ถอดบทเรียนอย่างไร...ไม่ยาก (ตอนที่ 3) บทเรียนมาจากไหน ? เเละ ข้อควรตระหนักก่อนถอดบทเรียน


การถอดบทเรียนจำเป็นต้องมีผู้ที่ทำบทบาทผู้เอื้อกระบวนการเรียนรู้ หรือ Facilitators ที่ทำหน้าที่ทั้งวิทยากรกระบวนการ(Process facilitator) และวิทยากรสร้างการเรียนรู้ (learning facilitator) จึงจำเป็นต้องมีความรู้ด้านเนื้อหาและมีทักษะการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ พยายามในการสร้างบรรยากาศที่ดี ให้เกิดความไว้วางใจ (trust) จึงจะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge sharing) ได้อย่างสมบูรณ์

“บทเรียน”  มาจากไหน?

          ที่มาของ “บทเรียน” แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบตามระยะเวลา ได้แก่


          แบบที่ 1 เป็นบทเรียนที่เกิดขึ้นทันทีเมื่อจบเหตุการณ์ (Active Process) 

แบบนี้จะสด ใหม่ ปฏิบัติการถอดบทเรียนทันทีหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมและจะได้บทเรียนเร็วๆเพื่อเชื่อมโยงให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อการพัฒนาต่อเนื่อง และทาง KM จะเรียกการบทเรียนนี้ว่า AAR หรือ After Action Review (การถอดบทเรียนหลังปฏิบัติการ)


          แบบที่ 2 เป็นบทเรียนที่เก็บสะสมข้อมูลในอดีต (Passive Process) 

แบบนี้จะอาศัยการคิดย้อน หรือ Recall (การจำได้, การระลึกได้) ตรงนี้เราต้องย้อนกลับไปเรียนรู้เรื่องราวในอดีต อาจย้อนกลับไปนานถึง 1-2 ปี เพื่อนำมาสรุป สกัด เป็นบทเรียน กระบวนการนี้เราเรียกว่า ถอดบทเรียนแบบ Retrospective technique (การถอดบทเรียนแบบมองย้อนกลับ) แบบนี้ต้องอาศัยการจำเรื่องราวในอดีต ซึ่งก็สุ่มเสี่ยงต่อข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือไม่ชัดเจน (หากเราไม่มีการจดบันทึกไว้) เพราะคนเรามีความจำที่จำกัด ดังนั้นการถอดบทเรียนแบบนี้ หากได้คนที่นำมาถอดบทเรียนเป็นคนที่ปฏิบัติและมีประสบการณ์ในประเด็นการถอดบทเรียนโดยตรง ก็จะช่วยให้มองเห็นสาระของบทเรียนผ่าน “ปัญญาปฏิบัติ” (Practical Knowledge )ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น


ส่วนใหญ่การถอดบทเรียนจะเป็น แบบที่ 2 เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเราจึงให้ความสำคัญกับกระบวนการ...


ข้อควรตระหนักก่อน “ถอดบทเรียนที่มีประสิทธิภาพสูง” มีอะไรบ้าง...?

  • ต้องเข้าใจเบื้องหลังแนวคิดการถอดบทเรียน ว่าทำเพื่ออะไร แล้วจะได้ประโยชน์อะไร
  • หลักการที่สำคัญของการถอดบทเรียน คือ การประเมินตนเองและสะท้อนตนเอง ควรสร้างวัฒนธรรมนี้ให้เกิดก่อนการเริ่มกระบวนการถอดบทเรียน
  • กลุ่มคนที่เข้ามาถอดบทเรียนที่เป็น “ตัวจริง”  (get the right people talking) ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจกรรม หรือ โครงการที่นำมาเป็นประเด็นการถอดบทเรียนอย่างแท้จริง
  • การถอดบทเรียนที่มีประสิทธิภาพและได้ข้อมูลเชิงลึก รอบด้าน ต้องอาศัยวิธีการที่หลากหลายผสานกัน เช่น การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ การลงพื้นที่เพื่อศึกษาข้อเท็จจริง เป็นต้น
  • คำถามถอดบทเรียนต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ และคำถามจะนำไปสู่การต่อยอดการพัฒนาได้ในอนาคต เราจะใช้ 4 คำถามการถอดบทเรียนหลักในเป็นคำถามตั้งต้น และมีคำถามย่อยๆเพื่อลงลึกถึงเนื้อหา
  • การถอดบทเรียนจำเป็นต้องมีผู้ที่ทำบทบาทผู้เอื้อกระบวนการเรียนรู้ หรือ Facilitators ที่ทำหน้าที่ทั้งวิทยากรกระบวนการ(Process facilitator) และวิทยากรสร้างการเรียนรู้ (learning facilitator) จึงจำเป็นต้องมีความรู้ด้านเนื้อหาและมีทักษะการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ พยายามในการสร้างบรรยากาศที่ดี ให้เกิดความไว้วางใจ (trust) จึงจะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge sharing) ได้อย่างสมบูรณ์
  • การบันทึกข้อมูลที่ดี นำไปสู่การจัดการข้อมูล “บทเรียน”ที่ดีและมีคุณภาพ มีความครบถ้วน ถูกต้อง 




ติดตามตอนต่อไป..

ถอดบทเรียน ตอนที่ 4 (มีทั้งหมด 9 ตอน)

-----------------------

ท่านสามารถ Download เอกสารชุดความรู้ถอดบทเรียนฉบับย่อ "ถอดบทเรียน...ไม่ยาก" จาก QR Code นี้

..............................................................

สามารถเเลกเปลี่ยน พูดคุยกับผู้เขียนได้โดยตรงที่

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

e-mail : [email protected]

LINE : thaicoach


หมายเลขบันทึก: 631841เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2017 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2018 08:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท