เขียนให้เป็นชนะด้วยปลายปากกา


ยิ่งเขียนมาก ยิ่งคิดมาก ยิ่งฉลาด และเฉียบคมทางปัญญามาก

ในปีการศึกษา 2552 ได้มีโอกาสเข้าศึกษต่อในหลักสูตรป.บัณฑิตเอกบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ในวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีนัดสำหรับนักศึกษาซื้อของอยู่เนืองๆจนมีเรื่องแซวกันว่า..ค่าช็อปจะแพงกว่าค่าเทอม..1ในในนั้นก็จะมีสัปดาห์หนังสือที่หน่วยงานภายนอกร่วมกับราชภัฎเข้ามาจัดนิทรรศการเกี่ยวกับหนังสือน่าอ่านนานาชนิด..พวกเราเวลาหยุดพักกลางวันก็จะเดินไปชมนิทรรศการกัน ก็พิจารณาหนังสือตามความชอบ ข้าพเจ้าไปเจอหนังสือเล่มนึ่ง..เขียนให้เป็นชนะด้วยปลายปากกา...ของ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ซึ่งเป็นเล่มที่พิมพ์เป็นครั้งที่ 6 แล้ว มีความคิดที่ว่าลองอ่านงานเขียนของท่านดู..เวลาเขียนอะไรที่มันเป็นวิชาการจะได้เอางานเขียนของท่านมาเป็นหลักในการเขียนได้บ้างไม่มากก็น้อย..แต่สรุปที่เห็นด้วยและได้เต็มๆเป็นจริงอย่างที่ท่านพูดนั่นก็คือ....ข้อคิดทิ้งท้าย..เพื่อผู้ที่อยากจะเป็นนักเขียน...แต่สำหรับข้าพเจ้าเอาเป็นเพื่อผู้ที่อยากจะเขียนก็พอ....

ท่านทิ้งท้ายไว้ว่า

นักเขียนมีดีที่...ใจ

* คนทุกคนเป็นนักเขียนได้ หากกล้าที่จะคิด กล้าที่จะเขียน และอดทนต่อการเขียนต่อไปจนถึงที่สุด (ใจกล้า)

* ตั้งเป้าหมายในใจ งานเขียนของฉันต้องตีพิมพ์ให้ได้ (ใจสู้)

* งานเขียนเป็นงานหนัก เฉพาะคนมีใจรักจึงทำได้ (ใจรัก)

นักเขียนมีดีที่...ความคิด

* ความจำที่ดีไม่ได้ช่วยให้เขียนหนังสือได้ดี ต้องผ่านกระบวนการทางความคิดที่ดีด้วย

* ถ้าเราไม่มีความชัดเจนในความคิด ไม่เข้าใจในสิ่งที่ทำ เราจะเขียนอย่างไม่รู้เรื่อง

* คนที่จะเขียนหนังสือได้ดี คือ คนที่มีวินัยทางความคิดอย่างสูง สามารถรัดเข็มขัดทางความคิดของตนได้ คือ จดจ่อคิดใคร่ครวญเกี่ยวกับประเด็นที่จะเขียนจนทะลุปรุโปร่งทุกๆแง่มุม แล้วค่อยกลั่นกรองออกมาเป็นภาษาเขียน

* ยิ่งเขียนมาก ยิ่งคิดมาก ยิ่งฉลาด และเฉียบคมทางปัญญามาก

* นักเขียนมีดีที่...ลักษณะชีวิต

* นักเขียนมองทุกๆมุม เหตุการณ์เป็นตัวหนังสือ (ช่างคิด/ช่างสังเกต)

* คนที่ไม่ได้อ่าน ก็ยากที่จะเขียน (นักอ่าน)

* คนใจกว้างและรักการเรียนรู้ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เขียนหนังสือได้ดี (ถ่อมใจ/เรียนรู้)

* ยึดคติไม่ลอกเลียนแบบงานผู้อื่น คิดเองเขียนเอง ไม่เช่นนั้นอาจติดคุก (ไม่ละเมิดสิทธิ์)

* อย่าเขียนเพื่อกระเพาะอาหาร แต่ควรเขียนเพื่อลูกหลาน (มีวิสัยทัศน์)

* ตรวจครั้งที่ 1 มีแก้ไข 20 ที่ ครั้งที่ 2 ไม่ควรแก้ไขเลย (รอบคอบ)

* ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน น่าจะเป็นคติประจำใจของนักเขียนได้...

 

ที่มา...http://www.facebook.com/update_security_info.php?wizard=1#!/notes/watcharee-chotirat/เขียนให้เป็นชนะด้วยปลายปาก��/188543407848694

หมายเลขบันทึก: 430949เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2011 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

Ico24..ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจนะคะ...

  • สวัสดีค่ะ
  • เห็นภาพหนูน้อยเต้นได้น่ารักมาก ๆ  นึกถึงกัลยาณมิตรก็เลยนำมาฝากกัน ชมเพื่อความเพลิดเพลินค่ะ
  • ด้วยความระลึกถึงค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                                   ภาพขนาดย่อ

Ico48..ขอบใจจ้าน้องพะโต๊คนงาม...

ยอดเยี่ยมครับ เอาอีก เอาเล่มอื่นมาเสนออีกนะครับ

จะได้รับทราบภาพรวมของแต่ละเล่ม

Ico48...ขอบคุณค่ะท่านอาจารย์.ตอนนี้อ่านเรื่องที่หามาได้ไปก่อนนะคะ..^___^...

*ขอบคุณค่ะที่นำมาแบ่งปัน..มีข้อคิดดีๆมากมาย..

*มาชวนให้ร่วมกิจกรรมกับน้องมะปรางในการถอดบทเรียนจากบันทึกของ ชาว G2K :

http://gotoknow.org/blog/pr4u/431557?page=1#2395060

*คุณแสงแห่งความดี ได้เสนอ blog "ดังลมหายใจ" ของ ผศ.ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ :

http://gotoknow.org/blog/wirat-kamsrichan

*พี่ใหญ่ชื่นชม blog นี้มาก เพราะสะท้อนสายสัมพันธ์อันอบอุ่นของครอบครัว ที่เป็นพื้นฐานของชีวิตที่มีความสุขอย่างยั่งยืนในสังคม

*หาก น้องครูอ้อยเล็ก สนใจเข้าร่วมถอดบทเรียนนี้ โปรดแจ้งชื่อไปที่บันทึกของน้องมะปราง ดังกล่าวด้วยนะคะ เพื่อเราจะได้ร่วมเป็นกลุ่มเดียวกัน

*ในการนี้ต้องเร่งดำเนินการแล้วนะคะ..เพราะน้องมะปรางกำหนด date line ให้บันทึกแล้วเสร็จภายใน วันศุกร์ที่ ๘ เมย.นี้ค่ะ

คุณครูอ้อยเล็ก ขอบคุณและยินดีมากๆค่ะ ที่เข้ามาร่วมกลุ่มกิจกรรมถอดบทเรียน "ดังลมหายใจ" ของ ผศ.ดร.วิรัตน์ ซึ่งในขณะนี้ มีสมาชิก คน แล้วค่ะ :

                      * คุณแสงแห่งความดี

                      * คุณณัฐรดา

                      * อ.ณัฐพัชร์

                      * คุณครูอ้อยเล็ก

                      * พี่ใหญ่

  สำหรับประเด็นการถอดบทเรียนนี้ จนถึงวันนี้ คุณณัฐรดา และพี่ใหญ่ ได้ลองร่างมาเบื้องต้น เพื่อพิจารณาร่วมกัน ดังนี้ :

1.แก่นสาระหลัก (theme) ของบันทึก "ดังลมหายใจ" (พี่ใหญ่)

2.บทเรียนที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจของสายสัมพันธ์ในครัวเรือนและชุมชน(พี่ใหญ่)

3.การหล่อหลอมสังคมด้วยพุทธศาสนา (คูณณัฐรดา)

4.ความคาดหวังต่อการรักษาและพัฒนาวัฒนธรรมของสถาบันครอบครัวสู่สังคม(พี่ใหญ่)

.....................................ฯลฯ...........................................................

.. ชื่อในวงเล็บคือผู้เสนอประเด็น ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพ ร่างรายละเอียดขึ้นมาเสนอให้สมาชิกพิจารณาร่วมกันต่อไปนะคะ ..  

 ..สมาชิกท่านใดจะเสนอประเด็นเพิ่ม โปรดแจ้งด้วยนะคะ..

..น้องมะปรางเอื้อเฟื้อให้สื่อสารความคืบหน้าที่บันทึกของเธอได้ เพื่อการ ลปรร.ค่ะ  

... จากประเด็นเบื้องต้นที่ร่างมานี้ เราทุกคนสามารถช่วยกันใส่เนื้อหาได้ โดยอาจรอหรือไม่รอเจ้าของประเด็นเสนอมาก่อน..พี่ใหญ่รับเป็นผู้รวบรวมให้และดูความสอดคล้องในแต่ละประเด็น..

... บันทึกใน blog ดังลมหายใจ ของ ผศ.ดร.วิรัตน์ ทั้ง ๑๖ เรื่อง มีความต่อเนื่องกันบนฉากชีวิตที่หล่อหลอมเป็นหนึ่งแห่งครอบครัว "คำศรีจันทร์" อย่างแนบแน่นและแข็งแกร่งมีคุณค่า..

 .. พี่ใหญ่จึงมีความเห็นว่า พวกเราทุกคนควรได้มีโอกาสอ่านทั้งหมด และตกผลึกบทเรียนออกมาใส่เป็นเนื้อหาในแต่ละประเด็นตามที่เก็บได้ ซึ่งน่าจะเหมาะสมกว่าแบ่งกันอ่านนะคะ..นี่อาจเป็นการอ่านรอบที่สองของสมาชิกหลายท่านแล้ว

....เสียดายที่การถอดบทเรียนครั้งนี้ ทำแบบ on line ..หากอยู่ใกล้ๆกันน่าจะมีชีวิตชีวากว่านี้ จริงๆนะคะ..

 

  

Ico48

 

ประเด็นดีจังเลยครับพี่ใหญ่ครับ
เป็นการร่วมกันเขียนหนังสือไปในตัววิธีหนึ่งเลยนะครับ
ผมเองก็จะนำมาเขียนบทสังเคราะห์เชิงทฤษฎีเพิ่มเข้าไปอีกส่วนหนึ่งด้วยเช่นกันครับ
จะเพิ่มระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในแนว Autoethnography เข้าไปครับ
เชื่อว่าจะเป็นระเบียบวิธีที่เหมาะมากสำหรับวิธีทำประสบการณ์ชีวิตและประวัติศาสตร์สังคมที่สะท้อนอยู่ในเรื่องราวตัวบุคคลให้เป็นการสร้างความรู้และวิธีเรียนรู้ทางสังคม สำหรับสังคมที่มีพื้นฐานที่ดีมากมายแต่มีช่วงเวลาการพัฒนาสังคมแห่งความรู้ทีหลังประเทศที่พัฒนามาก่อนของโลกดังเช่นสังคมไทย

แต่ละท่านนี่สามารถเน้นบางด้านที่เป็นการสกัดประเด็นและสร้างความรู้ต่อยอดขึ้นจากกรณีตัวอย่างที่ใช้เป็นวัตถุดิบการถอดบทเรียนด้วยกัน ในแง่มุมที่แตกต่างหลายด้านเลยนะครับ

  • อย่างคุณแสงแห่งความดีก็น่าจะเชื่อมโยงไปยังการพัฒนาการเรียนรู้จากชีวิตชุมชน
  • คุณณัฐรดานี่ได้รอบด้านเลย โดยเฉพาะเรื่องระบบวิธีคิดทางพุทธธรรม ศิลปะ
  • อาจารย์ณัฐพัชร์น่าจะเชื่อมโยงไปที่เรื่องศิลปะและสื่อภาพกับการวิจัยชุมชน โดยเฉพาะวิธีทำให้การพรรณาและเรื่องเล่าเพื่อนำเสนอการวิจัยเชิงคุณภาพให้มีพลังต่อการแสดงสิ่งซึ่งมีความเป็นนามธรรมมากกว่าข้อมูลตัวหนังสือ
  • น้องคุณครูอ้อยเล็กนี่น่าจะโยงไปที่การพัฒนาการเรียนรู้จากการเล่นและกิจกรรมชีวิตชุมชน และการพัฒนาการเรียนรู้ศิลปะแบบบูรณาการ
  • ส่วนของพี่ใหญ่นี่ นอกจากโยงไปที่ประเด็น ๒, ๓, ๔ อย่างอยู่มือได้เป็นอย่างดีแน่นอนแล้ว เรื่องการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กๆ ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมในบ้าน ในชุมชน รวมทั้งจากแหล่งประสบการณ์ที่มีอยู่หลากหลายในสังคม เช่น กลุ่มเพื่อน หนังสือและการอ่าน ศิลปะวรรณกรรม เหล่านี้พี่ใหญ่ก็มองเชื่อมโยงได้ลึกซึ้งและกว้างขวางครับ

อย่างไรก็แล้วแต่ครับ วางอยู่บนฐานของการเห็นและรู้สึกได้ออกมาจากข้างในแล้วก็ว่าไปตามนั้นนี่ดีที่สุดครับ จะสบายและเป็นการได้ทำเพื่อเรียนรู้ตัวเอง เบาๆ และบอกเล่าสะท้อนความบันดาลใจได้ดีกว่าวิธีอื่นครับ

http://gotoknow.org/blog/nongbua-community/432524?refresh_cache=true

..........................................................................................................

พี่ใหญ่ขอนำความเห็นของ ผศ.ดร.วิรัตน์ มาประกอบการถอดบทเรียนของพวกเราทุกคนค่ะ..พี่เพิ่งเข้าไปสนทนาหารือกับท่านเมื่อเช้านี้เอง..

พี่ใหญ่มาส่งร่าง แก่นสาระ(theme) ของบันทึก "ดังลมหายใจ" รวบรวมจากความเห็นของ ผศ.ดร.วิรัตน์ ใน blog ดังกล่าว..(โปรดเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควร)

 * สะท้อนเรื่องราวชีวิตในอดีตของครอบครัวชนบทในบ้านเกิด ท่ามกลางญาติพี่น้องที่มี “ แม่ ” เป็นศูนย์กลางและตัวหลักของเนื้อเรื่อง ที่แม้จะอยู่ห่างไกลความเจริญทางวัตถุ แต่มีจิตสำนึกอย่างชาวบ้าน ที่ผสมกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับวิถีชีวิต เปรียบเสมือน “ ดังลมหายใจเข้าออก ”

* เป็นการนำเสนอให้คนสัมผัสได้ดีขึ้น สามารถเรียนรู้เรื่องของตนเอง และเชื่อมโยงสู่โลกกว้าง คนภายนอกจะเห็นประเด็นที่ไม่ใช่เรื่องจำเพาะกรณี แต่เห็นภาพของสังคมทั่วไป ตามบริบทเหล่านี้ :

     ๑. กิจกรรมชุมชน และความเป็นชุมชนที่คลุกคลีและสัมผัสด้วยตนเองและจากการถ่ายทอดของ แม่ และกลุ่มผู้ใหญ่ในชุมชน

     ๒.เค้าโครงการผูกเรื่องนั้น เป็นการตกผลึกสิ่งที่ได้จากการวิจัย การทำงาน และการสรุปบทเรียนของชีวิตในปัจจุบัน ที่มุ่งเน้น ความมีจิตสาธารณะ ของปัจเจก และกลุ่มก้อนของคน ในบริบทของชุมชนและสังคมไทย ซึ่งเป็นประเด็นย่อย ของ Civil Society

     ๓.พยายามจูงมือผู้อ่าน ไปสัมผัสในแง่มุมต่างๆ ผ่านเรื่องเล่าประสบการณ์ชีวิต มีเหตุการณ์และการแสดงออกในสถานะการณ์ต่างๆ การก่อเกิดจากครอบครัว สภาพแวดล้อมชุมชน การเล่นและกลุ่มเพื่อน การปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก การสนทนากับระบบคิด และหลักชีวิตที่มาในศาสนธรรม

     ๔.ใช้ศิลปะภาพเขียน เพื่อสื่อภาษาภาพและก่อเกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูงที่เรียกว่า Simplification Communication และ Interaction Learning Empowerment เพื่อมุ่งเน้นให้ชาวบ้านที่อ่านหรือเขียนหนังสือหรือแสดงความรู้ที่เป็นทางการกับคนภายนอกไม่ค่อยได้ ไม่เกิดความเคอะเขิน ซึ่งเป็นวิธีพัฒนาการเรียนรู้ของพลเมือง ทำให้เกิดชุมชนที่ใช้ความรู้และใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น

Ico48

สวัสดีค่ะ

อ่านแกนหลักของเรื่องที่พี่ส่งให้ทางความเห็นแล้ว ชอบมากค่ะ

ขอส่งประเด็น การหล่อหลอมสังคมโดยพุทธศาสนามาเพื่อให้พี่พิจารณาดังนี้นะคะ

การหล่อหลอมสังคมไทยโดยพุทธศาสนา

เหตุการณ์ต่างๆในชีวิตที่นำมาร้อยเป็น “เรื่องเล่า” นอกจากจะบอกเล่าเรื่องราวในชีวิตของบุคคลผู้หนึ่งให้ผู้อ่านได้เห็นภาพและเพลิดเพลินตามผู้เล่าไปด้วยแล้ว ยังเป็นอีกแหล่งของการเรียนรู้ หรือสืบสาวความเป็นไปในสังคม

ดังเช่นเรื่องเล่า “ดังลมหายใจ” ที่ผู้เล่า (อาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์) ได้เรียบเรียงเหตุการณ์ในชีวิตท่านมาเล่าผ่านงานเขียนนี้ ผู้อ่านสามารถเห็นภาพสังคมไทยที่ถูกหล่อหลอมด้วยพุทธศาสนา ความสุขของพุทธศาสนิกชนที่ฉายออกมาจากการดำรงชีวิตโดยนำหลักธรรมมาเป็นแนวทาง ได้จากทั้งภาพวาด และเนื้อความเรียง

พอที่จะเรียบเรียงจากเนื้อเรื่องเล่าได้ดังนี้

1.การเกิดประเพณีเพื่อพระศาสนาโดยเฉพาะ

ดังเช่นที่ผู้เขียนได้เล่าถึงประเพณีการปล่อยโคมลอยเพื่อบูชาพระรัตนตรัย  

เดิมคนในสุวรรณภูมินับถือผี ต่อเมื่อพุทธศาสนาเผยแพร่มาถึง จึงเกิดการผสมกลมกลืนกันระหว่างพุทธกับผี (หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า “พุทธแบบชาวบ้าน”)  คือมีการนับถือผีและพุทธไปด้วยกัน แต่ยังให้พุทธเป็นประธาน

จึงเกิดความกลมกลืนของประเพณีดั้งเดิมต่างๆกับพิธีกรรมทางศาสนา และเกิดประเพณีต่างๆเพื่อการในพระศาสนาขึ้น

ดังที่เห็นได้จากประเพณีปล่อยโคมลอยดังกล่าว

2.การสร้างเครือข่ายทางสังคม อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประเพณีทางศาสนา

ในประเพณีการปล่อยโคมลอย ผู้เขียนได้เล่าว่า

“เมื่อโคมลอยลอยขึ้นไปจนถึงลมบน ก็จะมีลมส่งลอยไปไกลได้หลายวัน บางครั้งจากบ้านผมที่ชุมชนบ้านตาลิน อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ดังในปัจจุบันนี้ ก็อาจลอยไปตกถึงจังหวัดพิจิตรและพิษณุโลกบ้าง ........ การรู้กันว่าบนโคมลอยมีสตางค์ อีกทั้งข่าวสารงานบุญ ..... ชาวบ้านปลายทางวิ่งตามเก็บโคมลอยและเปิดจดหมายออกอ่าน เมื่อรู้ข้อมูลที่ส่งและเสี่ยงทายโคมลอยแล้ว ชาวบ้านและชุมชนปลายทางก็จะมีธรรมเนียมนับความเป็นญาติพร้อมกับหาทางส่งข่าวกลับไปยังแถวบ้านผม จองกฐิน หรือขอเดินถือจดหมายกลับไปสร้างความคุ้นเคยเป็นญาติ คอยช่วยเหลือเกื้อกูลและทำบุญด้วยกันในอนาคต ...”

นั่นคือจากประเพณีทางศาสนา ได้ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงถึงกันของชุมชนหนึ่งกับชุมชนอื่นๆ สร้างเครือข่ายเพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆของกันและกันทั้งในปัจจุบันและอนาคต

3.ลักษณะของสังคมที่มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันอันเนื่องจากการมีวัดเป็นศูนย์กลาง

ในวัฒนธรรมไทยนั้น ชุมชนผูกพันกับวัดและพระอย่างแนบแน่น เนื่องจากวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน พระจึงไม่ได้สอนธรรมแต่เพียงอย่างเดียว หากยังสอนวิชาทางโลกด้วย เช่น วิชาช่าง ศิลปะ การรักษาโรค และมักเป็นผู้นำในการพัฒนาชุมชนด้านต่างๆ เช่น การขุดบ่อน้ำ สร้างสะพาน ผู้ระงับกรณีพิพาทในชุมชนเหล่านี้เป็นต้นอีกด้วย จากการที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เดียวกัน ทำให้เกิดความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจในชุมชนเพื่อกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งอันเกิดประโยชน์ต่อชุมชนโดยส่วนรวม

ในชุมชนที่ผู้เขียนได้เล่าไว้ ก็พบความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยมีวัด หรือ กิจกรรมทางศาสนาเป็นศูนย์กลางได้เช่นกัน ดังเช่น การปล่อยโคมลอยซึ่งไม่สามารถทำได้โดยบุคคลใดเพียงบุคคลเดียวเนื่องจากความยุ่งยากเกินกำลังทั้งกำลังแรงงาน และกำลังทรัพย์ จึงต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชน,  การสร้างโรงเรียนวันครู (๒๕๐๔) ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย, การขุดสระน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำบริโภคหลังโรงเรียน เป็นต้น

(อย่างไรก็ดี จากเรื่องเล่านี้ ก็ยังเห็นการเปลี่ยนแปลงในสังคม ที่วัดในชุมชนถูกลดความสำคัญลงด้วย เช่น ศึกษาที่แยกตัวออกจากออกจากวัด จากการจัดการโดยพระ มาเป็นการศึกษาที่จัดการกันเองโดยฆราวาส ซึ่งก็เป็นลักษณะเดียวกับที่พบเห็นได้ในวัดอื่นๆทั่วประเทศ)

4.ลักษณะของอุปนิสัย หรือวิถีชีวิตของคนในชุมชน

หลักธรรมในศาสนาพุทธมีส่วนในการหล่อหลอมลักษณะนิสัยของพุทธศาสนิกชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากในศาสนาพุทธมีทั้งหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในทุกแง่มุม เช่น การพัฒนาจิตใจ การดำรงชีวิตให้เหมาะสม และมีความสุขตามฐานะทางสังคม (เช่น ในฐานะผู้ปกครอง ในฐานะแม่ ลูก เป็นต้น) การเกื้อกูลกัน รวมไปถึงความมีระเบียบเรียบร้อยในสังคม

ดังในเรื่องเล่าเรื่องนี้ สามารถพบลักษณะนิสัยที่ถูกหล่อหลอมด้วยพุทะศาสนาได้ในหลายแง่มุม เช่น

-การมีจิตใจที่ดี เช่น หลักพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) เป็นต้น

-การครองชีวิตอย่างสงบสุขในฐานะฆราวาสและเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคม เช่น หลักฆราวาสธรรม (สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ) หลักสังคหวัตถุ 4 (ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตา) หลักสัปปุริสธรรม 7 (รู้จักเหตุ รู้จักผล รุ้จักตน รู้จักกาล รู้จักประมาณ  รู้จักบุคคล รู้จักบริษัท)

-การนำธรรมะมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตเพื่อความสุขตามเหตุปัจจัย เช่น หลักปัจจุบันธรรม ชีวิตจึงผ่านความยากลำบากไปอย่างมีความสุขเพราะมอง และ ยอมรับโลก อย่างถูกต้องตามพื้นฐานความเป็นจริงในปัจจุบัน จึงมีความสุขกับสิ่งที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบัน หรือ หลักสันโดษ ยินดีตามที่มี ที่หาได้ จึงไม่ริษยาใคร เป็นต้น

-การถือเอาประโยชน์ที่เลยตาเห็น หรือ สัมปรายิกัตถะ และ ปรมัตถะ นอกเหนือไปจากประโยชน์ปัจจุบัน หรือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ ของพุทธศาสนิกชน

Ico48

(ต่อ)

-การดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ 8 ที่นำมาจัดในลักษณะของบุญกิริยาวัตถุ 10 เพื่อให้เหมาะกับวิถีชีวิตฆราวาส(ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย และ ทิฏฐุชุกัมม์)

ดังมีตัวอย่างอย่างมากมายที่พบได้จากเรื่องเล่าค่ะ เช่น การขายผัดไทยแบบเงินเชื่อ ที่ผู้ซื้อนำเงินมาชำระภายหลัง (สัจจะ) การคิดและทำกิจกรรมเพื่อเด็กๆที่ขัดสน (พรหมวิหาร ประกอบกับธรรมอื่นเช่น สังคหวัตถุ) การแบ่งเฉลี่ยความดีให้ผู้อื่น โดยแบ่งหน้าที่กันทำกิจกรรมเพื่อชุมชน เช่น การเลี้ยงอาหาร การขุดบ่อน้ำ  (ปัตติทานมัย) ซึ่งนอกจะเป็นการแบ่งเฉลี่ยความดีกันแล้ว ในส่วนตัวผู้ทำ ยังถือว่าได้บำเพ็ญประโยชน์ (อัตถจิรยา) การยินดีกับความดีของผู้อื่น เช่นการที่ผู้เขียนยินดีกับมารดาที่จัดกิจกรรมเลี้ยงอาหารเด็ก (ปัตตานุโมทนามัย) เหล่านี้เป็นต้น 

Ico48

ต้องขอบคุณพี่ค่ะที่กระตุ้นให้นำเรื่องดังลมหายใจนี้ขึ้นมาอ่านอีกครั้ง

จึงทำให้ได้เห็นความงามมากมายที่แฝงอยู่ในเนื้อเรื่องค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท