ความหรูหราแห่งธรรม...


เป็นสิ่งที่น่ายินดีที่ได้เห็นคนในสังคมหันมาใส่ใจ สนใจ “ธรรมะ” กันมากขึ้น แต่ลึก ๆ ของความใส่ใจ สนใจนั้นหากมองให้ดี กับสนใจ และใส่ใจกับ “ความหรูหราแห่งธรรม...”

ความหรูหราแห่งธรรมะ นั้นคืออะไร...?
ในเบื้องต้นนั้นคือ “ภาษาที่หรูหรา” การใช้คำภาษาบาลีที่ฟังแล้วไม่ค่อยจะเข้าใจ ก็ไม่ต่างอะไรกับการใช้ภาษาอังกฤษในวง “วิชาการ”
การใช้คำภาษาบาลีของผู้แสดงธรรมด้วยการพูด หรือเขียน สร้างความประทับใจ ว่าเขาหรือใครมี “ภูมิรู้” ทางธรรมะ...

ภาษาธรรม ที่แท้นั้นไม่ใส่สามารถกลั่นออกมาเป็นภาษาใด ๆ ได้...
ธรรมะ หรือสิ่งที่เราได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ได้เขียนกันทุกวันนี้นั้นเป็นเพียงสิ่งสมมติแห่งธรรม ซึ่ง “บัณฑิต” ผู้ที่เข้าถึงทำน้อมนำมาซึ่ง “บุคคลาธิษฐาน” เปรียบเทียบ เปรียบเปรยออกมาเป็น “วัจนภาษา”

บัณฑิตแท้ และ บัณฑิตเทียม...
บัณฑิตแท้คือ อริยะบุคคล บัณฑิตเทียมคือ ปุถุชน
การถอดความจาก อวัจนภาษา คือภาษาธรรมในใจออกมาเป็น วัจนภาษา เพื่อให้ใครต่อใครรู้นั้น ถ้าหากบุคคลนั้นฝึกฝนตนจนสามารถเลื่อนจิตใจของตนจากปุถุชน ขึ้นเป็น “อริยบุคคล” แล้ว วัจนภาษานั้น จักเป็นธรรมะที่ “บริสุทธิ์”
แต่ถ้าบุคคลใดยังเป็น ปุถุชน แล้วสมมติตนขึ้นมาเป็นคนที่พร่ำบ่นเรื่องธรรมะ วัจนภาษาที่ได้ออกมานั้นคือสิ่งที่เล็ดรอดออกมาจาก “วิปัสสนูกิเลส ๑๐”

ไม่ว่าจะเป็นธรรมเนียม ประเพณี พิธีกรรม ซึ่งนำพราหมณ์มาบนเปกับพุทธ ทำให้ธรรมะของพุทธนั้นดูหรูหรา ฟู่ฟ่า เป็นเหตุให้คนทั้งหลายชอบความโอ่อ่าให้ “ธรรมพิธีกรรม” เหล่านั้น

ความเรียบง่ายจากธรรม อันเป็น “ธรรมชาติ” จึงค่อย ๆ ลดน้อย ถอยห่าง จากคนผู้เป็น “ปุถุชน”

ปุถุชนผู้กลิ้งเกลือกอยู่กับธรรมารมณ์ กิเลส ตัณหา และ กามราคะ

ใช้ธรรมเพื่อหาผลประโยชน์แห่งธรรม
ประกาศธรรมเพื่อลาภ ยศ สรรเสริญ

ธรรมะที่แท้เป็นอารมณ์ธรรม อารมณ์ธรรมคืออารมณ์แห่ง “ความสงบ”
ความสงบอันเป็นยอดแห่งความสุข
หากบุคคลใดประพฤติปฏิบัติธรรมแล้ว เส้นทางแห่งการดำเนินชีวิตนั้นยังเพิ่มพูนด้วยความทุกข์ มีลาภ ยศ สรรเสริฐ เปรอะเปื้อน เกรอะกรัง เส้นทางที่ตนสมมติเรียกว่าธรรมะนั้นย่อมมิใช่ เพราะบุคคลนั้นกำลังเดินอยู่บนหนทางแห่งธรรมที่หรูหรา

การใช้ประโยชน์แห่งธรรมะเพื่อน้อมนำมาซึ่งปัจจัย ๔ ที่หรูหรา และฟุ่มเฟือยนั้น เป็นการใช้ธรรมเพื่อชีวิตออกห่างจากธรรม

ธรรมะคือหลักในการดำเนินชีวิตให้ประเสริฐ สะอาด บริสุทธิ์ และสิ้นสุดแห่งความเห็นแก่ตัว ธรรมะมีไว้เพื่อให้ ธรรมะมิใช่มีไว้ใช้เพื่อ “สะสม...” ธรรมะจึงเป็นต้น เป็นเหตุแห่งกรรมที่มีชื่อว่า "ความเสียสละ"

ดังนั้นบุคคลใดประพฤติปฏิบัติธรรมแล้วชีวิตปลอดโปร่ง เบาสบายแล้วไซร้ เส้นทางนั้นจึงเป็นเส้นทางที่ทอดผ่านจากหัวใจให้ไปถึงจุดหมายซึ่ง “ธรรม...”

 Large_meru77

หมายเลขบันทึก: 407783เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2010 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะIco64

  •  คุณยายแวะมาฟังธรรมะก่อนนอนค่ะ
  •  สุขกาย สบายใจนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท