Language and Nation


Bilingualism หมายถึง สังคมที่เข้าใจและพูดได้สองภาษา และสามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาทั้งสองได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าประชากรทุกคนต้องพูดได้ทั้งสองภาษา

Language and Nation

 

ภาษากับความเป็นชาตินั้น โดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ 1.) Monolingual, 2.) Bilingual และ 3.) Multilingual ซึ่งในความเป็นจริงแล้วประเทศที่เป็น monolingual นั้นแทบจะไม่มีอยู่จริง เนื่องจากเกือบทุกประเทศทั่วโลกมีภาษาที่ใช้สื่อสารภายในประเทศตั้งแต่ 2 ภาษาขึ้นไป Bilingualism หมายถึง สังคมที่เข้าใจและพูดได้สองภาษา และสามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาทั้งสองได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าประชากรทุกคนต้องพูดได้ทั้งสองภาษา อีกทั้งภาษาทั้งสองนั้นอาจมีความแตกต่างกันหรือใกล้เคียงกันก็ได้ โดยภาษาทั้งสองต้องเป็นภาษามาตรฐานทั้งคู่ เช่น French และ English ในประเทศ Canada โดยภาษาทั้งสองนี้อาจถูกใช้เป็นภาษาที่หนึ่งได้เหมือนๆกัน (แตกต่างจาก diglossia ที่ภาษามี 2 รูปแบบในภาษาเดียวกัน) หรือทั้งสองภาษาอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลยก็ได้ เช่น Spanish และ Guarani ในประเทศ Paraguay เป็นต้น

การเป็นสังคม bilingual หรือ multilingual นั้นเกิดขึ้นได้ทั้งสองประเด็น คือ การที่ชนกลุ่มน้อย (minority) มีจำนวนมาก และภาษาของพวกเขาได้รับการยอมรับให้ใช้เพิ่มเป็นภาษาทางการในประเทศนั้น หรือ การที่ภาษาของชนกลุ่มน้อยไม่ได้รับการยอมรับ ทำให้ประชากรของกลุ่มต้องใช้ภาษาของตนเองภายในกลุ่มและต้องเรียนรู้ภาษาของคนส่วนใหญ่ (majority) ด้วย ประชากรของกลุ่มก็จะกลายเป็น bilingual หรือ multilingual ไปด้วย โดยเฉพาะในบางประเทศในอดีตไม่อนุญาตให้มีการเรียนการสอนภาษาของชนกลุ่มน้อยในโรงเรียน จึงทำให้เด็กๆ ต้องเรียนภาษาแม่ของตนเองจากที่บ้าน และถูกบังคับให้เรียนภาษาของคนส่วนใหญ่ในโรงเรียน แล้วกลายเป็น bilingual หรือ mutilingual ไปโดยปริยาย

บางประเทศมีความเข็มงวดในการห้ามใช้ภาษาของชนกลุ่มน้อยอย่างชัดเจนมาก เพื่อที่จะให้ภาษาหลักของประเทศเข้าไปแทนที่ภาษาของชนกลุ่มน้อยโดยสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่นการบังคับใช้นโยบาย English Only Policy ของประเทศอเมริกาในอดีต ที่ห้ามไม่ให้มีการสอนภาษาของชนกลุ่มน้อยในโรงเรียนเลย แต่ในปัจจุบันนี้ ในประเทศอเมริกามีคนกลุ่มน้อยที่ใช้ภาษา Spanish มากขึ้น จนต้องมีการปรับเปลี่ยนนโยบาย แม้แต่ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ในเมืองใหญ่อย่างเมือง New York ยังต้องใช้ภาษา English ควบคู่ไปกับภาษา Spanish ซึ่งข้อดีของการเป็นสังคมสองภาษาคือ คนในสังคมนั้นสามารถเรียนรู้และเข้าใจภาษาและวัฒนธรรม ได้มากว่าหนึ่งภาษา และยังสามารถใช้ภาษาทั้งสองในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี ทำให้ภาษาของชนกลุ่มน้อยไม่สูญหายไปอีกทั้งยังรู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสในการหางานทำได้ง่ายขึ้น

เมื่อเป็นสังคมที่มีสองภาษาหรือมากกว่า คนในสังคมก็จะมีการสลับภาษาไปมาได้เรียกว่า Language Choice ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

  1. Code switching เป็นการเปลี่ยนภาษาในขณะพูดจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งตามสถานการณ์และหัวข้อการสนทนา
  2. Code mixing เป็นการพูดโดยภาษาหนึ่งปะปนกับบางส่วนของอีกภาษาหนึ่ง
  3. Style shifting เป็นการสลับระหว่างภาษาหนึ่งกับ dialect ของภาษานั้น
  4. Language borrowing เป็นการยืมคำบางคำของภาษาหนึ่งมาพูดในอีกภาษาหนึ่ง เป็นต้น

 

ตัวอย่างสถานการณ์ของ mutilingual ในประเทศ United Kingdom ซึ่งในอดีต ภาษา Welsh ของ Wale และภาษา Gaelic ของชาว Scotland พยายามถูกแทนที่ด้วยภาษาอังกฤษ (English) โดยกำหนดให้การใช้ภาษา Welsh และภาษา Gaelic เป็นสิ่งที่ผิดกฏหมาย เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้ประเทศใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติ เพียงภาษาเดียว ทำให้ประชากรที่พูดภาษาทั้งสองลดลงไปอย่างมาก ในยุกต์ต่อมาเมื่อนโยบาย English Only Policy หมดไป  ภาษา Welsh และภาษา Gaelic ถูกอนุญาตให้นำกลับมาใช้ได้ใหม่อย่างถูกต้องตามกฏหมาย แต่อย่างไรก็ตามจำนวนประชากรที่พูดภาษา ภาษา Gaelic ก็ไม่ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นแต่กลับลดลงไปเรื่อยๆ ส่วนภาษา Welsh นั้นมีสถานการณ์ที่ดีกว่า คือมีการออกอากาศวิทยุและโทรทัศน์ด้วยภาษา Welsh เมื่อรัฐบาล United Kingdom ประกาศนโยบายเป็นประเทศสองภาษา (bilingual policy) จึงมีการสอนภาษา Welsh ในพื้นที่ของชาว Wale อย่างจริงจัง

นโยบายของรัฐมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งกับการสูญสลายหรือการคงอยู่ของวัฒนธรรม ของแต่ละประเทศ การเปิดโอกาสให้ชนกลุ่มน้อยได้เรียนภาษาของตัวเองนั้นนอกจากจะมีส่วนส่งเสริมให้มีความหลากหลายทางภาษาและ ยังทำให้เกิดการอนุรักษณ์ภาษาและวัฒนธรรมและความเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชนในประเทศนั้นๆ สืบต่อไป

 

 

หมายเหตุ: บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการทบทวนการเรียนรายวิชาภาษาศาสตร์เชิงสังคม เรื่อง ภาษากับบริบท (Language and Nation) หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขอความกรุณา ท่านผู้รู้ทั้งหลาย โปรดชี้แนะ แนวทางที่ถูกต้องด้วยครับ ขอขอบคุณครับ

 

Name: Parinya Thongprapha

Student Code: 51922806

Lecturer: Dr. Ubon Dhanesschaiyakupa

Course Title: 227532 : Sociolinguistics

Graduate School, Burapha University, 2010

 

References

Trudgill, P. (2000). Sociolinguistics: an introduction to language and society. Suffolk: Clays Ltd.

Wardhaugh, R. (2002), an introduction to Sociolinguistics. Massachusetts: Blackwell Publishers Ltd

หมายเลขบันทึก: 439089เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2011 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you for sharing your learning.

I wonder if there is any research into 'social' advantages and disadvantages of being 'multilingual Thailand'.

(At present, many Thais speak Thai, a Chinese dialect or more, Pali, Yawi, English and so on,)

And is there a way to use multilingual capacity in social development?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท