ชาวบ้านก็ทำ R2R



วันเสาร์ที่ผ่านมา น้องๆเชิญไปวิพากษ์งานวิจัยชุมชนของชุมชนภาคกลางและภาคตะวันออก มีเรื่องดีๆมาเล่าให้ฟัง

งานที่มานำเสนอเป็นงานของชุมชนที่ใช้กระบวนการวิจัยไปค้นหาปัญหาและสาเหตุในการดูแลชุมชนร่วมกัน มีหลายเรื่องที่น่าสนใจ ในที่นี้จะขอเล่า กรณีของอสม.ที่อ.บางคณที จ.สมุทธสงครามทำวิจัย

อสม.กลุ่มนี้เป็นผู้หญิงที่มีอาชีพเป็นแม่ค้า ค้าขายอยู่ในชุมชน แต่ด้วยจิตที่เป็นสาธารณะจึงอาสาเป็น อสม.กัน ซึ่งในวิถีของชุมชนภาคกลางจะต่างกับทางอีสานคือเขาจะมีบริบทในการประกอบอาชีพตลอดปี

สิ่งที่จุดประกายเขาในการอยากทำวิจัยคือ ในชุมชนตามที่เขาสังเกตพบว่า มีคนทุกข์ที่ยังไม่เข้าถึงบริการสุขภาพ เช่น อายุ ๔๐ กว่าแต่ไม่มีบัตรประชาชน ผู้สูงอายุไม่มีคนดูแล ในฐานะคนในชุมชนพวกเขาเองก็ดูแลกันตามอัตภาพ ตามกำลัง แต่เมื่อยิ่งดูแลกลับพบคนเหล่านี้มากขึ้น พวกเขาตั้งคำถามกันว่า ในชุมชนของเขามีคนทุกข์มากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจะดูแลกลุ่มคนทุกข์เหล่านี้ได้มากขึ้นกว่านี้ และจะทำอย่างไรให้กลุ่มคนอื่นๆได้มีโอกาสมาช่วยดูแลกลุ่มคนทุกข์นี้บ้าง

นี้เป็นจุดประกายให้อยากทำงาน ประจวบกับมีนักวิจัยพยาบาลชุมชนอยู่ในพื้นที่ จึงได้ชวนกันทำ และไปจัดกระบวนการในการใช้กระบวนการวิจัยในการค้นหาปัญหา สาเหตุ และแหล่งประโยชน์ตามประเด็นที่กำหนดโดยชุมชน

ในระหว่างการทำวิจัย เกิดการเรียนรู้ระหว่างนักวิจัยที่เป็นพี่เลี้ยง กับอสม.ที่ร่วมเรียนรู้ การทำงานก็เป็นไปตามบริบทของชุมชน ใช้เวลาว่างจากงานของอสม.มาใช้ในการเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ การปรับใช้เครื่องมือ ๗ ชิ้นของ อ.โกมาตร์

หลังการเก็บข้อมูล พี่เลี้ยงและอสม.ได้รวบรวมข้อมูล จัดหมวดหมู่ และตีความ พร้อมนำผลการวิเคราะห์ไปเสนอให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับและร่วมมือในการดูแลคนทุกข์ในชุมชน

ผมได้ฟังรู้สึกทึ่ง และชื่นชมกับทีมพี่เลี้ยงและอสม.กลุ่มนี้

สิ่งที่ผมเสนอ ผมต้องการให้กำลังใจพวกเราที่อยากทำ R2R เพราะอสม.ก็ทำได้ แต่สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ การฉุกคิดตั้งคำถามจากสิ่งเราได้เผชิญอยู่

 

.................มีอีกเรื่องเกี่ยวกับ วัยรุ่นทำวิจัย ที่ ราชบุรี

ด้วยบริบทของพื้นที่ เด็กวัยรุ่นในพื้นที่ส่วนใหญ่จะสนใจเรื่องส่วนตัวมากกว่า เช่น แต่งรถซิ่ง ทำงาน เรียนหนังสือ หน้าที่ทำงานส่วนร่วมเป็นของผู้ใหญ่ผู้สูงอายุ จะจัดงานวัด ทำงานสาธารณะก็จะทำกันเฉพาะกลุ่มผู้ใหญ่ ทั้งที่ในชุมชนก็มีกลุ่มวัยรุ่นอยู่จำนวนมาก มีเด็กกลุ่มหนึ่งที่ทำงานอาสาสมัครกับ รพสต.ตั้งคำถามว่า ทำไมวัยรุ่นจึงไม่เข้ามาร่วมกิจกรรมสาธารณะของชุมชน และ ทำอย่างไรจึงชวนกลุ่มวัยรุ่นเหล่านั้นมาร่วมกิจกรรมสาธารณะได้

วัยรุ่นร่วมกับจนท.ในรพสต.ที่เป็นนักวิจัยชุมชน ได้ร่วมกันพัฒนาทักษะในการทำวิจัย โดยใช้รูปแบบ rapid assessment process วัยรุ่นได้รับการพัฒนาทักษะ การตั้งคำถามวิจัย การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ การบันทึก การตั้งสมมติฐานและการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิเคราะห์พบ กลุ่มวัยรุ่นและความต้องการของวัยรุ่นในการเข้าร่วมกิจกรรม ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วม เช่น การสื่อสารกับกลุ่มวัยรุ่น ลักษณะกิจกรรมที่ไม่โดนใจ เวลาในการทำกิจกรรม ฯลฯ

จากผลการวิจัยวัยรุ่น ได้นำผลไปคืนข้อมูลให้แก่ อบต. /อบต.ได้เห็นจึงสนับสนุนงบประมาณให้กลุ่มวัยรุ่นเข้าร่วมและจัดกิจกรรมสาธารณะ

เห็นมั๊ยครับว่า "วัยรุ่นเริ่มต้นที่คำถามที่อยู่หน้าตัวเอง" หาให้เจอนะครับ อย่ามัวแต่ไปหาคำตอบ เพราะคำถามที่ใช่ยังไม่เจอเลย

คำสำคัญ (Tags): #r2r
หมายเลขบันทึก: 481160เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2012 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อ่านเรื่องนี้ แล้วเกิดความสนใจมาก ๆ

จะเป็นการรบกวนหรือเปล่า หากจะขอข้อมูลเพิ่มว่า

งานที่บางคนที สมุทรสงคราม เป็นงานของใคร หรือ รพสต.ใด

รวมถึงงานที่ราชบุรีด้วยว่า เป็นงานของ รพสต.ใด

อยากไปหาข้อมูลเพิ่ม อีก เพราะว่าทั้งสองเรื่องเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับการทำงานที่ทำอยู่

น่าสนใจจังเลยค่ะ ที่วัยรุ่นลงมาทำ R2R แทรกซึมไปทุกพื้นที่จริงๆ

งานพาชาวสวนทำวิจัยนี้เป็นผลงานของการCoaching ของ คุณมุนา วงศาโรจน์ รพ.นภาลัย จ.สมุทธสงครามครับ

มีอีกกรณี "ผู้ป่วยเบาหวาน ทำวิจัยพฤติกรรมตนเอง"

กลุ่มนี้น่าสนใจที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นชาวสวน ข้าราชการเกษียณ ที่ตั้งคำถามกับกลุ่มว่า ทำไมพวกเราถึงไม่ได้ทำตัวตามที่หมอเขาบอกให้ปฏิบัติเพื่อควบคุมเบาหวาน

ทั้งกลุ่มรวมท้้งจนท.สาธารณสุข ช่วยกันฝึกการเก็บข้อมูล ช่วยกันต่อข้อมูล ช่วยกันวิเคราะห์

เขาได้พบว่า แท้ที่จริงบริบทของชีวิตของเขาไม่สอดคล้องกับสิ่งที่คุณหมอบอกให้ทำ ตัวผู้ป่วยเองก็เข้าใจว่าสิ่งที่ทำนั้นมันก็ไม่ได้ส่งผลต่อโรคทันที เห็นก็เพียงระดับน้ำตาขึ้นลงที่เขาสามารถปรับไปหลอกคุณหมอได้

การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ป่วยและจนท.เกิดการคืนข้อมูลระหว่างการทำวิจัย เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลตนเองของกลุ่มเบาหวาน และวิธีการapproach ของจนท.ต่อผู้ป่วย

‎" นักเรียนทำวิจัย สิ่งแวดล้อม"

ที่ รพ.อ่าวอุดม มีกลุ่มนักเรียนจิตอาสา เก็บขยะริมหาด แถวทะเลของศรีราชา แต่เก็บอย่างไรก็ดูจะไม่หมด เขาตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรจึงจะให้ชุมชนมาสนใจเรื่องการจัดการขยะของชุมชนได้ เพราะทำอยู่ฝ่ายเดียว อย่างไรก็ไม่จบไม่สิ้น

พยาบาลของรพ.เป็นที่ปรึกษาของกลุ่มจึงชวนกันมาใช้กระบวนการวิจัย เพื่อเก็บข้อมูลให้รอบด้าน จัดการข้อมูลให้เป็นระบบ และคืนข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลที่พบสิ่งที่เกี่ยวข้องกับขยะ มีทั้ง คน สัคว์(ลิง) การจัดการขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องใช้พลังในการแก้ไขอย่างมาก

กลุ่มนักเรียน และพยาบาลพี่เลี้ยงเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในการจัดการนำข้อมูลขยะ ไปให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับรู้ ตามบริบทของผู้ที่เกี่ยวข้อง

ทำให้เกิดการเข้ามาของกลุ่มต่างๆ เช่น บริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ เทศบาล กลุ่มเจ้าของบ้านเช่า กลุ่มต่างๆในชุมชน เกิดการวางแผนร่วมกันในการจัดการขยะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท