นิเทศการสอน และ PLC


     หน้าที่ของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ อีกอย่างหนึ่ง นอกเหนือจากการสอน วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คือการนิเทศ นิสิตฝึกสอนและฝึกงาน สำหรับในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนที่ผม ,ดร.ขจรศักดิ์ และ ผศ.ดร.สกนต์ชัยได้รับมอบหมายให้นิเทศ การสอนของนิสิตคือ โรงเรียนอุตรดิตถ์ และโรงเรียนลับแลพิทยาคม สำหรับการนิเทศครั้งนี้เป็นครั้งแรก ผมเลือกที่จะเดินทางไปโรงเรียนลับแลพิทยาคมก่อนเพราะเป็นโรงเรียนใหม่สำหรับการนิเทศของผม โรงเรียนนี้ เคยรับ นิสิตฝึกสอน แต่คณะศึกษาศาสต์ไม่ได้ส่งไปเมื่อปีที่ผ่านมา ในปีนี้เราส่งนิสิตฝึกสอนที่นี่ จำนวน 9 คน มีสาขาฟิสิกส์ เคมี ชีวะและคณิตศาสตร์ ในครั้งแรกของการนิเทศ ผม ได้ขอเข้าพบผู้บริหารโรงเรียนก่อน เพื่อทำความเข้าใจในการมาฝึกสอนที่นี่ โรงเรียนนี้ผู้อำนวยการเป็นคนจังหวัดพิษณุโลก แต่เช้าวันนี้ จังหวะไม่ดีผู้อำนวยการมีประชุมที่เขตพื้นที่จึงไม่ได้พบกัน มีอาจารย์ที่เป็นผู้เลี้ยงดูแลด้านวิชาการมาให้การต้อนรับแทน อาจารย์เล่าให้ฟังว่าปีนี้มีนิสิตฝึกสอน จำนวนทั้งหมด 24 คน เป็นนิสิต มอนอ 9 คนนักศึกษาจากราชภัฏ 15 คน และมีอาจารย์ที่เป็นอาจารย์ประจำของโรงเรียนอีก 25 คน ทำให้ อาจารย์เกินความต้องการของจำนวนนักเรียน 
.
         เมื่อปีการศึกษา 2560 มีนักเรียนทั้งหมด 280 คน โดยแบ่งเป็น นักเรียน ม. 1 ถึง ม. 6 และปวช. 1 ถึงปวช. 3 โรงเรียนนี้จึงมี 2 ระบบ สิ่งที่น่าสนใจเมื่อเข้าไปถึงโรงเรียนนี้ คือสระว่ายน้ำขนาดใหญ่ มาตรฐานยาว 50 เมตร จำนวน 8 ลู่ ซึ่งผมยังไม่เคยเห็นที่โรงเรียนไหน มีสระว่ายน้ำแบบมาตรฐานนี้มาก่อน นอกจากนี้โรงเรียนนี้ยังเคยเข้าโครงการโรงเรียนในฝัน โรงเรียนวิทยาศาสตร์ ที่เข้าโครงการกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ มีห้องดนตรี ที่มีวงโยธวาทิต มีเครื่องดนตรีที่ให้เด็กสามารถเล่นได้ตลอดเวลา มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการบริจาคมาจากอบจ.แต่ยังไม่ค่อยเปิดใช้เลย สารเคมีหลายตัวเริ่มเสื่อมสภาพ แต่ที่น่าสนใจเธอ โรงเรียนห่างจากจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นระยะทางแค่ 7 กิโล ห่างจากตัวอำเภอลับแลแค่ 2 กิโลทำให้เด็กส่วนใหญ่เลือกที่จะเข้าไปเรียนในเมือง การที่มีครูจำนวนมาก ทำให้ อาจารย์ที่รับผิดชอบเรื่องวิชาการ ใช้แนวทางการสอน แบบ Team teaching และจัดกิจกรรม PLC กันทุกวันศุกร์ ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก จึงอยากจะมาเรียนรู้กับ แนวทางของโรงเรียนนี้ วันแรกที่เข้าไปพูดคุย เป็นการ ทำความเข้าใจกันว่า PLC ของโรงเรียนเป็นอย่างไรและ PLC ในความคิดที่ผมมีประสบการณ์เป็นอย่างไร พบคุณครูพี่เลี้ยง ซึ่งวันที่ไปนิเทศอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ก็มานิเทศเช่นกัน เป็นอาจารย์สาขาเคมี และชีวะฯ ซึ่งอาจารย์บอกว่าถ้ามาคราวหน้าจะนิเทศการสอนเคมีให้ 
.
        ผมได้พูดคุยกันนิสิตว่าการเรียนการสอนตามแนวการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่การเรียนที่ยึดตามเนื้อหา แต่เราต้องพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม 
          ผมสัญญากับคุณครูและนิสิตฝึกสอนไว้ว่าจะหาความรู้เกี่ยวกับเรื่อง PLC มาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคุณครูที่โรงเรียนลับแลพิทยาคม

วิดีทัศน์ PLC

        ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ Professional Learning Community หมายถึงการร่วมมือ ร่วมใจกันของครู ผู้บริหารโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ไปที่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ พัฒนาการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านการวางแผน การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดเป็นวัฒนธรรม หรือชุมชนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโรงเรียน

การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู โดยใช้กระบวนการชี้แนะ และการเป็นพี่เลี้ยง

หมายเลขบันทึก: 648350เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2018 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2018 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท