ความหวังใหม่ในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์


ผมกลับกำลังตื่นเต้นกับ "คนรุ่นใหม่" จำนวนหลายสิบคนที่ตื่นตัวกับการรักษาสุขภาพ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี และ การทำเกษตรอินทรีย์ ที่ไม่คิดแบบ "เงินหรือความสะดวกเป็นตัวตั้ง"

วันพรุ่งนี้ (๗ มีนาคม ๒๕๕๔) ผมจะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ที่ทำเนียบรัฐบาล

และผมได้รับมอบหมายจากกลุ่มคณะทำงานสายปราชญ์อีสาน และเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ให้หาทางผลักดันในเชิงการวางแผนงานและการใช้งบประมาณของกระทรวงและกรม กองต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติมากที่สุด เท่าที่จะทำได้

  •  ผมรู้สึกว่าเป็นงานที่ฟังดูง่าย แต่ไม่ง่ายเลย
  • เพราะผมคิดว่า ระบบราชการนั้นก็มี “วิบากกรรม” ของการปฏิบัติงาน บุคลากร และชุดความรู้ที่ใช้งานอะไรไม่ค่อยได้ เป็นทุนอยู่อักโข
  • ผมเลยไม่แน่ใจว่าจะแก้ไขอะไรได้มากนัก

 

ที่กล่าวมานี้ ไม่ได้ท้อนะครับ เพียงแต่ จะพยายามเต็มที่โดยไม่หวังอะไรมากนัก

และแอบหวังว่า “โชค” อาจจะเข้าข้างประเทศไทยบ้างก็เป็นได้

ในขณะเดียวกัน

ผมกลับกำลังตื่นเต้นกับ

 "คนรุ่นใหม่" จำนวนหลายสิบคนที่ตื่นตัวกับการรักษาสุขภาพ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี และ การทำเกษตรอินทรีย์ ที่ไม่คิดแบบ "เงินหรือความสะดวกเป็นตัวตั้ง"

แต่ใช้สุขภาพและความสุขแบบธรรมชาติเป็นตัวตั้ง

เน้นการพัฒนาความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ แบบ "อยู่กับธรรมชาติ" อย่างมีความสุข

เข้ามาแลกเปลี่ยนกับผม ทั้งที่บ้าน ที่นา ทั้งทางโทรศัพท์ และ internet

นี่คือ "กล้ารุ่นใหม่" ของสังคมไทย ที่มีโอกาสจะช่วยชี้นำการพัฒนาการเกษตรของสังคมไทย ที่กำลังหลงทางอย่างรุนแรง

แต่...

ในระบบราชการ ที่มีทั้งงบประมาณ และ "นักวิชาการ" หลายสายงาน กำลังใช้คำว่า "เกษตรอินทรีย์" ในการใช้งบประมาณและกำลังคน แบบ มือไม่พายแต่เอาเท้าราน้ำ

ทำให้เราสูญเสียงบประมาณปีละเป็นพันล้าน ภายใต้กรอบงาน "เกษตรอินทรีย์" แต่ก็ได้อย่างมากแค่ เกษตรที่ใช้ "ปุ๋ยอินทรีย์" บางทีก็ปลอมปนสารพัดอย่างมาอีกด้วย

ดังนั้น...

ผมจึงหวังว่า

คนรุ่นใหม่เหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟู "ภูมิปัญญา" ของไทยที่เคยมีมายาวนาน ก่อนที่จะถูก "ก่อกวนและกีดกัน" จากความรู้ที่เป็นพิษ จากธุรกิจสารพิษ และโดยนักวิชาการสมองติดเชื้อ "ตะวันตก" และเกษตรกร ที่ถูกมอมเมา

และในสังคมไทย เราก็ยังมี “สังคมเงียบ” ของผู้บริโภคสารพิษด้วยวิธีการ อุดหู อุดจมูก ปิดตา เพื่อไม่ให้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่ได้กลิ่นสารพิษในระหว่างการบริโภค

แล้วก็บอกว่า "ไม่มีทางเลือก"

แต่บางคนก็เสพติดสารพิษ หรือรูปแบบของผลิตผลจากสารพิษ

น่าสงสารจริงๆ กับ "เหยื่อ" ที่น่าสงสารเหล่านี้

เราคงทำได้แค่ "อุเบกขา" มั้งครับ

หรือว่าเขาเกิดมาเพื่อเป็นเบี้ยล่างของระบบธุรกิจการใช้สารพิษ ตามวิบากกรรมของเขาเอง ที่เราแก้ไขอะไรไม่ได้

ผมไม่แน่ใจ แต่ก็อยากทราบจริงๆนะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 429732เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2011 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ตามมาเชียร์อาจารย์
  • ไม่ได้คุยนานมาก
  • ตอนนี้กำลังปลูกผักปลอดสารพิษครับ
  • รอรวมกลุ่มกับชาวบ้าน

ขอเป็นกำลังใจให้คุณครูของผมครับ

แต่ส่วนตัวแล้วเลิกคิดและหวังกับหน่วยงานราชการไปนานมากแล้วครับ ผมเลิกเข้าประชุมเสนอความคิดกับหน่วยงานราชการโดยเฉพาะกระทรวงเกษตรเป็นเวลาหลายปีแล้ว เพราะเบื่อระบบและวิธีคิดของราชการ การที่เค้าส่งจดหมายเรียกเราเข้าประชุมเพียงเพื่อแจ้งให้ทราบและให้เรานำไปปฏิบัติทั้งๆที่ในจดหมายเรียกประชุมระบุว่าเพื่อขอความคิดเห็น 

ก็เพียงความหวังเล็กๆน้อยๆ อันริบหรี่ครับ

เพื่อนำมาบอกภาคประชาชนว่า "ไม่ต้องรอ" ให้เสียชาติเกิด ครับ

  • ขอเป็นอีกหนึ่งเสียงเชียร์อาจารย์นะคะ อย่าเพิ่งหมดกำลังใจค่ะ

ดิฉันเป็นผู้หนึ่งที่พยายามศึกษาหาข้อมูลอยากทำเกษตรอินทรีย์ สนใจมานานแล้วแต่ไม่มีโอกาสเพิ่งจะได้รับที่นามา 5 ไร่ในแปลงนี้มีบ่อน้ำลึก 5 เมตรกินพื้นที่ 2 ไร่คิดว่าจะทำอย่างไรกับที่แปลงนี้ดี พอดีมาอ่านเจอ การทำนาหว่านไม่ต้องไถ ของอาจารย์แสวง ดิฉันดีใจมากเลยเพราะอยากทำเช่นนั้นบ้าง ขอสนับสนุนและเอาใจช่วยอาจารย์นะคะ หากได้ลงมือทำจริง อาจต้องขอคำแนะนำเพิ่ม ไม่เคยทำการเกษตรเลย  ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้ให้ข้อมูลดีๆเอาไว้ 

เรามีหลักการและแนวทางปฏิบัติพร้อมครับ

เดินหน้าได้เลย

มีอะไรสงสัย ติดต่อมาได้ครับ

เรามีทีมพร้อมทุกด้านครับ

   การเป็นเหยื่อที่น่ากลัวคือ "เป็นโดยไม่เคยรู้สึกว่าเป็น" นี่คือวิบากกรรมที่น่าสมเพชที่สุดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท