คำตอบจาก "เด็กเป็นสำคัญ" และ "critical thinking"


ไม่มีใครในวงการการศึกษาไม่รู้จักเนติวิทย์ เจ้าของฉายา "เกรียนแห่งยุคสมัย"
คราวก่อนได้วิสัชนาตนเองว่า "ไม่ไหว้ครูเพราะอะไร" เมื่อนำเอาวาทกรรมนี้เข้าไป
โพสต์ในอินเตอร์เนตแล้ว ปรากฏว่ามีคนไม่เห็นด้วยมากมาย จึงเป็นเหตุการณ์ปกติ
แต่เมื่อลงลึกในรายละเอียดทุกตัวอักษร ที่เนติวิทย์ได้เขียนขึ้น เป็นคำตอบที่มีเหตุผลดีมาก
เพียงแต่ว่า ขัดกับวัฒนธรรมและวิธีคิดแบบไทย ๆ วัฒนธรรมก็คือความสัมพันธ์ทางอำนาจ
นั่นแหละ

นับตั้งแต่เทคโนแครตทางการศึกษาได้นำเอา "ทฤษฎีการศึกษาสมัยใหม่" เข้ามาเผยแพร่
ดังที่กล่าวแล้วว่า ไม่ได้เอาจิตวิญญาณอย่างแท้จริงของเขามาด้วย เช่นเอาเด็กเป็นสำคัญ
เด็กเป็นศูนย์กลาง ในวัฒนธรรมตะวันตก เชื่อว่า ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เท่าเทียมกัน
สิทธิในการคิด การเขียน การตอบ เท่าเทียมกัน เขาจึงแสดงออกในการตอบได้อย่างเสรี
(แต่ก็ไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งอคติทางด้านชาติพันธุ์ ผิวสี และอำนาจทางเศรษฐกิจสังคม ยังมีอยู่)
แต่วัฒนธรรมตะวันตกส่วนใหญ่เป็นเป็นแบบเสรีนิยม ซึ่งในวัฒธรรมตะวันออกส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่
ระบบวัฒนธรรมแบบนี้ จึงสะท้อนถึงการที่เนติวิทย์ได้ให้คำตอบแบบเสรีนิยม จะไปขัดกับวัฒนธรรม
แบบไทย ๆ ซึ่งไม่ใช่เสรีนิยม ทฤษฎีการศึกษาที่ถูกนำมาจึงเป็นแบบตัดต่อพันธุกรรม เป็นแบบ
ไทยก็ไม่ใช่ แบบตะวันตกก็ไม่เชิง

มาดูอีกว่าการนำเข้า PฺBL ของชาวทักษะศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นวิธีคิดที่นำเข้ามาจากตะวันตกเช่นกัน
คำตอบของเนติวิทย์สำคัญอย่างยิ่งต่อ การตอบคำถามที่เป็นไปในทางที่ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรม
ซึ่งคำตอบของเขาเป็นคำตอบแบบเสรีนิยม ตามฉบับดั้งเดิมของฝรั่ง ที่ไม่ไว้หน้าใครทั้งสิ้น สอดคล้่อง
กับญาณวิทยาของฝรั่ง ที่ตำตอบทั้งหลายนั้นถ้าใครมีแบบจำลองที่ดีกว่า ก็จะใช้แบบจำลองของผู้นั้น
ในการอธิบาย ว่าไปก็พูดยากครับคือนำเอาทฤษฎีมา แต่ไม่ได้นำเอาจิตวิญญาณมาด้วย จิตวิญญาณ
ยังคงเป็นแบบไทย ๆ อยากทราบเหมือนกันว่าถ้าเจอคำตอบมีเหตุผล แต่ขัดกับวัฒนธรรม ชาวทักษะ
ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ดจะว่าอย่างไร

แนวคิดการศึกษาของไทย ๆ ที่ผมเห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ เลข คัด เลิก เป็นนวัตกรรมที่ได้รับการกล่าวขาน
กันมากว่า สร้างคนระดับศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยผู้ยิ่งใหญ่ นายแพทย์ นายกรัฐมนตรี อาจารย์มหาวิทยาลัย
นักวิทยาศาสตร์ ผู้วางรากฐานอะไรใหม่ ๆ ให้กับประเทศไทย โดยการฝึกหัดครูตอนนั้นยังไม่เป็นตะวันตก
มากนัก รุ่นแรก ๆ นำเอาครูเพิ่งจบปอสี่ มาสอนก็ยังได้เลย ไม่ได้มีสถาบันฝึกหัดครูที่ยิ่งใหญ่แบบตอนนี้ แต่
คำตอบ คือทำไมคนที่ผ่านการศึกษายุคนั้นจึงอ่านออกเขียนได้ค่อนข้างดี อันนี้สัมภาษณ์มาจากคนในยุคนั้น
ที่อ้างว่าการศึกษาในยุคนั้นดีกว่ายุคนี้มากวัดจากการอ่านออกเขียนได้ สำหรับผมแล้วคิดว่าการศึกษาสมัยก่อน
เหมือนกับการศึกษาฟินแลนด์สมัยนี้ คือ เรียนกันน้อย คือเรียนภาษาไทยกับคณิตศาสตร์ เวลาว่างก็สามารถเรียนรู้
สิ่งอื่น ๆ หรือทำการบ้าน คนที่อ่านออกเขียนได้สามารถไปต่อยอดในการเรียนระดับสูง หรือรับราชการต่อไปได้
แม้แต่ปราชญ์ระดับ ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน ท่านก็จบเพียงระดับมอหก ก็มีภูมิรู้จากการศึกษาค้นคว้า
ซึ่งเป็นทักษะอย่างอื่นนอกโรงเรียน เป็นการศึกษาตามอัธยาศัย เป็น Teach Less Learn More แบบไทย ๆ

หรือใครว่าอย่างไร ? อิอิ

















คำสำคัญ (Tags): #เทคโนแครต
หมายเลขบันทึก: 592025เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท