หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ENV a87 : บำบัดน้ำเสียแบบปรับเสถียรกับคูเจ้าปัญหา…เรื่องนี้น่าลอง"


ระบบบำบัดแบบบ่อปรับเสถียร อาศัยธรรมชาติในการบำบัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย มีการทำงานอยู่ 3 รูปแบบ คือมีบ่อที่ไม่ใช้อากาศ บ่อหมัก และบ่อที่ใช้อากาศ ถ้ามีบ่อหลายบ่อต่อเนื่องกัน บ่อสุดท้ายก็จะทำหน้าที่เป็นบ่อบ่ม ปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม

เมื่อไปขลุกกับของจริงที่ตึกเจ้าปัญหา แล้วมาเรียนรู้จากนักวิชาการทั้งหลายเพิ่ม วันนี้เริ่มเห็นว่าเรื่องของน้ำขังใต้ตึกเจ้าปัญหา พบทางออกใหม่ที่น่าจะง่ายขึ้นกว่าวิธีเดิมๆ ในเรื่องการปรับปรุงโครงสร้าง

ความละม้ายเชิงระบบของคุณภาพน้ำที่รับรู้ ทำให้หวนไปดูระบบบำบัดน้ำเสียซ้ำ เห็นเงารางๆว่าหากปรับสภาพจริงในพื้นที่นี้ตามหลักระบบน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond) ปัญหาน่าจะคลี่คลายง่าย แถมลงทุนน้อยด้วย

ระบบบำบัดแบบบ่อปรับเสถียร อาศัยธรรมชาติในการบำบัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย มีการทำงานอยู่ 3 รูปแบบ คือมีบ่อที่ไม่ใช้อากาศ บ่อหมัก และบ่อที่ใช้อากาศ ถ้ามีบ่อหลายบ่อต่อเนื่องกัน บ่อสุดท้ายก็จะทำหน้าที่เป็นบ่อบ่ม ปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม

ลักษณะแรก บ่อที่ไม่ใช้อากาศ ทำงานกำจัดสารอินทรีย์ที่มีความเข้มข้นสูงโดยไม่ใช้ออกซิเจน เหมาะกับน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์และปริมาณของแข็งสูง เมื่อของเสียที่มีสารอินทรีย์สูงมากลงมาในระบบ ของแข็งจะตกลงสู่ก้นบ่อและถูกย่อยสลายแบบไม่ใช้อากาศ หลังจากนั้นก็ส่งน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดระบายต่อไปยังบ่อหมักเพื่อบำบัดต่อไป

ลักษณะที่ 2 บ่อหมัก มีการทำงานแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนบนของบ่อจะใช้อากาศ จะรับออกซิเจนจากการถ่ายเทอากาศที่บริเวณผิวน้ำและจากการสังเคราะห์แสงของ สาหร่าย ส่วนล่างของบ่ออยู่ในสภาพไม่ใช้อากาศ

เมื่อรับน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดขั้นต้นมาแล้ว กระบวนการทำความสะอาดตัวเองก็จะเกิดขึ้นที่บ่อนี้ โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนซึ่งอยู่ในบ่อส่วนบนทำงานย่อยสลายสารอินทรีย์ ที่อยู่ในน้ำเป็นอาหาร ใช้สำหรับการสร้างเซลล์ใหม่ และใช้เป็นพลังงาน

จุลินทรีย์ที่ไม่ใช้อากาศที่อยู่ในบ่อส่วนล่างจนถึงก้นบ่อที่แสงแดดส่องไม่ถึง ก็ทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์และแปรสภาพเป็นก๊าซต่อจากบ่อแรก ต่างกันที่ก๊าซที่ลอยขึ้นมาจะถูกออกซิไดซ์โดยออกซิเจนที่อยู่ช่วงบนของบ่อทำให้ไม่เกิดกลิ่นเหม็น

ลักษณะที่ 3 บ่อที่ใช้อากาศ ใช้การเติมอากาศที่ผิวหน้ากับแบคทีเรียและสาหร่ายที่แขวนลอยอยู่ให้ออกซิเจน ความลึกของบ่อจึงไม่มากนักเพื่อให้ออกซิเจนกระจายทั่วทั้งบ่อได้และมีอยู่ตลอดความลึก แสงแดดที่ส่องถึงช่วยฆ่าเชื้อโรคให้ด้วยส่วนหนึ่ง

บ่อบ่ม ซึ่งเป็นบ่อสุดท้ายจะเป็นบ่อที่มีออกซิเจนตลอดทั้งบ่อ จึงลึกไม่มากและแสงแดดส่องถึงก้นบ่อได้ รับน้ำเสียที่ผ่านการบำบัด แล้วมาฟอกให้มีคุณภาพน้ำดีขึ้น และอาศัยแสงแดดทำลายเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับน้ำทิ้งก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม

มีส่วนเดียวที่ยังไม่แน่ใจ เกี่ยวกับบ่อไม่ใช้อากาศว่าโครงสร้างต้องเป็นบ่อปิดสนิทหรือเปล่า  สำหรับบ่ออื่นๆนั้นเห็นความสัมพันธ์ของระบบน้ำในคูมาแล้วก็พอจะบอกได้ว่า เพียงแต่จัดสัดส่วนแบ่งหน้าที่ของคูให้เหมาะกับน้ำที่ทิ้งผ่าน ก็มีความเป็นไปที่เข้ากันได้อยู่แล้วกับระบบ

อย่างนี้ต้องหาคำตอบต่ออีกหน่อย เพื่อให้ได้ความลงตัว

16 ตุลาคม 2554

หมายเลขบันทึก: 465273เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2011 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2013 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

At my property, I have for some time now experimented with EM. I have also found that 'feeding' EM form time to time with sugar and fertilizers (like ammonium sulphate) help. First, I fed them weekly. Then I found that they depend on environmental factors like temperature, sunlight and rains (like other plants), so I am learning to feed them 'as they need'.

What is the 'right' (optimum) population of EM in an environment for the purpose of cleaning water?

I don't know. I am working with just senses observation. When the water is clear, not smelly, with little fish swimming in, and grasses around there look healthy, then I accept the water quality. Otherwise, I add more 'feed' or more 'EM'.

Obviously, this is hardly, a modern scientific experiment. But the main thing is "I am testing a simple theory" that the health of people (and other lives) in an environment depends on the health of micro-organisms (primary workers) in that environment.

"Feeding" (and not-feeding) may be one important factor in managing environment.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท