ถอดบทเรียนอย่างไร...ไม่ยาก (ตอนที่ 5) การเตรียมตัวถอดบทเรียน ...จะเตรียมอะไรบ้าง?


ผู้ที่เข้ามาร่วมเวทีถอดบทเรียน นอกจากทีมงานหลักที่ดำเนินการแล้ว คือ ผู้ที่มีส่วนเสียเสีย ต่อประเด็น หรือ โครงการนั้น ผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง จะเป็น Key Informant ที่สำคัญ ที่จะให้ข้อมูลและมุมมองอันเป็นประโยชน์

การเตรียมตัวถอดบทเรียน จะเตรียมอะไรบ้าง?

ในกรณีการถอดบทเรียนในประเด็นที่ใหญ่และมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการหลากหลาย 

การเตรียมตัวควรเริ่มจาก เตรียมสร้างทีม  ควรจะทีมถอดบทเรียนประมาณ 3- 5 คน 

เพื่อให้มีการบริหารจัดการเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อการถอดบทเรียนที่มีประสิทธิภาพ

  • เตรียมทีมงาน 

การทำงานร่วมกันต้องสอดคล้องประสานกัน หากไม่เช่นนั้นงานก็จะไม่สำเร็จ ทีมงานทุกคนต้องรู้ บทบาทและหน้าที่ รับทราบความสำคัญและเห็นภาพรวมของการถอดบทเรียนทั้งกระบวนการ เพื่อเดินไปสู่เป้าหมายเดียวกัน และทุกคนสามารถที่จะทำหน้าแทนกันได้ในวงถอดบทเรียน

  • เตรียมวิเคราะห์โครงการ   

ตรงนี้สำคัญสำหรับการเตรียมตัวและเป็นการบ้านของผู้นำกระบวนการถอดบทเรียน (วิทยากรถอดบทเรียน) การที่เราได้เรียนรู้รายละเอียดของโครงการ/กิจกรรม ในระดับที่เข้าใจ เห็นภาพกระบวนการของโครงการทั้งหมดก่อนที่จะถอดบทเรียน ทำให้เราเห็นภาพรวมที่ชัดเจนมากขึ้น และส่งผลต่อการตั้งคำถามถอดบทเรียนที่มีพลังได้ด้วย

  • เตรียมกำหนดบทบาททีมงาน   

ขั้นตอนนี้ที่เป็นเหตุผลว่า ทำไมต้องมีทีมงาน 3-5 คน 

คนที่ 1 หัวหน้าทีม ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในกระบวนการถอดบทเรียน

คนที่ 2 วิทยากรกระบวนการ หรือที่เราเรียกกัน FACILITATOR ทำหน้าที่เป็นผู้นำและสร้างการเรียนรู้

คนที่ 3 ผู้จดบันทึก ตรงนี้ผมแนะนำว่า ควรมี 2 คน คนแรกจดแบบละเอียด คนที่สองจดประเด็นขึ้นกระดาษ ปรู้ฟให้ทุกคนได้มองเห็นประเด็นการพูดคุยที่ลื่นไหลไป(แนะนำให้ใช้ Mind-mapping หากขาดประเด็นใด ก็สามารถเติมเต็มได้ในทันที)

คนที่ 4 ผู้ประสานงาน  ทำหน้าที่ประสานงานทั่วไป เพื่อช่วยเหลือ เวทีการถอดบทเรียน

ในทางปฏิบัติแล้ว บุคคลที่ 1 และ 4  เราสามารถตัดออกไปได้ เพราะทีมงานบางคนรับผิดชอบในบทบาทดังกล่าวได้


ผู้เข้ามาร่วมเวทีถอดบทเรียน คือใคร?

          ผู้ที่เข้ามาร่วมเวทีถอดบทเรียน นอกจากทีมงานหลักที่ดำเนินการแล้ว คือ ผู้ที่มีส่วนเสียเสีย ต่อประเด็น หรือ โครงการนั้น ผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง จะเป็น Key Informant ที่สำคัญ ที่จะให้ข้อมูลและมุมมองอันเป็นประโยชน์ 

อย่างไรก็ตามผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอาจจะมีหลายระดับ แต่ละระดับก็ให้ความเห็น มุมมองที่แตกต่างกันไป เช่น ผู้บริหาร ก็มองในมุมการบริหารจัดการภาพรวม ผู้ปฏิบัติให้ข้อคิดเห็น มุมมองในส่วนของรายละเอียดในการปฏิบัติ เป็นต้น แต่ทั้งหมดจะมารวมอยู่ในเวทีเดียวกันเพื่อถอดบทเรียน กระบวนการแบบนี้นอกจากเราจะได้ “บทเรียน”แล้ว ผู้ที่เข้ามาร่วมยังมีโอกาสได้เรียนรู้ร่วมกันอีกด้วย เป็นการเติบโตทางปัญญาอีกรูปแบบหนึ่งในมุมของการสร้างความรู้ 




ติดตามตอนต่อไป..

ถอดบทเรียน ตอนที่ 6 (มีทั้งหมด 9 ตอน)

-----------------------

ท่านสามารถ Download เอกสารชุดความรู้ถอดบทเรียนฉบับย่อ "ถอดบทเรียน...ไม่ยาก" จาก QR Code นี้

..............................................................

สามารถเเลกเปลี่ยน พูดคุยกับผู้เขียนได้โดยตรงที่

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

e-mail : [email protected]

LINE : thaicoach

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/631845




หมายเลขบันทึก: 631862เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2017 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2018 08:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชอบวงที่ไปบ้าน อ.ณุ มาก ๆ  สนุกเพลิดเพลิน  สาระมากมายค่ะ

ขอบคุณ พี่แก้ว และ หมอธิ ครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท