง มีปัจจัยอีกหลายอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นระบบอุปถัมภ์ที่ไม่ได้เน้นเรื่องคุณภาพ ผู้บริหารที่เอาความคิดของตนเองเป็นหลัก การแบ่งพรรคแบ่งพวก ถึงแม้จะมีเป็นส่วนน้อย แต่อานุภาพของสิ่งเหล่านี้ก็ร้ายแรงพอสมควร ถ้าบรรยากาศในการทำงานดีขึ้นและสิ่งที่ยังเป็นปัญหาดังกล่าวข้างต้นนี้ลดน้อยลงไป คำตอบของคำถามทั้ง ๔ ข้อคงจะหาได้ไม่ยากครับ

สตีเฟ่น อาร์ โควีย์

คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะผู้นำที่ได้รับการยกย่องในระดับสากล

อีกทั้งยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านครอบครัว เป็นอาจารย์ เป็นที่ปรึกษา

ด้านองค์กร และผู้แต่งหนังสือที่อุทิศชีวิตให้กับการสอนด้านการ

ดำเนินชีวิต โดยยึดเอาหลักเกณฑ์เป็นที่ตั้งและด้านภาวะผู้นำเพื่อ

นำไปสร้างครอบครัวและองค์กร ปัจจุบันมีบุตรเก้าคน หลานอีก

สี่สิบสามคน ได้รับรางวัลคุณพ่อดีเด่น 2003 Fatherhood Award

จากสถาบัน Naitonal Fatherhood Initiative กล่าวว่าเป็นรางวัล

ที่มีความหมายมากที่สุดเท่าที่เคยได้รับมา ดร.โควีย์ ได้รับยกย่อง

ให้เป็นหนึ่งใน 25 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดจากนิตยสาร Time

และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากอีกเจ็ดสถาบัน

ที่มา : หนังสืออุปนิสัยที่ 8

ขอบคุณ Mr.Chalawan ที่แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณ เบบี้บูม ที่ช่วยหาประวัติ สตีเฟ่น อาร์ โควีย์ มาให้ครับ

ขอบคุณ Mr.K ที่ร่วมตอบคำถาม ของ สตีเฟน อาร์ โควีย์ ความจริง สตีเฟน อาร์ โควีย์ เขาถามและตอบไว้แล้ว ดังนี้ครับ

โควีย์ ตั้งคำถาม 4 คำถาม เพื่อวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าว คือ

1. ถ้าทำงานอยู่ในองค์กรที่มีการเมืองในองค์กรมาก และระบบการจ่ายค่าตอบแทนไม่ยุติธรรม ได้รับค่าจ้างที่ไม่เหมาะสมกับองค์กร จะทำอย่างไร ถ้าได้รับค่าตอบแทนอย่างยุติธรรม แต่ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างดี เช่น ไม่ได้รับการเคารพ มีวิธีปฏิบัติของหัวหน้าที่ไม่เสมอต้นเสมอปลายขึ้นอยู่กับอารมณ์ จะทำอย่างไร

2. ถ้าได้รับการจ่ายค่าจ้างที่ยุติธรรม ได้รับการปฏิบัติที่ดีจากหัวหน้า แต่ความคิดเห็นที่เสนอไปไม่ได้รับการตอบสนอง จะทำอย่างไร

3. ถ้าได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม ได้ลาออกจากงานไปเลย หรือ สองทำตามคำสั่งแต่ผูกพยาบาทกับหัวหน้าของตนเอง สาม ทำไปตามกฎระเบียบของบริษัท สี่ รู้สึกอยากทำงานร่วมมือให้กับบริษัท ห้า มีคำมั่นสัญญา ทำงานให้กับองค์กรด้วยความจริงใจ และ หก มีความท้าทาย ตื่นเต้น ที่จะสร้างอะไร ใหม่ ๆ ให้กับองค์กร

4 ถ้าได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม ได้รับการปฏิบัติที่ดี ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทำงานที่มีคุณค่า มีความหมายต่อเรา แต่ในที่ทำงานกลับมีแต่การหลอกลวงลูกค้าและคู่ค้าหรือแม้แต่พนักงานคนอื่นจะทำอย่างไร

จากคำถามทั้ง 4 เขาพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เลือกตอบ 3 ข้อแรกมากที่สุด คือ ถ้าได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดีจะเป็นกบฎ หรือลาออกไปเลย ถ้าได้รับค่าจ้างที่ไม่เหมาะสมแต่ดูแลไม่ดี ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของหัวหน้า ก็จะทำตามสั่ง แต่ผูกพยาบาทไว้ หรือ ทำตามกฎระเบียบเท่านั้น ไม่ได้ทำอะไรที่นอกเหนือความคาดหมาย นี่เป็นเพราะการจัดการของผู้บริหารใช้อำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับจากองค์กรเข้ามาจัดการ แต่สำหรับยุค knowledge Worker แล้ว องค์กรต้องการคำตอบว่าพนักงานพร้อมที่จะร่วมมือร่วมใจให้กับองค์กร หรือมีคำมั่นสัญญาว่าจะทำงานให้เสร็จ หรือ สร้างสรรค์สิ่งที่ดีและมีความตื่นเต้นกับสิ่งที่ท้าทายตลอดเวลา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องใช้ภาวะผู้นำจัดการ

ถ้าเราละเลยการดูแลปัจจัยทั้ง 4 ด้านของมนุษย์ เท่ากับว่าเราได้เปลี่ยนพนักงานไปสู่สิ่งไม่มีชีวิต แล้วเราจะจัดการกับสิ่งของในองค์กรอย่างไร ส่วนใหญ่คนเป็นหัวหน้าก็จะเข้าไปดูแลและใช้วิธีกระตุ้นจูงใจด้วย Carrot-and-Stick ทำได้ก็ให้รางวัล ทำไม่ได้ก็ลงโทษ แล้วองค์กรก็มุ่งไปสู่ความสำเร็จได้ ดังนั้นบทบาทขององค์กรจึงต้อง กำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจและค่านิยมให้สอดคล้องกัน และองค์กรยังต้องสื่อสารถ่ายทอดให้พนักงานรับรู้ ว่าองค์กรต้องการมุ่งไปทางไหนอย่างแท้จริง จึงจะทำให้พนักงานมีคำมั่นสัญญาที่จะปฏิบัติตาม และจะต้องแปลงไปสู่แผนปฏิบัติอย่างจริงจัง ต้องให้คุณค่าในความแตกต่างของพนักงานแต่ละคน เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการทำงาน และไม่ลืมที่จะสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมด้วย ต้องทำให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะทำตามนั้นออกมา พนักงานคือผู้มีส่วนในการผลักดันองค์กรอย่างแท้จริง และเขาจะทำได้ก็ต่อเมื่อเข้าใจ เห็นความสำคัญ และพร้อมที่จะฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ

ข้อมูลได้มาจาก website ข้างล่าง

http://www.thailocaladmin.go.th/work/kpinow/7ebook/pdf/4712.pdf

เรียน...ท่าน อจ.ชาญโชติ

ขอบคุณมากครับสำหรับคำเฉลยที่มีประโยชน์มาก และผมก็เห็นด้วยอย่างมากครับกับคำพูดที่ว่าถ้าองค์กรละเลยการดูแลปัจจัยทั้ง 4 ด้านของมนุษย์ เท่ากับว่าองค์กรได้เปลี่ยนบุคลากรไปสู่สิ่งที่ไม่มีชีวิต เพราะที่ผ่านมาจากประสบการณ์เป็นอย่างนั้นจริงๆ สำหรับความเห็นของผมแล้วเพียงทำให้ได้แค่ทางด้านร่างกาย ( Body ) จิตใจ ( Heart ) และ สติปัญญา ( Mind ) ก็มากพอแล้วครับ ความมุ่งมั่นทางด้านจิตวิญญาณ ( Spirit ) จะตามมาเอง และบุคลากรดังกล่าวก็คงจะมีจิตใจที่พร้อมจะฝึกตนเองเพื่อให้เป็นผู้นำที่ดีในอนาคตต่อไป

แนะนำหนังสือ

โลกของโซฟี  โดยโยสไตน์  กอร์เดอร์

สายพิณ  ศุพุทธมงคล แปล

"ผู้เขียนค้นพบวิธีการอันชาญฉลาดในการโยงความคิดของ

นักปรัชญาแต่ละคนเข้ากับการไขปริศนาส่วนตัวของโซฟีและ

ฮิลเด้  งานปรัชญาปาร์ตี้ที่จัดขึ้นในสวนกลายเป็นฉากที่ขบขัน

และน่าจดจำที่สุดของเรื่อง  ด้วยการผสมผสานความคิดหลัก

ของตะวันตก สามัญสำนึกของคนเรา และการตอบโต้ความคิด

เรื่องงานฉลองและอนาธิปไตยทางเพศ"  คำวิจารณ์จากนิวยอร์คไทม์ส

 

เห็นด้วยกับข้อสรุปของ Mr.K. ครับ ทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยาของแผ่นดิน ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีโอกาสมาก แต่คนไทยส่วนมากไม่มีโอกาส ระบบทุนนิยมทำให้คนไทยขาดจิตวิญญาณ ทำให้คนมุ่งแสวงหาแต่ความต้องการทางร่างกาย ไม่คำนึงถึงความต้องการด้านจิตใจ จึงทำให้ขาดสติปัญญา

ได้รับ e-mail จากเครือข่าย เห็นว่าดีเลยนำมาแบ่งปันครับ

@เรื่องของความรัก@

......เขียนบนทราย......

เป็นเรื่องราวของเพื่อน 2 คนที่กำลังเดินทางอยู่กลางทะเลทราย

เมื่อเดินทางถึงจุดหนึ่ง ก็เกิดการโต้เถียงกัน เพื่อนคนหนึ่งก็ตบหน้าเพื่อนอีกคนหนึ่ง

เพื่อนคนที่ถูกตบหน้า ไม่ว่าอะไรสักคำ

แต่กลับเขียนข้อความไว้ที่พื้นทรายว่า

"วันนี้เพื่อนรักของฉัน ตบหน้...าฉัน"

พวกเขาเดินทางกันต่อไป จนกระทั่งพบแหล่งน้ำกลางทะเลทราย

พวกเขาตัดสินใจอาบน้ำที่นั่นเพื่อนคนที่ถูกตบหน้าก็เกิดจมน้ำ

แต่ก็โชคดีที่เพื่อนอีกคนช่วยชีวิตไว้ได้

เมื่อเขาหายตกใจจากการจมน้ำ

เขาก็จารึกข้อความไว้ที่ก้อนหินว่า

"วันนี้เพื่อนรักของฉัน ช่วยชีวิตฉันไว้"

เพื่อนคนที่ช่วยชีวิตเขาและตบหน้าเขารู้สึกแปลกใจในการกระทำของเขาจึงเอ่ยปากถามว่า

"ทำไมตอนที่ฉันทำร้ายเธอ เธอเขียนลงบนพื้นทราย แต่ตอนนี้เธอเขียนลงบนหิน"

เพื่อนอีกคนยิ้มและตอบว่า

"เมื่อเพื่อนทำร้ายเรา เราควรจะเขียนลงบนทราย เพื่อให้สายลมแห่งอโหสิพัดมาและลบมันทิ้งไป

และเมื่อมีความประทับใจเกิดขึ้น เราควรจะจารึกไว้ในศิลาแห่งความทรงจำจากใจ

ซึ่งสายลมจะมิอาจทำให้มันเลือนลางได้" จงเรียนรู้ที่จะเขียนลงบนพื้นทราย

ที่มา www.dhamma4ever.com/

Best regards,

นส.จิราภรณ์ เนื่องเจริญ

Jiraporn Nuangcharoen

TISCO Securities co.ltd.

Mobile:086-565-7599,081-815-8598,087-134-6655

การจัดสัมมนา เม่ือ 24 พ.ย.53 เป็นอย่างไรกันบ้าง สมาชิก talent 2 ช่วยกันแสดงความเห็นกันหน่อยจ้า

สรุปการสัมมนา เรื่อง CRM กับการบริหารงานข่าว

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2553

ณ ห้องประชุมสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

จัดโดย

สถาบันข่าวกรอง สขช. และผู้เข้าอบรม Talent รุ่นที่ 2

ช่วงเปิดการสัมมนา

ชมวีดิทัศน์

  • What – เหตุระเบิดทำให้คนตาย
  • How- โครงการป้องกันเมืองใหญ่ในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังเหตุร้ายและภัยต่อความไม่สงบของประเทศ มีการบูรณาการด้านข่าวกรองในประชาคมข่าวกรอง มีการสัมมนาร่วมกันระหว่างภาคเอกชนกับสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
  • ภัยคุกคามสามารถเกิดได้ฉับพลัน สัมพันธภาพสำนักข่าวกรองกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความสำคัญยิ่ง

กล่าวเปิด โดย ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

  • สถานการณ์บ้านเมืองผันแปรเร็วทั้งในและต่างประเทศ ประชาชนได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง
  • สำนักข่าวกรองต้องรายงานข่าวที่มีคุณภาพบอกเหตุการณ์ในอนาคตได้ เพื่อลูกค้าทุกภาคส่วนจะได้ใช้บริโภคแล้วนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขและความเจริญของประเทศ
  • ดีใจที่ได้ยกเรื่อง CRM มาพูด
  • ขอบคุณดร.จีระที่กรุณาปั้นบรรดา Talents ให้เป็นกำลังสำคัญของสำนักข่าวกรอง
  • สิ่งที่ได้เรียนรู้และความเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนา ขอให้นำไปศึกษาต่อยอดและพัฒนางานต่อไป

ผู้นำเสนอ

คุณวิรัตน์

  • CRM (Customer Relationship Management) คือการบริหารสัมพันธภาพกับลูกค้า
  • งานข่าวกรองสำคัญมากเพราะเป็นเครื่องมือบริหารจัดการความมั่นคงของประเทศ ต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและทุกระดับ  
  • มีหลายขั้นตอนของวงจรข่าวกรอง Feedback สะท้อนว่า ข่าวได้ตรงตามความต้องการผู้ใช้หรือไม่ ข่าวต้องมีความแม่นยำ จึงต้องเสริมสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อพัฒนาข่าวกรองให้มีคุณภาพ
  • CRM เป็นการทำงานแบบบูรณาการและให้ประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งตรงตามแผนยุทธศาสตร์
  • เราทำให้เกิดความไว้วางใจและตอบสนองเรื่องการข่าวได้ดี
  • ในองค์กร เราก็ทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีการทำงานเป็นทีม รับฟังความคิดเห็นกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • เราทำงานตอบสนองต่อฝ่ายบริหารเพื่อให้ใช้ข่าวกรองไปพัฒนาประเทศ ด้วยการติดต่อสื่อสารเร็ว ทำให้ตอบสนองได้เร็วและตรงตามความต้องการ
  • เรามีประชาคมข่าวกรอง มีการรับฟังข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทำให้เกิดความไว้วางใจ แลกเปลี่ยนข่าวสารได้ดี เราเป็นแกนนำจัดฝึกอบรมให้ความรู้การข่าว เพื่อเพิ่มศักยภาพสมาชิกประชาคมข่าวกรอง
  • เราถือว่าภาคประชาชนเป็นส่วนสำคัญ ประชาชนรู้สถานการณ์ในพื้นที่อย่างดี เราจำเป็นต้องได้ข้อมูลจากเขา ได้จัดกิจกรรม เช่น สร้างเครือข่ายให้ความรู้การข่าว กระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม เราก็จะเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน

คุณธัญลักษณ์

  • สำนักข่าวกรองแห่งชาติยึดหลักเครือข่ายภาครรัฐ เอกชน และประชาชน
  • เรารักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนด้วย เราจัดเจ้าหน้าที่ไปเยี่ยมหน่วยงานภาครัฐ นำผลมาเสนอต่อนายกเพื่อนำมากำหนดมาตรการความปลอดภัย
  • เราผลิตข่าวกรองแจกจ่ายให้ตำรวจและทหาร มีการประเมินความพึงพอใจ มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจ
  • เราให้ความรู้ผู้ประกอบการแก่ผู้ประกอบการภาคธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องการรักษาความปลอดภัย
  • มีการฝึกอาชีพสร้างรายได้ต่อยอดภูมิปัญญาชาวบ้าน

คุณศิราณี

  • ในอนาคต เรามุ่งหวังให้ผลผลิตข่าวกรองมีความแม่นยำและสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า สิ่งสำคัญคือสัมพันธภาพร่วมกันกับทุกฝ่าย และข้อคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ต้องนำ CRM มาประยุกต์ในวิธีการของข่าวกรองให้ถูกต้อง
  • สิ่งแรกที่สำคัญคือ ลูกค้าข่าวกรองไม่ได้ซื้อสินค้าจากข่าวกรองโดยใช้เงิน แต่ท่านต้องใช้ข่าวกรองในการบริหารประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้ข่าวและผู้ใช้ข่าว
  • ลูกค้ามีทั้งผู้ให้ข่าวและผู้ใช้ข่าว มีทั้งประชาชน บริษัทต่างๆด้วย
  • ต้องให้ข่าวที่มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถดับปัญหาได้
  • ถ้ามีเครือข่ายมากขึ้นเป็นรากหญ้า นักวิชาการและพระหรือคนที่ศรัทธาในระบบข่าวกรอง ก็จะดีขึ้น
  • ต้องเปลี่ยน Mindset ให้สู้กับ CIA ปากีสถาน จีน ฯลฯได้
  • 1 ใน 3 ของ CIA คือ การฝึกอบรม ท่านสุวพันธ์ก็ทำได้ดีแล้ว
  • สำนักข่าวกรองมีหน้าที่ดูแลความมั่นคงของประเทศและสำคัญเท่ากันกับระบบอื่นๆแต่เงินเดือนน้อย
  • อยากให้มีคนนอกเข้ามาร่วมสัมมนาบ้าง
  • นี่คือชุมชนใหม่ของข่าวกรอง (Social Capital) เป็นทุนมนุษย์สายข่าวที่รู้จักคนอื่นและได้รับศรัทธาจากคนเหล่านั้น
  • ต้องคิดถึง CRM , Stakeholder (ลูกค้าและผู้ให้ข่าว)
  • ต้องเรียน Cross-functional team ละลายพฤติกรรมในไซโล
  • ข่าวกรองต้องมีความเร็ว ชัดเจน ถูกต้องนำไปแก้ปัญหาได้

Guest Speakers

คุณไพสิฐ ขาวสิทธิวงษ์ พนักงานบริหารความมั่นคงปลอดภัย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

  • การทำ CRM เป็นเรื่องใหญ่มาก ต้องปรับปรุงกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่บริการหลังการขาย คนในโรงงานผลิตสินค้า จะขันน็อต ก็ต้องนึกถึงลูกค้า ผู้บริหารก็ต้องเปลี่ยนทัศนคติ
  • ความพึงพอใจลูกค้าคือ ความคาดหวังของลูกค้า ซึ่งต้องน้อยกว่าการรับรู้ของลูกค้า (คุณภาพสินค้าหรือบริการต้องดีกว่าที่ลูกค้าคาดหวัง) นี่คือสิ่งที่สำนักข่าวกรองควรนำไปทำ
  • ปตท. เลียนแบบการทำงานสำนักข่าวกรองแห่งชาติทุกอย่าง โดยเฉพาะงานของผมซึ่งเกี่ยวข้องความมั่นคงปลอดภัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการข่าว
  • ในฐานะเอกชน จึงมุ่งตรงมาศึกษาที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติ แล้วนำวิธีการไปใช้ที่ปตท. เช่น มีระเบียบ มีการฝึกอบรมสัมมนา นำเครือข่ายที่มีที่สำนักข่าวกรองไปแสดงที่ปตท. หลังจากเรียนแล้วก็นำไปอบรมสายปฏิบัติการในปตท. เคยเชิญสำนักข่าวกรองไปตรวจที่ปตท. มีสรุปข่าวสำคัญแล้วส่งให้เครือข่าย
  • แต่ปตท.ทำได้ดีกว่าเรื่องการแจ้งเตือนในเวลาที่เหมาะสม ให้พนักงานที่บ้านอยู่ใกล้บอกเตือนว่า พรุ่งนี้ควรปฏิบัติอย่างไร
  • สำนักข่าวกรองควรเน้น Quality+Realtime คุณภาพที่มาทันเวลา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ในอนาคต ควรเชิญเซ็นทรัลพัฒนามาที่นี่
  • ผมได้เรียนรู้จากคุณไพสิฐว่าเอกชนก็เป็นลูกค้าสำนักข่าวกรอง แต่ปตท.ก็ต้องให้ข่าวด้วย

คุณเสริมศักดิ์ (เครือข่ายภาคประชาชน)

  • จากการที่ผมได้รู้จักชุมชนต่างๆ การลงพื้นที่สำนักข่าวกรองผ่านทางกทม. (เขต) ได้มีเจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองมาพบปะกับผู้นำชุมชน ท่านไปด้วยความสุภาพ เตรียมตัวดี มีการนำเสนอที่ชัดเจนว่า ชุมชนควรร่วมมืออย่างไร เช่น แจ้งข่าวก่อการร้าย วางระเบิด ความผิดปกติในชุมชน แต่ชุมชนเคยดูแลในเรื่องขโมย
  • ต่อมาเจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองให้เราช่วยเป็นหูเป็นตา บอกวิธีสังเกตการณ์ คนที่มาเช่าบ้านแต่ไม่ได้ออกไปไหน เมื่อได้รับความรู้นี้ ก็เป็นประโยชน์ขึ้น
  • หลังจากนี้ ก็เชิญกรรมการชุมชนไปสัมมนาแลกเปลี่ยนความเห็น update สถานการณ์ต่างๆ
  • ในการตั้งเครือข่ายประชาชน ควรขยายไปด้านอื่นด้วย เช่น คอนโด บ้านเช่าที่นายทุนปลูกให้เช่าเยอะๆ แล้วมีการสอนวิธีการเฝ้าสังเกตการณ์
  • ควรมีการนำผู้นำชุมชน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการแก้ปัญหา
  • การขยายเครือข่ายภาคประชาชน ควรนำหลักการขายตรงมาใช้ ให้ผู้รับการอบรมในชุมชนต่างๆนำเพื่อนเข้ามาร่วมมือ ใช้การบอกเล่าต่อๆกันไป
  • ผมได้ประสานข้อมูลกับเครือข่ายอื่นเพ่อนำ CRM ไปใช้กับเครือข่ายการข่าวภาคอื่น
  • ควรมีการไปเยี่ยมเยียนชุมชนบ่อยๆ มีขนมติดมือไปให้บ้าง จะเกิด loyalty
  • ต้องมีความต่อเนื่อง ทำให้ผู้นำชุมชนมีความกระตือรือร้นในการร่วมมือกับสำนักข่าวกรอง
  • เมื่อชุมชนได้รับการแนะนำเทคนิคแล้วส่งข้อมูลมาให้ สำนักข่าวกรองควรรีบดำเนินการเพื่อแสดงความจริงใจต่อชุมชน
  • ประชาชนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ประชาชนสับสน สำนักข่าวกรองควรออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน
  • ควรตั้ง Call Center บริการหลังการขายติดต่อได้
  • สำนักข่าวกรองควรเป็นแบรนด์เนมด้านข่าวกรอง เหมือนแฟ้บเป็นแบรนด์ของผงซักฟอก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ขอขอบคุณที่เสนอแนะแนวทางการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

รศ.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร

  • ความต้องการของข่าวกรองเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย คุณควรทำงานสนองตอบต่อผู้บริหารหรือสนองตอบต่อประชาชน งานของคุณเป็นการปิดทองหลังพระ ควรมีสื่อเตือนให้ประชาชนทราบบ้างในบางเรื่อง
  • หน้าที่รับผิดชอบของฝ่ายข่าวกรองมีทุกเรื่อง ตอนนี้ ปัญหาใหญ่คือไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่า คนเถื่อนในประเทศไทยสร้างปัญหาอะไรให้ประเทศบ้าง เช่น แม่สอดอยากเป็นเมืองพิเศษ มีคนไทย 98,000 คน มีคนพม่า 90,000 คน โรงพยาบาลต้องรักษาคนไม่มีเงิน
  • ฝ่ายข่าวกรองต้องรายงานเรื่องการปั่นหุ้นด้วย
  • สำนักข่าวกรองต้องมีหน่วยราชการที่ต้องทำงานร่วมกัน เช่น ตำรวจ กรอมน. ต้องมีวิธีการแก้ไขปัญหาภาคใต้แบบถูกทาง จังหวัดปัตตานีมีเพลงชาติและธงชาติของตนเองแล้ว
  • สำนักข่าวกรองต้องมีหน่วยเข้าไปสังเกตการณ์ในม็อบ
  • สำนักข่าวกรองควรวิเคราะห์ทำไมนักการเมืองโกงโดยไม่กลัว
  • ปัญหาของสำนักข่าวกรองคือการบูรณาการกับหน่วยงานอื่นมากกว่า เรื่องงบ บุคลากร
  • เครือข่ายสำคัญมาก ทำให้ได้ข้อมูลมา
  • ในอนาคต ภาคอีสานจะมีปัญหาความแตกแยกมากขึ้น หน่วยข่าวกรองควรลงลึกถึงประเด็นต่างๆ
  • น้ำหนักของข่าวกรองแต่ละชิ้นใช้อะไรตัดสิน
  • ควรมีหน่วยราชการวัดผลดี ผลเสียของแต่ละข่าว
  • ควรสร้างเครือข่ายใหม่เพื่อล่วงรู้ข้อมูลภายในแล้วนำมาแก้ปัญหาภาคใต้
  • ข่าวกรองต้องทราบว่านักการเมืองไทยคนไหนที่ถูกระงับวีซ่าเข้าอเมริกา
  • เครือข่ายที่สำคัญที่สุดต้องรายงานข่าวถูกต้อง แม่นยำ เที่ยงตรง
  • การสร้างเครือข่ายต้องมีการบูรณาการมากขึ้น ร่วมคิดการสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ
  • จริงๆแล้ว ยังมีข่าวอีกมากที่ต้องลงลึก และแจ้งให้ประชาชนทราบ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • เครือข่าย CRM ลูกค้าต้องกว้างขึ้น และ มี Stakeholder ใครก็ได้ที่ทำงานร่วมกัน
  • วิชาที่ข่าวกรองอ่อนคือ เศรษฐศาสตร์
  • ควรเรียนเรื่องระหว่างประเทศ ยังพูดเรื่องการเมืองระหว่างประเทศน้อยมาก
  • ข้าราชการข่าวกรองต้องมีความสามารถ ใฝ่รู้ มีคุณธรรม มีจิตสาธารณะ
  • ข้าราชการข่าวกรองต้องทำให้หน่วยงานเป็นที่ศรัทธาและยอมรับจากคนในสังคม มีการเปิดเวทีให้คุยกัน
  • ต้องทำให้ประเทศเชื่อมั่นสำนักงานข่าวกรอง
  • สำนักข่าวกรองต้องฝึกคนให้เข้มแข็ง แต่ก่อนเคยได้คนระดับมันสมองมา แต่ตอนนี้ คนเก่งไม่มาทำงานราชการแล้ว
  • งานสำนักข่าวกรองทำให้คนได้ฝึก (ให้เขาได้ค้นหาตัวเอง)
  • สำนักข่าวกรองยังอ่อนเรื่องการบริหารจัดการและเครือข่าย

 

ช่วงแลกเปลี่ยนความเห็น

คนที่ 1 (กทม.)

  • ผมเองเป็นผู้ให้ข่าวและใช้ข่าวด้วย
  • กทม.ไม่ได้ทำการข่าวและความมั่นคงโดยตรง ตอนหลังใช้กล้อง CCTV เก็บข้อมู
  • คนที่เป็นศูนย์กลางการข่าวของประเทศไทยคือใคร
  • สำนักข่าวกรองควรเป็นตัวเชื่อมทุกส่วนเกี่ยวกับเรื่องข่าว
  • กทม.มีเทศกิจและคนกวาดถนนคอยรายงานข่าวโดยเฉพาะจำนวนผู้ชุมนุม
  • กทม.มีสายด่วน 155 ให้แจ้งข้อมูล เราถือว่าการข่าวสำคัญที่สุด
  • กทม.มีอบรมเครือข่ายการข่าว เช่น วินมอเตอร์ไซค์ คนไร้บ้าน หาบเร่แผงลอย อนาคตก็จะมีการข่าวจากแรงงานต่างด้าว
  • กทม.มีการเชื่อมโยงกับตำรวจ แล้วจะมีเจ้าหน้าที่ไปดูแลถึงที่เกิดเหตุ
  • ในอนาคต จะมี CCTV เชื่อมโยงกับหน่วยข่าวทุกส่วน แต่ปัญหาคือกล้องโดนระเบิด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • เป็นข้อคิดเห็นที่มีประโยชน์มาก
  • สำนักข่าวกรองกับกทม.ควรใกล้ชิดกันมากขึ้น

คนที่ 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย

  • สำนักข่าวกรองควรให้ความกระจ่าง ตรวจสอบความตรงข้อมูลข่าวสาร แล้วออกมาบอกว่าใครพูดจริง

คนที่ 3 นาวาอากาศเอกสุรพล

  • เคยเป็นลูกค้าข่าวกรอง ข่าวใช้ได้แต่ไม่ทันเวลา
  • ควรมีทั้งเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน คาดการณ์อนาคตและมีการแจ้งเตือน
  • ต้องนำเสนอข่าวแบบการแจ้งเตือนภัย เช่นภัยธรรมชาติ
  • ควรมีระบบ GIS แล้วนำข่าวมารวมกัน
  • ควร engage CCTV นำขึ้นเว็บไซต์ให้ประชาชนโทรไปแจ้งเหตุแล้วให้รางวัลเขา

คนที่ 4 วิรัตน์ (TOT)

  • งานข่าวไม่ใช่งานลูกค้าทั่วไป ต้องมีการคัดกรองลูกค้า เขาต้องมีความจงรักภักดี
  • ต้องให้ลูกค้าบอกถึงจุดบอดเรา เราจะได้แข่งขันได้
  • สำนักข่าวกรองต้องรู้จักว่าจะติดต่อใครในองค์กรไหนเพื่อให้ข่าว

ช่วงสรุปผลและปิดการสัมมนา

คุณไพสิฐ ขาวสิทธิวงษ์ พนักงานบริหารความมั่นคงปลอดภัย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

  • หลายท่านมีแนวคิดที่ดีทำให้ข่าวกรองประสบความสำเร็จ
  • ตอนนี้ LPG ในตลาดโลก 800 USD ในไทย มี Gap 450 USD ต่อตัน แต่รัฐบาล subsidize ให้โดยใช้ภาษี

คุณเสริมศักดิ์ พจน์คำขำ (เครือข่ายภาคประชาชน)

  • ต้องสร้าง Network

รศ.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร

  • ต้องนำปัญหาประชาชนเป็นตัวตั้ง เน้นให้ประชาชนอยู่ดีกินดี
  • ถ้าอยากสร้างคนของข่าวกรอง ควรจองคนเรียนเก่งในหลายสาขามาตั้งแต่สมัยมัธยมมาทำงานด้วย

คุณศิราณี

  • สำนักข่าวกรองยังทำหน้าที่ฉายไฟฉาย เรามีทั้งสิ่งที่เปิดเผยได้และไม่ได้
  • เรายินดีน้อมรับทุกข้อเสนอแนะเพื่อนำไปเพิ่มประสิทธิภาพเป็น Intelligence
  • ขอความร่วมมือทุกท่านในที่นี้เป็นเครือข่าย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ควรจัดสัมมนาแบบนี้ที่อีสาน มีภาครัฐและเอกชนมาร่วมงาน
  • ต้องนำแกนของข่าวกรองเป็นตัวนำ
  • ต้องรู้แล้วนำไปทำ แล้วคุณภาพของข่าวกรองก็จะสูงขึ้น
  • สัมมนาควรมุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จในอนาคต
  • ขอขอบคุณทางข่าวกรองที่ให้โอกาสผม

ท่านรองฐากูร

  • วันนี้นับเป็นมิติใหม่ที่ผมได้มาเข้าร่วมสัมมนา เพราะเป็นเรื่องใหม่ที่เราเข้ามาอยู่ในหน่วยงานคือ CRM เราเคยได้ฟังจากภาคธุรกิจ และคิดว่าจะมาใช้อย่างไรในข่าวกรอง
  • ท่านเป็นลูกค้าที่ใช้ข่าวและช่วยเรา
  • สิ่งที่ผมพบคือ Trust จากที่ประชุมแห่งนี้ ให้ความรู้และคำแนะนำ ซึ่งเป็นมิติที่ดี ที่ควรทำให้ต่อเนื่องต่อไป
  • ทุกท่านได้ให้ความคิดเห็นมากมาย นี่คืออุดมคติที่สำนักข่าวกรองใฝ่ฝัน
  • มีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง เราเก่งเรื่องข่าว แต่ไม่เก่งเรื่องบริหาร ผู้บริหารเราต้องไปตอบคำถามเรื่องข่าว ผู้บริหารต้องรู้ข่าวและการบริหารจัดการ ซึ่งยุ่งยาก เราจะแสวงหาความรู้จากผู้รู้
  • ในสังคมไทย มีหน่วยงานมากไม่สามารถนำมาละลายรวมกัน เราพยายามสร้างศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ ตอนนี้ ทำไปได้ 50%
  • สำนักข่าวกรองบางทีอาจจะต้องตอบคำถามตามรัฐบาลคาดหวัง นี่เป็นกรอบ
  • สำนักข่าวกรองจะพูดแต่ความจริงและความถูกต้อง
  • ขอขอบคุณดร.จีระที่ให้เกียรติและเวลา ท่านเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพสูง สำนักข่าวกรองถือเป็นเกียรติอย่างสูง
  • ขอขอบคุณคณะผู้จัดงานและผู้เข้าร่วมสัมมนา

พิธีปิด ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553

กล่าวรายงาน

  • การดำเนินฝึกอบรมเน้น
  • การบรรยาย
  • แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
  • กรณีศึกษา
  • self study
  • ฝึกวัฒนธรรมการเรียนรู้
  • ดร.จีระ ปรับทัศนคติการทำงานโดยใช้ blog เน้นการเรียนเป็นทีม workshop การบ้านผ่าน blog
  • มีการดูงานโรงงานทีพีไอ
  • มีการสัมมนาสาธารณะ
  • ผู้รับการฝึกอบรมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่และมีการทำงานเป็นทีม

กล่าวปิด โดย ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

  • ขอขอบคุณท่านอาจารย์
  • สำนักข่าวกรองแห่งชาติได้เลือกสถาบันที่ดีที่สุดให้แก่ทุกท่านที่ผ่านการอบรมในหลักสูตร
  • ต้องมีการสานต่อความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์ทั้งหลาย โดยนำไปใช้กับองค์กรและตนเอง
  • ในเรื่องทุนมนุษย์ ต้องเปิดใจกว้างและปรับปรุงตนเอง จะเกิดประโยชน์
  • การพัฒนาบุคลากรของสำนักข่าวกรองแห่งชาติตั้งแต่ผมได้รับผิดชอบมาในตำแหน่งต่างๆ สิ่งที่คาดหวังคือทำให้ทุนมนุษย์ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติมีต้นทุนสูงขึ้น สามารถต่อสู้กับสิ่งที่เกิดขึ้น
  • วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะแสดงศักยภาพเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูงขึ้น จะต้องมีหลายกิจกรรมต่อจากนี้เป็นต้นไป จะทำให้องค์กรเรายืนอยู่บนทุนมนุษย์ที่เข้มแข็ง
  • อยากเห็นพวกเราเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า
  • ผมมีความสุขที่ได้มาร่วมกิจกรรมของคนรุ่นใหม่แบบนี้ ได้เห็นความกล้าแสดงออกและมีความคิดริเริ่มใหม่ๆในการทำงาน จะเกิดได้เมื่อนำความรู้ใหม่ๆไปพัฒนาองค์กร
  • ขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกคนที่ทำให้หลักสูตรผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
  • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินต่อไป
  • ต้องเก่งวิชาชีพ บริหารจัดการ พัฒนาตนเอ ง ต้องนำทุกอย่างมาผสมผสานเป็นตัวตนที่แท้จริงแล้วนำมาใช้ประโยชน์ได้
  • ลูกค้าตั้งความหวังกับสำนักข่าวกรองแห่งชาติสูงมาก เราจะทำให้เขาสมหวังหรือเปล่า
  • ลูกค้าที่ผมเผชิญ คือ ผู้บริหารระดับสูงของประเทศก็คาดหวังสูง และคู่แข่งก็มีสินค้าที่ไม่ด้อยไปกว่าเรา
  • ความเก่งกาจเฉพาะวิชาชีพดีครบถ้วนแต่ทำงานร่วมกับคนอื่น ทำให้นำศักยภาพมาใช้ได้เต็มกำลัง ต้องระดมศักยภาพออกมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อทำให้ลูกค้าไม่ผิดหวัง
  • ผมสำนึกบุญคุณรุ่นพี่ที่สร้างภาพลักษณ์องค์กรไว้อย่างดี เราต้องรักษาต่อไป
  • ต้องกลับไปคิดทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ว่าจะนำไปใช้อย่างไรบ้าง
  • อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงของพวกเราเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • เราต้องพัฒนาคนรุ่นหลังด้วย
  • ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายประทานพรให้เรามีสุขภาพแข็งแรง และสมปรารถนาในสิ่งที่ชอบที่ควร เป็นกำลังสำคัญของสำนักข่าวกรองแห่งชาติต่อไป

Talent 2 ทุกคนต้องขอขอบคุณท่าน อจ.ชาญโชติ ทีมงาน และ คุณจิตรลดา ที่ช่วยดูแล อำนวยการ และสรุป สิ่งที่ได้จากอาจารย์แต่ละท่านในแต่ละวันซึ่งเป็นประโยชน์กับพวกเราและผู้ที่สนใจใฝ่รู้โดยทั่วไปเป็นอย่างมาก....ขอขอบคุณมากครับ

ขอบคุณ อจ.จีระ อจ.ชาญโชติ คุณเอ คุณเอ๋ คุณจิตรลดาและทีมงานท่านอื่นๆ ที่ช่วยดูแลพวกเราเป็นอย่างดี และขอบคุณ อจ.ชาญโชติสำหรับคำแนะนำและสิ่งที่ดีๆที่มอบให้แก่พวกเรา สขช. และหวังว่าคงจะได้รับคำชี้แนะ คำแนะนำๆ ข้อคิดดีๆ ประสบการณ์ดีๆ ให้เราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งนับเป็นประโยชน์สำหรับพวกเราที่จะต่อยอดในการพัฒนาตนเองและองค์กรต่อไป และหวังว่าจะได้พบ อจ.ใน blog นี้อีกนะค่ะ

ปลื้มใจครับ ที่ได้มีส่วนร่วมในโครงการนี้ และสามารถทำตัวให้เป็นประโยชน์และได้รับการยอมรับ ยังเกาะติด blog นี้ตลอดไปครับ ยินดีที่จะได้เรียนรู้ร่วมกันไปอีกนานๆครับ มีอะไรสงสัยต้องการคำแนะนำหรือต้องการให้ช่วยเหลือสิ่งใดโปรดติดต่อผมได้ตลอดเวลาครับ ทั้งใน blog หรือถ้าต้องการส่วนตัว ทาง e-mail หรือ ทางโทรศัพท์ ได้ทั้งสองทางครับ

e-mail address: [email protected]

Tel: 089-1381950 ; 081-5848917 ; 02-9546029

เที่ยงคืนแล้ว ขอลาไปนอนก่อนครับ

ขอให้ทุกท่านนอนหลับฝันดี (รวมทั้งผมด้วย)

ดีใจด้วยสำหรับการจัด Public Seminar ที่ผ่านพ้นไปด้วยดี และเกิดประโยชน์สำหรับทุกฝ่าย ติดตามและเป็นกำลังใจให้เสมอ

วันนี้มีข้อคิดจากไอน์สไตน์มาฝากค่ะ

"A person starts to live when he can live outside himself."

บุคคลจะเริ่มมีชีวิตที่แท้จริงก็ต่อเมื่อเขาสามารถดำเนินชีวิตโดยหลุดพ้นจากตัวตน

สวัสดีครับเพื่อนๆTalented 2 สังสัยจังว่าแต่ละคนหลังกลับไปเผชิญกับภารกิจเดิมๆแล้วคงยุ่งกันน่าดูละสิ ไม่มีใครคิดถึงเขาเลยนะ เขาเหงาจัง ถ้าว่างๆก็เข้ามาเล่าบ้างนะยุ่งอะไรนักหนา ฮิๆๆ

ขยายความจากคุณเบบี้บูม เกี่ยวกับประโยค "A person starts to live when he can live outside himself."

..........................

ปกติอะไรที่อยู่ใกล้มากมักจะมองไม่เห็น หรือเห็นให้ชัดยาก เช่น นักกีฬาเมื่ออยู่ในสนามก็มองรูปเกมไม่ออก แต่ถ้าถอยออกมาหน่อยจนเป็นผู้ดู จะเห็นอะไรชัดเจนมากขึ้น เพราะฉะนั้นอยากเห็นอะไรชัดๆ ให้ถอยออกมาหน่อย เป็นผู้ดู จะชัดกว่าเข้าไปใกล้ชิดผู้เล่น

.........................

สวัสดี ลูกศิษย์รุ่น 2 ทุกท่าน

       หลังจากที่จบการสัมมนาหลักสูตร Talent ไปแล้ว  แต่ก็ยังมีการแสดงความคิดเห็นผ่าน Blog นี้อยู่ตลอด ดีใจครับที่ Blog นี้ สามารถเป็นประโยชน์ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ครับ

        ครั้งนี้ผมขอฝาก บทความแนวหน้า ที่ผมเขียนเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการบ้านหลังจากที่ได้การสัมมนา ครั้งที่ 1 ผ่านไปแล้ว ให้ทุกคน Share ข้อมูล Blog เช่นเคย คือ ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากอ่านบทความครั้งนี้ ติดตามผ่านลิงก์ ข้างนี้ครับ

 http://gotoknow.org/blog/chiranaewna/410858

 

ผู้นำของประเทศมหาอำนาจที่ชาวโลกจับตามอง ต้องเป็นผู้ที่มีความคิดกว้างไกลมองไปถึงอนาคตในระยะยาว อย่ามองแต่ผลประโยชน์ของประเทศตัวเองแล้วทำให้ประเทศอื่นต้องได้รับผลกระทบในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย ควรคำนึงถึงความปรองดอง สมานฉันท์ คิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะให้เพื่อนร่วมโลกอยู่กันอย่างมีความสุข ภัยพิบัติทางธรรมชาติของโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็แสนสาหัสอยู่แล้ว ประสบกันทั่วทุกมุมของโลก แล้วจะมาสร้างปัญหาเรื่องการแย่งชิงความเป็นใหญ่ในโลกกันอีก สงสารประเทศเล็ก ๆ บ้างเถอะจะรับกรรมไปด้วย

การบ้าน ดร.จิระมาแล้ว Mr.Chalawan คงหายเหงาแล้วนะค่ะ

การเป็นมหาอำนาจของโลกที่ดี จึงควรจะคำนึงถึงเรื่องการมีคุณธรรม และจริยธรรมให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ ที่สำคัญควรทำให้โลกเกิดความสงบสุขมากกว่าความต้องการเฉพาะแต่ผลประโยชน์ โดยไม่ใส่ใจว่าใครจะเดือดร้อนอย่างไร โลกทุกวันนี้จึงมีแต่ความวุ่นวาย เพราะผู้ที่เป็นผู้นำทั้งของโลกและของประเทศ นอกขาดซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมแล้วยังประกอบไปด้วยการมี "อคติ" คือ การยึดแต่ความถูกต้องของตัวเองโดยไม่ใส่ใจความคิดของคนอื่น.หรือประเทศอื่น..ความวุ่นวายทั้งหมายจึงเกิดขึ้นตามมาโดยไม่มีที่สิ้นสุด.......อมิตาพุทธ

ยังติดตามอ่าน blog อยู่ทุกคืนครับ แต่ที่ยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นหรือหาข้อมูลดีๆมาให้อ่านเพราะกำลังทำงานด่วนอยู่ 2-3 เรื่องประกอบกับอาทิตย์ที่แล้วมีประชุมและสัมมนาหลายงานด้วยกันครับ เที่ยงคืนครึ่งแล้ว ขอลาไปนอนก่อนครับ ง่วงแล้ว

อคติทำให้เกิดความลำเอียงมองไม่เห็นทางสายกลาง ส่งผลทำให้การตัดสินใจต่างๆ เกิดความผิดพลาด โดยเฉพาะหากเป็นการตัดสินใจในเชิงนโยบายระดับประเทศ ผู้นำต้องมีความรอบคอบต้องใช้ความรู้อย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้การตัดสินใจนั้นผิดพลาด เพราะหากเกิดความผิดพลาดขึ้นมาก็จะเกิดผลสะท้อนกลับในเชิงลบ ดังเช่นกรณีของสหรัฐฯ ที่มีนโยบายสนับสนุนอิสราเอล ทำให้โลกมุสลิมเกลียดชัง กลายเป็นความขัดแย้งด้านศาสนาอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม ในโลกยุคปัจจุบันสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้นานาประเทศสามารถดำรงตนได้ด้วยสันติ และมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน คือ การมีความจริงใจให้แก่กัน ซึ่งจะช่วยให้เกิดทุนทางสังคม (Social Capital) และมีพันธมิตรในโลกใบนี้เพิ่มมากขึ้น

บทเรียนจากหนังสือเล่มใหม่ของอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช

จากบทความดังกล่าวเห็นได้อย่างหนึ่งว่าในตัวคนของเราเองมีทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่เสียอยู่ร่วมกันเสมอ เพียงแต่ว่าส่วนใดจะมีมากกว่ากัน และที่สำคัญถึงบางอย่างจะมีน้อยกว่าแต่อาจจะมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ มากกว่าส่วนที่มีอยู่มากกว่าก็ได้ สำหรับกรณีของ จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช เห็นได้ว่าส่วนที่ดีก็มีไม่น้อยแต่ในภาพรวมจะเหมาะสมกับการใช้ชีวิตในครอบครัวหรือการอยู่ร่วมกันในหมู่เพื่อนฝูง แต่สำหรับข้อเสียนั้นมันส่งผลกระทบกับผู้ที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง ซึ่งเมื่อดำรงตำแหน่งผู้นำของประเทศมหาอำนาจที่มีผลต่อประชาคมโลกโดยตรง ข้อเสียดังกล่าวยิ่งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นหลายเท่าโดยที่ส่วนดีที่มีอยู่ไม่สามารถนำมาชดเชยหรือทำให้ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นลดลงได้ ที่สำคัญประการหนึ่งคือการมองความยิ่งใหญ่ของอเมริกาจากมุมของตัวเองว่าประเทศอเมริกาเป็นมหาอำนาจ แต่ไม่ได้มองว่าอเมริกาเคยสร้างปัญหาให้แก่ชาติอื่นมากมายในอดีต อันนี้เป็นอันตรายต่อประชาคมโลกเป็นอย่างมาก หากประชาชนชาวอเมริกามีแนวความคิดเช่นเดียวกันนี้มากเท่าใด โลกก็ยากที่จะสงบสุข ดังนั้นไม่ว่าเราจะทำอะไรควรยึดทางสายกลางจะดีที่สุด

ธรรม กับ อธรรม ขอเลือกธรรมก่อน แล้วค่อยคิดหาความเป็นกลางของธรรม ค่ะ งง

ผู้นำเป็นกลไกสำคัญที่จะเป็นผู้ตัดสินใจนำพาองค์กรไปในทิศทางใด กรณี George W. Bush แม้ว่าจะมีคุณสมบัติโดดเด่นในเรื่องความรู้ความสามารถ และยังมีข้อดีอีกหลายข้อ แต่การตัดสินใจของ Bush สะท้อนให้เห็นว่า ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ไม่ได้ทำให้ Bush ได้รับการยอมรับศรัทธาในระยะยาว เพราะการขาดความรอบคอบในการตัดสินใจ ขาดความยืดหยุ่น และคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์จนไม่ได้คิดถึงผลกระทบที่จะตามมา โดยเฉพาะเป็นผู้นำของประเทศมหาอำนาจที่การตัดสินใจมีผลต่อประเทศอื่นๆ ในโลก ทำให้ในที่สุดความเชื่อมันและศรัทธาในตัว Bush ลดลง

ทักทายก่อน เดี๋ยวกลับใหม่

กรณีบทความของบุช มองเห็นว่าพื้นฐานการดำรงชีวิตของผู้นำที่ยึดมั่นในความจงรักภักดีและให้ความสำคัญต่อเพื่อนร่วมงานนับเป็นแรงศรัทธาที่เกิดต่อตัวผู้นำ แต่การขาดการไตร่ตรองหรือขาดความรอบคอบต่อการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายใด ๆ โดยขาดองค์ความรู้ที่แท้จริงของปัญหา เพียงต้องการผลลัพท์ที่ชัดเจนว่าแพ้หรือชนะ สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองที่ขาดการมองปัญหาในองค์รวมอันจะนำไปสู่ศักยภาพทางการบริหารในการแก้ปัญหาที่ดีกว่า ผู้นำที่มีอุดมการณ์หรือแนวคิดข้างต้นนับเป็นความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งจากการมองเพียงมุมของตัวเองแต่ไม่ได้นำตัวเองเข้าไปในมุมมองของอีกฝ่ายหนึ่ง

...ผมว่าคงมีปัจจัยมากมายที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายของผู้นำแต่ละประเทศ เช่น ปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นชาติ "อภิมหาอำนาจทุนนิยมอันดับหนึ่ง" ที่มีระบบการเมืองที่เข้มแข็ง คงจะมีระบบการตัดสินใจที่ต้องเอาผลประโยชน์ของประเทศ และประชาชนเป็นตัวตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านต่างประเทศซึ่งดำเนินนโยบายในลักษณะแผ่ขยายอำนาจไปทั่วโลก แทรกแซง ชี้นำ และเป็นผู้นำในการส่งออกนโยบายการจัดระเบียบโลกด้านการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ด้านสิทธิมนุษยชน เสรีภาพ การค้าเสรี ต่อต้านการคอรัปชั่น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นไปโดยยึดเอาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตัวเอง หรือเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มทุนของสหรัฐอเมริกาซึ่งเข้าไปลงทุนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกเป็นหลัก... สหรัฐได้เปรียบในเกมส์นี้... ส่วนบุคลิกภาพส่วนตัวและทัศนคติของผู้นำ รวมถึงความถูกต้องชอบธรรมของโลกคงเป็นเหตุผลรองในการดำเนินนโยบาย แต่นโยบายก็ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์เหมือนกันนะ... อย่างเหตุการณ์การก่อการร้ายในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ประธานาธิบดี George W. Bush ได้หันมาเน้นด้านความมั่นคงเป็นหลัก ใช้นโยบายต่อต้านการก่อการร้าย และยังนำไปใช้ในการสร้างความชอบธรรมในการตอบโต้กลุ่มก่อการร้ายด้วยความรุนแรงเต็มพิกัด เช่น การทำสงครามยึดครองอัฟกานิสถานในปลาย 2544 หรือการรุกรานและยึดครองอิรักโค่นล้มรัฐบาลซัดดัม สถาปนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาใหม่ในแบบของสหรัฐ แต่เหตุการณ์ก็ไม่จบจนบานปลายมาจนถึงปัจจุบัน จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทั้งหมด...ผมว่ามันมีผลทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เศรษฐกิจที่เริ่มชะลอมาตั้งแต่ก่อนหน้าเกิดวิกฤตการณ์ก็ประสบปัญหามากขึ้น ส่งผลจนเกิดวิกฤตต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย วิกฤต"แฮมเบอร์เกอร์" วิกฤติ "ซับไพร์ม" ยังมาเจอปัญหาความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศจากการเปิดเผยข้อมูลลับจากเวบไซต์ "วิกิลีกส์"อีก คงทำให้สหรัฐเริ่มเสียเปรียบประสบปัญหาในการแข่งขันทางการค้าในเวทีโลกมากขึ้นแน่ ๆ และจากการรวมกลุ่มเป็นเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง การเจริญเติบโตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน และอินเดีย การย้ายฐานการผลิตมาทางตะวันออก สหรัฐคงจะต้องมีการปรับตัวหาแนวทางแก้ปัญหาและหาทางเป็นผู้นำโลกต่อ......อาจจะมีการสร้างกระแสเป็นผู้นำทางความคิดในการเปลี่ยนแปลง...หรือหาตัวเล่นใหม่ ๆ เพื่อตัวเองจะได้เปรียบในเกมส์อีกครั้ง คงหนีไม่พ้นเรื่องวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ตัวเองมีอยู่..... จากการสร้างกระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก ลดโลกร้อน สินค้าติดฉลากสีเขียว จับความจากวาทะผู้นำสหรัฐฯเริ่มพูดถึงเรื่องเหล่านี้ถี่ขึ้น หรือจะเป็นสัญญาณถึงความเปลี่ยนแปลงเพื่อความได้เปรียบทางการค้า... หรือเพื่อต่อรองในเวทีการค้าโลกในอนาคต.....

เพื่อนส่งมาให้ เป็นภาพดีๆที่ถ่ายโดยต่างชาติ พร้อมแสดงความคิดเห็น ลองเปิดเข้าไปดู ไม่ทราบว่าจะเห็นอย่างที่ผมเห็นหรือไม่

http://www.photographythailand.com/Galleries/Audio/navbar.html

เรียน...ท่าน อจ.ชาญโชติ

จากภาพถ่ายที่ส่งมาให้ แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตแบบไทยๆ ที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผสมผสานไปกับรอยยิ้มและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ศาสนาที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ธรรมชาติที่สวยงาม ที่หลายประเทศต้องอิจฉาเราและยังสามารถหาได้จากประเทศของเรา ซึ่งยังมีอีกมากมายนักในบ้านของเรา ถ้าเรารู้จักรักษาและพัฒนาให้อยู่คู่กับเราตลอดไป ภาพต่างๆที่ได้เห็นทำให้เรารู้สึกสดชื่น และรู้สึกรักประเทศของเรามากขึ้น หากเรารักกันไว้ จิตใจของเรา ก็จะเป็นสุข และจะได้มีสติปัญญาในการช่วยกันพัฒนาชาติของเราให้ก้าวหน้าและยั่งยืนบนความสงบสุขต่อไป ขอบคุณท่านอาจารย์ชาญโชติ มากครับที่หาสิ่งดีๆมาให้พวกเรา

เมื่ออ่านบทความของ ดร.จิระ แล้วได้มุมมองว่า

ทุก ๆ การกระทำหรือทุก ๆ การตัดสินใจ ย่อมมีเหตุผลที่จะมาสนับสนุน เพียงแต่ผลสะท้อนกลับ หรือ feedback ที่ได้รับจากการกระทำหรือการตัดสินใจมีมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่กรณี สำหรับในภาวะของผู้นำการกระทำหรือการตัดสินใจใด ๆ ย่อมส่งผลกระทบในวงกว้างและสะท้อนได้อย่างชัดเจน จึงจำเป็นต้องใช้ความรู้ ทักษะ ทัศนคติให้มากในการตัดสินใจ เพื่อลดความเสียหายหรือผลสะท้อนกลับในทางที่ไม่ดีให้น้อยลง

การเป็นผู้นำที่ดีนั้นไม่ใช่มีเพียงแต่ความรู้ ความสามารถ

และกล้าคิด กล้าตัดสินใจ  แต่หากบริหารจัดการข้อมูล

องค์ความรุ้ ประสบการณ์ ไม่ถูกต้องแม่นยำจะทำให้การ

ตัดสินใจคลาดเคลื่อนไปจากที่ควรจะเป็น เกิดต้นทุนของ

ความเสียหายที่ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของผู้นำเอง

หากยังเกิดขึ้นกับประชาชน ประเทศชาติ และสร้างผลกระทบต่อ

สังคมโลกด้วย ผู้นำจึงควรตระหนักในบทบาทของตนและพึงระลึก

เสมอว่าการตัดสินใจของตนมีต้นทุนของความเสียหายสูง จึงจำเป็น

ต้องใช้ความรอบคอบ  ไตร่ตรองพิจารณาด้วยสติ ปัญญา ควบคู่ไป

กับการคงไว้ซึ่งคุณธรรมและจริยธรรม โดยไม่ยึดประโยชน์ของตน

เพียงฝ่ายเดียว  แม้ว่าในการตัดสินใจใด ๆ ก็ตามจะต้องมีผลออกมา

ไม่ถูกต้อง ก็ถูกใจ  บ่อยครั้งที่พบว่าการตัดสินใจเลือกสิ่งที่ถูกต้อง

มักไม่ถูกใจ  หรือหากเลือกทำสิ่งที่ถูกใจก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง

แต่เมื่ออยู่ในสถานะผู้นำ ควรคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ

ควบคู่ไปกับจริยธรรม และมนุษยธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ 

ขอบคุณ Mr. K ที่ให้ข้อคิดจากรูปภาพในเวปไซด์ที่ผมส่งให้ แสดงความคิดเห็นตรงกับใจผมเลยครับ ขณะนี้ผมได้อ่านหนังสือ เอกกษัตริย์ ใต้รัฐธรรมนูญ โดย วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ที่ได้เคยแนะนำไปครั้งหนึ่งแล้ว ผมได้ความรู้หลายๆเรื่องที่ไม่เคยทราบมาก่อน ขณะนี้อ่านไปได้เกือบจบเล่มที่สองแล้วครับ (มีทั้งหมด 3 เล่ม ) เป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ตั้งแต่เริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครองมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ทราบเรื่องราวของพระมหากษัตริย์และราชวงค์ นักการเมือง รัฐบาล และทหาร ผู้เขียนได้ทำการศึกษาและค้นคว้าจากเอกสารอ้างอิงทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นเวลานานกว่า 3 ปี เป็นหนังสือดีมากครับ อย่างให้คนไทยทุกคนหาซื้อเก็บไว้เป็นสมบัติให้ลูกหลานได้อ่าน เมื่อผมอ่านเสร็จแล้ว จะรวบรวมสรุปประเด็นต่างๆให้ทราบครับ

ขอขอบคุณท่านอาจารย์ชาญโชตินะคะ ที่นำสิ่งดีๆ มาให้ดู เป็นภาพถ่ายของคนต่างชาติที่มีฝีมือในการถ่ายภาพได้อย่างยอดเยี่ยม ภาพคมชัด และเก็บรายละเอียดของภาพได้อย่างสุดเจ๋ง สิ่งที่มองเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่าย คือ คนและสัตว์สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างดีและมีความสุขภายใต้ธรรมชาติที่สวยงาม ในหลวงทรงมีพระเนตรกว้างไกล ทรงเล็งเห็นว่า การมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างพอเพียงก็สามารถทำให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข และสิ่งสำคัญที่สุดคือ อย่าไปทำลายธรรมชาติ ควรช่วยกันอนุรักษ์และหาแนวทางป้องกัน เพื่อให้ธรรมชาติสมบูรณ์อยู่ควบคู่ไปกับมนุษย์และสัตว์ตลอดไป เรารักในหลวงค่ะ ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ และทรงหายจากอาการพระปชวรโดยเร็ว

ขอต้อนรับ Mrs.OLOL ที่ให้ความสนใจแสดงความคิดเห็น ครับ

ไม่ทราบว่าตอนเปิดดูภาพได้เปิดเสียงพูดของผู้ถ่ายภาพด้วยหรือไม่ครับ ไม่ใช่แค่ภาพอย่างเดียวที่สร้างความรู้สึกและจินตนาการให้กับผู้ชมเท่านั้น ยังมีถ้อยคำแสดงความรู้สึกของผู้ถ่ายภาพให้เราได้ร่วมคิด สำหรับผมเกิดความภาคภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย มีชีวิตอยู่ในแผ่นดินทอง ทำให้ผมเป็นห่วงว่าคนรุ่นผมจะเหลือมรดกอะไรไว้ให้ลูกหลานบ้าง

สวัสดี เพื่อนๆ talented2

ปีใหม่นี้มีโปรแกรมอะไรกันบ้าง หลังจากเหน็ดเหนื่อยกับภารกิจและสะสางงานเดิมแล้ว หาเวลาพักผ่อนกันบ้างนะ

ใครมีโปรแกรมอะไรดีๆ ก็บอกกันบ้าง ขอให้เพื่อนๆมีความสุขและมีพลังในการทำงานต่อไปจ๊ะ

เฮ้อ..... เชื่อนี่น่าจะดีกว่านะ

ชีวิตเราเราเป็นผู้ลิขิต.... ชะตากรรมเป็นเพียงเครื่องลองใจ ที่จะทำให้เราก้าวผ่านอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวง ถ้าเราเชื่อในชะตากรรม เราก็จะติดบ่วงแห แห่ง…. “ยถากรรม”......

ขอโทษทุกๆคน นะ

อ่านแล้ว อย่าหยุด กรุณาอ่านต่อ เพราะคุนได้โดนคำสาปนี้ไปแล้ว.... อ่านต่อเลย

เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับเด็กคนนึงในเทศบาล.ท่าเรือ เด็กคนนี้ชื่อนิ้งเป็นเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ สาม วันนั้นเป็นวันสอบซ่อม นิ้งได้มาที่ รร เพื่อที่จะสอบซ่อม ระหว่างที่รอเพื่อน ๆ อยู่นั้น นิ้ง ก้อเหลือบไปเห็นสิ่ง ๆ หนี่ง เขาเดินเข้ไปใกล้ ๆ กับสิ่ง ๆ นั้น มันคือกล่องใส่กระดาษกล่องหนึ่ง นิ้งนั้นไม่รู้ว่าในนั้นมีอะไร แต่เขาก้อได้เก็บกล่องนั้นไป หลังจากที่เขาสอบซ่อมเสร็จแล้ว นิ้งและเพื่อน ๆ ก้อกลับบ้านทันที พวกเขาอยากรู้ว่าในกล่องนั้นมีอะไรซ่อนอยู่ ตกกลางคืนนิ้งและเพื่อน ๆ ก้อไปสนาม เดะเล่นและเปิดกล่อง ๆ นั้น ข้างในกล่องมีกระดาษสีดำเขียนอยู่หนึ่งแผ่น ในกระดาษแผ่นนั้นเขียนไว้ว่า * สวัสดี เราชื่อ"เปลวเทียน"เป็นเด็กนักเรียนคนนึง เราถูกฆาตกรโรคจิด ข่มขืนและค่าหมกอยู่ในป่าแห่งหนี่ง ที่นั่นหนาวเหน็บไม่มีแม้แต่เสียงหายใจของมนุษย์ เราพยายามร้องให้คนมาช่วยแต่ก้อไม่มีคายมา ตอนนี้เราเหงาเหลือเกิน จะมีใครมาอยู่เป็นเพื่อนเราบ้างไหม ถ้าเทอไม่อยากให้เราลากเทอมาอยู่เป็นเพื่อนกันเรา จากนี้ไปเป็นเวลา 7 ชั่วโมง ขอให้เทอก็อปข้อความข้างบนนี้ ส่งต่อให้สื่ออะไรก้อได้ เป็นจำนวน 10 coppy แต่ถ้าเธอไม่ทำตาม อีก 7 ชั่วโมงนี้ฉันจะไปตามเทอมอยู่เป็นเพื่อน * หลังจากที่นิ้งได้อ่านนั้น เอก้อไม่เชื่อ และคิดว่ามีคนมาแกล้งเป็นเพียงแค่เรื่องไร้สาระ และไม่ยอมทำตาม 7 ชั่วโมงให้หลัง นิ้งและเพื่อน ๆ ก้อตาย โดยที่ไม่มีสาเหตุ ***********************************- เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง จนถึงขณะนี้ หมอและตำรวจยังไม่สามารถรู้ได้ว่า เด็กเหล่านั้นตายได้เช่นไร __________ ตอนนี้พวกเทอได้อ่านกระทู้นี้ ก้อคงได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด นั่นคือ เทอจะต้อง copy ข้อความนี้เป็นจำนวน 10 copy แต่ถ้าเทอไม่ทำตามที่เด็กคนนั้นขอ เทอจะต้องไปอยู่เป็นเพื่อกับเด็กคนนั้น อีก 7 ชั่วโมงให้หลัง ขอให้พวกเทอทุกคนโชคดี

(ปล ห้ามส่งมายังคนเดิมที่ส่งมาอีก ไม่งั้นจะรับโทษฐานคืน ตาย!!!!!)ต.ท่าเรือ อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา

ขอโทษทุกๆคน นะ

อ่านแล้ว อย่าหยุด กรุณาอ่านต่อ เพราะคุนได้โดนคำสาปนี้ไปแล้ว.... อ่านต่อเลย

เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับเด็กคนนึงในเทศบาล.ท่าเรือ เด็กคนนี้ชื่อนิ้งเป็นเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ สาม วันนั้นเป็นวันสอบซ่อม นิ้งได้มาที่ รร เพื่อที่จะสอบซ่อม ระหว่างที่รอเพื่อน ๆ อยู่นั้น นิ้ง ก้อเหลือบไปเห็นสิ่ง ๆ หนี่ง เขาเดินเข้ไปใกล้ ๆ กับสิ่ง ๆ นั้น มันคือกล่องใส่กระดาษกล่องหนึ่ง นิ้งนั้นไม่รู้ว่าในนั้นมีอะไร แต่เขาก้อได้เก็บกล่องนั้นไป หลังจากที่เขาสอบซ่อมเสร็จแล้ว นิ้งและเพื่อน ๆ ก้อกลับบ้านทันที พวกเขาอยากรู้ว่าในกล่องนั้นมีอะไรซ่อนอยู่ ตกกลางคืนนิ้งและเพื่อน ๆ ก้อไปสนาม เดะเล่นและเปิดกล่อง ๆ นั้น ข้างในกล่องมีกระดาษสีดำเขียนอยู่หนึ่งแผ่น ในกระดาษแผ่นนั้นเขียนไว้ว่า * สวัสดี เราชื่อ"เปลวเทียน"เป็นเด็กนักเรียนคนนึง เราถูกฆาตกรโรคจิด ข่มขืนและค่าหมกอยู่ในป่าแห่งหนี่ง ที่นั่นหนาวเหน็บไม่มีแม้แต่เสียงหายใจของมนุษย์ เราพยายามร้องให้คนมาช่วยแต่ก้อไม่มีคายมา ตอนนี้เราเหงาเหลือเกิน จะมีใครมาอยู่เป็นเพื่อนเราบ้างไหม ถ้าเทอไม่อยากให้เราลากเทอมาอยู่เป็นเพื่อนกันเรา จากนี้ไปเป็นเวลา 7 ชั่วโมง ขอให้เทอก็อปข้อความข้างบนนี้ ส่งต่อให้สื่ออะไรก้อได้ เป็นจำนวน 10 coppy แต่ถ้าเธอไม่ทำตาม อีก 7 ชั่วโมงนี้ฉันจะไปตามเทอมอยู่เป็นเพื่อน * หลังจากที่นิ้งได้อ่านนั้น เอก้อไม่เชื่อ และคิดว่ามีคนมาแกล้งเป็นเพียงแค่เรื่องไร้สาระ และไม่ยอมทำตาม 7 ชั่วโมงให้หลัง นิ้งและเพื่อน ๆ ก้อตาย โดยที่ไม่มีสาเหตุ ***********************************- เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง จนถึงขณะนี้ หมอและตำรวจยังไม่สามารถรู้ได้ว่า เด็กเหล่านั้นตายได้เช่นไร __________ ตอนนี้พวกเทอได้อ่านกระทู้นี้ ก้อคงได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด นั่นคือ เทอจะต้อง copy ข้อความนี้เป็นจำนวน 10 copy แต่ถ้าเทอไม่ทำตามที่เด็กคนนั้นขอ เทอจะต้องไปอยู่เป็นเพื่อกับเด็กคนนั้น อีก 7 ชั่วโมงให้หลัง ขอให้พวกเทอทุกคนโชคดี

(ปล ห้ามส่งมายังคนเดิมที่ส่งมาอีก ไม่งั้นจะรับโทษฐานคืน ตาย!!!!!)ต.ท่าเรือ อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา

ขอโทษทุกๆคน นะ

อ่านแล้ว อย่าหยุด กรุณาอ่านต่อ เพราะคุนได้โดนคำสาปนี้ไปแล้ว.... อ่านต่อเลย

เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับเด็กคนนึงในเทศบาล.ท่าเรือ เด็กคนนี้ชื่อนิ้งเป็นเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ สาม วันนั้นเป็นวันสอบซ่อม นิ้งได้มาที่ รร เพื่อที่จะสอบซ่อม ระหว่างที่รอเพื่อน ๆ อยู่นั้น นิ้ง ก้อเหลือบไปเห็นสิ่ง ๆ หนี่ง เขาเดินเข้ไปใกล้ ๆ กับสิ่ง ๆ นั้น มันคือกล่องใส่กระดาษกล่องหนึ่ง นิ้งนั้นไม่รู้ว่าในนั้นมีอะไร แต่เขาก้อได้เก็บกล่องนั้นไป หลังจากที่เขาสอบซ่อมเสร็จแล้ว นิ้งและเพื่อน ๆ ก้อกลับบ้านทันที พวกเขาอยากรู้ว่าในกล่องนั้นมีอะไรซ่อนอยู่ ตกกลางคืนนิ้งและเพื่อน ๆ ก้อไปสนาม เดะเล่นและเปิดกล่อง ๆ นั้น ข้างในกล่องมีกระดาษสีดำเขียนอยู่หนึ่งแผ่น ในกระดาษแผ่นนั้นเขียนไว้ว่า * สวัสดี เราชื่อ"เปลวเทียน"เป็นเด็กนักเรียนคนนึง เราถูกฆาตกรโรคจิด ข่มขืนและค่าหมกอยู่ในป่าแห่งหนี่ง ที่นั่นหนาวเหน็บไม่มีแม้แต่เสียงหายใจของมนุษย์ เราพยายามร้องให้คนมาช่วยแต่ก้อไม่มีคายมา ตอนนี้เราเหงาเหลือเกิน จะมีใครมาอยู่เป็นเพื่อนเราบ้างไหม ถ้าเทอไม่อยากให้เราลากเทอมาอยู่เป็นเพื่อนกันเรา จากนี้ไปเป็นเวลา 7 ชั่วโมง ขอให้เทอก็อปข้อความข้างบนนี้ ส่งต่อให้สื่ออะไรก้อได้ เป็นจำนวน 10 coppy แต่ถ้าเธอไม่ทำตาม อีก 7 ชั่วโมงนี้ฉันจะไปตามเทอมอยู่เป็นเพื่อน * หลังจากที่นิ้งได้อ่านนั้น เอก้อไม่เชื่อ และคิดว่ามีคนมาแกล้งเป็นเพียงแค่เรื่องไร้สาระ และไม่ยอมทำตาม 7 ชั่วโมงให้หลัง นิ้งและเพื่อน ๆ ก้อตาย โดยที่ไม่มีสาเหตุ ***********************************- เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง จนถึงขณะนี้ หมอและตำรวจยังไม่สามารถรู้ได้ว่า เด็กเหล่านั้นตายได้เช่นไร __________ ตอนนี้พวกเทอได้อ่านกระทู้นี้ ก้อคงได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด นั่นคือ เทอจะต้อง copy ข้อความนี้เป็นจำนวน 10 copy แต่ถ้าเทอไม่ทำตามที่เด็กคนนั้นขอ เทอจะต้องไปอยู่เป็นเพื่อกับเด็กคนนั้น อีก 7 ชั่วโมงให้หลัง ขอให้พวกเทอทุกคนโชคดี

(ปล ห้ามส่งมายังคนเดิมที่ส่งมาอีก ไม่งั้นจะรับโทษฐานคืน ตาย!!!!!)ต.ท่าเรือ อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา

เฮ้อออออออออออ .... กว่าจะครบ 10 รอดตายแล้ว

บล็อกนี้มีแต่สาระ ไปไร้สาระที่อื่นเถอะ

หลายวันที่ผ่านมาผมยุ่งอยู่กับการเตรียมการหลายอย่างจึงไมได้เข้ามาเยี่ยม blog นี้ พอเข้ามาดูก็ตกใจไม่นึกว่าจะมีผู้ที่ไม่ประสงค์ออกนาม ผู้แสดงความเห็นเลขที่ 493 จะนำเรื่องไร้สาระมาลงใน blog นี้ ผมจะเข้าไปลบออก แต่ไม่สามารถทำได้เพราะผมไม่ได้เป็นผู้จัดทำ blog นี้ คิดว่าเป็นคุณจิตรลดา ผมจะติดต่อประสานงานเพื่อให้ผู้จัดทำ blog ลบข้อความของผู้แสดงความคิดเห็น ตั้งแต่เลขที่ 493 จนถึง 509

แบบนี้เรียกว่าการก่อกวน ไม่ได้สร้างสรรค์อะไรเลย ขอความกรุณาเลิกพฤติกรรม แบบนี้ด้วยครับ

เมื่อวานพบหนังสือดีอีกเล่ม จึงขอแนะนำให้ไปหาซื้อเก็บไว้อ่านครับ เป็นหนังสือ ของสำนักพิมพ์ ดี เอ็ม จี เรื่อง "ฉลาด .....ได้อีก เขียนโดย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

" วิศวกรนาซ่า" ผู้เข้าถึงความรู้ใหม่ จะเปิดมุมมองชีวิตให้คุณรู้ว่า การใช้ชีวิตที่ "ชาญฉลาด" เขาทำกันอย่างไร ผมข้อยกข้อความในหนังสือหน้า 51-53 มาให้อ่านครับ

 เชื่อไหมว่าในตัวเรามีคนอยู่ 3 คน

1.เราที่เป็นคนชั่ว

2.เราที่เป็นคนดี

3.เราคนที่กำลังดูเจ้าสองคนแรกนี้อยู่

คนที่เป็นเราที่แท้จริง คือคนที่สามเป็นคนดู รู้เฉยๆ สังเกตอยู่ ถ้าเราไม่ฝึกสังเกต ไม่หมั่นสร้างตัวผู้รู้ นั่นหมายถึงว่า เรายังหาตัวเราไม่เจอเลย

 ตัวอย่าง

ไม่น่าเชื่อครับว่า ตอนนี้แนวโน้มของการบริหารจัดการสมัยใหม่นี่จะเป็นแนวพุทธแล้วนะ ภายหลังจากที่รัฐบาลจีนได้ออกมาโจมตีทิเบต ทำให้องค์ดาไล ลามะ อพยพหนีและเดินทางไปยุโรป อเมริกา และลี้ภัยอยู่ที่อืนเดีย ท่านได้นำเอาศาสนาพุทธออกไปสอนฝรั่งได้เยอะมาก ก็เลยกลายเป็นเรื่องดีไป ซึ่งถ้ามองในมุมกลับกัน ก็ต้องขอขอบคุณจีนแดงนะ

 ทีนี้แนวทางบริหารจัดการสมัยใหม่(Management) ก็คือ การนำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้ในองค์กร แต่เขาใช้ศัพท์ที่เป็นกลางนะ เพราะให้คนศาสนาอื่นเข้าใจด้วย พอนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษออกมา ก็ทำให้ผู้บริหารคนไทยมีปมจากที่ไม่เชื่อศักยภาพตัวเอง ไม่ยอมรับเผ่าพันธ์ตนเองก็จะยอมรับในแนวทางนี้มากขึ้น พอฝรั่งแปลงคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นสำนวนบริหารงานแบบภาษาอังกฤษ ก็ทำให้ผู้บริหารเฉโกทั้งหลาย รู้สึกดูดีมีชาติตระกูลขึ้นมาทันที

หรือถ้าเป็น สตีเฟน โควีย์ ที่เขียนหนังสืออุปนิสัยที่ 8 (The 8th Habit) เขาบอกออกมาเองเลยว่า เขาก็ได้แนวคิดมาจากพุทธศาสนานี่แหละ โอ้ ......ฝรั่งยังพูดถึงพุทธศาสตร์เลย เท่านั้นแหละ คนไทยจึงฟัง ฟังจากฝรั่ง มันดูดีกว่าฟังจากคนไทยด้วยกัน นี่คือปมของผู้บริหารไทย ปมแท้ๆ แต่เขามองไม่เห็น ทั้งๆ ที่ในชีวิตนี้เรียนเก่งมาตลอด แต่เป็นเก่งฐานคิด ฉลาดแต่ไม่เฉลียว รู้ลึกแต่ไม่รู้ก็มีอีกเยอะ

 ผมจึงมองเห็นว่า ระบบการศึกษาแบบตัดเกรดนี่สอนให้คนเกลียดชังคนรอบข้าง เห็นแก่ตัว แต่คนไทยก็ยังยึดเอาระบบตัดเกรดมาใช้ เป็นระบบ (มัก) ง่าย ไม่ใช่มรรคมีองค์ 8 มันง่ายเน๊าะที่คุณพิพากษาคนคนหนึ่งไปแล้ว

 และการที่เราไปยึดตรงเกรด ว่าเด็กคนนี้ได้ C เด็กคนนี้ได A คุณเชื่อไหมลองเรียนซ้ำอีกสี่สิบครั้งในชีวิตเดิมสิ ผมว่าคนที่ได้ A อยู่แล้วอาจจะได้ A เหมือนเดิม หรืออาจจะได้ A+ หรือคนที่ได้ C อาจจะได้ A ก็ได้

ทำไมการเรียนการสอนเมืองไทยต้องเรียนหนเดียวแล้วตัดเกรด ทำไมไม่ซ้ำๆๆ แล้วให้ A ทั้งห้องเลย ก็จะได้เก่งทุกคน

 ปัจจุบันนี้ บริษัทสมัยใหม่ เทรนด์สมัยใหม่ เขาไม่เลือกวุฒิการศึกษา และไม่เลือกสถาบันกันแล้ว เขาดูกันที่จิตอาสา และองค์กรสมัยใหม่ เขาจะมีมหาวิทยาลัยในองค์กรของเขาเอง สอนกันเอง เขาไม่เชื่อถือครูอาจารย์เฉโกทั้งหลายที่เอาความรู้ใต้ศอกชาวบ้านมาให้ผู้ที่หลงไปเรียนด้วยอีกแล้ว

ถ้าเราสังเกตให้ดีๆ เราจะพบว่า พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยสอนลูกศิษย์ แล้วทรงตัดเกรด เอ บี ซี เลยนะ ไม่เคยให้คะแนน มีแต่พวกเรา เฉโกกันหมดเอง

ผู้บริหารไทยสมัยใหม่หลายท่าน ไปดูงานเมืองนอกก็ตกใจเพราะไปเจอฝรั่งใช้พุทธวิธีในการบริหารจัดการองค์กร แต่เขาไม่ใช้คำนี้นะ เขาจะใช้คำว่า (Learning Organization) องค์กรแห่งการเรียน "รู้" คือเรียนให้มีสติ ให้เจอผู้รู้ ให้ค้นหาผู้รู้ของตนเองให้เจอ

แต่คนไทยเข้าใจผิด ไปตีความว่า เรียนรู้ คือ ท่องจำ คิดให้เหมือนครู แต่จริงๆแล้วคือ เรียนเพื่อให้มีความรู้ ตัวรู้ที่ปรากฎเพื่อจะให้เราแฮ็กระบบตัวเอง

สวัสดีครับ (Talented รุ่น 1 ครับ) เห็นผู้แสดงความที่ 493, 495-509 แล้วตกใจเลย!

คือเข้ามาหาความรู้ครับ ได้อ่านข้อมูลของท่านอ.ชาญโชติ ขอบคุณครับแล้วก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

พุทธศาสตร์ กับหลักการบริหาร

คนเราเปรียบเสมือนบัว แบ่งออกเป็นระดับตามที่ได้รำเรียนกันมา ถ้าจะให้หลุดพ้น ก็ต้องมี ศิล สมาธิ ปัญญาก็จะตามมา

ถ้าท่าน อ.ฯพอมีเวลา ก็แวะเวียนไปให้ความรู้ในบล็อก Talented บ้างก็จักขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับ

เรียน สมาชิก Talented รุ่น 1 และท่านผู้อ่านทุกท่าน ขอบคุณครับที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น สำหรับเรื่องที่มีผู้แสดงความคิดเห็น ลอกข้อความมาปะ ใน blog ที่ 493 (เดิม) ไม่ใช่ 493 ในขณะนี้ หลังจากนั้นก็มีผู้ไปลอก ของ 493 เดิม แล้วนำไปปะในความเห็นถัดๆไป ผมได้แจ้งให้คุณ จิตรลดา (ลูกน้อง ท่าน ดร.จีระ ผู้ดูแล blog นี้) ให้ทำการลบ ข้อความแสดงความคิดเห็นที่ 493 (เดิม) ออกไปแล้วจึงทำให้ท่านที่แสดงความคิดเห็นเลขที่ 494 เลือนขึ้นมาเป็นเลขที่ 493 แทน (จึงได้อธิบายเพราะอาจทำให้ท่านที่ไม่ได้ทราบเรื่องตั้งแต่แรก พอได้อ่านในชั่วหลังจากที่คุณจิตรลดาได้ลบ ผู้แสดงความคิดเห็นเลขที่ 493 เดิม ออกไปแล้ว) อย่าไรก็ตาม ผู้แสดงความคิดเห็นเลขที่ 495 เดิม เชื่อข้อมูลของ 493 เดิม และกลัวจะถูกสาปเลยไปลอกข้อความและปะลงไปอีก 10 ความเห็น อย่างไรก็ตามผมไม่ทราบว่าท่านที่นำมาลงครั้งแรกกับท่านที่คักลอกปะลงไปอีก 10 ความเห็นเป็นคนเดียวกัน หรือเป็นทีมเดียวกัน แต่ถ้าไม่ใช่อย่างที่ผมคิดก็แสดงว่ามีผู้ที่อ่านแล้วเชื่อ และทำการคัดลอกและนำไปลงในข้อแสดงความคิดเห็นอีก 10 ข้อ เดี๋ยวนี้มีเรื่องแบบนี้มาก ผมและเพื่อนๆเจอกันบ่อยมาก จะส่งมาทาง e-mail และให้เราส่งต่อถ้าไม่ส่งต่อจะมีอันเป็นไปต่างๆนานา แต่ถ้าส่งต่อจะโชคดี หรือได้รับอะไรต่างๆนานาภายใน 7 วันเป็นต้น ถ้าข้อมูลที่ส่งมาเป็นความรู้และคิดว่าเป็นประโยชน์ก็ยังพออนุโลมที่จะส่งต่อไป แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ไร้สาระ หรือเป็นสิ่งที่ไม่สร้างสรรค์ เช่นข้อความที่ผมได้กล่าวถึงใน blog ของเรานี้ ผมว่าน่าตำหนิ เพราะนำเรื่องที่หดหู่และมีการข่มขู่ ถ้าเรารู้ทันไม่ไปสนใจ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้า เรากลัวคำขู่และรีบส่งไปให้คนอื่นอีก 10 คน ก็แสดงว่าเราสร้างปัญหาให้กับคนถึงสิบคนที่ไปส่งให้เขา สาระไม่มีประโยชน์อะไรกับผู้รับเลย และคุณไปส่งให้เขา ก็เหมือนกับคุณเอาของไม่ดีไปให้ผู้อื่น ถ้าเป็น e-mail ก็ยังดี เพราะอ่านเฉพาะผู้เป็นเจ้าของ e-mail เพียงคนเดียว แต่นี่ใน blog ซึ่งมีผู้สนใจเข้ามาอ่านหลายท่าน และผู้ที่เข้ามาอ่านขวัญอ่อน รีบไปส่งต่อให้ผู้อื่น ก็เป็นการไปเพิ่มทุกข์ให้ผู้อื่น เพียงคิดว่าทำให้ตัวเองรอด สำหรับผู้ที่อ่านบางท่านที่ไม่ทำตามเพราะไม่ต้องการไปสร้างปัญหาให้ผู้อื่น แต่ใจไม่นิ่ง ก็จะเกิดกลัว ทำให้จิตตก และหม่นหมอง เป็นทุกข์ได้ จึงขอวิงวอนทั้งผู้ที่เป็นคนนำข้อมูลนี้มาคนแรก และผู้ที่เชื่อและส่งต่อให้คนอื่น ได้โปรดพิจารณา และอย่าทำอีกเลยครับ วันนี้ปัญหามีมากมายพอแล้ว ขอให้มาช่วยกันสร้างสรรค์ แสวงหาความสุข กันดีกว่าครับ

เรียนท่าน Talented รุ่นที่ 1 (ผู้แสดงความเห็นเลขที่ 501)

ต้องขอโทษครับ ลืมตอบข้อคิดเห็นของท่าน มัวไปอธิบายเรื่องอื่นจนลืม ยินดีที่จะเข้าไปอ่านและร่วมแสดงความคิดเห็นใน blog ของ talented รุ่น 1 ครับ แต่อาจต้องขอเวลาหน่อยเพราะผมไม่ได้ตามอ่านมาตั้งแต่ต้น และขณะนี้เข้าใจว่ามีผู้แสดงความคิดเห็น เป็นร้อยๆ ผมคงต้องขอศึกษาอ่านของท่านก่อน หลังจากนั้นจึงจะแสดงความคิดเห็นที่เหมาะสมต่อไปครับ แต่ถ้าผมยังไม่ได้เข้าไปแสดงความคิดเห็นอะไร ถ้าท่านต้องการได้ข้อมูลใด ท่านสามารถเข้าใน blog นี้ก่อนได้ครับ เพราะผมติดตามความเคลื่อนไหวใน blog นี้อยู่ตลอดเวลา หรือถ้าท่านสนใจในบทความของผมท่านสามารถเข้าไปใน http://gotoknow.org/profile/chanchot และเลือกอ่านบทความที่ท่านสนใจได้ครับ

สำหรับข้อคิดของท่านผมเห็นด้วยครับ อย่างไรก็ตามยังอยากแนะนำให้ไปหาซื้อหนังสือ ที่ผมแนะนำไว้ก่อนหน้านี้ครับ เล่มละ 195 บาท แค่ 155 หน้า มีมุมมองและแนวทางที่จะนำมาปฎิบัติหรือสอนตัวเราได้เป็นอย่างดีครับ หลังจากนั้นจะได้นำไปปฎิบัติเมื่อเกิดผลกับตัวเราจะได้แนะนำลูกหลานหรือคนรอบข้างต่อไปครับ

เรียนคุณจิตรลดา

เข้าใจว่าคุณจิตรลดายังลบข้อความของผู้ที่แสดงความเห็นที่ไร้สาระและสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ที่อ่าน blog นี้ จึงขอความกรุณาคุณจิตรลดา ช่วยลบ ข้อความแสดงความคิดเห็นเลขที่ #2303641, #2303642 และ #2303644 ด้วยครับ

นับถือ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

สวัสดีทุกท่านครับ (ผมTalented 1) ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๔ ขออำนาจสิ่งศักสิทธิ์ในสากลโลก จงช่วยคุ้มครองปกปักษ์รักษาให้พวกเรามีแต่ความสุขสมหวังดังใจปรารถนา ร่ำรวยเงินทอง เหลือกินเหลือใช้ ปลอดภัยตลอดปี โชคดีตลอดไป........

สวัสดีปีใหม่ 2554 แด่ อ.จีระ และทีมงานทุกท่าน ขอให้มีความสุขความเจริญ คิดสิ่งใดขอให้สมดังปรารถนาทุกประการ

สวัสดีปีใหม่ 2554 แด่ทุกๆท่านครับ ขอให้ทุกๆท่านและครอบครัวมีความสุขมากๆครับ

ส่งความสุข ๒๕๕๔ แด่.... อ.จีระ,อ.ชาญโชติ,คณาจารย์,ทีมงานและTalented ๒ ขอให้มีความสุข และสุขภาพแข็งแรงตลอดปีกระต่ายทองและตลอดไป...................สวัสดีปีใหม่

สวัสดี/สุขสันต์ปีใหม่ ๒๕๕๔ แด่...อ.จีระ อ.ชาญโชติ และทีมงาน รวมทั้งสวัสดีปีใหม่กับเพื่อน Talent ๑ และ ๒ ทุกๆคน ขอให้มีความสุขสมหวังในสิ่งที่ปราถนา สุขภาพแข็งแรงตลอดปี....และขอขอบคุณ อ.ชาญโชติ..ที่ยังคงเข้ามาให้ความรู้พวกเราอยู่ตลอดเวลา......

สวัสดีปีใหม่ครับ ท่านสมาชิก Talented รุ่น 1 และรุ่น 2 ทุกท่าน

ก่อนอื่นผมขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่มีโอกาสทำบุญหรือสร้างบุญสร้างกุศลในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ที่ผ่านมา ขอแสดงความดีใจกับท่านที่พาครอบครัวไปเที่ยวพักผ่อนในวันหยุดเทศกาลปีใหม่ สำหรับท่านที่ไม่ได้มีกิจกรรมทั้งสองอย่างที่กล่าวมา ท่านทำอะไรครับ ? เชื่อว่าท่านสมาชิก Talent รุ่น 1 และรุ่น 2 หลายท่านมีภารกิจทำงานรับใช้ประเทศชาติ เพื่อให้ประชาชนคนไทยมีความสุขและปลอดภัย ภารกิจของท่านถือว่าเป็นการสร้างบุญเช่นกันครับ

ผมไม่มีโอกาสพาครอบครัวไปเที่ยวในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เนื่องจากภรรยาผมติดงานราชการอยู่ต่างจังหวัด ผมได้รับเชิญจากผู้ใหญ่ให้ไปร่วมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่ Resort ของท่าน แต่ผมปฏิเสธความหวังดีของท่าน เพราะไม่อยากทิ้งครอบครัวไปหาความสุขคนเดียว ผมไม่ได้พาครอบครัวไปไหว้พระทำบุญเพราะสมาชิกในครอบครัวทุกคนไม่ชอบไปทำบุญในช่วงที่มีคนมากๆ อย่างไรก็ตามครอบครัวของผมได้ออกไปทานอาหารเย็นร่วมกันในคืนวันที่ 2 มกราคม 2554

ผมซื้อหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่ให้ตัวผมเอง 3 เล่ม ใช้เวลา ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ด้วยการอ่านหนังสือ จบไป 2เล่มได้ความรู้ใหม่ๆหลายเรื่อง จึงขอนำข้อความสำคัญได้จากหนังสือมาแบ่งปันให้กับทุกท่าน โดยขอเริ่มด้วย เรื่องความฉลาด จากหนังสือของ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ หน้า 21 ดังนี้

"จริงๆแล้วความฉลาดมีสองแบบ คือ

1.ความฉลาดทางโลก

2.ความฉลาดทางธรรม

ความฉลาดทั้งสองด้านนี้จะเกื้อกูลกัน พูดถึงความฉลาดทางโลกเรียนให้ตาย เรียนอีกร้อยปีพันปี มันก็ไม่มีวันจบสิ้น ยุคนี้บอกเรียนเรื่องนี้ว่าดี ยุคโน้นบอกว่าเรื่องนี้ไม่ดี ยุคนี้บอกว่าเข้าท่ายุคต่อไปบอกว่าไม่เข้าท่า เรื่องทางโลกมันไม่แน่ไม่นอนหรอก

แต่ความฉลาดทางธรรม มันมีวันจบ เพราะจะไปจบตรงที่ “ตัวรู้” เมื่อรู้แล้วก็จะมี “วิชชา” เกิดขึ้น เมื่อมีตัววิชชาเกิดขึ้นตัวอวิชชาก็ดับลง ก็แค่นี้เอง พวกเราอาจจะเรียนรู้อะไรมามากมาย จบปริญญาตรี โท เอก ได้รับใบประกาศหลายใบ

แต่ความรู้เหล่านี้ มันทำให้เราอยู่แค่ในกรอบ ไม่มีวันที่จะรู้หรือฉลาดได้มากไปกว่านี้ ยังทำให้หลงในอวิชชา สร้างเวร สร้างกรรม ให้ตนเองและผู้อื่นต่อไป

สำหรับหนังสือเล่มนี้ ผมจึงอยากให้ทุกคนกลับมาศึกษาความฉลาดที่เรายังไม่ได้ใช้ หันกลับมาศึกษาเรื่องภายในตัวเราทั้งหมด ซึ่งคุณจะพบว่า ขุมปัญญาอันยิ่งใหญ่ของมวลมนุษย์ไม่ได้อยู่ภายนอกเลยแต่กลับอยู่ในตัวเรานี่เอง"

สวัสดี ปีพุทธศักราชที่ ๒๕๕๔ พวกเราชาวTalented ขอทำงานรับใช้ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ด้วยความมุ่งมั่น ด้วยความพอเพียงในข้าราชการขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ขอขอบคุณชาว Talented ทุกท่านที่ทำงานรับใช้ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ในฐานะประชาชนคนไทยครับ

เรียน talented รุ่น 2 ทุกท่าน

วันนี้ได้อ่านรายงานสรุปโครงการ Talented รุ่น 2 ที่ทีมงาน ศ.ดร.จีระ ส่งมาให้อ่าน มีรายละเอียดของโครงการ และ ผลการประเมินจากผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 95 หน้า

ขอวิเคราะห์ผลประเมินที่เกี่ยวข้องกับผมดังนี้ครับ

1. สำรวจความพึงพอใจเพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพของการจัดหลักสูตร วิทยากรพี่เลี้ยง (ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ผู้แสดงความเห็น 35 ท่าน

พอใจมากที่สุด 4 ท่าน

พอใจมาก 15 ท่าน

พอใจปานกลาง 10 ท่าน

พอใจน้อย 3 ท่าน

พอใจน้อยที่สุด 3 ท่าน

เฉลี่ยได้รับความพอใจ 3.4 จาก 5.0

จากตารางนี้สามารถสรุปได้ดังนี้

1.1.ผมเป็นผู้ที่ได้รับการประเมินต่ำที่สุดในทุกการประเมิน

1.2.ผมเป็นผู้เดียวที่ได้รับการประเมิน ว่าได้รับความพอใจน้อยที่สุด (1) ถึง 3 ท่าน (ไม่มีหัวข้อประเมินใดๆที่ผู้ประเมินให้คะแนน 1 นอกจากผมเพียงผู้เดียว

1.3. แสดงให้เห็นว่าผู้เข้ารับการอบรมไม่ชอบผมอย่างน้อย 6 ท่าน

2 เรื่องที่ไม่ชอบที่สุดของผู้เข้ารับการอบรม (เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับผม)

• วิทยากรพี่เลี้ยงมาแทรกระหว่างการเรียนการสอน

• การแนะนำวิทยากร ดูไม่ละเอียด และพูดผิดบ่อยครั้ง

• อ.ชาญโชติ ไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรค์ ควรปรับปรุงระบบความคิด ชอบนั่งหลังห้อง (มีรูปถ่ายเป็นหลักฐานด้วย)

• อ.ชาญโชติ ขี้โม้ อวดตัวเป็นผู้วิเศษ

สรุปจากผลการประเมินที่ออกมานี้ ทำให้ผมเริ่มเป็นห่วงว่าผมจะเป็นผู้ถ่วงโครงการของ ศ.ดร.จีระ ต้องขอขอบพระคุณท่าน ศ.ดร.จีระที่ให้การสนับสนุนและให้โอกาสผม ได้เข้ามาร่วมในกิจกรรมของท่าน อย่างไรก็ตามจากผลการประเมินดังกล่าว ผมคิดว่าผมยังมีความสามารถไม่พอกับความไว้วางใจที่ท่านให้โอกาสผม ผมต้องขอโทษ Talented รุ่น 2 ด้วยครับ ที่ทำหน้าที่ไม่ดีพอ และเป็นต้นเหตุที่ทำให้หลายๆท่านเกิดความไม่พอใจ

ขอแสดงความนับถือ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

เรียน...ท่าน อจ.ชาญโชติ

จากผลการประเมินที่ออกมา ในทรรศนะของผมแล้วกลับมีความเห็นว่าท่านอยู่ในเกณฑ์ดีมากถึงดีที่สุดนะครับ เพราะ 6 เสียงกับ 29 เสียง มันต่างกันมาก และที่สำคัญที่สุด ในโลกนี้ไม่มีใครที่ทำอะไรแล้วจะเป็นที่พอใจของทุกคนครบ 100% หรอกครับ ตัวผมเองทุกวันนี้ก็เจอแบบนี้จนเป็นเรื่องปกติแล้วครับ แต่ถ้าเรานำสิ่งนี้มามองในแง่มุมที่เป็นบวก ก็น่าจะทำให้เราเห็นได้ว่าเรายังต้องมีการปรับบางสิ่งบางอย่างให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ดังคำที่ว่าไม่มีใครเก่งมาแต่เกิด ไม่มีใครเก่งไปทุกอย่างทุกด้าน การกระทำบางอย่างเป็นที่พอใจของคนๆหนึ่งแต่ขณะเดียวกันก็อาจจะเป็นที่ไม่ชอบของอีกคนหนึ่งก็ได้ ทุกคนล้วนมีแนวความคิด-ความชอบเป็นของตนเองและไม่เหมือนกันทั้งหมด ประสบการณ์และการพัฒนาจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ผมเองทุกวันนี้ก็ทำงานอยู่กับคนในเกือบทุกเรื่องฯลฯ เจอเรื่องแปลกๆมาก็เยอะ จึงอยากให้ท่านอจ.ชาญโชติ และทีมงาน รวมทั้งเพื่อน Talented ทุกคนและทุกรุ่นคิดอย่างนี้เช่นกัน สำหรับผมเป็นผู้หนึ่งที่เห็นว่าท่านอจ.ชาญโชติ มีส่วนสำคัญกับหลักสูตรนี้เป็นอย่างมาก และยังคอยให้ความรู้ที่ดีๆแก่พวกเรามาอย่างต่อเนื่องและคิดว่าต้องมีต่อไป เพื่อน Talented รุ่น 2 ท่านใดมีความเห็นอย่างไรเชิญร่วมแสดงความเห็นด้วยครับ สุดท้ายผมหวังว่า ท่านอจ.ชาญโชติ และทีมงาน คงจะนำสิ่งที่ดีๆมาให้กับพวกเราต่อไปนะครับ

อย่ายึดติดกับคะแนนอะไรมากนักเลยครับ เน้นที่การกระทำดีกว่า ถ้าเราไม่ได้เป็นอย่างนั้นก็ไม่ต้องกังวล

ก่อนอื่นก็ขอสวัสดีปีใหม่กับ talanted 2 ครับ ล่าช้าไปมากเลยครับ และก็เช่นกันครับขอสวัสดีปีใหม่กับท่าน อจ.จิระ และทีมงานทุกท่าน ขอให้มีความสุข สดชื่น สมหวัง ในสิ่งที่ชอบ ประกอบด้วยธรรม ทุกสิ่งทุกประการ สาธุ

เรียนท่าน อ.จ.ม.ล.ชาญโชติ ฯ ผมคนหนึ่งได้อ่านข้อความของท่านแล้วในช่วงแรกแล้วไม่ค่อยสบายใจกับท่านด้วย แต่จากความเห็นของท่านอื่น ๆ ในลำดับต่อมา มันก็พ้องกับความเห็นของผม คือท่านอย่าไปซีเรียสเลยครับ "คนรักเท่าผื่นหนัง คนชังเท่าผื่นเสื่อ" ธรรมดามากครับ ซึ่งผมเองเท่าที่ได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับท่าน ผมว่ามันเป็นคุณาประโยชน์สำหรับผมเป็นอย่างมาก แต่คำติชมผมว่าบางครั้งมันเป็นเสมือน GPS นะครับ นำทางเราไปสู่เป้าหมายได้ และส่วนตัวผมคิดว่าดีกว่าคำชมด้วยซ้ำไป ผมขอเป็นกำลังใจครับ

สวัสดีครับ Mr.K / # 2327146 / Mr.Who และ Talented 2 ทุกท่าน

ต้องขอขอบคุณ Mr.K และ Mr.Who รวมถึง อีกท่านที่ไม่ได้แสดงตน ขอบคุณครับที่ให้กำลังใจและข้อคิด การที่ผมนำผลการประเมินมาแจ้งให้ทราบ ผมเพียงแต่ยกมาเป็นแบบฝึกหัดให้ท่าน Talented รุ่น 2 ฝึกทักษะที่เกี่ยวข้องกับงานของท่านครับ เช่นเดียวกับช่วงที่สัมมนา ที่สระบุรี ผมนำข้อมูลเปรียบเที่ยบระหว่าง blog รุ่น 1 และ blog รุ่น 2 ที่มีจำนวนผู้เข้าชม และผู้แสดงความคิดเห็น และถามว่าข้อมูลที่ผมยกมานั้น ให้อะไรกับรุ่น 2 บ้าง และมี Talented รุ่น 2 นำเรื่องนี้มาพูดในห้องสัมมนา

ผมเป็นนักการตลาด จึงติดนิสัยเก็บข้อมูลต่างๆมาวิเคราะห์ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปสร้างประโยชน์ ผลประเมินที่ผมนำเสนอนั้นผมวิเคราะห์เรียบร้อบแล้วครับ และได้คำตอบอย่างที่ผมนำเสนอไป คือมีคนไม่ชอบผม 6 คน และเข้าไปดูว่าไม่ชอบผมเรื่องอะไร ผมได้ทำการวิเคราะห์ ทั้ง 4 ข้อ และยอมรับว่า มีถูกต้องอยู่ ข้อเดียว คือการนำเสนอประวัติของวิทยากรน้อยไป และพูดผิด เรื่องนี้ผมพลาดจริงๆ ผมจะต้องนำไปปรับปรุงและแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นอีก (เป็นครั้งแรกที่ผมรับหน้าที่เป็นวิทยากรพี่เลี้ยง และไม่ทราบมาก่อนว่าหน้าที่นี้ทำอะไรบ้าง)

ส่วนข้อที่แจ้งว่าผมแทรกแซงวิทยากรท่านอื่น ข้อนี้ผมยังสงสัย ผมคงไม่เสียมารยาทไปขัดจังหวะในขณะที่วิทยากรกำลังอธิบาย น่าจะเป็นการเข้าไปแสดงการมีส่วนร่วมในช่วงแสดงความคิดเห็นที่ได้ตกลงกับท่านวิทยากรไว้มากกว่า อย่างไรก็ตาม ขอความกรุณาท่านอื่นๆช่วยแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ด้วยครับ เพราะถ้าหลายๆคนเห็นจริงตามนั้น ผมจะได้รู้ตัว จะได้แก้ไขในโอกาสต่อไป

ส่วนข้อที่แจ้งว่าผมไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรค์ ควรปรับปรุงระบบความคิด เป็นครั้งแรกที่ได้ยินครับ คนส่วนมากคิดว่าผมเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มากจนหลายๆคนตามไม่ทัน ชอบนั่งหลังห้อง (มีรูปถ่าย) ถ้าไม่นั่งหลังห้องจะให้ไปนั่งที่ไหนครับ ( เขาจัดที่นั่งผมไว้ที่หลังห้อง)

ส่วนข้อที่ว่าผมขี้โม้ อวดตัวเป็นผู้วิเศษ ยิ่งงงมากครับ เพราะไม่ใช่นิสัยของผม

หลังจากผมวิเคราะห์เสร็จเรียบร้อย ผมไม่ได้เสียใจที่มีผู้ไม่ชอบผม หรือน้อยใจ ที่ได้รับผลการประเมินน้อย ผมไม่ได้นำตัวไปเปรียบเทียบกับวิทยากรท่านอื่นๆเพราะเปรียบเทียบกันไม่ได้ แต่ก็พิจารณาหาสาเหตุว่าทำไมถึงมีผู้ประเมินผมในระดับต่ำสุดถึง 3 คน ถึงแม้นว่าผมจะเป็นมือใหม่และไม่เคยรับหน้าที่นี้มาก่อน แต่ก็แน่ใจว่าการทำหน้าที่ของผมคงไม่แย่ขนาดนั้น จึงสรุปได้ว่าเป็นเรื่องของการใช้อารมย์ในการประเมินตัวบุคคล ไม่ใช่การประเมินจากผลงานของบุคคล

อย่างไรก็ตามผลประเมินที่ออกมาถึงแม้นผมจะผ่าน แต่ในความรู้สึกของผมก็คิดว่าผมควรจะทำได้ดีกว่านี้ ท่าน ศ.ดร.จีระ ไว้ใจผม แต่ผลที่ออกมาเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า ผมมองภาพในด้านบวกมากเกินไป ท่าน ศ.ดร.จีระมอบหมายงานอะไรให้ผม ผมก็รับปากทำให้ทันที โดยลืมพิจารณาความสามารถและความถนัดของตัวเอง จึงเริ่มไม่แน่ใจว่าจะเหมาะกับหน้าที่นี้หรือไม่

ไม่ต้องเป็นห่วงว่าผมจะน้อยใจหรือยึดติดกับคะแนนจนทำให้คิดมากจนทำให้เสียใจครับ ผมไม่ยอมให้อะไรมามีอิทธิพลเหนือจิตใจผมครับ สบายใจได้ และขอขอบพระคุณท่านที่มองผมในด้านดีและเห็นผมมีคุณค่าครับ

ติเพื่อก่อ เพื่อเป็นกระจกเงา และเพื่อเป็นกำลังใจสู้ต่อไปครับ เท่าที่จำได้การพูดแทรกวิทยากร ตอนประกอบเรือครับ สังเกตเห็นวิทยากร หน้าเสียเลยครับ

เรียน Mr.P. และ Talented รุ่น 2 ทุกท่าน

ขอบคุณครับ ที่ช่วยเป็นกระจกเงาให้ครับ แสดงว่าผมทำเกินหน้าที่ ต่อไปจะระวังให้มากขึ้นครับ อย่างไรก็ตามขอเรียนด้วยความจริงใจครับว่า การนำผลการประเมินมาลงใน blog ไม่ใช่นำเรื่องส่วนตัวที่กระทบถึงผมมาเป็นสาระครับ จุดประสงค์จริงๆคือการใช้เป็นกรณีศึกษาให้กับ Talented รุ่น 2 ตามที่ผมเรียนไว้แล้ว หน้าที่ของพวกท่านมีส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของท่านตัดสินใจนำข้อมูลข่าวสารที่ได้จากท่านไปดำเนินการที่ทำให้เกิดผลด้านบวกและด้านลบ ถ้าท่านพิจารณาและวิเคราะห์ด้วยบรรทัดฐานของอารมย์ที่มากระทบท่าน โดยไม่ใช้เหตุผลหรือการวิเคราะห์ในทุกด้าน อาจจะทำให้เกิดผลเสียหายที่ร้ายแรง หรืออาจทำให้มีผู้ได้รับความเสียหาย ท่านเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบสูง ดังนั้นทัศนคติเป็นเรื่องสำคัญมาก

กรณีศึกษาที่ผมยกมานี้ เกี่ยวข้องกับหลายส่วนด้วนกัน มีโจทย์ให้กับหลายๆส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องเฉพาะแต่ละคน และเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน การบริหารบังคับบัญชา รวบไปถึงวิทยากร และท่าน ดร.จีระ และทีมงาน รวมถึงตัวผมเอง การนำกรณีศึกษานี้ไปวิเคราะห์ก็จะได้ผลประโยชน์กับทุกๆท่านที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษาที่ผมให้ไปเป็นการสร้างสรรค์ เพิ่มทักษะให้กับงานที่พวกท่านทำอยู่

แต่น่าเสียดายที่ส่วนมากไม่เข้าใจเจตนาของผม หรือไม่เข้าใจโจทย์ที่ผมให้สำหรับใช้เป็นกรณีศึกษา เช่น ที่ผมให้ข้อมูลเปรียบเที่ยบระหว่าง ผู้เข้าชม และผู้แสดงความคิดเห็น ใน blog รุ่น 1 และ blog รุ่น 2 มีผู้แสดงความคิดเห็น 1 ท่านในห้องสัมมนา แต่สิ่งที่ท่านกล่าวถึงแสดงว่าท่านไม่เข้าใจเจตนาของผม และก็ไม่มีท่านผู้อื่นสนใจกับกรณีศึกษานั้น

สิ่งที่ผมกำลังทำอยู่นี้ก็เป็นการทำเกินหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจาก ดร.จีระ และความจริงภาระหน้าที่ของผมก็จบไปแล้ว แต่บังเอิญว่าหน่วยงานของท่านมีความสำคัญกับความมั่นคงของประเทศชาติ เกี่ยวข้องกับคนไทยทุกคน ผมจึงใช้สิทธิ์ของความเป็นคนไทยประเมินหาจุดอ่อนของท่านและหาทางชี้แนะหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อให้หน่วยงานของท่านมีคุณภาพเหมาะสมกับภาระหน้าที่ในการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติ

"ผมจึงใช้สิทธิ์ของความเป็นคนไทยประเมินหาจุดอ่อนของท่านและหาทางชี้แนะหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อให้หน่วยงานของท่านมีคุณภาพเหมาะสมกับภาระหน้าที่ในการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติ"

เพิ่มอีกนิดนึงว่า ควรประเมินตัวเองด้วย เพื่อให้ครบ 360 องศา

กลับมาสู่วัตถุประสงค์หลักของ blog นี้ดีกว่า ไร้สาระกันมาพอสมควรแล้ว ....... พอดีไปเจอบทความนี้เข้าเห็นว่าเข้าท่าดี เลยอยากนำมา share ให้ได้อ่านกันคร๊าบบบบบบบบ

Know กู เพราะกูเป็นกู แล้วกูไม่มีกู ชนะทุกอย่างด้วยกูกลับกู : ประยุกต์แนวคิด ดร.จีระและท่านพุทธทาส

คัมภีร์ตะวันตกที่คนเป็นนักบริหารจัดการทั้งหลายมักยึดติดแล้วแบ่งแยกผู้นำที่นำไปสู่ความสำเร็จและสร้างคุณค่าต่อธุรกิจนั้น มักมองข้ามสิ่งที่เรียกว่า การพัฒนามนุษย์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ต้องขอยกย่องท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ปรมาจารย์ทางการพัฒนามนุษย์มากกว่าความเป็นทรัพยากรมนุษย์และสร้างให้เป็นทุนมนุษย์ที่พร้อมทั้งทุนปัญญา ภูมิรู้ ภูมิธรรม ภูมิใจ และนำสังคม สร้างความสำเร็จยั่งยืนให้ตัวเองเป็นคนแรกของประเทศไทย จากการก่อตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขึ้นจนทุกวันนี้ และเป็นแห่งแรกในประเทศไทยอีกด้วย

เหตุนี้ การพัฒนาตัวมนุษย์ทุกคน หากมองให้ลึกซึ้งแล้วขอประยุกต์จากแนวคิดท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และผสมผสานท่านพุทธทาสภิกขุแล้ว เรื่องความเป็นตัวตน ความเป็นตัวกู ของกู ดูจะไปไกลมากกว่าเรื่องที่มองแค่ธรรมดา แต่มีคุณค่าต่อตัวมนุษย์ทุกคนและสังคมโลกอย่างมาก อีกทั้งยังสร้างความสำเร็จอย่างยั่งยืนไม่ใช่เทียมๆ แต่เป็นของแท้อีกด้วย

KNOW กู คือ รู้จักความเป็นตัวกู ของกู แบบฉบับการดำเนินชีวิตการทำงานประจำวันหรือแม้แต่ในชีวิตครอบครัวแบบที่กูคือ ตัวเราเป็นตัวเรายึดติดจนเป็น "จริต" ซึ่งมีจุดอ่อนจุดแข็งอยู่เสมอเหมือนมีความสำเร็จและล้มเหลวอยู่ในตัวเสร็จเหมือนเหรียญที่มีสองด้านหรือคำว่า เหว่ย/เว่ย จี ที่แปลว่า วิกฤติและโอกาสอยู่ในเรื่องเดียวกัน

ดังนั้น หากมนุษย์กลับความเป็นกู คือ ใช้ความเป็นกูหลอกล่อศัตรูหรือผู้ไม่หวังดีต่อความสำเร็จของเรา โดยเฉพาะความเป็นกูในด้านที่มนุษย์อื่นคิดเช่นนั้นเป็นเช่นนั้น ที่เขาเห็นจากเปลือกนอกของความเป็นกูของเราก็ย่อมจะใช้ประโยชน์สร้างความสำเร็จอย่างมากด้วยกลยุทธ์ "ให้เขาเห็นเท่าที่เขารู้ว่าเราเป็น"

ขอถามท่านผู้เจริญว่า ไยเราต้องเผยตัวกูให้เขารู้ไปเสียทุกอย่างเล่า ไยคนเห็นเราเป็นเช่นนั้น เช่นนี้ หากเราไม่เสียประโยชน์อันใดไม่ทำให้ใครเดือดร้อน เราก็อยู่ส่วนเขา เขาก็อยู่ส่วนเรา ไยเล่าต้องไปแก้ไขว่าเรามาใช่ตัวเรา แล้วไยต้องเชื่อตามเขาเล่า บางทีอาจป็น "ขุดบ่อล่อตกปลา" ตัวเราก็ได้โดยเฉพาะ "ภาพที่เห็นจากสื่อ" จะตั้งฉายาจะตั้งอะไร ก็ฮือฮาแค่ไม่เกินเดือน คิดในมุมกลับดีเสียอีกจะได้มีการขยายผลความฮือฮา ช่วยโฆษณาให้ฟรีๆ

ขอถามผู้เจริญว่า ไยเราต้องเปลี่ยนตามภาพที่ผู้ละม้ายคล้ายหวังดีแต่อาจแฝงประสงค์ร้าย ต้องการให้เราเป็น ก็มาถึงอีกกลยุทธ์แบบกูกลับกูคือ "เปลี่ยนเท่าที่อยากเปลี่ยน" ทำไมต้องเปลี่ยนจริตของเราไปเสียทั้งหมด เชื่อเถิด คนเราหนอนะเนี่ย ที่ไม่ใช่จริตเรานะ แด้ดจะแร้ด (ดัดจริต) ยังไงก็ไปไม่กี่น้ำหรอก เปลี่ยนแค่ที่เราพอสร้างภาพต่อคนส่วนใหญ่ที่รักเรา ชอบเรา มีแน่นอน ในโลกนี้จริตแบบไหนๆ ของใครๆ ก็ต้องมีกลุ่มคนที่ชอบอยู่แล้วแบบจริตยังงั้น ไม่เช่นนั้นนักร้องคงไม่มีหลายประเภท ลูกทุ่ง สตริง เพื่อชีวิตหรอกหรือดาราไม่มีแฟนคลับหลายประเภทหร้อก เซ็กซ์ เอ็กซ์ อึ๋ม ตลก โศกเศร้า บู๊ หรือที่เป็นความทันสมัยคือ สตันท์แมน จริงไหมหนอ

มัวไปสนใจอะไรกับพวกไม่ชอบหน้าเราเล่า คนไม่ชอบหน้ายังไงก็ไม่ชอบหน้า เหมือนท่านผู้เจริญ คอลัมน์ไหน รายการไหนทางทีวี. เคเบิลทีวี ท่านไม่ชอบอ่าน ชอบดู แน่นอน ท่านยังไงก็ไม่มีทางจะดูอาจผ่านๆ ตาตอนเปิด หรือเปลี่ยนช่องบ้าง จริงหรือไม่ จะอ่านจะดูจริงๆ ก็ตอนอยากจับผิดอีกนั่นแหละ จะได้มีเรื่องวิพากษ์ วิจารณ์ด่าพวกที่เราไม่ชอบหน้าไงเล่า มันธรรมดาโลก

ให้ระวังจงดี พวกอยากเป็นเรา แต่ยังเป็นไม่ได้ฤา อยากเป็นตัวกูของเขาแบบของเรา แต่ยังไม่มีโอกาส ก็จะคอยหากลุ่ม หาพวก หรือมีโอกาสแสดงความคิดเห็นโดยเฉพาะบนออนไลน์ใส่ร้ายสร้างความเสื่อมศรัทธา ให้เราเสียตัวกูของเราที่ดีอยู่แล้วเพื่อเขาจะได้แทนหรือหาโอกาสเกิดขึ้นมา ระวัง! อย่าเข้าทางจงตอบโต้บ้าง ก็มาถึงอีกกลยุทธ์เป็นกลยุทธ์สุดท้ายที่กูกลับกูคือ

"โต้บ้างแต่อย่าค้างนาน" คือตอบโต้ในเรื่องนั้นๆ แบบกระชับสั้นให้เข้าใจแล้วไม่ใส่ใจ อย่างสร้างความถี่ในการโต้จะเป็นการสร้างกระแส แต่ดีที่สุด "โต้แล้วโต้เลยไม่ใส่ใจต่อ" แต่ "ล่อให้มีศัตรูร่วม"

ทั้งหมดนี้ คือ สถานการณ์บ้านเมืองเรื่องจริงเวลานี้ โดยเฉพาะสงครามข่าวสารที่ดูฮือฮากัน แต่ถ้าลองหัดใช้ความรู้ช้าๆ (Slow Knowledge) อย่ารีบเร็วๆ แบบใช้ความรู้ปัจจุบัน ก็แค่เรื่องธรรมดาที่ต้องรู้จัก "กูกลับกู" ก็แค่นั้นแล

ผมยังไม่ค่อยเข้าใจที่ Mr.Bean ให้เพิ่มอีกนิดนึงว่า ควรประเมินตัวเองด้วย เพื่อให้ครบ 360 องศา ผมไม่ทราบว่าเจตนาท่านต้องการย้อนผมว่าผมควรพิจารณาตัวผมเองใช่หรือไม่ ถ้าใช่โปรดอ่านข้อความของผมให้สมบูรณ์ด้วย  เพราะผมประเมินตัวผมตั้งแต่ต้น ผมยกข้อความมาให้ดูอีกครั้ง ครับ แต่ถ้าผมเข้าใจผิดก็ขอโทษด้วยครับ

กรณีศึกษาที่ผมยกมานี้ เกี่ยวข้องกับหลายส่วนด้วยกัน มีโจทย์ให้กับหลายๆส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องเฉพาะแต่ละคน และเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน การบริหารบังคับบัญชา รวบไปถึงวิทยากร และท่าน ดร.จีระ และทีมงาน รวมถึงตัวผมเอง การนำกรณีศึกษานี้ไปวิเคราะห์ก็จะได้ผลประโยชน์กับทุกๆท่านที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษาที่ผมให้ไปเป็นการสร้างสรรค์ เพิ่มทักษะให้กับงานที่พวกท่านทำอยู่

คุณชาญโชติทำหน้าที่ได้ดีแล้วค่ะ ขอให้กำลังใจด้วย

ก้าวให้ผ่าน ข้ามให้พ้น

ควรนำสิ่งที่ผู้อื่นวิพากษ์วิจารณ์ มาวิเคราะห์โดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง

ปราศจากความโน้มเอียง ทั้งด้านบวก และ ลบ จากนั้น ผลที่ได้จากการประเมิน

นำมาปรับปรุง พัฒนา ทำในสิ่งที่ทำได้ เปิดใจยอมรับในสิ่งที่ยังทำไม่ได้

"จิตเป็นใหญ่ใจเป็นประธาน"

กรรมดี กรรมชั่ว จะสำเร็จต้องขึ้นอยู่กับมโนกรรมเป็นหลัก

หากมั่นใจในสิ่งที่ทำว่าดีว่าถูก (ด้วยหลักของโลกไม่ใช่หลักกู)

ก็จงยืนหยัดและมุ่งมั่นที่จะทำไปต่อไป

แต่ถ้าพบว่า สิ่งที่เรายึดอยู่เป็นเพียงอัตตา ก็ปรับใจ น้อมใจให้รับกับสิ่งที่เป็นจริง

โลกจะน่าอยู่ อยู่ที่เราเข้าใจและยอมรับความเป็นจริง

Live and Learn

อย่าลืม บางครั้งเราก็ต้องเรียนรู้จากความเจ็บปวด

God Bless You

สวัสดีครับท่านสมาชิก Talented รุ่น 2 ทุกท่าน

ต้องขอโทษที่ไม่ได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นใน blog นี้เกือบ 2 อาทิตย์ เพราะติดภาระกิจเรื่องการจัดเตรียมหลักสูตรอบรมมัคุเทศก์อาชีในวันที่ 24 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ การอบรมผ่านไปได้ 5 วันผลเป็นที่น่าพอใจ ท่าน ศ.ดร.จีระ ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีปฐมนิเทศในวันที่ 24 มกราคม และบรรยายหัวข้อ "มัคคุเทศก์กับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม" ในเวลา 13.30-16.30 น และบรรยายหัวข้อ"ภูมิทัศน์ของมัคุเทศก์ทางวัฒนธรรมและการสร้างอัตตลักษณ์ " ให้กับมัคคุเทศก์อาวุโส ในเวลา 19.30-21.00 น และวันนี้ (28 มกราคม) ท่าน ศ.ดร.จีระ ยังช่วยบรรยายหัวข้อ"การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์" ตั้งแต่เวลา 13.00-20.00 น อีกด้วย

ทั้งๆที่ท่านแทบไม่มีเวลาว่าง แต่ท่านยังไปบรรยายให้กับมัคุเทศก์ ถึง 3 ครั้งภายในอาทิตย์เดียว รวมเวลาบรรยาย 11 ชั่วโมง ท่านให้ความสำคัญกับมัคุเทศก์มากเพราะถือว่าเป็นทูตภาคประชาชน ถ้าท่านใดสนใจและต้องการทราบข้อมูลในการอบรมสามารถเข้าไปดูได้ใน blog ของท่าน ดร.จีระ "หลักสูตรอบรมเพิ่มศักยภาพมัคุเทศก์ไทยก้าวทัน SME (มีด้วยกัน 2 blog )

ขอให้การอบรมผ่านไปก่อน ผมจะหาสิ่งดีๆที่เป็นประโยชน์มานำเสนอใน blog ครับ

เรียน ท่าน Talented รุ่น 2 ทุกท่าน

เข้าใจว่าพวกท่านกำลังยุ่งกับเหตุการณ์บ้านเมืองอยู่ เลยไม่ได้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นใน blog นี้ และผมเองก็ยังไม่มีโอกาสหาเรื่องดีๆที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มาเสนอให้กับท่าน Talented 2 อย่างไรก็ตาม ผมได้เปิด blog เพื่อหาคนดี ที่ทำดี คิดดี คิคสร้างสรรค์ เพื่อแนะนำให้เป็นที่รู้จักในหมู่ของคนดีด้วยกัน เพื่อแสดงความชื่นชม และช่วยให้การสนับสนุน เพื่อให้คนที่คิดดี แต่ยังขาดการสนับสนุนหรือขาดเวทีทำกิจกรรมได้มีโอกาส คิดว่าท่าน Talented 2 ที่อยู่ในพื้นที่ทั่วประเทศ สามารถแนะนำคนดีที่คิดถึงผลประโยชน์ของสังคมและประเทศชาติ จึงขอความกรุณาโปรดแนะนำคนดีที่ท่านรู้จักใน blog http://gotoknow.org/blog/chanchot-social-capital ด้วยครับ

นับถือ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

เรียนท่าน Talented รุ่น 2 ทุกท่าน

ผมได้รับ e-mail จากเพื่อน เห็นว่าเป็นสิ่งดี เลยนำมาฝากผู้อ่าน blog นี้ครับ

พร 4 ข้อของท่าน ว.วชิรเมธี

   รักษา "หัวใจ" ของใครคนนั้น...คนที่เรารัก ประหนึ่งหัวใจ "ตน"
                     ให้สมกับที่เขา...ไว้ใจ และเชื่อใจ ที่ฝากหัวใจ...ไว้ที่เรา                      

ใครที่ไม่ได้ไปนั่งฟังการบรรยายธรรมะโดยท่าน  ว.วชิรเมธี   ท่านได้ให้พร 4 ข้อ ดังนี้   
1.   อย่าเป็นนักจับผิด
 
คนที่คอยจับผิดคนอื่น แสดงว่า   หลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น   ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง
" กิเลสฟูท่วมหัว ยังไม่รู้จักตัวอีก"  
คนที่ชอบจับผิด จิตใจจะหม่นหมอง   ไม่มีโอกาส" จิตประภัสสร" ฉะนั้น จงมองคน มองโลกในแง่ดี
" แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป็น   ก็เป็นสุข"


2.   อย่ามัวแต่คิดริษยา
 
"   แข่งกันดี ไม่ดีสักคน     ผลัดกันดี ได้ดีทุกคน"  
คนเราต้องมีพรหมวิหาร 4   คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
คนที่เราริษยาเป็นการส่วนตัว   มีชื่อว่า" เจ้ากรรมนายเวร"   ถ้าเขาสุข เราจะทุกข์   ฉะนั้น เราต้อง ถอดถอน
ความริษยาออกจากใจเรา เพราะไฟริษยา   เป็น" ไฟสุมขอน" (   ไฟเย็น) เราริษยา 1 คน เราก็มีทุกข์ 1 ก้อน
เราสามารถถอดถอนความริษยาออกจากใจเราโดยใช้วิธี" แผ่เมตตา" หรือ   ซื้อโคมมา แล้วเขียนชื่อคนที่เราริษยา แล้วปล่อย ให้ลอยไป


3.   อย่าเสียเวลากับความหลัง  

90%   ของคนที่ทุกข์   เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ" ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น"
มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก   เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขาพร้อมแบกเครื่องเคราต่างๆ   ไว้ที่หลังขึ้นไปด้วย
ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันซะ" อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต   มากรีดปัจจุบัน"
" อยู่กับปัจจุบันให้เป็น"   ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี" สติ" กำกับตลอดเวลา

4.   อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ  

"   ตัณหา" ที่มีปัญหา คือ ความโลภ ความอยากที่ เกินพอดี   เหมือนทะเลไม่เคยอิ่มด้วย น้ำ ไฟไม่เคยอิ่มด้วย   เชื้อ ธรรมชาติของตัณหา   คือ" ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม"
ทุกอย่างต้องดูคุณค่าที่แท้ ไม่ใช่   คุณค่าเทียม   เช่น   คุณค่าที่แท้ของนาฬิกา คืออะไร คือ ไว้ดูเวลา   ไม่ใช่มีไว้ ใส่เพื่อความโก้หรู  
คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือ คืออะไร   คือไว้สื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เสริมมาไม่ใช่   คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์
เราต้องถามตัวเองว่า" เกิดมาทำไม" " คุณค่าที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ตรงไหน"   ตามหา" แก่น" ของชีวิตให้เจอ
คำว่า"พอดี"   คือถ้า"พอ" แล้วจะ"ดี"   รู้จั ก "พอ" จะมีชีวิตอย่างมีความสุข  



ท่านที่ได้รับโปรดส่งต่อไปให้แก่คนที่ท่านรักแลปรารถนาดี   เป็นบุญเป็นกุศลยิ่งนัก  

สัพพะทานัง ธัมมะธานัง ชินาติ  

'   การใ ห้ธรรมะเป็นทาน   ชนะการให้ทั้งปวง'

จงดลบันดาลให้ท่านและครอบครัว   จงประสพแต่ความสุข ความเจริญ ด้วยอายุ วรรณะ สุขะ   พละ
และ   ปฏิภาณธนสารสมบัติทุกประการ  
 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท