สาเหตุที่ปุ๋ยเคมีกลายเป็นสิ่งต้องห้ามในระบบเกษตรอินทรีย์


เพื่อลดผลกระทบด้านปุ๋ยเคมี นักวิชาการมักแนะนำให้ใช้ปุ๋ย อินทรีย์เคมี ที่ผสมกันระหว่างปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ที่ทางกลุ่มเกษตรกรพิจารณาว่า ยังไม่แก้ไขประเด็นข้อปัญหา

ในระยะหลายปีที่ผ่านมา ได้ข้อโต้แย้งกันในกลุ่มเกษตรกรและนักวิชาการด้านดินและปุ๋ย ในประเด็นการพิจารณาว่า

ปุ๋ยเคมีเป็นสิ่งต้องห้ามในการทำเกษตรอินทรีย์

บางครั้งเกษตรกรบางท่านใช้คำสื่อง่ายๆว่า "ปุ๋ยเคมีเป็นสารพิษ" ไปเลย

อันเนื่องมาจากอย่างน้อย ๒ ประการด้วยกัน คือ

  1. เมื่อมีการใช้ปุ๋ยเคมีแล้ว มักทำให้เกิดการเข้าใจผืดว่า "ดินดี" แล้ว
    • จึงมักไม่มีการดูแล บำรุงรักษาดิน
    • ทำให้ดินเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว 
    • และต้องใช้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรักษาระดับผลผลิต
    • แบบเดียวกับการใช้สารเสพติดของคน
    • และยิ่งแตกต่างมากจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่จำเป็นต้องใช้น้อยลงๆ เรื่อยๆ
  2. ปุ๋ยเคมีมักมีราคาแพง
    • มักสั่งจากต่างประเทศ
    • ทำให้ต้องลงทุนสูง
    • พึ่งพาตัวเองได้น้อยลง
    • มีโอกาสขาดทุนได้ง่ายขึ้น
    • ทำให้ทำเกษตรอินทรีย์แบบพึ่งตนเองนั้นทำไม่ได้

ที่เป็นประเด็นการกำหนดว่าปุ๋ยเคมีเป็นของต้องห้าม นอกเหนือไปจากผลการตกค้างโดยตรง คือ มีแนวโน้มทำให้มี ปริมาณธาตุอาหารที่ผิดสัดส่วนจากธรรมชาติ จากความเป็นกรด และความเป็นเกลือของปุ๋ยเคมี

นอกจากนี้ การใช้ปุ๋ยเคมี ยังต้องการน้ำเป้นตัวทำละลายในจุดที่โรยปุ๋ยค่อนข้างมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ จึงต้องมีน้ำมากพอจึงจะได้ผล ในขณะที่ปุ๋ยอินทรีย์ใช้ความชึ้นต่ำกว่า มีในระดับใดก็ได้

และการให้ปุ๋ยเคมีที่ระดับตื้น ทำให้รากพืชส่วนใหญ่เจริญอยู่ที่ผิวดิน มีอัตราเสี่ยงต่อปัญหาการขาดความชื้น หรือฝนทิ้งช่วงได้โดยง่าย

ที่เป็นข้อสังเกตของผู้นำเกษตรกร ที่นำไปสู่การกำหนดข้อห้ามการใช้ปุ๋ยเคมีดังกล่าว

ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบด้านปุ๋ยเคมี นักวิชาการมักแนะนำให้ใช้ปุ๋ย อินทรีย์เคมี ที่ผสมกันระหว่างปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ที่ทางกลุ่มเกษตรกรพิจารณาว่า ยังไม่แก้ไขประเด็นข้อปัญหา ทั้งสองข้างต้น

จึงยังคงถือว่าปุ๋ยผสมอินทรีย์เคมีเป็นสารต้องห้ามสำหรับเกษตรอินทรีย์เช่นกัน

แต่มิได้ห้ามสำหรับการทำการเกษตรเคมีที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์

ที่นักวิชาการบางท่านพยายามจะให้เรียกเป็นเกษตรอินทรีย์

ที่มีข้อจำกัดตรงที่คำจำกัดความ ที่เกษตกรใช้ในความหมายว่า

เกษตรอินทรีย์ คือ การทำการเกษตรที่ไม่ทำลายตนเอง ไม่ทำลายทรัพยากร และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

มิได้มีข้อโต้แย้งในเชิงแร่ธาตุในส่วนประกอบแต่อย่างใด

จึงนับได้ว่าเป้นปัญหาของการใช้คำ

และการถกกันแบบ "คนละเรื่องเดียวกัน"

หวังว่าเราคงจะเข้าใจกันมากขึ้น เพื่อการพัฒนาที่ดีกว่าเดิม

สวัสดีครับ

 

หมายเลขบันทึก: 439337เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2011 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สังคมแห่งการชอบความง่ายๆเสียจนเป็นนิสัย คือสังคมไทย ชอบหรือ "มัก" ความง่ายจนได้พิษภัยอันตรายอยู่รอบตัว กลายเป็นสังคมของ "คนมักง่าย" และที่แน่ๆ ยังเป็นคนสายตาสั้นอีกด้วยครับ .. หน้าที่สำคัญของการศึกษาจึงต้องมุ่งพัฒนาคนให้ "มักยาก" และ "มีสายตาที่เป็นปกติ" เห็นได้ทั้งใกล้และไกลครับ

I wonder if we have studies on loss of elements in farming (for some typical crops such as rice, cassava, sweet potatoes, ...) to understand the 'rate of soil/nutrient depletion' (when crops are sold and removed from the farm.

We should have soil analyses from time to time, some estimates of the reserve of elements on the farm and some estimates of elements removals from the farm. This could be a more rational basis for using organic or inorganic replenishment/improvement.

Commercial farming would of course suffer higher rates of depletion.

พืช(ที่จริงคน)นำออกไปไม่มากครับ ที่มากก็คิอการชะล้างและการพังทะลายของดิน เพราะดินเขตร้อนดูดซับได้น้อย ต้องอาศัยระบบพืชช่วย แต่เราตัดทิ้งหมด เลยเสื่อมอย่างรวดเร็วครับ

ดินเขตอบอุ่นเขามีทั้งอินทรียวัตถุและดินเหนียวที่มีความสามารถดูดซับมาก เขาจึงต้องเร่งการปลดปล่อย แต่ของเราต้องพยายามให้ดูดซับ

แต่เรากลับไปเลียนแบบเขา ก็เลยลำบาก

เราต้องใช้ระบบของเราครับ จึงจะรอด

ขอบคุณครับ

อ่านหนัวสือพิมพ์ไทยรัฐ 20 May 2011 เห็นความใส่ใจในปัญหาเกษตรของชาติ แล้วอยากสะอื้น (เราจะหันไปหาใคร ในวันเลือกตั้งดีหนอ?) ดูรายการ ปุ๋ย ที่รัฐบาลส่งเสริม เคมีทุกอย่าง ในเวลาที่ รักษาการณ์งานของชาติอยู่ มันไม่สมควร...

ธ.ก.ส.พร้อมจ่ายเงินชดเชยปุ๋ย ตันละ1.5พันบาท < thairath.co.th 21 May 2011 >

... ธ.ก.ส. ประกาศพร้อมจ่ายเงินชดเชยโครงการปุ๋ยลดต้นทุนแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ประกันรายได้ปี 53/54 ในอัตราตันละ 1,500 บาท วงเงินรวม 3,450 ล้านบาท พร้อมเตรียมวงเงินกว่า 30,000 ล้านบาท ให้เกษตรกรกู้ซื้อปุ๋ย ยันขึ้นทะเบียนร้านค้าปุ๋ยในท้องถิ่นกว่า 7,000 ร้านค้า เพื่อเพิ่มทางเลือกแก่เกษตรกร

เมื่อวันที่ 20 พ.ค. นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะประธานคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 6 พ.ค.54 ที่เห็นชอบให้ดำเนินงานโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของ เกษตรกร โดยกำหนดราคาปุ๋ย 6 สูตร คือ 46-0-0, 16-20-0, 16-16-8, 16-8-8,18-12-6 และ 15-15-15 พร้อมเห็น ชอบให้มีการชดเชยส่วนต่างราคาปุ๋ยเคมีให้แก่ผู้ข้าร่วมโครงการนี้ ในอัตรากิโลกรัมละ 1.50 บาทหรือตันละ 1,500 บาท...

เป็นวิธีการหารายได้ของเขาครับ ขวางยากครับ

ปล่อยเขาไปเถอะครับ เขาอยู่ไม่นานหรอกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท