"การละเมิดลิขสิทธิ์" : "จิตสำนึก" สำคัญกว่า "ตัวบทกฎหมาย"


มีเรื่องราวเกี่ยวกับ "การละเมิดลิขสิทธิ์" เกิดขึ้นกับกัลยาณมิตรใน Gotoknow หลายท่าน

 

ยกตัวอย่าง จาก ...

บันทึก กับเรื่องราวการโจรกรรมงานวิชาการ "ผลงานที่Copy& Paste แล้วได้รับรางวัล"

โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ คือ พี่ หนูรี

หรือ

บันทึก ทักษะแห่งอนาคตใหม่กับการโจรกรรมทางวิชาการ(plagiarism)

โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ คือ ท่านอาจารย์ ขจิต ฝอยทอง

 

ผมรู้สึกเห็นใจเจ้าของมันสมองทุกท่านครับว่า เหมือนเรากำลังนั่งข้อสอบ หรือ รายงานด้วยของเราเองแล้ว อยู่ดี ๆ มีเพื่อนที่ไม่ได้รับเชิญแอบขโมยของเราไปเป็นของตัวเอง แบบต่อหน้าต่อตา

 

 

ทำให้ผมต้องลองกลับไปพรวนบันทึกเก่า ๆ ที่เขียนและเผยแพร่ความรู้เรื่องนี้จากหนังสือของ "รองศาสตราจารย์ มานิตย์ จุมปา" แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้เขียนเอาไว้ในหนังสือ "เขียนผลงานทางวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดสิทธิ์" เป็นหลัก

 

 

ผมเองก็มิใช่นักกฏหมายดั่งเช่นอาจารย์มานิตย์ เพียงแต่นำความรู้จากหนังสือของอาจารย์มาใช้เพื่อทบทวนเรื่องลิขสิทธิ์ของตัวเอง ถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ฟัง อีกทั้งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อกัลยาณมิตรหลากหลายอาชีพด้วย

 

บันทึกที่ค่อย ๆ เลือกประเด็นสำคัญ ๆ ออกมา ได้แก่

 

ยิ่งได้เขียน และยิ่งได้อ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้ผมมีความเข้าใจเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ในระดับหนึ่ง และอีกทั้งตัวเองต้องทำงานด้านวิชาการ ทำให้เราสามารถระมัดระวังตัวให้ได้มากที่สุด ที่จะไม่ไปขโมยงานของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง ทั้งที่เราตั้งใจและมิได้ตั้งใจ

หลายครั้งถือเป็นการเสี่ยง "ละเมิดลิขสิทธิ์" ครับ หากผู้เป็นเจ้าของงานไม่เข้าใจในสิ่งที่เราได้เผยแพร่ออกไป โดยเฉพาะเครื่องมือในการสื่อสารสมัยใหม่ เช่น อิิินเทอร์เน็ต มันแพร่เร็วมากจนยับยั้งยาก หากพลาดเผลอไปครับ

หากไม่ใช่งานของเรา "การอ้างอิง" เป็นสิ่งที่ต้องจำให้ขึ้นใจที่สุดในข้อแรก ข้อต่อมา คือ เป็นตัวของตัวเองให้ได้มากที่สุด เพราะมีหลักการอ้างอิงว่า ไม่ใช่นำมาทั้งหมด และดูที่เจตนาอีกด้วย

 

 

และเมื่อปลายปี ๒๕๕๔ ผมเองก็ได้หนังสือเกี่ยวกับ "ลิขสิทธิ์" เพิ่มเติมมาอีกเล่ม คือ

 

 

หนังสือ ชื่อ "คัมภีร์ลิขสิทธิ์ 180 คำถามที่จำเป็นต้องไขคำตอบ" ของ "อรุณ ประดับสินธุ์" จำได้ว่า เห็นวางขายก็ซื้อทันที เพราะรู้สึกว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องอยู่กับตัวเองไม่น้อย อีกทั้งมีประเด็นใหม่ที่มีการวิเคราะห์เกี่ยวกับ "ลิขสิทธิ์" ในหลาย ๆ ประเด็นเพิ่มขึ้น

 

ยุคนี้เป็นยุคข้อมูลข่าวสารที่มีเทคโนโลยีมาช่วยเหลือมนุษย์ให้ทำงานได้ง่ายขึ้น แต่ก็รวมถึงคนกลุ่มหนึ่งด้วยที่มักจะใช้เทคโนโลยีมาช่วยตัวเองจนเกินขอบเขต

เราสามารถขโมยอะไรง่าย ๆ ในอินเทอร์เน็ตมาเป็นของเราอย่างง่ายดาย โดยที่เราขาด หิริ-โอตัปปะ หรือ ความสำนึกต่อการขโมยมันสมองของคนอื่นเขาไปเป็นของตัวเอง

บางทีเราเองก็ไม่ได้ห่วงความรู้อะไร เพียงแต่อยากจะขอให้มาแจ้งให้ทราบก่อนว่า อยากนำความรู้ของเราไปใช้งานทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่

บางคน ถ้าเราไม่อนุญาตก็จะมาต่อว่าเราสาดเสียเทเสีย หาว่างกบ้าง หวงบ้าง แค่นี้ก็ไม่ได้ ประมาณนี้บ่อย ๆ ที่ได้สัมผัสมา

 

 

"ตัวบทกฎหมาย" เป็นเพียงแค่ข้อบังคับ หรือ ข้อระมัดระวัง ป้องกันคนทำผิดเท่านั้น แต่มันห้ามไม่ได้เด็ดขาด

"จิตสำนึก" ต่างหากที่จะเป็นตัวจัดการเรื่องนี้ได้

 

 

แต่มันก็ขึ้นอยู่กับบุึคคลว่า มีคนสอนเขาไหม หรือคนสอนได้ละเลยในสิ่งที่เด็กได้ทำผิด เช่น การ COPY and PASTE ที่กลายเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ไปแล้ว

 

ครูที่สอน ... ทันเด็กไหม เวลาเขานำงานมาส่ง

หากไม่ทัน ... ก็เหมือนครูเป็นผู้ยุยงส่งเสริมเด็ก

เด็กเอง ... เห็นครูไม่ว่าอะไร ก็นึกว่า นี่คือสิ่งที่ถูกต้อง

คราวหน้าก็จะทำอีก และทำไปเรื่อย ๆ จนโตเป็นกำลังของชาติ นั่นแหละ

 

โปรดด้วยเถอะครับ ใครเป็นครู ... นี่เป็นหน้าที่ที่ไม่ใช่คำสั่งการ แต่เป็น "จิตสำนึก" ของคนที่เป็นครูเขาเช่นกันครับ

ยกเว้น ตัวครูเองก็ทำเหมือนกัน แบบนี้คงจะไปสอนใครได้ยากอีกแล้ว เพราะตัวเองก็ยังทำเลย

 

 

ขอให้กำลังใจกัลยาณมิตรที่ทุกท่านที่สร้างงานจาก "หนึ่งสมองสองมือ" ของตัวเอง

งานของเรามีคุณค่าในใจเราเสมอ นะครับ ;)...

 

บุญรักษา ครับ ;)...

 

..................................................................................................................................................

ขอบคุณหนังสือและเว็บไซต์ดี ๆ ที่ให้ความรู้กับพวกเรา

 

มานิตย์ จุมปา.  เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

 

อรุณ ประดับสินธุ์.  คัมภีร์ลิขสิทธิ์ 180 คำถามที่จำเป็นต้องไขคำตอบ.  กรุงเทพฯ: พสุธา, 2554.

 

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537.  http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf (1 กุมภาพันธ์ 2555).

หมายเลขบันทึก: 476976เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2012 01:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

I say (in facts I should quote this saying but I can't remember who or where it comes from)

"it is difficult to be original -- everything comes from something else -- except God"

When we write we use 'germs of ideas' from some people, some where, some times...

Yet, I can feel, this is not a copy and paste.

But why do I quote 'germs of ideas'?

ขอบคุณครับ และบุญรักษาเช่นกันครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

มีประโยชน์มาก ขอบคุณค่ะ

ไว้จะหาเวลา ละเลียดอ่านเน่อเจ้า

อ. เสือละเมอรึคะ แหม ตื่นเช้าเนาะ กับวันแรกเดือนแห่งความรัก :)

ขอบคุณมากครับ คุณ sr สำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ ;)...

มีมุมมองให้ผมได้เรียนรู้เสมอ ๆ เลยครับ

ได้เลยครับ คุณ Poo ;)...

บังเอิญมีประชุมเช้า กะ บ่าย ครับ อิ อิ

ด้วยความยินดียิ่งครับ พี่ หนูรี ;)...

ขอบคุณมากครับ ขอนำเอาบันทึกนี้ไป link เพื่อให้นิสิตอ่านด้วยนะครับ ขอบคุณครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท