การวิจัยและพัฒนาชุดการเรียนรู้ การนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลง


ในการนิเทศบุคลากรนั้น คุณอาจจะรู้สึก โดดเดี่ยวและผิดหวัง แต่จะไม่เป็นเช่นนั้น......... เพราะการนิเทศบุคลากรเป็นหนึ่งในงานที่ ท้าทายและปลื้มปิติที่สุด ท้าทาย เพราะครูผู้สอนมีความหลากหลาย ปลื้มปิติ เป็นรางวัลจากการช่วยเหลือคนให้ประสบความสำเร็จและมีความสุขในอาชีพ

 

 

เนื่องจาก บันทึกเดิม link  เสียหายไปแล้ว  จึงนำมาลงใหม่

 

 

 

ที่มา  ต้องการสร้างสื่อนิเทศครูและบุคลากรทางการศึกษา ใช้นิเทศครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ประสบความสำเร็จในอาชีพ สื่อที่มีในท้องตลาด มีน้อยมาก และไม่ทันสมัย

       สื่อมีลักษณะเป็นชุดการเรียนรู้ พัฒนาด้วยการจัดการความรู้ ศึกษาได้ด้วยตนเองและเป็นกลุ่ม มีคุณภาพจากการทดลองใช้

 คลิกดูรายละเอียดที่ link

ชุดการเรียนรู้การนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลง  

 รายงานการวิจัยและพัฒนา ชุดการเรียนรู้การนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลง และภาคผนวก

 

 บทความ  

                *นำเสนอในการประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติ เรื่อง นวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อ  การพัฒนาที่ยั่งยืน วันที่ 10 กรกฎาคม 2552  ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   

 

 

นวัตกรรมการนิเทศครูเพื่อการเปลี่ยนแปลง

การวิจัยและพัฒนา ชุดการเรียนรู้ การนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลง*

........................................................................................................วัฒนา ก้อนเชื้อรัตน์   ศึกษานิเทศก์ เชี่ยวชาญ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1    10/7/2552

 

                การช่วยให้ครูผู้สอนประสบความสำเร็จในวิชาชีพเป็นภารกิจสำคัญทางการศึกษา การพัฒนาครูมีหลายวิธี แนวทางหนึ่งคือการนิเทศบุคลากร  การนิเทศที่มีประสิทธิภาพเป็นการทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ให้ประสบความสำเร็จในอาชีพ (Norton, Robert E. and others.  2008 : 8)  และ         บทบาทของผู้นิเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาครูในการปรับปรุงการเรียนการสอนเพื่อคุณภาพนักเรียนเป็นเป้าหมายสุดท้าย (Harris, Ben M.  1975) ช่วยให้ผู้รับการนิเทศพัฒนาตน พัฒนางาน ประสบความสำเร็จในการทำงาน เจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ  ปัจจุบันครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถระดับหนึ่ง และมีเวลาน้อยในการเข้ารับการฝึกอบรม ขาดรูปแบบ หลักการ สื่อนวัตกรรมการนิเทศที่เหมาะสมรวมทั้งการไม่เห็นความสำคัญของการนิเทศและการไม่ยอมรับกันเอง การนิเทศครูจึงต้องแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ มาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สิ่งที่น่าสนใจคือเทคโนโลยีการศึกษารายบุคคล (individualized instruction)  หรือการศึกษาตามเอกัตภาพ (กิดานันท์ มลิทอง.  2536 : 141-143) เป็นการประยุกต์ใช้ร่วมกันระหว่างเทคนิควิธีการและสื่อการเรียนรู้ชนิดต่าง ๆ การใช้สื่อประสมหรือสื่อการเรียนเป็นสิ่งสำคัญมากในการศึกษารายบุคคล

                การวิจัยและพัฒนาชุดการเรียนรู้ การนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ มาจากปัญหาและความต้องการดังกล่าว รวมทั้งความต้องการในการนิเทศภายในโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1 ซึ่งมีการนิเทศอย่างเป็นระบบต่อเนื่องน้อย ผู้นิเทศภายในต้องการความรู้ แนวทางในการนิเทศจากการฝึกอบรม ศึกษาจากเอกสารที่มีคุณภาพ จึงได้พัฒนาชุดการเรียนรู้การนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลงฉบับนี้ เพื่อใช้เป็นสื่อนิเทศพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถนิเทศการเรียนการสอนได้  การพัฒนาดำเนินการระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2549 15 มี.ค. 2552

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

                1.  เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่องการนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลง

                2.  เพื่อศึกษาผลการนิเทศโดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่องการนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลง

 

สมมติฐานในการวิจัย

                คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนรู้

ความสำคัญของการวิจัย

                การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ทำให้ได้ชุดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นสื่อในการนิเทศครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ความสามารถนิเทศภายในโรงเรียนได้ด้วยความมั่นใจ ได้ช่วยเหลือครูและบุคลากรทาง  การศึกษาในโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน พัฒนาวิชาชีพ พัฒนาการจัดการเรียนการสอน มีการนิเทศอย่างใกล้ชิดทั่วถึงต่อเนื่องบนพื้นฐานข้อมูลในสถานการณ์จริง

­­

วิธีดำเนินการวิจัย

                1.  การศึกษาปัญหาและความต้องการ 2 ครั้ง ๆ แรกสอบถามข้อมูลทางไปรษณีย์ 127 โรงเรียน ครั้งที่ 2  สอบถามครูและบุคลากรทางการศึกษา 64 คน  ทราบสภาพการนิเทศภายใน ปัญหาการนิเทศภายใน และความต้องการในการนิเทศภายใน  มีการศึกษาค้นคว้า เอกสาร แหล่งเรียนรู้ หารูปแบบการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการ ได้รูปแบบการผลิตสื่อนิเทศ เป็นชุดการเรียนรู้ สื่อรายบุคคลเบ็ดเสร็จในตัวเอง

                2.  การออกแบบชุดการเรียนรู้ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ แนวคิด หลักการ โครงสร้างกิจกรรม เนื้อหาสาระ     การวัดผลประเมินผล และองค์ประกอบอื่น ๆ ตามรูปแบบบทเรียนแบบหน่วย บทเรียนโมดูล

                3.  การหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ การนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 7 คน และจากการทดลองใช้ 3 ครั้ง ครั้งแรก 1 คน  ครั้งที่ 2 จำนวน 3 คน ครั้งที่ 3 จำนวน 30 คน แต่ละครั้งมีการตรวจสอบรวบรวมข้อมูล บันทึกผล ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องและปรับปรุงให้ดีขึ้นเหมาะสมขึ้น

                4.  การนำชุดการเรียนรู้ไปทดลองใช้  นำชุดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพแล้วไปทดลองใช้ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น (pre-experimental research) กับครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งสมัครเข้าร่วมโครงการเป็นเครือข่ายครูผู้นิเทศ จำนวน 50 คน ปี พ.ศ. 2551 โดยใช้กิจกรรมประชุมสัมมนา ทดสอบก่อนเรียนรู้หลังเรียนรู้     ทำความเข้าใจเนื้อหาสาระ ปฏิบัติกิจกรรมเรียนรู้จากสถานการณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นผลการเรียนรู้ด้านความรู้ หลังจากนั้นกลุ่มตัวอย่างกลับไปทดลองนิเทศภายในโรงเรียนระยะเวลา 1 เดือน รายงานผลการนิเทศ ประเมินพฤติกรรมการนิเทศ   และประเมินความพึงพอใจในการนิเทศของกลุ่มตัวอย่าง

สรุปผลการวิจัยและพัฒนา

            1)  ได้ชุดการเรียนรู้ เรื่องการนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลง เลือกสร้างชุดการเรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร แหล่งเรียนรู้ ตอบสนองปัญหาและความต้องการ  กำหนดแนวคิดคือครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง เนื้อหามีแนวคิดหลักการพื้นฐานทางการนิเทศที่จำเป็นเพียงพอ ทันยุคสมัย ลักษณะของชุดการเรียนรู้ เป็นเอกสารเข้าเล่มเนื้อหา 250 หน้า และซีดีรอม 1 แผ่น ใช้ศึกษาได้ด้วยตนเองรายบุคคล ตามความสามารถ ความสนใจ  ยืดหยุ่นทั้งด้านเนื้อหา กิจกรรม สถานที่ และเวลา มีทางเลือกตาม    ความพร้อมของผู้ศึกษา  ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ 4 หน่วย ดังนี้

                    1.  การเปลี่ยนแปลงและการนำการเปลี่ยนแปลง

                    2.  การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

                    3.  การนิเทศการเรียนการสอน

                    4.  รูปแบบการนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลง

                โครงสร้างหน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย หน่วยที่ ชื่อหน่วย หลักการเหตุผล แนวคิด เนื้อหา ประสบการณ์เรียนรู้

                กระบวนการเรียนรู้จากชุดการเรียนรู้ การนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลงมี 3 กระบวนการ คือ กระบวนการคิด   อย่างมีวิจารณญาณ การเรียนรู้จากสถานการณ์ และการประเมินเสริมพลัง

                คุณภาพและประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ การนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลง

                    1.  ผ่านการตรวจสอบพิจารณา และประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา จำนวน 7 คน พบว่า  มีความเหมาะสมระดับมากที่สุดทั้งด้านความเหมาะสมสอดคล้องระหว่างโครงร่างหรือส่วนประกอบของชุดการเรียนรู้ มีความสอดคล้องระดับมากที่สุดระหว่างโครงร่างหน่วยการเรียนรู้กับชุดการเรียนรู้  และมีความความเหมาะสมสอดคล้องของสถานการณ์ แนวการตอบ และเกณฑ์กับชุดการเรียนรู้

                    2.  ประสิทธิภาพจากการทดลองใช้ชุดการเรียนรู้ 3 ครั้ง มีการปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่บกพร่อง และปรับปรุงพัฒนาให้เหมาะสมทุกครั้ง ประสิทธิภาพจากการใช้ชุดการเรียนรู้ครั้งสุดท้าย คะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละของผลการทดสอบระหว่างเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ (E1/E2) คือ 78.23/77.57 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75  และเมื่อพิจารณาหาประสิทธิภาพในส่วนย่อยคือ หน่วยการเรียนรู้ทั้ง 4 หน่วย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 เช่นเดียวกัน

            2)  ผลการนิเทศโดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่องการนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลง

                กลุ่มตัวอย่างเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา 50 คน เป็นหญิงร้อยละ 64 ชายร้อยละ 36 ตำแหน่งครูและอื่น ๆ ร้อยละ 36 หัวหน้างานร้อยละ 30 หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ร้อยละ 16 ผู้บริหารโรงเรียนร้อยละ 10 รองผู้บริหารโรงเรียนร้อยละ 8   กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์ในการนิเทศ ระดับปานกลางมากที่สุดร้อยละ 56 ระดับมากร้อยละ 30 ระดับน้อยร้อยละ 14 

                กลุ่มตัวอย่างมีความรู้หลังเรียนรู้คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 77.57 ผลการทดสอบคะแนนเฉลี่ย  หลังเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการประเมินพฤติกรรมการนิเทศหลังเรียนรู้ ค่าเฉลี่ยร้อยละ 88.62ระดับดีมาก มีความพึงพอใจระดับมากต่อการนิเทศ จากการตอบแบบสอบถามหลังนิเทศ  (Xbar = 4.11  S.D. = 0.32)

            ความคิดเห็น 

                1.  การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่องการนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลงมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ สามารถนำไปใช้ประกอบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อการนิเทศภายในได้ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ทักษะหรือพฤติกรรมการนิเทศ และมีความพึงพอใจในการนิเทศ เกิดผลดีต่อครูผู้สอนและนักเรียนในโรงเรียน ประสิทธิภาพชุด    การเรียนรู้ดังกล่าวเป็นผลมาจากการสร้างชุดการเรียนรู้ที่ตอบสนองปัญหาและความต้องการในการนิเทศภายในโรงเรียน ตรงความต้องการของผู้นิเทศ คัดเลือกองค์ความรู้ เนื้อหาที่เป็นปัจจุบันทันยุค เช่น เรื่อง การนำการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 หลักการ แนวทางการนิเทศที่จำเป็นเพียงพอ เน้นการนิเทศการเรียนการสอน ใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลง ที่เน้นการนิเทศบนฐานข้อมูลจริงตามสถานการณ์จริง และการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การจัดกระบวนการเรียนรู้ได้ใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การเรียนรู้จากสถานการณ์และ       การประเมินเสริมพลัง ทำให้ผู้เรียนรู้สนใจ ตั้งใจเรียนรู้ จึงเกิดผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ สอดคล้องกับหลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่  สอดคล้องกับแนวคิดของโนลส์ (Knowles, Malcolm S.  1984 : 2) ที่ว่าความเป็นผู้ใหญ่สามารถนำตนเองได้ มีประสบการณ์และความพร้อมที่จะเรียนรู้ มีแรงจูงใจสอดคล้องกับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่สมัครเข้าร่วมโครงการ หลังจากรับทราบรูปแบบการนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลงว่า สมัครเพราะเรื่องน่าสนใจ

                การพัฒนาชุดการเรียนรู้ การนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลงมีประสิทธิภาพใช้ได้ผล สอดคล้องกับการวิจัยและพัฒนาโดยสมจิต สวธนไพบูลย์และคณะ (2545 : ฉบับสรุป) ซึ่งพัฒนาชุดการเรียนรู้ ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครู

                2.  ผลการนิเทศโดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่องการนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลง เป็นไปตามสมมติฐาน ผลการทดสอบหลังเรียนรู้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 น่าจะเป็นผลมาจากก่อนเรียนรู้กลุ่มตัวอย่างยังไม่มีความรู้ เมื่อได้เรียนรู้จากชุดการเรียนรู้ จึงเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ กลุ่มตัวอย่างสมัครเข้าร่วมโครงการ แสดงถึงความต้องการเรียนรู้ โดยเป็นผู้ริเริ่มด้วยตนเองจะเรียนรู้ได้มากกว่า  นอกจากจะได้เรียนรู้ด้วยตนเองยังมีโอกาสได้เรียนรู้ร่วมกับเพื่อน วิทยากร ทำให้ผลการทดสอบหลังเรียนรู้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนรู้ หลังการประชุม สัมมนากลุ่มตัวอย่างมีโอกาสได้ศึกษาชุดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น มีการวางแผนนิเทศก่อนดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียนทำให้สามารถดำเนินการนิเทศได้สำเร็จเกิดผลต่อครูผู้สอน และนักเรียนในโรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ รายงานได้ ความสำเร็จนี้ส่วนหนึ่งอาจมาจากกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์การนิเทศระดับมากและปานกลางถึงร้อยละ 86  และสมัครเข้าร่วมโครงการ แสดงถึงการเห็นความสำคัญของการนิเทศและความตั้งใจที่จะพัฒนางานนิเทศ นอกจากนี้การติดตาม กระตุ้นเตือนโดยผู้วิจัยในการนิเทศติดตาม ช่วยเหลือดูแล และการสื่อสารประสานงานตามระบบราชการ ช่วยทำให้กลุ่มตัวอย่างนิเทศได้สำเร็จมากขึ้น ทำให้พอใจ สอดคล้องกับผลการสอบถามความพึงพอใจในการนิเทศ พบว่า กลุ่มตัวอย่างหรือครูผู้นิเทศมีความพึงพอใจต่อการนิเทศระดับมาก

                การใช้ชุดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา นำมาใช้ในการนิเทศบุคลากร จัดเป็นสื่อนิเทศทางไกล ที่ดี  สอดคล้องกับแนวคิดของวราพรรณ น้อยสุวรรณ (2551 : 17)    ซึ่งกล่าวว่า  การใช้ชุดการเรียนรู้ในการนิเทศเป็นการนิเทศที่มีระเบียบแบบแผน มีวิธีการเรียนรู้หลายวิธีรวมเข้าด้วยกัน กิจกรรมเนื้อหาในชุดการเรียนรู้

<!--[if gte mso 9]> Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4 <m:intLim m:val="subSup

หมายเลขบันทึก: 550487เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2013 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2014 13:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท