​เทคนิคการสร้างบ้าน แบบ "ป้องกันปลวก" อย่างสบายใจ ไม่สร้างมลพิษ หรือทำลายสิ่งแวดล้อม


คือ "การสร้างบ้านอย่าให้ติดหรือมีเส้นทางเดินที่เชื่อมต่อกับดิน หรือน้ำ" ที่ใช้ได้กับบ้านทุกแบบ โดยเฉพาะบ้านที่มีไม้เป็นองค์ประกอบ หรือแม้แต่บ้านดิน และบ้านฟาง ก็ยิ่งจำเป็น ที่ต้องใช้เทคนิคนี้

เทคนิคการสร้างบ้าน แบบ "ป้องกันปลวก" อย่างสบายใจ ไม่สร้างมลพิษ หรือทำลายสิ่งแวดล้อม

-----------------------------------
คือ "การสร้างบ้านอย่าให้ติดหรือมีเส้นทางเดินที่เชื่อมต่อกับดิน หรือน้ำ"

ที่ใช้ได้กับบ้านทุกแบบ โดยเฉพาะบ้านที่มีไม้เป็นองค์ประกอบ หรือแม้แต่บ้านดิน และบ้านฟาง ก็ยิ่งจำเป็น ที่ต้องใช้เทคนิคนี้
**************************************

หลักคิดนี้ ผมได้มาจากการทำงานวิจัยเรื่อง นิเวศวิทยาของปลวก เมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว และมายืนยัน "ทฤษฎี" นี้ อีกครั้งในการทำงานวิจัย นิเวศวิทยาจอมปลวก เมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว

ว่า..................

"ปลวกสวนใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มที่ชอบขึ้นบ้านนั้น มีผิวบาง ต้องมีน้ำอย่างพอเพียงตลอดเวลา ไม่ทนต่อความแห้ง"

ฉะนั้น การปลวกขาดน้ำไม่นาน ก็ตายยกรัง โดยไม่ต้องทำอะไรมากกว่านั้น

วิธีการทำให้ปลวกขาดน้ำ ก็คือ อย่าให้มีทางเดินจากแล่งอาหาร (ตัวบ้าน) ไปหาแหล่งน้ำ ที่ผมใช้ในการออกแบบการสร้างบ้าน "กันปลวก" อย่างได้ผล มาหลายหลังแล้ว ทั้งบ้านตัวเอง และบ้านเพื่อนๆ ที่เป็นไม้ ที่ไม่ต้องกังวลกับปัญหาของ "ปลวก"
------------------------------------------
ดังนี้

1. ควรสร้างบ้านที่ไม่ติดดิน (มีใต้ถุน) เพื่อให้ใต้ถุนแห้ง และดูแลได้ง่าย

1.1 ถ้าเสาเป็นเสาไม้ควรหุ้มฐานเสาด้วยคอนกรีตทึบหนา 4 นิ้วขึ้นไป และทำลานปูนล้อมเสาแบบไม่มีรอยต่อ

1.2 ถ้าเป็นเสาปูน ก็ยิ่งง่าย ไม่มีปัญหาอะไร แต่โคนเสาที่ใกล้ๆกับดินนั้น ควรทายากันปลวกเป็นแถบกว้างประมาณ 6 นิ้ว ก็พอ ไม่ต้องราดยาลงดิน หรือชุบยา

2. ถ้าจะสร้างบ้านแบบไม่มีใต้ถุน เมื่อทำฐานรากเสร็จแล้ว ให้เทคอนกรีตเสริมเหล็กทับพื้นดินหนาอย่างน้อย 3 นิ้วขึ้นไป แบบไม่มีรอยต่อหรือรอยแยก (ปล่อยเฉพาะเหล็กโผล่่ไว้ เพื่อใช้ในการหล่อเสา หรือต่อเสาด้วยไม้) เพื่อกั้นแยก ระหว่างตัวบ้านกับดิน หรือ น้ำ ที่อาจจะมีในอนาคต หลักการนี้ใช้ได้กับบ้านดิน และบ้านฟาง
------------------------------------------------------------
ใครสนใจ นำไปปรับใช้ได้เลยครับ

หมายเลขบันทึก: 612095เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2016 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 สิงหาคม 2016 09:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้ความรู้มากครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท