ความจริงเป็นสิ่งไม่ยั่งยืน



หนังสือ The Half-Life of Facts : Why Everything We Know Has An Expiration Date (2012) (1)  เขียนโดย Samuel Abesman นักคณิตศาสตร์  และเป็นนักวิจัยที่สถาบันสังคมศาสตร์เชิงปริมาณ (Quantitative Social Science) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

สาระหลักของหนังสือเล่มนี้คือ ความรู้มีการเพิ่มเร็ว   และความรู้ที่เคยเชื่อถือกันทั่วไปอาจกลายเป็นสิ่งที่ผิด    คนเราจึงต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา    ต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนโลกทัศน์ของตน   และต้องไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง  

ที่เขายกมาเป็นตัวอย่างคือการสูบบุหรี่    สมัยก่อนถึงกับหมอแนะนำให้ผู้ป่วยสูบบุหรี่เพื่อรักษาโรค    สมัยผมหนุ่มๆ การสูบบุหรี่เป็นเรื่องธรรมดา    แต่เดี๋ยวนี้บุหรี่ถือเป็นฆาตกร     คนสูบบุหรี่ยอกจากฆ่าตัวเองแล้วยังทำร้ายหรือฆ่าคนอื่นด้วย  

 มีเครื่องมือวัดอัตราการเพิ่มของความรู้ในแต่ละสาขา    เรียกว่า scientometrics  วัดออกมาเป็นเวลาที่ครึ่งหนึ่งของความรู้ผิดหรือล้าหลัง (half-life)   เช่นความรู้ในวิชาฟิสิกส์ ครึ่งหนึ่งจะผิดในเวลา ๑๓ ปี    ตัวเลขนี้ของวิชาประวัติศาสตร์คือ ๗ ปี    

ความรู้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และการค้นพบใหม่ๆ ก็เร็วขึ้นๆ ในทุกสาขาความรู้    การเพิ่มพูนความรู้ในหลากหลายสาขาทีละเล็กละน้อยประกอบกันเข้า นำไปสู่การก้าวกระโดดใหญ่ของความรู้ เป็นระยะๆ

พัฒนาการของเทคโนโลยี ช่วยให้ความรู้ยิ่งงอกงามเพิ่มพูนง่ายขึ้น    ดังตัวอย่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชื่อ Co-Pub Discovery ช่วยค้นหา association ระหว่างยีนกับโรค  เช่นค้นพบยีนจำนวนหนึ่งที่ associate กับโรคคอพอกที่เกิดจากความผิดปกติออโตอิมมูน

ความสามารถในการวัดช่วยให้การค้นพบทางวิทยาศาสตร์เกิดง่ายขึ้น   และส่งผลให้มีเทคนิควิธีวัดก้าวหน้าขึ้นไปอีก    เป็นวงจรความก้าวหน้าในการเพิ่มพูนความรู้    นอกจากนั้นการเชื่อมโยงทางสังคม หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเวลานี้เกิดง่ายมาก    ก็ยิ่งช่วยให้ความรู้แพร่กระจาย และเกิดการต่อยอดความรู้เกิดง่ายขึ้น   

มองด้านลบบ้าง มนุษย์มีด้านมืดหรือชั่วร้ายด้วย   รวมทั้งมีความผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต    และในบางกรณี “ความจริง” ที่เกิดจากความผิดพลาดกลับแพร่กระจายเร็ว    ก่อความเชื่อผิดๆ ในวงกว้าง

ไม่ได้ผิด และไม่ได้แกล้ง  แต่เกิดความรู้ใหม่ที่ลบล้างความเชื่อเดิม    แต่จะยังคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ยอมเปลี่ยนความเชื่อ    เขาอธิบายว่า มี สาเหตุ  (๑) ปรากฏการณ์กบต้ม   เพราะเราอยู่ในสถานการณ์ที่การเปลี่ยนแปลงค่อยๆ เกิดทีละน้อย จนเราไม่รู้ตัว    เมื่อรู้ตัวก็สายเสียแล้ว   เขายกตัวอย่างปลาหมดชายฝั่ง นิว ฟาวนด์แลนด์ในช่วง ๒๐๐ ปี    ที่นักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อรุ่นทำผิดโดยไม่รู้ตัว    โดยวัดการเปลี่ยนแปลงความชุกชุมของปลาเทียบสองช่วงเวลา และพบว่าการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก    ศึกษาทีไรเปรียบเทียบในช่วงที่ตนวิจัยเท่านั้น     ไม่ได้เปรียบเทียบย้อนกลับไปในอดีต    ทำให้ได้ข้อสรุปว่าไม่เป็นไร  ปลาลดลงไม่รุนแรง   (๒)  คนเราไม่สนใจ หรือโต้แย้ง เรื่องที่ไม่ตรงกับความคิดหรือความเชื่อของตน    ตัวอย่างที่รุนแรงที่สุดคือ เมื่อกาลิเลโอ เสนอว่าโลกกลม  

เขาแนะนำวิธีมีชีวิตที่ดีในยุค VUCA   ได้แก่  (๑) ดำรงชีวิตประจำวัน ให้มีระบบเรียนรู้บูรณาการตลอดชีวิต  เช่นอ่านหนังสือทุกวัน  ใช้การสื่อสารออนไลน์ ช่วยการเรียนรู้   (๒) เลิกใช้สมองเพื่อจำ  ยกหน้าที่นี้ให้ อินเทอร์เน็ต ทำหน้าที่แทน    ใช้สมองสำหรับตั้งตำถาม และค้นคว้าหาคำตอบ        

วิจารณ์ พานิช

๑๐ ก.พ. ๖๒


หมายเลขบันทึก: 660451เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2019 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2019 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Yes in this (rapid changing world) “… VUCA ได้แก่ (๑) ดำรงชีวิตประจำวัน ให้มีระบบเรียนรู้บูรณาการตลอดชีวิต เช่นอ่านหนังสือทุกวัน ใช้การสื่อสารออนไลน์ ช่วยการเรียนรู้ (๒) เลิกใช้สมองเพื่อจำ ยกหน้าที่นี้ให้ อินเทอร์เน็ต ทำหน้าที่แทน ใช้สมองสำหรับตั้งตำถาม และค้นคว้าหาคำตอบ…”, we can appreciate the concept of living “in the present” and the message in “Galaamasutta” (not to rely on memory and lore and etc… but) to “consider” each matter for oneself.

The Internet has limitation. One is its dependency on ‘electricity’ another is its lack of “verification” (for “trustworthiness”) and more shortcomings. One has to consider values at the “present time” and within the context.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท