Safety First - 023 : รับมือ สึนามิ (Tsunami) อย่างไรให้ถูกหลักการ?





รับมือ สึนามิ (tsunami) อย่างไรให้ถูกหลักการ ?

ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)



แก้ไข/ปรับปรุงล่าสุด : จันทร์ 14 มีนาคม 2554 เวลา 10:30 น.

(เพิ่มหนังสือ คลื่นยักษ์สึนามิ คลื่นอภิมหาภัย ให้ดาวน์โหลดในแหล่งข้อมูลอ้างอิง)

โปรดแจ้งหรือทักท้วง หากมีข้อมูลผิดพลาด คลาดเคลื่อน หรือไม่ครบถ้วน

เพื่อให้บันทึกนี้มีประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างแท้จริง - ขอบคุณครับ


 

เมื่ออยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดสึนามิ (tsunami) เราควรปฏิบัติตัวดังนี้

  • ศึกษาเส้นทางและแผนอพยพหนีภัยแผ่นดินไหวและสึนามิ

[ที่มาของภาพ]

 

[ที่มาของภาพ]

 

  • หากได้รับสัญญานเตือนภัยสึนามิ หรือ รู้สึกถึงแผ่นดินไหว ให้ตั้งสติและหนีไปยังที่ปลอดภัย เช่น ที่สูงและอยู่ห่างออกไป หรือสิ่งก่อสร้างที่จัดเตรียมไว้ในกรณีที่เกิดสึนามิ (เช่น หอหลบภัย) อย่าเข้าไปหลบในอาคารที่อยู่ในที่ต่ำเป็นอันขาด


[ที่มาของภาพ]

  • หากน้ำทะเลลดลง (หรือสูงขึ้น) อย่างรวดเร็ว ให้หนีออกจากบริเวณชายหาดไปยังที่ปลอดภัย อย่าเดินลงไปที่ชายหาดเป็นอันขาด เพราะคลื่นสึนามิสามารถพุ่งเข้าหาฝั่งได้เร็วกว่าที่เราจะวิ่งหนีได้ทัน (ดูคลิปสึนามิที่ญี่ปุ่น สังเกตความเร็วของการเคลื่อนที่ของคลื่นและสิ่งของต่างๆ ที่คลื่นพัดพามา)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • หากมีเสียงดังสนั่น คล้ายเสียงเครื่องบินหรือรถไฟ ก็แสดงว่าอาจจะมีสึนามิขนาดใหญ่ตามมา เสียงนี้เป็นสัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติ ซึ่งอาจช่วยให้เรารอดได้ในช่วงเวลากลางคืนซึ่งเรามองเห็นทะเลไม่ชัดเจน

 

  • อย่าอยู่ในพื้นที่เสี่ยงจนกว่าเหตุการณ์จะจบลงอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากสึนามิเป็นคลื่่่นที่มาเป็นขบวน โดยคลื่นลูกที่ตามมาอาจจะใหญ่กว่าคลื่นลูกแรก และอาจจะตามมาหลังจากคลื่นลูกแรกเคลื่อนเข้าถึงฝั่งหลายชั่วโมง

แผนภาพแสดงลักษณะของสึนามิซึ่งเป็นคลื่นที่มาเป็นขบวน [ที่มาของภาพ]

 

  • หากอยู่ในเรือและมีเวลาเพียงพอ ให้เดินเรือออกไปยังน้ำลึกอย่างน้อย 100 ฟาทอม หรือ 183 เมตร

 

  • ให้ระวังว่า โครงสร้างของอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่โดนสึนามิ อาจจะได้รับความเสียหายและพังทลายลงมาได้

ภาพความเสียหายที่เกิดจากสึนามิเมื่อปี 2004 [ที่มา]

  



คลิปเกี่ยวกับสึนามิ

 

 

 

 

รับฟัง Tilly Smith สาวน้อยที่เรียนรู้เกี่ยวกับสึนามิจากครูสอนภูมิศาสตร์ของเธอ

และสามารถใช้ความรู้นั้นในการช่วยเหลือชีวิตของผู้อื่น






แหล่งข้อมูลอ้างอิง

 

 

 



ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

 


หมายเลขบันทึก: 430955เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2011 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ยินดีครับ คุณ juta  ตอนนี้มีหนังสือ สึนามิ จาก มูลนิธิชัยพัฒนา ให้ดาวน์โหลดแล้วด้วยนะครับ

สวัสดีครับ น้องซิว

การเกิดเหตุการครั้งล่าสุดที่ญี่ปุ่น ทำให้โลกตะลึงงันอีกครั้งหนึ่ง

น้องชายของแฟน ที่เป็นวิศวกรอยู่ที่ญี่ปุ่น รอดพ้นจากเหตุการณ์ครั้งนี้

น้องเค้าเล่าให้ฟังผ่านครอบครัวของแฟนว่า...ช่วงที่เกิดเหตุการณ์ เป็นช่วงเย็น และเป็นช่วงเวลาเดินทางกลับบ้านของคนทำงานที่ญี่ปุ่น แต่บริษัทที่น้องชายแฟนทำงานอยู่นั้น ไม่ปล่อยให้พนักงานกลับบ้าน เพราะการรู้จากเหตุการณ์เตือนภัยล่วงหน้า หากบริษัทปล่อยให้พนักงานกลับบ้าน คงมีเรื่องสลดหดหู่กับเหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นแน่แท้

ขอบคุณบันทึกดี ดี ที่อาจารย์เขียน และอ้างอิงมาให้อ่าน นะครับ

..

ด้วยความระลึกถึง

 

พี่ไก่ : ยินดีครับ ^__^

พีแสง : ขอบคุณมากเลยครับ สำหรับเกร็ดเรื่องราวในกรณีล่าสุดนี้ เป็นเหตุการณ์ที่คงจะส่งผลกระทบอีกยาวไกลเลยครับ สำหรับบ้านเรา ดูเหมือนจะไม่ค่อยพร้อมรับมือสักเท่าไรเลย แม้จะเคยเกิดเหตุมาแล้วก็ตามที

  • ตามมาอ่าน
  • เห็นคลื่นน้ำไหลไปน่ากลัวมาก
  • บ้านเราไม่ค่อยวางแผนจะเป็นอย่างไรเนี่ย
  • พี่ชิวสบายดีไหมครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท