ผลลัพธ์การบริบาลบรรเทา


ผมถามตัวเองและถูกคนถามหลายครั้งว่า จะรู้ได้อย่างไรว่า  Palliative Care ที่ทำมันดี


ผมตอบตัวเองว่า “มันรู้แก่ใจคนทำ คนที่ลงมือทำจะรู้เองว่า มันดีหรือไม่ดี”  จะเอาไม้บรรทัดมาวัด เอาตัวเลขมาประเมินของพวกนี้ ดูจะลดทอนคุณค่างานของเราไปหรือเปล่า

ถ้าเราตอบตัวเอง คนไข้และคนอื่นได้ว่า ปัญหาแต่ละด้านดีขึ้น คงเดิม หรือแย่ลงอย่างไร ก็น่าจะเพียงพอแล้ว


ปัญหาคือ หลายครั้ง เรากลับตอบไม่ได้  ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ที่ลงมือทำไป มันดีอย่างไร ดีตรงไหน สักแต่ว่าทำ


ปีก่อน ผมได้รู้จักแบบประเมินชุดหนึ่งของ King’s College ที่อังกฤษ ชื่อ

Palliative Care Outcome Scale หรือ POS

แต่ความที่มีคนแสลงใจกับคำว่า Palliative Care เขาก็เลยเรียกชื่อเล่นว่า Patient Outcome Scale


ผมชอบแบบประเมินชุดนี้ทันทีที่หัดใช้ เพราะ

- มีแค่ ๑๐ ข้อ ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และการบริการ พูดง่าย ๆ คือ ก็เป็นแบบประเมินคุณภาพชีวิตดีๆ นี่เอง

    เดิมผมใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิตคนไข้ของผมเอง เป็น EQ-5D ฉบับภาษาไทย ที่เลือกใช้ชุดนี้ด้วยเหตุผลเดียวครับ มันสั้นที่สุด คือ มีแค่ ๕ ข้อ ไม่กินแรงผม ไม่รบกวนคนไข้กลุ่มนี้จนเกินไปในการดูแลคนไข้ประจำวัน  แต่ปัญหาคือ มันสั้น และต้องให้ผู้ป่วยตอบเอง

    พอมาเจอแบบประเมิน ๑๐ ข้อ มีรายละเอียดมากขึ้น ผมก็เลยเปลี่ยนมาใช้ POS ตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยแปลเองอย่างไม่เป็นทางการ

- แบบประเมินสามารถให้ผู้ป่วยทำเอง ผู้ป่วยทำโดยมีคนช่วย หรือให้ญาติผู้ป่วยทำ หรือสุดท้ายให้บุคลากรที่ดูแลทำก็ได้ โดยใช้แนวคำถามเดียวกัน แต่แยกถามชัดเจน ข้อนี้คือจุดเด่นของแบบประเมินนี้ เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่า ผู้ป่วยของเราส่วนใหญ๋ไม่อยู่ในสภาพที่จะทำแบบสอบถาม แม้แต่ไม่ยาวนักแบบนี้ได้ หลายครั้งแบบสอบถามไปสร้างความทุกข์ให้กับเขาด้วยซ้ำ

- ผมใช้ POS ฉบับแปลเองอยู่พักใหญ่ โดยให้ผู้ป่วยหรือญาติทำระหว่างรอพบผม สิ่งที่ช่วยผมแน่ ๆ คือ ผมรู้ปัญหาและความรุนแรงในมุมมองของเขามากขึ้น โดยเฉพาะประเด็นด้านจิตใจ และสังคม

   คนไทยบางคนถ้าไม่ถามไล่ข้อแบบนี้ ก็จะบอกเหมาว่า "ไม่มีปัญหา" ซึ่งถ้าเราไม่ไวพอ เราจะผ่านเลยไป


ผมทราบว่า ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มือแปลแบบสอบถามของบ้านเรา ที่เคยแปล Palliative Performance Scale PPS เป็นไทยที่ใช้ชื่อว่า PPS ฉบับสวนดอก กำลังทำวิจัยและแปล POS เป็นภาษาไทยด้วยวิธีมาตรฐานอยู่

ผมก็รอ คอยถามมาตลอด

ข่าวดี คือ ปัจจุบันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ใช้ชื่อว่า POS ฉบับสวนดอก ครับ


ผมได้ขออนุญาตจากทางสวนดอก เอามาใช้กับคนไข้ของผมแล้ว

หากใครต้องการทราบรายละเอียด หรือจะขออนุญาตนำมาใช้

กรุณาติดต่อที่ คุณปนัดดา สุวรรณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย ๑ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ครับ

และถ้าสนใจรายละเอียด ต้นฉบับของอังกฤษ ก็ที่เว็บนี้ http://pos-pal.org

หมายเลขบันทึก: 516570เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2013 12:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2013 12:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ขอบคุณอาจารย์ที่มอบบันทึกมีคุณค่าแก่ palliative care อีกครั้ง ขออนุญาตไปแชร์ใน. fB suandok palliative care นะคะ;)

Ico48

  • คราวนี้ ผมจะเขียนได้สักกี่บันทึก ก็ไม่รู้ครับ

ลดารัตน์ สาภินันท์ 

  • ขอบคุณคุณเอนะครับ ที่มาให้ข้อมูลเพิ่มเติม
  • แต่ผมขออนุญาต ลบทิ้งก่อน เนื่องจากเป็น เมล์ส่วนตัว อยากให้เจ้าของ OK หรือเป็น เมล์ /โทรศัพท์ ของหน่วยงานมากกว่าครับ
จิราพร ข่ายสุวรรณ

ขอบพระคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้ ให้กำลังใจ และเป็นแรงบันดาลใจในการดูแลผู้ป่วยประคับประคองค่ะ

จิราพร ข่ายสุวรรณ 

  • อยากชวนให้สมัครเป็นสมาชิก G2K  นี้ให้เป็นเรื่องเป็นราวครับ จะได้ช่วยกันมาเขียน

ตำนานการใช้ POS ของดิฉัน

ดิฉันเริ่มทดลองใช้ POS ฉบับสัมภาษณ์ผู้ป่วยมาเมื่อปี พ.ศ. 2553 กับผู้ป่วยมะเร็งปอด                                       ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรม  ชาย 1 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ค่ะ
โดยเก็บข้อมูลสัมภาษณ์ผู้ป่วย 1 ครั้ง ในวันก่อนจำหน่าย 1
วันค่ะ โดยดิฉันไม่สัมภาษณ์ผู้ป่วยวันจำหน่าย เพราะว่าผู้ป่วยอยากกลับบ้านแล้ว
และวันจำหน่าย แพทย์พยาบาลให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยหลายเรื่อง อาจทำให้ผู้ป่วยเครียดที่ต้องมาตอบแบบสอบถาม
POS อีก

ดิฉันได้ทดลองเก็บข้อมูลได้ประมาณ 10 กว่าราย
และชอบ POS ว่าทำให้เราได้สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยมากขึ้น 
 ผู้ป่วยมักจะเล่าเรื่องต่างๆให้เราฟัง มากกว่าคำตอบ 0
1 2 3 4 และเป็นคำตอบให้เราว่าการดูแลแบบประคับประคองที่ทีมเราให้ผู้ป่วยและครอบครัวไปนั้น
ครอบคลุมปัญหาและความต้องการของเขามากน้อยเพียงใด 

จากนั้นดิฉันได้นำข้อมูลเรียนท่านหัวหน้าหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 1
และท่านหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล และคณะกรรมการ Palliative Care 

ท่านหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลและคณะกรรมการ Palliative care เห็นด้วยว่า POS มีประโยชน์มาก จึงแนะนำชักชวนพยาบาล
Palliative care ในหอผู้ป่วยต่างๆ ขยายผลต่อไป โดยการเก็บข้อมูลอย่างน้อย 2 ครั้ง
 คือ ครั้งที่ 1 ช่วง  admit หรือหลังจาก Admit 1 - 2 วัน 
 และครั้งที่ 2 ในวันก่อนจำหน่าย หรือหลังจาก ครั้งที่ 1 ประมาณ 3- 7 วัน ค่ะ

        ถ้าจะเก็บข้อมูลหลายๆครั้ง ก็ขอให้สัมภาษณ์ผู้ป่วยด้วยแบบประเมิน POS แต่ละครั้ง ห่างกัน 3-7 วัน และกรอกข้อมูลลงในใบบันทึกผลลัพธ์ POS ที่เป็นรายข้อ จะทำให้เห็นปัญหา/ความต้องการของผู้ป่วยได้ชัดเจนค่ะ

                ในแบบประเมิน POS ฉบับเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ นั้น มีให้เราประเมินระดับของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ด้วยแบบประเมิน Palliative Performance Scale ฉบับสวนดอก ด้วยค่ะ ดิฉันได้ส่ง E mail ขออนุญาต Dr.Richard Harding ทีมเจ้าของ POS ไปแล้วว่า ขอใช้ PPS level แทน ECOG ซึ่ง ท่านก็ ตกลงอนุญาตค่ะ 

      บัดนี้ คุณปนัดดา สุวรรณ APN หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย  1  โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย POS ของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ค่ะ เป็นความภาคภูมิใจของเราค่ะ



 

ลดารัตน์ สาภินันท์  Amy

  • ของคุณมากครับ ที่มาเล่าประสบการณ์

คุณเอถามผมมาว่า

1.ตอนอาจารย์. ใช้ POS ถามผู้ป่วยที่ OPD  ครั้งที่ 1 อาจารย์ถามเขาทันที หลังจากตรวจอาการผู้ป่วยและให้คำแนะนำเขาเสร็จ ใช่ไหมค่ะ

หรือว่าทิ้งไว้ กี่นาที จึงให้ผู้ป่วยตอบ POS ค่ะ

คำถาม ถามว่า  ใน 3 วันที่ผ่านมา......

แต่พยาบาลที่ OPD  URO Cancer  โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่  ( รพ สวนดอก) บอกว่า มันยังไงชอบกล ที่ให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามPOS ทันทีหลังจากแพทย์ พยาบาลให้คำแนะนำผู้ป่วยเสร็จ  ในช่วง 3 วันที่ผ่านมา ก็ไม่เคยโทรศัพท์ไปเยี่ยมให้คำแนะนำผู้ป่วยเลย

อาจารย์ทำยังไงค่ะ ที่ OPD  ดิฉันไม่เคยใช้กับ OPD ค่ะ


ผมตอบ

  • ครั้งแรก
    พยาบาลแจกให้คนไข้ทำ ระหว่างรอพบผมที่ OPD ครับ เพราะฉะนั้นจะเป็นข้อมูลก่อนเจอผม เราจะพบว่ามีปัญหาเรื่อง การได้รับข้อมูลอยู่มาก
  • ครั้งต่อ ๆ ไป

    แล้วผมจะให้แบบสอบถามเก็บไว้กับตัวคนไข้เพิ่มอีก 1 ชุด บอกว่า เจอกันครั้งหน้า ซึ่งอาจเป็น 1 อาทิตย์ 1 เดือน ก็ตอบมาก่อนจะเจอหมอครับ
    ครั้งนี้แหละครับที่ผมจะประเมินว่า เราให้ข้อมูลเขาเพียงพอหรือไม่ ถ้าคะแนนรอบนี้ยังไม่กระเตื้อง แสดงว่า เรายังขาดเรื่องนี้ครับ



ผมเป็น APN อยู่ในทีมการวิจัย POS ครับ ผมขอเรียนอาจารย์ว่า ความเชื่อมั่นฉบับสอบถามผู้ป่วยและพยาบาล มีค่า reliability เท่ากับ 0.89 และ 0.87 ตามลำดับครับ 

มาเรียนแจ้งอาจารย์คะว่า POS  ฉบับแปลและ validated โดยฝ่ายการพยาบาล รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ ได้นำขึ้นเผยแพร่แล้ว ที่นี่คะ

http://www.med.cmu.ac.th/dept/family/2012/index.php/en/suandokpal


ขอบคุณครับ

ผมขอเอาใส่ในเว็บ สมาคมบริบาล ด้วยนะครับ

ขอบคุณคุณชยุต ด้วยครับ

ค่าที่ได้สูงดีนะครับ

ยินดีต้อนรับอาจารย์เต็มศักด์ในงาน palliative care day ของโรงพยาบาลมหาราชวันที่ 16-17 พฤษภาคมนี้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท