อารมณ์ของคนที่ทำ "วิจัย" (Researcher Emotional )


ถ้าจะให้พูดตามตรงแล้ว การวิจัยก็ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่ดีที่สุด...!

ทำไมถึงพูดอย่างนั้น...?

ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น การวิจัยของอาจารย์ก็เปรียบเสมือนนักศึกษาแพทย์เรียนกับ "อาจารย์ใหญ่"

อารมณ์ที่ของนักศึกษาที่เรียนกับอาจารย์ใหญ่ก็เหมือนกับอารมณ์ของอาจารย์ที่ทำวิจัย 

เหมือนกันอย่างไร...? ที่เหมือนกันก็คือ "มีโอกาสที่จะผิดพลาดได้"

เรียนกับอาจารย์ใหญ่ผิดพลาดได้ ทำไมถึงว่าอย่างนั้น ก็เพราะอาจารย์ใหญ่ท่านไม่มีลมหายใจ ซึ่งแตกต่างกับคนไข้จริงซึ่งมี "ลมหายใจ"

ลมหายใจหมายถึงชีวิต ทำผิดพลาดกับอาจารย์ใหญ่นั้นยังไม่ถึง "ชีวิต" อาจจะเพียงแค่หมายถึงคะแนนหรือเพียงแค่สอบได้หรือสอบตก

ฉันใดก็ฉันนั้น การทำวิจัย ทำผิด ทำพลาด ทำถูกบ้าง ไม่ถูกบ้าง ก็ไม่ถึงกับชีวิต ไม่ถึงกับสิ้น "ลมหายใจ"

อารมณ์ของอาจารย์ที่ทำวิจัย ตามหลักจิตวิทยาแล้วมันยังมี "ช่องว่าง" สำหรับความผิดพลาดอยู่ เมื่อมีช่องว่างคนเรามักจะ "ประมาท" เมื่อประมาทก็จะทำอะไรไม่เต็มที่ "ไม่เป็นไร  ๆ เอาใหม่ ๆ" ซึ่งแตกต่างกับคุณหมอที่รักษาคนไข้จริง ๆ ท่านไม่มีช่องว่างสำหรับความผิดพลาด เพราะความประมาทเพียงเล็กน้อยนั้นหมายถึง "ชีวิต" 


ลองคิดดูนะ ยิ่งถ้าอาจารย์ไปศึกษาดูงานตามหน่วยงานห้างร้าน ก็เหมือนกับคุณหมอยืนเกาะอยู่ขอบเตียงคนไข้แล้ววินิจฉัยพร้อมกับรักษาโรค อาจารย์ก็เป็นเช่นนั้น เมื่อไปดูงานมา ไปสอบถามตามหน่วยงานห้างร้านแล้วก็กลับมา "วินิจฉัยปัญญา" ให้กับนักศึกษา แล้วลูกศิษย์ที่เป็นนักศึกษาจะหายจากโรค "เบาปัญญา" ได้ไหม

ระบบงานของคุณหมอยังดีกว่าอาจารย์นะ เพราะคุณหมอมีคนไข้ให้รักษาจริง ๆ หมายถึงคนไข้ที่มีลมหายใจจริง ๆ แต่อาจารย์ยากนะที่จะได้ไปเจอกับอะไรจริง ๆ อย่างนั้น

หรือจะยกตัวอย่างให้ชี้ชัดลงไปอย่างเช่นอาจารย์สายบริหารธุรกิจ จะมีสักกี่คนที่เคยทำธุรกิจ (จริง ๆ) เพราะในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ก็มีแต่ "ธุรกิจจำลอง"

อะไรที่มันจำลอง ๆ ก็หมายถึง "เจ๊ง" ได้ เมื่อมีอารมณ์คำว่า "เจ๊ง" ก็หมายความว่ายัง "ประมาท" ได้ ไม่ต้องอะไรจริงจังมากก็ได้เพราะมันไม่ใช่ "เงิน" ของเรา ไม่ใช่ "ชีวิต" ของเรา

ในระบบสายงานทางการแพทย์ อาจารย์หมอจึงเป็นคนที่เก่งจริงเพราะได้ทำงาน "จริง" ทุกวัน

แต่ระบบสายงานของอาจารย์ทั่วแค่จะไปทำงานวิจัยก็จะหาอาจารย์ที่จะทุ่มเทให้งานวิจัยก็สุดแสนที่จะยาก นี่ยังไม่ต้องพูดถึงอาจารย์ที่จะออกไปเผชิญชีวิตตามธุรกิจหรือสายงานของตนเองจริง ๆ นะ คนที่กล้าเสี่ยงหาความรู้ที่ต้องแลกด้วย "ชีวิต" หรือแม้จะต้อง "สิ้นชีวิต"

การทำงานวิจัยบนพื้นฐานแล้วนั้นมันตั้งอยู่ในชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้อื่น จะผิดหรือถูกก็คือ "ทฤษฎี" หรือเป็นเพียง "Case study" คุณหมอคงจะไม่มองคนไข้เป็น "Case study" เน๊อะ

เหมือนอย่างเช่นที่คุณหมอไตที่กำลังษาคุณหมอของข้าพเจ้าอยู่ ท่านมาเล่าให้ฟังเป็น Case study ว่า ตอนนี้จิตตก เพราะฉีดยาเข้าทางไหปลาร้าแล้วพลาดไปโดนเส้นเลือดใหญ่ซึ่งทำให้คนไข้ "ตายคาเข็ม" ส่วนอีกเคสหนึ่งโชคยังดี โดนเส้นเลือดใหญ่เหมือนกัน เลืดออกในช่องอก แต่ "โชคดี" ที่ส่งตัวไปผ่าตัดทัน...?

ข้าพเจ้าก็คิดว่า แล้วถ้ามาฉีดให้คุณพ่อของข้าพเจ้านี่จะโชคดีหรือโชคร้าย ข้าพเจ้าก็ไม่อยากให้เป็นอีกหนึ่ง Case study ของคุณหมอที่จะไปเล่าต่อ ๆ กันไปเน๊อะ เพราะคงไม่สนุกเท่าไหร่ถ้าเป็นชีวิต "พ่อ" ของตัวเอง

ที่ยกตัวอย่างมานี้ก็เพื่อให้เห็นโอกาสในช่องว่างสำหรับความผิดพลาดระหว่าง "อาจารย์" กับ "คุณหมอ" 

แต่ก็ไม่ใช่ว่าความผิดพลาดของคุณอาจารย์จะไม่สำคัญนะ อย่าว่านักศึกษาไม่ถึงกับตายหรือสิ้นชีวิต แต่ถ้าคุณอาจารย์ทำผิดพลาดนั้นหมายถึงนักศึกษา "สิ้นชื่อ" หรือ "หมดอนาคต"

ปัจจัยหรือตัวแปรแห่งความสำเร็จของนักศึกษานั้นอาจจะมีมากกว่าคุณหมอ เพราะคุณหมอปัจจัยแห่งความสำเร็จหลัก ๆ นั้นก็มีอยู่ว่า "หาย" หรือ "ตาย" "สบายตัว" หรือ "ทุกข์ทรมาน"

แต่ปัจจัยของคุณอาจารย์มีเยอะ สอบตก สอบผ่าน ตกงาน ได้งาน เกียรตินิยม หรือจบแบบคาบเส้น 

หรือจะพูดให้ชัดเจนอีกอาจารย์ก็เหมือนนัก "ปรัชญา" เมื่ออะไร ๆ ที่มันเป็นปรัชญามันก็เป็นหลักการหรือแนวคิด

หรือว่าอาจารย์ในปัจจุบันเป็นแค่ผู้ให้ "ปรัชญาหรือแนวความคิด"

ก็ต้องย้อนกลับมาว่าแนวความคิดของอาจารย์ที่ให้นั้น ถูกต้อง ถูกตรง เป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือสัมมาทิฏฐิ ให้ปรัชญาในทางดีหรือทางที่ชั่ว สอนให้ลูกศิษย์ทำนาบนหลังคน หรือให้หาความสุขบนความทุกข์ยากลำบากของ "คน"

การวิจัยมันไม่ได้เหรอ...? 

การวิจัยก็ดีนะ ดีกว่าไปศึกษาดูงาน หรือว่าไปนั่งอ่านหนังสือแล้วนำมาบรรยาย เหมือนกับเราได้เรียนกับอาจารย์ใหญ่ก็ย่อมดีกว่าเราไปเรียนกับตุ๊กตาหรือว่า "หุ่นจำลอง" ซึ่งเป็นยางหรือพลาสติก

อาจารย์ที่น่าไว้วางใจต้องก้าวผ่านการเรียนรู้จากกระดาษหรือว่าหน้าจอ 

เริ่มมาเรียนรู้จากจิตใจของเรานี้ ว่าเราขาดตรงไหน มีจุดบกพร่องตรงไหน มีความคิดที่เป็นมิจฉาทิฏฐิหรือสัมมาทิฏฐิ ไปสอนหนังสือยังพกอัตตาตัวตนเข้าไปแล้ววางมาดวางกล้ามว่าฉันนี้เป็นอาจารย์เธอเป็นลูกศิษย์ ฉันถูก เธอผิด เรายังเป็นอาจารย์อย่างนี้อยู่หรือเปล่า 

อาจารย์ที่ดีต้องเป็นผู้ที่มีเมตตามาก ๆ ๆ ๆ ๆ เริ่มจากเมตตาต่อตนเองด้วยการพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ ไม่ให้เสียชาติที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วเขาสมมุติให้เป็น "อาจารย์" 

อาจารย์ที่ดีต้องเป็นตัวอย่างแก่ศิษย์ เป็นที่พึ่งพาทาง "ปัญญา" ให้แก่ศิษย์ 

คนที่จะสอนคนอื่นได้ดี ต้องเริ่มต้นจากการสอนตนเอง โดยให้สอนตนเองว่า "เราต้องเป็นคนขยัน ไม่เป็นคนขี้เกียจขี้คร้าน ทำความดี เสียสละมาก ๆ" 

อาจารย์คือผู้ให้นะ ให้ความรัก ให้ความเมตตากับลูกศิษย์ทุก ๆ คน

สอนทั้งคนดี สอนทั้งคนไม่ดี ถ้าเราจะเลือกเอาแต่ศิษย์ที่ดี ศิษย์เก่ง แล้วเราจะเอาศิษย์ที่ไม่ดีไม่เก่งไปทิ้งไว้ที่ไหน 

ให้รักลูกศิษย์ทุกคนเหมือนกับลูกของเราแท้ ๆ นี่แหละ ทำจิตใจให้เหมือนกับที่แม่รักลูก

อาชีพครู อาชีพอาจารย์ถือว่าเป็นอาชีพที่ได้บุญได้กุศลมากนะ ถ้าพัฒนาตนเองให้เป็นตัวอย่างที่่ดีเพื่อที่จะเป็น "ปูชนียบุคคล"

ขอให้กำลังใจอาจารย์รวมถึงคุณครูทุก ๆ คนที่ท่านเป็นปูชนียบุคคลทางการศึกษาที่ "น่าไว้วางใจ...


หมายเลขบันทึก: 522370เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2013 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2013 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านถึงตรงนี้"ฉีดยาเข้าทางไหปลาร้าแล้วพลาดไปโดนเส้นเลือดใหญ่ซึ่งทำให้คนไข้"

แล้วใจหาย เพราะเมื่อวานเพิ่งเรียนเรื่องเส้นตาย ท่านอาจารย์แพทย์แผนไทย ท่านเพิ่งสอนไปว่าบริเวณ       

ไหปล้าร้า( ร่องไหปล้าร้า)นี้ สำคัญนัก กดจุดนวดพลาดก็โดน ก็มีโอกาสนิทรายาวค่ะ

ขอบคุณค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท