ถอดบทเรียนอย่างไร...ไม่ยาก (ตอนที่ 7) ขั้นตอนเเละคำถามการดำเนินการถอดบทเรียน


มาทำความรู้จักกับ คำถามถอดบทเรียน 4 ข้อกันเถอะครับ

ขั้นตอนการดำเนินการถอดบทเรียน

          เพื่อการดำเนินการถอดบทเรียนที่มีประสิทธิภาพ มี ขั้นตอนดำเนินการ 4 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1สร้างบรรยากาศให้ผ่อนคลายเป็นกันเอง 

ตรงนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญ การสร้างบรรยากาศความเป็นมิตร รู้จักกันก่อน จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมวงถอดบทเรียนเปิดใจและพร้อมในการร่วมกระบวนการมากขึ้น

 

ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดกติกาแบบมีส่วนร่วม (เป้าหมาย-วัตถุประสงค์- วิธีการ-บทบาท/หน้าที่-ข้อพึงระวัง) 

ในการร่วมวงถอดบทเรียน เพื่อประสิทธิภาพของการถอดบทเรียน

 

ขั้นตอนที่ 3 “อุ่นเครื่อง” 

พูดถึงภาพรวมการถอดบทเรียน บอกกล่าววัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่คาดหวัง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมวงถอดบทเรียน เห็นและเข้าใจความสำคัญ ว่า การถอดบทเรียนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์อะไร และมีความสำคัญอย่างไร

 

ขั้นตอนที่4 เข้าสู่ประเด็นการถอดบทเรียน...

ตรงนี้สำคัญครับ ตรงนี้เราใช้ “โครงสร้างการถอดบทเรียน” ที่ทำให้เราไม่สับสน และเป็นไปตามลำดับ  อธิบายได้ดังนี้

  • สถานการณ์/สภาพปัญหา เป็นบริบท(Context) ของสถานที่และข้อมูลเชิงประจักษ์ (Evidence based) ที่นำมาสู่ประเด็นถอดบทเรียน....
  • แนวคิด/หลักการในการดำเนินงาน (แนวคิดการทำงานที่เกิดจากการวิเคราะห์สถานการณ์/ปัญหา) ก่อนที่จะดำเนินการพัฒนาอะไร เราต้องมีแนวคิด มุมมอง บางอย่างเพื่อกำกับทิศในการดำเนินงาน แนวคิด มุมมองนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะสิ่งนี้คือ หลักการ ที่สามารถใช้หรือประยุกต์พัฒนาในพื้นที่ที่แตกต่างได้
  • วัตถุประสงค์ หรือ เป้าหมาย (ต้องการบรรลุอะไร?) จะสอดคล้องกับ สถานการณ์/สภาพปัญหา เป็นบริบท(Context)ของสถานที่ และ ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Evidence based) ข้างต้น
  • วิธีปฏิบัติและกระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไรบ้าง? (ทำอย่างไร) เล่าเรื่องออกมาเป็นขั้นตอนเพื่อให้ไม่สับสน
  • ผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร มีทั้ง Output, Outcome และ Impact
  • ปัญหาและอุปสรรค หรือ ความท้าทาย ที่พบ มีอย่างไรบ้างและวิธีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวเป็นอย่างไร?
  • “บทเรียน” ที่ได้เรียนรู้จากการดำเนินงาน (เป็นการสังเคราะห์จากภาพรวม) ถึงขั้นตอนนี้เป็นการสรุปอีกครั้ง และขั้นตอนนี้เป็นแก่นของการถอดบทเรียนจริงๆ 

เพราะเราจะใช้คำถาม 4 ข้อของการถอดบทเรียน ได้แก่


(1) วัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย เป็นอย่างไร?(วัตถุประสงค์)

(2) สิ่งที่เกิดขึ้นจริงนั้นเป็นอย่างไร? (ผลลัพธ์)

(3) ทำไมถึงแตกต่างกัน (ข้อ 1 และ ข้อ 2)  เราอาจจะจะพบว่า เราได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างเช่น เกินเป้า เท่ากับเป้า หรือบางทีน้อยกว่าเป้า ต้องตอบคำถามต่อว่า “ที่เป็นเช่นนั้นเพราะอะไร”

(4) ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาขับเคลื่อนต่อเนื่อง การระดมความคิดเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะมีความสำคัญมากเพราะ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้เข้าร่วมเรียนรู้จากกระบวนการถอดบทเรียน ย่อมจะมีข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์ในมุมมองของแต่ละคนในฐานะนักปฏิบัติ ตรงนี้ถือว่าเป็น ข้อเสนอแนะที่เป็นข้อมูลความรู้ ที่มีความสำคัญยิ่งในการดำเนินการพัฒนาต่อเนื่อง

 

จากคำถามทั้ง 4 ข้อ เห็นได้ว่า การถอดบทเรียนเป็นการประเมินผลในรูปแบบหนึ่ง แต่มุ่งเน้นสาระที่เป็น “บทเรียน” เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ทุกอย่างจึงกระชับ ชัดเจน และเห็นทิศทางในการพัฒนาต่อเนื่องในอนาคต

นักถอดบทเรียนจึงใช้คำถาม 4 ข้อนี้เป็นโครงสร้างคำถามหลักในการถอดบทเรียนกับกลุ่มเป้าหมาย


ติดตามตอนต่อไป..

ถอดบทเรียน ตอนที่ 8 (มีทั้งหมด 9 ตอน)

-----------------------

ท่านสามารถ Download เอกสารชุดความรู้ถอดบทเรียนฉบับย่อ "ถอดบทเรียน...ไม่ยาก" จาก QR Code นี้

..............................................................

สามารถเเลกเปลี่ยน พูดคุยกับผู้เขียนได้โดยตรงที่

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

e-mail : [email protected]

LINE : thaicoach

หมายเลขบันทึก: 631864เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2017 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2018 09:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท