วิชา "หมอดู" กำลังระบาด


ผมเพิ่งเข้าใจว่าที่เรียนมานั้น แทบไม่ต่างจากวิชา "หมอดู" คือรู้ไว้เพื่อการทำนาย ไม่ใช่เพื่อการปฏิบัติ

ผมเคยตั้งข้อสังเกตนานมาแล้ว ว่า

การเรียนการสอน ที่เราเรียกว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ในปัจจุบัน

  • ที่กล่าวกันว่าเป็น "สายวิชาการ"
  • ที่ไม่ได้เน้นสายวิชาชีพนั้น
  • เป็นการเรียนเชิงทฤษฎี หลักการ
  • ที่กล่าวกันว่า เรียนเพื่อเป็น "นักวิชาการ"

เป็นสายวิชาการที่ผมศึกษามา แบบเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง

โดยรวมก็เรียนตามที่เขาว่าไปเรื่อยๆ ทั้งศึกษาทฤษฎี ค้นคว้า และวิจัย

ที่ฟังดูดีมาก ที่หวังว่าจะได้ผลที่นำไปสู่เชิงปฏิบัติสักวันหนึ่งข้างหน้า

หลังจากทำงานมาประมาณ ๒๐ กว่าปี

ผมก็เริ่มกังวลว่า

  • ที่เรียน ศึกษาค้นคว้ามาเป็นเวลายาวนานนั้น
  • ยังไม่มีอะไรใช้ได้เป็นชิ้นเป็นอันเลย
  • มีแต่สร้างทฤษฎี หลักการแบบ "คาดคะเน" ไปเรื่อยๆ
  • หาสิ่งที่เป็นจริง เป็นรูปธรรมไม่ได้เลย

งานทดลองทุกงานส่วนใหญ่ก็มีแต่ข้อสรุปว่า "ต้องทดลองต่อ"

นักวิชาการบางคน ทั้งชีวิตแทบไม่เคยทำอะไรใหม่ มีแต่ย้ายที่ศึกษาทดลองไปเรื่อยๆ แบบสรุปผลไม่ได้ และ "ต้องทดลองต่อ" ไปเรื่อยๆ

เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งได้แนวคิดใหม่ว่า

"ไม่ต้องทดลองอีกแล้ว" นั่งหน้าจอคอมฯ เล่นคีย์บอร์ดไปเรื่อยๆ ก็ได้งานแล้ว

ที่ดูเหมือนจะเป็นความหวังใหม่ อะไรประมาณนั้น

โดยการนำข้อมูลเก่าๆที่มีคนทำไว้แล้ว

  • มาตั้งสมการต่างๆเป็นร้อยๆสมการแบบผสมผสานกัน
  • แล้วรวมเรียกอย่างสวยหรูว่า "แบบจำลอง" Modelling
  • หรือการเลียนแบบ Simulation

ที่มักอธิบายว่าสามารถทำนายเหตุการณ์ต่างๆได้มากมาย

ตอนแรกผมก็หลงเชื่อ เข้าไปแอบดูข้างรั้ว ดูแล้วดูอีก ก็ยังมีแค่ราคาคุย

ฟังไปฟังมาก็แทบไม่ต่างจาก "หมอดู" เท่าไหร่

เพราะ

  • ใช้ผลการทดลองเก่า
  • พร้อมกับสมมติฐานต่างๆ
  • สภาพแวดล้อมเก่าๆ
  • ที่จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง เป็นปัจจัยนำทาง

ข้อมูลก็

  • มีบ้าง
  • ไม่มีบ้าง
  • ตรงบ้าง
  • ไม่ตรงบ้าง
  • ไม่มีจริงๆ ก็สมมติเอา (best bet) บ้าง
  • ส่วนใหญ่จะมีไม่ครบ เดาเอาเสียมาก

แล้วก็ฝันไปแบบที่หมอดูเขาทาย ตรงบ้างไม่ตรงบ้าง

  • แต่เวลาอ้างอิงผลงาน จะอ้างเฉพาะส่วนที่บังเอิญทำนายได้ตรง
  • ส่วนที่ไม่ตรงก็พยายามไม่พูดถึง หรือแกล้งลืมไปเลย

ดูแล้วก็ไม่ต่างจากวิชาการแบบเก่าเท่าไหร่ เพียงแต่ใช้เครื่องมือช่วย ทำให้การทำนายแนบเนียน

ถ้าทำนายผิดก็หาที่โทษ เช่น ข้อมูลเก่า โทษเครื่อง โทษโปรแกรมบ้าง แล้วแต่จะอ้าง หรือคิดออกในขณะนั้น

แต่ถ้าถูก กลับบอกว่า "ตัวเองเก่ง" ประมาณนั้น

ผมจึงมาถึงข้อสรุปว่า ที่ผมเรียนมานั้น ที่สุดของที่สุด ก็แทบไม่ต่างจากวิชา "หมอดู" คือรู้ไว้เพื่อการทำนาย ไม่ใช่เพื่อการปฏิบัติ

แต่เมื่อผมมาทดลองปฏิบัติเอง ทำนาเอง ปลูกข้าว ต้นไม้ เลี้ยงวัว และเลี้ยงควาย และผลิตอาหารเอง จึงรู้ว่า

นักวิชาการส่วนใหญ่ของเราไปหลงวนเวียนอยู่กับ "ปริยัติ" ไม่ก้าวเข้าสู่ "ปฏิบัติ" และไม่สามารถนำไปสู่ "ปฏิเวธ" ได้

แต่ถ้านักวิชาการทั้งหลายก้าวเลยจาก "ปริยัติ" เข้าไปสู่การ "ปฏิบัติ" เมื่อไหร่ ความเพ้อฝันในมิติของ "หมอดู" คงจะลดลงไป ที่สามารถนำไปสู่การจัดการความรู้ (ปฏิเวธ) ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

แต่ถึงวันนี้เรากำลังพัฒนาการ การเป็นหมอดูกันอย่างเอาเป็นเอาตาย

มีการสร้างเกม "หมอดู" คอมพิวเตอร์กันมากมาย มีแต่เรื่องเพ้อๆฝันๆทั้งนั้น

น่าเสียดายทั้งทรัพยากรบุคลลและทรัพยากรการวิจัยและการศึกษา ที่กำลังใช้กันอย่างนอกลู่นอกทาง

ไม่มีใครว่าใคร

ทั้งหน่วยงานให้ทุนของไทย นักวิจัยอาวุโส นักวิจัยรุ่นใหม่ ว่าตามกันไปหมด

คงได้แต่คอยดูต่อไป ว่าเราจะทำลายทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดนี้ไปอีกนานแค่ไหน

อย่างน้อยผมก็มีเครือข่ายปราชญ์เป็นทั้งเพื่อนและที่พึ่งในการพัฒนาความรู้ ที่เป็นประโยชน์ แม้ไม่ถึง ๑% ก็ยังดีกว่าไม่มี

เพียงหวังว่าสิ่งใดที่ไม่มีประโยชน์น่าจะสูญสลายไปตามกาลเวลา

หวังได้เท่านั้นจริงๆ

หมายเลขบันทึก: 441454เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2011 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • เห็นด้วย และชอบทุกตัวอักษรที่อาจารย์เขียนนะคะ
  • แล้วเราจะออกจากวงจร "หมอดู" ด้วยวิธีไหนคะ

"ถ้านักวิชาการทั้งหลายก้าวเลยจาก "ปริยัติ" เข้าไปสู่การ "ปฏิบัติ" เมื่อไหร่ ความเพ้อฝันในมิติของ "หมอดู" คงจะลดลงไป ที่สามารถนำไปสู่การจัดการความรู้ (ปฏิเวธ) ได้อย่างเป็นธรรมชาติ"

ผมเสนอแนวทางไว้แล้วครับ

เห็นด้วยกับอ. เป็นอย่างยิ่งครับ ทุกๆสิ่งทุกๆอย่างในโลกนี้ ถ้าเราไม่ได้ปฎิบัติจริง แค่เพียงแต่ได้ฟังเขามา ย่อมทำให้เราไม่รู้จริงในสิ่งนั้นครับ เพราะฉนั้นทุกอย่างที่เราอยากทำ ต้องลงมือทำจริงๆ จึงจะรู้ปัญหา และแก้ปัญหาได้ตรงจุด

We (and the rest of the world) have been 'blinded' by 'sciences' and the power of 'the brain'.

The sciences have been a 'winning religion'.

The 'sports' have been spectacular for TV and computer audience -- virtual entertainment.

We preach 'field work is for unskilled labours', desk work is for masters'.

And we pay more for 'foreseers'.

We treat 'workers' as machines -- in service of 'masters'.

Our children are taught to 'think' but not encouraged to 'do' much.

They are trained to sit and to copy 'knowledge'.

That's how children 'learn'. That's what children learn.

And we wonder -- why schools are places 'NOT FOR KIDS'.

(We use and call 'Skinner Box' a 'scientific education tool'. We have been training animals with 'Skinner Box'!)

So, we don't have strong and fit 'body' -- muscles and nerves and senses -- to deal with 'physical reality'.

We dream more and use machines more...

Should we not show our children that 'physical work', sweats and aching pains help us to be strong, to think and to do things faster? Should we not show our children the (health) benefits of having good bodies?

Would it be better to have 'body and brain'?

Let's get out and 'play balls' -- clean around the house, around the neighbourhood, ... ;-)

น่าจะเป็นแนวทางจัดการ "การศึกษา" ที่ไม่หลงทางครับ

สำคัญว่าจะเริ่มตรงไหนการเริ่มที่ตัวเองก็ได้แค่ตัวเองเราจะทำให้กระแสกระเพื่อมสู่สังคมในวงกว้างได้อย่างไร

ประเด็นสุขภาพ "สุขภาวะ" น่าจะขายได้นะครับ

แต่เราต้องไปสู้กับความสะดวกสบายครับ

เราจะแยก "ความสะดวก" ออกจาก "ความสบาย" ได้ไหม

และความสบายที่สบายจริงๆ กับสบายชั่วคราว ออกจากกัน

ให้คนรู้และเข้าใจ เขาอาจจะเห็น "คุณค่า" และมีพลังกระเพื่อมครับ

It is about 'education' but not 'learning'.

We are ill-prepared for (natural and political) disasters, perhaps, because we rely on (imported) easy sciences and easy technologies. We have not 'played' and developed (our) sciences and technologies (for our use). We won't be 'not fit' physically and we won't be 'not ready' intellectually -- if we continue our 'easy education' (in sciences ...).

...เราจะแยก "ความสะดวก" ออกจาก "ความสบาย" ได้ไหม

และความสบายที่สบายจริงๆ กับสบายชั่วคราว ออกจากกัน...

My point is 'teachers' should 'aim' for their students to be 'fit to do' and 'fit to learn'.

The ball is in your court! ;-)

[ My apologies for 'poor' English in the post above. Please, reread here: ]

It is about 'education' but not 'learning'. We are learning to predict --by reasoning on 'known facts' from databases, and not from actual history or 'practical experiences'. Why? Because it is easy 'to think' -- but it is hard 'to do'.

We are ill-prepared for (natural and political) disasters, perhaps, because we rely on (imported) easy sciences and easy technologies. We have not 'played' and developed (our) sciences and technologies (for our use). We would be 'not fit' physically and we would be 'not ready' intellectually -- if we continue our 'easy education' (in sciences ...).

...เราจะแยก "ความสะดวก" ออกจาก "ความสบาย" ได้ไหม

และความสบายที่สบายจริงๆ กับสบายชั่วคราว ออกจากกัน...

My point is 'teachers' should 'aim' for their students to be 'fit to do' and 'fit to learn'.

As all parents should -- look after their children's body and brain.

The ball is in your court! ;-) would you play?

ไม่เป็นไร เข้าใจประเด็นอยู่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท