รู้จักตัวเอง เข้าใจผู้อื่น จุดเริ่มต้นของ Facilitator


การทำงานของเซลล์ในร่างกายว่ามีสองแบบเท่านั้นคือ แบบที่หนึ่งเป็นโหมดการปกป้องตนเอง แบบที่สองเป็นโหมดเติบโตและเรียนรู้ ทั้งสองแบบนี้เซลล์ของเราไม่สามารถทำได้พร้อมกัน หากเปิดโหมดของการเรียนรู้ก็ปิดโหมดการปกป้องตนเอง แต่เมื่อไหร่ก็ตามาที่เซลล์เลือกที่จะปกป้องตนเอง ก็มีผลต่อการเรียนรู้

รู้จักตัวเองเข้าใจผู้อื่น จุดเริ่มต้นของFacilitator

จะง่ายกว่าไหมที่เรารู้จักตัวเองและรู้จักผู้อื่นการเอื้อเอ่ยเชิญชวนมาร่วมทำกิจกรรมใดๆน่าจะทำได้โดยสอดคล้องกับคู่สนทนาการรู้จักและเข้าใจทั้งตนเองและคู่สนทนาจึงเป็นศาสตร์ที่เป็นเสน่ห์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้ทำหน้าที่Facilitator ลองคิดดูว่า เรากำลังนั่งสนทนากับคนแปลกหน้าสักคนเราอาจไม่มีข้อมูลส่วนตัวเขามาก่อนการเริ่มต้นอาจต้องใช้ช่วงเวลาทำความรู้จักกันพอสมควรถึงจะเริ่มต้นคุยในประเด็นที่เราคิดไว้หากจู่โจมโดยทันทีถึงประเด็นที่เราต้องการแลกเปลี่ยน ผลลัพธ์ไม่ดีรวมไปถึงการปิดกั้นการเรียนรู้ได้ ตรงนี่สำคัญมาก

มีงานวิจัยที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้เทคโนโลยีทางชีววิทยาที่กำลังฮือฮามากในวงการวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันนี้คือ ทฤษฏีเซลล์แบบใหม่ของ  บรู๊ซ ลิปตัน ( BruceLipton) เป็นงานวิจัยระดับเซลล์ดังกล่าวนี้ได้ศึกษาถึงการทำงานของเซลล์ในร่างกายว่ามีสองแบบเท่านั้นคือแบบที่หนึ่งเป็นโหมดการปกป้องตนเองแบบที่สองเป็นโหมดเติบโตและเรียนรู้ทั้งสองแบบนี้เซลล์ของเราไม่สามารถทำได้พร้อมกันหากเปิดโหมดของการเรียนรู้ก็ปิดโหมดการปกป้องตนเอง แต่เมื่อไหร่ก็ตามาที่เซลล์เลือกที่จะปกป้องตนเองก็มีผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้นแล้วการใช้เวลาคุณภาพที่มีช่วงเวลาเพียงพอและให้ความสำคัญกับการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้จะช่วยลดอำนาจนิยมระหว่างกัน รวมไปถึงกระบวนการ “รู้จักฉัน รู้จักเธอ”ขั้นตอนนี้จึงเป็นขึ้นตอนที่สำคัญอย่างมาก

มีวิธีการที่เป็นทางลัดในการเข้าใจตนเองและผู้อื่น หลายๆเครื่องมือเช่น ซาเทียร์ (SatirModel) (Virginia Satirนักจิตบำบัดชาวอเมริกันที่มีผลงานด้านการให้การปรึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงตนและครอบครัว มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ.1916 - 1988)เป็นกระบวนการบำบัดทางจิตวิทยา มุ่งเพื่อการเติบโตภายใน ซาเทียร์ได้เสนอว่าพฤติกรรมที่มนุษย์แต่ละคนแสดงออกมานั้นเป็นเพียงส่วนน้อยนิด อีกมากนักที่ยังซ่อนอยู่และไม่สามารถมองเห็นได้เปรียบพฤติกรรมการแสดงออกของมนุษย์ที่สามารถมองเห็นได้เป็นเหมือนกับภูเขาน้ำแข็ง ที่โผล่ยอดออกมาให้เห็นเพียงส่วนน้อยยังมีอีกมากที่ยังจมอยู่ใต้ท้องทะเล ดังนั้นการเข้าใจผู้ป่วยทางจิตเวชก็ต้องเข้าใจหลักการนี้ในขณะเดียวกันการทำหน้าที่อำนวยกระบวนการเรียนรู้ของ Facilitatorใช้หลักการซาเทียร์ในการเข้าถึง (Approach) เข้าใจกลุ่มเป้าหมายในรายละเอียดดูจะซับซ้อนเชิงเทคนิคค่อนข้างมาก ผมมีโอกาสได้เรียนรู้ศาสตร์นี้กับเสมสิกขาลัยมาครั้งหนึ่งรู้สึกชื่นชอบแนวคิดของซาเทียร์ที่ว่า “เชื่อว่าธรรมชาติเดิมแท้อันเป็นพลังแห่งความดีงามทั้งปวงฝังลึกอยู่ในตัวมนุษย์นี่เองเพียงแต่เรามักขาดการเชื่อมโยง(connect)กับธรรมชาติเดิมแท้นี้ของเรา” ความเชื่อในความดีงามของมนุษย์เป็นพื้นฐานศรัทธาที่สำคัญของคนเป็น FAผมคิดแบบนี้ครับ รายละเอียดของซาเทียร์มีอีกมากผู้ที่สนใจอาจไปค้นคว้าเพิ่มเติม

กระบวนการเรียนรู้ตัวเอง ที่น่าสนใจอีกศาสตร์หนี่งคือ “นพลักษณ์”หรือ “เอ็นเนียแกรม”   (The Enneagram)นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะใช้เครื่องมือนี้ในการพัฒนาผู้บริหารและบุคลากรของตนถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของความสำเร็จขององค์กรโดยเฉพาะการพัฒนาการเป็นผู้นำองค์กร ผู้ที่สามารถจะนำผู้อื่นได้คุณสมบัติพื้นฐานคือ “รู้จักตนเองให้ถ่องแท้ที่จะเป็นสะพานไปสู่การเข้าใจผู้อื่น”การรู้จักตนเองเข้าใจผู้อื่นน่าจะเป็นคุณสมบัติในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ลึกซึ้งนพลักษณ์จะช่วยบ่มเพาะสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นกับตัวเองเป็นเบื้องแรกและเกิดขึ้นกับทีมงานอย่างเป็นรูปธรรม ความแตกต่างของนพลักษณ์กับเครื่องมือการพัฒนาตนเองชนิดอื่นตรงที่สามารถพิสูจน์ด้วยตัวผู้ศึกษาว่า สิ่งนี้เป็นความจริงนำไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติได้หรือไม่โดยเริ่มจากค้นหานพลักษณ์ของตนเองก่อน เมื่อค้นพบ“ตัวตน”ที่แท้จริงของตัวเองแล้วจะสามารถนำพาตนเองและคนองค์กรที่มีความหลากหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ผมมีโอกาสได้เรียนรู้นพลักษณ์แบบงูๆปลาๆ กับคุณภีรัชญาวีระสุโข(คุณกิ่ง) กัลยาณมิตรที่เชี่ยวชาญในศาสตร์นพลักษณ์การเรียนรู้ของผมอยู่ในระดับที่พอใช้งานได้ในการทำหน้าที่ facilitatorแต่ว่าต้องค้นคว้าอ่านหนังสือเพิ่มเติม ผมคิดว่าการทำหน้า Facilitatorหากเข้าใจความหลากหลายของสไตล์ตนเอง และผู้อื่น จะสามารถทำหน้าที่Facilitator ได้ดีมากยิ่งขึ้น รายละเอียดที่มีมากหากท่านไหนสนใจศึกษาศาสตร์นี้ สามารถค้นคว้าหาอ่านเพิ่มเติมได้

มาถึงการเรียนรู้ตนเองและผู้อื่นโดยใช้เกมกันดีกว่าครับวิธีนี้ไม่ยากมากนักอีกทั้งใช้เป็นเกมส์ที่ช่วยละลายพฤติกรรมในช่วงแรกของการทำกระบวนการกลุ่มได้เราเรียกเกมนี้ว่า “ผู้นำสี่ทิศ”หรือ Whoareyouหลายท่านคงคุ้นเคยและได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมนี้บ้างแล้ว

ในส่วนตัวของผมคิดว่า เกมแบบนี้ช่วยให้เราได้เรียนรู้ตัวเองแบบง่ายๆสนุก และแม่นยำอย่างน่าอัศจรรย์ หากเรารู้ว่าใครเป็นคนแบบไหนเราสามารถจะเข้าขากับเขาได้อย่างง่ายๆและแนบเนียนมีความสุข

ผมเคยไปทำกลุ่มสุนทรียสนทนากับกลุ่มเป้าหมายกว่า 200คนที่เป็นอาจารย์คณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยทางเหนือ พี่กอล์ฟ (คุณทวีสินฉัตรเฉลิมวิทย์)ใช้เกมนี้เป็นเครื่องมือนำร่องเบื้องต้นในการแยกแยะกลุ่มอาจารย์เสร็จแล้วให้กลุ่มที่ผ่านการแยกโดยเกมช่วยกันระดมความคิดผ่านประเด็นที่ตั้งไว้ผลลัพธ์ที่ออกมานอกจากเราได้เห็นเนื้อหาการระดมสมอง วิธีคิด และคำตอบจากประเด็นใหญ่ที่ตั้งไว้ เราก็ยังเห็นความเป็นตัวตนที่ชัดเจนมากๆของ“ผู้นำสี่ทิศ” อันได้แก่ กลุ่มหมีกลุ่มกระทิง กลุ่มหนู และ กลุ่มอินทรีย์เป็นปรัชญาอินเดียนแดง มักจะมีความเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับธรรมชาติเสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นผืนแผ่นดิน แม่น้ำภูเขา และอะไรก็คงจะไม่ Representlife ได้ดีไปกว่าสัตว์พันธุ์ต่างๆในธรรมชาติเมื่อมาถึงการบอกเล่าอุปนิสัยใจคอ คุณลักษณะต่างๆของคน

กระบวนการในวันนั้นผลลัพธ์ไม่ได้ต้องการแค่คำตอบจากประเด็นคำถามแต่ต้องการให้อาจารย์ผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ทุกท่านเข้าใจความหลากหลายในการอยู่ร่วมกัน หากท่านไหนจับประเด็นได้ก็จะเห็นว่าสัตว์ที่เป็นตัวแทนแต่ละประเภทมีบุคลิกเฉพาะที่แตกต่างกันการเข้าถึง และการสร้างความสัมพันธ์นั้นใช้พลังและทักษะที่แตกต่างกันเกมนี้เลยเป็นการชิมลางเบื้องต้นที่ได้ผลมากในกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์กร

อาจารย์วรภัทร์ ภู่เจริญ เขียนไว้ในหนังสือDialouge... คิดลงใจ...ไหลเป็นปัญญา ไว้ว่า“พอเจ้านายรู้ว่าเป็นตัวอะไร (หมี กระทิง หนู หรือ อินทรีย) เราก็จะแหย่ท่านได้ง่าย ส่วนใหญ่ หมีชักชวนได้ยากที่สุดหมีมีนิสัยไม่ชอบเปลี่ยนแปลง บ้ารายละเอียด บ้าขั้นตอนทำเฉพาะในสิ่งที่ตนเองชอบ ...อาจจ้องเข้าหาเพื่อสนิทแล้วไป“ยั่ว”หมีออกมาจากถ้ำ ออกมาจากความคุ้นชิน” อาจารย์วรภัทร์ได้เขียนต่ออีกว่า “หากหมีชอบ Dialogue ขึ้นมาเมื่อไหร่หมีนี่หละจะชวนพวกเรา Dialogue ตลอดกาลครับ”

ข้างต้นเป็นตัวอย่างในการเข้าถึงตัวตนของหมี –หากเราไม่เรียนรู้อุปนิสัยพื้นฐานของหมี ก็ไม่มีทางรู้เลยว่าที่หมีปฏิเสธ เพราะอะไร? ที่หมีไม่เข้าร่วมกิจกรรมเพราะเหตุใด?สิ่งต่างๆเหล่านี้ เป็นทักษะที่สำคัญของ Facilitatorจำเป็นต้องเรียนรู้ไว้

ส่วนสัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น อินทรีย์ เป็นกลุ่มที่ไม่ยากมากหากมีสิ่งล่อใจ เพราะชอบลองของใหม่ แปลกและท้าทายต้องระวังอินทรีย์จะเบื่อง่ายด้วยนะครับส่วนพวกกระทิงก็เป็นสัตว์ที่ถามหาเหตุผล หากเหตุผลชัดเจนแล้วเป็นกลุ่มศูนย์หัวกระทิงพร้อมชน กระทิงชอบการยกยอ ชื่นชมในวงสนทนากระทิงจะเป็นกลุ่มที่ “จ้อ” ไม่หยุดปากส่วน หนู คนไทยส่วนใหญ่เป็นพวกหนู ที่ขี้เกรงใจ อ่อนไหวง่ายเป็นกลุ่มศูนย์ใจ พูดเก่ง สังคม และสมาธิสั้นทำให้ความอดทนในการเรียนรู้เชิงลึกมีปัญหาบ้าง

ผมเคยนำเกมนี้มาใช้กับพนักงานผับบาร์แห่งหนึ่งย่าน RCAเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ตัวเอง ก่อนที่ทำกระบวนการอื่นๆต่อไปปรากฏว่าใช้ได้ผลดี ตัวแทนสัตว์ 4 ประเภทค่อนข้างแม่นยำและการนั่งพูดคุยถึงการเล่นเกมทำให้กลุ่มเป้าหมายลึกซึ้งและเข้าใจความหมายโดยนัยของเกมนี้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ด้วย

ขอเขียนกระบวนการคร่าวๆ เผื่อการนำไปใช้ (ต้องขอบคุณ คุณทวีสินฉัตรเฉลิมวิทย์ ที่กรุณาให้ความรู้ผมในการดำเนินการเกมครั้งนี้)ขั้นแรกกระบวนกรต้องเตรียมการบ้านมาระดับหนึ่ง คือ เรียนรู้ เข้าใจเกมนี้ถึงวัตถุประสงค์และการให้ความหมายตลอดจนการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและงานที่ทำ

เกม Who are you” หรือ“ผู้นำสี่ทิศ”

อุปกรณ์  

  1. กระดาษ เอสี่ จำนวน 4แผ่นที่เขียนข้อความเกี่ยวกับลักษณะของสัตว์แต่ละประเภท(โดยที่ยังไม่ให้บอกว่าเป็นสัตว์ประเภทอะไร)เป็นเอกสารชุดที่ 1
  2. กระดาษเอสี่ จำนวน 4 แผ่นที่เขียนถึงเอกสารที่มีการอรรถาธิบายเกี่ยวบุคลิก ลักษณะที่ละเอียดมากขึ้น(เอกสาร ชุดที่ 2)
  3. รูปการ์ตูนสัตว์สี่ทิศ (หมี,กระทิง,หนู และอินทรีย์)
  4. กระดาษปรู๊ฟ,ปากกาเมจิก,กระดาษกาว(ในกรณีที่จะระดมความคิดเชิงประเด็น)


ข้อ 1ใช้ในกรณีที่ คนจำนวนไม่มาก (ประมาณ ไม่เกิน 30 คน)ติดไว้ให้ทุกคนได้อ่าน และคิดว่าตนเองตรงกับแผ่นใดมากที่สุด เราจะใช้ทิศแทนสัตว์ก่อน(บอกประเภทสัตว์ทีหลัง) ได้แก่ ทิศเหนือ(กระทิง ธาตุไฟ),ทิศใต้ (หนู ธาตุน้ำ),ทิศตะวันตก (หมี ธาตุดิน)และทิศตะวันออก (นกอินทรีย์ ธาตุลม)หากมีผู้เข้าร่วมกระบวนการจำนวนมากเราอาจใช้การฉายขึ้นบนจอโปรเจคเตอร์และให้ทุกคนได้อ่านและตัดสินใจผ่านข้อความไปพร้อมๆกัน 


ส่วน ข้อ 2เราจะใช้ในกรณีการระดมความคิด “เชิงประเด็น”ซึ่งกระบวนการระดมความคิดนี้ เราจะเห็น วิธีคิด ฉากทัศน์บุคลิกของคนกลุ่มนั้นๆ ผ่านการนำเสนอทุกรูปแบบสุดท้ายวิทยากรกระบวนการก็สรุปให้เห็นอีกครั้งว่าคนเราแตกต่างกันอย่างไร?และเราจะได้ประโยชน์ในการรู้ถึงความแตกต่างนั้นได้อย่างไร?

วิธีการ 

ขั้นตอนที่ 1ให้ผู้เข้าร่วมประชุมอ่านข้อความที่อยู่ในกระดาษให้ครบทั้ง 4 แผ่น(เอกสารชุดที่ 1)และเมื่อทุกคนสามารถตัดสินใจได้แล้วว่าตนเองเป็นแบบไหน(ตามบุคลิกลักษณะในข้อความที่เขียนไว้) ก็เดินไปยังมุม 4 มุมที่เรากำหนดไว้มุมทั้ง 4 มุมนั้น คือ 4 ทิศนั่นเอง (เราใช้วิธีเขียนกระดาษว่าทิศเหนือ.ทิศตะวันตก,ทิศตะวันออก,และทิศใต้)

ขั้นตอนที่ 2เมื่อผู้เข้าร่วมประชุม แยกกลุ่มกันเสร็จแล้ว ให้นั่งรวมกลุ่มไว้(เป็นไปได้ว่า จำนวนคนจะเยอะมากในบางกลุ่ม และ คนจะน้อยในบางกลุ่มเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว) จากนั้นให้กลุ่มทำความรู้จักกัน

ขั้นตอนที่ 3 แจกเอกสาร(เอกสารชุดที่ 2) เป็นเอกสารที่มีการอรรถาธิบายเกี่ยวบุคลิกลักษณะที่ละเอียดมากขึ้น

ขั้นตอนที่ 4ให้ทุกคนทบทวนบุคลิก ลักษณะตัวเองอีกครั้งตามกลุ่มทิศ ว่า“ใช่” จริงๆหรือไม่ หากไม่ใช่ อนุญาตให้ย้ายกลุ่มได้เมื่อย้ายกลุ่มหรือผู้เข้าร่วมประชุมตกลงใจชัดเจนแล้วว่าใช่ตัวตนของตัวเองแน่นอนก็ให้ทุกกลุ่มเตรียมพร้อมในการทำกิจกรรมต่อไป(ขั้นตอนยังไม่เฉลยสัตว์ 4 ทิศ)

ขั้นตอนที่5ให้ทำกิจกรรมที่เป็นกิจกรรมมีส่วนร่วม เช่นการระดมความคิดเชิงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับองค์กร หรือ การวดรูป ฯลฯโดยแยกการคิด ใคร่ครวญด้วยตนเองก่อนแล้วนำความคิดนั้นมาร่วมเป็นกลุ่มใหญ่ เพื่อเตรียมนำเสนอ

ขั้นตอนที่6เมื่อระดมความคิดเสร็จแล้วให้ทุกกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอความคิดเห็นในภาพรวมของกลุ่ม(วิทยากรกระบวนการอาจใช้ข้อมูลการนำเสนอเป็นข้อมูลสำคัญที่เป็น”บทเรียน”บางอย่างได้ กรณีมีการตั้งประเด็นเพื่อต้องการคำตอบในการพัฒนา)

ขั้นตอนที่ 7เมื่อทุกกลุ่มนำเสนอเสร็จ วิทยากรกระบวนการก็สรุปกระบวนการทั้งหมดโดยการเฉลย สัตว์ที่เป็นตัวแทนทั้ง 4 ทิศ และเน้นย้ำถึงบุคลิกที่โดดเด่นของสัตว์แต่ละประเภทรวมไปถึงการใช้ประโยชน์จากการเข้าใจความหลากหลายของผู้คน โดยอ้างอิงเชื่อมโยงบุคลิกจริงๆของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมประชุม ผ่านงานนำเสนอบุคลิกบางอย่างที่แสดงออกไป

โดยสรุปแล้วบุคลิกพื้นฐานของสัตว์ที่เป็นตัวแทน4 ทิศ มีดังนี้ครับ

หมี :  ธาตุดิน  นักคิด  รอบคอบตรวจสอบ  มีกฏเกณฑ์มีขั้นตอน  ชอบควบคุมไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

หนู  :  ธาตุน้ำ  นักประสาน  อ่อนโยน  ปรับตัวง่าย  เน้นเรื่องใจ คุยเก่ง   ชอบประสาน 

อินทรี :  ธาตุลม  นักวางแผน  คิดนอกกรอบ  เชื่อมโยงอิสระเสรี  ชอบเรื่องแปลกใหม่

กระทิง :   ธาตุไฟ  นักปฏิบัติ  ต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆจนงานสำเร็จลงได้  ชอบทำ

ในความเป็นจริงสัตว์ทั้งหมดก็เป็นส่วนผสมอยู่ในตัวเราแตกต่างกันตามสถานการณ์และประสบการณ์ หากเรารู้เท่าทันควบคุมทิศได้เข้าใจเรา เข้าใจเขาเราก็จะเป็นผู้กุมการคัดเลือกใช้พลังปรับใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพกิจกรรมนี้อาจต้องเล่นกันหลายรอบ มองกันนานๆจุดประสงค์ของกิจกรรมนี้คือ การรู้จักคนอื่น รู้จักเคารพความแตกต่างและให้รู้จักเฉลียวตรงกลางของทิศทั้ง 4 คือ พื้นที่ว่างที่เรียกว่า BAหรือ Buddhist Area ไม่ว่าเราจัดตัวเองอยู่ในสัตว์ประเภทใดให้พยายามนำตัวเองมาอยู่ตรงกลางพื้นที่นี่อย่างมี"สติ" แล้วก็ทำตัวตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

 


 

เอกสารที่จัดเตรียม 

เอกสารชุดที่ 1

แผ่นที่ 1  

  1. ท่านมักจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น หากมีผู้อื่นร้องขอหรือหากว่าท่านมั่นใจในประเด็นดังกล่าว
  2. ท่านมักนิ่งเงียบมากกว่าจะยืนยันสิทธิของตน
  3. ท่านไม่ชอบให้สิ่งต่างๆเปลี่ยนแปลงบ่อย
  4. ท่านมักถามก่อนที่จะบอก
  5. ส่วนใหญ่แล้วถือว่าท่านมีความอดทน

 


 

แผ่นที่ 2

  1. ท่านมักจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นแม้ว่าจะไม่มีใครขอร้องหรือท่านจะไม่แน่ใจ
  2. ท่านมักจะยืนยันสิทธิมากกว่าที่จะนิ่งสงบเงียบ
  3. ท่านชอบที่จะเปลี่ยนแปลงบ่อยๆรู้สึกเบื่อหน่ายถ้าไม่มีการเปลี่ยนอะไรเกิดขึ้น
  4. ท่านมักจะบอกก่อนที่ถาม
  5. ส่วนใหญ่แล้วท่านถือว่าเป็นคนที่ไม่ค่อยมีความอดทน

 


 

แผ่นที่ 3

  1. ท่านพยายามควบคุมอารมณ์ของตนเอง
  2. ท่านมักจะสนใจข้อเท็จจริง หลักเหตุและผล
  3. ท่านมักจะทำตัวเป็นทางการและจริงจัง
  4. ท่านมักให้ความสำคัญต่องานก่อนการผูกมิตรและสร้างสรรค์
  5. การทำความรู้จัก หรือสร้างความคุ้นเคยกับท่านเป็นเรื่องยาก

 


 

แผ่นที่ 4

  1. ท่านมักจะแลกเปลี่ยนแสดงออกถึงความรู้สึกของท่านอย่างเปิดเผย
  2. ท่านมักจะสนใจคนและความรู้สึก
  3. ท่านมักแสดงความเป็นมิตรและผ่อนคลาย
  4. ท่านมักจะผูกมิตรและสังสรรค์ก่อนลงมือทำ
  5. การทำความรู้จัก หรือสร้างความคุ้นเคยกับท่านเป็นเรื่องง่าย

 


 

หมายเหตุ    

แผ่นที่  1   หมีทิศตะวันตก  ธาตุดิน

แผ่นที่  2  กระทิงทิศเหนือ ธาตุไฟ

แผ่นที่  3  อินทรีย์ทิศตะวันออก ธาตุลม

แผ่นที่  4   หนูทิศใต้ ธาตุน้ำ


 

 

เอกสารชุดที่2 คำอธิบายแบบละเอียดของ สัตว์สี่ทิศ

ทิศเหนือ  – กระทิง(ตัวแทนโทสะจริต)

“เป้าหมายมีไว้พุ่งชน”

เป็นทิศของนักรบ การมีพลังชีวิต กล้าเผชิญ มีความมุ่งมั่นเปิดเผยตรงไปตรงมากล้าได้กล้าเสีย มีเป้าหมายกล้ายืนยันในสิ่งที่คิดสิ่งที่เป็นยืนยันในสิ่งที่เป็น(Assertiveness) มุ่งเป้าแต่วิธีการอาจต้องคลำไปมีคติว่า “หากไม่ลงมือทำ จะสำเร็จได้อย่างไร” เป้าหมายมีไว้พุ่งชน เชื่อในประสบการณ์มากกว่ายึดตามทฤษฎีกระทิงมีหลายแบบ กระทิงที่ชอบความสมบูรณ์แบบ กระทิงที่ลุยเป็นคนที่มีความชัดเจนสูง เปิดเผย ปากกับใจตรงกันมีกระทิงแบบเงียบที่มุ่งมั่นในการปฏิบัติกลุ่มนี้ค่อนข้างปฏิเสธทฤษฏี

บุคลิกลักษณะ : มีนิสัยใจร้อน ขยันโมโหง่ายเลยค่อนข้างมีศัตรูเยอะ ใช้ความรู้สึกสุดโต่ง คือ รักแรงเกลียดแรง มีความเป็นนักเลง ชอบลงไม้ลงมือ รวดเร็ว ทันใจ หวังผลเลิศชอบลงมือทำงานด้วยตนเอง มากกว่าฟังคนอื่นว่าตามกันมาโดยบุคลิกแล้วจะมีลักษณะดุดัน กล้าชน กล้าเผชิญหน้า มีความมุ่งมั่นจริงใจ เคลื่อนไหวรวดเร็วอย่างมีเป้าหมาย ชอบเห็นผลเร็วชอบอยู่แนวหน้า กล้าแสดงออก ชอบใช้พลังมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อปัญหาต่างๆ อย่างรวดเร็วเหมือนวัวกระทิงที่เจอสีแดงแล้วจะวิ่งชนทันที ถือว่าเป็นทิศของนักรบเพราะมีความกล้าเสี่ยง กล้าท้าทาย ชอบวิ่งชนกับปัญหา

 ข้อดี: ด้วยความที่ดุดันและเป็นนักรบเลยเป็นกลุ่มที่รักเพื่อนพ้องชอบการรวมกลุ่มปกป้องและดูแล ถือว่าเป็นทิศแห่งการยืนหยัดพร้อมเผชิญหน้ากับความขัดแย้งทุกรูปแบบ หากมีอำนาจมากดดันก็สามารถท้าทายอำนาจอย่างเปิดเผย 

ข้อเสีย : ด้วยชอบท้าทายอำนาจตัวเองก็ใช้อำนาจบ้าง อาจจะตกหลุมของอำนาจไม่รู้ตัวควรที่จะยอมผิดพลาดบ้าง รู้จักที่จะช้าๆ กับบางเรื่อง รู้จักอดทนรอคอยลดความเป็นตัวของตนเองลง และลดอำนาจนิยมลงยอมให้ผู้อื่นสะท้อนตัวตนบ้าง

 


 

ทิศใต้ – หนู(ตัวแทนโลภะจริต)


“ผู้หล่อเลี้ยงและประสานความขัดแย้ง” 

เป็นทิศของหัวใจ อารมณ์และความรู้สึก เป็นฝ่ายตั้งรับมีแบบแผนที่ตอบสนองความต้องการของคนอื่นให้ความสำคัญสัมพันธภาพมาอันดับหนึ่ง ชอบเกรงใจ รักษามารยาทไม่ชอบมีเรื่อง ขลาดกลัวและตามมาด้วยอารมณ์ดื้อจากความกลัวปากกับใจไม่ตรงกัน เป็นท่านทูตเป็นผู้เชื่อมประสาน

ถ้าเป็นผู้นำ

บุคลิกลักษณะ : ให้ความสำคัญกับความรู้สึกและอารมณ์สูงชอบใช้ใจมากกว่าการใช้กำลัง มีบุคลิกรวดเร็ว ว่องไว ปราดเปรียวขี้เล่น ขับเคลื่อนพลังด้วยความรู้สึกที่ใส่ใจชอบช่วยเหลือดูแลคนรอบข้างแบบอบอุ่น ใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆหล่อเลี้ยงและดูแลดึงคนมารวมกันอยู่ด้วยหัวใจได้อย่างมากมายจะทำทุกวิถีทางที่ทำให้คนรอบข้างตัวรู้สึกดีอยู่เสมอชอบให้การช่วยเหลือเยียวยา ถือว่ามีความเป็นผู้ให้สูงโดยลักษณะของหนูนั้นจะไม่เรียกร้อง เป็นคนไม่เปิดเผย มีแบบแผนและชอบสนองความต้องการของผู้อื่นมากกว่าความต้องการของตนเองเป็นสัตว์สังคมอยู่กับผู้คนได้มากมายเพราะความเป็นชุมชนและสัมพันธภาพหล่อเลี้ยงนั่นเอง

ผู้นำแบบนี้เป็นผู้ที่มีจิตวิทยาดีและผู้ที่เป็นจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยามักจะเป็นผู้นำแบบทิศใต้นั่นเองเป็นผู้นำในแบบผู้ประสานงานให้เกิดความราบรื่นในหมู่คณะแบบกาวใจนั่นเองคนในอาชีพศิลปิน นักร้อง นักแสดง นักดนตรี จิตรกรมักจะมีบุคลิกแบบหนูสูงสุด

ข้อดี: จะเป็นผู้ที่หลีกเลี่ยงความขัดแย้งรุนแรงไม่ชอบปะทะหรือใช้กำลังทำลายล้าง จะได้กลิ่นของความขัดแย้งหรือความไม่ลงรอยกันได้อย่างรวดเร็วหน่วยงานใดที่ได้ผู้นำหรือผู้ร่วมงานแบบนี้จะโชคดีเพราะจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้รวดเร็วและราบรื่น

ข้อเสีย: ความสำเร็จอาจถูกมองว่าไม่ใช่ฝีมือหนูโดยตรงเนื่องจากหนูอยู่เบื้องหลังความสำเร็จทั้งมวลมักน้อยใจจากการถูกมองข้าม เราไม่ค่อยเจอผู้นำในแบบหนูเพราะหนูจะลาออกไปเสียก่อนเนื่องจากไม่สามารถจะอยู่ในท่ามกลางความขัดแย้งรุนแรงได้และอาจจะถูกข่ม เนื่องจากมีความอ่อนโยน และประนีประนอมมากเกินไปเพราะจะเป็นผู้นำแบบขี้สงสาร ชอบความสงบ และรักสันติ ในหน่วยงานต่างๆมักจะพบผู้นำในแบบกระทิงมากกว่าผู้นำแบบหนู

ข้อเสนอแนะ : ควรนำความเด็ดเดี่ยวกล้าเผชิญกับปัญหาแบบกระทิงมาไว้ในความเป็นหนูบ้างเนื่องจากหากเป็นหนูล้วนๆ จะดูใจน้อย ใช้ใจ ใช้อารมณ์มากเกินไปจนดูอ่อนแอไม่น่าเกรงขาม และยากที่จะเป็นผู้นำที่สมบูรณ์แบบแต่ถ้าหนูกับกระทิงมาผสมกันจะดูดีขึ้น เป็นหนูที่ทรงพลัง


 

 

ทิศตะวันออก   นกอินทรี(ตัวแทนโมหะจริต)


“นักครีเอทีฟ”

พวกที่อยู่สูง ดังนั้นจึงมองในภาพรวมมากกว่า ด้

วยการที่มองเห็นเลยเห็นจุดด้อยของสิ่งต่างๆได้ง่ายจึงชอบการเปลี่ยนแปลง แก้ไขชอบของใหม่ของแปลกดูเหมือนฟุ้งซ่านและชอบขายฝันมีความรอบรู้ไปทุกเรื่องแต่ไม่ลงลึกในรายละเอียดและไม่ได้ลงมือทำจริงจัง ชอบคิดอะไรใหม่ๆอาจกล่าวได้ว่าเป็น “เจ้าโปรเจค”มีวิสัยทัศน์แต่ไม่ค่อยชัดเจนในบางครั้ง

ถ้าเป็นผู้นำ

บุคลิกลักษณะ : เป็นคนชอบมองภาพรวมใหญ่ๆเชื่อมโยงเครือข่ายแบบสร้างสรรค์ ไม่ค่อยสนใจรายละเอียดมีจินตนาการสูง เป็นนักคิดนักฝันสูง ชอบเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆชอบคิดนอกกรอบ แสวงหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ มักจะไปที่ที่ไม่เคยไปเป็นเจ้าโปรเจ็กต์ บางครั้งเหมือนพวกฝันกลางวัน ขายฝันเก่งสนใจทุกเรื่องราว อยากทำทุกเรื่องจนบางครั้งทำงานแบบไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน เพราะสนใจไปหมดทุกเรื่องทั้งยังไม่มีลำดับความสำคัญก่อนหลัง จะเรียกว่าเป็นผู้นำแบบจับจดก็ได้เพราะเป็นคนเบื่อง่าย ไม่อยู่กับอะไรนานๆ จึงควรยึดอะไรให้มั่นทำงานหลักๆ ให้ได้เสียก่อนว่าชอบอะไรแน่ แล้วอะไรควรทำก่อน-หลัง

ควรเรียนรู้ระบบตามแบบผู้นำอย่างหมีหรือกระทิงดูบ้าง ควรคิดใหม่ทำใหม่ ผู้นำแบบอินทรีนั้นห้ามทำธุรกิจเกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆเนื่องจากเป็นคนชอบอิสระสูง ชอบสร้างเรื่องประหลาดใจเสมออะไรที่เหนือความคาดหมายนั้นจะชอบเป็นพิเศษดังนั้นจะไม่ชอบทำอะไรแบบซ้ำซากจำเจ แบบพวกนักสร้างสรรค์งานโฆษณาผู้กำกับภาพยนตร์ มักจะมีบุคลิกแบบอินทรีสูง

ข้อดี : จะมีชีวิตการทำงานที่มีสีสันสนุกสนาน แต่หาสาระแก่นสารไม่ได้หรือยากที่จะประสบความสำเร็จได้โดยง่ายเพราะอาจดูกลายเป็นคนจับจดหยิบโหย่งด้วยความเป็นคนไม่ชอบความซ้ำซากจำเจจึงอาจกลายเป็นคนทำงานไม่ต่อเนื่องได้

อินทรีย์จะหงุดหงิดอย่างมาก หากได้รับงานที่ที่มีระบบ ระเบียบเช่นงานบัญชี การเงิน เป็นต้น

 


 

ทิศตะวันตก   – หมี(ตัวแทนโมหะจริต)


“มั่นคงดุจภูผา”

มุ่งเน้นความเสถียรภาพ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่ชอบเสี่ยงชอบความมั่นคง หนักแน่น เป็นนักวางระบบคิด มองการณ์ไกลแบบแคบๆ ช่างเก็บรายละเอียด เลือกที่รักมักที่ชังเชื่อว่าการมุ่งอะไรซ้ำๆเรื่อยๆจะเกิดความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ

ถ้าเป็นผู้นำ

บุคลิกลักษณะ : เป็นผู้ที่ต้องการความมั่นคงสูงเป็นคนหนักแน่นแบบช้าแต่มั่นใจ มีนิสัยชอบวิเคราะห์วิจัยมีแบบแผนวิธีการทำงานที่ลงตัว หรือจะเรียกว่ามีระเบียบวินัยสูงมีความเชื่อว่าความเป็นระบบจะทำให้เกิดความสำเร็จ ไม่ชอบความวุ่นวายมีความรอบคอบ จะมองทุกอย่างไปข้างหน้าเสมอ คิดล่วงหน้า ชอบวางแผนมีขั้นตอนมีตรรกวิทยา ซึ่งจะต่างกับกระทิง ที่จะไม่ชอบวางแผนทำงานแบบบุกตะลุย ประสบความสำเร็จแบบไม่มีกระบวนท่า

แต่ผู้นำแบบหมีนั้น จะเป็นพวกอนุรักษนิยมคือมีขั้นมีตอนมีระบบระเบียบ บริหารงานแบบใจเย็น มีหลักการสูงมีกรอบมีกติกา ในการดำเนินชีวิตใช้เหตุผลเยอะบางครั้งอาจจะดูเหมือนเป็นคนที่สื่อสารยากเพราะชอบทำงานแบบอนุรักษ์นิยม ไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องการแบกรับความเสี่ยง จึงไม่ชอบทำอะไรแบบฉับพลันดำริชอบสังเกตการณ์ทุกสิ่งรอบตัว ไม่ชอบเกาะติดนัวเนียรักษาระยะและพื้นที่ตัวเองสูง ไม่ให้ใครเข้ามาในชีวิตส่วนตัวมากนักรักความสันโดษ ผู้นำแบบนี้เหมาะกับการทำงานในอาชีพนักบัญชี นักการเงินสรรพากร ดูแลเรื่องภาษี เป็นคนกลัวพลาดสูง 

ข้อดี : จะเป็นผู้นำที่หาความผิดพลาดได้ยากเพราะมีหลักการทำงานแบบมีระบบระเบียบ เคร่งครัดต่อกฎเกณฑ์มีปรัชญาในการทำงานในลักษณะที่เรียกว่าป้องกันดีกว่าแก้ไข

ข้อเสีย : มีลักษณะการทำงานที่เคร่งเครียดไม่มีความยืดหยุ่น ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงผู้นำแบบหมีนั้นควรจะมีความเป็นอินทรีหรือกระทิงผสมอยู่ในการทำงานจะทำให้มีการทำงานมีความสุขและประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น

 

 


 

อ้างอิงการเขียน

อ้างอิงคำอธิบายคุณลักษณะของสัตว์สี่ทิศ

จาก http://www.89powerzone.com/top...

วรภัทร์ ภู่เจริญ,(2552),Dialogue คิดลงใจ...ไหลเป็นปัญญา,บริษัทอริยชนจำกัด.กรุงเทพ.

ขอบคุณ

คุณภีระชญา วีระสุโข (พี่กิ่ง)

คุณทวีสิน ฉัตรเฉลิมวิทย์(พี่กอล์ฟ)

หมายเลขบันทึก: 473787เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2012 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2017 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

ชอบมากค่ะ..

เคยอบรม การให้คำปรึกษาแบบสร้างแรงจูงใจ วิทยากรให้เลือก หมี กระทิง อินทรีย์ และหนู

แต่รายละเอียดไม่เยอะขนาดนี้...น่าจะเข้าใจผู้อื่นและเข้าใจตัวเองได้มากขึ้น

ขอบคุณค่ะ..^_^

(ปล.มีนกกระยางขาวที่ทุ่งนาอิสานมาฝากค่ะ)

ขอบคุณครับ เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ The art of facilitator. ครับ

สวัสดีปีใหม่ครับน้องเอก.....

นึกFAที่บ้านหมอเต็ม ยังอยากร่วมเวทีแบบนี้อีกครับ

ขอบพระคุณ คุณสามสักมากๆครับ

สุขสันต์วันขึ้นปีใหม่ เช่นเดียวกันครับผม :)

บังวอญ่าครับ

อาจมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเล็กๆที่ กรุงเทพฯ ครับ

ขออนุญาตเอาที่เคยเขียนถึงเรื่องนี้มารวมๆกันไว้ที่เดียวครับ

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/92744

ขอบคุณอาจารย์สกลมากครับ - มีประโยชน์มากๆครับ

ผมพบว่าประโยชน์ของการใช้วิชา category ของคน ไม่ว่าจะเป็นสี่ทิศก็ดี นพลักษณ์ก็ดี หรือ Learning Styles ก็ดี เราสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาตนเอง เกลียดตัวเองลดลงเพราะเข้าใจข้อจำกัด ให้อภัยตัวเองเพื่อเกิด safe zone ในพื้นที่ใหม่ (อภัย = ไม่กลัว) นำไปสู่การเกิดใหม่ที่เข้มแข็ง ยืดหยุ่นกว่าเดิม

อีกด้านหนึ่งเราจะเห็นคนอื่นในมุมมองแบบ objective หรือภววิสัยได้ดีขึ้น ตัดสินคนลดลง ก็จะลดความไม่พอใจในคนอื่นลง เห็นหรือหันไปมองจุดแข็งของเขาแทน ให้อภัยคนง่ายขึ้น รักคนง่ายขึ้น และมองเห็นทางเสริมจุดแข็ง แก้ไขจุดอ่อนได้ชัด เพราะเรารักเขาได้แล้ว เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับงานกระบวนกร หรือ faciltation ครับ

ขอบคุณมากค่ะ รายละเอียดประณีตมากคะ ขอชื่นชม

ชอบประโยคนี้มากค่ะ

การลงมาพื้นที่ว่าง  Buddhist Area อย่างมี "สติ" แล้วก็ทำตัวตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

มีข้อสงสัยหนึ่ง คือ การจำแนกด้วยการประเมินตนเอง เป็นสี่แบบนี้จะแม่นยำเพียงไร ดั่งที่ว่า  "ในความเป็นจริงสัตว์ทั้งหมดก็เป็นส่วนผสมอยู่ในตัวเรา แตกต่างกันตามสถานการณ์และประสบการณ์"

Ico64   เรียนท่าน จตุพร

 


  - รู้จักตัวเอง เข้าใจผู้อื่นจุดเริ่มต้นของ Facilitator- ควรเป็นเหมือน....Father / Daddyที่ใจดี....มีหลักเกณฑ์ ===> จะนำพาองค์ไปได้ ==> Far / Faraway/Out-of-the-Way

   - ขอบคุณคะ


 

ปัทมาครับ

ไม่ว่าจะเป็นวิธีจำแนกแบบไหน ก็เป็นแค่ trait แค่นั้น มนุษย์ยังคงมี free will ที่จะเป็นสิ่งที่ตนเองอยากเป็น ส่วนทิศทั้งสี่ที่เกิดขึ้นนั้นก็เพียงการ "เลือกครั้งหนึ่ง" ของเราเท่านั้น ในการศึกษาวิจัยเรื่อง learning styles พบว่า_ายในหนึ่งปีหลังจากการทำแบบสอบถามครั้งแรก ราวๆ 50% จะเปลี่ยน trait เมื่อทำซ้ำ เพราะคนเราเม่อทราบจุดแข็งจุดอ่อนของตนเอง ก็จะมีพฤติกรรมเรียนรู้เกิดขึ้น

Abuse ของการใช้การจำแนกกลุ่มเหล่านี้คือเรไปคิดว่าเป็นการ "วินิจฉัย". เหมือนวินิจฉัยโรค อ๋อ แกเป็นกระทิง มิน่าไม์ค่ยสนใจความรู้สึกคนรอบข้าง อ๋อ แกเป็นหมี ชาตินี้คงไม่มีทางเปลี่ยนแปลง อ๋อ แกเป็นหนู ก็เลยเป็น yes-man ปฏิเสธคนไม่เป็น อ๋อ แกเป็นอินทรีย์ก็เลยร่อนไปอบรม ไปประชุมทุกที่ที่จัด ฯลฯ

นอกจากนี้เวลาตอบแบบสบถาม trait เหล่านี้อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราเป็น แต่จิตใต้สำนึกเราตอบแบบที่เรา "อยากจะเป็น". ก็ได้ เราคงจะไม่ได้ประเมินแบบ KPI ของหมอดู หรือ positive predictive value อะไรแบบนั้นกระมังครับ

ขอบคุณอาจารย์สกลที่อธิบายให้เข้าใจค่ะว่า เป็นการ "เลือกครั้งหนึ่ง"

ขอบคุณคะ น่าสนใจมากเลย

สวัสดีค่ะคุณเอก

  • อบรมคราวที่แล้วผู้ที่เลือกอยู่ในกลุ่มเหยี่ยวจะไม่ค่อยยอมรับตัวเองค่ะ ที่น่ารักสุดๆคือกลุ่มหนูค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ เพิ่งได้เข้ามาอ่าน ละเอียดและมีประโยชน์สำหรับสอนวิชาแนะแนวมากค่ะ ขออนุญาตยืมเป็นแนวคิดไว้ใช้สอนนักเรียนนะคะ

สัตว์ทั้ง 4 รวมอยู่ในคนคนๆเดียวครับ....ขึ้นอยู่กับว่าสัตว์เหล่านั้นจะเเสดงพฤติกกรรมออกมาให้เห็นเด่นชัดในด้านใดด้านหนึ่งมากน้อยกว่ากัน.....

ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์

ค้นหาเรื่องนี้ เลยมาพบ ต้องขอขอบพระคุณมากๆเลยครับ ได้วัตถุดิบและเครื่องมืออย่างครบครันมากๆ
ขอขอบคุณที่เผยแพร่โดยไม่หวงครับ

ขอบพระคุณสำหรับการแบ่งปันอย่างละเอียดค่ะ

จะได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนกับนักศึกษาต่อไปค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากๆเลยค่ะ ขอนำไปใช้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท