​งานวิชาการกับโลกทัศน์ตัวใครตัวมัน


จุดอ่อนของโลกทัศน์นี้ คือผลงานวิชาการขนาดใหญ่และมีผลกระทบสูง เกิดขึ้นยากในวงวิชาการไทย และผมมีความเห็นว่า ทำให้นักวิชาการไทยสร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่ได้ยาก เพราะผลงานที่ยิ่งใหญ่จริงๆ ต้องเกิดจากการทำงานเป็นทีม และยิ่งในสมัยนี้ ต้องเป็นทีมสหวิทยาการ

งานวิชาการกับโลกทัศน์ตัวใครตัวมัน

วงการวิชาการไทย เชื่อใน individual creativity มีความเชื่อว่า creativity กับ individuality ส่งเสริมซึ่งกันและกัน เราจึงส่งเสริมให้นักวิชาการสร้างผลงานเป็นส่วนบุคคล คิดผลงานวิชาการเฉพาะ ส่วนที่ตนเองมีส่วนสร้างสรรค์เท่านั้น ไม่คิดส่วนที่เป็นผลงานส่งเสริมหรือช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน

จุดอ่อนของโลกทัศน์นี้ คือผลงานวิชาการขนาดใหญ่และมีผลกระทบสูง เกิดขึ้นยากในวงวิชาการไทย และผมมีความเห็นว่า ทำให้นักวิชาการไทยสร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่ได้ยาก เพราะผลงานที่ยิ่งใหญ่จริงๆ ต้องเกิดจากการทำงานเป็นทีม และยิ่งในสมัยนี้ ต้องเป็นทีมสหวิทยาการ

ผมเคยบันทึกเรื่อง อัจฉริยะรวมกลุ่ม ไว้ ที่นี่

เกณฑ์การพิจารณาผลงานวิชาการเพื่อเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ ที่เน้นให้คุณค่าเฉพาะผลงาน ส่วนปัจเจกบุคคล ไม่ให้น้ำหนัก หรือคุณค่าของผลงานที่ทำร่วมกัน ไม่ให้คุณค่าการทำงานสร้าง หรือหนุนนักวิชาการรุ่นใหม่ จึงน่าจะไม่ก่อผลดีต่อวงวิชาการไทย

โลกทัศน์วิชาการแบบคับแคบ เน้นตัวใครตัวมัน ไม่ให้คุณค่าการทำงานวิชาการแบบสร้างสรรค์รวมหมู่ ไม่ให้คุณค่าการทำงานวิชาการเพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ จึงน่าจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยไทย ให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับโลก

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ธ.ค. ๕๘

บนเครื่องบินไทยสมายส์จากเชียงใหม่สู่สนามบินสุวรรณภูมิ

หมายเลขบันทึก: 599033เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2016 05:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มกราคม 2016 05:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท